เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 24 กรกฎาคม 2025, 16:58:28
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ถามผู้รู้กฎหมาย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ถามผู้รู้กฎหมาย  (อ่าน 1537 ครั้ง)
tiger-red
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,007



« เมื่อ: วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2014, 14:05:32 »

อยากทราบคำนิยามของคำว่า จำนำ ว่าคืออะไร หน้าที่ของผู้รับจำนำ  หน้าที่ของผู้จำนำ   การจำนำมีกี่ฝ่าย  เพราะตั้งแต่ติดตามข่าวมามีสามฝ่าย มีผู้จำนำ ผู้รับจำนำ ผู้จ่ายเงิน( เงินกู้ธนาคาร )
 
IP : บันทึกการเข้า
–•“IdD”•–
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 833


นานา จิตตัง


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2014, 14:32:08 »

อยู่ในประมวลกฏหมายแพ่ง
บรรพ 3 ลักษณะ 13 เรื่องจำนำครับ

คราวๆ ก็มี 2 ฝ่าย คือผู้ที่เอา สิ่งของไป จำนำ และผู้รับจำนำ ซึ่งก็เป็นผู้จ่ายเงิน
สมมุติ ก. เป็นคนเอาของไปจำนำ
ข. เป็นผู้รับจำนำ

ก.เอาของไปจำนำไว้ ข. เพื่อเอาเงินมา เมื่อ ก. มีเงินก็มาใช้คืน ข.พร้อมดอกเบี้ย
แต่ถ้า ก. ไม่มาไถ่คืนในระยะเวลาที่กำหนด ข. ก็มีสิทธิที่จะยึดของ นั้น

ถ้าเป็นเรื่องจำนำข้าวเป็นเรื่องที่ล้มเหลวตั้งแต่ต้นครับ เพราะ ถ้าเอาข้าวไปขายได้ ตันล่ะ 9000 แต่ถ้าเอาไปจำนำกับรัฐได้ 15000 ถ้ารัฐเอาไปขายยังไงก็ขาดทุน
มันผิดวิสัยของการจำนำ เราะถ้าจำนำต้องให้ราคาต่ำกว่าราคาขาย  เช่น คุณมีไอโพน เอาไปขายต่อ ได้ 9000 แต่ถ้าไปจำนำได้ 15000 คุณจะเอาไปจำนำหรือขาย

ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยน่ะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2014, 14:34:54 โดย –•“IdD”•– » IP : บันทึกการเข้า
dekdee2516
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 674


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2014, 07:04:04 »

คห.ข้างบน กล่าวได้ดี
IP : บันทึกการเข้า
tiger-red
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,007



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2014, 11:30:52 »

http://www.youtube.com/watch?v=1rzS0EqWUao
http://www.youtube.com/watch?v=eZP6uCXYFXc
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2014, 11:49:16 โดย tiger-red » IP : บันทึกการเข้า
chartee
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2014, 12:00:07 »

ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 747 อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
มาตรา 748 การจำนำนั้นย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ กับ ทั้งค่าอุปกรณ์ต่อไปนี้ด้วย คือ
(1) ดอกเบี้ย
(2) ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้
(3) ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนำ
(4) ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งจำนำ
(5) ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ความชำรุด บกพร่องแห่งทรัพย์สินจำนำซึ่งไม่เห็นประจักษ์
มาตรา 758 ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่า จะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วน
มาตรา 759 ผู้รับจำนำจำต้องรักษาทรัพย์สินจำนำไว้ให้ปลอดภัย และต้องสงวนทรัพย์สินจำนำนั้นเช่นอย่างวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สิน ของตนเอง
มาตรา 764 เมื่อจะบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็น หนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ภายในเวลา อันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น
ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะเอา ทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาด
อนึ่ง ผู้รับจำนำต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้จำนำบอกเวลา และสถานที่ซึ่งจะขายทอดตลาดด้วย
มาตรา 765 ถ้าไม่สามารถจะบอกกล่าวก่อนได้ ผู้รับจำนำจะ เอาทรัพย์สินจำนำออกขายทอดตลาดเสีย ในเมื่อหนี้ค้างชำระมาล่วง เวลาเดือนหนึ่งแล้วก็ให้ทำได้
มาตรา 767 เมื่อบังคับจำนำได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใด ท่านว่า ผู้รับจำนำต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์เพื่อให้เสร็จสิ้นไป และถ้า ยังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนำ หรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น
ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนค้างชำระท่านว่าลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับ ใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้น
มาตรา 769 อันจำนำย่อมระงับสิ้นไป
(1) เมื่อหนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไปเพราะเหตุประการ อื่นมิใช่เพราะอายุความ หรือ
(2) เมื่อผู้รับจำนำ ยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบครอง ของผู้จำนำ

ตัวอย่าง นาย ก. ได้กู้เงินนาย ข. เป็นเงิน 5,000 บาท โดยนาย ก. มอบสร้อยคอทองคำให้นาย ข. ยึดถือไว้ เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้เงินกู้ 53,000 บาทของนาย ก. สัญญาเช่นนี้ เรียกว่า สัญญาจำนำ
ทรัพย์สินที่จะใช้การจำนำได้

