เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 15:15:19
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ปะ วันนี้มาอู้ถึงเหล้ากั๋น
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ปะ วันนี้มาอู้ถึงเหล้ากั๋น  (อ่าน 15438 ครั้ง)
อะไร?ยังไง?
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 357


« เมื่อ: วันที่ 30 ตุลาคม 2010, 19:03:55 »

ก้าห๋าฮู้ว่ามันมีหลายชนิด.... ตกใจ

ประวัติสุราจากเอกสารเรื่องมูลละเหล้า
 
เหล้าหรือสุราซึ่งผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวล้านนานั้น มีประวัติความเป็นมาทั้งในด้านคำบอกเล่า คือนิทานพื้นบ้าน และเอกสารลายลักษณ์ ที่มีการบันทึกไว้ในคัมภีร์ใบลานเรื่องมูลละเหล้า โดยต้นฉบับได้มาจากสองแห่ง คือ
มูลละเหล้า ฉบับวัดบ้านโป่ง ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
มูลละเหล้า ฉบับวัดสบก๊อ ตำบล ท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ต้นฉบับเอกสารทั้งสองเรื่องนี้ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ยืมมาถ่ายไมโครฟิล์มเก็บไว้ในคลังข้อมูลเอกสารโบราณล้านนา ซึ่งเนื้อหาของทั้งสองเรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องเดียวกันกับนิทานพื้นบ้านเรื่องเหล้าของคนเมือง คนลาว ไทใหญ่ และไทเขิน โดยข้อมูลจากเอกสารลายลักษณ์ที่บันทึกไว้ด้วยตัวอักษรธรรมล้านนา หรือ " ตัวเมือง " นั้น มีรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับชื่อสถานที่และตัวบุคคล ซึ่งเป็นการเขียนขึ้นภายหลังจากที่คนไทยและลาว ได้รับอิทธิพลทางด้านความเชื่อจากพุทธศาสนา นิทานมูลละเหล้า หรือกำเนิดสุราเรื่องนี้ เป็นที่มาของศีลข้อ 5 คือ "สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปทังสมา ทิยามิ" ซึ่งให้งดเว้นการดื่มสุราเมรัยนั่นเอง

 มูลละเหล้า ฉบับวัดบ้านโป่ง
 

นิทานมูลละเหล้าบันทึกไว้ด้วยตัวอักษรพื้นเมือง จารลงบนใบลาน ความยาว 1 ผูก จำนวน 21 หน้าลาน ไม่ปรากฏปี พ.ศ.ที่คัดลอก ต้นฉบับได้มาจากวัดบ้านโปง ซึ่งพรรณเพ็ญ เครือไทย เป็นผู้สรุปเนื้อหาไว้ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ ดังนี้

" สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดนางวิสาขา โดยกล่าวถึงความเป็นมาของเหล้าว่า ในเมืองพาราณสีมีพรานป่าผู้หนึ่งชื่อสลา ได้เข้าไปหาผลไม้ในป่าหิมพานต์ และพบต้นไม้ซึ่งภายในกลวงมีน้ำขังอยู่ในโพรง เมื่อผลไม้ต่างๆ หล่นตกลงไปก็แช่อยู่ในนั้น ครั้นนกและสัตว์มากินก็เมามายไม่ได้สติ นายพรานจึงตักน้ำนั้นมากิน พร้อมกับนำสัตว์ที่สลบอยู่มาย่างกินด้วย ต่อมาพรานป่าได้ไปพบฤาษีชื่อวรุณณะ ซึ่งสร้างอาศรมอยู่ในป่าแห่งนั้น จึงนำน้ำเมาและเนื้อย่างไปถวาย ฤาษีกินแล้วก็เมามายจนเลิกบำเพ็ญพรตในที่สุด และเรียกน้ำเมานี้ว่าสุราเมรัย

ต่อมาพรานป่ากับฤาษีได้นำน้ำเมานี้ ไปเผยแพร่ในเมืองพาราณสี พระเจ้าพรหมทัตได้ลิ้มรสก็ติดใจ รวมทั้งชาวเมืองทั้งหลายซึ่งเรียกน้ำชนิดนี้ว่า "เหล้า" แต่ชาวเมืองเมื่อกินแล้วก็ขาดสติความยับคิด ทำให้เกิดเรื่องร้ายต่างๆ ตามมา นายพรานสลากับฤาษีวรุณณะกลัวความผิด จึงหนีไปยังเมืองสาเกต พญาเจ้าเมืองทราบข่าวจึงขอให้คนทั้งสองต้มเหล้าขาย ชาวเมืองได้กินแล้วก็เมามาย สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว ทั้งสองคนจึงพากันหนีไปยังเมืองสาวัตถี พระเจ้าสัพพมิตต์ผู้เป็นกษัตริย์ จึงโปรดให้เข้าเฝ้า และสั่งให้หมักเหล้า 500 ไห แต่ทั้งสองเกรงว่าหนูจะมากินเหล้า จึงจับแมวมัดติดไหเหล้าตัวละไห บังเอิญน้ำเหล้ารั่ว เมื่อแมวได้กินก็เมาสลบอยู่ คนรับใช้มาพบเข้าคิดว่าแมวตาย จึงกลับไปกราบทูลให้พญาเจ้าเมืองทราบว่า ในไหเหล้านั้นมียาพิษ พระเจ้าสัพพมิตต์จึงสั่งประหารชีวิตพรานป่าสลาและฤาษีวรุณณะ

