เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 02:26:08
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ตลาดกลางซื้อขายสินค้าออนไลน์
| |-+  พระเครื่อง-วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง ความเชื่อ ลี้ลับ (ผู้ดูแล: NOtis, micky13)
| | |-+  วัดอรุณราชวราราม
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน วัดอรุณราชวราราม  (อ่าน 142 ครั้ง)
amulet7
EM สกรีน สกรีนเสื้อทุกชนิด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 42

EMสกรีน สกรีนเสื้อทุกชนิด


« เมื่อ: วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013, 16:52:06 »

วัดอรุณราชวราราม

ประวัติ วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และฟากตะวันออกของถนนอรุณอมรินทร์ ระหว่างคลองนครบาล หรือคลองวัดแจ้ง กับพระราชวังเดิม ตำบลวัดอรุณ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี

ชื่อวัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณ สร้างมาแต่ครั้งสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" ภายหลังเปลี่ยนเป็น "วัดมะกอกนอก" แล้วเปลี่ยนเป็น "วัดแจ้ง","วัดอรุณราชธาราม" และ "วัดอรุณราชวราราม" โดยลำดับ ปัจจุบันเรียก "วัดอรุณราชวราราม" มูลเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้มาแต่เดิมว่า "วัดมะกอก" นั้น สันนิษฐานว่า คงจะเรียกคล้ายตามชื่อตำบลที่ตั้งวัด ซึ่งสมัยก่อนมี ชื่อเรียกว่า "บางมะกอก" เมื่อนำมาเรียกรวมกับคำว่า "วัด" ในตอนแรก ๆ คงเรียกว่า "วัดบางมะกอก" ภายหลังเสียงหดลง คงเรียกสั้น ๆ ว่า "วัดมะกอก" ตามคติเรียก ชื่อวัดไทยในสมัยโบราณ เพราะชื่อวัดที่แท้จริงมักจะไม่มี จึงเรียกชื่อวัดตามตำบลที่ตั้ง เช่น วัดบางลำพู, วัดปากน้ำ เป็นต้น ต่อมาเมื่อได้สร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกันนี้ แต่อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกชื่อวัดที่สร้างใหม่ว่า "วัดมะกอกใน" แล้วเลยเรียกวัดมะกอกเดิม ซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า "วัดมะกอกนอก" เพื่อให้ทราบว่าเป็นคนละวัดกัน

ส่วนที่เปลี่ยนเป็นเรียกว่า "วัดแจ้ง" นั้น เล่ากันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงกอบกู้ กรุงศรีอยุธยาสำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว มีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรี จึงเสด็จกรีฑาพลล่องมาทางชลมารคพอถึงหน้าวัดนี้ก็ได้เวลาอรุณ หรือรุ่งแจ้งพอดี ทรงพระราชดำริเห็นเป็นอุดมมหามงคลฤกษ์ จึงโปรดให้เทียบเรือพระที่นั่งที่ท่าน้ำ เสด็จขึ้นไปทรงสักการะบูชาพระมหาธาตุ ขณะนั้นสูงประมาณ ๘ วา ซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหน้าวัด แล้วเลยเสด็จประทับแรมที่ศาลาการเปรียญใกล้ร่มโพธิ์ ต่อมาได้โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด แล้วเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น"วัดแจ้ง" เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ วัดอรุณราชวราราม

ชื่อ "วัดแจ้ง" นี้ มีเรื่องสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทูลสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ไว้ว่า "หม่อมฉันเคยเห็นแผนที่เมืองธนบุรีที่ฝรั่งเศสทำเมื่อรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ในแผนที่นั้นมีแต่วัดเลียบกับวัดแจ้ง เวลานั้นยังเป็นชานป้อมใหญ่ ซึ่งอยู่ราวโรงเรียนราชินี เพราะฉะนั้นวัดโพธิ์เป็นวัดสร้างเมื่อล่วงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มาแล้ว วัดอรุณราชวราราม

จากหลักฐานนี้ อาจสันนิษฐานได้ว่า วัดแจ้งมีมาก่อนที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะทรงย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี ตามเรื่องที่ได้กล่าวมาแล้วและชาวฝรั่งเศสผู้ได้ทำแผนที่เมืองธนบุรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคือ เรือเอก เดอ ฟอร์ปัง กับนายช่าง เดอ ลามาร์ การปฏิสังขรณ์วัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงกระทำมา ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร และยังทรงประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมนั้น ได้สำเร็จลงไปต้นปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ สมัยรัชกาลที่ ๒ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการฉลองแล้วพระราชทานชื่อวัดใหม่ว่า "วัดอรุณราชวราราม"

ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้บูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันจนถึงปัจจุบัน



ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

พระอุโบสถ

พระประธานในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามให้วัดอรุณราชวรารามว่า"พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก" หล่อในรัชกาลที่ ๒ กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ด้วยพระองค์เอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓ ศอกคืบ ประดิษฐานเหนือแท่นไพที่บนฐานชุกชี ที่พระพุทธอาสน์พระประธาน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิรัชกาลที่ ๒ มาบรรจุได้ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๓๘ เวลา ๑๖.๐๐ น. เกิดอัคคีภัยไหม้พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รีบเสด็จพระราชดำเนินมาอำนวยการดับเพลงด้วยพระองค์เอง และอัญเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชออกไปได้ทัน เพลิงไหม้หลังคาพระอุโบสถหมด จึงโปรดให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถให้คือดีดังเดิม และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระบานริศรานุวัดติวงศ์ก็ประทานความเห็นในการซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ ให้รักษาของเก่าไว้อย่างดีที่สุด และภาพที่จะเขียนซ่อมใหม่ก็ให้กลมกลืนกับภาพเดิม กลับมาที่บริเวณพระอุโบสถอีกครั้ง โดยรอบพระอุโบสถมีซุ้มใบเสมา ๘ ซุ้ม ในเสมาเป็นใบคู่ทำด้วยหินสลักลวดลายงดงามประดิษฐานอยู่ในซุ้มหินอ่อน ทำเป็นรูปบุษบกยอดเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง สูง ๒ วา ๑ ศอก ระหว่างซุ้มใบเสมามีสิงโตหินแบบจีนตัวเล็ก ๑๑๒ ตัว ตั้งอยู่บนแท่น มีเหล็กยึดแท่นให้ติดกันโดยตลอด เว้นแต่ช่องตรงกับบันไดพระอุโบสถ ริมช่องว่างนั้นมีตุ๊กตาหินรูปคนจีนนั่งบนเก้าอี้หน้าสิงโตจีนอีกช่องละ ๒ ตัว ๘ ช่อง รวมเป็น ๑๖ ตัว

หน้าพระระเบียงโดยรอบของวัดอรุณราชวราราม มีตุ๊กตาหินรูปทหารจีนตั้งเรียงเป็นแถวจำนวน ๑๔๔ ตัว และมุมพระอุโบสถทั้ง ๔ มี พระเจดีย์จีนทำด้วยหิน มีซุ้มคูหาตั้งรูปผู้วิเศษ ๘ คน หรือ ที่เรียกว่าโป๊ยเซียน พระเจดีย์มียอดเป็นปล้อง ๆ เรียวเล็กขึ้นไปตามลำดับ คล้ายปล้อง ไฉนแบบพระเจดีย์ไทย มุมละองค์ นอกจากนั้นยังมีช้างหล่อด้วยโลหะ ๘ ตัว สูงขนาด ๑ เมตรเศษ ตั้งอยู่บนแท่นตรง ประตูเข้าออกหน้าพระระเบียง แนวเดียวกับตุ๊กตาทหารจีน ด้านละ ๒ ตัว หันหน้าเข้าพระอุโบสถ ช้างโลหะทั้ง ๘ ตัวนี้ มีอิริยาบถไม่เหมือนกัน บางตัวชูงวงบางตัวปล่อยงวง ลง เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ โดยรอบพระอุโบสถมีพระระเบียงหรือพระวิหารคด มีประตูเข้าออกอยู่กึ่งกลาง พระระเบียงทั้ง ๔ ทิศ หน้าบัน ประตูทำเป็นรูปนารายณ์ ทรงครุฑ ประดับด้วยลาย กระหนกลงรักปิดทองงามมาก พระระเบียงเป็นของสร้าง

ในรัชกาลที่ ๒ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระบานริศรานุวัดติวงศ์ศิลปินเอกของชาติไทยทรงชมเชยไว้ว่า "พระระเบียงมีอยู่ให้ดูได้บริบูรณ์ ทรวดทรงงามกว่าพระระเบียงที่ไหนหมด เป็นศรีแห่งฝีมือในรัชกาลที่ ๒ ควรชมอย่างยิ่ง แต่ลายเขียนผนังนั้นเป็นฝีมือในรัชกาลที่ ๓ ทำเพิ่มเติม" ลายเขียนที่ผนังที่ทรงกล่าวถึงนั้น เขียนเป็นรูปซุ้มเรือนแก้วลายดอกไม้ใบไม้ มีนกยูงแบบจีนคาบอยู่ ตรงกลาง พระพุทธรูปในพระระเบียงทั้งหมด เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีรวม ๑๒๐ องค์ ตรงด้านหลังทิศตะวันออกทางที่จะเข้าสู่ พระอุโบสถ มีประตูซุ้มยอดมงกุฎสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นประตูจตุรมุข หลังคา ๓ ชั้น เฉลียงรอบมียอดเป็นทรงมงกุฎ ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยสลับสี หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ช่อฟ้า ใบระกา หัวนาคและหางหงส์ เป็นปูนประดับกระเบื้องถ้วย หน้าบันเป็นปูนประดับกระเบื้องถ้วย มีลวดลายเป็นใบไม้ดอกไม้ในวัดอรุณราชวราราม

