เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 20:32:06
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ~บูชาเจ้าพ่อหลักเมือง เมื่อ 22 ธ.ค. 2552
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ~บูชาเจ้าพ่อหลักเมือง เมื่อ 22 ธ.ค. 2552  (อ่าน 2491 ครั้ง)
แชทซาโนย่า กอยุ่ง~*-.
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,309


*..ปรับปรุงระบบ..*


« เมื่อ: วันที่ 24 ธันวาคม 2009, 23:09:14 »


วันก่อนกอย่ามีโอกาสผ่านไปทางชุมชนสันหนอง  เห็นเป็นจัดงานบูชาเจ้าพ่อหลักเมืองที่ หอจัยเจ้าพ่อหลักเมือง   เห็นผู้คนมากมาย แต่งตัวสวยงาม(มากๆ) ตกแต่งประดับประดาสถานที่สวยงามมากๆ ด้วยเช่นกัน  เลยอดใจ๋ไม่ไหว ขออนุญาตเข้าไปถ่ายภาพภายในงาน

ออกตัวไว้ก่อนนะคะ  ย่าไม่ค่อยเข้าใจในประเพณีเท่าไรนัก  หากท่านใดที่รู้ถึงพิธีกรรมดังกล่าว  สละเวลามาเล่าสู่กันฟังบ้าง  ก็จะเป็นประคุณอย่างยิ่งค่ะ...  ยิ้มเท่ห์


* บูชาเจ้าพ่อหลักเมือง2.jpg (197.44 KB, 403x403 - ดู 331 ครั้ง.)

* บูชาเจ้าพ่อหลักเมือง3.jpg (196.11 KB, 403x403 - ดู 349 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

ஐ.¸¸.·´¯`¸¸.·•.¸¸.•´´¯`•(^)•♥ คนที่ด่าคนอื่นสะท้อนว่าระบบข้างในกำลังพัง คนอารมณ์เสียเพราะถูกด่า แสดงว่าระบบของตัวเองก็พังตามไปด้วย [ว.วชิรเมธี]ஐ.¸¸.·´¯`¸¸.·
zombie01
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,519


ความสุขเกิดขึ้นได้ เพียงแต่รู้จักใช้ชีวิต


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 24 ธันวาคม 2009, 23:12:22 »

เข้ามารอฟังด้วยคนครับ  ยิ้ม ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

แชทซาโนย่า กอยุ่ง~*-.
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,309


*..ปรับปรุงระบบ..*


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 24 ธันวาคม 2009, 23:15:54 »

กอย่ามิได้มีเจตนาลบหลู่แต่อย่างใด..

เพียงอยากเผยแพร่กิจกรรม ที่แสดงถึงความเชื่อ ความร่วมมือร่วมใจของหลายๆ ท่านเท่านั้นค่ะ

หากได้เผยแพร่รูปภาพใดๆ ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่ท่านผู้ชมกระทู้นี้  

ท่านสามารถแจ้งลบได้นะคะ  

...ด้วยความเคารพ...


* 5.jpg (157.05 KB, 403x403 - ดู 290 ครั้ง.)

* 6.jpg (168.44 KB, 403x403 - ดู 313 ครั้ง.)

* 1.jpg (165.69 KB, 403x403 - ดู 322 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

ஐ.¸¸.·´¯`¸¸.·•.¸¸.•´´¯`•(^)•♥ คนที่ด่าคนอื่นสะท้อนว่าระบบข้างในกำลังพัง คนอารมณ์เสียเพราะถูกด่า แสดงว่าระบบของตัวเองก็พังตามไปด้วย [ว.วชิรเมธี]ஐ.¸¸.·´¯`¸¸.·
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 24 ธันวาคม 2009, 23:29:53 »


ประเพณีเลี้ยงผีบ้านผีเมือง เจ้าบ้านเจ้าเมือง เสื้อบ้านเสื้อเมือง
มีอยู่ทั่วไปในล้านนาประเทศครับ
เหมือนผีบ้านผีเรือน แต่ยิ่งใหญ่กว่าในฐานะเจ้าตี้เจ้าตางของหมู่บ้าน หรือ เมือง
บางหมู่บ้านฮ้องว่าเจ้าป้อ บางบ้านก็ฮ้องว่าเสื้อบ้าน บางตี้ก็ฮ้องพ่อบ้าน
เจ้าบ้านก็ฮ้อง แต่โดยรวมบ่ต่างกั๋นครับ
ในแต่ละหมู่บ้านเปิ้นจะมีใจ๋บ้าน หอเสื้อบ้าน หอพ่อบ้าน หรือศาลเจ้าพ่อ
เป็นศูนย์กลางของชุมชน
แม้บางหมู่บ้านจะอยู่ในเขตเมือง แต่ประเพณีหมู่นี้ก็ยังคงมีอยู่

ถ้าเป๋นที่ญี่ปุ่นจะเป๋นศาลเจ้าประจ๋ำหมู่บ้าน หรือ ประจำเมือง เน้อ
และผีเจ้าป้อ เปิ้นก็จะฮ้องว่า "เทพ"

จะลัทธิชินโตของญี่ปุ่น หรือ ก๋านนับถือผีของล้านนา ก็มีที่มาคล้ายคลึงหั๋นน่อ
ผี หรือ เทพ ที่คุ้มครองหมู่บ้าน/เมือง อาจจะเป๋นวิญญาณของบรรพบุรุษ
อดีตผู้ปกครอง หรือบุคคลสำคัญของชุมชนนั้นๆ
บางทีก็เป๋นศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ เช่น
เก๊าไม้ใหญ่ ถ้ำ ดอย หนองน้ำ แม่น้ำ ฯลฯ




* picture%5C121255041057.jpg (58.07 KB, 640x480 - ดู 335 ครั้ง.)

