เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 กรกฎาคม 2025, 10:22:15
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ขอเชิญสมาชิกร่วมทำบุญประจำปีของ เวปไซค์เชียงรายโฟกัสดอทคอม
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 [16] 17 18 19 20 21 22 พิมพ์
ผู้เขียน ขอเชิญสมาชิกร่วมทำบุญประจำปีของ เวปไซค์เชียงรายโฟกัสดอทคอม  (อ่าน 35555 ครั้ง)
D-max
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,131



« ตอบ #300 เมื่อ: วันที่ 12 ตุลาคม 2010, 09:49:28 »

..

กฐิน กับ ผ้าป่า ต่างกันยังไงคะ

การทำบุญครั้งนี้เราเรียก ผ้าป่า ไม่ใช่ กฐิน


กฐินทำหลังจากออกพรรษาไม่เกิน 1 เดือนก้าหาครับ
ส่วนผ้าป่าทำได้ตลอดทั้งปีก้าครับ ไม่แน่ใจ
เดวรอท่านอื่นมาบอกอีกทีครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,009


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« ตอบ #301 เมื่อ: วันที่ 12 ตุลาคม 2010, 18:10:02 »

..

กฐิน กับ ผ้าป่า ต่างกันยังไงคะ

การทำบุญครั้งนี้เราเรียก ผ้าป่า ไม่ใช่ กฐิน


กฐินทำหลังจากออกพรรษาไม่เกิน 1 เดือนก้าหาครับ
ส่วนผ้าป่าทำได้ตลอดทั้งปีก้าครับ ไม่แน่ใจ
เดวรอท่านอื่นมาบอกอีกทีครับ ยิงฟันยิ้ม
.ใช่แล้วครับ ผ้าป่ามีได้ทั้งปีครับ สวนกฐินมีได้ครั้งเดียว ครับ
IP : บันทึกการเข้า

bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,576


canon eos


« ตอบ #302 เมื่อ: วันที่ 12 ตุลาคม 2010, 18:16:04 »

..

กฐิน กับ ผ้าป่า ต่างกันยังไงคะ

การทำบุญครั้งนี้เราเรียก ผ้าป่า ไม่ใช่ กฐิน


กฐินทำหลังจากออกพรรษาไม่เกิน 1 เดือนก้าหาครับ
ส่วนผ้าป่าทำได้ตลอดทั้งปีก้าครับ ไม่แน่ใจ
เดวรอท่านอื่นมาบอกอีกทีครับ ยิงฟันยิ้ม
.ใช่แล้วครับ ผ้าป่ามีได้ทั้งปีครับ สวนกฐินมีได้ครั้งเดียว ครับ

 ยิ้มเท่ห์ ยิ้มกว้างๆ....ฝั่งประเทศลาวฝนตกไหมครับวันนี้
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,468



« ตอบ #303 เมื่อ: วันที่ 12 ตุลาคม 2010, 19:18:54 »

..

กฐิน กับ ผ้าป่า ต่างกันยังไงคะ

การทำบุญครั้งนี้เราเรียก ผ้าป่า ไม่ใช่ กฐิน


กฐินทำหลังจากออกพรรษาไม่เกิน 1 เดือนก้าหาครับ
ส่วนผ้าป่าทำได้ตลอดทั้งปีก้าครับ ไม่แน่ใจ
เดวรอท่านอื่นมาบอกอีกทีครับ ยิงฟันยิ้ม
.ใช่แล้วครับ ผ้าป่ามีได้ทั้งปีครับ สวนกฐินมีได้ครั้งเดียว ครับ

 ยิ้มเท่ห์ ยิ้มกว้างๆ....ฝั่งประเทศลาวฝนตกไหมครับวันนี้

ปิ๊กมาแล้วครับ คนจุ่มคนเย็นไปตี้ไหนฝนตกตี้หั้น ตึงเมืองไทยเมืองลาว
ฮำฝนแอ่ววันค่ำ เหอๆๆๆ แต่ก็ม่นขนาด ถ้าใคร่ฮู้ว่าม่วนอย่างใด
ก็ถามคนตี้เปิ้นไปตวย เขยลาว ปุ๊นเต๊อะเน้อ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

..............
JooK Freeway
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,291


Freeway.ChiangRai Thailand.


« ตอบ #304 เมื่อ: วันที่ 12 ตุลาคม 2010, 20:14:40 »

เอ...ผมยังบ่าได้แจ้งรายจื้อว่าจะไปโตยกะนี่...บ่าเป๋นหยัง ยกมือไปโตยแหมคนค๊าบบ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
ลงชื่อให้แล้วครับจุ๊ก
กะลังหาคนถ่ายรูปบรรยากาศกลางคืนพอดี
ขออนุโมทนาบุญครับ


ขอบคุณครับอ้าย ผมจะได้เตรียมตัวกับอุปกรณ์ที่จำเป๋นหื้อพร้อมสำหรับวันงานครับ  ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
ขอฮ่วมอนุโมทนาบุญโตยครับ  ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า

D'tracker X 250.:2012. My Baby Blue.
Two wheel one heart world wide adventure.
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #305 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 01:40:44 »

เบื้องต้น พระพุทธภูมิดอทคอม และ เชียงรายโฟโต้คลับ เมื่อ 10/10/10
ขออนุโมทนาบุญกับ เฮียเม้ง
และทีมงานด้วยครับ
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #306 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 07:17:11 »

..

กฐิน กับ ผ้าป่า ต่างกันยังไงคะ

การทำบุญครั้งนี้เราเรียก ผ้าป่า ไม่ใช่ กฐิน


กฐินทำหลังจากออกพรรษาไม่เกิน 1 เดือนก้าหาครับ
ส่วนผ้าป่าทำได้ตลอดทั้งปีก้าครับ ไม่แน่ใจ
เดวรอท่านอื่นมาบอกอีกทีครับ ยิงฟันยิ้ม
.ใช่แล้วครับ ผ้าป่ามีได้ทั้งปีครับ สวนกฐินมีได้ครั้งเดียว ครับ

 ยิ้มเท่ห์ ยิ้มกว้างๆ....ฝั่งประเทศลาวฝนตกไหมครับวันนี้
ทำบุญ สองวัด ได้รับน้ำมนต์ตลอดทางครับท่าน...อิิอิ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
my_smile
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 742


ชีวิตปาฏิหาริย์


« ตอบ #307 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 08:45:41 »

..

กฐิน กับ ผ้าป่า ต่างกันยังไงคะ

การทำบุญครั้งนี้เราเรียก ผ้าป่า ไม่ใช่ กฐิน


กฐินทำหลังจากออกพรรษาไม่เกิน 1 เดือนก้าหาครับ
ส่วนผ้าป่าทำได้ตลอดทั้งปีก้าครับ ไม่แน่ใจ
เดวรอท่านอื่นมาบอกอีกทีครับ ยิงฟันยิ้ม
.ใช่แล้วครับ ผ้าป่ามีได้ทั้งปีครับ สวนกฐินมีได้ครั้งเดียว ครับ

 ยิ้มเท่ห์ ยิ้มกว้างๆ....ฝั่งประเทศลาวฝนตกไหมครับวันนี้
ทำบุญ สองวัด ได้รับน้ำมนต์ตลอดทางครับท่าน...อิิอิ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


รับทราบ..

