เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 13:45:48
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ชมรมเปิดเผยพุทธวจน(แจกหนังสือพุทธวจน)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน ชมรมเปิดเผยพุทธวจน(แจกหนังสือพุทธวจน)  (อ่าน 5626 ครั้ง)
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 17:22:37 »

          สิ่งที่เปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรืองมี 3 คือ

ดวงจันทร์เปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรือง 1

ดวงอาทิตย์เปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรือง 1

ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรือง 1




                  ผู้ที่บอกว่าตนเองนับถือศาสนาพุทธโดยมากมักถามว่า คำว่าเปิดเผย
พุทธวจนนั้นฟังแล้วเกิดสงสัยว่ามีใครกำลังปิดบังธรรมวินัยอยู่หรือ?...ใครกันหนอที่
บังอาจ.... ใช่เป็นบุคคลนอกศาสนาหรือไม่?...

                  เรื่องนี้มีคำธิบายอยู่แยะพอสมควรตามเหตุปัจจัย แต่ก่อนที่จะขยายความ
กันต่อไปอยากเชิญชวนสาธุชนผู้มุ่งธรรมทั้งหลายมาร่วมก่อตั้ง"ชมรมเปิดเผยพุทธนวจน เชียงราย"กันดีกว่า... ที่มีคำว่าเชียงรายต่อท้ายก็เพื่อแสดงว่ากลุ่มของเรานี้ก็เป็นศูนย์เผยแผ่
พุทธวจนแห่งหนึ่งในหลายๆแห่งในโลก เสมือนหนึ่งเป็นเทียนแท่งหนึ่งที่จุดต่อๆกันมานับแต่ครั้งพุทธกาลจนลุถึงปัจจุบันกาล  
                   และจะกระทำหน้าที่นี้อย่างเต็มกำลังความสามารถของพุทธบริษัทหนึ่งของพระศาสนาเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก  เพื่อ ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก  เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก  เพื่อประโยชน์  เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุข   แก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย

                   แต่เดี๋ยวก่อน...ก่อนอื่นเราต้องศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจพุทธวจนเป็นเบื้องต้น จากนั้นจึงปฏิบัติตามคำสอนแล้วค่อยๆพบกับความมหัศจรรย์ในธรรมะของพระศาสดา ซึ่งเราจะสัมผัสได้ว่าเพียงแค่ให้โอกาสตนได้ศึกษาเรียนรู้พุทธวจนเท่านั้นก็เท่ากับเรากำลังทำหน้าที่ในการเป็นผู้เปิดเผยและเผยแผ่ธรรมวินัยกันเลยทีเดียว

                   ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เรียนรู้ได้เร็วและง่ายที่สุดในโลก จากหัวข้อกระทู้
นี้จุดประสงค์ก็เพื่อรวมผู้ที่มีแนวทางเดียวกันมาร่วมศึกษาพระไตรปิฎกผ่านพุทธวจนโดย
อาศัยพระศาสดาของเราซึ่งก็คือธรรมวินัยนั่นเอง

                    ดังนั้นจึงขอเชิญชวนสาธุชนทั้งหลายมาร่วมกันศึกษาเรียนรู้พุทธวจนกันเยอะๆ ใครรู้อะไรหรือใครอยากรู้อะไรก็ช่วยกันแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่ และชมรมนี้จะมีแต่กัลยาณมิตร ที่ประคับประคองให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ไม่มีอาจารย์-ลูกศิษย์เพราะเราคือสหธรรมมิกกันทั้งสิ้นโดยมีจุดมุ่งคือสืบทอดพระศาสนาดวยการปฏิบัติตรงตามคำสอนของพระศาสดาอย่างแท้จริง

                    กัลยาณมิตรท่านใดสนใจเชิญประกาศตัวได้ตั้งแต่บัดนี้.

                    ในลำดับต่อไปเราจะคุยกันถึงเรื่องเรียนรู้พุทธวจนแล้วได้อะไร/.
                  
                  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2013, 17:49:10 โดย jitdee » IP : บันทึกการเข้า
dr.kuay
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 88


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 19:26:30 »

ผมขอร่วมแบ่งปันประสบการณ์ความคิดเห็นด้วยอีกคน
      กระผมไม่ใช่พระและก็ไม่เคยบวชเรียนบาลีหรือเปรียญธรรมใดๆ แต่ก็ได้ศึกษาในสายนี้มาบ้างพอสมควร แต่อยากจะเสนอให้มีการกำหนด วัตถุประสงค์  หรือโจทย์ให้ชัดเจนเพิ่มมากขึ้นสักหน่อย
    เพราะในความรู้สึกผม การเปิดเผยพุทธวจนะหรือพุทธพจน์ของพระพุทธองค์อาจจะดูอาจหาญมากไปเสียหน่อย เพราะการบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า พระไตรปิฏกนั้นผ่านกาลเวลาและการตีความของบรรดาอรรถกถาจารย์หลายยุคหลายสมัยเกินกว่าเราจะได้ศึกษา จนครบหมดสิ้น อาจจะผิดพลาดหรือเผลอเรอเกินครูมากไปหน่อย  หลายๆคนน่าจะทราบกันดีแล้วว่าพระไตรปิฎกนั้นเพิ่งจะถูกบันทึกด้วยพยัญชนะหรือตัวอักษรจารลงในคัมภีร์นั้นก็ล่วงเลยสมัยของการเสด็จดับขันธปริพนิพพานของพระพุทธองค์กว่า 400 ปีแล้ว หรือกล่าวให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายๆก็คืออาศัยการท่องจำจากสติปัญญาความทรงจำของบรรดาพระภิกษุในยุคเก่ากว่า400 ปีจึงได้จารลงเป็นคัมภีร์
 ที่สำคัญก็คือการบันทึกเป็นพระคัมภีร์กระทำนอกดินแดนชมพูทวีปหรืออินเดียโบราณเสียด้วย เพราะมาสังคายนาในลังกาทวีป หากลดโทนลงมาว่าเป็นการศึกษาเรื่องจิตและการบรรลุธรรมในพระไตรปิฏก  หรือ เพศฆราวาสกับการบรรลุธรรมเป็นไปได้หรือไม่พระไตรปิฏกว่าอย่างไร..
                                                            ขอเจริญในธรรม แด่ทุกๆท่าน
IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 23:02:35 »

