เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 กรกฎาคม 2025, 20:36:02
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  บอร์ดกลุ่มชมรม
| |-+  ชมรมดนตรี (ผู้ดูแล: NOtis, desh)
| | |-+  สอนการไล่ "สเกล"ฟรี 080-6805153
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน สอนการไล่ "สเกล"ฟรี 080-6805153  (อ่าน 1781 ครั้ง)
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« เมื่อ: วันที่ 23 พฤษภาคม 2013, 09:41:06 »

น้องๆ ลูกหลาน ทั้งหลายที่ยังไม่เข้าใจเรื่อง สเกล หรือ ทางดนตรี
เช่น ทางเมเจอร์ ทางไมเนอร์ ลงชื่อมาจะช่วยดึงผ้าม่านที่บังตาเอาไว้
ใช้เวลาสั้น ๆ (ชั่วโมงเดียว)ถ้ามีพื้นความรู้ทางโน้ตสากลมาบ้างก็จะง่ายขึ้น มาฟังแล้วทำอุปกรณ์ไปฝึกฝนด้วยตัวเอง ใช้ได้กับเครื่องดนตรีทุกชนิด
"อยู่แม่สาย" ใครสนใจลงชื่อและเบอร์ไว้ แล้วจะนัด วัน-เวลา และสถานที่ ในนี้แหละ ชักชวนกันมาเยอะ ๆก็ได้ ไม่จำกัด อายุและ เพศ
*******เป็นวันหยุดแน่นอน(เสาร์-อาทิตย์)******************
อุปกรณ์ที่เตรียมไปด้วย 1.คัทเตอร์  2.กระดาษแข็ง* 3.ไม้บรรทัด 4.ปากกาหรือดินสอ
*กระดาษแข็งอย่าแข็งมากเอาที่คัทเตอร์เจาะได้ไม่ลำบากกว้าง 1 ฟุต ยาว 1.5 ฟุต
****คนที่รู้แล้วไม่ต้องมาเพราะผมไม่ได้เก่งขั้นเทพ เพียงแต่รู้เคล็ดและวีธีการเอามาใช้อย่างง่าย ๆเป็นพื้นฐานในการเอาไปใช้งานแค่นั้นเอง(ผมจะสอนวิธีการ"ลัด"จากทฤษฎีต่อไปนี้ให้เหลือ 2 ชั่วโมง)
 