ยังคาใจอยู่ มันน่าจะมีอะไรต่างกันมากกว่าจำนวนและเวลา..

แต่ก็ช่างมันเถอะ จะผ้าป่าหรือกฐิน ก็ได้บุญทั้งคู่

รับน้ำมนต์ตลอดทาง ชุ่มเย็น ชุ่มเย็น ขอให้ชีวิตราบรื่น ขอให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข...
IP : บันทึกการเข้า
ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,468



« ตอบ #308 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 09:58:34 »

๏ ประเพณีการทอดผ้าป่า

การทอดผ้าป่า เป็นประเพณีการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชน คล้ายกับการทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจํากัด คือสามารถทำได้ทุกฤดูกาล ไม่จำกัดเวลา คือทำได้ตลอดทั้งปี และวัดหนึ่งๆ ในแต่ละปีจะจัดให้มีการทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้เช่นกัน ผู้ปรารถนาจะทำเมื่อไรย่อมทำได้ตามกำลังศรัทธา ซึ่งอาจจะผสมผสานหรือผนวกเข้ากับเทศกาลประเพณีประจำท้องถิ่นอื่นๆ ก็ได้ อีกทั้ง ยังไม่เจาะจงเกี่ยวกับพระภิกษุที่จะรับผ้าป่าแต่อย่างใด


๏ ผ้าป่าคืออะไร ?

คำว่า “ผ้าป่า” มีชื่อเรียกตามภาษาบาลีว่า “ปังสุกุละ” ภาษาไทยใช้คำว่า “บังสุกุล” หมายถึง ผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน หรือผ้าที่ประชาชนเขาไม่ใช้แล้วนำไปทิ้งที่กองขยะ หรือผ้าที่เขาใช้ห่อศพแล้วนำไปทิ้งไว้ในป่าช้า

พระภิกษุที่ต้องการผ้ามาทำจีวรผลัดเปลี่ยน ก็ต้องไปหาผ้าบังสุกุล พอพบแล้วท่านก็จะชักผ้าบังสุกุลนั้นว่า “อิมัง ปังสุกุละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ” แปลว่า “ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า” แล้วนำผ้านั้นมาซัก ตัด เย็บ ย้อมทำเป็นจีวร เรียกว่า “บังสุกุลจีวร”

ผ้าป่าหรือผ้าบังสุกุล มี ๑๐ ประเภท ได้แก่
ผ้าที่ตกที่ป่าช้า ๑
ผ้าที่ตกที่ตลาด ๑
ผ้าที่หนูกัด ๑
ผ้าที่ปลวกกัด ๑
ผ้าที่ถูกไฟไหม้ ๑
ผ้าที่วัวกัด ๑
ผ้าที่แพะกัด ๑
ผ้าห่มสถูป ๑
ผ้าที่เขาทิ้งในที่อภิเษก ๑
ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา ๑


๏ ประวัติความเป็นมา

ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับ คฤหบดีจีวร คือจีวรที่ชาวบ้านถวายโดยเฉพาะ พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาซักทำความสะอาด ตัด เย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง ทั้งนี้ การทำจีวรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล ค่อนข้างยุ่งยากและเป็นงานใหญ่ ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องพิธีทอดกฐิน

ภายหลังที่มีพระพุทธานุญาตให้พระสงฆ์อุปสมบทแก่กุลบุตรกุลธิดา ที่มีศรัทธาปสาทะจะปฏิบัติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนานี้เพื่อการพ้นทุกข์ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้ให้อุปสมบท บอกนิสสัย ๔ (คือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง) แก่ผู้ขออุปสมบท ที่เกี่ยวกับผ้าบังสุกุลนี้อยู่ในข้อที่ ๒ ดังนี้

๒. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน (เช่นผ้าด้ายแกมไหม)

ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าพระสงฆ์ย่อมต้องอาศัยผ้าบังสุกุลเพื่อใช้นุ่งห่มจนตลอดชีวิต ผ้าบังสุกุลจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ ในสมัยพุทธกาลก็มีการทอดผ้าบังสุกุล ผู้ทอดผ้าบังสุกุลเป็นเทพธิดาองค์หนึ่ง ความปรากฏในธัมมปทัฏฐกถา ดังนี้

ในวันหนึ่ง พระเทพธิดาถวายผ้าแก่พระอนุรุทธเถระ ผู้มีจีวรเก่าแล้วและเที่ยวแสวงหาจีวรในที่ทั้งหลาย มีกองหยากเยื่อเป็นต้น หญิงภรรยาเก่าของพระเถระนั้นในอัตภาพที่ ๓ แต่อัตภาพนี้ได้เกิดเป็นเทพธิดาชื่อ ชาลีนี ในดาวดึงส์ภพ นางชาลินีเทพธิดานั้น เห็นพระเถระเที่ยวแสวงหาท่อนผ้าอยู่ จึงถือผ้าทิพย์ ๓ ผืน ยาว ๑๓ ศอก กว้าง ๔ ศอก แล้วคิดว่า “ถ้าเราจักถวายโดยทำนองนี้ พระเถระจักไม่รับ” จึงวางผ้าไว้บนกองหยากเยื่อแห่งหนึ่งข้างหน้าของพระเถระนั้น ผู้แสวงหาท่อนผ้าทั้งหลายอยู่ โดยอาการที่เพียงชายผ้าเท่านั้นจะปรากฏได้ พระเถระเที่ยวแสวงหาท่อนผ้าอยู่โดยทางนั้น เห็นชายผ้าของท่อนผ้าเหล่านั้นแล้ว จึงจับที่ชายผ้านั้นนั่นแลฉุดมาอยู่ เห็นผ้าทิพย์มีประมาณดังกล่าวแล้ว ถือเอาด้วยคิดว่า “ผ้านี้เป็นผ้าบังสุกุลอย่างอุกฤษฏ์หนอ” ดังนี้แล้วหลีกไป

ต่อมา ครั้นชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาทั้งหลายเห็นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ ต้องการจะนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าอันสมควรแก่สมณบริโภค ไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ตามป่า ป่าช้า หรือข้างทางเดิน หรือแขวนไว้ตามกิ่งไม้ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์สะดวกในการแสวงหาผ้าบังสุกุล เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้ว ก็นำเอามาทำเป็นผ้าจีวร ด้วยเหตุนี้กระมังจึงเรียกผ้าในลักษณะนี้ว่า “ผ้าป่า” (ผ้าที่ชาวบ้านนำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าหรือผ้าที่ห่อศพอยู่ในป่าช้า)

