ภัยพิบัติใหญ่ในไทย
คอลัมน์ คอลัมน์ที่13
ในรอบเดือนสองเดือนที่ผ่านมา ทั่วประเทศไทยเกิดฝนตกหนัก เนื่องจากอิทธิพลของมรสุม และหย่อมความกดอากาศ
ส่งผลให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดน้ำท่วมใหญ่
โดยเฉพาะ จ.นครราชสีมา ประสบวิกฤตรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี
ก่อนที่พายุดีเปรสชันจะโหมกระหน่ำเข้าฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
ในพื้นที่สงขลา สตูล ตรัง นราธิวาส ยะลา ปัตตานี พัทลุง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่
โดยเฉพาะ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นน้ำท่วมใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี นับจากเดือนพ.ย. 2543
ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 26 ราย มูลค่าความเสียหายประมาณ 2 พันล้านบาท
ครั้งนี้สรุปยอดผู้เสียชีวิตทั่วประเทศล่าสุดคือ 107 ราย
พิบัติภัยที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย อาจแยกตามชนิดของภัยธรรมชาติได้ดังนี้
1. ภัยจากพายุ
ครั้งสาคัญ ได้แก่ "พายุโซนร้อนแฮเรียต" พัดเข้าแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2505
มีผู้เสียชีวิต 870 ราย สูญหาย 160 คน บาดเจ็บ 422 คน ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย 16,170 คน ทรัพย์สินสูญเสียราว 9.6 ร้อยล้านบาท
"พายุไต้ฝุ่นเกย์" พัดเข้าสู่จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ความเร็วของลมวัดได้ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง
มีผู้เสียชีวิต 602 ราย บาดเจ็บ 5,495 คน บ้านเรือนเสียหาย 61,258 หลัง ทรัพย์สินสูญเสียราว 11.7 พันล้านบาท
"พายุไต้ฝุ่นลินดา" ก่อให้เกิดอุทกภัย และคลื่นซัดฝั่งในพื้นที่ 11 จังหวัดภาคใต้และภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 2-4 พฤศจิกา ยน 2540
"พายุโซนร้อนอีรา และโลล่า" เข้าสู่ประเทศไทยที่ จ.อุบล ราชธานี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2533
สิ่งปลูกสร้างหลายอย่างถูกทำลาย พื้นที่เกษตรกรรมเสียหาย 4,133,281 ไร่ รวมมูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท
2. ภัยจากดินถล่ม
ครั้งสำคัญคือ "ดินถล่มที่บ้านกะทูนเหนือ" อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 22 พฤศจิกายน 2531
มีผู้ประสบภัย 230 คน บ้านเรือนเสียหายประมาณ 1,500 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 6,150 ไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท
"ดินถล่มที่ตำบลน้ำก้อ" อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2544
มีผู้บาดเจ็บ 109 คน เสียชีวิต 136 ราย สูญหาย 4 คน บ้านเรือนเสียหาย 629 หลัง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 645 ล้านบาท
"ดินถล่มที่ตำบลแม่พูล" อำเภอลับแล บ้านไฮ่ฮ้า บ้านน้ำไคร้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549
มีผู้เสียชีวิต 75 ราย บ้านเรือนเสียหาย 3,961 หลัง
3. ภัยจากแผ่นดินไหว
ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงแผ่นดินไหวขนาดเล็กและปานกลาง
17 กุมภาพันธ์ 2518 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.6 และ 5.9 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ใกล้อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัด กาญจนบุรี
แรงสั่นสะเทือนสามารถรู้สึกได้ถึงกรุงเทพฯ
11 กันยายน 2538 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 ริกเตอร์ ศูนย์ กลางอยู่ที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
โรงพยาบาล วัด และโรงเรียนต่างๆ บริเวณอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และใกล้เคียง ได้รับความเสียหายนอกจากนี้ผลกระทบจากแผ่นดินไหวบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้ประเทศไทยเกิดภัยพิบัติร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
คือ การเกิด "คลื่นยักษ์สึนามิ" ซัดถล่ม 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547
มีผู้เสียชีวิตทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติทั้งสิ้น 5,395 ราย บาดเจ็บ 8,457 คน สูญหาย 2,995 คน
เป็นภัยพิบัติครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ
หน้า 6
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREEyTVRFMU13PT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1DMHhNUzB3Tmc9PQ==