  ควรจะอ่านด้วยไว้เป็นความรู้ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นสำหรับกีตาร์ว่าด้วย Scale และ Mode
Scale
ทฤษฎีพื้นฐานที่จำเป็นมากในขั้นแรกนี้คือเรื่องของการไล่เสียงหรือบันไดเสียงหรือ scale นั่นเอง โดยการนำตัวโน๊ตต่าง ๆ มาไล่เรียงกันไป และสเกลพื้นฐานที่เราควรรู้จักคือ
1. Diatonic Scale ซึ่งเป็นการเรียงโน๊ตจากตัวหนึ่งตามชื่อไปจนครบ 8 ตัวซึ่งก็คือตัวเดียวกับตัวที่ 1 นั่นเองแต่สูงกว่า 1 octave หรือเรียกว่าคู่ 8 ซึ่งเป็นสเกลมาตรฐานซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสเกลเมเจอร์ และไมเนอร์ เป็นต้น ซึ่งจะมีความห่างของโน๊ตไม่สม่ำเสมอ เช่นบางคู่ห่างกันครึ่งเสียง บางคู่ห่างกัน 1 เสียง เป็นต้น ลองดูตัวอย่าง ของ C เมเจอร์สเกลและ A ไมเนอร์สเกลนะครับ
2. Whole Tone Scale เป็นสเกลหรือบันไดเสียงที่มีการไล่เสียงโดยให้โน๊ตแต่ละตัวมีความห่างกัน 1 เสียงเต็ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการนำเครื่องหมายชาร์ป และแฟล็ทมาใช้ในการบังคับให้โน๊ตมีความห่าง 1 เสียงเต็ม ถ้าเทียบบนคอกีตาร์คือคุณไล่สเกลโดยกดนิ้วข้ามช่องเว้นช่องไปเรื่อย ๆ (เนื่องจากครึ่งเสียง=1 ช่องเฟร็ต และ 2 ช่องเฟร็ต=1เสียงเต็ม) ลองดู C โฮลโทนสเกล นะครับ
3. Cromatic Scale คล้ายกับ whole tone scale แต่ช่วงห่างของเสียงของโน๊ตแต่ละตัวจะเป็นครึ่งเสียงแทน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการใช้เครื่องหมายชาร์ปและแฟล็ทในการควบคุมโน๊ตเช่นกัน หรือคือการไล่สเกลบนคอกีตาร์โดยการกดไล่ในทุก ๆ ช่องเฟร็ต ( 1 ช่องเฟร็ต=ครึ่งเสียง) ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างของ C โครมาติคสเกล
Mode
ผมจะอธิบายแบบง่าย ๆ เลยนะครับจะได้ไม่สับสน "โหมด" ในทางดนตรีก็คือการเรียงลำดับของโน๊ตในสเกลไดอะโทนิคใหม่ หรือพูดอีกทีคือ สเกลเดิมแต่เปลี่ยนโน๊ตที่ขึ้นต้นใหม่เช่นนำโน๊ตตัวที่ 2 ของสเกลมาเป็นตัวขึ้นต้นจากนั้นก็ไล่ต่อไปเป็น 3, 4, 5, 6, 7, 1และจบที่ 2 (ครบ 8 ตัวหรือ 1 octave) นี่คือ โหมดที่ 2 ต่อไปนำโน๊ตตัวที่ 3 มาขึ้นต้น แล้วไล่ใหม่เช่นเดิมเป็น ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 3 และตามด้วย 4, 5, 6, 7, 1, 2 และจบที่ 3 (ครบ 1 octave) ดังนั้นเราจะพบว่าเราสามารถสร้างโหมดได้ 7 โหมด ต่อไปเรามาดูชื่อของแต่ละโหมดดู ผมจะใช้ C เมเจอร์สเกลเป็นตัวอธิบายนะครับเพราะเป็นสเกลพื้นฐานที่ง่ายที่สุดและไม่มีเครื่องหมายชาร์ปหรือแฟล็ท (ศึกษารายละเอียดเรื่องสเกลเมเจอร์ได้ในเรื่อง major scale และ mode
ลักษณะของ Mode ต่าง ๆ
รายละเอียดของ Mode ต่าง ๆ
โหมดที่ 1 เรียกว่า "ไอโอเนียน" ก็คือเมเจอร์สเกลนั่นเอง คือ เริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวแรกของสเกล การใช้ก็จะเหมือนกับเมเจอร์สเกล
โหมดที่ 2 เรียกว่า "โดเรียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 2 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ D ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 3 เรียกว่า "ฟริเจียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 3 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ E ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 4 เรียกว่า "ลิเดียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 4 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ F ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 5 เรียกว่า "มิกโซลิเดียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 5 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ G ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 6 เรียกว่า "เอโอเลียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 6 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ A ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 7 เรียกว่า "โลเครียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 6 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ B ในสเกล C เมเจอร์
ตอนนี้คุณคงจะรู้จักกับ Mode มากขึ้นแล้วนะครับ แล้วต่อไปคุณจะเข้าใจมันมากขึ้นระหว่างความสัมพันธ์ของ Mode และ Scale เอาล่ะครับต่อไปเราไปดูรายละเอียดในเรื่องของเมเจอร์สเกลและสเกลอื่น ๆ รวมทั้งโหมดของสเกลต่าง ๆ เหล่านั้นกันเลย

4. Major Scale และ Mode
Major Scale เป็นสเกลพื้นฐานที่สำคัญและเป็นแม่แบบของสเกลอื่น ๆ อีกหลายชนิดเช่น ไมเนอร์ เพนตาโทนิค เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่สร้างมาจากสเกลเมเจอร์
สเกลเมเจอร์เกิดจากการเลียนการออกเสียงตามธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นจะเห็นว่าการไล่เสียงในสเกลเมเจอร์จะเป็นธรรมชาติมากในความรู้สึกเวลาเราออกเสียง มีลักษณะเสียงที่ชัดเจน มั่นคง แต่มีความสดใส เบิกบานแฝงอยู่ จึงถือว่าเป็นสเกลพื้นฐานของดนตรี ต่อมาเรามารู้จักโครงสร้างของสเกลเมเจอร์กันเลยนะครับ
ผมจะใช้ C เมเจอร์สเกลในการอธิบายนะครับ โดยการไล่เป็น Diatonic scale คือเริ่มที่ C และจบที่ C ในอีก octave หนึ่งการไล่เสียงของ C ลองมาดูโครงสร้างของ C เมเจอร์สเกลดู

