เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 กรกฎาคม 2025, 14:52:29
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  บทบาทของแม่ยิงพันธ์ล้านนาในเจ้าหญิงจากดวงจันทร์ แห่งรัฐฉาน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน บทบาทของแม่ยิงพันธ์ล้านนาในเจ้าหญิงจากดวงจันทร์ แห่งรัฐฉาน  (อ่าน 3436 ครั้ง)
goodlannagirl
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2011, 20:33:05 »


ปี ๒๕๕๑ นี้ ตลาดหนังสือเมืองไทย มีหนังสือภาษาอังกฤษ  บันทึกความทรงจำเกี่ยวกับเจ้าส่วยแต้ก เจ้าฟ้าหยองห้วย   อดีตประธานาธิบดีคนแรกของสหภาพพม่า ออกมาใหม่สด ๆ ร้อน ๆ เล่มหนึ่ง  ชื่อThe Moon Princess : Memory of the Shan States   ผู้แต่งคือ Sao Sanda เจ้านางเมียะจั่นต่า(จะมีอายุครบ ๘๐ ปี ใน ๒๐ ต.ค.๕๑ ) ซึ่งเป็นธิดาคนโต ของเจ้่าส่วยแต้ก กับเจ้านางจั่นต่า (ชายาอีกองค์หนึ่ง)

ผู้ สนใจประวัติศาสตร์ไทใหญ่ในยุคอังกฤษเข้ามาปกครองรัฐฉาน  จนถึงเมื่อนายพลเนวินยึดอำนาจ  คงจะถูกใจ เพราะจะมีข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจาก Twilight Over Burma ของ มหาเทวีอิงเก้ แห่งสีป้อ,  My Vanishing World ของเจ้านวนอู๋  เจ้าหญิงแห่งล่อกจ่อก, The White Umbrella ของ มหาเทวีเฮินคำ แห่งหยองห้วย และ The Shan of Burma  ของ เจ้าช้าง หยองห้วย

อย่าง ไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ยังมีข้อบกพร่องไม่ต่างไปจากเล่มอื่น ที่เขียนชื่อภาษาไทใหญ่หรือพม่า  ด้วยการถอดเสียงแบบอังกฤษ และไม่มีภาษาเดิมกำกับไว้ด้วย  ทำให้ผู้ืที่ต้องการค้นคว้าให้ลึกซึ้ง  ถ้าไม่มีพื้นฐานมาก่อน จะเดาชื่อให้ถูกต้องตามภาษาเดิม ได้ไม่ง่ายนัก

เช่น ชื่อ sanda ของผู้เขียนเอง ถ้าไม่มีคำแปลว่า moon ก็คงเดาไม่่ออกว่า มาจากภาษาบาลีเป็นเสียงไทใหญ่แบบพม่า ว่า จั่นต่า หรือ จันทา, จันทรา ในภาษาไทย, kyemmong แก๋มเมือง-รัชทายาท, Sao Mye Mong เจ้าแม่เมือง-คำเรียกมหาเทวี, Sao U Pha เจ้าอู้ฟ้า-คำเรียกเจ้าฟ้าหลวง  เป็นต้น  ซึ่งเทคนิคการพิมพ์ปัจจุบัน ไม่ยากเลยสำหรับการพิมพ์เพิ่มภาษาเดิมเข้าไปด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 08 มกราคม 2011, 20:37:40 โดย goodlannagirl » IP : บันทึกการเข้า
goodlannagirl
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2011, 20:35:29 »

Sao Sanda บอกไว้ในตอนต้นของบทที่ ๑ (หน้า ๑๓) ว่า เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ทางจันทรคติ พ.ศ.๑๒๙๐ ( It was the eighth day of the new moon in the eighth month of the lunar calendar, the year was 1920 of the Buddhist Era, but most important of all, it was a Saturday)

ตัวเลข ๑๒๙๐ นี้ไ่ม่ใช่ พุทธศักราช ตามที่ Sao Sanda เข้าใจ แต่เป็นจุลศักราช ซึ่งนิยมใช้กันในพม่า และจะตรงกับ พ.ศ.๒๔๗๒ (นับแบบพม่าหรือลังกา) หรือ ๒๔๗๑ (นับแบบไทย) และ ค.ศ.๑๙๒๘

