เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 23:37:00
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  สัมมาสมาธิ แตกต่างกับ สมาธิ ทั่ว ๆ ไปอย่างไร
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน สัมมาสมาธิ แตกต่างกับ สมาธิ ทั่ว ๆ ไปอย่างไร  (อ่าน 1393 ครั้ง)
jirapraserd
magdafVE
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 693


« เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2013, 09:56:46 »

ก่อนจะกล่าวไปถึง สัมมาสมาธิ ลองมาพิจารณาก่อนว่า
-------------------------------------------------------------
คนทั่วไปที่ทำสมาธิได้นั้นทำอย่างไร
  คนสมัยก่อนพุทธกาล ก่อนที่พระศาสดาจะมาชี้เรื่องสัมมาสมาธิ ก็มีบรรดาโยคี นักบวช พรหมณ์ รู้จัก สมาธิกันมาก่อนแล้ว
  ทีนี้ สมัยนั้น คนเหล่านั้นยังไม่มีปัญญา เห็นอริยสัจเช่นเดียวกับ พระพุทธองค์ ก็ยังไม่มีสัมมาสติ คำว่า สัมมาสติ นี้คือ มหาสติปัฎฐาน 4 นั้นแหละคือ เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม เรียกว่า คนที่จะเจริญมหาสติ นี้จะทำให้รู้ซึ้งในวิถีจิตของตนอย่างละเอียด แยกแยะกองอกุศล หรือ กุศล ออกจากกันได้ชัดเจน

   เมื่อ คนสมัยนั้น รู้จัก สมาธิ ก็ต่างบำเพ็ญทำสมาธิ บำเพ็ญกันอย่างไร ก็ตอบว่า บำเพ็ญกันอย่างงูๆ ปลาๆ เหมือนคนทั้งหลายฝึกสมาธิ นั่นแหละ เราฝึกสมาธิงูๆปลาๆ กันอย่างไร คนสมัยนั้นเขาก็ทำเหมือนเรา เริ่มต้น เขาก็หาคำบริกรรม หรือ กสิณ เพ่งเข้าไปให้จิตมันตั้งมั่น บางคนทำไปทำมา จิตตั้งมั่นไปจนถึง ฌาณ 4 และ อรูปฌาณก็มี

   ทีนี้มาถึงประเด็นที่ว่าแล้ว
"ฌาณ 4 ของโยคีเหล่านั้น และ อรูปฌาณ เหล่านั้นแตกต่างจาก สัมมาสมาธิ ของพระศาสดาอย่างไร ?"
   ผลแห่ง สมาบัติ ของคนเหล่านั้น แตกต่างจาก สัมมาสมาธิของพระศาสดา ด้วยที่ว่า
ก่อนจะเข้าสู่สมาธิได้ บุคคลเหล่านั้นทำไปด้วยความฝึกฝน หาได้ทำไปด้วยปัญญาที่มองเห็น รู้ละ อกุศลต่างๆ ได้ดัง สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ
   การตั้งมั่นของสมาธิ ของบุคคลเหล่านั้น หวั่นไหวได้ กำเริบได้ ความหลง ความไม่เข้าใจ กำเริบได้ เพราะ สติปัญญายังไม่บริบูรณ์ ยังมองไม่เห็น ธรรม เช่น พระอริยะ
   
   ผลของสมาธิ ของบุคคลเหล่านั้น เจือด้วยความไม่รู้ ความหลง ถึงแม้ว่า เข้าสมาธิได้จริง แต่ การตื่น การรู้แจ้ง การมีสติแจ้ง ไม่ปรากฎกับ ลัทธิเดิมๆ
   ดังนั้นทำให้ก่อนเข้าสู่สมาธิของลัทธิ เป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังเช่น โยคี พราหมณ์ ต้องไปบำเพ็ญกันจนถึงขั้นอุกฤษณ์ ทำให้ การตั้งมั่นของสมาธิ ของลัทธิ ไม่เป็นไปแบบ ปกติ ทำให้ ผลของสมาธิของบุคคลเหล่านั้น ไม่รู้แจ้งในผล ในอกุศลหรือกุศลที่ยังเจืออยู่ในใจ