ดังนั้นจะสรุปง่าย ๆ ได้ดังตารางนี้
ลำดับขั้นของโน๊ตในสเกล
ชื่อของแต่ละลำดับขั้น
ความห่างของเสียง
ขั้นคู่เสียง(Interval)
1st
Tonic
-
ขั้นคู่ 1 (enharmonic)
2nd
Supertonic
1 เสียง
ขั้นคู่ 2
3rd
Mediant
1 เสียง
ขั้นคู่ 3
4th
Subdominant
1/2 เสียง
ขั้นคู่ 4
5th
Dominant
1 เสียง
ขั้นคู่ 5
6th
Submediant
1 เสียง
ขั้นคู่ 6
7th
Leading Note
1 เสียง
ขั้นคู่ 7
8th
Tonic
1/2 เสียง
ขั้นคู่ 8 (octave)
ซึ่งข้อควรสังเกตที่สำคัญที่สุดคือระยะห่างระหว่างเสียงของโน๊ตคู่ระหว่างตัวที่ 3 กับ 4 และคู่ระหว่างตัวที่ 7 กับ 8 มีค่าเป็นครึ่งเสียง ในขณะที่คู่อื่น ๆ จะเต็มเสียงทั้งหมด และนี่คือโครงสร้างหลักของสเกลเมเจอร์ คราวนี้ถ้าเป็นสเกลอื่น ๆ บ้างล่ะ เราลองมาดู สเกล D เมเจอร์ดูบ้าง ซึ่งโน๊ตราก(root) หรือ Tonic จะต้องเป็น D แล้วจะเป็นอย่างไรเราลองมาจัดสเกลดูโดยเลียนแบบ C เมเจอร์ดูนะครับ จะได้ว่า
ลำดับที่
1
2
3
4
5
6
7
8
โน๊ต
D
E
F
G
A
B
C
D
ระยะห่างของเสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
แต่จากหลักของเมเจอร์สเกลคือระยะห่างของเสียงระหว่างโน๊ตตัวที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 ต้องมีค่าเป็น 1/2 เสียง ในขณะที่คู่อื่น ๆ มีระยะห่างเป็น 1 เสียง แต่จากตารางข้างบนจะเห็นว่าระยะห่างครึ่งเสียงไปอยู่ระหว่างโน๊ตคู่ที่ 2 กับ 3 และ 6 กับ 7 ซึ่งไม่ตรงกับข้อกำหนดของสเกลเมเจอร์
คราวนี้เราจะทำยังไงให้โน๊ตดังกล่าวเรียงกันตามหลักของสเกลเมเจอร์ ซึ่งเราจะต้องบังคับให้โน๊ตตัวที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 มีระยะห่าง 1/2 เสียง คุณลองย้อนไปถึงเรื่องของ Accidental คือเครื่องหมายชาร์ป, แฟล็ท และ เนเจอรัล ซึ่งสามารถลดหรือเพิ่มเสียงให้สูงขึ้หรือต่ำลงได้
เอาล่ะครับคราวนี้เรามาดูว่าเราจะทำยังไงดีให้ได้สเกล D เมเจอร์ที่ถูกต้องโดยอาศัยเครื่องหมาย ชาร์ปและแฟล็ท
1. ลองใส่เครื่องหมายชาร์ป;# ที่โน๊ตตัวที่ 3 คือ F เราจะได้ F# และมีผลให้โน๊ตตัวที่ 2 (E) และตัวที่ 3 (F#) ห่างกัน 1 เสียงเต็ม และโน๊ตตัวที่ 3 (F#) และ 4 (G) ห่างกัน 1/2 เสียง ซึ่งเป็นไปตามกฎของของสเกลเมเจอร์
2. ต่อไปลองใส่เครื่องหมายชาร์ป;# ที่โน๊ตตัวที่ 7 คือ C เราจะได้ C# และมีผลให้โน๊ตตัวที่ 6 (B) และตัวที่ 7 (C#) ห่างกัน 1 เสียงเต็ม และโน๊ตตัวที่ 7 (C#) และ 8 (D) ห่างกัน 1/2 เสียง ซึ่งเป็นไปตามกฎของของสเกลเมเจอร์
3. ตรวจสอบระยะห่างโน๊ตแต่ละตัวนั้นเป็นไปตามกฎของของสเกลเมเจอร์แล้วดังนั้นเราจะได้ D เมเจอร์สเกลคือ
ลำดับที่