เมื่อแมวฟื้นจากอาการเมาแล้ว คนรับใช้มาพบเข้าจึงไปกราบทูลให้พญาเจ้าเมืองทราบ พระเจ้าสัพพมิตต์สงสัยในรสชาติของเหล้า จึงลองกินดูพร้อมกับเสนาอามาตย์ ในขณะนั้นพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระอินทร์เล็งเห็นมนุษย์กระทำการอันเป็นบาป จึงแปลงเป็นพราหมณ์มาปรากฏกายต่อหน้า พระเจ้าสัพพมิตต์ได้เห็นรัศมีแผ่ออกมาจากร่างกาย ก็ถามพราหมณ์ว่าเป็นพระอินทร์จริงหรือ พระอินทร์จึงกล่าวถึงโทษของเหล้าว่า ถ้ากินในเมืองมนุษย์ก็ทำให้คนขาดสติ สามารถกระทำความชั่วต่างๆ ได้ง่าย หากกินในเมืองสวรรค์ก็ทำให้เกิดความเดือดร้อนเช่นเดียวกัน

หลังจากได้รับคำชี้แจงสั่งสอนจากพระอินทร์แล้ว พระเจ้าสัพพมิตต์จึงสั่งให้ทำลายเหล้าทั้ง 500 ไหนั้น และเลิกกินเหล้า หันมาถือศีลบำเพ็ญทาน เมื่อตายไปแล้วก็ได้ไปเกิดบนสวรรค์ ส่วนคนทั้งหลายยังเกิดความเสียดาย จึงเก็บเชื้อเหล้าไว้ ทำให้มีเหล้าแพร่หลายสืบมา ตราบจนกระทั่งปัจจุบัน 


มูลละเหล้า ฉบับวัดสบก๊อ
 

เอกสารตัวเขียนที่เป็นใบลานเรื่องนี้ ได้มาจากวัดสบก๊อ ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ต้นฉบับเป็นอักษรธรรมล้านนา คัดลอกโดยพระภิกษุอินทจัก ศรัทธาผู้สร้างถวายคือนายอ้าย แต่ไม่ปรากฏปี พ.ศ. ที่สร้าง ต้นฉบับเรื่องนี้มีความยาว 26 หน้าลาน ซึ่งสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ยืมมาถ่ายไมโครฟิล์มเก็บไว้ในคลังข้อมูลเอกสารโบราณล้านนา

เนื้อหาในมูลละเหล้าฉบับวัดสบก๊อ เป็นเรื่องเดียวกันกับฉบับวัดบ้านโปง แต่มีข้อแตกต่างเล็กน้อยที่เกิดจากการคัดลอก เช่นชื่อพรานป่า คือ สลา กับสุรา และชื่อฤาษี คือ วรุณณะ กับ จลุณณะ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นอกจากการชี้ให้เห็นถึงโทษของการดื่มสุราแล้ว สาระบางส่วนในมูลละเหล้ายังกล่าวถึงที่มาของฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และเหตุใดแมวจึงชอบกินหนู เป็นต้น 


พิเคราะห์ความจากมูลละเหล้า
 

จากเนื้อหาที่ปรากฏในนิทานมูลละเหล้าดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าที่มาของเหล้าในอดีตนั้น เกิดจากการหมักผลไม้ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องเล่าในนิทานพื้นบ้านของคนเมือง คนลาว ไทใหญ่ และไทเขิน แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแต่ในเอกสารลายลักษณ์นั้น ได้ดึงเอาเรื่องราวของฉากและตัวละคร ให้เป็นอินเดียมากขึ้น โดยดึงเอาพระพุทธเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้เพื่อที่จะอธิบายถึงที่มาของศีลข้อที่ 5 คือ สุราเมรยฯ ให้ดูสมเหตุผลมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ การกล่าวถึงเมืองสาวัตถี สาเกต พาราณสี และพระเจ้าพรหมทัต ดูเหมือนจะเป็นสูตรสำเร็จ ที่ให้ความรู้สึกถึงบรรยากาศของสมัยพุทธกาลได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม หากพินิจพิจารณาอย่างถ่องแท้ ถึงสังคมไทยในสมัยโบราณที่นับถือผี ก่อนที่จะหันมานับถือพุทธแล้ว จะเห็นได้ว่าการเกี่ยวข้องกับเหล้าในวิถีชีวิตเป็นเรื่องปกติธรรมดา ดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมต่างๆ เช่น การเลี้ยงผี การเรียกขวัญ รวมไปถึงการบูชาสังเวยเจ้าที่ หรือวิญญาณกษัตริย์ในการเฉลิมฉลอง 700 ปีเมืองเชียงใหม่ ยังต้องอาศัยเหล้าเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในเครื่องเซ่นสรวงสังเวย เพียงแต่ว่าสิ่งที่แปลกออกไปจากสมัยดั้งเดิมก็คือ การเปลี่ยนจากเหล้าไหมาเป็นเหล้าขวด ทั้งนี้เพื่อความสะดวกตามสมัยนิยมนั่นเอง