* BN5384_17-FB.jpg (70.53 KB, 338x450 - ดู 406 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หยอยคุง
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,446


จำหน่าย ชุดยูนิฟอร์มสำเร็จรูป.........


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 24 ธันวาคม 2009, 23:33:39 »

สีท่าจะม่วนเน๊าะ..........

เปิ้นมีงานวันเดียวก๊ะครับ...........

ถ่ายฮูปมาลงบ่อน่าจะเป็นหยัง จ้วยเปิ้นเผยแพร่ประเพณีเก่าๆของชุมชน............

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

https://www.facebook.com/WasakornTeekasang
 เบอร์08363616ห้าสี่/090-5419หกหกหก
https://www.facebook.com/harrotchiangmai/
จำหน่าย ชุดยูนิฟอร์มสำเร็จรูป ซ๊ะป๊ะอย่าง...
หยอยคุง
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,446


จำหน่าย ชุดยูนิฟอร์มสำเร็จรูป.........


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 24 ธันวาคม 2009, 23:46:24 »

สุดยอดแต้ๆ คุณเชียงรายพันธุ์แท้................

ถ้าผมเซาะฮูปทวดผมป๊ะจะถามซักกำเหลาะ ว่าปอฮู้ประวัติเปิ้นก่อ เปิ้นเกยเป็นนายอำเภอพะเยาอยู่ปี๋ จื้อหลวงประดิษฐอุดมการ..............

เซาะข้อมูลใน Google ก่อบอกน้อยเดียว ฮูปก่าบ่ามีฮื้อผ่อ เกยถ่ายฮูปจากต้นฉบับไว้ใบก่อเซาะบ่าปะเต๊าบ่าเดี่ยว ถามคนเฒ่าก่าบ่าค่อยฮู้เรื่อง.............

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

https://www.facebook.com/WasakornTeekasang
 เบอร์08363616ห้าสี่/090-5419หกหกหก
https://www.facebook.com/harrotchiangmai/
จำหน่าย ชุดยูนิฟอร์มสำเร็จรูป ซ๊ะป๊ะอย่าง...
แก้วซอมพอ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,066



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 25 ธันวาคม 2009, 09:49:05 »

 ยิ้ม ยิ้ม..งานแบบนี้ส่วนมากจะเป๋นก๋านแก้บน หรือ ไม่ ก็เป็นก๋านเลี้ยงผีปู่ย่า แห๋มอย่างก็เป็นก๋านเลี้ยงผีครู ยกขันครู ครับ ในเจียงฮายเฮามีบ่ากี่ตี่ครับ เท่าตี่ฮู้ก็มี หอจัยเจ้าพ่อหลักเมือง (ร่างทรง อ.ต้น)   หอเจ้าป่อดอยตอง (อ.สมพงษ์)  หอเจ้าป่อบุเรงนองตองอู (ร่างทรง ป้าทูล บ้านป่าก่อไทยใหญ่)   บ้านป่างิ้ว  บ้านสันโค้ง  ตางแม่จัน ก็บ้านแม่คำ  ตางพานก็มี  และตี่มีนักที่สุดก็จะเป็นตี่จังหวัดลำปางครับ นักขนาดเลย (ผีมดผีเม็ง) เจียงใหม่ก่อมีนักครับ  ตะก่อนก็จะเลี้ยงแบบเงียบ ๆ (เลี้ยงดัก) ครับเฉพาะญาติปี่น้องเท่านั้น แต่ปัจจุบันทำเป็นแบบงานเลี้ยงเลยครับ (ก๋านจัดงานแบบนี้ก็เป๋นการอนุรักษ์ประเพณีพิธีกรรมฮื้อคงอยู่กู่บ้านเมืองล้านนาเฮาสืบไปเน้อครับ)  ไหว้สา... ครับ  มีข้อมูลแห๋มนักครับกำเดียวจะเอามาเล่าสู่กั๋นฟังครับวันนี้ต้องรีบไปทำงานก่อนเน้อครับ ... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

...มากคนมากเรื่องรู้.......................ตอแหล
จริงบ่จริงตอแย.............................เร่งเร้า
          มากมายเรื่องวอแว........................จักขุ่น...ใจเฮย
           เพียงคิด หยิกหยอกเย้า ................อย่าได้  หาความ
แชทซาโนย่า กอยุ่ง~*-.
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,309


*..ปรับปรุงระบบ..*


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 25 ธันวาคม 2009, 13:56:35 »

ขอบคุณคุณเชียงรายพันธุ์แท้ ตี้ได้นำเรื่องราวมาเล่าสู่กั๋นฟังเจ้า

ยังรออ่านต่ออยู่เน้อเจ้า.. ท่านแก้วซอมพอ ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า

ஐ.¸¸.·´¯`¸¸.·•.¸¸.•´´¯`•(^)•♥ คนที่ด่าคนอื่นสะท้อนว่าระบบข้างในกำลังพัง คนอารมณ์เสียเพราะถูกด่า แสดงว่าระบบของตัวเองก็พังตามไปด้วย [ว.วชิรเมธี]ஐ.¸¸.·´¯`¸¸.·
แก้วซอมพอ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,066



