สำหรับพิธีตักบาตรเทโวโรหณะ ที่นิยมกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ นิยมจัดทำ ขึ้นในวัด และถือเป็นหน้าที่ของทางวัดนั้น ๆ และทายก ทายิการ่วมกันจัด
โดยมีวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ก่อนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นกำหนดวันทำบุญตักบาตรทางวัดจะจัดให้มีงานทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ โดยสิ่งที่ต้องเตรียม คือ
ก) รถทรงพระพุทธรูป หรือคานหามพระพุทธรูป เพื่อชักหรือหามนำหน้า พระสงฆ์ในการรับบาตร มีที่ตั้งพระพุทธรูปทรงกลางประทับรถ หรือคานหาม
ด้วยราชวัติ ฉัตร ธงโดยรอบพอสมควร มีที่ตั้งบาตรสำหรับรับบิณฑบาต ตรงหน้าพระพุทธรูป ส่วนตัวรถ หรือคานหามก็ประดับประดาให้งดงาม ได้ตามกำลัง
และศรัทธา สามารถใช้อุบาสกเป็นผู้เชิญพระพุทธรูปก็ได้ และมีผู้ถือบาตรตามสำหรับบิณฑบาต
ข) พระพุทธรูปยืน 1 องค์ จะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ ถ้าได้พระปางอุ้มบาตร ถือว่าเหมาะกับเหตุการณ์ที่สุด แต่ถ้าไม่มีพระปางอุ้มบาตร สามารถใช้
พระปางห้ามญาติ ปางห้ามสมุทร ปางรำพึง ปางถวายเนตร หรือปางลีลา ปางใดปางหนึ่งก็ได้ เพียงแต่ขอแต่ให้เป็นพระพุทธรูปยืนเท่านั้น ทั้งนี้ ไว้สำหรับเชิญขึ้น
ประดิษฐานบนรถทรง หรือคานหาม แล้วชักหรือหามนำขบวนรับบาตรเทโวโรหณะ โดยพระพุทธรูปนี้เป็นองค์แทนสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ค) เตรียมสถานที่ให้ทายก ทายิกาตั้งเครื่องใส่บาตร โดยจะจัดลานวัด หรือบริเวณรอบ ๆ โรงอุโบสถ เป็นที่กลางแจ้งแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้
จัดให้ตั้ง เป็นแถวเป็นแนวเรียงรายติดต่อกันไปเป็นลำดับ ๆ ถ้าทายก ทายิกาไม่มากนัก ก็จัดแถวเดียวให้นั่งใส่อยู่ด้านเดียวกันทั้งหมด
แต่ถ้ามากก็ให้จัดเป็น 2 แถว โดยนั่งหันหน้าเข้าหากัน เว้นช่องกลางระหว่างแถวทั้ง 2 ไว้สำหรับ พระเดินรับบิณฑบาตพอสมควรก็ได้
ฆ) แจ้งกำหนดการต่าง ๆ ให้ทายก ทายิกาทราบล่วงหน้าก่อนว่าจะกำหนด ให้ทำบุญตักบาตรพร้อมกันเวลาใด ซึ่งวัดบางแห่งจัดให้มีพระธรรมเทศนา
อนุโมทนาทาน หลังจากพระรับบาตรและฉันเสร็จแล้ว 1 กัณฑ์ด้วย และ วัดบางแห่งทายก ทายิกามีศรัทธาแรงกล้าก็จะขอให้ทางวัดจัดให้มีเทศน์ปุจฉาวิสัชนา
ในตอนบ่ายอีก 1 กัณฑ์ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือ ต่อ จากทำบุญตักบาตรนี้แล้วจะมีพิธีอะไรต่อไป ก็ต้องแจ้งกำหนดให้ทราบทั่วกัน ก่อนวันงาน