เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 23 เมษายน 2024, 21:48:12
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ก็ไหนว่า ชำระประวัติศาสตร์แล้ว .. จะใดแหมเม๊าะนิ ??
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ก็ไหนว่า ชำระประวัติศาสตร์แล้ว .. จะใดแหมเม๊าะนิ ??  (อ่าน 1491 ครั้ง)
FanClub
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 115


« เมื่อ: วันที่ 28 มีนาคม 2013, 08:42:56 »

ก็ไหนว่า ชาวเชียงราย สภาวัฒนธรรมจังหวัด ต่างตกลงใจพร้อมกัน "ชำระประวัติศาสตร์ผ่านพระนามของผู้สร้างเมือง" คือ เปลี่ยนพระนามของ "พ่อขุนเม็งราย" "พ่อขุนมังราย" เป็นพระนามใหม่ตามที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ คือ "พญามังราย" และ "พญามังรายมหาราช" และ "พญามังรายมหาราชเจ้า" ..
แต่เหตุไฉน ..เดินเข้าไปใน วันพระแก้ว ซึ่งพึ่งจะทำการหล่อรูปเหมือนพญามังรายในท่วงท่าประทับยืน แล้วก็ ตอกจารึกลงในป้ายพระนามว่า "พ่อขุนเม็งราย" เช่นเดิม .........
....... ชำระแล้ว ก็ ใช้อันใหม่ สิขอรับ ......
ไม่รู้ที่มาที่ไปของการหล่อรูปเหมือน ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าภาพ คนในท้องถิ่น คนในสำนักงานจังหวัด คนในวัด หรือใคร .. ทำไมไม่ศึกษาอะไรให้มันถ่องแท้ให้ดีเสียก่อน ..
......ส่วนตัวของข้าพเจ้า เลิกเรียก "ห้าแยกพ่อขุน" มานานแล้ว แต่ใช้คำเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "ห้าแยกพญามังราย"


* DSC_0286_resize.JPG (207.45 KB, 400x600 - ดู 361 ครั้ง.)

* DSC_0287_resize.JPG (195.25 KB, 800x533 - ดู 337 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 28 มีนาคม 2013, 09:02:26 »

ช่วยหารายละเอียด และเอกสาร บันทึกการประชุม หรือบันทึกข้อตกลง เรื่อง การชำระประวัติศาสตร์ผ่านพระนามของผู้สร้างเมือง ของชาวเชียงราย สภาวัฒนธรรมจังหวัด มาอ้างอิงหื้อกำครับ

ถ้ามีเอกสารตั๋วนี้ จะได้พากั๋นไปยื่นเรื่องขอเปลี่ยนชื่อได้ บ่าหู้มีก่อ
IP : บันทึกการเข้า
wiang koseai
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 17



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 28 มีนาคม 2013, 09:43:31 »

คิดว่าทั่วไปยังบ่ฮู้เรื่องนี้ บางเรื่องก็ขาดการประชาสัมพันธ์เหมือนกั่น
IP : บันทึกการเข้า
FanClub
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 115


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 29 มีนาคม 2013, 00:28:09 »

 ยิ้ม

http://prachatai.com/journal/2012/08/42261

 ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า
FanClub
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 115


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 29 มีนาคม 2013, 00:30:26 »

กระทู้ภายใน เชียงรายโฟกัส ..

http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=97087.5;wap2
IP : บันทึกการเข้า
FanClub
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 115


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 29 มีนาคม 2013, 00:32:34 »

ประชาคมเชียงรายประกาศใช้ ‘พญามังราย’ ไม่ใช่ พ่อขุนเม็งราย วาระครบรอบ ๗๗๑ ปีชาตกาล
 

คนเชียงรายบวงสรวงบูชาพญามังราย เรียกร้องแก้ไขและใช้พระนาม พญามังราย ไม่ใช่ พ่อขุนเม็งราย ก้าวแรกของการขับเคลื่อนเฉลิมฉลองวาระครบรอบ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย และเพื่อการศึกษาฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นล้านนาให้สามารถกำหนดอนาคตท้องถิ่นที่พัฒนาอย่างมีรากฐานทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องต่อไป