อนึ่ง ภาพวาดจากจิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีภาพการซื้อเหล้า ขายเหล้าของชาวบ้าน แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตปกติธรรมดาของราษฎรทั่วไป ต่อมาภายหลัง เมื่อศีลข้อที่ 5 กำหนดให้ชาวพุทธละเว้นจากเครื่องดองของเมาทั้งปวง เหล้าจึงกลายเป็น " ของต้องห้าม" ซึ่งผู้ที่เคร่งในศาสนามองว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว เหล้าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตพื้นบ้านที่มีมาแต่อดีตกาล ก่อนที่ศาสนาจะเกิดขึ้นด้วยซ้ำไป 


กรรมวิธีการผลิตเหล้าของภาคเหนือ
 

ขั้นตอนและกรรมวิธีในการผลิตเหล้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เหล้าหมักกับเหล้าต้มนั้น ค่อนข้างจะมีความละเอียดไม่น้อย แต่สิ่งสำคัญที่จะขาดเสียมิได้คือแป้งเหล้า ส่วนสูตรการทำเหล้าให้อร่อย ขึ้นอยู่กับฝีมือของแต่ละคน รวมทั้งแป้งเหล้าที่มีส่วนผสมหลายอย่าง ดังที่อุดม รุ่งเรืองศรี เรียบเรียงเรื่องเหล้าไว้ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ โดยอาศัยข้อมูลของบุญยัง ชุมศรี สมพล ไวโย และมนตรี ใจสัตย์ ดังนี้ 


สูตรของแป้งเหล้า
 

แป้งเหล้าทำมาจากข้าวเหนียว มีส่วนผสมของตัวยาที่เป็นสมุนไพรหลายชนิด โดยข้าวเหนียว 1 ลิตร ที่จะใช้ทำแป้ง ต้องเป็นข้าวเก่าที่แข็ง สูตรในการทำมีดังนี้

ตำราที่ 1 มีส่วนผสม คือ
ข่าแกง 10 แว่น (บางตำราว่าเป็นสองเท่าของเครื่องยาทั้งหมด)
ขิงแกง 10 แว่น
กระเทียมแห้งแก่จัด 10 หัว
เปลือกหอมแก่ 1 กำมือ
ใบหัสคืน 1 วงมือ
ใบมะข่าง (ลอด) 1 วงมือ
ใบหญ้าควยงูหลวง 1 วงมือ
ตำราที่ 2 มีส่วนผสม คือ
ข่าแห้ง สองเท่าของเครื่องยาทั้งหมด
ขิงแห้ง
พริกขี้หนูแห้ง
จักค่าน หรือสะค้าน
ลูกจันทน์หอม
รากปิ๊ดปิวแดง หรือเจตมูลเพลิง
เปลือกกล้วยเชียงรายตากแห้ง
ดอกจันทน์จี (กานพลู) จันทน์บาน (จันทน์เทศ)
ดีปลี
ผลมะอี่
พริกไทย
 

เหล้าน้ำขาว
เหล้าน้ำขาวเป็นเหล้าหมัก มีกรรมวิธีในการทำแต่ละไห โอ่ง หรือถัง แล้วแต่ภาชนะที่บรรจุ คือใช้ข้าวสารเหนียวประมาณ 6 ลิตร แป้งเหล้า 5-6 เม็ด แช่ข้าวเหนียวในน้ำประมาณ 1 คืน ล้างให้หมดกลิ่นแล้วนำไปนึ่งให้สุก หลังจากนั้นจึงเทลงในอ่างล้างให้หมดเมือก บดแป้งเหล้าให้ละเอียด คลุกเคล้ากับข้าวจนเข้ากันดี เสร็จแล้วนำไปใส่ถังหรือโอ่ง แล้วกดให้แน่นพอดี ตรงกลางกดลงให้เป็นแอ่ง เรียกว่า น้ำใจใคร่ หรือน้ำบ่อแก้ว ใช้น้ำสะอาดประมาณ 1 แก้วล้างมือลงไปในนั้น ปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ในที่ร่มประมาณ 5-7 วันจึงผ่าน้ำคือใช้น้ำต้มที่เย็นแล้วประมาณ 1 ขัน เทลงไปในเหล้านั้น บางตำราอาจใช้น้ำใบเตย หรือน้ำมะพร้าวก็ได้ จากนั้นจึงปิดฝา ทิ้งไว้ประมาณ 7 วันก็นำมากินได้ โดยใช้ผ้าขาวกรองแยกเศษข้าวออก แต่ถ้าเก็บไว้นานๆ เรียกว่า เหล้าเดือน 