1
2
3*
4
5
6
7*
8
โน๊ต
D
E
F#
G
A
B
C#
D
ระยะห่างของเสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
สรุปว่าเราสามารถสร้าง D เมเจอร์สเกลได้โดยการเรียงโน๊ตเริ่มจาก D เป็นตัวแรกและจบที่ D โดยที่มีการบังคับตัวโน๊ตด้วยเครื่องหมาย # 2 ตัวคือโน๊ตตัวที่ 3 (F#) และตัวที่ 7 (C#) จึงทำให้เป็นไปตามฎของของสเกลเมเจอร์ และการบังคับนี้เป็นการบังคับถาวร ดังนั้นในการเขียนสเกลบนบรรทัด 5 เส้นจึงเขียนเครื่องหมาย # บนเส้นที่ 5 บังคับให้โน๊ตบนเส้นที่ 5 ซึ่งมีเสียง F กลายเป็น F# ทั้งหมด เช่นเดียวกับการกำหนด # ที่ช่องที่ 3 ของบรรทัด 5 เส้น ซึ่งมีเสียง C ให้กลายเป็น C# ทั้งหมด ดังนั้นเราจะได้ D เมเจอร์สเกลที่สมบูรณ์ดังนี้
ต่อไปลองมาดู F เมเจอร์สเกลดูบ้างนะครับ ด้วยวิธีเดียวกับการสร้างสเกล D เมเจอร์ เรามาเรียงโน๊ตในสเกลก่อนได้ว่า
ลำดับที่
1
2
3
4
5
6
7
8
โน๊ต
F
G
A
B
C
D
E
F
ระยะห่างของเสียง
1 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
แต่จากหลักของเมเจอร์สเกลคือระยะห่างของเสียงระหว่างโน๊ตตัวที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 ต้องมีค่าเป็น 1/2 เสียง ในขณะที่คู่อื่น ๆ มีระยะห่างเป็น 1 เสียง แต่จากตารางข้างบนจะเห็นว่าระยะห่างครึ่งเสียงไปอยู่ระหว่างโน๊ตคู่ที่ 4 กับ 5 และ 7 กับ 8 ซึ่งคู่แรกไม่ตรงกับข้อกำหนดของสเกลเมเจอร์ แต่คู่หลังใช้ได้แล้ว
ต่อไปเรามาดูที่โน๊ตตัวที่ 4 (B) ถ้าเราลดมันลงมา 1/2 เสียงได้จะทำให้มันห่างจากโน๊ตตัวที่ 3 (A) 1/2 เสียงและห่างจากโน๊ตตัวที่ 5 (C) เท่ากับ 1 เสียงพอดี ดังนั้นเราจึงเลือกให้ติดแฟล็ทที่โน๊ตตัวที่ 4 หรือ B จากนั้นเราลองเขียนใหม่ได้
ลำดับที่
1
2
3
4*
5
6
7
8
โน๊ต
F
G
A
Bb
C
D
E
F
ระยะห่างของเสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
ลองตรวจสอบระยะห่างของโน๊ตแต่ละตัว ซึ่งก็ตรงตามกำหนดของเมเจอร์สเกลแล้ว ดังนั้นเราจะพบว่าในการไล่สเกล F เมเจอร์จะต้องติดแฟล็ทที่โน๊ต B เสมอ จากนั้นเราลองมาเขียนบนบรรทัด 5 เส้นได้ว่า
ด้วยหลักการเดียวกันนี้คุณสามารถสร้างสเกลอื่น ๆ ได้ทั้งทางชาร์ป (#) และทางแฟล็ท (b) แต่ผมจะไม่แสดงให้ดูทั้งหมดนะครับ คงจะสรุปให้ดูก็พอเพราะหลักการเดียวกันหมด สรุปเรื่องของการตั้งสเกลหรือบันไดเสียงนอกเหนือจาก C เมเจอร์สเกลซึ่งไม่ต้องมีการบังคับด้วยชาร์ปหรือแฟล็ทจะแบ่งเป็น 2 พวกคือ
1. การตั้งสเกลทางชาร์ป ; # ที่นิยมใช้กันจะมี 7 สเกลดังนี้
จำนวนชาร์ป ; #
ชื่อสเกล
Key Signature
โน๊ตที่ติดชาร์ป
1 ชาร์ป
G เมเจอร์สเกล
F
2 ชาร์ป