แม้ในการทำบุญงานศพ ยังนิยมเอาผ้าไปทอดที่หีบศพ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ชักผ้านั้น เรียกว่า ชักผ้าบังสุกุล ถ้าหากมีการทอดผ้าจำนวนมาก ก็ยังนิยมเอาสายสิญจน์ผูกที่หีบศพ และยังโยงสายสิญจน์นั้นมาวางที่หน้าพระภิกษุสงฆ์ และทอดผ้าไว้บนสายสิญจน์เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ชักผ้านั้น ก็เรียกว่าชักผ้าบังสุกุล

ครั้นพระพุทธศาสนาแพร่หลายมากขึ้น หมอชีวกโกมารภัจ ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนที่สำคัญและเคร่งครัดมากผู้หนึ่ง ท่านเป็นทั้งหมอหลวงประจำราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินแห่งมคธรัฐ และเป็นหมอที่เคยถวายการรักษาพระพุทธเจ้าและพระสาวก

ครั้งหนึ่ง หลังจากที่รักษาอาการประชวรของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี จนหายเป็นปกติดีแล้ว ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นผ้าเนื้อสีทองอย่างดีสองผืน จากแคว้นกาสี ซึ่งเป็นผ้าเนื้อละเอียดมาก คนธรรมดาไม่มีโอกาสได้ใช้ผ้าเช่นนี้นอกจากพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น แต่ท่านหมอคิดว่า ผ้าเนื้อดีอย่างนี้ไม่สมควรที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์ จึงได้น้อมนำผ้านั้นไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนที่จะถวายได้กราบทูลขอพรว่า “ขอให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้” พระพุทธองค์ประทานอนุญาตให้ตามที่ขอ

การที่หมอชีวกโกมารภัจได้พิจารณาเรื่องจีวรของพระภิกษุแล้ว กราบทูลขอพรเช่นนั้น ก็เพราะแต่ก่อนนั้นพระภิกษุใช้สอยแต่ผ้าบังสุกุล จะไม่รับผ้าที่ชาวบ้านถวาย ท่านหมอเห็นความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในเรื่องนี้ จึงกราบทูลขอพร และได้เป็นผู้ถวายเป็นคนแรก แม้พระพุทธองค์จะทรงอนุญาตตามที่หมอชีวกโกมารภัจ กราบทูลขอ แต่ก็ยังมีพุทธดำรัสตรัสว่า “ถ้าภิกษุปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลก็ให้ถือ ปรารถนาจะรับคฤหบดีรจีวรก็ให้รับ” และได้ตรัสสรรเสริญความสันโดษคือความยินดีตามมีตามได้

พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา และอนุโมทนาบุญแก่หมอชีวกโกมารภัจ ผู้ถวายผ้านั้น เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว หมอชีวกโกมารภัจ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมดำรงอยู่ในอริยภูมิคือ พระโสดาบัน

ดังนั้น การนำผ้าไปทอดไว้ในป่าอย่างแต่ก่อน จึงค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นการนำผ้าป่าที่มีลักษณะดีกว่าไปถวายโดยตรง หรือถ้ายังประสงค์จะรักษาประเพณีทอดผ้าป่า หรือประเพณีที่ให้พระภิกษุถือเอาเฉพาะผ้าบังสุกุลไว้ด้วย ก็นำไปทอดไว้ใกล้ๆ สถานที่ที่พระภิกษุอาศัยอยู่ เช่น วัดวาอาราม จนกระทั่งกลายมาเป็นประเพณีนำผ้าสำเร็จรูป เป็นสังฆาฏิ จีวร สบง ผืนใดผืนหนึ่ง หรือทั้งสามผืน ที่เรียกว่าไตรจีวร พร้อมด้วยเครื่องบริวารไปทอดเป็นการกุศลสืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ พิธีการทอดผ้าป่าก็มีความเป็นมาด้วยประการละฉะนี้

สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับการรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา


๏ ประเภทของผ้าป่า

ความจริงแล้ว การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียวคือ การนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น ๓ อย่าง คือ

(๑) ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน
(๒) ผ้าป่าโยงกฐิน
(๓) ผ้าป่าสามัคคี

(๑) ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน คือเมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงเรียกว่าผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน

(๒) ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวมๆ กันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอดตามวัดต่างๆ ที่อยู่ริมแม่นํ้า จึงเรียกว่าผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้

(๓) ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตามสถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอดจะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน บางทีจุดประสงค์ก็เพื่อร่วมกันหาเงินสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ และอื่นๆ ฯลฯ

 

๏ ผู้ประสงค์จะทอดผ้าป่าจะทำอย่างไร

การจองผ้าป่า

สำหรับการจองผ้าป่านั้น ให้ผู้เป็นเจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาส ที่ต้องการจะนำผ้าป่ามาทอด เรียกว่า เป็นการจองผ้าป่า เมื่อกำหนดเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องมีก็คือ

๑. ผ้า
๒. กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า
๓. ให้อุทิศถวายไม่เจาะจงพระรูปใดรูปหนึ่ง

การตั้งองค์ผ้าป่า

เจ้าภาพองค์ผ้าป่าจะจัดหาผ้าสำหรับพระภิกษุมาผืนหนึ่ง อาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้ง ๓ อย่าง แล้วแต่ศรัทธาเพราะไม่มีข้อกำหนด นำกิ่งไม้หนึ่งกิ่งไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควร เช่น โอ่ง กระถัง เป็นต้น เพื่อให้กิ่งไม้อยู่คงที่ไม่เอนไปเอนมา โดยจะใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบนํ้าฝน สมุด ดินสอ อาหารแห้ง ฯลฯ ใส่ในภาชนะนั้น สำหรับเงินหรือปัจจัยปกตินิยมเสียบไว้กับต้นกล้วยเล็กๆ ในกองผ้าป่านั้น

วันงานทอดผ้าป่า

ในสมัยโบราณ ไม่มีต้องจองผ้าป่า เมื่อเจ้าภาพนำองค์ผ้าไปถึงแล้ว ก็จุดประทัดหรือส่งสัญญาณด้วยวิธีหนึ่ง ให้พระท่านรู้ว่ามีผ้าป่า เป็นอันเสร็จพิธี หรือจะอยู่รอให้พระท่านมาชักผ้าป่าด้วยก็ได้

แต่ในปัจจุบัน การทอดผ้าป่านับว่าเป็นงานค่อนข้างใหญ่ ต้องมีการจองผ้าป่าเพื่อแจ้งให้ทางวัด ทราบหมายกำหนดการ จะได้จัดเตรียมการต้อนรับ เมื่อถึงกำหนดก็จะมีการแห่แหนองค์ผ้าป่ามาด้วยขบวนเถิดเทิงกลองยาวหรือแตรวง เป็นที่ครึกครื้น สนุกสนาน ยิ่งถ้าเป็นผ้าป่าสามัคคีต่างเจ้าภาพ ต่างแห่มาพบกันที่วัด จนกลายเป็นมหกรรมย่อยๆ มีการละเล่นพื้นบ้าน หรือร่วมร้องรำทำเพลง ร่วมรำวง กันเป็นที่สนุกสนาน บางทีก่อนวันทอดก็จะให้มีมหรสพฉลองที่บ้านของเจ้าภาพ