เหล้ากลั่น
เหล้ากลั่น หรือเหล้าต้ม ซึ่งบางแห่งเรียกว่า เหล้าเหื่อ นั้น เป็นการนำเอาเหล้าน้ำขาวมาต้มกลั่น โดยแต่ละครั้งเรียกว่า "เหล้า 1 ตั้ง" กรรมวิธีในการหมักเหมือนกับเหล้าขาว แต่เพิ่มปริมาณข้าวมากขึ้นเป็น 10 ลิตร ใช้แป้งเหล้า 10 เม็ด หมัก 7-10 วันจึงผ่าน้ำ โดยใช้น้ำประมาณ 2 ขัน หมักตั้งแต่ครึ่งเดือนขึ้นไปจึงนำมาต้มกลั่น

อุปกรณ์สำคัญในการต้มเหล้าประกอบด้วย เตาปุง หม้อสาว หม้อปล่อง หม้อขาง (กระทะ) ไม้แป้นต้อง

วิธีการต้นกลั่นคือ จุดไฟในเตาปุงให้อยู่ในระดับคงที่ ยกหม้อสาวขึ้นตั้งบนเตา แล้วเทเหล้าที่หมักไว้นั้นลงไป จากนั้นจึงยกหม้อปล่องขึ้นวางบนหม้อสาว ช่วงรอยต่อระหว่างหม้อทั้งสอง ยัดให้แน่นสนิทด้วยผ้าชุบน้ำที่เรียกว่าที่เรียกว่า เตี่ยวหม้อหนึ้ง เพื่อกันไอน้ำมิให้รั่วออกไป จากนั้นจึงยกหม้อขางหรือกระทะไว้บนหม้อปล่อง อุดรอยต่อให้สนิท ป้องกันไอน้ำรั่ว ผูกไม้แป้นต้อง หรือที่ทางภาคใต้เรียกว่า แป้นน้ำถบ ไว้ด้านล่างของกระทะ ตรงบริเวณกลางหม้อปล่อง เจาะรูท่อไม้ตรงข้างหม้อปล่องให้เหล้าไหลออกสะดวก โดยตรงโคนไม้ที่อยู่ในหม้อปล่องบากให้ยาวประมาณ 5 นิ้ว วางไม้แป้นต้องรูปเรียวยาวบนร่องที่บากไว้นั้น ทางโคนให้อยู่สูงกว่าทางปลาย โดยเหล้าที่ควบแน่นเป็นไอน้ำ จะไหลจากไม้แป้นต้องออกไปตามรูท่อไม้ ที่มีภาชนะรองอยู่ด้านนอก ในขณะที่ไฟติดได้ที่ให้เติมน้ำเย็นลงไปในหม้อขางจนเกือบเต็ม ไอน้ำจากการต้มเหล้าหมักจะกระทบความเย็นที่กระทะ รวมกันกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่ไม้แป้นต้อง ไหลออกไปตามรูท่อไม้ เมื่อน้ำในหม้อขางเริ่มอุ่นให้ตักออก เติมน้ำเย็นลงไปใหม่อีกครั้ง การเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ จะช่วยให้ได้เหล้ามาก โดยเหล้าขวดแรกดีกรีไม่เกิน 30 ส่วนขวดที่สองเรียก เหล้าน้ำสอง หรือเหล้าหัวเด็ด ดีกรีประมาณ 70 สูงกว่าขวดอื่นๆ การต้มครั้งหนึ่งจะได้เหล้า 8-9 ขวด ขวดละประมาณ 750 ซีซี หากเทรวมกันก็จะได้ประมาณ 35-45 ดีกรี

อนึ่ง กรรมวิธีในการผลิตเหล้าในปัจจุบันได้พัฒนามากขึ้น โดยเปลี่ยนจากฟืนมาใช้ก๊าซหุงต้มแทน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว รวมทั้งการปรับปรุงหม้อต้มเหล้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
เหล้าเครียะของภาคใต้
 

เหล้าของภาคใต้ที่มีชื่อเสียงคือ เหล้าเครียะ ของสงขลา กับเหล้าท่าญา ของนครศรีธรรมราช ซึ่งสุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ กล่าวว่า เหล้าเครียะซึ่งต้มกลั่นจาก ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัด สงขลา เป็นเหล้าชั้นดี เพราะผู้ผลิตรักษาคุณภาพไว้ได้อย่างมีมาตรฐาน คือ มีดีกรีสูง จนทำให้เกิดสำนวนเปรียบเทียบว่า "ดีเหมือนเหล้าเครียะ"

ส่วนเหล้าท่าญาผลิตจาก ตำบลท่าพญา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช กรรมวิธีการต้มกลั่นคล้ายกับของภาคเหนือ แต่แตกต่างในด้านส่วนผสมของเครื่องเทศ ซึ่งใช้ไม้จันทน์หอมและชะเอมด้วย 