D เมเจอร์สเกล
F, C
3 ชาร์ป
A เมเจอร์สเกล
F, C, G
4 ชาร์ป
E เมเจอร์สเกล
F, C, G, D
5 ชาร์ป
B เมเจอร์สเกล
F, C, G, D, A
6 ชาร์ป
F# เมเจอร์สเกล
F, C, G, D, A, E
7 ชาร์ป
C# เมเจอร์สเกล
F, C, G, D, A, E, B
2. การตั้งสเกลทางแฟล็ท ; b ที่นิยมใช้กันจะมี 6 สเกลดังนี้
จำนวนแฟล็ท ; b
ชื่อสเกล
Key Signature
โน๊ตที่ติดแฟล็ท
1 แฟล็ท
F เมเจอร์สเกล
B
2 แฟล็ท
Bb เมเจอร์สเกล
B, E
3 แฟล็ท
Eb เมเจอร์สเกล
B, E, A
4 แฟล็ท
Ab เมเจอร์สเกล
B, E, A, D
5 แฟล็ท
Db เมเจอร์สเกล
B, E, A, D, G
6 แฟล็ท
Gb เมเจอร์สเกล
B, E, A, D, G, C
7 แฟล็ท
Cb เมเจอร์สเกล
B, E, A, D, G, C, F
ข้อสังเกต : การตั้งสเกลเมเจอร์ มีทั้งหมด 12 key
1. C เมเจอร์สเกล เป็นสเกลมาตรฐานซึ่งไม่ต้องใช้ # หรือ b กำหนดใน Key Signature เป็นสเกลที่กำหนดมาเพื่อเป็นมาตรฐานในการไล่เสียง
2. Key C# ตั้งสเกลทาง # และ Db ตั้งสเกลทาง b แต่เป็น key ที่เป็นเสียงเดียวกัน
3. Key D เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
4. Key Eb ตั้งสเกลทาง b เท่านั้น ส่วน Key D# ตั้งสเกลทาง # ไม่ได้
5. Key E เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
6. Key F เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง b เท่านั้น
7. Key F# และ Gb ตั้งสเกลทาง # หรือ b ก็ได้ แต่เป็นเสียงเดียวกัน
8. Key G เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
9. Key Ab ตั้งสเกลทาง b เท่านั้น ส่วน Key G# ตั้งสเกลทาง # ไม่ได้
10. Key A เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
11. Key Bb ตั้งสเกลทาง b เท่านั้น ส่วน Key A# ตั้งสเกลทาง # ไม่ได้
12. Key B เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
ต่อไปผมจะได้กล่าวถึง Mode ต่าง ๆ ในสเกลเมเจอร์ จากในหัวข้อเรื่อง Mode คุณได้รู้ถึง Mode ต่าง ๆ ของสเกล C เมเจอร์แล้ว ซึ่งใช้โน๊ตชุดเดียวกันทั้งหมดแต่จัดเรียงต่างกัน ต่อไปเรามาดูที่ D dorian mode หรือ mode ที่ 2 ของสเกล C เมเจอร์ ลองมาเทียบกับ D เมเจอร์สเกลดู
สำหรับ D dorian mode จะมีการไล่สเกลดังนี้
ลำดับที่
1
2
3
4
5
6
7
8
โน๊ต
D
E
F
G
A
B
C
D
ระยะห่างของเสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
และสำหรับ D major จะมีการไล่สเกลดังนี้
ลำดับที่
1
2
3
4
5
6
7
8
โน๊ต
D
E
F#
G
A
B
C#
D