ผม หนานธง  ขอกราบอนุโมทนา สาธุ  กับ  จิตอันเป็น กุศลจิต  ที่ท่าน J. ได้ ประกาศ  ตั้งชมรมเปิดเผยพุทธวจน  เชียงราย  หากต่อด้วย โฟกัส ด้วยดีไหมครับ
 เพราะเราอาศัย เวปนี้ด้วยกัน
บุญกุศลที่จักพึงมี  จะได้ถึง แก่ทุกท่านที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรง โดยอ้อม  ในเวปนี้  ฯ
ผมขอ  ร่วมชมรมด้วยครับ

ไหว้สาธุ
หนานธง ลูกน้ำยม
IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
dr.kuay
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 88


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 11:12:51 »

ทำให้ผมนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาทันที เล่มที่ว่าก็คือ ความจริงอันประเสริฐ
แปลจาก The Word of The Buddha
         ความจริงอันประเสริฐ ซึ่งต้นฉบับเป็นภาษาเยอรมัน
เป็นหนังสือเล่มแรกที่แสดงข้อธรรมจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า
เท่าที่พบในบาลีพระสุตตันตปิฎก อย่างมีระบบที่สุด
นอกจากหนังสือเล่มนี้จะทำหน้าที่เหมือนบทนำสำหรับผู้เริ่มสนใจแล้ว
จุดมุ่งหมายหลักของงานชิ้นนี้ ยังมุ่งที่จะทำให้ผู้อ่านซึ่งคุ้นเคยกับความคิดขั้นพื้นฐาน
ของพระพุทธศาสนาอยู่แล้วได้รับข้อสรุปที่ชัดเจน กะทัดรัดและถูกต้องเกี่ยวกับหัวข้อธรรมะ
ภายในขอบข่ายของอริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์สัจ (ซึ่งแฝงอยู่ในที่ทุกสถาน) สมุทัยสัจ นิโรธสัจ
และมัคคสัจ จากหนังสือเล่มนี้เราจะเห็นได้ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด
รวมลงในจุดหมายขั้นสุดท้ายอันเดียวกัน คือความหลุดพ้นจากทุกข์
ด้วยเหตุนี้เองในหน้าแรกฉบับภาษาเยอรมันฉบับแรก
จึงมีการพิมพ์ข้อความจากอังคุตรนิกายตอนหนึ่ง  มีความว่า
“เราไม่สอนแต่ความจริงเกี่ยวกับทุกข์เท่านั้น
แต่เราสอนการหลุดพ้นจากทุกข์นั้นด้วย”
ตำราซึ่งแปลมาจากภาษาบาลี ได้รับการคัดเลือกมาจากรวมชุดพระสูตรใหม่ ๆ ๕ สูตร
ซึ่งเรียกว่า พระสุตตันตปิฎก สูตรทั้ง ๕ ที่ถูกจัดไว้เป็นหมวด
และอธิบายในลักษณะที่ทำให้เกิดการกลมกลืนดุจเป็นสูตรเดียวกัน ดังนั้นการรวบรวม
ซึ่งเดิมรวมมาจากคำแนะนำและคำชี้แจงในหนังสือเกี่ยวกับพระสุตตันตปฎกของผู้เขียนเองหลายเ
ล่ม ย่อมจะเป็นเครื่องนำทางที่เชื่อถือได้สำหรับนักศึกษาพุทธศาสนา
หนังสือเล่มนี้จะทำให้ผู้อ่านเบาใจ เพราะไม่จำต้องอ่านคัมภีร์บาลีทั้งหมด
เพียงแต่อ่านหนังสือเล่มนี้ก็จะได้รับความเข้าใจคัมภีร์บาลีทั้งหมดได้อย่างชัดเจน
ไม่แต่เท่านั้นหนังสือเล่มนี้ยังช่วยทำให้ผู้อ่านสามารถเชื่อมข้อธรรมใหญ่ ๆ
เข้ากับหัวข้อธรรมย่อยที่เคยพบมาก่อนด้วย
ด้วยว่าหนังสือเล่มนี้
รวมคำนิยามและคำอธิบายศัพท์ธรรมะมากมายพร้อมศัพท์บาลีที่มีความหมายเทียบกันได้ไว้ด้วย
ผู้อ่านจึงสามารถใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในการศึกษาพุทธธรรมทั้งหมดได้
โดยใช้ประโยชน์จากดัชนี
*
ที่มีอยู่ในหนังสือ
หลักจากฉบับภาษาเยอรมันฉบับแรกออกมาในปี ๑๙๐๖ แล้ว
ฉบับภาษาอังกฤษก็ออกมาในปี ๑๙๐๗ และขณะนี้ออกมาถึง ๑๐ ฉบับแล้ว
รวมฉบับย่อสำหรับนักศึกษา (โคลัมโบ, ๑๙๔๘,Y.M.B.A) และฉบับอเมริกัน (สันตะ,บาบารา,
กัลกัตตา ๑๙๕๐, โรงพิมพ์ เจ. เอฟ. เรานี )
      หนังสือเล่มนี้ยังปรากฎในหนังสือคัมภีร์ใบเบิลของชาวพุทธ ของดไวท์ ก็อดดาด
ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย
นอกจากฉบับภาษาเยอรมัน ซึ่งพิมพ์ออกเป็นชุดแล้ว ยังมีฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอิตาลี ภาษาเช็ค ภาษาฟินแลนด์ ภาษารุสเซีย ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฮินดี ภาษาเบ็งเกลี
และภาษาสิงหล บาลีเดิมของฉบับแปล พิมพ์เป็นแบบสิงหล (ตรวจสอบโดยผู้เขียน ในชื่อว่า
สัจสังคหะ โคลัมโบ ๑๙๑๔) และใช้ตัวอักษรเทวนาครี ในประเทศอินเดีย
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๑ นี้ ได้รับการปรับปรุงใหม่หมดทั้งเล่ม มีการเพิ่มบทนำ
และโน้ตอธิบายความไว้ด้วย