เหล้าอุของอีสาน
ชัยบดินทร์ สาลีพันธ์ กล่าวไว้ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า เหล้าอุ เป็นเครื่องดื่มมึนเมาชนิดหนึ่งของชาวภูไท หรือผู้ไทย ซึ่งมีดีกรี 5-10 ดีกรี ทำมาจากข้าวผสมกับแกลบแล้วบรรจุลงในไห มีไว้สำหรับดื่มกันเองในวันบุญ หรือวันชุมชนทำกิจกรรมร่วมของสังคม และนิยมใช้เป็นเครื่องดื่มต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนเรณูนคร ซึ่งมีรสหวานกลมกล่อมอร่อยพอดี ชาวผู้ไทยนิยมเรียกว่า "เหล้าอุ" หรือ " อุ" หรือ "เหล้าไห" และมักเรียกกันเล่นๆ ว่า "ช้าง" ( กินเหล้าอุ ก็เรียกว่า "ขี่ช้าง" ) ซึ่งชาวอีสานทั่วไปเรียกว่า "เหล้าโท" คือเหล้าหมักยังไม่ได้กลั่น ที่ภาคกลางเรียก "สาโท" หรือ " กระแช่ " 


กระแช่ภาคกลาง
กระแช่ที่มีชื่อเสียงของภาคกลาง เรียกกันว่า "เหล้าหัวแด่น" ผลิตจากบ้านเนินฝอยทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งลุงเฉลย ช้างเนียม มีสูตรพิเศษที่ทำให้กระแช่มีสีชมพูน่ากิน คือใช้ข้าวเหนียวดำผสมข้าวเหนียวธรรมดา ในอัตราส่วนครึ่งต่อครึ่ง หลังจากหมักแล้วประมาณสองอาทิตย์ก็ดื่มได้แล้ว โดยกรรมวิธีในการหมักกระแช่ของภาคกลาง อุหรือสาโทของอีสาน มีลักษณะคล้ายกับการหมักเหล้าน้ำขาวของภาคเหนือ ซึ่งมีวัตถุดิบสำคัญคือข้าว ในขณะที่ภาคใต้ใช้น้ำตาลโตนด หรือน้ำตาลจากลูกตาล เป็นหลัก 

เครดิต http://www.sri.cmu.ac.th/elanna/elanna47/public_html/pakinnaka/pakin16.html
IP : บันทึกการเข้า
อะไร?ยังไง?
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 357


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 30 ตุลาคม 2010, 19:07:53 »

ต่อกับนิทานเกี่ยวกับเหล้า น่าสนจั๋ยดี เหล้าก่อเป๋นวัตนธรรมอย่างหนึ่งเนาะ

เหล้าล้านนาในนิทานพื้นบ้าน
 

ประวัติความเป็นมาของเหล้าที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้าน และคำบอกเล่านั้น มีความแพร่หลายในกลุ่มคนไทย ทั้งที่อยู่ในประเทศและนอกประเทศ เช่น คนเมืองในล้านนา ไทใหญ่ที่มาจากรัฐฉาน และไทเขินที่มาจากเชียงตุง เป็นต้น โดยนิทานพื้นบ้าน หรือเรื่องเล่าที่เป็นมุขปาฐะเหล่านี้ มีรายละเอียดที่แตกต่างและคล้ายคลึงกันบางส่วน รวมทั้งความยาวและเนื้อหาปลีกย่อย ซึ่งน่าจะมีที่มาจากต้นตอเดียวกัน

ประวัติของเหล้าในนิทานพื้นบ้าน จากการศึกษารวบรวมของ เวาน์ เพลงเออ ( Vagn Plenge ) นักมานุษยวิทยาชาวสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นผู้รวบราวมและตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ ด้วยปัญญาและความรัก นิทานชาวเมืองเหนือ โดยมี จรัญ อุปรานุเคราะห์ เป็นผู้ช่วยเหลือนั้น นิทานซึ่งบันทึกไว้ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ นั้น มีอยู่จำนวนหนึ่งที่กล่าวถึงที่มาของเหล้า ดังนี้
 
เหล้าในนิทานคนเมือง
 

กำเนิดของเหล้าในนิทานคนเมือง หรือไทยวน จากคำบอกเล่าของพระภิกษุสุข หรือท่านสุข จากวัดปงคก อำเภองาว จังหวัดลำปาง ซึ่งเวาน์ เพลงเออ กล่าวถึงวิทยากรท่านนี้ว่า

"อดีตเคยเป็นช่างซออาชีพที่มีคนรู้จักดี และยังเป็นผู้รวบรวมเรื่องต่างๆ ไว้มากคนหนึ่ง ท่านชอบที่จะซอให้ฟังมากกว่าจะเล่าให้ฟังเฉยๆ ในตอนเข้าพรรษาปี 2527 ท่านก็มาบวชเป็นพระ ตัวท่านเองนั้นมาจากอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ อายุอยู่ในวัยกลางคน"