ระยะห่างของเสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างสเกลและโหมดแล้ว จะเห็นว่าเพื่อที่จะแปลงจากสเกล D major ไปเป็น D dorian mode นั้นคุณจะต้องลดเสียงของโน๊ตตัวที่ 3 (F#) และโน๊ตตัวที่ 7 (C#) ของ D major สเกลลง 1/2 เสียง ทำให้โน๊ตตัวที่ 3 เป็น F และตัวที่ 7 เป็น C ซึ่งจะตรงกับ D dorian mode ดังนั้นเราจะเห็นว่าสามารถแปลงจาก major สเกลเป็น dorian mode โดยการติดแฟล็ทที่โน๊ตตัวที่ 3 และ 7 ของเมเจอร์สเกลนั่นเองจึงสรุปเป็นสูตรได้ว่า
dorian mode : 1 2 b3 4 5 6 b7 8 เมื่อเทียบกับเมเจอร์สเกล เช่น A dorian mode จะประกอบด้วย
โน๊ตลำดับที่
1
2
3
4
5
6
7
8
A mojor scale
A
B
C#
D
E
F#
G#
A
สูตรแปลง
1
2
b3
4
5
6
b7
8
A dorian mode
A
B
C
D
E
F#
G
A
และด้วยหลักการเดียวกันนี้คุณจะสามารถหาโหมดอื่น ๆ ของสเกลได้เช่นกัน ดังนั้นจึงสามารถสรุปสูตรของโหมดแต่ละโหมดได้ดังนี้
Mode
ชื่อ Mode
สูตรแปลงจาก Major สเกล
Mode 1
Ionian (major scale)
1 2 3 4 5 6 7 8
Mode 2
Dorian
1 2 b3 4 5 6 b7 8
Mode 3
Phrygian
1 b2 b3 4 5 b6 b7 8
Mode 4
Lydian
1 2 3 #4 5 6 7 8
Mode 5
Mixolydian
1 2 3 4 5 6 b7 8
Mode 6
Aeolian (natural minor)
1 2 b3 4 5 b6 b7 8
Mode 7
Locrian
1 b2 b3 4 b5 b6 b7 8
ต่อไปเรามาดู mode ต่าง ๆ ของ C นะครับโดยอาศัยสูตรแปลงจากตารางข้างบนนี้
Mode ต่าง ๆ ของ C
Notation & Tablature
C Ionian Mode (หรือ C Major Scale)
C Dorian Mode (หรือ Bb เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 2)
C Phrygian Mode (หรือ Ab เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 3)
C Lydian Mode (หรือ G เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 4)
C Mixolydian Mode (หรือ F เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 5)
C Aeolian Mode (หรือ Eb เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 6)
C Locrian Mode (หรือ Db เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 7)
ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่อง major scale และ mode ต่าง ๆ ของ major scale ซึ่งคงทำให้เพื่อน ๆ รู้จักกับมันมากขึ้น แต่จริง ๆ แล้วในเรื่องของ mode นั้นอาจจะไกลตัวไปนิดนึงสำหรับในการเล่นกีตาร์แบบเพื่อสนุกสนาน ไม่ได้เล่นอาชีพหรือแต่งเพลง อย่างไรก็ตามก็ไม่เสียหายที่จะรู้เอาไว้บ้างเผื่อในอนาคตเราอาจจะต้องการศึกษาสูงขึ้นหรือ อยากลองแต่งเพลงเองดูก็อาจจะได้นำเจ้าวัตถุดิบต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้ก็ได้ ซึ่ง mode แต่ละ mode จะให้สำเนียงที่มีเอกลักษณ์ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่คุณจะนำมาใช้
 