 ที่นำมาเสนอก็เพียแค่อยากจะแชร์น่ะครับ ว่ามีคนต่างชาติโดยเฉพาะฝากฝั่งยุโรปเป็นคนที่เปิดเผยพระพุทธศาสนาว่ามีอยู่บนโลกนี้มานานก่อนที่คริสต์ศาสนาจะถือกำเนิด...เสียอีกน่ะครับ




IP : บันทึกการเข้า
jirapraserd
magdafVE
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 693


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 11:39:10 »

สรุป แล้วก็คือแผนที่ที่ใช้นำทางในการปฏิบัตินั่นเอง ถ้าปฎิบัติถูกต้องจะตรงกับตำราฉบับเดิมแท้


IP : บันทึกการเข้า

สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 12:00:54 »

       คุณ dr.kuay  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

       ยินดีต้อนรับสู่เส้นทางแห่งการรู้แจ้งเพื่อหลุดพ้นสู่สังสารวัฏฏ์นี้ด้วยความเต็มใจ

       ณ ที่ตรงนี้ ธรรมวินัยนี้เป็นพุทธอาณาที่เปิดกว้างสำหรับชนเป็นอันมากคือมนุษย์และเทวดาทั้งหลายจักได้สดับถึงอมตะธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
       ธรรมะของพระองค์จึงเป็นของกลางที่เหล่าสัตว์ทุกรูปนามสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติ
ได้ไม่จำกัด เพศ วัย ฐานะ ซึ่งพวกเราจะเห็นได้ว่าพระสาสดาทรงประทานคำสอนไว้แก่ชนทุกชั้น ทั้งยาจก วณิพก ช่างไม้ นายพราน ชาวนา ศิลปิน พราห์ม กษัตริย์ เทวดา พรหมทั้งหมดทั้งมวลดังนั้นหากพุทธบริษัทจะเปิดเผยพุทวจนเพื่อประโยชน์ดังกล่าวย่อมสมควรโดยแท้

        มีข้อสังเกตเป็นเกร็ดความรู้เล็กน้อยจากข้อคิดเห็นที่ว่าการทรงจำพุทธวัจน์ในสมัยโบราณนั้นอาจมีข้อผิดพลาดกันบ้างเนื่องเพราะมิได้บันทึกเป็นตัวอักษรตั้งแต่ต้นนั้น หากว่า
ใครเคยบวชและเคยลงฟังสวดปาฏิโมกข์มาบ้างคงพอจะจำได้ว่าในพิธีสวดฯนั้น(สวด-คือการประกาศ)จะมีผู้สวดและผู้ตรวจทานคำสวด,เพื่อกันคำผิด ในขณะที่สวดหรืดประกาศพระวินัย
อยู่นั้นคำสวดต้องชัดถ้อยชัดคำในอักขระวิธีไม่ให้ตกหล่นและหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นผู้ตรวจทานต้องคัดค้านขึ้นทันทีว่าตรงนี้ผิดต้องสวดใหม่ในคำผิดนั้น
 
        ดังนั้นการถ่ายทอดโดยบอกต่อกันมาเป็นถ้อยคำผ่านการท่องจำและนำมาสวดพร้อมกัน(สังคายนา)นั้นเมื่อเปรียบเทียบการจารึกเป็นตัวอักษรลงในวัตถุต่างๆนั้น ย่อมดีกว่ากันมากเหตุพราะว่าหากวัตถุที่จารึกนั้นพร่องสลายไปตามกาลเวลาจะอาศัยสิ่งใดในการตรวจทานคำผิด ต่างกับเมื่อสวดพร้อมกัน(สังคายนา)หากเกิดคำผิดขึ้นเสียงสวดนั้นย่อมฟังได้ว่าผิดเพี้ยน ในยุคสมัยหนึ่งจึงให้การยอมรับในการสวดพร้อมกันด้วยเหตุนี้

        อย่างไรก็ตามแต่อย่าเพึ่งวิตกเพราะพระศาสดาของพวกเราทรงป้องกันไว้ก่อนแล้วด้วยการประทานหลักการตรวจสอบไว้ให้ในหลักตัดสินธรรมวินัยดังนี้
        หลักตัดสินธรรมวินัย ๘

. . . . . พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เมืองเวสาลี พระนางมหาปชาบดี เสด็จไปเฝ้าทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อ
เพื่อหลีกออกปฏิบัติแต่ผู้เดียว พระพุทธองค์ทรงประทาน ลักษณะตัดสิน
ธรรมวินัย ๘ ประการ ให้ทรงปฏิบัติคือ:-

ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ
. . . . . ๑. ความกำหนัด
. . . . . ๒. ประกอบสัตว์ไว้ในภพ
. . . . . ๓. ความสั่งสมกิเลส
. . . . . ๔. ความมักมาก
. . . . . ๕. ความไม่สันโดษ
. . . . . ๖. ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
. . . . . ๗. ความเกียจคร้าน
. . . . . ๘. ความเลี้ยงยาก

. . . . . พึงทราบเถิดว่า นั่นไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของ
พระศาสดา
. . . . . ส่วนธรรมเหล่าใดที่มีลักษณะตรงข้ามจากนี้ พึงทราบเถิดว่า
นั่นเป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา
. . . . . . . . . . . . . . . สังขิตตสูตร ๒๓/๒๕๕
หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ (ฝ่ายธรรมะ)

. . . . . พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์ ใกล้โภคนคร
ได้ตรัสถึงมหาประเทศ ๔ สำหรับสอบสวนเปรียบเทียบ หลักคำสอนของ
พระพุทธเจ้า คือ
. . . . . หากมีภิกษุกล่าวว่า
. . . . . ๑. ข้าพเจ้าได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
. . . . . ๒. ในวัดโน้นมีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ ข้าพเจ้าได้ฟังมา
เฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
. . . . . ๓. ในวัดโน้นมีพระเถระอยู่มาก เป็นผู้รู้ผู้ชำนาญ ทรง
ทรงวินัย นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
. . . . . ๔. ในวัดโน้นมีพระเถระอยู่องค์หนึ่ง เป็นผู้รู้เป็นผู้ชำนาญ ทรง
ธรรมทรงวินัย ข้าพเจ้าได้ฟังมาเฉพาะหน้า พระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
. . . . . เมื่อได้ฟังมาดังนี้ จงอย่าชื่นชมหรือคัดค้าน แต่จงเรียนข้อความและ
ถ้อยคำเหล่านั้นให้ดี แล้วจงสอบสวนดูในพระสูตรและเทียบเคียงดูใน
พระวินัย ถ้าลงและเข้ากันไม่ได้ พึงทราบเถิดว่า นี้มิใช่คำสอนของ
พระพุทธเจ้า ท่านจำมาผิดแล้วจงทิ้งเสียเถิด
. . . . . . . . . . . . . . . สัญเจตนิยวรรค ๒๑/๑๙๕
หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ (ฝ่ายพระวินัย)

. . . . . พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี
เวลานั้นของขบฉันได้แก่ผลไม้ มีผู้นำมาถวายมาก พวกภิกษุพากันสงสัย
ว่าผลไม้ประเภทใดควรฉัน หรือไม่ควร พระพุทธองค์ทรงประทาน หลัก
ใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ ในฝ่ายพระวินัยที่เรียกว่ามหาประเทศ คือ
. . . . . ๑. สิ่งใดไม่ได้ห้าม ไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร
(อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
. . . . . ๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้าม ไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร
(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
. . . . . ๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาต ไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร
(อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
. . . . . ๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาต ไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร
(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
. . . . . . . . . . . . . . . วินัย ๕/๑๒๓

         การศึกษาเรียนรู้พุทธวจนนั้นเป็นการศึกษาเรื่องจิตและการบรรลุธรรมในตัวอยู่แล้ว
เพียงแต่หากเราหันมาศึกษาโดยตรงจากพุทธวจนกันอย่างจริงจังก็จะพบคำตอบที่มีข้อสรุป
โดยพระศาสดาเพื่อป้องกันการถกเถียงว่าใครสายไหนปฏิบัติดีกว่า ถูกตรงกว่าฯลฯอย่างที่
มีให้เห็นกันตามกระดานธรรมในปัจจุบันซึ่งผิดเพี้ยนไปจากเจตนารมย์ของ"พุทธะอย่างสิ้นเชิง"
         การเปิดเผยพุทธวจนคือการเรียนรู้ร่วมกันของพุทธบริษัทโดยไม่มีช่องว่างกางกั้น
ไม่มีศิษย์ก้นกุฎี ไม่มีศิษย์ก่อนศิษย์หลังทุกคนคนเสมอภาคต่างตักตวงกันได้ตามอินทรีย์ของแต่ละคน การเปิดเผยพุทธวจนคือการสั่งสมสุตตันตะให้มากยิ่งขึ้น อาศัยเป็นเครื่องอยู่ของผู้ที่กำลังศึกษาและของผู้ที่จบการศึกษาแล้วด้วย
 
         หากขณะใดเมื่อสดับแล้วในสุตตันตะและมีความรู้สึกว่าโดนใจเหลือเกินในถ้อยคำนี้
เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งเปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีปในที่มืดแล้วล่ะก็โปรดช่วยกันเปิดเผยธรรมวินัยนี้ไปให้ได้รัศมีที่ทั้งกว้างและลึกด้วยกันเถิดเพื่อประโยชน์และความสุขแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลายนั้นเทียว.
IP : บันทึกการเข้า
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2013, 12:42:45 »

    คุณหนานธง  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

        ยินดีต้อนรับอย่่างยิ่ง... ในสมัยเมื่อยังวัยละอ่อนเราเคยไปผจญภัยกับโลกกว้างที่เมืองหลวง สมัยนั้นค่ารถเมล์ในกรุงแค่หกสลึงตลอดสาย แถวลาดพร้าวไดร์ฟอินยังโหรงเหรง
เรามีเพื่อนไปด้วยแต่มันก็ยังเหงานะ มองไปทางไหนก็มีแต่คนที่ไม่รู้จักจะพูดจากับใครก็พูดไม่ถอบมันช่างอ้างว้างโหวงเหวงเหลือเกิน แต่วันไหนถ้าได้พบเจอ
คนเมียงเหมือนกันจะรู้สึกดีใจคล้ายกับได้พบญาติสนิท
        มนุษย์ชอบที่จะอยู่รวมเป็นกลุ่ม อาจเพราะเหตุผลหลากหลาย ทั้งความรู้สึกที่ปลอดภัย
ความเปลี่ยวเหงาหรืออะไรก็ตาม  ชมรมนี้ตั้งขึ้นมาก็เพื่อเป็นกำลังใจให้กันและกัน เพื่อประสานเสริมในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับพระศาสนาและข้อสำคัญพวกเราจะได้ไม่รู้สึกอ้างว้าง
โดดเดี่ยวเพราะเรายังมีผู้ร่วมทางอีกมากมายที่ก้าวไปพร้อมๆกัน
         เมื่อคุณเดินทางอยู่ในเส้นทางที่คุณคิดว่านี่คือทางที่ถูกแล้ว แต่วันหนึ่งคุณหันมองรอบข้างคุณจะรู้สึกถึงความไม่ถูกต้องบางประการแต่คุณพูดไม่ได้ วันนั้นคุณจะรู้สึกขอบคุณเพื่อนๆที่นี่ ที่ธรรมวินัยนี้.

           
          ปล.บ้านหล้งนี้ตัดแบ่งเป็นห้องๆหนึ่งแก่ผู้ที่อาศัยได้พักพิงเจ้าของบ้านเมื่อรู้ว่ามีอาคันตุกะมาพักพิงตามเจตนารมย์ของตนแล้วย่อมมีความยินดีโดยมีต้องสงสัย
          ...เชียงรายโฟกัสได้บุญอยู่แล้ว ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

                    เจริญธรรม.
       