ทรัพย์สินที่จะใช้จำนำได้แก่ “สังหาริมทรัพย์” ทุกชนิด
“สังหาริมทรัพย์” ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งหลายซึ่งอาจเคลื่อนจากที่หนึ่งไปแห่งอื่นได้เช่น รถยนต์, นาฬิกา , แหวน , สร้อย ฯลฯ

ตัวอย่าง นาย ก. ได้กู้เงิน นาย ข. 1 หมื่นบาท กำหนดชำระคืนภายใน 3 เดือน โดยนำแหวนเพชรไปจำนำไว้กับนาย ข. ครั้นเวลาล่วงมาเป็นเวลา 4 เดือนแล้ว นาย ก. ก็ยังไม่นำเงินไปชำระคืนและไม่ทราบว่านาย ก. ได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่ใด นาย ข. มีสิทธินำแหวนเพชรดังกล่าวออกขายทอดตลาดได้เลยโดยไม่ต้องบอกกล่าวให้นาย ก. ทราบก่อนแต่อย่างใด
 
ข้อตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าถ้าลูกหนี้ผิดนัดแล้วให้ทรัพย์ดังกล่าวตกเป็นของผู้รับจำนำโดยไม่ต้องมีการบังคับจำนำ นั้น ข้อตกลงเช่นนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลบังคับได้ กล่าวคือกฎหมายบังคับให้ต้องมีการบังคับจำนำด้วยวิธีการที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น ผู้รับจำนำจะใช้สิทธิยึดเอาทรัพย์ที่จำนำหลุดเป็นของตนเองไม่ได้
 
ตัวอย่าง นาย ก. ไปกู้เงินจาก นาย ข. เป็นเงิน 1 หมื่นบาท โดยนำแหวนเพชรประจำตระกูลไปจำนำไว้กับนาย ข. กำหนดชำระหนี้คืนภายใน 3 เดือน โดยมีข้อตกลงว่าหากถึงกำหนดแล้ว นาย ก. ยังไม่ชำระหนี้ให้แหวนนั้นตกเป็นกรรมสิทธิของนาย ข. ทันที ครบกำหนด 3 เดือนแล้ว นาย ก.ผิดนัดไม่นำเงินมาชำระต่อมาอีก 3 วันหลังครบกำหนดแล้ว นาย ก. หาเงินมาใช้หนี้ให้แก่นาย ข. และขอไถ่แหวนคืน แต่นาย ข. ไม่ยอมให้อ้างว่าครบกำหนดแล้ว นาย ก. ไม่นำเงินมาชำระแหวนดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิของตนแล้วตามข้อตกลง จะได้หรือไม่
 
กฎหมายได้กำหนดไว้แล้วว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่สมบูรณ์ไม่มีผลบังคับ ดังนั้น แหวนดังกล่าวจึงยังเป็นกรรมสิทธิของนาย ก. อยู่หาได้ตกเป็นกรรมสิทธิของนาย ข. ตามที่กล่าวอ้างไม่ นาย ข. จะต้องรับชำระหนี้และคืนแหวนให้แก่ นาย ก. ไป
เมื่อขายทอดตลาดได้เงินมาแล้วต้องดำเนินการอย่างไร
 
เมื่อขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใด ผู้รับจำนำมีสิทธิหักเงินดังกล่าวเพื่อชำระหนี้คืนแก่ตนได้จนครบถ้วน หากมีเหลือเท่าใด ผู้รับจำนำต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนำไป
 
แต่ถ้าเงินที่ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้คืนแล้ว เงินยังขาดอยู่เท่าใดผู้จำนำต้องใช้คืนให้แก่ผู้รับจำนำครบถ้วน
(ป.พ.พ. มาตรา 767)
 
ตัวอย่าง นาย ก. นำแหวนเพชรไปจำนำไว้กับนาย ข. เป็นเงิน 1 หมื่นบาท แล้วนาย ก. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ นาย ข. จึงบังคับนำแหวนเพชรออกขายทอดตลาดได้เงินเพียง 5,000 บาท นาย ก. ยังต้องรับผิดชอบชดใช้เงินที่ยังขาดอยู่อีก 5,000 บาท ให้แก่นาย ข. จนครบถ้วน
ถ้าในระหว่างจำนำผู้รับจำนำส่งมอบทรัพย์ที่จำนำคืนให้แก่ผู้จำนำแล้วจะมีผลอย่างไร
 
ถ้าในระหว่างจำนำผู้รับจำนำส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำคืนให้แก่ผู้จำนำแล้ว กฎหมายให้ถือว่าการจำนำนั้นระงับไป ผู้รับจำนำจะใช้สิทธิในการบังคับจำนำเอาทรัพย์นั้นอีกไม่ได้ คงทำได้แต่เพียงฟ้องร้องบังคับตามหนี้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้ค้างชำระแก่ตนได้เท่านั้น
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!