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 08 กรกฎาคม 2013, 12:48:52 โดย แมงคอลั่น » IP : บันทึกการเข้า
kiza_golf
สมาชิกลงทะเบียน
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,168


ไปให้สุด ทุกทางฝัน


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 23 พฤษภาคม 2013, 10:57:43 »

ว้า ไค่ไปแอ่วหาอาจารย์แต้เนาะ โอกาศหน้าวันว่างๆสักวันจะขับรถซื้อจิ้นไปปิ้งบ้านอาจารย์สักวันละ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

0 8888 6 88 53 / 091 492 6682 ก็อปแก็ป  เชียงราย
วุฒิชัย อินทะรังษี   842-0-11695-5  ธ.กรุงไทย

บ้านป่ายาง แม่คำหลัก 7 แม่จัน เชียงราย
ศึกษารายละเอียดให้ดี ก่อนกดเบอร์นะครับ
maxnammin
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 23 พฤษภาคม 2013, 11:01:57 »

น่าจะทำเป็นคลิปวิดีโอสอนนะครับ....บ้านผมอยู่ไกล..คงไม่สามารถไปเรียนด้วยตัวเองได้..แต่ก็อยากเรียนรู้ด้วยครับ
IP : บันทึกการเข้า
พลายชุมพล
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,643


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 23 พฤษภาคม 2013, 11:19:46 »

เหมือนอ่านตัวโน้ตคนตรีใช่หรือไม่ อยากให้ลูกเรียน12ขวบครับ
IP : บันทึกการเข้า
HYENA
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 252



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 23 พฤษภาคม 2013, 12:22:10 »

สอนออนไลน์ผ่านยูทูปจะดีมากเลยครับ


* 2758@2x.png (51.61 KB, 342x310 - ดู 710 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 23 พฤษภาคม 2013, 14:44:27 »

ตอบรวม ๆ ก็แล้วกัน
-เป็นวันหยุดราชการเท่านั้นที่จะนัดและใช้เวลาไม่มาก
-มาแอ่วหาได้ยินดีต้อนรับทุกท่านแต่ต้องนัดก่อนเน่อ(น้ำปาณะมีป่าเลอะตั้งแต่ 7-40 ดีกรี ดองยาพร้อม)
-ผมไม่ได้เรียนทางครูมาจะสอนทาง VDO คงไม่ได้เรื่อง แต่ถ้าใครมาเรียนแล้วพกกล้องมาจะถ่ายทำไปก็ไม่ว่า
-วิชานี้เหมาะสำหรับผู้ที่พอจะรู้เรื่องโน้ตมาบ้างแต่ถ้าไม่รู้มาก่อนเลย จะแนะนำให้ แล้วไปศึกษาด้วยตนเอง
  ถ้ามีใจรักก็จะรู้เร็ว ขอเพียงหมั่นฝึกฝน(ถ้ายังเรียนอยู่ก็อย่าทิ้งตำราเรียน)
-มาเรียนด้วยตัวเองจะได้รู้จักหน้าตา วันหนึ่งข้างหน้าเผื่อไปเห็นใครบางคนอยู่บนเวที "ครู"จะได้แอบปลื้ม
-ที่สำคัญที่สุด ผมเคยเรียนโน้ตสากลมาบ้างแต่เรื่อง สเกล ผมไม่รู้มาก่อน อาศัยฟังรุ่นพี่เขาพูดกันแล้วเก็บไปคิดและสังเกต  กว่าจะรู้ได้ด้วยตัวเองก็ใช้เวลาพอสมควร จึงอยากจะ เอามาบอก เพื่อให้ผู้อื่นได้รู้ เป็นวิทยาทาน
-ถ้าจะมาเรียนไม่ต้องเอาอะไรมาฝาก ไม่ต้องเอาอะไรมาให้ ขอเพียงความตั้งใจแค่นั้น (ถ้าจะเอาจิ้นมาปิ้งสู่กั๋นมาเต๊อะ)
IP : บันทึกการเข้า
Pisakken
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 959


ซื้อจริงขายจริงจ่ายจริง !!


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 23 พฤษภาคม 2013, 16:42:32 »

จารครับ ถ้าจะไปก็ไปเเม่สายเลยหรอครับ
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 23 พฤษภาคม 2013, 17:11:01 »

 ถูกต้องครับ ก็บ้านผมอยู่แม่สาย
IP : บันทึกการเข้า
automachine43
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,135


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 23 พฤษภาคม 2013, 18:03:10 »

ขอเบอร์หน่อยครับ อาจารย์ จะโทรสอบถามรายละเอียดครับ
IP : บันทึกการเข้า
Maxza555
ไม่รู้จะขอบคุณยังไงดี ^^
สมาชิกลงทะเบียน
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11,878



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 23 พฤษภาคม 2013, 20:23:15 »

เจ๋งครับจารย์
IP : บันทึกการเข้า

dump prs
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 304


Dump vasabi


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 09:18:10 »

คนดีๆน่าสนับสนุนครับผม ถ้ามีโอกาสหวังว่าไม่พลาดคับ ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
kiza_golf
สมาชิกลงทะเบียน
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,168


ไปให้สุด ทุกทางฝัน


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 12:29:26 »

คนดีๆน่าสนับสนุนครับผม ถ้ามีโอกาสหวังว่าไม่พลาดคับ ยิ้ม
ตามหน้าเฟสเลยป๋า เดี๋ยวจัดทริป แม่สายสักวัน ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