  ทีนี้มาถึงว่า แล้ว เราควรฝึกอย่างไร
  ตอบว่า ฝึกสมาธิ อย่างไม่ต้องไปกลัวว่า นี่เป็นสัมมาสมาธิหรือยัง นั่นเป็นมิจฉาสมาธิไหม
  ถ้าเรา เจริญมหาสติดีแล้ว เราสังเกตุใจของตนได้ละเอียด เวลาเราทำสมาธิ เราจะมี
  ปัญญาสังเกตุได้ว่า จิตเรามืดหรือแจ้ง สว่าง สะอาดสงบหรือไม่ ซึ่งจะค่อยๆเข้าสู่
  สัมมา สมาธิได้เอง

** ตัวหลักก็คือ เมื่อเราทำสมาธิ ให้เราหัดสังเกตุดูที่ใจเราให้ดี ดูที่ใจไม่ได้ให้ดูที่อื่น
    ไม่ได้ให้ดูแสงสี หรือนิมิตอะไร ดูความเปลี่ยนแปลงที่มันเกิดขึ้นที่ใจ แล้วเราจะเริ่ม
     เข้าใจได้ด้วยตนเองว่า สมาธิ กับ สัมมาสมาธิแตกต่างกันอย่างไร
IP : บันทึกการเข้า

l3ear 33
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 827



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2013, 00:56:19 »

ก่อนจะกล่าวไปถึง สัมมาสมาธิ ลองมาพิจารณาก่อนว่า
-------------------------------------------------------------
คนทั่วไปที่ทำสมาธิได้นั้นทำอย่างไร
  คนสมัยก่อนพุทธกาล ก่อนที่พระศาสดาจะมาชี้เรื่องสัมมาสมาธิ ก็มีบรรดาโยคี นักบวช พรหมณ์ รู้จัก สมาธิกันมาก่อนแล้ว
  ทีนี้ สมัยนั้น คนเหล่านั้นยังไม่มีปัญญา เห็นอริยสัจเช่นเดียวกับ พระพุทธองค์ ก็ยังไม่มีสัมมาสติ คำว่า สัมมาสติ นี้คือ มหาสติปัฎฐาน 4 นั้นแหละคือ เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม เรียกว่า คนที่จะเจริญมหาสติ นี้จะทำให้รู้ซึ้งในวิถีจิตของตนอย่างละเอียด แยกแยะกองอกุศล หรือ กุศล ออกจากกันได้ชัดเจน

   เมื่อ คนสมัยนั้น รู้จัก สมาธิ ก็ต่างบำเพ็ญทำสมาธิ บำเพ็ญกันอย่างไร ก็ตอบว่า บำเพ็ญกันอย่างงูๆ ปลาๆ เหมือนคนทั้งหลายฝึกสมาธิ นั่นแหละ เราฝึกสมาธิงูๆปลาๆ กันอย่างไร คนสมัยนั้นเขาก็ทำเหมือนเรา เริ่มต้น เขาก็หาคำบริกรรม หรือ กสิณ เพ่งเข้าไปให้จิตมันตั้งมั่น บางคนทำไปทำมา จิตตั้งมั่นไปจนถึง ฌาณ 4 และ อรูปฌาณก็มี

   ทีนี้มาถึงประเด็นที่ว่าแล้ว
"ฌาณ 4 ของโยคีเหล่านั้น และ อรูปฌาณ เหล่านั้นแตกต่างจาก สัมมาสมาธิ ของพระศาสดาอย่างไร ?"
   ผลแห่ง สมาบัติ ของคนเหล่านั้น แตกต่างจาก สัมมาสมาธิของพระศาสดา ด้วยที่ว่า
ก่อนจะเข้าสู่สมาธิได้ บุคคลเหล่านั้นทำไปด้วยความฝึกฝน หาได้ทำไปด้วยปัญญาที่มองเห็น รู้ละ อกุศลต่างๆ ได้ดัง สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ
   การตั้งมั่นของสมาธิ ของบุคคลเหล่านั้น หวั่นไหวได้ กำเริบได้ ความหลง ความไม่เข้าใจ กำเริบได้ เพราะ สติปัญญายังไม่บริบูรณ์ ยังมองไม่เห็น ธรรม เช่น พระอริยะ
   