๏ ลำดับการทอดผ้าป่า

การทอดผ้าป่า เมื่อถึงวัดที่จะทอดแล้วก็จัดสถานที่ตั้งองค์ผ้าป่าและเครื่องบริวาร เช่น จัดตั้งไว้ข้างพระอุโบสถ เพื่อจะได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย เมื่อจัดตั้งโดยนำผ้าป่าไปวางต่อหน้าภิกษุสงฆ์เรียบร้อยแล้ว ถ้าหากไม่มีพระภิกษุมาชักผ้าบังสุกุลในขณะนั้น ก็ไม่ต้องกล่าวคำถวาย แต่ถ้ามีพระสงฆ์รูปหนึ่งผู้ได้รับฉันทานุมัติจากหมู่สงฆ์ ลุกขึ้นเดินถือตาลปัตรมาชักผ้าบังสุกุลที่องค์ผ้าป่า เจ้าภาพและผู้ร่วมทอดผ้าป่าด้วยกัน ก็กล่าวคำถวายผ้าป่าพร้อมๆ กันดังนี้

คำบาลีถวายผ้าป่า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล

ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น (๓ จบ)

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับซึ่งผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

เมื่อกล่าวคำถวายจบแล้ว พระสงฆ์ผู้ที่ได้รับฉันทานุมัติจากหมู่สงฆ์มาชักผ้าบังสุกุล และไวยาวัจกรของวัดจะมารับต้นผ้าป่าและเครื่องบริวารอื่นๆ ตลอดจนเงินหรือปัจจัยด้วย โดยพระสงฆ์รูปนั้นก็กล่าวคำปริกรรมว่า

“อิมัง ปังสุกุละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ”

แปลเป็นใจความได้ว่า

“ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า”

ต่อจากนั้นพระสงฆ์จึงสวดอนุโมทนาในผลบุญ เจ้าภาพและผู้ร่วมทอดผ้าป่าด้วยกัน ต่างก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพพการี เป็นต้น ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดผ้าป่าเพียงนี้

ข้อสำคัญในการทอดผ้าป่าคือ การทอดผ้าป่านั้นไม่เป็นการถวายแก่พระภิกษุที่เฉพาะเจาะจง ถ้านำไปถวายเฉพาะเจาะจงพระภิกษุรูปนั้นรูปนี้ก็ไม่เป็นการทอดผ้าป่า คือไม่ใช่ทอดผ้าป่าบังสุกุล

สำหรับในกรณีที่ไม่มีพระภิกษุมาชักผ้าบังสุกุล เมื่อจัดตั้งองค์ผ้าป่าและบริวารในสถานที่เหมาะแล้ว ก็ให้สัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ทราบว่ามีผ้าป่ามาทอดที่วัด แล้วก็หลีกไป

 

๏ อานิสงส์ของการทอดผ้าป่า

๑. เป็นการสงเคราะห์พระสงฆ์ให้สะดวกด้วยปัจจัยสี่ หรือสิ่งที่จำเป็นในการครองสมณเพศ มีจีวร หรือผ้านุ่งห่ม เป็นต้น

๒. เป็นการช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เพราะเมื่อพระสงฆ์ได้รับความสะดวกตามสมควรก็จะได้เป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

๓. ได้ชื่อว่าเป็นการถวายทานแด่ท่านผู้ทรงศีล ซึ่งนับเป็นการบูชาท่านผู้ทรงศีล-บูชาท่านผู้ควรบูชา และเป็นทานที่มีคุณค่าสูง

๔. เป็นการอบรมจิตใจของผู้บริจาคให้มีการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม คือ พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นหลักทางจิตใจของประชาชนในชาติสืบไป

๕. เป็นการส่งเสริมความมีสามัคคีธรรมของหมู่คณะ

๖. เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีความมั่นคง เป็นปึกแผ่นสืบไป



.....................................................

รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
1. http://www.poonporn.com/
2. http://www.watphrabuddhabat.com/
IP : บันทึกการเข้า

..............
ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,468



« ตอบ #309 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 10:01:39 »

กฐิน

          พิธีทอดกฐิน เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง ท่านจึงจัดเป็นกาลทาน แปลว่า "ถวายตามกาลสมัย" คำว่า "กฐิน" มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่หลายความหมายดังนี้

          กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ

          การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบแล้วตัดเย็บย้อม ทำให้เสร็จในวันนั้นด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้นและเมื่อทำเสร็จ หรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้นก็รื้อเก็บไว้ใช้ในการทำผ้าเช่นนั้นในปีต่อๆ ไป การรื้อแบบไม้นี้เรียกว่า เดาะ ฉะนั้น คำว่า กฐินเดาะ หรือ เดาะกฐิน จึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า

          กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้

          กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ 3 เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก

          กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีกานสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4

          จากความหมายข้างต้นจะเห็นว่า มีความเกี่ยวข้องกัน 4 ประการ เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมเรื่องกฐินเสร็จแล้ว และประชุมกันอนุโมทนากฐินคือแสดงความพอใจ ว่าได้ กรานกฐิน เสร็จแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี คำว่า กรานกฐิน คือการลาดผ้า หรือทาบผ้าลงไปกับกรอบไม้แม่แบบเพื่อตัดเย็บ ย้อม ทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง

          ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่เราได้ยินกันก่อนจะมีการทำบุญกฐิน คือ การจองกฐิน หมายถึงการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาต่อทางวัดว่าจะนำกฐินมาถวาย เมื่อนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน แต่จะต้องภายในเขตเวลา 1 เดือน ตามที่กำหนดในพระวินัย (ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)

          อีกคำหนึ่งที่จะได้ยินในขณะที่มีพิธีการทอดกฐินคือคำว่า อปโลกน์กฐิน หมายถึงการที่ภิกษุรูปใดรุปหนึ่งเสนอขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ถามความเห็นชอบว่าควรมีการกรานกฐินหรือไม่ เมื่อเห็นชอบร่วมกันแล้วจึงหารือกันต่อไปว่า ผ้าที่ทำสำเร็จแล้วควรถวายแก่ภิกษุรูปใด การปรึกษาหารือการเสนอความเห็นเช่นนี้เรียกว่า อปโลกน์ (อ่านว่า อะ-ปะ-โหลก) หมายถึง การช่วยกันมองดูว่าจะสมควรอย่างไร เพียงเท่านี้ก็ยังใช้ไม่ได้ เมื่ออปโลกน์เสร็จแล้วต้องสวดประกาศเป็นการสงฆ์ จึงนับว่าเป็นสังฆกรรมเรื่องกฐินดังกล่าวไว้แล้วในตอนต้น