ในหน้า ๗๘-๗๙ เจ้าส่วยแต้กจะส่ง Sao Sanda เข้าเรียนที่ Kingswood School เมืองกะลอ จึงได้ส่งหนังสือไปถึงเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งในหยองห้วย กับข้าราชการท่านหนึ่ง ขอให้เทียบวันเกิดทางจันทรคติ (วันเสาร์ขึ้น ๘ ค่ำ เืืดือน ๘ พม่า ปี ๑๒๙๐)  เป็นวันตามปฏิทินสากล  ซึ่งผลออกมาเป็นวันเสาร์ที่ ๒๐ ต.ค. คริสต์ศักราช ๑๙๒๘

เดือน ๘ เป็นการนับเดือนทางจันทรคติแบบพม่า   เดือนที่ ๑ ดะกู (Dagu) จะเริ่มใน เมษายน ซึ่งอยู่ในช่วงสงกรานต์  ฉะนั้นเดือนที่ ๘ ดะเส่าง์โมง (Dazaunmon) จะตกอยู่ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในวันขึ้น ๑๕ ค่ำจะมีงานตามผางประทีป Dazaundaipwe  ตรงกับวันลอยกระทง ของไทย

หากจะอ่านไปเรื่อย ๆ ก็คงไม่มีอะไร  แต่เมื่อไปตรวจสอบกับปฏิทินสากลอีกครั้ง จึงพบข้อผิดพลาด  เพราะวันที่ ๒๐ ต.ค. (ค.ศ.)๑๙๒๘ ยังอยู่ในเดือนที่ ๗ ดะดินจุ้ต (Dhadingjut) ไม่ใช่่เดือนที่ ๘  ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่า อีก ๗ วันต่อมา จะมีงานตามผางประทีปหรือลอยกระทง ขึ้นในปลายเดือนตุลาคม

จึงมีปัญหา ให้ขบคิดว่า เกิดความผิดพลาดในการบันทึกวันเกิดหรือการตรวจสอบเป็นวันเดือนปีสากล  กันแน่  แม้เรื่องวันเิกิดนี้ไม่ใช่ปัญหาสำคัญนัก   แต่อย่างน้อยก็พอเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งว่าในช่วงปี ค.ศ.๑๙๒๘ ที่หยองห้วย ยังใช้การจดบันทึกแบบจันทรคติพม่าอยู่  ยังไม่ได้นำปฏิทินสากลมาใช้อย่างแพร่หลาย  ถึงอังกฤษจะเข้ามาถึงรัฐฉาน ตั้งแต่ ค.ศ.๑๘๘๗ ก็ตาม
IP : บันทึกการเข้า
goodlannagirl
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2011, 20:36:00 »

อให้ผู้อ่านรู้จัก พี่น้องร่วมบิดากับ เจ้าส่วยแต้ก ตามที่ Sao Sanda เขียนถึงเป็นชื่อเล่นในภาษาอังกฤษ จึงขอแสดงไว้โดยย่อ ดังนี้

๑. เกิดจากมหาเทวีเจ้านางยี่ หรือเจ้าแม่เมือง Sao Mye Mong (เสียชีวิต ๒๔๗๘)
Sao Sai เจ้าจาย หรือ เจ้าแสงฟ้า ๒๔๖๖ ซึ่งเป็นรัชทายาท kyemmong แก๋มเมือง (เสียชีวิตแล้ว) /สมรสกับ Pat เจ้าฉ่วยโอง หลานเจ้าฟ้าสีป้อ
Sai Hseng จายแสง หรือ เจ้าแสงอ่อง ๒๔๖๘/สมรสกับ Audrey เจ้าหอมโนน บุตรเจ้าฟ้าล่อกจอก

๒. เกิดจากเจ้านางจั่นต่า (เสียชีวิต ๒๔๗๔)
Sao Sanda เจ้านางเมียะจั่นต่า ต.ค.๒๔๗๑ /สมรสกับ Peter E.J.Simms (เสียชีวิตแล้ว)