   ผลของสมาธิ ของบุคคลเหล่านั้น เจือด้วยความไม่รู้ ความหลง ถึงแม้ว่า เข้าสมาธิได้จริง แต่ การตื่น การรู้แจ้ง การมีสติแจ้ง ไม่ปรากฎกับ ลัทธิเดิมๆ
   ดังนั้นทำให้ก่อนเข้าสู่สมาธิของลัทธิ เป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังเช่น โยคี พราหมณ์ ต้องไปบำเพ็ญกันจนถึงขั้นอุกฤษณ์ ทำให้ การตั้งมั่นของสมาธิ ของลัทธิ ไม่เป็นไปแบบ ปกติ ทำให้ ผลของสมาธิของบุคคลเหล่านั้น ไม่รู้แจ้งในผล ในอกุศลหรือกุศลที่ยังเจืออยู่ในใจ

  ทีนี้มาถึงว่า แล้ว เราควรฝึกอย่างไร
  ตอบว่า ฝึกสมาธิ อย่างไม่ต้องไปกลัวว่า นี่เป็นสัมมาสมาธิหรือยัง นั่นเป็นมิจฉาสมาธิไหม
  ถ้าเรา เจริญมหาสติดีแล้ว เราสังเกตุใจของตนได้ละเอียด เวลาเราทำสมาธิ เราจะมี
  ปัญญาสังเกตุได้ว่า จิตเรามืดหรือแจ้ง สว่าง สะอาดสงบหรือไม่ ซึ่งจะค่อยๆเข้าสู่
  สัมมา สมาธิได้เอง

** ตัวหลักก็คือ เมื่อเราทำสมาธิ ให้เราหัดสังเกตุดูที่ใจเราให้ดี ดูที่ใจไม่ได้ให้ดูที่อื่น
    ไม่ได้ให้ดูแสงสี หรือนิมิตอะไร ดูความเปลี่ยนแปลงที่มันเกิดขึ้นที่ใจ แล้วเราจะเริ่ม
     เข้าใจได้ด้วยตนเองว่า สมาธิ กับ สัมมาสมาธิแตกต่างกันอย่างไร

แล้วดูความเปลี่ยนแปลงยังไงอะครับ ความเห็นที่ปม งงคือ เราดูความเปลี่ยนแปลงจิตเราก็จะจดจ่อพอจดจ่อมากๆจนทำให้เป็นการเพ่งไปพอเพ่งมากๆก็จะปรุงแต่งไปเองปะครับ หรือ ถ้าเราดูว่า จิตกำลังคิดไม่ดีถ้าเราบอกตัวเองว่าจิตกำลังคิดไม่ดี(ไม่ได้พุดออกมานะครับ) จิตก็เป็น 2 ปะครับไม่เปน  1 ปะครับ  หรือถ้าเรากำหนดลมหายใจเข้าออกแล้วเราไปกำหนดดูการเปลี่ยนแปลงของจิตด้วย ก็เป็น 2 ปะครับ หรือเลือกเอาอย่างไดอย่างหนึ่งครับเลยอยากให้พี่รบกวนขยายความให้เข้าใจหน่อยนะครับ ขอบคุนครับ
IP : บันทึกการเข้า

จำหน่ายไก่ฟ้าโกลเด้น​ (ไ่ฟ้าสีทอง)​   สอบถามได้ คราบ 0811446675
jirapraserd
magdafVE
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 693


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2013, 13:29:13 »

ที่ทำนั่นแหละถูกแล้ว ใหม่ ๆ ก็จะเป็นแบบนี้ทุก ๆ คน เพราะจิตมันไม่ละเอียดพอ
ที่จะเห็นกระบวนการ ต้นตอของจิตที่เกิดความสงสัย  ไม่เห็นกระบวนการที่จิตมันเข้าไปเพ่งไปจ้อง เห็นเบื้องต้นแบบนี้ก็ใช้ได้แล้ว ทำต่อไปเรื่อย ๆ  ดูความรู้สึกที่มันเปลี่ยนแปลง
ของจิต ดูเฉย ๆ  ไม่ต้องไปสงสัยเรื่องจิตหนึ่งจิตสองอะไรนั่นหรอกครับ มันยังไม่ใช่ภูมิ
ของเราที่จะรู้  แล้วจะเข้่าใจไปเองว่า การทำสมาธิ ไม่ใช่แค่นั่งหลับตา ยืน เดิน นั่ง นอน
ทำได้หมดทุกอริยาบท
IP : บันทึกการเข้า

nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2013, 22:38:02 »

