เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 20:51:25
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ป๋าเวณีตานเปรตพลี(อุทิศส่วนบุญหาผู้ตาย)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ป๋าเวณีตานเปรตพลี(อุทิศส่วนบุญหาผู้ตาย)  (อ่าน 1925 ครั้ง)
ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,008


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« เมื่อ: วันที่ 23 กันยายน 2010, 05:21:51 »

ป๋าเวณีตานเปรตพลี(อุทิศส่วนบุญหาผู้ตาย)

             ประเพณี อุทิศหาผู้ตาย บางทีเรียกว่า ประเพณีเดือน 12 เป็ง ประชาชนในภาคเหนือ นิยมอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษของตน คือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุงป้า ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีนี้เรียกกันแต่ละท้องถิ่น ก็มีชื่อแตกต่างกันไป บางจังหวัดในภาคเหนือเรียกประเพณีอุทิศหาผู้ตายว่า ประเพณีเดือนสิบสองบ้าง ประเพณีปล่อยผีปล่อยเปรตบ้าง ตรงกับภาคกลางว่า “ตรุษสารท” ปักษ์ใต้เรียกว่าประเพณีเดือนชิงเปรต และทางภาคอีสานก็คือ ประเพณีบุญข้าวประดับดิน ประเพณีที่กล่าวมานี้ โดยความหมายและจุดประสงค์เป็นอันเดียวกันต่างกันด้วยวิธีการทำตามจารีต ประเพณีที่เคยทำมาในท้องถิ่นของตน
             สำหรับการอุทิศหาผู้ตายของภาคเหนือ มีประเพณีสืบต่อกันมาเนื่องในการอุทิศกุศลแก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้วถือกัน ว่าในเดือน 12 เหนือขึ้น 1 ค่ำถึงเดือนแรม 14 ค่ำนั้น พระยายมราชได้ปล่อยวิญญาณสัตว์ผู้ตายกลับมาสู่เมืองมนุษย์ เพื่อขอรับเอาส่วนบุญส่วนกุศลจากญาติพี่น้องลูกหลานจะได้พ้นจากภาวะแห่ง เปรตอสูรกายทั้งหลาย ดังนั้นการปฏิบัติต่อประเพณีก็ด้วยการกตัญญู ต้องการให้บุคคลผู้เป็นที่รักพบกับความสุขในปรโลกจึงได้ทำสืบต่อกันมา
             ตำนานทางพระพุทธศาสนากล่าวถึง เปรตราชของพระราชาพิมพิสารไว้ดังนี้
             ในกัลปที่ 92 นับแต่ภัรกัลป์ปขึ้นไปถึงวพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “ปุสสะ” พระพุทธบิดาทรงพรนามว่า “พระเจ้าชยเสนะ” พระพุทธมารดามีพระนามว่า “ศิริมา” พระเจ้าชยเสนะยังมีพระราชบุตรอีก 3 พระองค์ ต่างพระมารดาและเป็นพระกนิษฐาภาดาของพระปุสสะพระพุทธเจ้า ราชบุตรทั้ง 3 นี้ มีเจ้าพนักงานรักษาคลังหนึ่งเก็บส่วยในชนบท กาลต่อมาพระราชบุตรทั้งสามมีพระราชประสงค์จะบำเพ็ญกุศลบำรุงพระศาสนา ผู้เป็นพระเชษฐภาดา ตลอดไตรมาส จึงขอทูลอนุญาตแก่พระบิดา เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว พระราชบุตรทั้งสามจึงตรัสสั่งเจ้าพนักงานผู้เก็บส่วย ในชนบทของพระองค์ให้สร้างวิหาร ครั้งสร้างเสร็จแล้วพระราชบุตรทั้งสามจึงนำเสด็จพระพุทธเจ้าไปที่วิหารและ ทูลถวายวิหารแก่พระศาสดาแล้วสั่งเจ้าพนักงานรักษาพระคลังและพนักงานเก็บส่วย ว่าเจ้าจงดูแล และจัดของเคี้ยวของฉันถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ 90,000 องค์ที่เป็นพุทธบริวาร และตัวเราทั้งสามกับบริวารทุก ๆ วัน ตลอดจนไตรมาสด้วย ตั้งแต่วันนี้ไปเราจักไม่พูดอะไร ตรัสแล้วก็พาบริวาร 1,000 องค์ สมาทานศีล 10 แล้ว ประทับอยู่ในวิหารตลอดไตรมาส
             เจ้าพนักงานรักษาพระคลัง และเจ้าพนักงานเก็บส่วย ผลัดกันดูแลทานวัตต์ตามความประสงค์ของพระราชบุตรทั้งสามด้วยความเคารพ ครั้งนั้นชาวชนบทบางพวกจำนวน 84,000 คน ได้ทำอันตรายต่อทานวัตต์ของพระราชบุตรทั้งสาม มีกินไทยธรรมเสียเองบ้างให้แก่บุตรเสียบ้าง เผาโรงครัวเสีย ชนเหล่านั้นครั้งทำลายาขันธ์แล้วจึงไปบังเกิดในนรก
             กาลล่วงไปถึง 92 กัลป จนถึงกัลปนี้ ในพระพุทธศาสนาพระกัลสสะปะสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ชนเหล่านี้มีจิตอันอกุศลเบียดเบียนแล้วนั้น ได้มาบังเกิดในหมู่เปรต ครั้งนั้นมนุษย์ทำบุญให้ท่านอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่เป็นเปรตของตน เปรตเหล่านั้นก็ได้ซึ่งทิพย์สมบัตินานาประการ แต่หมู่เปรตผู้ทำลายเครื่องไทยธรรมพระราชบุตรทั้งสามนั้นหาได้รับส่วนกุศล ไม่เปรตเหล่านั้นจึงทูลถามทพระกัสสปะพุทธเจ้าว่า ข้าพระพุทธเจ้านี้ พึงได้สมบัติอย่างนี้ บ้างหรือไม่พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าท่านทั้งหลายยังไม่ได้สมบัติ บัดนี้ ต่อไปภายหน้าพุทธกาลแห่งพระโคดมพระพุทธเจ้าญาติของท่านทั้งหลายจักได้เป็น พระราชา ทรงพระนามว่า “พิมพิสาร” และจักได้ถวายทาน แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แล้วอุทิศส่วนบุญถึงท่านทั้งหลาย เมื่อนั่นแหละท่านจะได้สมบัติดังนี้