๓. เกิดจาก Daw Daw นางยุ้นท์เหม่
   - ไม่มี -

๔. เกิดจากมหาเทวี เจ้านางเฮือนคำ หรือเจ้าแม่เมือง Sao Mye Mong (เสียชีวิตแล้ว)
Hso เสือ หรือ เสือหาญฟ้า เม.ย.๘๑ /สมรสกับ Rosemary Otte
Tzang ช้าง หรือ เสือลุ่มฟ้า เม.ย.๘๒ (เสียชีวิต ๒๔ ก.ค.๔๗) /สมรสกับ นาง นุมินท์
....... ช้างอ่อน หรือ เสือหลาวฟ้า ๒เม.ย.๘๓ (ป่วยเสียชีวิต ม.ค.๘๕)
Ying หญิง หรือ หญิงสิตาหน่อแสงหลาว ก.พ.๘๕
Myee หมี หรือ เสือห่มฟ้า พ.ค.๘๘ (ถูกพม่าสังหาร ๒ มี.ค.๐๕)
Harn หาญ หรือ เสือหาญฟ้า เม.ย.๙๒ /สมรสกับ Helen Willis
Leun ลืน หรือ หญิงรัตนาแสงเลิน ธ.ค.๙๒ /สมรสกับ Rene Meissl

๕. เกิดจาก Daw Win นางเมียะวิน
Hayma เจ้านางเห-มา
Papu, Stanley เจ้าแสงวัน (เสียชีวิตแล้ว) สมรสกับเจ้าตานจี บุตรเจ้าฟ้าจ๋ามกา

๖. มหาเทวี เจ้านางเฮือนคำ รับเป็นบุตรบุญธรรม
Htila  ถิลา
IP : บันทึกการเข้า
goodlannagirl
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2011, 20:44:49 »