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 25 ธันวาคม 2009, 19:23:58 »

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม  ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับก๋านฟ้อนผีครับ   ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ตำนานผีมดและผีเม็งเป็นผีประจำตระกูลอีกอย่างหนึ่งที่จัดอยู่ในเครือผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ย่า ซึ่งมักจะพบมีการนับถืออยู่ในเขตชุมชนเมืองเป็นส่วนมากเนื่องจากเป็นผีของคนในเมืองที่สืบเชื้อสายมากจากตระกูลเจ้านายและขุนนาง
ดังนั้นพิธีกรรมจะค่อนข้างซับซ้อน ตระกูลของผีมดผีเม็งมักสืบเชื้อสายไปได้ไกลและผีปู่ย่าของตระกูลผีมดผีเม็งจะมีชื่อเรียกขานเป็นชื่อเจ้านายอยู่ในตำนาน ซึ่งจะแตกต่างจากผีปู่ย่าโดยทั่วๆไปที่จะไม่มีชื่อเรียกขานเฉพาะ ตระกูลที่นับถือผีมดผีเม็งในทุกวันนี้มีเหลืออยู่ไม่มากนัก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง แต่สำหรับเมืองอื่นๆแทบจะไม่ปรากฏ โดยข้อเท็จจริงแล้วผีมดและผีเม็งนั้นเป็นผีประจำตระกูลที่มีความแตกต่างกันทั้งในความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชนและรายละเอียดในพิธีกรรม แต่มักจะถูกเรียกรวมกันว่า ผีมดผีเม็ง เนื่องจากพิธีกรรมในการเลี้ยงผีมดผีเม็งนั้นจะจัดในช่วงเวลาใกล้เคียงกันและมีฟ้อนรำ หรือที่เรียกว่า ฟ้อนผี เพื่อเป็นการสังเวยผีบรรพบุรุษเหมือนกัน บางครั้งก็จะมีการจัดฟ้อนผีร่วมกัน เรียกว่า ผีมดซอนเม็ง
ดังนั้นพิธีกรรมในการเลี้ยงผีดังกล่าวนี้จึงจัดเป็นประเพณีทีมักเรียกรวมกันไปว่า ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็ง ผีมด เรื่องราวของผีมดนั้นไม่อาจระบุได้ว่าเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากชนกลุ่มใด เพราะในพวกไทยยวนทั่วไปจะมีการนับถือผีปู่ย่า แต่มีผู้สังเกตว่ากลุ่มคนที่นับถือผีมดอาจมีบรรพบุรุษสืบเชื้อสายมาจากพวกลัวะก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามการนับถือผีมดน่าจะตกทอดเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนาหรือไทยยวนมาเป็นเวลานานแล้ว ความหมายของผีมดนั้นมีผู้ให้คำอธิบายไว้หลายประการ ประการแรก กล่าวว่ามีคำเล่าเป็นนิทานที่อธิบายถึงการเกิดลัทธิผีมดขึ้นเนื่องมากจากความเชื่อในการส่งวิญญาณของผู้สูงอายุไปเสวยสุขเมืองพรหม โดยให้ลูกหลานฆ่ากินเลือดเนื้อเพื่อจะได้เกิดความเป็นมงคลชีวิต ซึ่งในการที่จะส่งวิญญาณให้ผู้ใดนั้น จะทำการเสี่ยงทายโดยใช้เนื้อหมูของแต่ละคนวางให้มดกิน เพราะเชื่อว่ามดเป็นสัตว์ประเสริฐมีหูทิพย์ ตาทิพย์ จมูกทิพย์ หากมดมาตอมเนื้อหมูของผู้ใด ลูกหลานก็จะพร้อมใจกันฆ่าส่งวิญญาณไปสู่พรหม
ต่อมาลัทธิบูชาผีมดก็ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษดังเช่นทุกวันนี้ อีกประการหนึ่งอธิบายว่า ผีมด หมายถึง ผีของมดที่ชอบอยู่ตามบ้านเรือนคอยเฝ้ารักษาให้บ้านเรือนอยู่เป็นปกติสุข มีความอบอุ่นในเหมือนกับบ้านเมืองที่มีผีเสื้อบ้านยักษ์ผีเสื้อบ้านเมืองคอยปกปักรักษาอยู่ ดังนั้นถ้าตระกูลไหนจะมีพิธีการฟ้อนผีมด ชาวบ้านที่อยากได้เงินก็จะนำมดมาขายเป็นรังๆ บ้านที่อยู่ใกล้เคียงก็จะซื้อนำมาไว้ในบ้านของตน ประการสุดท้ายเล่าว่า ผีมดนั้นเป็นความเชื่อดั้งเดิมของไทย เพราะปรากฏว่ามีอยู่ในกลุ่มชาวไทดำและไทลื้อหลายแห่ง
ซึ่งคำว่า มด นั้นในภาษาไทยเดิมหมายความได้ 2 นัย คือต้นตระกูล ดังสำนวนว่า แม่มดแม่หม่อน ซึ่งแปลว่า ทวด และในอีกความหมายหนึ่งแปลว่า ผู้รู้ เช่นในสำนวนที่ว่า มดหมอ เป็นต้น การฟ้อนผีนั้นเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เชื่อกันว่าการฟ้อนผีเป็นการเซ่นดวงวิญญานบรรพบุรุษที่ได้ช่วยปกป้องคุ้มครองรักษาให้ลูกหลานได้อยู่อย่างผาสุข และเป็นการเชิญวิญญาณของบรรพชนให้มาร่วมกิจกรรมเพื่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นในกลุ่มคนที่นับถือผีเดียวกัน สันนิษฐานว่าการฟ้อนผีนั้นจะได้รับมาจากประเพณีของชาติมอญหรือเม็ง ดังเช่นประเพณีการฟ้อนผีเม็ง ซึ่งต่อมาชาวล้านนาได้รับมาใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีมดด้วย การเลี้ยงผีมดก็มีวัตถุประสงค์และแบบแผนคล้ายคลึงกับการเลี้ยงผีปู่ย่า แต่มีพิธีกรรมที่แตกต่างกันออกไป ที่เด่นชัดได้แก่ มีการฟ้อนรำและการละเล่นที่สนุกสนาน ตัวอย่างเช่น การฟ้อนดาบ การฟ้อนเจิง หรือ การตบมะผาบซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการการแสดงศิลปะพื้นบ้านล้านนาที่ทรงไปด้วยคุณค่าและแสดงถึงในความสามารถในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวล้านนาในอดีต
IP : บันทึกการเข้า