     
IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2013, 23:55:11 »

กราบอนุโมทนา ในความปรารถนาที่ดีงามนี้ ขอคารวะ  ท่าน J. ครับ  แต่ อยากให้ เพิ่มขนาดอักษร ให้โตกว่าเดิม ด้วย จักไม่ต้องเพ่งสายตามาก  อินดู ผมเตอะ

ไหว้สาธุ       จาก  หนานธง  มือถือ 081  87  54  209
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 24 มกราคม 2013, 00:04:53 โดย nantong » IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 11:41:20 »

                            ประเทศไทยนั้นหากมีคนเดินมาสิบคน,เก้าในสิบคนนั้นเมื่อดูบัตรประชาชนจะระบุว่านับถือศาสนาพุทธ
       แต่เก้าในสิบคน-ผู้ที่เป็นพุทธมามกะทั่วไปที่มีการทำทาน รักษาศีลและเจริญจิตภาวนานั้นมีไม่ถึงครึ่ง
         ที่แปลกใจกว่านั้นจำนวนที่ว่านี้เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็น
ออกมาแล้วอาจจะไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นด้วยซ้ำไปที่เป็นพุทธบริษัทอย่างเป็นสัมมาทิฐิ  ทำหน้าที่พุทธบริษัทได้ถูกตรงตามพระธรรมวินัย
         ทำไมจึงเป็นเช่นนี้?...ข้อมูลนี้เชื่อถือได้แค่ไหน? มองพระศาสนาในแง่ร้ายเกินไปหรือไม่?... พวกเราจะค้นหาคำตอบเหล่านี้ได้เมื่อหันมาเรียนรู้คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระศาสดาโดยตรงและเมื่อได้เรียนรู้แล้วท่านจะตอบตนเองได้ดีที่สุด

          ในสุตตันตะโดยพระพุทธองค์นั้นแม้  จะมีพระธรรมอยู่จำนวนมากเท่าใดก็ตามแต่คำสอนทั้งหมดนั้นมีจุดประสงค์เดียวคือเพื่อชี้ให้เห็นทุกข์และแสดงถึงทางแห่งการดับทุกข์ไปด้วยพร้อมกัน
           ทรงสอนตั้งแต่เบื้องต้น  ท่ามกลาง และถึงที่สุดโดยไม่มีการหมกเม็ดซึ่งพระองค์ทรงใช้คำว่าความรู้ที่ให้ไว้ไม่มีในกำมือของพระองค์เลย(มหาปรินิพพานสูตร- 10/116/93)     กับสัตว์ผู้ข้องอันได้แก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย พระองค์ทรงประทานคำสอนอย่างเสมอภาคไม่เลือกที่รักมักที่ชังหรือมีคำสอนพิเศษแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่หรือบุคคลเข็ญใจพเนจร   ที่มหัศจรรย์ที่สุดในคำสอนของพระศาสดานั้นบุคคลไม่ต้องเรียนรู้ทั้งหมดเพียงศึกษาเรียนรู้แค่ประโยคเดียวก็สามารถบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันได้อย่างเช่นพระสารีบุตรที่ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิสั้นๆมีใจความดังนี้”ท่านกล่าวบทอันลึกซึ้งละเอียดทุกอย่าง เป็นเครื่องฆ่าลูกศร คือ ตัณหา เป็นเครื่องบรรเทาความทุกข์ทั้งมวล ว่าธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้า ตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะเจ้ามีปกติตรัสอย่างนี้”
          การศึกษาเรียนรู้พุทธวจนนั้นเป็นการปฏิบัติธรรมที่ลัดสั้นที่สุดชนิดที่ไม่มีวิธีใดจะลัดสั้นไปกว่านี้อีกแล้วเพียงง่ายๆแค่ทำตามที่พระองค์บอกไว้เท่านั้นเอง แบบ steb by steb คำต่อคำ หากพระองค์บอกให้ละก็ต้องละ บอกให้เพียรก็ต้องเพียร อย่าทำนอกเหนือไปจากนี้ อย่าบัญญัติสิ่งใหม่จากที่พระองค์ทรงบัญญัติ อย่าเพิกถอนในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว(สยามรัฐเล่ม10/69/71)
          หากพุทธบริษัทปฏิบัติตามถ้อยคำพระศาสดาก็จะไม่ต้องทนทุกข์ วนเวียนซ้ำซากกับสังสารวัฏฏ์อันยาวนานนี้ตลอดกาล
            นี้คือสิ่งที่พวกเราจะได้จากการศึกษาเรียนรู้พุทธวจน… ลำดับต่อไปจะเปรียบเทียบให้เห็นถึงพุทธวจนกับสิ่งตรงข้าม.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 26 มกราคม 2013, 19:39:40 โดย jitdee » IP : บันทึกการเข้า
dr.kuay
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 88


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 22:18:11 »

พรหมอาราธนาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม
         พระผู้มีพระภาคเจ้าแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธแถบฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเขตอุรุเวลาประเทศ ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยเกิดขึ้นแก่พระองค์ผู้เสด็จเข้าที่ลับทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า "ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ก็หมู่สัตว์นี้แลยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้ว เบิกบานแล้วในอาลัย ก็ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้น เป็นธรรมอาศัยกันและกันเกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้ว เบิกบานแล้วในอาลัยจะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรมเป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราพึงแสดงธรรม แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้นจะพึงเป็นความลำบากของเรา" เมื่อพระองค์พิจารณาเห็นอย่างนี้ พระหฤทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม
         สหัมบดีพรหมทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจแล้ว ได้มีความดำริว่า "ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะฉิบหายหนอ โลกจะพินาศหนอ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมพระหฤทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมพระหฤทัยเพื่อทรงแสดงธรรม" จึงหายไปในพรหมโลกมาปรากฏอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้อยู่ หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดอยู่ฉะนั้น กระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว คุกเข่าเบื้องขวาลงที่แผ่นดิน ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นปกติก็มีอยู่ เพราะมิได้สดับย่อมเสื่อมจากธรรม สัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี เมื่อก่อนธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ซึ่งศาสดาผู้มีมลทินทั้งหลายคิดแล้วปรากฏขึ้นในหมู่ชนชาวมคธ ขอพระองค์จงทรงเปิดประตูอมตะเถิด ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมซึ่งพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากมลทินตรัสรู้แล้วเถิด ขอพระองค์ผู้มีปัญญาดี มีพระจักษุโดยรอบ มีความโศกอันปราศจากแล้ว จงเสด็จขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม จงพิจารณาชุมชนผู้จมอยู่ในความโศก ถูกชาติและชราครอบงำแล้ว อุปมาเหมือนบุคคลผู้อยู่บนยอดเขาอันล้วนด้วยศิลา จะพึงเห็นชุมชนโดยรอบฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ผู้ทรงชนะสงครามแล้ว ผู้ทรงนำพวก ผู้ไม่มีหนี้ ขอพระองค์จงเสด็จลุกขึ้นเถิด จงเสด็จเที่ยวไปในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเถิด ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี"
         พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบการเชื้อเชิญของพรหมและทรงอาศัยพระกรุณาในสัตว์ทั้งหลายจึงสอดส่องดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ ก็ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการเลว บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยยาก บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกว่าเป็นภัยอยู่ เปรียบเหมือนในกออุบล กอปทุม กอบุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางเหล่าเกิดแล้ว เจริญแล้ว อาศัยอยู่ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงอยู่ บางเหล่าเกิดแล้ว เจริญแล้วในน้ำ ตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าเกิดแล้ว เจริญแล้วในน้ำ ตั้งขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้วฉะนั้น
         พระองค์จึงได้ตรัสตอบสหัมบดีพรหมว่า "ประตูอมตะ เราเปิดแล้วเพราะท่าน ชนผู้ฟังจงปล่อยศรัทธามาเถิด เราจะไม่มีความสำคัญในความลำบาก แสดงธรรมอันประณีตที่ชำนาญในหมู่มนุษย์ สหัมบดีพรหมดำริว่า "เราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำโอกาสเพื่อทรงแสดงธรรมแล้ว" จึงถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง (สัง. ๑๕/อายาจนสูตร/๕๕๕-๕๕๘/๑๖๘-๑๗๐)
IP : บันทึกการเข้า
dr.kuay
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 88


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 25 มกราคม 2013, 22:20:32 »

ท่านจะคิดเห็นอย่างไรจาก ข้อความข้างต้น ผู้รู้ช่วยอธิบายขยายความที..
IP : บันทึกการเข้า
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2013, 19:04:28 »

#10

             เราเห็นว่าเนื้อความในพระสูตรมีความหมายชัดเจนจนไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม

อะไรอีกเลย หรือว่าเราอาจจะไม่เข้าใจคำถามก็ได้ถ้างั้นช่วยขยายความคำถามอีกนิดนะ

             มีพุทธวจนที่ทรงแสดงถึงเหตุที่ต้องแสดงธรรมและอนุญาตให้สาวกได้แสดง

ธรรมแก่บุคคลอื่นด้วยลองอ่านดูเผื่อจะได้เกิดกำลังใจในการศึกษาพระธรรมยิ่งขึ้น

              ตามนี้เลย(ไทย-สยามรัฐ 20/115/461)

              
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 26 มกราคม 2013, 19:35:16 โดย jitdee » IP : บันทึกการเข้า
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2013, 23:14:26 »

            มีพุทธวจนอยู่พระสูตรหนึ่งชื่อ’’สามัญญผลสูตร’’ซึ่งพระศาสดาทรงตรัสแก่พระเจ้าอชาตศัตรู-พระราชาแห่งแคว้นมคธผู้ซึ่งกระทำปิตุฆาตคือสังหารพระบิดาตนเอง
            เรื่องราวในพระสูตรมีอยู่ว่าพระเจ้าอชาตศัตรูได้ทูลถามปัญหาซึ่งเป็นข้อสงสัยต่อพระพุทธองค์ว่าในบรรดาบุคคลทั่วไปที่อาศัยศิลปศาสน์ต่างๆประกอบอาชีพย่อมมีผลคือรายได้ไว้บริหารตนเองและครอบครัวตลอดจนบำรุงสมณพราหมณ์เพื่อความสุขใจได้-นี้เป็นสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ทันที ส่วนนอกเหนือจากนี้ยังมีสามัญญผลที่เห็นประจักษ์อย่างอื่นอีกหรือไม่
             พระศาสดาทรงย้อนถามว่าปัญหานี้มหาบพิตรทรงถามแก่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นหรือไม่อย่างไร พระเจ้าอชาตศัตรูก็ตอบว่าถามมาแล้วจากศาสดาทั้งหกแต่ไม่ได้รับคำตอบที่น่าพอใจ เมื่อเป็นดังนี้พระศาสดาจะทรงไขปัญหาให้ได้หรือเปล่า
              พระพุทธองค์ทรงรับแล้วทรงตอบปัญหาด้วยการยกตัวอย่างย้อนถามเป็นข้อๆเพื่อจะแสดงผลที่เห็นประจักษ์ยิ่งกว่า สิ่งที่พระเจ้าอชาตศัตรู
กราบทูล

               พระศาสดาทรงแสดงผลที่เห็นประจักษ์จากการที่บุคคลปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยยกตัวอย่างจากคนของพระราชาเองนับตั้งแต่ข้าทาส กรรมกร ชาวนา คหบดี อันพระราชาทรงมีอำนาจเหนือพวกเขา แต่เมื่อเขาออกบวชแล้ว ตัวพระราชาเองที่จะต้องลุกรับ ทำความเคารพลูกน้องเก่าของตน
                 คำตอบของพระศาสดาสร้างความพอใจให้พระเจ้าอชาตศัตรูมาก
จึงได้ทรงเอ่ยถามถึงผลที่เห็นประจักษ์ที่ดียิ่งกว่า ประณีตยิ่งกว่า ขึ้นไปอีก
ซึ่งพระศาสดาก็ทรงแสดงธรรมยิ่งๆขึ้นไปตามลำดับ ใจความของพระสูตรนี้
ครอบคลุมและมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะแต่จะขอยกมาเพื่อแสดงให้เห็นด้านตรงข้ามกับธรรมวินัยที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ว่าสภาพของพุทธสาวกในปัจจุบันเป็นเช่นไร
                  พุทธวจนเกี่ยวกับเรื่องศีลในมัชฌิมศีล บางส่วนมีดังนี้
   [๑๐๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่องประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
                -สาวกของพระศาสดาในปัจจุบันบางแห่งมีเหลือใช้จนไม่มีที่เก็บจึงต้องแปรรูปเป็นเงินเพราะเก็บง่ายกว่าส่วนยานนั้นพระที่มีวิธีหาเงินเก่งๆต้องมีรถยนต์เป็นของส่วนตนอย่างน้อย1คันฯลฯ
      [๑๐๖] ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพ มีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพลการจัดกระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
              -สาวกของพระศาสดาในปัจจุบัน บางสำนักพอถึงวันเสาร์-อาทิตย์จับกลุ่มกันดูมวยตู้กันครึกโครม
               