          ในปัจจุบัน มีผู้ถวายผ้ามากขึ้น มีผู้สามารถตัดเย็บย้อมผ้าที่จะทำเป็นจีวรได้แพร่หลายขึ้น การใช้ไม้แม่แบบอย่างเก่าจึงเลิกไป เพียงแต่รักษาชื่อและประเพณีไว้โดยไม่ต้องใช้กรอบไม้แม่แบบ เพียงถวายผ้าขาวให้ตัดเย็บย้อมให้เสร็จในวันนั้น หรืออีกอย่างหนึ่งนำผ้าสำเร็จรูปมาถวายก็เรียกว่าถวายผ้ากฐินเหมือนกัน

          และเนื่องจากยังมีประเพณีนิยมถวายผ้ากฐินกันแพร่หลายไปทั่วประเทสไทยจึงนับว่าเป็นประเพณีนิยมในการบำเพ็ญกุศล เรื่องกฐินนี้ยังขึ้นหน้าขึ้นตาเป็นสาธารณประโยชน์ร่วมไปกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามไปในขณะเดียวกัน

ตำนาน
          ครั้งพุทธกาล มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎกกฐินขันธกะว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ 30 รูป ซึ่งถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้นพอถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ 6 โยชน์ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้นพออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทาง แต่ระยะนั้นมีฝนตกมากหนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถีได้เข้าเฝ้าสมความประสงค์

          พระพุทธเจ้าจึงมีปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้นเรื่องการจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกตและการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลถึงความตั้งใจ ความร้อนรนกระวนกระวายและการเดินทางที่ลำบากให้ทรงทราบทุกประการ

          พระพุทธเจ้าทรงทราบและเห็นความลำบากของภิกษุจึงทรงยกเป็นเหตุและมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้วกรานกฐินได้ และเมื่อกรานกฐินแล้วจะได้รับอานิสงส์ตามที่กำหนดในพระวินัยถึง 5 ประการคือ

          1. อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ จะไปค้างคืนที่ไหน ไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ
          2. จะไปไหนมาไหน ไม่ต้องบอกลาก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ
          3. ฉันคณะโภชน์ได้ ไม่ต้องอาบัติ
          4. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
          5. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอทั้งได้โอกาสขยายเขตจีวรกาล ให้ยาวออกไปอีกจนถึงกลางเดือน 4



ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฐิน
          - จำนวนพระสงฆ์ในวัดที่จะทอดกฐิน สงฆ์ผู้จะให้ผ้ากฐินนั้น จะต้องมีจำนวนอย่างน้อย 5 รูป เพราะจะต้องจัดเป็นผู้รับผ้ากฐิน 1 รูป เหลืออีก 4 รูปจะได้เข้าเป็นองค์คณะ (สงฆ์) มากกว่า 5 รูปขึ้นไปใช้ได้ แต่น้อยกว่า 4 รูปใช้ไม่ได้

          - คุณสมบัติของพระสงฆ์ที่มีสิทธิรับกฐิน คือพระสงฆ์ที่จำพรรษาในวัดนั้นครบ 3 เดือน ปัญหาที่เกิดขึ้นมีอยู่ว่าจะนำพระสงฆ์จากวัดอื่นมาสมทบ จะใช้ได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ แต่พระรูปที่มาสมทบจะไม่มีสิทธิในการรับผ้าและไม่มีสิทธิออกเสียงว่าจะถวายผ้าให้กับรูปใด (เป็นเพียงแต่มาร่วมให้ครบองค์สงฆ์เท่านั้น) แต่คณะทายกทายิกาอาจถวายของสิ่งอื่นได้

          - กำหนดกาลที่จะทอดกฐิน การทอดกฐินนั้นทำได้ภายในเวลากำหนด คือ ตั้งแต่วันแรม 1 คำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ก่อนหรือหลังจากนั้นไม่นับเป็นกฐิน

          - กฐินไม่เป็นอันทอดหรือเป็นโมฆะ การที่พระในวัดเที่ยวขอโดยตรงหรือโดยอ้อม ด้วยวาจาบ้าง ด้วยหนังสือบ้าง เชิญชวนให้ไปทอดกฐินในวัดของตน การทำเช่นนั้นผิดพระวินัย กฐินไม่เป็นอันกราน นับเป็นโมะ การทอดก็ไม่เป็นทอด พระผู้รับก็ไม่ได้อานิสงส์



ประเภทของกฐิน
          การทอดกฐินที่ปฏิบัติกันในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือ

          - กฐินหลวง

          - กฐินราษฎร์

 



การจองกฐิน
          การจองกฐิน ก็คือ การแจ้งล่วงหน้าให้ทางวัดและประชาชนได้ทราบว่าวัดนั้นๆ มีผู้ศรัทธาทอดกฐินกันเป็นจำนวนมากถ้าไม่จองไว้ก่อนอาจไม่มีโอกาส จึงเกิดเป็นธรรมเนียมขึ้นว่าจะทอดกฐินต้องจองล่วงหน้า เพื่อให้มีโอกาสและเพื่อไม่ให้เกิดการทอดซ้ำ วัดหนึ่งวัดปีหนึ่งทอดกฐินได้ครั้งเดียว และในเวลาจำกัด คือหลังจากออกพรรษาแล้วเพียงเดือนเดียวดังได้กล่าวมาแล้ว

          แต่อย่างไรก็ตาม กฐินหลวงไม่มีการจองล่วงหน้า เว้นแต่กฐินพระราชทาน ผู้ประสงค์จะขอรับพระราชทานกฐินไปทอดต้องจองล่วงหน้า โดยแจ้งไปยังกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวมาแล้ว

ตัวอย่างใบจองกฐิน

            ข้าพเจ้าชื่อ ............................................................ บ้านเลขที่ ............. ตำบล ................................................. อำเภอ ..................................................... จังหวัด ....................................... มีศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐินแก่พระสงฆ์วัดนี้ มีองค์กฐิน .................... มีบริวารกฐิน ....................... กำหนดวัน ............. เดือน ............................................. ปี ..................... เวลา ........................

          ขอเชิญท่านทั้งหลายมาร่วมกุศลด้วยกัน หากท่านผู้ใดมีศรัทธามากกว่ากำหนด ขอผู้นั้นจงได้โอกาสเพื่อทอดเถิด ข้าพเจ้ายินดีอนุโมทนาร่วมกุศลด้วย

          ถ้าหากว่ามีผู้ศรัทธามากกว่าจะนำกฐินมาทอด ณ วัดเดียวกัน ก็ต้องทำใบจองดังกล่าวมานี้มาปิดไว้ที่วัดในที่เปิดเผย เช่น ศาลาการเปรียญ เป็นต้น และเป็นธรรมเนียมที่ถือกันว่า การที่มีผู้มาจองทับเช่นนี้ไม่เป็นการเสียมารยาทแต่อย่างใด แต่ถือเป็นเรื่องสนุกสนานในการทำบุญกุศลอย่างหนึ่ง ในภายหลังไม่นิยมจองทับกันแล้ว ถ้ามีศรัทธาวัดเดียวกันก็มักจะรวมกันซึ่งเรียกว่า กฐินสามัคคี