เย็นวันที่ ๒๓ ตุลาาคม ๒๕๕๓ ณ อนุเสาวรีย์พญามังราย จังหวัดเชียงราย นักวิชาการท้องถิ่นเชียงรายและภาคเหนือ สถาบันยวนเชียงราย เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา คณะทำงานบูรณาการจังหวัดเชียงราย ภายใต้โครงการสร้างสุขด้วยประวัติศาสตร์ กวีและศิลปินล้านนา ร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงบูชาพญามังรายขึ้น เนื่องในวันประสูติกาลพญามังราย ครบรอบ ๗๗๑ ปีชาตกาล พร้อมชี้แจงข้อมูลทางประวัติศาสตร์พระนามที่ถูกต้องคือ พญามังราย ไม่ใช่ พ่อขุนเม็งราย เรียกร้องให้มีการแก้ไขความเข้าใจที่ผิดพลาดมานาน เพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ถูกต้องในอนาคต เป็นกิจกรรมเบิกโรงการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ ๗๕๐ ปีเมืองเชียงราย

บดินทร์ จันวัน อดีตข้าราชการครูและศึกษานิเทศน์ ปัจจุบันประธานสถาบันยวนเชียงรายที่มีส่วนร่วมในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์เมืองเชียงรายและพญามังราย มหาราชผู้สร้างเมืองเชียงรายกล่าวถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า


“จากการศึกษาเอกสารต่างๆ ของสถาบันยวนกลุ่มเชียงราย เราได้เทียบเคียงวันประสูติของพญามังรายพบว่าใกล้เคียงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม แต่คนส่วนใหญ่กลับละเลยวันนี้ไปให้ความสำคัญกับวันที่ ๒๖ ซึ่งตามพับสาว่าเป็นวันที่สร้างเมืองเชียงราย ซึ่งผมศึกษาเอกสารต่างๆ แล้วยังไม่แน่ชัดว่าเป็นเดือนใด เพราะเอกสารบางฉบับว่าเป็นเดือน ๕ บางฉบับเป็นเดือน ๖
จากจุดนี้เราคิดกันในกลุ่มว่าในวันที่ ๒๓ ตุลาคม เราน่าจะมีการดำเนินการอะไรสักอย่างเพื่อรำลึกถึงพระองค์ เพราะท่านเป็นมหาราชที่สร้างเมืองเชียงราย อีกประเด็นคือเราต้องการชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่พวกเราละเลยกันมานานคือ พระนามของพระองค์ เราใช้คำว่าพ่อขุนเม็งรายมานานจนลืม พญามังรายไปแล้ว พวกเราจึงเห็นว่าน่าจะใช้เงื่อนไขวาระครบรอบ ๗๕๐ ปีเมืองเชียงราย เพื่อให้มีการทบทวนว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องปรับเปลี่ยนพระนามของพระองค์ ซึ่งผมได้ประเด็นจากประวัติศาสตร์มีหลายพระนามของกษัติรย์ที่ตรวจสอบแล้วก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และของเราเอกสารหลักฐานต่างๆ ทั้งจากพับสาต่างๆ ของทางเหนือ ศิลาจารึก รวมถึงงานวิจัย หัวข้อประชุมต่างๆ ของนักวิชาการที่มี คิดว่าเพียงพอกับการที่จะเปลี่ยนพระนามจาก พ่อขุนเม็งรายเป็น ‘พญามังราย’ ได้ ณ วันนี้หลักฐานที่ตรวจสอบได้และเก่าแก่ที่สุดระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นพญามังราย ซึ่งรายละเอียดค่อนข้างจะยาวเราจึงรวบรวมจัดทำเป็นหนังสือเผยแพร่ไว้แล้ว