...มากคนมากเรื่องรู้.......................ตอแหล
จริงบ่จริงตอแย.............................เร่งเร้า
          มากมายเรื่องวอแว........................จักขุ่น...ใจเฮย
           เพียงคิด หยิกหยอกเย้า ................อย่าได้  หาความ
แก้วซอมพอ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,066



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 25 ธันวาคม 2009, 19:26:42 »

การประกอบพิธีกรรม โดยทั่วไปประเพณีการฟ้อนผีมดนั้น จะทำกันในระหว่างเดือน 8 (พฤษภาคม) ถึง เดือน9 (มิถุนายน)ของทุกปี หรือบางตระกูลอาจกำหนดให้มีการฟ้อน 3-4 ปีให้มีหนึ่งครั้งก็ได้ โดยจะจัดทำที่บ้านเก๊าผี บางตระกูลก็ไม่กำหนดแน่นอนแล้วแต่ความสะดวก บางครั้งเป็นการฟ้อนแก้บนในกรณีที่มีลูกหลานป่วยไข้เป็นต้น ประเพณีการฟ้อนผีมดแต่เดิมต้องมีการฟ้อนติดต่อกัน 7 วัน ปัจจุบันได้ลดเหลือน้อยลง 4 วันบ้าง 2 วันบ้าง ตามแต่ท้องที่ แต่ส่วนใหญ่มักจะทำพิธี 2-3 วัน
โดยจะทำที่บ้านเก๊าผี หรือที่หอผีปู่ย่าตั้งอยู่ 7 วัน ในวันแรกเรียกว่า วันดา หรือ วันข่าว จะมีการเตรียมงาน โดยฝ่ายชายจะช่วยกันสร้างปะรำพิธี หรือ ผามฟ้อน ขึ้นบริเวณกลางลานบ้าน โดยปะรำนั้นต้องใช้ของใหม่ทั้งหมด ผามของผีมดนั้นมีลักษณะหลังคาโดยมุงด้วยหญ้าคาเป็นแบบเรียบ เรียกว่า ผามเปียง ซึ่งเป็นลักษณะที่บ่งชี้ถึงความแตกต่างกับผีเม็งอย่างหนึ่ง ด้านซ้ายขวาและด้านหลังล้อมด้วยไม่ไผ่เปิดด้านหน้า ไม่ยกพื้น จากนั้นทาเสื่อ (สาดแหย่ง) ปูเพื่อเวลาที่ฟ้อนฝุ่นละอองจะไม่กระจายตรงกลางจะหาผ้าใหม่ๆ สำหรับผูกกับเปลตัวกลางแล้วให้ชายผ้าลงมาต่ำเพื่อให้ญาติจับแล้วห้อยโหนไปรอบๆโดยจะต้องมีมีพื้นที่กว้างขวางพอสำหรับม้าขี่หรือคนทรงจะออกมาฟ้อนรำ จะมีการจัดเตรียมข้าวปลาอาหารและเครื่องเซ่นสังเวยที่ประกอบด้วย หัวหมู ไก่ต้มสุกทั้งตัว เหล้า ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ขนมข้าวต้ม มะพร้าว กล้วยอ้อย ใส่ถาดหรือภาชนะไว้บนแท่นที่ยกสูงจากพื้นดินประมาณหนึ่ง มีราวสำหรับพาดผ้า มีผ้าโสร่งใหม่ ผ้าคล้องบ่า ผ้าโพกศีรษะสีต่างๆ ซึ่งใช้ได้ทั้งชายและหญิงพาดไว้หลายๆผืน สำหรับผู้ประทับทรงที่จะมาฟ้อนใช้ในพิธี นอกจากนี้ยังต้องมีการเตรียมพื้นที่สำหรับวงดนตรีพื้นเมืองที่จะต้องบรรเลงเพลงประกอบการฟ้อนผีอีกด้วย
ในภาคบ่ายหรือเย็นสตรีผู้อาวุโสหรือเก๊าผีจะเชิญผีบรรพบุรุษลงมาเข้าทรงเพื่อบอกกล่าวถึงงานที่จะมีขึ้น และมีฟ้อนกันในหมู่ญาติสนิท เรียกว่า ข่าว นอกนี้เจ้าภาพจะให้คนไปบอกกล่าวแก่ญาติพี่น้องและม้าขี่คนทรงของผีสกุลอื่นๆ เพื่อเชิญให้มาร่วมงานเรียกว่า ข่วยผี วันต่อมาเป็น วันฟ้อน เริ่มตั้งแต่ตอนเช้า ญาติที่อยู่ในสายผีเดียวกันจะไปชุมนุมกันที่บ้านฟ้อนผี เมื่อสมาชิกมาพร้อมแล้ว เจ้าภาพหรือสตรีผู้อาวุโสจะจุดธูปเทียนที่หน้าหอผีเพื่อบอกกล่าวอัญเชิญผีเข้าทรง