          ในการทอดกฐินสามัคคีนี้ ผู้ทอดอาจเชิญชวน ผู้มีจิตศรัทธาให้มาร่วมกันทำบุญ โดยแจกใบบอกบุญหรือเรียกว่า ฎีกา ก็ได้



การทอดกฐิน
          เมื่อได้ตระเตรียมพร้อมแล้ว ถึงกำหนดก็นำผ้ากฐินกับบริวารไปยังวัดที่จองไว้ การนำไปนั้นจะไปเงียบๆ หรือจะแห่แหนกันไปก็ได้เมื่อไปถึงแล้ว พักอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งที่สะดวก เช่น ที่ศาลา ท่าน้ำ ศาลาโรงธรรม โรงอุโบสถ หรือที่ใดที่หนึ่งซึ่งทางวัดจัดไว้ เมื่อพระสงฆ์พร้อมแล้วก่อนถวายกฐิน อาราธนาศีล รับศีล เมื่อรับแล้ว ทายกประกาศให้รู้พร้อมกัน หัวหน้าผู้ทอดกฐินหันหน้าไปทางพระพุทธรูป ตั้งนโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์กล่าวถวายเป็นภาษาบาลี ภาษาไทย หรือทั้งสองภาษาก็ได้ ว่าคนเดียวหรือว่านำแล้วคนทั้งหลายว่าตามพร้อมกันก็ได้ การกล่าวคำถวายจะกล่าวเป็นคำๆ หรือจะกล่าวรวมกันเป็นวรรคๆ แล้วแต่ความสะดวกของผู้กล่าวนำและผู้กล่าวตาม คำถวายมีดังนี้

คำถวายภาษาบาลี แบบที่ 1

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
ทุติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
ตะติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ

คำแปล

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
แม้คำรบสอง ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
แม้คำรบสาม ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์

คำถวายภาษาบาลี แบบที่ 2

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
ทุติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
ตะติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
สาธุ โร ภันเต อิมัง สะปริวารา กะฐินะทุสสัง ปฏิคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
แม้คำรบสอง ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
แม้คำรบสาม ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐินทั้งบริวารนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ

คำถวายภาษาบาลี แบบที่ 3

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคันหาตุ
ปะฏิคคเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล

          ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับบริวารนี้ ครั้นรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ

          เมื่อจบคำถวายแล้ว พระสงฆ์รับสาธุพร้อมกัน องค์กฐินพร้อมทั้งบริวารนั้นถ้าปรารถถวายเป็นของสงฆ์ทั้งหมดก็ไม่ต้องประเคน ถ้าปรารถนาจะประเคนก็อย่าประเคนสมภาร หรือองค์ที่รู้ว่าจะต้องครอง ให้ประเคนองค์อื่น องค์ที่เหมาะสมก็คือองค์รองลงมา เฉพาะองค์กฐินนั้นไม่จำเป็นต้องประเคน ส่วนบริวารนั้น ถ้าจำนงถวายแก่ภิกษุสามเณรในวัดนั้นส่วนเฉพาะ ก็ช่วยกันถวายโดยทั่วกัน เมื่อประเคนเสร็จแล้วจะกลับเพียงนั้นก็ได้ แต่ถ้ายังไม่กลับจะรอจนพระสงฆ์อปโลกน์ และมอบผ้ากฐินเสร็จแล้วก็ได้

          ถ้าผ้ากฐินนั้นต้องทำต่อไปอีกเช่น ต้องซัก กะ ตัด เย็บย้อม จะอยู่ช่วยพระก็ได้ จึงมีธรรมเนียมอยู่ว่า ประเคนเฉพาะองค์กฐินแก่พระรูปใดรูปหนึ่งเท่านั้น แล้วรออยู่เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีเบื้องต้นของท่านเสร็จจึงประเคนบริวารกฐินในภายหลัง พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ถวายทั้งหมดตั้งใจฟังคำอนุโมทนา และขณะนั้น เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

          เพียงเท่านั้นก็เสร็จพิธีถวายกฐินสำหรับทายกผู้มีศรัทธา ต่อจากนั้นเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์จะได้ดำเนินการในเรื่องกรานกฐินต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก www.isangate.com
IP : บันทึกการเข้า

..............
ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,468



« ตอบ #310 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 10:03:42 »

"ความจริง ผ้าป่า กับ กฐิน ก็เป็นสังฆทานด้วยกันทั้งคู่นะ แต่ทว่าอานิสงส์ โดยเฉพาะ กฐิน ได้มากกว่า เพราะว่ากฐินมีเวลาจำกัด คือจะทอดได้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ แต่อานิสงส์ได้ทั้งสองฝ่าย คือผู้ทอดก็ได้ พระผู้รับก็ได้ พระผู้รับมีอำนาจคุ้มครองพระวินัยได้หลายสิกขาบท ทำให้สบายขึ้น ต้นเหตุแห่ง การทอดกฐินนี้ ก็มีนางวิสาขาเป็นคนแรก ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติการจำพรรษา เพื่อป้องกันพระไปเดินเหยียบต้นพืช ต้นข้าว ที่ชาวบ้านเขาปลูกไว้ในฤดูฝน ไม่ให้เสียหาย ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุชาวปาฐา ๓๐ รูป เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งในเวลานั้น พระสงฆ์ทั้งหลายมีผ้าจำกัดเพียง ๓ ผืนเท่านั้น เมื่อมาถึง ในขณะที่นางวิสาขาเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่พอดี เห็นพระมีผ้าสบงจีวรเปียกโชก ด้วยน้ำฝนและน้ำค้าง จึงได้กราบทูลขอพรแด่พระพุทธเจ้าว่า
"หลังจากออกพรรษาแล้ว ขอบรรดาประชาชนทั้งหลายจงมีโอกาสถวายผ้าไตรจีวร แก่คณะสงฆ์ด้วยเถิด" พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุมัติ ส่วนผ้าป่าก็เป็นสังฆทาน แต่อานิสงส์จะน้อยไปนิดหนึ่ง แต่ทั้งสองอย่างก็เป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่เป็นสังฆทานเฉพาะกิจ กับสังฆทานไม่เฉพาะกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าป่า ผู้ให้ก็ได้อานิสงส์ ผู้รับก็มีอานิสงส์แต่เพียงแค่ใช้ เป็นอันว่า ทั้งสองอย่างนี้ ถือว่าอานิสงส์ การทอดกฐินมากกว่าผ้าป่า"
 
IP : บันทึกการเข้า

..............
my_smile
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 742


ชีวิตปาฏิหาริย์


« ตอบ #311 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 11:00:59 »