0 8888 6 88 53 / 091 492 6682 ก็อปแก็ป  เชียงราย
วุฒิชัย อินทะรังษี   842-0-11695-5  ธ.กรุงไทย

บ้านป่ายาง แม่คำหลัก 7 แม่จัน เชียงราย
ศึกษารายละเอียดให้ดี ก่อนกดเบอร์นะครับ
BIGBENZ
JESUS LOVE YOU
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,189


จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 13:54:03 »

 ยิ้มกว้างๆ +100  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

จงมอบงานของเจ้าไว้กับพระเจ้า และผลงานของเจ้าจะได้รับการสถาปนาไว้ (สุภาษิต 16:3)
ar jarn jack
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 700



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 16:08:21 »

 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 27 พฤษภาคม 2013, 10:15:03 »

เสาร์-อาทิตย์ไหนอยากไปหาก็ได้ ขอให้โทร.นัดเวลาก่อน คนเดียว สองคนก็ได้ไม่ต้องขอยืมสถานที่คนอื่น โทร.080-6805153 ใช้เวลาไม่นาน
-เรียนแล้ว เอาไปแกะเพลงและใส่คอร์ดได้ด้วยตัวเอ
-เปลี่ยน คีย์ สูงหรือต่ำ หรือ สำหรับคาด คาโป ได้
-จับคอร์ด คีย์บอร์ดได้ เล่นเบสได้ ฯ
(ช่วงหยุด 3 วันที่ผ่านมา มีละอ่อนแม่สายมาหาสองราย เอาเคล็ดวิชาไปแล้ว)
IP : บันทึกการเข้า
keemarok
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,311


ปรึกษาปัญหาทางรถ


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 27 พฤษภาคม 2013, 10:50:50 »

ขอ facebook อาจารย์ด้วยครับ ของดีๆ ให้ฟรีต้องรีบตักตวงครับ
IP : บันทึกการเข้า

จองลมได้ลม
NopPaDon niti
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 620


( นักปราชญ์ผู้เร้นกาย )


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2013, 19:50:33 »

ผมอยู่แม่สายพอดี อิอิ
แต่มาเรียนราชพัดคับ เสาร์-อาทิตย์คงได้กลับไปครับ  ยิ้มกว้างๆ  ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

เฟสบุ๊ค : www.facebook.com/noppadon.kaewragmook
Line    : noombluesman
087-7278688 D-tac (หนุ่ม) 09.00-16.30
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 29 พฤษภาคม 2013, 13:39:22 »

 ฤาษีอยู่ในดงอยากรู้ต้องเข้าดงไปหา ไม่มี Delivery ครับ
IP : บันทึกการเข้า
Theerapong Srikham
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 329


สุราไม่ได้สร้างบุรุษ แต่บุรุษก็ขาดสุรามิได้


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 29 พฤษภาคม 2013, 21:44:46 »

ฤาษีอยู่ในดงอยากรู้ต้องเข้าดงไปหา ไม่มี Delivery ครับ
ผมไม่รู้โน๊ต ครับ ที่เล่นทุกวันก็ฝึกจากการจับคอร์ด แล้วก็หัดเล่นเอา
สนใจอย่างมาก แต่ไม่รู้ว่าอย่างผมจะรู้เรื่อง ไหมครับ
IP : บันทึกการเข้า

ใจเขา...ใจเรา
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 30 พฤษภาคม 2013, 12:01:36 »

ฤาษีอยู่ในดงอยากรู้ต้องเข้าดงไปหา ไม่มี Delivery ครับ
ผมไม่รู้โน๊ต ครับ ที่เล่นทุกวันก็ฝึกจากการจับคอร์ด แล้วก็หัดเล่นเอา
สนใจอย่างมาก แต่ไม่รู้ว่าอย่างผมจะรู้เรื่อง ไหมครับ
ไปเล้ย แล้วจะรู้ว่า มันเป็นจะอี้บ่าดาย อย่างน้อยก็ทำให้เข้าใจเรื่องดนตรีอีกเยอะ
จะไปเมื่อไหร่โทรถามก่อนเน่ออาจจะไม่อยู่บ้าน แต่ส่วนมาก วันหยุดราชการ มักจะอยู่บ้าน เมิน ๆ นาน ๆ ลักหนีเมียไปแอ่วพ่อง
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!