เมื่อมีการเข้าทรงแล้วก็จะมีการไต่ถามสารทุกข์สุกดิบลูกหลานและมีการผูกข้อมือสู่ขวัญ ได้เวลาพอสมควรแล้วจะมีการฟ้อนรำของผีหรือม้าขี่ของผีต่างๆที่มาร่วมงานเป็นที่สนุกสนานรื่นเริง โดยมีวงดนตรีพื้นเมืองบรรเลงประกอบการฟ้อนไปตลอดทั้งวัน ก่อนสิ้นสุดจะมีการละเล่นอย่างสนุกสนานของผีในผามพิธี มีการล่าสัตว์ต่างๆ เช่น ยิงเสือ คล้องช้าง คล้องม้า ยื้อแย่งกันไปมาระหว่างผีของตระกูลเจ้าภาพกับผีรับเชิญ มีการถ่อเรือ ถ่อแพ ทอดแห ปลูกฝ้าย ซึ่งเสมือนเป็นการสรุปถึงภาพชีวิตความเป็นอยู่ในด้านการผลิตของครอบครัวจะจัดขึ้น การฟ้อนผีปู่ย่าปัจจุบันนี้รายจ่ายสูงมาก ค่าใช้จ่ายตกประมาณ 2-3 หมื่น ฉะนั้นในช่วงระยะ 3-4 ปี ญาติทุกคนต้องเตรียมเงินทองเพื่อนำมารวมกันก่อนวันตกแต่งคาหนึ่งวัน การฟ้อนผีปู่ย่าจะมีเวลาตลอดวันคือ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น จะมีพักผ่อนกันบ้างประมาณ 5-10 นาที พอย่างเข้าประมาณบ่าย 4 โมงเย็น ญาติผู้ชายจะเตรียมหาก้านกล้วยมาทำเป็นบ้องไฟและเตรียมผู้ชายที่แข็งแรงมาเป็นช้าง เมื่อถึงเวลาใกล้จะเลิกจะมีพิธีคล้องช้างและจุดบ้องไฟเป็นอันดับสุดท้าย นอกบริเวณปะรำ (ผามฟ้อน) จะทำการปลูกต้นไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่าต้นดอกแก้ว สำหรับจุดบ้องไฟและคล้องช้าง
เมื่อถึงเวลาแล้วฝ่ายญาติทั้งหญิงและชายจะนำก้านกล้วยประมาณ 4-5 ก้านมาให้ผู้ที่ฟ้อนถือแล้วแห่รอบๆต้นดอกแก้ว สมมุติว่าเป็นบ้องไฟ สมควรแก่เวลาต่างคนต่างโห่ร้องเรียกความเฮฮาให้แก่ญาติๆที่มาร่วมกันอย่างสนุกสนานและให้ผู้ชายแต่งตัวเป็นช้างวิ่งไปวิ่งมารอบต้นดอกแก้ว ฝ่ายผู้หญิงที่มาฟ้อนต่างคนต่างถือผ้าขาวม้าเดินติดตามผู้ชายที่เป็นช้างไปมา พอสมควรแก่เวลาก็พากันเอาผ้าขาวม้าคล้องคอผู้ชายช่วยกันจูงไปจูงมา ถือว่าเป็นการคล้องช้าง เป็นอันเสร็จพิธีฟ้อนผีปู่ย่าและผู้ที่ฟ้อนต่างเข้าสู่ปะรำพิธี เอาน้ำขมิ้นส้มป่อยล้างหน้า ล้างตา ร่ำลากันว่าอีก 3-4 ปีพบกันอีก แล้วนำเอาของสังเวยต่างๆออกมาจัดสรรปันส่วนแบ่งให้ญาติทุกคนได้รับเสมอหน้ากันคนละเล็กละน้อยไม่ให้เหลือ ส่วนปะรำ (ผามฟ้อนเมื่อเสร็จพิธีแล้ว) จะต้องรื้อออกให้หมดไม่ให้มีอะไรเหลือแม้แต่ชิ้นเดียว จากขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมจะสังเกตเห็นว่า ในขั้นตอนต่างๆนั้นล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในหมู่เครือญาติในด้านต่างๆโดยอาศัยความเชื่อทางด้านการฟ้อนผีมาเป็นอุบายสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ ทำให้เราได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความฉลาดหลักแหลมของบรรพบุรุษที่ได้สร้างอุบายนี้ขึ้นมาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้รำลึกถึง
IP : บันทึกการเข้า