"ความจริง ผ้าป่า กับ กฐิน ก็เป็นสังฆทานด้วยกันทั้งคู่นะ แต่ทว่าอานิสงส์ โดยเฉพาะ กฐิน ได้มากกว่า เพราะว่ากฐินมีเวลาจำกัด คือจะทอดได้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ แต่อานิสงส์ได้ทั้งสองฝ่าย คือผู้ทอดก็ได้ พระผู้รับก็ได้ พระผู้รับมีอำนาจคุ้มครองพระวินัยได้หลายสิกขาบท ทำให้สบายขึ้น ต้นเหตุแห่ง การทอดกฐินนี้ ก็มีนางวิสาขาเป็นคนแรก ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติการจำพรรษา เพื่อป้องกันพระไปเดินเหยียบต้นพืช ต้นข้าว ที่ชาวบ้านเขาปลูกไว้ในฤดูฝน ไม่ให้เสียหาย ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุชาวปาฐา ๓๐ รูป เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งในเวลานั้น พระสงฆ์ทั้งหลายมีผ้าจำกัดเพียง ๓ ผืนเท่านั้น เมื่อมาถึง ในขณะที่นางวิสาขาเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่พอดี เห็นพระมีผ้าสบงจีวรเปียกโชก ด้วยน้ำฝนและน้ำค้าง จึงได้กราบทูลขอพรแด่พระพุทธเจ้าว่า
"หลังจากออกพรรษาแล้ว ขอบรรดาประชาชนทั้งหลายจงมีโอกาสถวายผ้าไตรจีวร แก่คณะสงฆ์ด้วยเถิด" พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุมัติ ส่วนผ้าป่าก็เป็นสังฆทาน แต่อานิสงส์จะน้อยไปนิดหนึ่ง แต่ทั้งสองอย่างก็เป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่เป็นสังฆทานเฉพาะกิจ กับสังฆทานไม่เฉพาะกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าป่า ผู้ให้ก็ได้อานิสงส์ ผู้รับก็มีอานิสงส์แต่เพียงแค่ใช้ เป็นอันว่า ทั้งสองอย่างนี้ ถือว่าอานิสงส์ การทอดกฐินมากกว่าผ้าป่า"
 

สาตุ๊..
IP : บันทึกการเข้า
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,050


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #312 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 11:05:31 »

บ้านเราจะมีงานบุญ   ช่วยกันทำบุญนะครับ  ให้เป็นหน้าเป็นตา ให้บ้านเราด้วยนะครับ  


ประมูลกระเป๋าผ้าทองานฝีมือ  คุณ modtanoy(รักในหลวง)  ชนะการประมูลที่  100  บาท  (  รอการส่งของ  )

ประมูลน้องตุ๊กตาหมี  คุณ  modtanoy(รักในหลวง)   ชนะการประมูลที่  150  บาท  (  รอการส่งของ  )
 
ประมูล หนังสือมองซีอีโอโลก เล่ม2,3,4  คุณ  jenny   ชนะการประมูลที่  150  บาท  ( รอการส่งของ )

ประมูล กระเป๋าผ้าทอ งานฝีมือ  คุณ jenny   ชนะการประมูลที่  100  บาท  ( รอการส่งของ )

ประมูลเสื้อเชียงรายโฟกัส  คุณ  jenny   ชนะการประมูลที่  550  บาท  ( รอการส่งของ )

ประมูล กระติกน้ำฟุตบอลโลก   คุณ  jenny   ชนะการประมูลที่  220  บาท  ( รอการส่งของ )

ประมูล หลวงพ่อเปิ่น ปี2519  คุณภิรมย์ แจ่มมณี บริษัทโฮมโปรดักส์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)-สาขาหัวหิน ร่วมบริจาค 2000 บาท   (  ส่งของเรียบร้อย  )

ประมูล สติ๊กเกอร์เชียงรายโฟกัส  คุณ Chuch  ร่วมทำบุญ  300  บาท   ( ส่งของเรียบร้อย  )

ประมูลหลวงพ่อคูณ พิมพ์เตารีด  คุณ muneo  ร่วมทำบุญ 601  บาท  (  ส่งของเรียบร้อย  )

ประมูล  สมุดจดบันทึก   คุณ lovecarcare  ร่วมทำบุญที่  125  บาท (  ส่งของเรียบร้อย  )

ประมูลตุ๊กตาดนตรีไขลาน  คุณ nitnom  ร่วมทำบุญ  100  บาท  (  ส่งของเรียบร้อย  )  

                                                ขออนุโมทนาบุญ กับผู้ที่ร่วมทำบุญทุกท่านด้วยนะครับ




                                                                 มาประมูลสินค้าดีๆ กันนะครับ


เปิดประมูล หนังสือ ของท่าน ว.วชิรเมธี  ปิดประมูล  16  ตุลาคม 2553  เวลา  21.30น.
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=41075.new#new

เปิดประมูล หลวงพ่อพระนอนจักรสีห์  ปิดประมูล  17 พฤษภาคม  2553  เวลา 21.30 น.
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=41076.new#new

เปิดประมูลเสื้อเชียงรายโฟกัส ไซส์S  ปิดประมูล  20 ตุลาคม เวลา 20.30 น.
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=41304.0

เปิดประมูล จตุคามรามเทพ รุ่น มงคลบารมีศรีชุมพร แจกกรรมการ เนื้อมหาว่านสีแดง  ปิดประมูล 29  ตุลาคม  2553  เวลา  09.09  น.
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=40928.new#new

อะไหล่คอม  ทางนี้ครับ
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=39414.0


* IMG_1234.JPG (148.56 KB, 600x450 - ดู 180 ครั้ง.)

* ของประมูลเก่า (2).JPG (147.14 KB, 600x450 - ดู 180 ครั้ง.)

* 100_4513.JPG (81.41 KB, 400x300 - ดู 163 ครั้ง.)

* IMG_1284.JPG (103.49 KB, 600x450 - ดู 161 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 14 ตุลาคม 2010, 23:07:43 โดย ◕~ฮักแม่จัน™~◕ » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #313 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 13:26:55 »