ประวัติเริ่มต้นของเหล้า
" ในสมัยพุทธกาล มีชายคนหนึ่งซึ่งเมื่อตอนเป็นเด็กนั้น ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ จึงถูกขับไล่ออกจากบ้าน และไปอาศัยอยู่ในป่า ต่อมาชายคนนี้ได้นำเอาข้าวมาให้พ่อแม่ แต่ก็ได้รับคำแช่งด่า รวมทั้งการปฏิเสธจากพระพุทธเจ้าด้วย เขาจึงนำเอาข้าวไปไว้ที่โพรงไม้ โดยกล่าวว่าขอถวายข้าวนี้แก่เทวดา เมื่อฝนตกข้าวก็แช่อยู่ในน้ำนั้น ครั้นนกมากินก็มึนเมาและตายไป วันหนึ่งฤาษีมาพบเข้าก็เอานกนั้นไปปิ้งกินอย่างเอร็ดอร่อย จนอยากจะรู้ว่านกเหล่านั้นไปกินอะไรมา จึงไปดูที่โพรงไม้ ก็ทราบว่านกมากินน้ำที่นี่ ฤาษีได้ทดลองดื่มก็รู้สึกมีกำลังวังชา ต่อมาจึงนำไปให้ชาวบ้านกิน ทำให้หูตาลายไปหมด เพราะน้ำที่ดื่มนั้น พ่อแม่ได้แช่งด่าไว้ ใครดื่มกินเหล้าจึงมีอาการมึนเมา พูดจาไม่สุภาพมาจนตราบเท่าทุกวันนี้" 


เหล้าในนิทานไทใหญ่
 

ความเป็นมาของเหล้าในนิทานไทใหญ่ ผู้เล่าคือกำนันแสง สุนันท์ ซึ่งอพยพมาจากฝั่งพม่าเข้ามาอาศัยอยู่ริมแม่น้ำกก ที่หมู่บ้านใหม่โปร่งป้อม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อหาในเรื่องเล่าของชาวไทใหญ่ไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่โครงสร้างและที่มาของเรื่องมีความคล้ายคลึงกับเรื่องเล่าของคนเมือง ดังนี้ "

พระยาเจ้าเมืองใช้ให้ลูกไปทำนา หลังจากได้ข้าวแล้วเขาจึงขนกลับมาที่บ้าน แต่ผู้เป็นพ่อโกรธเคืองโดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่ยอมให้เอาข้าวไว้ที่บ้าน เขาจึงนำไปทิ้งในหนองน้ำนอกเมือง จนกระทั่งข้าวนั้นเกิดเป็นเหล้า ต่อมานายพรานเห็นนกมากินน้ำในหนองนั้นแล้วมีอาการแปลกประหลาด จึงทดลองกินบ้างและรู้สึกมึนเมาสนุกสนาน นายพรานจึงนำไปให้เจ้าเมืองลองกิน จนเกิดอาการเมามายและสั่งฆ่าลูกเมียของตน ครั้นสร่างเมาก็จำไม่ได้ว่าทำอะไรลงไป นี่คือจุดเริ่มต้นที่คนรู้จักเหล้า " 


เหล้าในนิทานไทเขิน
 

กำเนิดของเหล้าของชาวไทเขิน เล่าโดย สามสิงห์ ไม่ทราบนามสกุล ชาวอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีเนื้อหาค่อนข้างละเอียดและยาวกว่านิทานคนเมือง ดังนี้

" ในสมัยก่อน แม่ม่ายคนหนึ่งมีบุตรเป็นคนไม่ดี นางจึงไล่ออกจากบ้าน ต่อมาลูกของนางกลับตัวประพฤติตนเป็นคนดี และได้ภรรยาเป็นคู่ครอง ทั้งสองอยากจะกลับไปขอขมาผู้เป็นแม่ จึงได้จัดเตรียมผลหมากรากไม้ พริกผักต่างๆ ใส่เกวียนเดินทางกลับไปบ้าน แต่แม่ไม่ยอมรับ เขาจึงนำไปถวายพระพุทธเจ้า แต่ก็ถูกปฏิเสธอีก ระหว่างทางที่กลับไปบ้านของตน ทั้งสองพบโพรงไม้ใหญ่ จึงนำเข้าวของไปใส่ไว้ในโพรงไม้ เมื่อฝนตกก็ขังอยู่ในนั้นจนเกิดเป็นเหล้า เมื่อนกและสัตว์ต่างๆ มากินก็เกิดอาการมึนเมา นายพรานป่ามาพบเข้า จึงจับมาย่าง และทดลองดื่มกินน้ำเหล้าจนเมาหลับไป

เมื่อนายพรานตื่นขึ้นมาจึงตัดกระบอกไม้ไผ่มาใส่เหล้า หลังจากนั้นจึงนำไปถวายเจ้าเมือง ซึ่งได้ฆ่าไก่มาทำกลับแกล้ม และใช้ให้ทหารไปตักเหล้ามาอีกหลายครั้ง จนเกิดอาการมึนเมากันโดยทั่วหน้า สุดท้ายเจ้าเมืองเสียสติสั่งให้ฆ่าลูกเมียของตน ทหารเกิดความกลัว จึงพากันหนีไป เมื่อเจ้าเมืองสร่างเมาแล้วก็บังเกิดความเสียใจ จึงเรียกนายพรานมาสอบถามเรื่องราว และไปปรึกษาพระ โดยละเว้นจากการกินเหล้า รวมทั้งบัญญัติให้เป็นศีลข้อที่ 5 ต่อมาจึงสั่งให้ทหารไปโค่นไม้ต้นนั้น ทหารไปพบพริก ข่า ผลไม้ ก็นำมาทำเหล้า ผู้คนจึงกินกันมาตราบจนเท่าทุกวันนี้" 