   ในขั้นต้นเราได้ทำหนังสือพร้อมระบุเอกสารหลักฐานต่างๆ ส่งไปทางจังหวัด ถึงผู้ว่าฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับใดๆ เราจึงคิดกันว่าจากนี้ไปคงต้องมีการขับเคลื่อนและทำหนังสืออีกสักรอบเพราะเราจะทำในเชิงวิชาการด้วย และผมเองก็พยายามเข้าไปผลักดันในที่ประชุมฝ่ายวิชาการที่จัดงาน ๗๕๐ ปีเมืองเชียงราย ซึ่งในที่ประชุมนี้เห็นชอบหมดแล้ว เพียงแต่ยังติดว่าจะทำอย่างไรที่จะผลักดันเรื่องนี้ไปสู่ระดับจังหวัดให้เขาเห็นชอบกับเรา”

สถาบันยวนเชียงรายเป็นกลุ่มการแลกเปลี่ยนรู้เกี่ยวกับเชียงรายศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ของชุมชนของจังหวัดเชียงราย เป็นการเผยแพร่การศึกษาและการเรียนรู้ท้องถิ่นศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งทางความคิดให้กับชุมชนในท้องถิ่น เพราะเชียงรายเราค่อนข้างถูกละเลยในด้านการศึกษา เราขาดเอกสารการเรียนรู้ตลอดจนหนังสือต่างๆ เกี่ยวกับเชียงราย

   ด้าน นายนิวัติ ร้อยแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา ผู้ขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมโดยใช้แนวทางประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรมชี้ถึงเหตุจำเป็นของการทบทวนประวัติศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระนามว่า
“ปัจจุบันเราจะเห็นว่าผู้คนทางเหนือหรือล้านนาโดยเฉพาะคนเชียงราย ตั้งแต่เยาวชนถึงคนเฒ่าคนแก่เรียกพญามังรายว่า พ่อขุนเม็งราย แม้แต่อนุเสาวรีย์ของพระองค์ท่านที่เชียงรายก็ยังใช้คำว่า พ่อขุนเม็งราย ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันมานาน กว่าจะถึงวันนี้ได้ผ่านการศึกษากันมามากพอสมควรจากนักวิชาการท้องถิ่น ผู้ที่สนใจ

ในเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้ค้นคว้ากันว่า แท้จริงแล้วพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้คือ พญามังราย เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่ต้องเปลี่ยน เพราะหลักฐานทุกอย่างเห็นชัด วันนี้จึงถือเป็นวันประกาศเพื่อให้มีการทบทวนเรื่องนี้อย่างจริงจัง และต้องมีการแก้ไขเพื่อให้สอดรับกับการเฉลิมฉลอง ๗๕๐ ปีเมืองเชียงราย เพราะหากยังไม่แก้ไขก็จะทำให้เข้าใจผิดกันต่อไปในการศึกษาประวัติศาสตร์
ผมคาดหวังว่าอย่างน้อยงานวันนี้จะทำให้สาธารณชน ผู้คนเชียงรายและคนทางเหนือเราได้เข้าใจร่วมกันว่า พระนามที่แท้จริงของพระองค์คือ พญามังราย ก้าวต่อไปของการขับเคลื่อนเรื่องนี้จะสัมพันธ์กับการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมวิถีในอดีตของล้านนาเราให้ถูกต้อง เป็นประวัติศาสตร์ที่หนุนเสริมกับภูมิปัญญาในอดีตสู่ปัจจุบัน ไม่ใช่เป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกตัดตอนเป็นช่วงๆ และบางส่วนไม่ถูกต้อง ทำให้คนล้านนาเรา คนทั้งประเทศเข้าใจผิด นี่คือเป้าหมายของเรา เพื่อจะพัฒนาการไปสู่การทำให้ประวัติศาสตร์ถูกต้อง และให้เด็กๆ เยาวชนเข้าใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตนเองที่ถูกต้อง ปัจจุบันเราต้องมีการแก้ไขการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในหลายๆ เรื่อง เพราะเราไม่ได้ร่ำเรียนประวัติศาสตร์ของตัวตนที่แท้จริง มันเป็นประวัติศาสตร์ที่ห่างไกลและไม่ได้ช่วยหนุนเสริมให้เกิดความรัก ความเข้าใจและการพัฒนาที่ยั่งยืนทางด้านภูมิปัญญาวัฒนธรรม”