1.Ck401+ เ๋ก๋ง 1 คัน
2.@พ่อมดไซเบอร์ (รักเพื่อน ๆ เชียงรายทุกคนครับ!)
3.lovecarcare + เก๋ง 1 คัน
4.บอดี้การ์ด lovecarcare
5.แชทซาโนย่า ฉิก~ฉิก~*-. + เก๋ง 1 คัน
6.ตาต้อม5555 +กระบะ 1 คัน
7.Pok Havana
8.บอดี้การ์ดPok Havana
9.เว็บมาสเตอร์+เก๋ง 1คัน
10.+.*^~ฮักแม่จัน~^*.+
11.D-max +กะบะ 1 คัน
12.ALON
13.Alony
14.ละอ่อนโบราณ +กะบะ 1 คัน(ยังไม่แนน่นอนครับ)
15.^*ต้นฟ้า1*^
16.yaiya + กะบะ 1 คัน
17.raijang + เก๋ง 1 คัน
18.ผู้ติดตาม raijang
19.คนหล่ายเวียง (เกิ้มศรี) + เก๋ง 1 คัน
20.ஐ⊙เอิง-เอย⊙ஐ
21.^~ฮักเมืองปัว~^
22.++KimClub++
23.♥ idogpom ♥(บุคคลไปทั่ว)
24.ผู้ติดตาม .♥ idogpom ♥(บุคคลไปทั่ว)
25.~หมูllว่ีีullดง~
26.ผู้ติดตาม ~หมูllว่ีีullดง~
27.ミ✩IIมว‶น้oe‶✩〜 อุ๋ม 〜
28.we two +กะบะ 1 คัน
29.bm5996
30..ตา-รา-บาว  
31.  น้องสาวตา-รา-บาว
32. P'ติ๋ว_ร้านสปื๋วฟิชชิ่ง
33. ลูกสาวP'ติ๋ว_ร้านสปื๋วฟิชชิ่ง
34.  GigaBEST  
35.  กิ๊ก GigaBEST
36.   zombie01 + กะบะ 1 คัน
37.  aunpang
38. nawee
39. YURI + เก๋ง 1 คัน(ไปสมทบ เวลา 10.00น.)
40. แก้วซอมพอ
41. Cyber Prince
42.๛๏ThE_FasT๏๛
43.kengja1
44.ผู้ติตาม.kengja1
45.เมี่ยงปลาเผาไฮเทค_ร้านกินอิ่ม__By - nidchy
46.เซ็งเป็ด
47.Yajai + เก๋ง 1 คัน
48.flashi
49.~:RedDeaD:~
50.หมวยลูกสาม + 3(ลูกชาย)
51.หมวยลูกสาม + เก๋ง 1 คัน
52.WH_Y
53.ผู้ติดตามミ✩IIมว‶น้oe‶✩〜 อุ๋ม 〜
54.ผูติดตามหมวยลูกสาม
55.ผู้ติดตามหมวยลูกสาม
56.ผู้ติดตามหมวยลูกสาม

57.ผู้ติดตาม ตา-รา-บาว
58.ผู้ติดตาม ตา-รา-บาว+เด็ก 1 คน

59.hydejime
60.ผู้ติดตาม hydejime
61.ผู้ติดตาม hydejime

62.NeKo



ตอนนี้สมาชิกที่แจ้งความจำนวน 62ท่าน รถเก๋ง 9 คัน รถกะบะ 5 คัน
 รวม 14 + 1 รถเก๋ง คันหลังนี่ ออกเวลา 10.00 น. โดยประมาณ
รถทุกคันเราตั้งเป้าไว้ที่คันละ 5 คน รวมคนขับครับ ที่นั่งยังเหลืออีกเยอะครับ

เพื่อนๆสมาชิกที่ต้องการนำรถไปเองแต่ทางผมไม่ได้ระบุไว้ รบกวน pm แจ้งด้วยครับ
สำหรับเพื่อนสมาชิกที่อยากไปร่วมงานบุญ และไม่มีรถไม่ต้องกังวลครับ
แจ้งความประสงค์มาได้เลย ทางทีมงานจะได้เตรียมงานและพาหนะถูก


อ้อ........ชวนคนข้างๆหรือบอดี้การ์ดไปร่วมได้นะครับ เพราะบางที วีซ่า อาจไม่ผ่าน
อยากมาร่วมกิจกรรมกับทางเวปฯเชียงรายโฟกัสไม่ต้องกังวลครับ ตัดสิินใจเลยครับ
มาทำบุญร่วมกันครับ

ป.ล.งานนี้ท่านเวปมาสเตอร์บอกว่าจะมีเซอร์ำไพรส์
 สำหรับเพื่อนสมาชิกที่ไปร่วมงานกันครับ
งานนี้ซื้อตั๋วล่วงหน้าไว้ได้เลยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 15 ตุลาคม 2010, 17:04:34 โดย Ck401 » IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #314 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 14:04:07 »

.............ประกาศ........................
จากการที่ไป สำรวจจัดเตรียมงานผ้าป่าที่บ้านร่มเย็น
ได้คุยกับแกนนำหมู่บ้านว่า หากไม่มีอะไรผิดพลาด
จะนำคณะพี่น้องจากฝั่งลาว มาร่วมกิจกรรมริมโขงในช่วงเย็นด้วย
อาจจะมีการเต้น บัดสลบ
โชว์ให้กับสมาชิกที่ไปร่วมงานด้วยครับ

ดังนั้นโปรแกรมงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสม
แล้วจะแจ้งให้ทราบต่อไป

อนุโมทนาบุญครับ
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #315 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 15:21:52 »

 ยิงฟันยิ้ม ;Dมาแล้วครับ
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=41367.0
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
my_smile
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 742


ชีวิตปาฏิหาริย์


« ตอบ #316 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2010, 18:33:34 »

.............ประกาศ........................
จากการที่ไป สำรวจจัดเตรียมงานผ้าป่าที่บ้านร่มเย็น
ได้คุยกับแกนนำหมู่บ้านว่า หากไม่มีอะไรผิดพลาด
จะนำคณะพี่น้องจากฝั่งลาว มาร่วมกิจกรรมริมโขงในช่วงเย็นด้วย
อาจจะมีการเต้น บัดสลบ
โชว์ให้กับสมาชิกที่ไปร่วมงานด้วยครับ

ดังนั้นโปรแกรมงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสม
แล้วจะแจ้งให้ทราบต่อไป

อนุโมทนาบุญครับ


สลบเลยรึ...คนดูหรือคนเต้น
IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #317 เมื่อ: วันที่ 14 ตุลาคม 2010, 09:50:52 »

.............ประกาศ........................
จากการที่ไป สำรวจจัดเตรียมงานผ้าป่าที่บ้านร่มเย็น
ได้คุยกับแกนนำหมู่บ้านว่า หากไม่มีอะไรผิดพลาด
จะนำคณะพี่น้องจากฝั่งลาว มาร่วมกิจกรรมริมโขงในช่วงเย็นด้วย
อาจจะมีการเต้น บัดสลบ
โชว์ให้กับสมาชิกที่ไปร่วมงานด้วยครับ

ดังนั้นโปรแกรมงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสม
แล้วจะแจ้งให้ทราบต่อไป

อนุโมทนาบุญครับ


สลบเลยรึ...คนดูหรือคนเต้น
เป็นการลำวงแบบลาวครับ
ดัดแปลงมาจากวัฒนธรรม ฝรั่งเศส
มีจังหวะจะโคนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
หาดูได้จากหนัง เรื่องสบายดี หลวงพระบาง
ที่ อนันดา เล่นกับคำลี่ นางเอกชาวลาวครับ ;
D ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
หมวยลูกสาม
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,201



« ตอบ #318 เมื่อ: วันที่ 14 ตุลาคม 2010, 09:55:57 »

ท่าจะสนุกแน่งานนี้   ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
my_smile
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 742


ชีวิตปาฏิหาริย์


« ตอบ #319 เมื่อ: วันที่ 14 ตุลาคม 2010, 10:01:35 »

หาเพื่อนร่วมทางได้แล้ว ขอเพิ่มอีก 1 ที่นั่งค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 [16] 17 18 19 20 21 22 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!