เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 16:03:30
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  นักลงทุน การเงิน การธนาคาร
| | |-+  คุยข่าว ธปท. vs กรมการคลังเรื่อง ลด/ไม่ลดดอกเบี้ย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน คุยข่าว ธปท. vs กรมการคลังเรื่อง ลด/ไม่ลดดอกเบี้ย  (อ่าน 714 ครั้ง)
【กามนิตหนุ่ม】
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 86


« เมื่อ: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2013, 10:50:40 »


ดูข่าวแล้ว
คิดว่าไง ครับ
ระยะยาว มีผลยังไง ถ้ายังไม่ลด
หรือ ถ้า ลด

ผมไม่เข้าใจ แต่อยากรู้เรื่อง
ว่ามันจะเกี่ยวข้องกับชีวิตเราๆ ยังไง



IP : บันทึกการเข้า
Temujin
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,998


** แบ่งปัน ไม่แบ่งแยก..แตกต่าง ไม่แตกแยก แตกหัก **


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2013, 19:55:49 »

     ในทัศนะผม ผมว่ายังไงก็ต้องลดครับให้ไกล้เคียงกับความเป็นจริง (นานาประเทศ)

ไม่งั้นมันจะเกิดการไหลเข้าของเงินทุนอีกฝั่งที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า ทำให้รักษาเสถียรภาพทางการเงิน การคลังลำบาก แก้กันแบบไม่จบไม่สิ้น

ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ก็จะตามมา เช่นส่งออกอยาก เพราะค่าเงินไม่นิ่ง ก็เกิดการลดการผลิต ลดคนงาน รัฐขาดรายได้จากภาษี ต้องเยียวยาผู้ว่างงาน ฯลฯ

ส่วนลดแล้วปัญหาเกิดแน่กับผู้ที่เอาเงินไปฝากที่ธนาคารอย่างเดียว เพราะดอกผลที่ได้ไม่ชนะเงินเฟ้อ แถมมูลค่าเงินลดลง ๆ ทุก ๆ ปีจากปัญหาเงินเฟ้อ

ที่มันเป็นอย่างนี้เกือบทุกประเทศก็เพราะว่ารัฐบาลแต่ละประเทศต้องการให้เกิดการลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงาน ฯลฯ

ลองคิดดูถ้าดอกเบี้ยสูง ๆ ผมคนนึงแหละที่จะฝากเงินกินดอกเบี้ย เพราะไม่มีความเสี่ยงใด ๆ เหมือนสิบ ๆ ปีที่แล้วที่ดอกเบี้ยเป็น ๑๐ เปอร์เซนต์

แต่มันหมดยุคของ เรื่องเงินเรื่องง่ายแล้วครับพี่น้องเอย... ยิ้มเท่ห์ ยิงฟันยิ้ม  ที่ผมอยากให้ทุกท่านหันมาลงทุนก็เพื่อสิ่งนี้ และวันนี้ และมันก็มาถึง

ดูฝั่งอเมริกาสิครับดอกเบี้ยเขาติดดินกว่าไทยอีก  ถ้าเกิดการกูยืมเงินมาลงทุนก็ทำให้รัฐบาลเขาไม่ต้องมาแบกปัญหาต่าง ๆ ที่ผมกล่าวมา

แต่ถ้าขึ้นดอกเบี้ยลองคิดดูสิครับ  อะไรจะเกิด ทั้งเงินฝืด ไม่มีการลงทุน รัฐต้องมาเยียวยาผู้ว่างงาน ค่าเงินก็ไม่เสถียร เพราะเกิดการไหลเข้าของเงินทุนนอกประเทศ

เราอยู่ในโลกนี้ประเทศเดียวซะเมื่อไหร่  ไม่กี่ปีก็ AEC แล้ว  โอ้ย...อีกหลายเรื่อง สารพัด...ยังกะตัวเองจบเศรษฐศาสตร์ ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม

นโยบายการคลัง คือ ภาษี ....นโยบายการเงิน  คือ  ดอกเบี้ย  เน้อ...ซึ่งทั้ง กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) รัฐบาลได้ยึดหัวหาดได้หมดแล้ว

และทั้ง ๒ นโยบายนี้ต้องเป็นไปในทางเดียวกัน ซื้อขนมกินได้เลยครับ  ว่ามันต้องเป็นไปด้วยกันจะขัดกันไม่ได้ เพราะปัญหาจะตามมาอย่างว่า

ส่วนเรา ๆ  ท่าน ๆ ก็ต้องลงทุนครับ ถ้าไม่ลงทุนรับรอง  เงินเราด้อยค่าลงทุกวัน ๆ แน่ ๆ  นี่แหละคือผลกระทบ  ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย... ยิ้มเท่ห์ ยิงฟันยิ้ม

IP : บันทึกการเข้า

สัตว์มีสัญชาตญาณ   มนุษย์มีวิตจารณญาณ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ (หลัก กาลามสูตร http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3)
Temujin
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,998


** แบ่งปัน ไม่แบ่งแยก..แตกต่าง ไม่แตกแยก แตกหัก **


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2013, 23:44:49 »

                    ผู้ว่าฯ ธปท. รับขาดทุนอุ้มบาท 5.3 แสนล.