...มากคนมากเรื่องรู้.......................ตอแหล
จริงบ่จริงตอแย.............................เร่งเร้า
          มากมายเรื่องวอแว........................จักขุ่น...ใจเฮย
           เพียงคิด หยิกหยอกเย้า ................อย่าได้  หาความ
แก้วซอมพอ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,066



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 25 ธันวาคม 2009, 19:27:40 »

จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของ " การฟ้อนผี " ยังคงเป็นปริศนาที่บรรพบุรุษได้วางไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ค้นคว้าต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยใช้ความเชื่อเรื่องภูตผีเป็นแนวทางในการยึดถือปฏิบัติของการประกอบพิธีกรรม บ้างก็ว่าการฟ้อนผีนี้เป็นการฟ้อนรำเพื่อเป็นการสังเวยหรือแก้บนผีบรรพบุรุษซึ่งอาจจะเป็นผีปู่ย่าตายายหรือบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว เพราะถือกันว่าเมื่อพวกญาติพี่น้องตายไปแล้วดวงวิญญาณจะมารวมกันอยู่ที่หอผี จึงเรียกว่า ฟ้อนผี หากเราลองพิจารณาดีๆแล้วเราจะพบว่าประเพณีการฟ้อนผีนี้มีจุดมุ่งหมายหลายประการที่บรรพบุรุษได้วางไว้เป็นรากฐานในการปฏิบัติให้แก่ชนรุ่นหลัง ซึ่งพอจะสรุปได้เป็นข้อๆดังต่อไปนี้
1. สร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ สังเกตได้จากการที่ประเพณีกำหนดให้หมู่เครือญาติต้องมาพร้อมเพรียงกันโดยครบถ้วนในการประกอบพิธีกรรมแต่ละครั้ง อีกทั้งยังมีการเรี่ยไรเงินเพื่อนำไปใช้ในพิธีกรรมด้วย นอกจากนี้พิธีกรรมฟ้อนผียังเป็นงานรื่นเริงของคนในหมู่บ้าน เพราะเมื่อมีการจัดพิธีขึ้นคนในหมู่บ้านหรือท้องถิ่นนั้นก็จะมาช่วยงาน ทำให้เกิดความรักความสามัคคี
2. ค่านิยมที่ดีในการครองตัวของผู้หญิง สังเกตได้จากคำบอกเล่าที่ว่า " เมื่อมีการทำผิดทำนองคลองธรรม เช่น การล่วงละเมิดพรหมจรรย์ การเกี้ยวพาราสีผู้ชายที่ไม่ใช้สามีของตน การถูกเนื้อต้องตัวกัน ฯลฯ " สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการผิดผี ต้องมีการขอขมาลาโทษกับผีประจำตระกูลหรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า ผีปู่ย่า หากไม่ประพฤติปฏิบัติตามนี้จะเกิดอาเพทหรือสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นแก่ตนเอง ด้วยความเชื่อนี้จึงทำให้ผู้หญิงล้านนาในสมัยก่อน มีความรักนวลสงวนตัว ไม่ชิงสุกก่อนห่าม ซึ่งเป็นค่านิยมอันดีงามที่ปัจจุบันนี้เริ่มหาได้ยากในสังคมปัจจุบัน
3. เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ
4. เป็นที่พึ่งพาทางใจของชาวล้านนา ในกรณีที่ป่วยไข้แล้วมีการบนบานศาลกล่าวเอาไว้เมื่อหายแล้วก็จัดพิธีฟ้อนเป็นการแก้บน ทั้งนี้เพราะคนในสมัยก่อนยังไม่มีวิทยาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่เจริญก้าวหน้าเหมือนในปัจจุบัน หากมีใครเจ็บป่วยก็จะโทษว่าเป็นเพราะไปผิดผี จึงต้องมีการขอขมาลาโทษ โดยการไปบนไว้กับผีที่ตนเองนับถือ เมื่อหายแล้วก็มีการฟ้อนแก้บน
5. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจหลังจากที่เสร็จงานประจำ นั่นก็คือ การทำไร่ทำนา ดังนั้นช่วงเดือน 9 ( มิถุนายน ) จึงเป็นช่วงที่ว่างเว้นจากการทำงาน จึงได้จัดพิธีการฟ้อนผีขึ้น เพราะคนในสมัยก่อน ไม่มีสถานที่เริงรมย์หรือสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินมากเท่าปัจจุบัน จึงได้เอาคติความเชื่อที่ตนเชื่อถืออยู่มาใช้ในการสร้างความเพลิดเพลิน
IP : บันทึกการเข้า

...มากคนมากเรื่องรู้.......................ตอแหล
จริงบ่จริงตอแย.............................เร่งเร้า
          มากมายเรื่องวอแว........................จักขุ่น...ใจเฮย
           เพียงคิด หยิกหยอกเย้า ................อย่าได้  หาความ
แก้วซอมพอ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,066



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 25 ธันวาคม 2009, 19:30:08 »

