คำเขียนหรือพูดถ้าสื่อความหมายผิดก็จะเข้าใจไปกันคนละแบบ
" คำหล้าหนุ่มจากแดนดินถิ่นอีสาน เสี่ยงเข้ากรุงมุ่งหางานในเมืองหลวง
ขึ้น บขส. ตัดสินใจไปตามดวง รถแล่นล่วงจากบขส.ถึงหมอชิต
ลงจากรถตาลายใจหวิวสั่น นึกหวั่นๆพูดภาษากลัวจะผิด
เพิ่งเข้ากรุงเป็นครั้งแรกในชีวิต ไม่เหมือนคิดช่างสับสนวุ่นวายเทียว
ด้วยความหิวจึงมองหาสายตาเบิ่ง ไปเห็นเพิงมีอาแป๊ะขายก๋วยเตี๋ยว
ตัดสินใจจะแก้หิวสักชามเดียว
บะหมี่เกี๊ยวเอ๊ะ ! จะสั่งอย่างไรกันตัดสินใจอาแป๊ะๆ
ก๋วยเตี๋ยวซ้าม อาแป๊ะเข้าใจความ ขมีขมัน
ทำก๋วยเตี๋ยว
สามชามพร้อมๆกัน พ่อหนุ่มนั่นจำยอมกินสิ้นสามชาม
อิ่มท้องแล้วจึงรำพึงถึงเรี่ยวแรง ค่อนข้างดังว่า
"มี้แฮ้ง" อย่างล้นหลาม
อาแป๊ะเกิดได้ยินตาวาววาม ทำ
หมี่แห้งให้อีกชามในทันที
หนุ่มติดขัดด้านภาษามิกล้าแย้ง จึงจำใจกินหมี่แห้งไม่ถอยหนี
กินจนหมดพลางเอ่ยคำย้ำวจี เชิงผูกมิตรว่า���อนนี้
"เฮ่อ ไค แน่"กลุ่มจิ๊กโก๋โต๊ะข้างๆฟังถนัด จึงฮึดฮัดลองเชิงตามเบาะแส
ปาฝาเบียร์ตกบนโต๊ะไม่เชือนแช หนุ่มรู้แน่ไม่ได้หยอกบอก
" บ่แม่น"จิ๊กโก๋โฉดฟังภาษาหารู้ไม่ หยิบฝาเบียร์ขว้างไปใหม่ถูกต้นแขน
นายหนุ่มตกใจกลัวตัวลีบแบน เอ่ยวอนแค่น
"อย่าปาข่อยจั๊กหน่อยเลย "จิ๊กโก๋เหี้ยมคิดว่าหนุ่มท้ารบ หยิบขวดเบียร์หวังตะปบตีเข้าเสย
หนุ่มตกใจรีบโกยอ้าวด้วยมิเคย วิ่งแล่นเลยไปสั่นสลดบนรถเมล์
รถแล่นไปทางไหนไม่รู้จัก งุนงงนักรถขวักไขว่ใจไขว้เขว
คนเมืองกรุงไม่ยิ้มแย้มแถมเกเร นั่งลังเลขวัญเสียละเหี่ยใจ
จนรถแล่นถึงเขาดินเห็นร่มรื่น ค่อยใจชื้นเห็นเด็กลง เอ๊ะ! ที่ไหน
จึงเดินลงตามเข้าสวนสัตว์ไป พอเพลินใจนึกสนุกทุกข์บรรเทา
ผ่านกรงลิงมีเขียนชื่อ "อุรังอุตัง"
แต่ผิดหวังไม่เห็นลิงกรงว่างเปล่าเห็นคนเลี้ยงเดินผ่านมาจึงถามเอา พินอบพิเทาถ้อยวาจาทำท่าอายๆ
"ลุ้งคับลุ๊งสงสัยจริงลิ๊งไปไส " ลุงยิ้มให้แล้วตอบต่อข้อขยาย
"ลิงมันตายน่ะพ่อหนุ่มมันเพิ่งตาย " น่าเสียดาย แล้วพ่อหนุ่มไปไหนมา
"อ๋อ! ม๊าหางานท้ำยังหาบ่ได้ ข้อยบ่ฮู้จักไผสักคนหนา"ลุงได้ฟังนึกสงสัยลั่นวาจา แล้วก็พาไปสำนักสมัครงาน