เจ้าหญิงจันทรา ความทรงจำจากรัฐฉาน
๑ จุดเริ่มต้น
“ข้าแต่เจ้าฟ้า บุตรของท่านเป็นผู้หญิง” สล่ารายงานอย่างกระตือรือล้น พ่อรู้สึกโล่งใจ มันเป็นวันขึ้นแปดค่ำเดือนแปดตามปฎิทินจันทรคติ ศักราช ๑๒๙๐ และสิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นคือมันเป็นวันอาทิตย์ วันแห่งนาคาสัตว์ครึ่งมังกร ครึ่งงูในเทพนิยาย เด็กที่เกิดในวันแห่งนาคามักเป็นคนใจร้อน หุนหันพลันแล่นและฉลาดแกมโกง
พ่ออยากได้ลูกผู้ชายแต่ก็รู้สึกโล่งใจว่าลูกที่เกิดวันอาทิตย์นี้เป็น ผู้หญิงเพราะคงจะเลี้ยงง่ายไม่ซุกซนก่อความรำคาญ
สล่าเฒ่าหรือหมอหลวงประจำราชสำนักเป็นชายรูปร่างผอมเกร็งและหน้าตาบึ้งตึง อยู่เสมอ หน้าที่หลักคือปรุงยาสมุนไพรรสขมเฝื่อนรักษาคนในครอบครัวของฉันจากนั้นยัง ควบตำแหน่งเป็นโหรทำนายดวงชะตาจากดวงดาว หมู่ดาวที่สุกสว่างบนท้องฟ้านั้นเปรียบเสมือนห้องสมุดที่เป็นคลังข้อมูล สล่าจะสังเกตุตำแหน่งของดาวแต่ละดวงด้วยความระมัดระวังและจะทำนายเรื่องราว ในอนาคตให้เราฟังเมื่อดวงดาวมีการเปลี่ยนแปลง สรุปง่ายๆ สล่าก็คือนักดาราศาสตร์นั่นเอง เขาจะอ่านคำทำนายที่จารไว้บนใบลานให้พวกเราฟัง สำหรับสล่าแล้วเด็กที่เกิดวันอาทิตย์ไม่ว่าหญิงหรือชายก็เหมือนกันหมด เขาเห็นมาหมดแล้วว่าเด็กที่เกิดวันแห่งนาคานี้มักมีชะตาชีวิตที่ไม่ดีนัก ผู้คนของเราส่วนใหญ่มีความเชื่อเช่นนั้นและจะจับตาดูเด็กที่เกิดวันอาทิตย์ เป็นพิเศษเผื่อว่าจะมีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้น
ค่ำวันเดียวกันนั้นเอง ผู้ใหญ่บ้านจากหมู่บ้านอันห่างไกลในหนองอินเลนำดอกบัว ๕ ดอกที่งอกออกมาจากก้านเดียวกันมาถวายแก่พ่อ สล่าถูกเรียกมาพบ เมื่อเห็นดอกบัวเขายิ้มออกมาและทำนายว่านี่เป็นลางดี ดอกบัวพิเศษนี้จะนำมาซึ่งโชคและเกียรติยศสู่พ่อของฉัน
สล่าประกาศว่านี่เป็นของขวัญจาก ผีบ้านผีเมือง ฉันได้รับการปลดปล่อยจากอำนาจของนาคา โชคร้ายกลายเป็นดี สล่าดูพอใจมาก ไม่มีเรื่องอะไรให้ต้องกังวลอีกแล้ว ดอกบัวนำโชคดีมาให้ ทุกคนพยักหน้าพอใจกันทั่วไป
พ่อของฉันได้ขึ้นเป็น เจ้าอยู่ฟ้า หรือเจ้าฟ้าครองเมืองหยองห้วยก่อนฉันเกิดเพียง ๑ ปี
ตำแหน่งอย่างเป็นทางการของพ่อคือ “เจ้าฟ้า” ซึ่งเป็นภาษาฉานหรือ ไท แปลว่า เจ้าแห่งท้องฟ้า หยองห้วยเป็นเมืองหนึ่งในรัฐฉานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพม่า ฉันเกิดและเติบโตมาในหอหยองห้วยจนกระทั่งปี ๑๙๔๗ เพื่อให้เข้าว่าฉันเป็นใคร ใครคือพ่อของฉัน หยองห้วยอยู่ที่ใหน และชาวฉานอย่างพวกเราคือใคร เราจะต้องมาศึกษาประวัติศาสตร์กันเสียหน่อย แล้วทุกท่านจะได้รู้ความเป็นอยู่ของครอบครัวของเรา ชีวิตในหยองห้วยและในรัฐฉานสุดท้ายก็ถูกเนรเทศไปยังอีกฟากหนึ่งของโลก
หลังจากเกิดรัฐประหารในปี ๑๙๖๒ ฉันคิดว่าจะต้องบันทึกเรื่องราวของพ่อ ชีวิตในวัยเด็กของฉันและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทันที โดยมี ปีเตอร์ สามีของฉันเป็นกำลังใจ ฉันเริ่มต้นเขียนหนังสือเล่มนี้เพื่อต้องการสื่อถึงความขมขื่นและความป่า เถื่อนของนายพลเนวินและกองทัพที่ปฏิบัติต่อพ่อ
ฉันมีหน้าที่ที่เล่าเรื่องการละเมิดสิทธิ์ต่อชายคนหนึ่งซึ่งไม่มีชีวิตที่จะ มาแก้ต่างให้ตัวเองได้ พ่อถูกใส่ร้ายป้ายสีเพราะมีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่สำหรับการรวมชาติให้เป็น หนึ่งเดียวและต่อต้านความไม่เท่าเทียมกันในระบบศักดินา
อันดับแรกฉันจะต้องรวบรวมชีวประวัติของพ่อซึ่งเอกสารหรือหลักฐานส่วนใหญ่จะ อยู่ในมือกองทัพที่หยองห้วยและตองจีซึ่งไม่สามารถที่จะเอาคืนมาได้เลย ฉันคิดว่าจะต้องเริ่มจากชีวิตความเป็นอยู่ในครอบครัวของเราก่อน
อย่างไรก็ตามหนังสือก็ยังไม่เสร็จในขณะที่ฉันและสามีต้องย้ายที่อยู่ ในรอบหลายปีที่ต้องรอนแรมไปยังที่ต่างๆนั้นฉันไม่มีเวลาที่จะเขียนหนังสือ เล่มนี้ต่อเพราะใช้เวลาทั้งหมดไปกับงานหรือหนังสือเรื่องอื่นๆของเรา
IP : บันทึกการเข้า
goodlannagirl
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2011, 20:47:18 »