             การล่วงมาได้พุทธันดรหนึ่งถึงพระพุทธศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเรานี้เจ้าพนักงานาผู้เก็บส่วยของพระราชบุตรทั้งสามได้มาบังเกิดเป็นพระ เจ้าพิมพิสาร เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และได้ถวายไทยธรรมแก่พระพุทธเจ้า แต่หาได้อุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรตที่เป็นญาติไม่เปรตที่เป็นญาติเหล่านั้นมา คอยรับส่วนกุศลอยู่ เมื่อมิได้รับส่วนกุศลตามความปรารถนาก็เสียใจ พอถึงเวลาตีหนึ่งก็ส่งเสียงร้องประหลาดน่าสะพรึงกลัว ครั้นรุ่งสางขึ้น พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรับเครื่องไทยธรรมในพระราช นิเวศน์ แล้วพระราชาทรงกระทำทักษิโณทก ทรงอุทิศว่าทานนี้จงถึงหมู่ญาติของเรา
             ขณะนั้นฝูงเปรตที่มีความกระวนกระวาย และร่างกายที่น่าเกลียดน่ากลัวก็สูญหายไป กลับมีผิวพรรณงามผ่องใสดั่งทอง แล้วพระราชาถวายยาคูและของเคี้ยวอุทิศถึงญาติอีก ยาคูและของเคี้ยวอันเป็นทิพย์ก็เกิดขึ้นในสำเร็จประโยชน์แก่ฝูงเปรตที่เป็น ญาติเหล่านั้น แล้วพระราชาถวายผ้าและเสนาสนะทรงอุทิศถึงญาติอีก ผ้าและเครื่องเสนาอาสนะปราสาทล้วนแต่เป็นทิพยาให้สำเร็จประโยชน์แก่ฝูงเปรต เหล่านั้นได้ประสบความสุข พระจเพิมพิสารก็ทรงโสมนัสยิ่งนัก
             ในครั้งนั้น เรื่องสืบมาว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเทศนาติโรกัณฑสูตร ทรงสรรเสริญทานที่ทายกอุทิศบริจาคแก่ญาติที่ตายไปแล้วอีกหลายวัน แล้วกล่าวคำอุทิศถึงญาติว่า “อิท โว ญาตีน โหตุ สุขิตา ญาตโยฯ” ทานนี้จงถึงญาติทั้งหลาย (ที่เกิดในเปรตวิสัย) ขอญาติเหล่านั้นจงมีความสุข(คือได้เสวยผลแห่งทานด้วยความสำรวม)
             อนึ่งผู้ที่บริจาคทานนั้นก็หาไร้ผลไม่ เป็นการสร้างสมบุญกุศลให้เพิ่มยิ่งขึ้น กลับมีบุญกุศลยิ่งใหญ่ให้ผู้อื่นได้อนุโมทนาอีก การร้องไห้เศร้าโศกปริเวทนา หาผู้ที่ตายไปไม่เป็นประโยชน์อย่างไรแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว มีแต่การทำบุญอุทิศกุศลเท่านั้นจะได้ผลแก่เขาในปรภพแล
             ในวันเดือน 12 เหนือ ขึ้น 14 ค่ำ จะเป็นวันแต่งดาเตรียมข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ไว้พร้อมสรรพ รุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันเดือน 12 เพ็ญ ชาวบ้านจะนำเอาอาหารใส่ถาดไปวัดและจะถวายแด่พระภิกษุเรียกว่า “ทานขันข้าว” มีการหยดน้ำอุทิศบุญกุศลด้วย โดยให้พระเป็นผู้กรวดน้ำให้เพราะถือว่าท่านเป็นผู้ทรงศีล บุญกุศลจะถึงแก่ผู้ตายได้ง่าย
             การทำบุญอุทิศกุศลนั้น มีการทำ 2 แบบ คือ
                1. อุทิศแก่ผู้ตายธรรมดา
                2. อุทิศแก่ผู้ตายโดยอุบัติเหตุ พวกผีตายโหง
             อุทิศแก่ ผู้ตายธรรมดา ญาติจะเอาอาหารไปถวายที่วัดถือว่า วิญญาณผู้ตายธรรมดาเข้า ออกวัดได้โดยสะดวก ส่วนผีตายโหงนั้น เข้าวัดไม่ได้เพราะอำนาจแห่งเวรกรรมญาติต้องถวายอาหารพระนอกวัด คือนิมนต์พระมานอกกำแพงวัดแล้วถวาย เช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดินของอีสาน
             การทำบุญอุทิศถึงผู้ตายนี้ ถ้ามีญาติหลายคนที่ตายไปแล้วจะต้องอุทิศให้คนละขันหรือคนละถาดกล่าวคือ จะต้องถวายตามจำนวนคน แต่บางรายก็จะจดรายชื่อให้พระ เวลาพระให้พรจะได้ออกชื่อผู้ตายตัวอย่างคำ ให้พระอุทิศแก่ผู้ตายดังนี้ “ดีและอัชชะในวันนี้ก็หากเป็นวันดี สะหรีอันประเสริฐล้ำเลิศกว่าวันตังหลาย บัดนี้หมายมีมูลศรัทธา (ชื่อผู้ถวาย) ได้สระหนงขงขวายตกแต่งแป๋งพร้อมน้อมนำมา ยังมธุบุปผาลาชน ดวลดอกข้าวตอกไม้ลำเทียน ข้าวน้ำภาชนะ อาหารมาถวายเป็นทานเพื่อจะอุทิศผละหน้าบุญ ผู้อันจุติตาย มีนามกรว่า “ผู้ตาย” หากว่าได้วางอารมณ์อาลัย มรณะจิตใจไปบ่ช่าง ไปตกท้องหว่างจตุราบาย ร้อนบ่ได้อาบ อยากบ่ได้กิ๋น ดังอั๋นก็ดี ขอผละหน้าบุญอันนี้ไปอุ้มปกยกออก จากที่ร้ายกลายมาสู่ที่ดี หื้อได้เกิดเป็นเทวบุตร เทวดา อินทาพรหมตนประเสริฐดั่งอั้นก็ดี ขอผละหน้าบุญอันนี้ไปเตื่อมแถม ยังสหรี่สัมปติยิ่งกว่าเก่า สุขร้อยเท่าพันปูน ผละหน้าบุญนี้ชักนำรอดเถิงเวียงแก้วยอกเนรพานั้นจุ่งจักมีเที่ยงแท้ดีหลี
             ศรัทธาประชาชนบางคนนอกจากทานขันข้าวอุทิศส่วนกุศลแล้ว ยังนิมนต์พระมาเทศน์ที่บ้านอุทิศกุศลแก่ผู้ตายด้วย บางรายก็ไปนิมนต์พระเทศน์ที่วัดพร้อมกับการถวายอาหาร ทานขันข้าว

