เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 17:40:39
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  อยากสอบถามท่านผู้รู้เรื่องการปริวรรตตั๋วเมืองว่าเป็นมาตรฐานหรือไม่
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน อยากสอบถามท่านผู้รู้เรื่องการปริวรรตตั๋วเมืองว่าเป็นมาตรฐานหรือไม่  (อ่าน 1545 ครั้ง)
maesai04
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2014, 15:58:53 »

ผมได้อ่านหนังสือพื้นเมืองเชียงแสนของสวัสวดี อ๋องสกุล อ่านแล้วมันขัดกับความรูัสึกเช่นในหน้าที่178ว่า"สักกราชได้๑๑๕๔ ตัวเดือน ๑o แรม ๓ฅำ่ มหามังคเล อนิจจะเสียในสกราศปีเดียวนี้เถิงเดือน ๑๒ แรม ๒ ฅำ่มังเหนโมยสุรกอยแถงตีฝายแม่ชัน"และยังมีอีกหลายๆคำที่ใชัภาษาปริวรรตผมเคยไปถามพ่ออุ้ยพี่หนานหลายคนต่างก็ไม่ยอมรับจึงขอสอบถามท่านที่มีความรู้เรื่องการปริวรรตภาษาว่าใช้เป็นสากลหรือไม่หรือใช้เฉพาะกลุ่ม
IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2014, 17:20:33 »

การปริวรรต คือการแปลโดยยึดรากอักขระ เพื่อคงความหมายและที่มา

ส่วนการออกเสียงขึ้นกับสำเนียงของแต่ละถิ่น

ภาษาเขียนล้านนาพัฒนาจากหลักอัขระวิธีทางการศาสนา การเขียนจึงอิงรูปอักขระบาลีและมีที่อิงเสียงบ้างซึ่งมีอักษรเพิ่มเติมตามแต่ภูมิปัญญาเฉพาะ ซึ่งได้รับการยอมรับในวงการศาสนาอย่างกว้างขวางสืบไปทั้งในล้านช้าง สิบสองพันนา เชียงตุง รวมถึงแคว้นไทใหญ่ก็เคยรับเอาอักขระวิธีการเขียนธัมม์นี้ไว้ใช้ในช่วงเวลาหนึ่ง

การเขียนโดยไม่ยึดรากอักขระแต่ใช้การเลียนเสียง เช่น ในภาษาไทใหญ่ปัจจุบัน พาสาลาว ไม่สามารถยึดโยงกับอักขระวิธี อาจทำให้เสียหลักการทางภาษาศาสตร์ เช่นเขียน สาด อาจมาจาก สาด(เสื่อ) ศาสตร์ ศาสน์ หรือเขียน กาน อาจมาจาก กาน การ กานต์ กาญจน์ ซึ่งมีหลายความหมาย มีที่มาต่างกัน

ลองเปรียบเทียบ
รูปอัขระ = สัพพะ(สรรพ)  เสียงอ่าน = ซับป๊ะ ซะป๊ะ
รูปอัขระ = สัมปัติ(สมบัติ)  เสียงอ่าน = สำปะติ๊
รูปอัขระ = มังคละ(มงคล)  เสียงอ่าน = มังกะละ
รูปอัขระ = สังฆ(สงฆ์)  เสียงอ่าน = สังค๊ะ
รูปอัขระ = เตช(เดช)  เสียงอ่าน = เต๋จ๊ะ
รูปอัขระ = พุทโธ(คำอุทาน)  เสียงอ่าน = ปุดโท๊ะ ปาดโท๊ะ ปาดโซ๊ะ 'โซ๊ะ 'โท๊ะ 'โค๊ะ ....

หากเราเขียนตามเสียงขานเราเอง คงจะยุ่งยากและไม่สามารถรักษารากศัพท์ไว้ได้ อาจทำให้ไม่สามารถสืบโยงที่มาของคำ แค่สำเนียงของละถิ่นก็ต่างกันมากมาย หากไม่มีหลักอักขระวิธีจะสับสนไร้มาตรฐาน ไร้ความเป็นปึกแผ่น

IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!