อนึ่ง นิทานเกี่ยวกับเหล้าทั้งสามสำนวนดังกล่าว อุดม รุ่งเรืองศรี และเอมอร ชิตตะโสภณ ได้นำมาสรุปไว้ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ ดังตัวอย่าง

" เจ้าเมืองจึงไปหาพระและเล่าเรื่องให้ฟัง พระจึงเล่าเรื่องหญิงหม้ายและลูกชายเกเรให้เจ้าเมืองฟัง จนถึงตอนที่ลูกชายคนนั้นเอาของมาทิ้งไว้จนกลายเป็นเหล้า ฝ่ายเจ้าเมืองจึงคิดว่า ยังดีที่เราไม่ตาย ถ้ากินมากกว่านี้คงจะต้องตายเป็นแน่ เจ้าเมืองจึงคิดว่าให้เป็นศีลข้อหนึ่ง "

อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในภาคเหนือ ได้เกี่ยวพันกับเหล้าจนเป็นปกติธรรมดา อันเนื่องมาจากอิทธิพลของการนับถือผีบรรพบุรุษ ก่อนที่พุทธศาสนาจะแพร่หลายเข้ามานั่นเอง ดังปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

อาจกล่าวได้ว่า นิทานที่เกี่ยวพันกับการกำเนิดเหล้าของคนเมือง ไทใหญ่ และไทเขิน วิทยากรซึ่งเป็นผู้เล่าน่าจะได้ข้อมูลมาจากการรับฟัง หรือจากการอ่านเอกสารเรื่องมูลละเหล้า ซึ่งบันทึกความเป็นมาของเหล้าไว้อย่างละเอียด เช่น ใบลานของวัดบ้านโป่ง จังหวัดเชียงใหม่เป็นต้น

กำเนิดเหล้าของล้านช้าง
 

ตำนานการเกิดเหล้าในลาวนั้น มีความคล้ายคลึงกับของคนเมือง ไทใหญ่ และไทเขิน อยู่ไม่น้อย นั่นคือการกล่าวถึงพรานป่าไปพบน้ำเหล้า ที่หมักอยู่กลางกิ่งสามง่ามของไม้มะขามป้อม และนกแขกเต้าฝูงหนึ่งได้บินมากินเป็นประจำ บางครั้งกินแล้วก็จิกตีกันจนตกลงมา นายพรานเห็นผิดสังเกตจึงปีนขึ้นไปดู ครั้นได้ลองชิมก็ติดใจในรสชาติอันหอมหวาน จึงตักเอาไปถวายเจ้าเมือง ต่อมาจึงเกิดพิธีฟายเหล้า หรือเสกเหล้าเซ่นผี เชิญเจ้าที่มากิน ดังปรากฏในหนังสือวัฒนธรรมโบราณลาว หรือวัดทะนะทัมบูฮานลาว ซึ่งจันมี สิดทิมะโนทัม เป็นผู้รวบรวม ดังตัวอย่าง

เอกะ เอโก มิกคะรุดโท
ยังมีกระทาชายผู้หนึ่ง มันก็บายเอาถงลายมาห้อยบ่า
แล้วจิ่งแบกเอาไม้สามง่าม กับแหล้งปืน
ไปยืนอยู่ระแวกป่า แล้วจิ่งเหลียวขึ้นเทิง
เห็นไม้ขามป้อม สามง่ามโกนกางมีทางเลิกและกว้าง


จากตัวอย่างตำนานการเกิดเหล้าของลาวดังกล่าว จะเห็นได้ว่านิทานซึ่งเป็นที่มาของสุรานั้น มีความคล้ายคลึงกัน อันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ระหว่างชนชาติไทย-ลาว ที่ใกล้ชิดเป็นอย่างยิ่ง 


http://www.sri.cmu.ac.th/elanna/elanna47/public_html/pakinnaka/pakin15.html
IP : บันทึกการเข้า
near near
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2010, 07:55:23 »

คับผม ตกหมะแลง ตะวันก่ายดอยส้มปากแหมเหม๊าะ
บ่ะเดี่ยวเพิ่มโซดา น้ำแข็งก๋วง  แต่ สรถ.บ่ได้กิ๋นเมินล่ะ
IP : บันทึกการเข้า
คำอ้ายบ้านดู่
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,033


คำอ้ายบ้านดู่


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2010, 20:03:36 »

กิ๋นหื้อเป็นยาบ่ดีกิ๋นนักล้ำไปเน้อ ปี้หนานฝากบอกมา


* IMG_1913.jpg (135.59 KB, 500x751 - ดู 4519 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
อะไร?ยังไง?
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 357


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2010, 20:19:18 »

^^ ผ่อพรีเซ็นเตอร์เลาะ  ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
คนหล่ายเวียง
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 657