              พระคัมภีร์ที่นิยมเทศน์ในวันดังกล่าวนี้ประกอบด้วย
                1. ธรรมเปรตพลี
                2. ธรรมาลัยโผดโลก
                3. ธรรมมูลนิพพาน
                4. ธรรมมหามูลนิพพาน
                5. ธรรมตำนานดอนเต้า
                6. ธรรมตำนานพระยาอินทร์
              คัมภีร์เหล่า นี้มักใช้เทศน์อุทิศส่วนกุศล เจ้าอาจบูชาเอาผูกใดผูกหนึ่ง คือ เรื่องใดเรื่องหนึ่งเทศน์ให้ฟังเป็นอานิสงฆ์แห่งการฟังธรรมอุทิศเป็นปุ พพเปรตพลี
การทำบุญอุทิศหาผู้ตายนี้หากจะพิจารณาถึงประโยชน์แล้วได้สิ่งที่เป็นสาระหลายประการคือ
                1. เป็นการสร้างความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชน
                2. เป็นการสังคหะช่วยเหลือผู้ตายอื่น ๆ และถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์จำนวนมากซึ่งจำพรรษาอยู่
                3. เป็นการสร้างความสามัคคียึดเหนี่ยวน้ำใจคนข้างเคียงมิตรสหาย
                4. เป็นการสร้างความสุขให้แก่ผู้กระทำ
                5. เป็นการอบรมลูกหลานให้เข้าใจในระเบียบประเพณี
                6. เป็นการอนุรักษ์มรดกบรรพบุรุษไว้นานเท่านาน
              ดังนั้นประเพณีอุทิศหาผู้ตายในวันเพ็ญเดือนสิบสอง จึงเป็นประเพณีที่ดีงาม ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ให้เจริญและคงอยู่กับลูกหลานสืบไป

 ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.culture.lpru.ac.th/web_2008/custom/9_september.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 กันยายน 2010, 05:27:23 โดย ap.41 » IP : บันทึกการเข้า

we two
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 995


wetwo


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 23 กันยายน 2010, 15:06:10 »

เมื่อเช้าก็เพิ่งไปทำบุญหาญาติที่ล่วงลับไปแล้วค่ะ ไปเพราะแม่สั่งว่าต้องไปทำบุญวันนี้ให้ได้ ห้ามลืมเด็ดขาด ก็ยังงงอยู่ว่าทำไมต้องเน้นวันนี้ด้วย พึ่งรู้ความเป็นมาอย่างชัดเจนจากคุณ ap.41 นี่แหละค่ะ ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมมูลดีๆ
IP : บันทึกการเข้า

เทพบุตรดาวเหนือ เคนชิโร่
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,615


เฮาจะฮักคนที่ฮักเฮา@^__^@


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 25 กันยายน 2010, 12:00:16 »

โทรไปหาพ่อ ท่านก็ทำในวันนั้น แต่อยากทราบว่าเขาอ่านว่าอย่างไร
IP : บันทึกการเข้า

ขายปลีกและส่ง
       - Micro SD Card,Flash Drive ยี่ห้อKingston Sandisk Apacer
       - Power Bank ,สายชาร์ท สายซิงค์ทุกรุ่น
       - ลำโพงกระป๋อง ,ลำโพงรถ
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!