มื่อ ปีเตอร์ จากไปในปี ๒๐๐๒ ฉันรู้สึกว่าชีวิตและวิญญาณว่างเปล่า ฉันไม่สามารถที่จะสานต่องานที่เราเคยทำร่วมกันมาได้อีกซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น งานเขียนหนังสือ หลายเดือนผ่านไป ฉันได้พบหนังสือที่ยังเขียนค้างอยู่และรู้ว่าจะต้องจัดการกับชีวิตที่แตก กระจัดกระจายให้เข้าที่ ฉันเริ่มรวบรวมรายละเอียดชีวิตความเป็นอยู่ของเราและเขียนขึ้นมาใหม่อีก ครั้งหนึ่ง
เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้ยุติลงในปี ๑๙๖๒ ซึ่งเป็นจุดหักเหของครอบครัวเราและรัฐฉาน ไม่มีใครบอกเราได้เลยว่าตอนนี้ชีวิตความเป็นอยู่ในพม่านั้นเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามฉันได้เขียนเสริมเข้าไปในหนังสือเล่มนี้เพื่อชี้ให้เห็นถึงความ แตกต่างระหว่างชนชั้นในพม่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ประเด็นหลักจะมุ่งไปยังครอบครัวของเราที่ตกเป็นเหยื่อทางการเมืองและต้อง พบจุดจบด้วยความโชคร้ายและความตาย
หลายปีที่ผ่านมามีหนังสือหลายเล่มเขียนถึงเหตุการณ์หลังรัฐประหารในครั้ง นั้น ฉันรู้สึกขอบคุณเพราะได้รู้เรื่องราวเมื่อ ๔๐ ปีที่ผ่านมา ตอนนั้นฉันกับปีเตอร์ไม่ได้อยู่ในพม่าและไม่มีโอกาสรับรู้ชะตากรรมที่เศร้า โศกของครอบครัว
ฉันหวังว่าพี่น้องของเราจะเป็นผู้เล่าขานเรื่องราวของครอบครัวต่อไป ซึ่งแต่ละคนก็เขียนชีวประวัติตนเองตั้งแต่เล็กจนโตและเรื่องราวในระหว่าง เดือน พฤศจิกายน ปี ๑๙๔๗จนถึงปี๑๙๕๗ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฉันแยกออกมาจากครอบครัวแล้ว
พวกเขาคงสื่อเหตุการณ์บนแผ่นดินแม่หลังรัฐประหารที่ยากลำบากได้ดีกว่าใคร ทั้งหมด ฉันเกรงว่าคงจะไม่มีโอกาสเป็นกระบอกเสียงเล่าประสบการณ์ของพวกเขา
ช้าง น้องชายของฉันได้เขียนหนังสือออกมาแล้วและมีคำอธิบายว่าทำไมเขาต้องเป็นพวก ใต้ดินต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิรัฐฉาน ต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ หลายปีหลังจากรัฐประหาร  เจ้าแม่ หรือ มหาเทวีพร้อมกับบุตรธิดาของท่านคือ หญิง เหลิน และหาญได้ลี้ภัยจากพม่ามาอยู่ประเทศไทย ในปี ๑๙๖๔และได้เป็นผู้นำกองกำลังรัฐฉาน
๒-๓ปีถัดมาเพื่อนชายคนหนึ่งบอกว่าฉันรับมือกับเรื่องนี้อย่างเข้าใจและปลงตก เขาคงอยากให้ฉันรู้สึกเดือดร้อนและคิดแค้นต่อสิ่งๆต่างที่เกิดขึ้นกับครอบ ครัวและบ้านเมือง สิ่งที่เขาพูดมาก็ถูกแต่ฉันเห็นว่ามันไม่มีประโยชน์ที่จะมานั่งโกรธหรือแค้น เคืองเพราะความรู้สึกเหล่านั้นไม่สามารถเยียวยาบาดแผลในชีวิตของเราได้ แต่ฉันก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้รู้สึกถึงการสูญเสียหรือบ้านแตกสาแหรก ขาด
ในปี ๑๙๖๒ เป็นจุดหักเหของบรรดาบุตรและธิดาของเจ้าอยู่ฟ้า ไม่ใช่เฉพาะฉันและปีเตอร์เท่านั้นที่ต้องไป เจ้าจายแสงก็ต้องตกงานจากองค์กร ICI จากการมีอคติของผู้บริหาร สมาชิกในครอบครัวกลายเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ในสังคมพม่าและทำให้พวกเรา ต้องหลบหนีไป มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตั้งต้นชีวิตใหม่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป แต่อย่างไรเสียเราจะต้องฝ่าฟันไปให้ได้ บางคนก็ได้รับความเจ็บปวดเกินกว่าที่คิดไว้ ตอนนี้พี่น้องต่างกระจัดกระจายอยู่ในมุมทั้งสี่ของโลกและมีโอกาสน้อยมากที่ จะมาอยู่ด้วยกันอีก เราได้แต่หวังว่าเวลาจะเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างให้ดีขึ้นเท่านั้นเอง
IP : บันทึกการเข้า
goodlannagirl
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2011, 20:49:53 »