นายสันติพงษ์ ช้างเผือก นักวิชาการอิสระและหัวหน้าโครงการสร้างสุขด้วยประวัติศาสตร์ในนามคณะทำงานบูรณาการจังหวัดเชียงราย หนึ่งในเครือข่ายที่เข้าร่วมการขับเคลื่อนแก้ไขประวัติศาสตร์ในครั้งนี้กล่าวว่ากิจกรรมนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของคนในท้องถิ่นที่เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ว่าสามารถนำไปใช้ในการกำหนดทิศทางอนาคตของท้องถิ่นตนเองได้ โดยต้องเริ่มต้นจากการเรียนรู้และทำความรู้จักตนเองให้ชัดเจนก่อน

“งานที่พวกเราเครือข่ายในเชียงรายกำลังทำอยู่ขณะนี้โครงการสร้างสุขด้วยประวัติศาสตร์ ซึ่งแกนยึดโยงของโครงการใช้ประวัติศาสตร์สังคมอยู่แล้ว และเรามีการทำงานร่วมกับนักวิชาการในท้องถิ่นก็ได้มานำเสนอกับภาคีที่ทำงานร่วมกันทราบว่า โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีในจารึกที่เก่าที่สุดยืนยันว่าพระนามของมหาราชที่สร้างเมืองเชียงรายคือ พญามังราย เมื่อกลับไปค้นหลักฐานที่ใกล้ที่สุดประมาณ ๕๐ ปีก่อนของ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ อดีตสส.เชียงรายก็เคยเสนอในหนังสือ ‘งานโยนก’ ไว้ว่าควรจะเปลี่ยนพระนามของท่านให้ตรงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ แต่คำถามคือผ่านมา ๕๐ ปีแล้วทำไมจึงไม่มีการขับเคลื่อนใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดขึ้นเลย

   วาระโอกาสนี้ที่มีนักวิชาการและคนท้องถิ่นหลายๆ กลุ่มมาร่วมบวงสรวงครบรอบวันประสูติเราก็จะเริ่มประกาศให้สาธารณชนในเชียงรายและที่อื่นๆ ทราบถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เรื่องนี้ นี่เป็นหมุดหมายแรกของการทำงานเฉลิมฉลอง ๗๕๐ ปีเมืองเชียงราย คือขอให้มีการเปลี่ยนพระนามให้ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จากพ่อขุนเม็งรายเป็นพญามังราย เมื่อมีความถูกต้อง ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่สอดคล้องกับท้องถิ่นก็อาจเปิดที่ทางให้คนจำนวนมากได้พูดคุยเรื่องประวิศาสตร์ท้องถิ่นกันต่อไป ซึ่งเราก็กำลังทำกันอยู่ในหลายพื้นที่ นอกจากเราแล้วยังมีอีกหลายกลุ่มที่กำลังตื่นตัวในเรื่องการนำประวัติศาสตร์มาใช้ เพื่อเรียนรู้ตนเองและกำหนดอนาคตที่จะไปข้างหน้าร่วมกัน”


ที่มา โครงการสื่อชุมชนลุ่มน้ำโขง

รายละเอียดติดต่อ :
รุ่ง ใจมา สถาบันยวนเชียงราย  0897005830
นพรัตน์ ละมุล โครงการสื่อชุมชนลุ่มน้ำโขง  0877171278
IP : บันทึกการเข้า
FanClub
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 115


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 29 มีนาคม 2013, 00:34:15 »

750 ปีเชียงราย ส่งท้ายมะโรงฯ “ไม่มีพ่อขุนเม็งราย-มีแต่พระญามังราย” โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์
.
บทความเกี่ยวข้องก่อนหน้า - 750 ปี“พระญามังราย”หรือ“พ่อขุนเม็งราย”? โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ 
อ่านที่ http://botkwamdee.blogspot.com/2012/08/p-750pymr.html

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


750 ปีเชียงราย ส่งท้ายมะโรง-ต้อนรับมะเส็ง “ไม่มีพ่อขุนเม็งราย-มีแต่พระญามังราย”
โดย ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์  คอลัมน์ ปริศนาโบราณคดี
ในมติชนสุดสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 33 ฉบับที่ 1689 หน้า 76