ผู้ว่าฯธปท. มอบรางวัล BIBOR Awards 2012 พร้อมหนุนแบงก์พาณิชย์ ใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ -รับขาดทุนแทรกแซงค่าเงินบาท 5.3 แสนล. ยัน ไม่ของบชดเชยจากรัฐบาล ย้ำ ดูเสถียรภาพเศรษฐกิจ

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวในงานมอบรางวัล BIBOR Awards 2012 ว่า ทาง ธปท. ได้ผลักดัน ให้ทางธนาคารพาณิชย์หันมาใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ หรือ BIBOR มาแทนธุรกรรมทางการเงินให้มากขึ้น เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่น อาทิ อินเตอร์แบงก์เรต ที่มักเคลื่อนไหวผันผวนตามสถานการณ์การเงินในตลาดโลก และเป็นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ ซึ่งอาจมีความผันผวนได้ โดยเฉพาะหากดอลลาร์สหรัฐ มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ มักจะมีผลต่อผู้ที่ทำธุรกรรมอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ขาดทุนอย่างไม่เป็นธรรม ส่วนอัตราอ้างอิงดอกเบี้ยรายใหม่ หรือ MLR ก็ไม่มีความคล่องตัว เนื่องจากเป็นดอกเบี้ยคงที่ ระยะนานกว่า 6 เดือน และเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ย BIBOR ส่งผลให้ต้นทุนในการกู้ยืมแพงขึ้น ดังนั้น จึงเห็นว่า สถาบันการเงินควรหันมาใช้อัตราดอกเบี้ย BIBOR ที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และสามารถบริหารความเสี่ยงได้มากกว่า

นายประสาร เปิดเผยถึงข้อมูลของทางธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ขาดทุนสะสมกว่า 5.3 แสนล้านบาท มาจากการแทรกแซงค่าเงินที่แข็งค่าของเงินบาท ในปี 2551 และขาดทุนจากส่วนต่างดอกเบี้ยอีกกว่าแสนล้านบาท ว่า ทาง ธปท. สามารถบริหารจัดการได้ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากรายจ่ายดอกเบี้ยที่อยู่ที่ร้อยละ 8 สูงกว่าดอกเบี้ยที่รับร้อยละ 2 ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่มีความจำเป็นที่ต้องให้รัฐบาลตั้งงบประมาณมาใช้หนี้ หรือรบกวนเงินภาษีของประชาชน โดยย้ำว่า หน้าที่ของทางธนาคารกลาง มีไว้เพื่อดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงิน และดูดทรัพย์แรงกระแทกจากความผันผวนที่เกิดขึ้น ซึ่งตามหลักสากลการวัดผลงานของแบงก์ชาติ จะดูจากการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ มากกว่าการแสวงหาผลกำไร.

อ้างอิง...http://money.th.msn.com/investment/%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%af-%e0%b8%98%e0%b8%9b%e0%b8%97-%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%97-53-%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%a5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2013, 00:01:09 โดย Temujin » IP : บันทึกการเข้า

สัตว์มีสัญชาตญาณ   มนุษย์มีวิตจารณญาณ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ (หลัก กาลามสูตร http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3)
Temujin
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,998


** แบ่งปัน ไม่แบ่งแยก..แตกต่าง ไม่แตกแยก แตกหัก **


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2013, 23:55:41 »

   มาตอนดึก ๆ เพราะข่าวข้างบนครับ ไม่รู้จะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เจ้าของกระทู้ตั้งข้อสงสัย

แต่ถ้านโยบายการเงิน และการคลังเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้องแล้วก็กลายมาเป็นภาระทางการคลังเช่นกัน

จำช่วงวิกฤษต้มยำกุ้งได้มั้ย การธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ได้ออกมาตราการทางการเงินมาอุ้มค่าเงินบาท

แล้วเป็นไง สุดท้ายก็หงายเก๋งไม่เป็นท่า นี่ก็สูญเงินกว่าครึ่งล้านล้านแล้ว บอกว่าไม่เดือดร้อนถึงภาระทางการคลัง

แต่ปีที่แล้วทางกระทรวงการคลังก็ได้โยนหนี้ที่ตอนนั้นได้ทำไว้ให้ไปมิใช่หรือ คงจำข่าวกันได้ไม่นานนี้ แต่ถ้า ธปท. จะยืนกระต่ายขาเดียว

โดยไม่อิงกับทางกระทรวงการคลังแล้ว ผมกลัวประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยจัง  แต่ตอนนั้นผมก็ไม่ทราบว่าทางกระทรวงการคลังให้เข้าไปแทรกแทรงรึเปล่า...?

และสุดท้ายก็มาขูดรีดเอาจากประชาชนผู้ใช้บริการอีกนั่นอหละ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่าทำธุรกรรม สารพัดที่จะเอามาอ้าง... ยิ้มเท่ห์ ยิงฟันยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2013, 00:04:56 โดย Temujin » IP : บันทึกการเข้า

สัตว์มีสัญชาตญาณ   มนุษย์มีวิตจารณญาณ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ (หลัก กาลามสูตร http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3)
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!