ให้ทดลอง
แต่งอุรังอุตังช่างเหมาะเจาะ งานมั่นเหมาะหนุ่มปรีดิ์เปรมเกษมศานต์
นั่งแทนลิงในกรงคงสำราญ
จิตเบิกบานนึกภูมิใจได้งานเบา
วันแรกแรกนั่งนอนเล่นเป็นสุขยิ่ง ทำท่าลิงคอยสนองคนดูเขา
ล่วงหลายวันชักเบื่อเหลือบรรเทา เดินแกะเกากรงดึงแทะทิ้งทอย
พบรอยขาดลองแกะสอดตัวลอดได้ จึงลอดไปกรงข้างๆอย่างเงื่องหงอย
เป็นกรงเสือหารู้ไม่ใจล่องลอย พลางเดินเดินถอยถอยคอยเมียงมอง
พลันเหลือบเห็นเสือร้ายหัวใจหล่น ตกใจจนประจุขี้ขึ้นสมอง
กระโดดหนีสุดชีวิตจนติดซอง ปากเผลอร้อง"ซ่อยข้อยเหน๊ ซ่อยข้อยแหน๊ "
เจ้าเสื้อร้ายยินเสียงโลดกระโดดประกบ รีบตะปบ คอเจ้าลิงยิ่งย่ำแย่
บีบกระชับดึงหน้าหลังเหมือนรังแก จุ๊ปากแก้มกระซิบใส่บอกให้รู้
"จุ๊ จุ๊ จุ๊ !เสยเสยไว้ เสยเสยไว้ อย่าเอ็ดไปเดี๋ยวต๊กงานกันเทิงคู่ "
เฮาคนบ้านเดียวกันมึงกั๊บกู เดี๋ยวต๊กงานเทิงคู่...อย่าเอ็ดไป
หลังจากให้นักเรียนฟังเรื่องราวไปแล้ว โดยครูอ่านให้นักเรียนฟัง
พยายามอ่านให้เป็นสำเนียงของเจ้าของภาษา(ที่เป็นภาษาถิ่นอิ
สาน) สังเกตว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่ จากนั้นก็ตั้งคำถามเพื่อให้
เด็กคิด อาจให้เขาคิด แล้วสนทนากับเพื่อน ๆ หรือคิดแล้วเขียนลง
ในใบงานก็ได้ค่ะ คำถามที่ถามแล้วเป็นการกระตุ้นให้เด็กคิด
สำหรับเด็กในระดับประถมฯ เช่น
๑. หนุ่มชาวอีสาน มีปัญหาในการใช้ภาษาไทยอย่างไรบ้าง
๒. ทำไมหนุ่มอิสานถึงต้องกินบะหมี่ถึง สามชาม
๓. ทั้ง ๆ ที่อิ่มแล้วทำไมหนุ่มอิสานต้องจำใจกินหมี่แห้งอีก
๔. ทำไมหนุ่มอิสานจึงถูกจิ๊กโก๋ทำร้าย
๕. ทำไมหนุ่มอิสานที่เป็นเสือต้องพูดว่า "จุ๊ จุ๊ เสยไว้ เสยไว้"
๖. นักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้างจากเรื่องนี้
๗. นักเรียนเคยได้รับฟังเรื่องราวขำขัน ที่เกิดจากการใช้ภาษา
ในการสื่อสาร เช่นเดียวกับเรื่องนี้มาบ้างหรือไม่ (ถ้าเคย ) แบ่ง
ปันให้คุณครูและเพื่อนฟังบ้างซิคะ
ฯลฯ
เครดิต
http://www.gotoknow.org/posts/429357