เจ้าหญิงจันทรา ความทรงจำจากรัฐฉาน ๒ เมืองไท (ตอนจบ)

ภาพถ่ายผู้หญิงส่วนใหญ่จะนุ่งโสร่งหรือซิ่นที่รัดจากใต้อกลงมากรอมเท้า ในวาระสำคัญเช่นพิธีแต่งงานหรืองานพิธีจะนุ่งซิ่น ยาวลากพื้น ซิ่นที่ว่านี้จะทอด้วยลวดลายอย่างพิเศษดัดแปลงมาจากผ้าซิ่นในราชสำนักมัณฑะ เลย์ การแต่งกายของชาวฉานนี้ยังคงเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงมานานนับศตวรรษ
อย่างที่กล่าวมาว่าการแต่งกายของหญิงชาวฉานได้เลียนแบบมาจากมัณฑะเลย์ แต่ชายชาวฉานยังคงนุ่งกางเกงขากว้างไม่ได้นุ่งพาโซเหมือนกับชาวพม่าแต่อย่าง ใด พวกเราได้เห็นผู้ชายนุ่งโสร่งเป็นครั้งแรกก็เมื่อชาวพม่าเข้ามาในรัฐฉานหลัง การยึดครองของญี่ปุ่น ภาพถ่ายหลายภาพถูกบันทึกไว้ในช่วงปี ๑๘๘๖ ถึง ๑๙๒๐ ซึ่งเป็นเวลาที่บรรพบุรุษของเราได้เห็นชาวผิวขาวเป็นครั้งแรกในชีวิต ชาวตะวันตกเหล่านั้นบ้างก็เป็นนักเขียน บ้างก็เป็นช่างภาพ ต่างฝ่ายก็รู้สึกฉงนสนเท่ห์ในกันและ กัน
นักท่องเที่ยวชาวยุโรปกลุ่มแรกนั้นนิยมไปรัฐฉานเพราะว่ายังเป็นรัฐเจ้าฟ้า ที่บริสุทธิ์ไม่เหมือนกับสังคมตะวันตกที่เป็นวัตถุนิยมแล้ว ภาพถ่ายชาวฉานในบ้านไม้หรือหมวกสานใบเขื่องและเท้าเปล่าเปลือยนั้นแสดงถึง ความสนใจของพวกเขาเป็นอย่างดี บันทึกของท่านเซอร์ชาลส์ ครอสเวท ข้าหลวงใหญ่แห่งพม่าในปี ๑๙๑๒ เขียนว่า “ชาวฉานเป็นชาติที่มีอารยะธรรม ใฝ่สันติและชอบค้าขาย”
เมื่อกล่าวถึงพม่า หลายคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นประเทศที่มีเพียงชนชาติเดียว คือ พม่า  ทั้งที่พม่าได้รับวัฒนธรรมมาจากชนชาติอื่นๆดังที่อธิบายก่อนหน้า นี้  ชนชาติใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพม่านั้นมี อาระกัน ฉิ่น กะฉิ่น กะเหรี่ยง การเรนนี่  มอญและฉาน ชาวพม่าอาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวะดีในขณะที่ชาวฉานและชนชาติอื่นๆ อาศัยอยู่บนภูเขาและที่ราบสูงฉาน กลุ่มชาติพันธุ์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนดินแดนทั้งสองคือ อินต่า ปะด่อง ปะหล่อง ปะโอ และว้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนาอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
นอกจากนี้ยังมีชาวเขาที่มีเครื่องแต่งกายประจำเผ่าสีสันสดใสอาศัยอยู่ตาม ตะเข็บชายแดนตั้งแต่ลาวเรื่อยลงมาจนถึงประเทศไทย ชื่อของพวกเขาก็เปลี่ยนไปตามแต่ละท้องถิ่น เท่าที่ฉันจำได้ที่ลาวก็มี แม้วหรือปัจจุบันเปลี่ยนเป็นม้ง เย้า อาข่า กุย ข่าขาว แขว่น ละมิดและขมุ
หญิงชาวเขานิยมใส่เสื้อผ้าสีสันสดใสเหมือนปะโอ บางเผ่าก็ใช้เครื่องประดับบ่งบอกสถานภาพ แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือหญิงชาวปะด่องที่ใช้ห่วงทองเหลือรัดคอจนยาวยืดเป็น ที่มาของชื่อ “หญิงคอยีราฟ” ซึ่งในทศวรรษที่ ๓๐  เบอร์แทรม มิล ได้นำหญิงคอยีราฟ๒-๓คนไปออกแสดงในคณะละครสัตว์
พม่าจัดอยู่ในตระกูล ธิเบต-พม่า ถิ่นฐานดั้งเดิมมาจากทางทิศตะวันออกของธิเบต ปัจจุบันประชากรพม่าเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆและมีนโยบายให้ชาวพม่าแต่งงานกับ ชนชาติต่างๆเพื่อที่ลูกหลานออกมาจะได้กลายเป็นพม่า
IP : บันทึกการเข้า
goodlannagirl
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2011, 20:50:35 »