              [๑๐๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตกแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เห็นปานนี้ คือ อบตัวไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้าทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้าประดับวิจิตร ติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
               -สาวกของพระศาสดาในปัจจุบันนุ่งห่มดองมีสไบหลากสีพาดไหล่บางแห่งเลือกหาซื้อเครื่องประทินโฉมกันโจ๋งครึ่ม บางรูปถึงกับลงทุนขัดหน้านวดหน้าใช้เครื่องสำอางค์มียี่ห้อ หลายรูปเดินเกาะกลุ่มกันในสถานที่อโคจรพากันนวยนาดเยื้องย่างกรีดกราย หน้าสำนักเรียนมีชื่อหลังเลิกเรียนนักเรียนที่มีพฤติกรรมตุ้งติ้งควักตลับแป้งพับขึ้นมาซับรองพื้นกันอย่างไม่กลัวว่าผู้พบเห็นจะอายในการกระทำของตนเอง
                [๑๑๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถา เห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชาเรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้าเรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนครเรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
              -สาวกของพระศาสดาในปัจจุบันถ้าไม่พูดสิเป็นเรื่องแปลก ยิ่งต้องขยันเรียนรู้ให้มากขึ้นเพราะภิกษุต้องรู้ทันโลก-กลัวตกเทรนด์ (ผู้นำระดับผู้บริหารระดับม.สงฆ์เคยพูดไว้)
                 [๑๑๓] ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
                   -สาวกของพระศาสดาในปัจจุบันประกาศเรี่ยไรกันตรงๆชัดเจนขึ้นป้ายกันตัวโตๆเผื่อคนมองไม่เห็น

                       [๑๑๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหมร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
   [๑๒๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตาปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผลแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

             -สาวกของพระศาสดาในปัจจุบันบอกว่าเพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนาต้องสร้างวัตถุสถานให้ใหญ่โตโอฬารอยู่ได้นับพันปีดังนั้นจึงต้องขวนขวายหาเงินด้วยการทำนายทายทัก บางแห่งรับบริการครบวงจรทั้งดูดวง บวงสรวง สะเดาะเคราะห์ แก้กรรม ทำเสน่ห์ ทั้งคนทั้งเงินทองไหลหลั่งเข้าสำนักอย่างมหาศาล
              สาวกของพระศาสดาในปัจจุบันใช้วัดเป็นสถานที่จัดงานอีเว้นท์หาเงินเข้ากระเป๋ากันหลากหลายรูปแบบโดยอ้างเพื่อหาทุนทรัพย์สร้างศาสนวัตถุเพื่อบุญกุศลของผู้ร่วมบริจาค มองเข้าไปในวัดเจอแต่แก๊งค์กระเทย, อาจารย์สักยันต์, เวียนขายดอกไม้ธูปเทียน, ขายเครื่องรางของขลัง,รูปปั้นที่ตั้งชื่อให้มีความหมายถึงความมีโชควาสนา, สร้างรูปเคารพโดยแข่งกันใหญ่สุดในโลก,แม้กระทั่งกิจกรรมของพระสงฆ์ก็ยังไม่วายนำมาจัดเป็นพิธีหาเงินโดยไม่ละอายต่อพระศาสดาอย่างเช่นการอยู่ปริวาสกรรม,  การเข้านิโรธกรรมสุดฮ็อทที่ผู้เข้าอ้างตนสำเร็จมรรคผลขั้นสูงและระหว่างอยู่ในนิโรธกรรมเป็นเวลาหลายวันนั้นสามารถดื่มน้ำได้ด้วย
             
                               ๑๐. กิมมิลสูตร
    [๓๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวัน ใกล้พระนครกิมมิลา  ครั้งนั้นท่านพระกิมมิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร
กิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในความไม่ประมาทในปฏิสันถาร ดูกรกิมมิละ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
     กิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไร เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ฯ
     พ. ดูกรกิมมิละ พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในความไม่ประมาท ในการปฏิสันถาร ดูกรกิมมิละ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ฯ

              สิ่งที่เขียนไปมิได้เพื่ออวดว่าตนดีผู้อื่นแย่หรือเพื่อประจานใครข้อมูลเหล่านั้นเป็นความจริงซึ่งใครก็ปฏิเสธไม่ได้และสามารถค้นหาได้ไม่ยากตามสื่อต่างๆ...  ในพระสูตรสุดท้ายที่ยกมาแสดง พระศาสดาทรงประทานวิธีป้องกันแก้ไขไว้แล้วที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทเท่านั้นว่าจะทำกันยังไง  การรณรงค์ที่ดีที่สุดคือการทำให้ดูเป็นตัวอย่างคนที่น่าชักชวนให้มาร่วมด้วยช่วยกันในการรักษาพระศาสนาและจะเป็นกำลังสำคัญที่สุดคือตัวพุทธบริษัทนั่นเอง
            มาช่วยกันรักษา สืบทอดพระศาสนาด้วยการศึกษาเรียนรู้และเปิดเผยพุทธวจนกันเถอะ.

             ลำดับต่อไปจะพูดถึงถ้าอยากภาวนาจะเริ่มต้นอย่างไรตามพุทธวจนกัน.