ปีพ.ศ.1805 พระญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้น จากนั้นขยายอาณาเขตไปยึดแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) สร้างเวียงกุมกาม และเชียงใหม่ ตามลำดับ
นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจึงนับว่าปี 2555 นี้ เป็นปีที่สำคัญยิ่ง เพราะครบรอบ 750 ปี แห่งการสถาปนาเมืองเชียงราย จึงได้จัดกิจกรรมทั้งด้านวิชาการ สลับกับศิลปะการแสดง กันมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

ก่อนที่วาระ 750 ปี เชียงรายกำลังจะผ่านเลย ขอส่งท้ายปีมะโรง ต้อนรับปีมะเส็งด้วยประเด็นเดือด แบบยิงหมัดตรงไม่อ้อมค้อมให้เสียเวลา ว่า
"ไม่มีพ่อขุนเม็งราย-มีแต่พระญามังราย"!


"มังราย" มิใช่ "เม็งราย"

ตกผลึกนานแล้ว แต่เก็บพับอยู่บนหิ้ง 
อันที่จริงดิฉันเคยเปิดประเด็นเรื่องพระนามและความหมายของ "มังราย-เม็งราย" มาแล้วครั้งหนึ่งในคอลัมน์นี้เมื่อปี 2554 ตามหาอ่านได้ในบทความ "การเมืองเรื่องชื่อ พระญามังราย หรือพ่อขุนเม็งราย" 
กล่าวโดยย่นย่อที่สุด (เพื่อมิให้ท่านที่เคยอ่านบทความดังกล่าวมาแล้วรู้สึกรำคาญใจ) ให้แก่บางท่านที่ยังไม่เคยผ่านสายตาก็คือ

คำว่า "มังราย" เป็นคำเรียกที่ถูกต้อง เพราะเป็นคำโบราณที่ปรากฏในจารึกและตำนานทุกฉบับ แต่มาถูกเบี่ยงเบนไปเป็น "เม็งราย" ในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยเหตุผลทางการเมืองด้วยเกรงว่าชื่อนี้จะไปพ้องกับภาษาพม่า ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ชื่อ "เม็งราย" จึงปรากฏอยู่ใน "พงศาวดารโยนก" เอกสารที่เรียบเรียงขึ้นโดยนักประวัติศาสตร์ฝ่ายสยามเพียงฉบับเดียว
ส่วนคำนำหน้าพระนามของกษัตริย์เมืองเหนือก็ใช้คำว่า "พระญา/พระญา/พญา" ไม่มี "พ่อขุน"

ทว่า "พ่อขุนเม็งราย" กลับเป็นคำที่ถูกย้อมเสียจนเป็นไทย บังคับให้กลายเป็น "แบบเรียน" ในวิชาประวัติศาสตร์ จนคนไทยทั้งประเทศคิดว่านั่นคือคำที่ถูกต้องแล้ว 
กระทั่งปราชญ์ผู้รู้ด้านจารึกวิทยาและเอกสารโบราณกลุ่มหนึ่ง อาทิ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ศ.ไกรศรี นิมมานเหมินท์ ศ.ดร.มณี พยอมยงค์ ดร.ฮันส์ เพนธ์ ศ.ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี อ.ทิว วิชัยขัตคะ เป็นต้น ได้ฉุกใจคิดว่าเหตุไฉนหลักฐานในจารึกทุกหลักต่างเขียนว่า "พ(ระ)ญามังราย" ยกเว้นแต่พงศาวดารโยนกเพียงฉบับเดียวที่ใช้ "เม็งราย" แต่ก็หาได้ใช้คำว่า "พ่อขุน" นำหน้าไม่