ชาวฉานจัดอยู่ในตระกูลไท ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับลาว ไทย ไทสิบสองพันนา และไทอาหมในอินเดีย กลุ่มที่ใกล้ชิดกับฉานมากที่สุดนั้นคือลาวและไทยซึ่งเป็นเรื่องจริงใน ประวัติศาสตร์ จากที่ฉันอยู่เมืองไทยและลาวมานั้นทำให้ฉันรู้ถึงความใกล้ชิดทางภาษาและ วัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น ใครก็ตามที่สามารถใช้ศัพท์พื้นฐานเพียงแค่ ๓๐ คำของทั้งสามภาษานี้ก็สามารถท่องเที่ยวไปทั่วดินแดนแห่งสายเลือดไทโดยไม่ ต้องกลัวว่าจะหลงทางหรือหิวเลย ยกตัวอย่างเช่น “กิน นอน น้ำ ข้าว”ก็พูดเหมือนกัน แต่บางคำก็แตกต่างกันไปบ้าง ฉันใช้เวลาเรียนภาษาลาวและไทยไม่นานเลย ทุกคนมักจะพูดกับฉันว่า “ ถ้าคุณเป็นคนไท คุณก็คือพี่สาวหรือน้องสาว  เพราะเราเลือดไทเป็นพี่น้องกัน” ฉันประทับใจและรู้สึกอุ่นใจเหมือนอยู่บ้านตัวเอง
พวกเราชาวไทก็เหมือนกับพวกมองโกลอยอื่นๆคือมีผมดำเหยียดตรง ตาเรียวเล็ก ใบหน้ากลมแป้นและผิวสีน้ำตาลสว่าง ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีความสูงเฉลี่ย ๕ฟุต๒นิ้ว ส่วนผู้ชายคงสูงกว่านี้ตามพันธุกรรม ในสายตาชาวตะวันตกแล้วชาวตะวันออกหน้าตาเหมือนกันหมด ฉันมักถูกถามเสมอว่า “ คุณเป็นคนจีนหรือไม่ ?” แน่นอนคำตอบคือ” ไม่” จากนั้นก็ถูกถามเป็นครั้งที่สองคือ “งั้นเป็นคนญี่ปุ่น?” ฉันคิดว่าเราคงเหมือนคนจีนที่เคยเป็นบรรพบุรุษของเราแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ เมื่อใครก็ตามในพวกเราเดินบนถนน พิคคาดิลี่ หรือ อ๊อกซ์ฟอร์ดในลอนดอน คนอื่นคงคาดเดาได้ยากว่าเป็นชาวตะวันออกจากประเทศใหน น้อยนักที่จะรู้ว่าเราคือฉาน
เมื่อเรามองย้อนไปที่ประเทศจีนช่วงศตวรรษที่๙ก่อนคริสตกาล  ในตอนนั้นสายธาร วัฒนธรรมจีนไหลหลั่งไปทั่ว เมื่อศตวรรษที่ ๓ก็ไปถึงกวางสีและไกวโจวซึ่งประชากรดั้งเดิมของทั้งสองเมืองนี้คือไทและชน ชาติที่เป็นเครือญาติกับชาวจีนต้องถอยร่นลงใต้สู่ลุ่มแม่น้ำแยงซี บางคนไม่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของไทอยู่ในประเทศจีน บ้างเชื่อว่าอยู่แถวกวางตุ้งใกล้กับฮ่องกงในปัจจุบัน  คนไทสาขาอื่นก็ละทิ้ง ดินแดนทางเหนือมุ่งหน้าลงสู่ใต้ถึงทะเลสาบต้าลี่และสร้างอาณาจักรน่านเจ้า ขึ้นมา ต้าลี่ปัจจุบันอยู่ในยูนนาน แต่ทว่าประชากรส่วนใหญ่ในน่านเจ้าไม่ใช่คนไทดังนั้นชื่อของกษัตริย์และบุคคล อื่นๆจึงไม่สามารถสืบกลับหารากศัพท์ภาษาไทได้เลย