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ประตูซุ้มยอดมงกุฎของวัดอรุณราชวรารามชำรุดทรุดโทรมมาก พระยาราชสงครามได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ถ้าจะโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมใหม่ก็ต้องใช้เงินถึง ๑๖,๐๐๐ บาท หรือไม่ก็ต้องรื้อเพราะเกรงจะเป็นอันตรายเมื่อเวลาเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐินวัดนี้ มีพระราชกระแสตอบว่า "ซุ้มประตูนี้อยากจะให้คงรูปเดิม เพราะปรากฏแก่คนว่า เป็นหลักของบางกอกมาช้านานแล้ว" อีกตอนหนึ่งทรงว่า "ขอให้ถ่ายรูปเดิมไว้ให้ มั่นคง เวลาทำอย่าให้แปลกกว่าเก่าเลยเป็นอันขาด อย่าเพ่อให้รื้อจะไปถ่ายรูปไว้เป็นพยาน..." เพราะพระมหากรุณาธิคุณในการทรงอนุรักษ์ศิลปกรรมชิ้นยอดเยี่ยมของชาติชิ้นนี้ไว้ ลูกหลานไทยจึงได้ชื่นชมต่ออัจฉริยะของช่างรุ่นก่อนมาจนทุกวันนี้ และรัฐบาลก็เคยนำภาพซุ้มประตูยอดมงกุฎมีรูปยักษ์ยืนเฝ้าอยู่ด้านหน้า ๒ ตน ลงพิมพ์ในธนบัตรอยู่สมัยหนึ่งที่หน้าประตูซุ้มยอดมงกุฏดังกล่าว มีพญสยักษ์ยืนอยู่ ๒ คน มือทั้งสองกุมกระบองยืนอยู่บนแท่น ยักษ์ด้านเหนือสีขาวชื่อ สหัสเดชะ ด้านใต้สีเขียวชื่อทศกัณฐ์ ปั้นด้วยปูน ประดับกระเบื้องเคลือบสีเป็นลวดลายรูปลักษณะและเครื่องแต่งตัว สร้างแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ตรัศว่าเป็นฝีมือปั้นของหลวงเทพรจนา (กัน) และเป็นเหตุให้เกิดการปั้นรูปยักษ์ยืนในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในเวลาต่อมา

พระวิหาร

ปูชนียสถานสำคัญของวัดอรุณราชวรารามอีกหลังหนึ่งคือพระวิหาร เป็นอาคารยกพื้นสูงเช่นเดียวกับพระอุโบสถ หลังคาลด ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันมีรูปเทวดาถือพระขรรค์ยืนอยู่บนแท่น ประดับด้วยลายกระหนกลงรักปิดทองประดับกระจก มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้ามีประตูเข้า ๓ ประตู ด้านหลังมี ๒ ประตู ผนังด้านนอกประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลายก้านแย่งกระบวนไทย เป็นกระเบื้องที่รัชกาลที่ ๓ ทรงสั่งมาจากเมืองจีน ปัจจุบันได้ใช้พระวิหารนี้เป็นการเปรียญของวัดอรุณราชวรารามด้วย

พระประธานในพระวิหาร คือ พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๖ ศอก หล่อด้วยทองแดงปิดทองพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้หล่อขึ้นพร้อมกับพระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศเทพวรารามเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ ทางวัดได้พบพระบรมธาตุ ๔ องค์ บรรจุอยู่ในโกศ ๓ ชั้น อยู่ในพระเศียรที่ฐานชุกชีด้านหน้าพระชุมภูนุท มีพระอรุณหรือพระแจ้งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์พระและผ้าทรงครองหล่อด้วยทองต่างสีกัน หน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตรวัดอรุณราชวราราม

มีประวัติว่าได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และมีพระราชดำริว่านาม พระพุทธรูปพ้องกันกับวัดอรุณราชวราราม จึงโปรดให้อัญเชิญมา ณ วิหารนี้ และที่แท่นหน้าพระอรุณในพระวิหาร มีพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๗๐ เซนติเมตร มีพุทธ ลักษณะงดงามยิ่ง ประดิษฐานอยู่ เดิมพระพุทธรูปองค์นี้อยู่ที่ศาลาการเปรียญที่รื้อไปแล้ว มีปูนพอกทั้งองค์โดยไม่มีใครทราบ ภายหลังปูนกระเทาะตัวออกจึงเห็นองค์พระเป็นสำริดสมัยสุโขทัย ทางวัดจึงอัญเชิญมาประดิษฐานในวัดอรุณราชวรารามแห่งนี้

IP : บันทึกการเข้า

EM screen (อีเอม สกรีน)
-รับสกรีนเสื้อยืด เสื้อโปโล
-รับตัดเสื้อคนงาน แขนยาวฟรีไซส์
-รับออกแบบเสืื้อกลุ่ม เสื้อแก๊ง
---------------------------------------
-สนใจสั่งทำเสื้อ 085 132 3208 (แอม)
-ส
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!