ระหว่างปี 2523-2525 จึงได้มีการชำระตรวจสอบหลักฐานด้านล้านนาคดีครั้งใหญ่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกี่ยวกับประเด็นชื่อของ "ลานนา-ล้านนา" และ "พ่อขุนเม็งราย-พ(ระ)ญามังราย" เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการเรียบเรียงเอกสาร เสร็จทันงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เนื่องจากวาระนั้น จังหวัดเชียงใหม่ได้ดำริจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ กลางเวียงเชียงใหม่ ฉะนั้น ควรมีการทำแผ่นป้ายพระนามให้ถูกต้อง 
นักวิชาการทั้งจากสยามและฝ่ายเมืองเหนือ ต่างมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นพ้องต้องตรงกันด้วยหลักฐานฟ้องมัดชนิดดิ้นไม่หลุดและไร้ข้อโต้แย้ง (ยิ่งกว่ากรณี "ลานนา-ล้านนา") ว่า คำว่า "พระญามังราย" เห็นสมควรได้รับการนำมาใช้ให้ถูกต้องแทนที่คำว่า "พ่อขุนเม็งราย" ซึ่งใช้กันอย่างผิดๆ มานานนับแต่เริ่มมีการก่อตั้งกระทรวงศึกษาธิการแล้ว

แต่ด้วยเหตุที่ว่า ยุคกระโน้นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ยังค่อนข้างจำกัดอยู่ในวงแคบ เฉพาะรายรอบรั้วมหาวิทยาลัย หรือบางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น อาทิ กรมศิลปากร ราชบัณฑิตยสถาน ทำให้ไม่มีการแก้ไขป้ายชื่อวัดวาอาราม ถนนหนทาง รวมไปถึงไม่มีการสร้างความเข้าใจให้แก่ชุมชนในล้านนา เห็นได้จากชื่อเฉพาะของห้างร้านเอกชน ยังคงยืนกรานใช้คำว่า "เม็งราย" อย่างกล่นเกลื่อน
พูดง่ายๆ ก็คือ ยุคนั้นไม่มี "สื่อกลาง" ที่จะช่วยทำหน้าที่ หยิกยกเอาองค์ความรู้จากปราชญ์ หรือนักประวัติศาสตร์ไปสานต่อ จึงไม่เกิดการขยายผลต่อการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใหม่ในวงกว้าง 

สุดท้ายความนิยมใช้คำว่า "พ่อขุนเม็งราย" ก็ยังคงยืดเยื้อมาจวบยุคสมัยนี้ คิดดูเถิดว่าต่อสู้กันมาตั้งแต่ฉลอง 200 ปีรัตนโกสินทร์แล้ว จนล่วงเข้า 750 ปี เชียงราย กระบวนการสร้างองค์ความรู้เรื่องชื่อ "พระญามังราย" ยังเหมือนถูกแช่แข็ง



หยุดปลูกฝังลูกหลานให้ชิงชังพม่ากันเสียที

หลายคนตั้งคำถามว่าเดือดร้อนอะไรกันนักหนาหรือ กับชื่อ "มัง" หรือ "เม็ง" ของปฐมกษัตริย์ล้านนาเพียงพระองค์เดียว ใครอยากจะเรียกด้วยนามใดก็ปล่อยเขาไปสิ ในเมื่อคนส่วนใหญ่คุ้นชินติดปากว่า "พ่อขุนเม็งราย" มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว พวกนักวิชาการมีหน้าที่อะไรที่จะต้องเข้ามายุ่มย่าม
จริงอยู่ ที่ใครจะยังคงเรียกปฐมกษัตริย์พระองค์นี้ว่า พ่อขุนเม็งรายดุจเดิม แบบตกยุคก็ถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล หาใช่ความผิดร้ายแรง อีกทั้งไม่มีกฎหมายฉบับใดกล่าวโทษกันอยู่แล้ว

เสียงทักท้วงจากนักวิชาการที่ดังขึ้นครั้งนี้ ก็ด้วยตระหนักถึงข้อเท็จจริง และเห็นปรากฏการณ์อันบิดเบี้ยวที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในสังคมไทย ได้เวลาแล้วหรือยังที่เราควรก้าวออกมาให้พ้นจากลัทธิราชาชาตินิยมอันคร่ำครึ ณ ยุคที่จอมพลสฤษดิ์ได้สถาปนาแบบเรียนไว้ โดยประเมินศักดิ์ศรีคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่อยู่ชายขอบปริมณฑลสยามนั้นแสนต่ำ