ในอดีตคนไททั้งหลายรับรู้ว่า เมืองนายและเชียงตุงที่มีอาณาเขตติดต่อกับสยามและลาว สีป่อกับหยองห้วยมีอาณาเขตทิศตะวันตกติดต่อกับพม่า ส่วนแสนหวีรู้จักในนามเมืองแห่งสงคราม สงครามทำให้เกิดการโยกย้ายเทครัวไปทั่วเมืองไท ตอนนั้นหลักเขตแดนยังไม่ชัดเจนจนเมื่ออังกฤษเข้ายึดครองพม่าตอนเหนือและ ฝรั่งเศสใช้ลาวเป็นรัฐกันชน
ในอดีตมีการแต่งงานกันของชนชั้นสูงระหว่างสายสกุลเจ้าฟ้าหรือระหว่าง เมืองอยู่บ่อยครั้ง แต่ในความผูกพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนี้กลับเกิดสงครามระหว่างเมืองกันบ่อย ครั้งเหตุจากความอิจฉาริษยากันซึ่งทำให้ฉานอ่อนแอลง
ดูเหมือนว่าฉานยืนหยัดอยู่ได้เพราะคมดาบที่ใช้ต่อสู้ศัตรูด้วยเหตุนี้อังกฤษ จึงคิดจะลดอำนาจของหลายรัฐลง เมื่อรัฐฉานถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิอังกฤษอินเดียแล้ว อังกฤษปล่อยให้เจ้าฟ้าครองเมืองต่อไปตามเดิมหลังจากได้รับอิสระภาพฉานก็ตก อยู่ในความดูแลของรัฐบาลสหพันธ์พม่า
รัฐฉานในยุคหลังแบ่งออกเป็นเมืองและมีประชากรมากน้อยแตกต่างกันไปก่อให้เกิด ความแตกต่างระหว่างผู้ปกครองหรือเจ้าฟ้า ก่อนการผนวกดินแดนรัฐฉานภาคใต้ประกอบไปด้วย ๕๓ เมือง และภาคเหนืออีก ๕เมือง หลังจากการผนวกดินแดนในปี ๑๙๕๙ รัฐฉานถูกยุบลงเหลือ ๓๔ เมือง เชียงตุงที่มีอาณาเขตติดต่อลาวและไทยเป็นเมืองที่มั่งคั่งที่สุดและมี เนื้อที่๑๒,๐๐๐ ตารางไมล์ ประชากรของเชียงตุงในปี ๑๙๕๗ มีเกือบ ๔๐๐,๐๐๐คน
เมืองที่เล็กที่สุดคือ  เมืองยอน(Kyon) มีเนื้อที่เพียง ๒๔ ตารางไมล์ มีประชากรเพียง ๒,๕๐๐ คน แต่จำนวนประชากรโดยรวมของรัฐฉานทั้งหมดคือ ๓,๐๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งเมืองที่ประชากรหนาแน่นที่สุดคือ หยองห้วย แสนหวีและสีป่อ
IP : บันทึกการเข้า
MagicalMaeLao
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2011, 09:46:37 »

ขอบคุณมากที่เอาเรื่องราวน่าสนใจแบบนี้มาให้อ่าน อยากอ่านอีก
หน้งสือนี้มีขายที่ไหน ?
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!