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2010, 20:32:34 »

อู้ถึงเรื่องเหล้า
เกยอ่านป๊ะคำเทศนาของพระพิศาลธรรมพาที (พระพยอม กัลยาโณ)
ก็เลยขออนุญาตนำมาลงหื้อเจ้าหมู่ได้อ่านเน้อเจ้า
เรื่องมีอยู่ว่า
v
v
v
v

วันหนึ่งไอ้ขี้เมามันเดินเข้ามาหาพระในวัด…
มันบอกว่าหลวงพี่ชอบด่าคนกินเหล้าว่าโง่ยิ่งกว่าหมา…
อยากจะทดสอบหลวงพี่หน่อย…ที่หลวงพี่บอกว่าเหล้าไม่ดีนะ…
หลวงพี่รู้หรือเปล่าว่าเหล้านะมีส่วนผสมอะไรบ้าง..?

หลวงพ่อก็ตอบไปว่า..เรื่องง่ายๆ ทำไมพระจะไม่รู้
คนโบราณเขาเล่าว่า…
เหล้ามันผสมด้วยเลือดสัตว์  5 ชนิด… คือ…

1. เลือดเสือ… กินเข้าไปแล้วดุมาก…มึงช่วยหามกูไปตีกับมันหน่อย…
2. เลือดงู… กินแล้วเดินไม่ตรงทาง…คดไปคดมา…
3. เลือดนก……  กินแล้วคุยทั้งวันทั้งคืน…ไม่รู้เอาเรื่องอะไรมาพูด…
4.เลือดหมู…..  กินแล้วนอนตรงไหนก็นอนได้..หมาเลียปากก็ไม่รู้สึก…
5.เลือดหมา….กินแล้วเห่าตะพึด…กระทั้งลูกเมียตัวเองมันก็จะกัด…

พูดเสร็จอาตมาก็รีบเดินเข้ากุฏิ…เพราะพระไม่มีประกันชีวิต..
นำมาฝากอ่าน ขำๆ ค่ะ 


 ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
อะไร?ยังไง?
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 357


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2010, 20:34:24 »

อู้ถึงเรื่องเหล้า
เกยอ่านป๊ะคำเทศนาของพระพิศาลธรรมพาที (พระพยอม กัลยาโณ)
ก็เลยขออนุญาตนำมาลงหื้อเจ้าหมู่ได้อ่านเน้อเจ้า
เรื่องมีอยู่ว่า
v
v
v
v

วันหนึ่งไอ้ขี้เมามันเดินเข้ามาหาพระในวัด…
มันบอกว่าหลวงพี่ชอบด่าคนกินเหล้าว่าโง่ยิ่งกว่าหมา…
อยากจะทดสอบหลวงพี่หน่อย…ที่หลวงพี่บอกว่าเหล้าไม่ดีนะ…
หลวงพี่รู้หรือเปล่าว่าเหล้านะมีส่วนผสมอะไรบ้าง..?

หลวงพ่อก็ตอบไปว่า..เรื่องง่ายๆ ทำไมพระจะไม่รู้
คนโบราณเขาเล่าว่า…
เหล้ามันผสมด้วยเลือดสัตว์  5 ชนิด… คือ…

1. เลือดเสือ… กินเข้าไปแล้วดุมาก…มึงช่วยหามกูไปตีกับมันหน่อย…
2. เลือดงู… กินแล้วเดินไม่ตรงทาง…คดไปคดมา…
3. เลือดนก……  กินแล้วคุยทั้งวันทั้งคืน…ไม่รู้เอาเรื่องอะไรมาพูด…
4.เลือดหมู…..  กินแล้วนอนตรงไหนก็นอนได้..หมาเลียปากก็ไม่รู้สึก…
5.เลือดหมา….กินแล้วเห่าตะพึด…กระทั้งลูกเมียตัวเองมันก็จะกัด…

พูดเสร็จอาตมาก็รีบเดินเข้ากุฏิ…เพราะพระไม่มีประกันชีวิต..
นำมาฝากอ่าน ขำๆ ค่ะ 


 ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
ยิงฟันยิ้ม แฮงใด้แบบเนียนๆ
IP : บันทึกการเข้า
☺ (ต้นฟ้า1 อิดเหนื่อย) ☺
มีเงินล้นฟ้า ไม่เท่าค่าของคน
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,194


** ความสุขเล็กๆ **


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2010, 21:00:43 »

อิอิแต่ละท่านนิแฟนพันธ์แท้ทั้งนั้นอิอิ อิดเหนื่อย ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

รับซื้อ-ขายมือถือ มือ 2 ทุกรุ่น ราคามิตรภาพ Line id = spphone  อิดเหนื่อย
ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,466



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2010, 06:06:44 »

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
ได้ก้าผ่อ อิอิอิ
IP : บันทึกการเข้า

..............
near near
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2010, 10:01:21 »

555 อ้ายคำอ้ายบ้านดู่ ไค่หันขี้ปุ๋มพรีเซนเตอร์แต้ๆ ท่าจะหลวงก่น้อ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!