ทุกครั้งที่มีการรณรงค์เรียกร้องให้ใช้คำที่ถูกต้อง ไม่ว่ากรณีของ "สาทร" แทนที่ "สาธร"/ฟ้าแดดสงยาง" แทนที่ "ฟ้าแดดสูงยาง"/หรือ "ภูเก็จ" แทนที่ "ภูเก็ต" สังเกตว่ามักจะมีคนกลุ่มหนึ่งดาหน้ากันออกมาปัดแข้งปัดขายืนกรานที่จะขออนุรักษ์คำผิดๆ นั้นไว้เสมอ เหตุก็เพียงเพื่อปกป้อง "หน้าตา" ของคนเขียนตำราดั้งเดิมไว้ไม่ให้ถูกมองว่าเคยทำงานพลาด 
เช่นเดียวกันกับกรณีนี้ ปรากฏว่ามีครูตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศหลายแห่ง ไม่เพียงแต่จักปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้ใช้คำว่า พ่อขุนเม็งราย เท่านั้น แต่กลับสร้างคำอธิบายชุดใหม่ที่ดูน่ากลัวเหมือนนาซีหลงยุคว่า ปฐมกษัตริย์ของล้านนาจะมีชื่อว่า "มังราย" ได้อย่างไรกัน ในเมื่อ "มัง" นั้นเป็นคำของพม่า และพม่าเป็นชาติที่รังแกไทย
ที่แท้ครูก็เอาปัญหา ความเกลียดชังพม่าส่วนตัว มายัดเยียดครอบใส่สมองเด็กนักเรียนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่

จึงต้องขอนุญาตนำคำอธิบายเรื่อง "มัง" มาฉายซ้ำ โดยยกมาจากบทความชิ้นเดิม เพื่อให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว "มัง" ของพระญามังราย ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับพม่าแต่อย่างใดเลย หากเป็นความบังเอิญอย่างเหลือเชื่อ 
"...เหตุที่มีนามนำหน้าว่า "มัง" นั้น ก็เพราะการตั้งชื่อของพระองค์ ได้มีการนำตัวอักษรและสระย่อจาก นามของพระราชบิดาชื่อ "ลาวเมง" ผสมกับพระฤๅษี "ปัทมังกร" (ได้คำว่า "มัง") บวกกับนามพระราชอัยกา (ตา) กษัตริย์แห่งเชียงรุ่งนามว่า "ท้าวรุ่งแก่นชาย" (ได้ตัว "ร") ในขณะที่พระราชมารดามีนามว่า "นางเทพคำขร่าย" (คำขยาย) (ได้สระอา + ย) โดยตัดเอาพยัญชนะ+สระย่อของแต่ละคนมารวมกันใหม่ ได้ "ม/ัง/ร/าย" หรือมีพระนามแบบเต็มยศว่า "มังคลนารายณ์" แปลว่า พระนารายณ์ผู้เป็นมงคล"

ประเด็นที่อยากชี้ให้เห็นก็คือ หากการเรียก เม็งราย เกิดจากความเคยชิน หรือความสับสน ก็ยังพอให้อภัยได้ คือเข้าใจว่าคนยุคก่อนต่างก็ถูกปลูกฝังด้วยชุดความรู้ "พ่อขุนเม็งราย" แบบผิดๆ มาตลอด 
แต่ทว่า พ.ศ. นี้ อายุของเมืองเชียงรายครบ 750 ปีแล้ว ข้อมูลวิชาการด้านล้านนาคดีได้ถูกบันทึกไว้ในโลกออนไลน์มากเกินคณานับ หากครูเหล่านั้นสงสัยว่าคำไหนถูก แค่กดเพียงคลิกเดียว ขี้คร้านไฟล์คำอธิบายก็จะโผล่ขึ้นมาพึ่บพั่บ 
แต่นี่กลับสร้างชุดความรู้เชิงเผด็จการ "ล้าหลังคลั่งชาติ" ไว้ในหัวสมองเด็ก ไม่ว่า "มังราย" จะถูกหรือผิด ก็ห้ามเรียกเด็ดขาด เพราะมันเป็นคำภาษา "พม่า" หากการกล่าวผิด "โดยสุจริตใจ" ยังพออภัยได้ แต่นี่เป็นความอคติโดย "สติวิปลาส" ไปเสียแล้ว 
สะท้อนถึงจิตใจคับแคบ มุ่งรังเกียจเดียดฉันท์เพื่อนบ้าน ชาติพันธุ์พม่า ยังคงมองเห็นว่าพวกเขาเป็นผีสาง เป็นศัตรู จนขึ้นสมองอยู่อีกหรือนี่ อนาถแท้ๆ จะเปิดพรมแดนเป็นประชาคมเดียวกันวันนี้วันพรุ่งอยู่รอมร่อ