ขอกราบอนุโมทนา ใน ธรรมทาน ครับ
IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2013, 14:04:17 »

    กราบเรียน  ญาติธรรม  ที่เคารพ

การฝึกสมถภาวนา  เป็น  การฝึกสมาธิเบื้องต้น        
หาเอา  ความสงบ  เป็น  สมาธิ     ได้ สมถะ   สงบ   ร่มเย็น

เอา สมถะ เสียก่อน   เอาปัญญา  มาเติม ภายหลัง      
ท่านเรียก  ว่า  สมถยานิก  ไปสู่    เจโตวิมุตติ     การหลุดพ้น มี  สมถะ  เป็น  ตัวนำ  



ครูบาอาจารย์ผม  สอนว่า  การฝึกแนวเจโตวิมุตติ      ไม่ใช่          มิจฉาสมาธิ

กรุณา  ไป อ่าน หัวข้อ   การฝึกแนว เจโต ฯ                    ประกอบ กับ  หัวข้อ นี้

ไหว้สาธุ  ขอจงเป็น  ธรรมทาน      

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 14 มิถุนายน 2013, 14:36:26 โดย nantong » IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 19 มิถุนายน 2013, 23:43:36 »

   กราบเรียน  ญาติธรรม ที่ เคารพ
อาจารย์อิทธิ  อธิบาย ว่า มิจฉาสมาธิ หรือ มิจฉาฌาน  ผมนำมาขยายความต่อ

อกุศลขันธ์จิต  มีองค์ฌาน วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัคตารมณ์    เมื่อ จรดจ่อ ใน บาป จัดเป็น มิจฉาสมาธิ
นักตกเบ็ดตกปลา   นักพนันกำลังตั้งใจเล่น  คนแทงไฮโลมุ่งฟังเสียงเขย่าไฮโล  คนทำคุณไสยมนต์ดำทำเสน่ห์  ผู้เอาพลังจิตมีฌานไปในการรักษาคนป่วย ไม่เอาไปในการพัฒนาปัญญาทางธรรม  เอาพลังจิตไปปลุกเสกเลขยันต์ทำน้ำมนต์ ไม่ต้องตามพระพุทธประสงค์
 
   พระพุทธองค์  ทรงมุ่งให้ พัฒนาจิต ไปหลุดพ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 19 มิถุนายน 2013, 23:46:07 โดย nantong » IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
nufirm
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,430


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 14:21:09 »

พุทธวจน faq สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ

IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2013, 00:59:28 »

  ไหว้สา

นักภาวนา  ผู้หลง มีโมโห ว่า ตัวข้า  รู้เอง  เห็นเอง จากการภาวนา  นี่ก็จัดเป็น  มิจฉาสมาธิ

วิปัสสนาญาณ  ใน  ยุคของพระพุทธศาสนา  ล้วนแต่  รู้ตาม พระบรมศาสดา  เท่านั้น

วิปัสสนาญาณ ใน ยุคพุทธันดร  ว่างจาก พระพุทธเจ้า องค์สุดท้าย ไปสู่ พระองค์ถัดต่อไป  ผู้ตรัสรู้เอง คือ  พระปัจเจกพุทธเจ้า เท่านั้น  แต่ ไม่ทรงพระกรุณาธิคุณ  ที่ จะวาง พระศาสนา เป็น บาทฐาน แก่  สัพพสัตว์

ขออานิสงส์ แห่ง ธัมมทาน จงส่งผล ให้ ผู้ข้าพ์  ได้รู้ธัมม์ อย่างพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ได้เป็นผู้นำพาสัพพสัตว์ พ้นความโง่ง่าวอวิชชา หรือ ได้สร้างเหตุ  ปัจจัย สะสมไปสู่การพ้นทุกข์ยิ่งๆ ขึ้นไปเทอญ

IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
Maewdn
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 403



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2013, 04:54:37 »

 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!