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม  ความเชื่อของชาวล้านนา   ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
      เมื่อกล่าวถึงเรื่องผีและการนับถือผีของชาวชนบทในสังคมไทยโดยทั่วไปแล้ว หลายคนอาจจะมองเห็นว่าเป็นเรื่องงมงายไร้สาระ แต่ในสภาพของความเป็นจริงแล้วการนับถือผีเป็นระบบความเชื่ออย่างหนึ่ง ที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับชุมชนและวิถีของผู้คนที่อยู่ในสังคมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในสังคมของชาวล้านนา การนับถือผีดูจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะความเชื่อในการนับถือผีนั้นเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคมของผู้คนในชุมชนให้ดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่น แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะได้รับการนับถืออย่างแน่นแฟ้นและมีบทบาทที่สำคัญเกี่ยวข้องอยู่ในชีวิตของชาวล้านนาอย่างมาก แต่อิทธิพลของพระพุทธศาสนาก็มีไม่มากพอที่จะกลบเกลื่อนคติความเชื่อแบบดั้งเดิมได้หมด
ดังนั้นในสังคมของชาวล้านนาการนับถือผีก็ยังมีอยู่ปะปนไปกับพระพุทธศาสนา ดังสะท้อนให้เห็นในวัฒนธรรมประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาของล้านนาในทุกวันนี้จึงมิได้เป็นพระพุทธศาสนาแบบปรัชญา แต่จะเป็นพระพุทธศาสนาแบบชาวบ้าน ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง พุทธ พราหมณ์ และ ผี อย่างไรก็ตามความเชื่อในการนับถือผีและประเพณีที่เกี่ยวข้องในทุกวันนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงจนเหลือน้อยลง โดยเฉพาะในชุมชนเมือง แต่ในสังคมของชาวชนบทความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวกับการนับถือผีก็ยังมีปฏิบัติกันอยู่ การที่จะเข้าใจในลักษณะสังคมวัฒนธรรมและวิถึชีวิตของชาวล้านนาให้ถ่องแท้แล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในระบบความเชื่อดังกล่าวนี้ด้วย
      " การฟ้อนผี " ซึ่งจัดได้ว่าเป็นงานประเพณีและงานรื่นเริงอย่างหนึ่งของผู้คนในชุมชน ส่วนในระดับครัวเรือนนั้น เจ้าของเรือนคือ พ่อแม่และลูกหลานจะเป็นผู้เลี้ยง ซึ่งโดยทั่วไปจะถือเอาวันพญาวันหรือวันเถลิงศกของสงกรานต์ในทุกปีเป็นวันเลี้ยง โดยเจ้าของเรือนหรือผู้อาวุโสจะนำเครื่องไว้สังเวยขึ้นวางบนหิ้งผีปู่ย่าในเรือนของตน แล้วกล่าวคำอัญเชิญผี ก็เป็นอันเสร็จพิธี
นอกจากนี้ยังอาจมีการเลี้ยงผีในกรณีที่มีการ " ผิดผี " และในงานมงคลต่างๆ เช่น การแต่งงาน การขึ้นบ้านใหม่ การบวชพระ รวมทั้งเมื่อมีคนในบ้านเรือนเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยและได้บนบานไว้ เมื่อหายป่วยแล้ว ก็ต้องมีการแก้บน การฟ้อนผีปู่ย่าเป็นธรรมเนียมประเพณีของคนภาคเหนือซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ แต่ไม่มีหลักฐานหรือตำนานเขียนไว้อย่างชัดเจน คงเป็นเพียงคำเล่าขานและยึดถือเป็นธรรมเนียมที่บุคคลบางกลุ่มได้สืบทอดกันมา การฟ้อนผีปู่ย่าไม่ได้หมายความว่าจะมีขึ้นทุกแห่งหนตำบลใดก็ได้ แต่จะมีขึ้นในบางแห่งบางท้องที่และบางหมู่บ้านที่ยังสืบทอดมาจากพ่อแม่ปู่ย่าตายายเท่านั้น อีกประการหนึ่ง บรรบุรุษได้ไว้วางไว้เป็นปริศนาให้คนรุ่นหลังได้ถือเอาเป็นแบบอย่าง เพื่อให้วงศาคนาญาติได้มีความรักความสามัคคี ความพร้อมเพรียง เป็นการผูกมิตรไมตรีในเครือญาติด้วยกัน
" ฟ้อนผี " ฤๅจะเหลือไว้เพียงความทรงจำ
การฟ้อนผีปู่ย่ามักจะนิยมทำกันในเดือนมีนาคมหรือเดือนหกเหนือ เพราะว่าในเดือนนี้เราจะได้ไม่ต้องกังวลในเรื่องฟ้าฝน การฟ้อนผีปู่ย่าแม้จะเป็นธรรมเนียมของคนภาคเหนือก็ตาม แต่หลักการปฏิบัติและพิธีกรรมนั้นไม่เหมือนกัน แล้วแต่จะตกลงกันทำอย่างไร แบบไหน ส่วนใหญ่แล้วจะตกลงกันว่า 3-4 ปี จะมีการฟ้อนหนึ่งครั้ง
      การฟ้อนผีปู่ย่ามี 2 แบบ อย่างแรกฟ้อนตามธรรมเนียมที่ตกลงกัน อย่างที่สองคือ เมื่อมีญาติคนหนึ่งคนใดเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยรักษายังไงก็ไม่หาย ก็จะมีการบนบาน ถ้าลูกกล่าวต่อผีปู่ย่าว่าถ้าอาการเจ็บป่วยหายจะฟ้อนให้ เมื่อหายจริงก็ต้องทำตามสัญญา การฟ้อนผีปู่ย่านั้น เมื่อใกล้ถึงกำหนด ญาติผู้เป็นประธานที่หอปู่ย่าตั้งจะทำการบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องทุกคนไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตามให้รับทราบและมาพร้อมกันในวันนัดหมาย จะเห็นได้ว่าคติการนับถือผีปู่ย่านั้นเกี่ยวข้องอยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านในแทบทุกระดับ นับตั้งแต่เกิด การแต่งงาน การทำมาหากินและการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของกลุ่มเครือญาติ เช่น การทะเลาะวิวาท รวมทั้งยังช่วยในด้านการรักษาโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมทางจริยธรรมและพฤติกรรมทางเพศของผู้หญิงนั้นนับว่าเป็นลักษณะเด่นของผีปู่ย่า
     กล่าวคือ เมื่อมีการกระทำที่ผิดทำนองคลองธรรม เช่น ล่วงละเมิดพรหมจรรย์ การถูกเนื้อต้องตัว รวมทั้งการเกี้ยวพาราสีผู้ชายที่ไม่ใช่สามีของตน จะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เป็นการ "ผิดผี" ผีปู่ย่าจะลงโทษให้เกิดอาเพศและเกิดอาการเจ็บป่วยภายในสมาชิกของครัวเรือนหรือในกลุ่มเครือญาติ จำเป็นต้องมีการประกอบพิธีเซ่นไหว้ ขอขมาลาโทษและเสียค่าปรับไหมหรือเสียผี ซึ่งการเสียผีนั้นไม่มีข้อกำหนดของเวลา ผิดผีเมื่อไหร่ก็ต้องเสียผีเมื่อนั้น โดยทั่วไปแล้วการประกอบพิธีกรรมเสียผีนั้นจะจัดกันเป็นพิธีส่วนตัว โดยมักจะกระทำในเรือนหอหรือห้องนอนของพ่อแม่ มีเครื่องเซ่นไหว้หลายอย่าง รวมทั้งหัวหมูและค่าปรับไหม แต่บางครั้งก็จะเป็นการเลี้ยงผีที่ต้องมีการเชิญเครือญาติมาร่วมพิธีกรรมด้วย
     คติการนับถือผีปู่ย่านั้นมีอยู่แพร่หลายมากกว่าประเภทอื่นๆ และพบว่ามีอยู่ทั่วไปในสังคมของชาวล้านนา เป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องอยู่ในโครงสร้างทางสังคมและใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวล้านนาเป็นอย่างมาก ปัจจุบันแม้ว่าความเชื่อดังกล่าวจะได้ลดน้อยลงไป แต่ก็ยังคงหลงเหลืออยู่และยังสะท้อนให้เห็นถึงความคิด ความเชื่อในเรื่องดังกล่าวนี้ได้ในประเพณีและพิธีกรรมต่างๆที่ชาวล้านนาปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้ เป็นที่น่าเสียดายว่าคติความเชื่อที่ดีงามเหล่านี้ ปัจจุบันจะเริ่มเลือนหายไปจากวิถีชีวิตของชาวล้านนา เหลือไว้เพียงภาพความทรงจำที่ได้เคยมีเมื่อครั้งก่อนไว้เป็นอนุสรณ์ให้คนรุ่นหลังได้หวนรำลึกถึงเท่านั้น
IP : บันทึกการเข้า