พึงสังวรไว้เถิดว่า ทัศนคติด้านลบต่อชาวอุษาคเนย์ด้วยกันทุกวันนี้ แท้จริงคือบาดแผลที่ได้มาจากบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์ด้วยลัทธิชาตินิยมที่ถูกบิดเบือน 
โดยลืมคิดไปว่า ไม่มีใครเลยที่จักมีเผ่าพันธุ์บริสุทธิ์ ยิ่งประชากรในล้านนาปัจจุบัน กว่า 70-80 % นั้น ในอดีตบรรพบุรุษของแต่ละชนเผ่าล้วนอพยพถ่ายเทไปมาจากแผ่นดินพม่าทั้งสิ้น ไม่ว่าไทลื้อ ไทยอง ไทขึน ไทใหญ่ กะเหรี่ยง มูเซอร์ ฯลฯ

เห็นใจอยู่ก็แต่นักขับเคลื่อนด้านวัฒนธรรมในเชียงรายบางกลุ่ม อาทิ กลุ่มสถาบันยวนศึกษา (คำว่า "ยวน" มาจาก "โยนก" ก็ไม่เห็นจะต้องกลัวว่าไปพ้องกับคำว่า "ญวน" อันหมายถึงเวียดนามแต่อย่างใดเลย) ที่ต่อสู้เคลื่อนไหวเรื่องนี้มานานกว่า 5 ปีแล้ว ผ่านไป 5-6 ผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ยังไม่เป็นมรรคเป็นผล
สะพาน ถนน หอนาฬิกา โรงเรียน โรงพยาบาล อนุสาวรีย์ ร้านค้า เอกสาร ตำราเรียน ยังคงปักป้าย "พ่อขุนเม็งราย" ไว้เด่นหราไม่มีวี่แววว่าจะปรับเปลี่ยน

นอกจากจะไม่แก้ไข "พ่อขุนเม็งราย" ให้เป็น "พ(ระ)ญามังราย" แล้ว แถมยังเกิดขบวนการเบี่ยงเบนปลุกระดมให้รังเกียจคำว่า "มัง" เพราะเป็นภาษาพม่าเข้าไปอีก

สงครามคือขัตติยะมานะของกษัตริย์ แต่ประชาชนคือเพื่อนบ้าน

จึงขอตบท้ายด้วยประโยคที่ว่า "เพียงหงสารบกับอยุธยา ส่วนไทยรบพม่านั้นไม่มี" สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมน์ข้างเคียงเคยกล่าวไว้

http://botkwamdee.blogspot.com/2012/12/p-mangrai.html
IP : บันทึกการเข้า
udom pingwong
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 74


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 31 มีนาคม 2013, 06:42:55 »

สิ่งใดฮู้ว่ามันผิดก็แก้หื้อเป๋นถูกเหียเผื่อลูกหลานเกิดมาวันหน้าเข้าจะได้ฮู้และเข้าใจ๋ถูกต้อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคนเมืองเฮาบ่ได้ส่งเสริมหื้อลูกหลานได้เฮียนฮู้ในโฮงเฮียนวอนผู้ใหญ่ตี้มีส่วนเกี่ยวข้องจ้วยจิ่มเต๊อะครับ
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 08 เมษายน 2013, 12:53:57 »

หลึกไบ้หลึกง่าว ป๋ายแหมหลึ่งตวย
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!