...มากคนมากเรื่องรู้.......................ตอแหล
จริงบ่จริงตอแย.............................เร่งเร้า
          มากมายเรื่องวอแว........................จักขุ่น...ใจเฮย
           เพียงคิด หยิกหยอกเย้า ................อย่าได้  หาความ
แก้วซอมพอ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,066



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 25 ธันวาคม 2009, 19:31:52 »

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม  พี่..กอย่า.. อ่านให้หมดนะครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

...มากคนมากเรื่องรู้.......................ตอแหล
จริงบ่จริงตอแย.............................เร่งเร้า
          มากมายเรื่องวอแว........................จักขุ่น...ใจเฮย
           เพียงคิด หยิกหยอกเย้า ................อย่าได้  หาความ
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 26 ธันวาคม 2009, 11:11:56 »

ดี.....จริงๆ
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แชทซาโนย่า กอยุ่ง~*-.
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,309


*..ปรับปรุงระบบ..*


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 26 ธันวาคม 2009, 11:36:11 »

สรุปคือ พิธีกรรมที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าความเชื่อ

แต่คนอีกส่วนหนึ่งเค้าทำเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษของเค้านั้นเอง

ขอบคุณแก้วซอมพอนักๆ เลยเจ้า...
IP : บันทึกการเข้า

ஐ.¸¸.·´¯`¸¸.·•.¸¸.•´´¯`•(^)•♥ คนที่ด่าคนอื่นสะท้อนว่าระบบข้างในกำลังพัง คนอารมณ์เสียเพราะถูกด่า แสดงว่าระบบของตัวเองก็พังตามไปด้วย [ว.วชิรเมธี]ஐ.¸¸.·´¯`¸¸.·
แก้วซอมพอ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,066



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 26 ธันวาคม 2009, 17:59:34 »

ยินดีเน้อครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

...มากคนมากเรื่องรู้.......................ตอแหล
จริงบ่จริงตอแย.............................เร่งเร้า
          มากมายเรื่องวอแว........................จักขุ่น...ใจเฮย
           เพียงคิด หยิกหยอกเย้า ................อย่าได้  หาความ
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!