IP : บันทึกการเข้า
dr.kuay
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 88


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2013, 02:23:22 »

ผมชื่นชม "ศรัทธาปสาทะ" ของเจ้าของกระทู้ที่ได้คิดนำเอาพุทธวจนะหรือพุทธพจน์นำมาตั้งเป็นหัวข้อในการแสวงหาและระดมกุศลธรรมเห่งเจตนากรรมในการแสวงหาหนทางสู่ความบริสุทธิื์์แห่งจิตใจของผู้ได้ศึกษาและโน้มนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติจนได้มรรคผลในระดับต่างๆตามเหตุ-ปัจจัยแห่งตนของบุคคลนั้นๆ

      เหตุที่ยกกรณีของการที่ท้าวสหัสพรหมทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงเปิดเผยสิ่งที่รับรู้  หลังจากทรงเสวยวิมุตติหลังจากได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแล้ว พระองค์ได้ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่บริเวณสัตตมหาสถานโดยรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลาถึง 7 สัปดาห์...ย้อนความตอนนี้ก็คือ
....และในขณะทรงนั่งประทับเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ 5 หลังการตรัสรู้ ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ได้ทรงมานั่งคำนึงว่าสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นของลึกซึ้ง คนจะรู้และเข้าใจตามได้ยาก ตามความในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

"... บัดนี้ ไม่สมควรที่เราจะประกาศธรรมที่เราตรัสรู้ เพราะธรรมที่เราตรัสรู้นั้นเป็นสิ่งที่คนทั่วไป ที่ถูกราคะ โทสะครอบงำอยู่จะไม่สามารถมองเห็นได้โดยง่าย, คนที่ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองมืด (คืออวิชชา) หุ้มไว้มิดทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถที่จะเข้าใจธรรมะของเราที่เป็นสิ่งทวนกระแส (อวิชชา) ที่มีสภาพลึกซึ้ง ละเอียดเช่นนี้ได้เลย..."
....มีผู้รู้อธิบายเอาไว้ว่า..เหตุการณ์ในช่วงนี้เป็นรหัสนัย หรือเป็นความคิดเชิงสัญลักษณ์เพื่อไม่ให้ผู้ศึกษาพุทธธรรมเกิดความประมาทว่าตนได้รู้สัจจธรรมหรือความจริงแล้วน่ะครับ
....ขนาดพระบรมศาสดาของเราเองยังเคยได้เกิดความปริวิตกขึ้นมาในช่วงแรก..เมื่อเปรียบเทียบกับเราๆคงไม่ต้องคิด....
พุทธธรรมหรือพระธรรมวินัยเกิดมาร่วม2600 ปี จากจุดกำเนิดร่วมกันคือพระบรมศาสดา  ศาสนาพุทธเองก็ยังคงเป็นเพียงหนึ่งในศาสนาหลักของโลกที่หลากหลายมากกว่าสิบศาสนา   อีกทั้งลัทธินิกายใหม่ๆที่เกิดขึ้นนับพันนับหมื่น..หากหันมามองในเชิงปริมาณกลับเห็นได้ว่า สถิติตัวเลขของผู้ที่นับถือพุทธศาสนาทั้งหลายไม่แบ่งแยกมีเพียง500 ล้านคนแทบไม่แตกต่างจากเดิมนับเป็นสิบปี...มิวายที่ต้องกล่าวถึงเหตุการณ์ในการกำเนิดนิกายทั้งเถรวาท-มหายานหรือในกรณีของสังคมไทยก็มีการยึดถือแนวปฏิบัติที่แตกต่างหลากหลาย..มหานิกาย-ธรรมยุกต์
....เหตุการณ์ส่วนใหญ่ที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฏกของการบรรลุธรรมของแต่ละบุคคลที่ได้เพียงได้รับการเทศนาสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้น  โดยรวมมีปัจจัยแห่งความสมบูรณ์ถึงพร้อมของอินทรีย์ที่พร้อมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับจิตวิญญาณแทบทั้งสิ้น...ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักในการเผยแพร่พุทธธรรมของพระพุทธองค์นั่นเอง...
...โดยสรุป..ก็คือแค่อยากจะบอกว่าในช่วงท้ายสุดของเหตุการณ์ปรินิพพาน...
     ...ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลายชนิดใดๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น

 เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความไม่ประมาทเลย เมื่อไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป

     เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่  ...ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความไม่ประมาทเลย

     โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนความไม่ประมาทเลย

     เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอริยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น ...ธรรมเอก ที่มีอุปการะมาก เพื่อการเกิดขึ้นของอริยอัษฎางคิกมรรค ก็คือความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ...เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ที่เป็นเหตุให้อริยอัษฎางคิกมรรค ซึ่งยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น หรืออริยอัษฎางคิก- มรรคที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ เธอจักเจริญ จักกระทำให้มาก ซึ่งอริยอัษฎางคิกมรรค

 แม้ปัจฉิมวาจา คือพระดำรัสครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า เมื่อจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็เป็นพระดำรัสในเรื่องอัปปมาทธรรม ดังนี้

 สิ่งทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท

 พุทธพจน์เกี่ยวกับอัปปมาทธรรม มีตัวอย่างอีกมากมาย พึงดูต่อไป
 ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ควรสร้างอัปปมาทโดยฐานะ ๔ คือ
 ๑. จงละกายทุจริต จงเจริญกายสุจริต และจงอย่าประมาท
     ในการ (ทั้งสอง) นั้น
 ๒. จงละวจีทุจริต จงเจริญวจีสุจริต และจงอย่าประมาท
     ในการ (ทั้งสอง) นั้น
 ๓. จงละมโนทุจริต จงเจริญมโนสุจริต และจงอย่าประมาท
     ในการ (ทั้งสอง) นั้น
 ๔. จงละมิจฉาทิฏฐิ จงเจริญสัมมาทิฏฐิ และจงอย่าประมาท
     ในการ (ทั้งสอง) นั้น
 ในเมื่อภิกษุละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ฯลฯ ละมิจฉาทิฏฐิ เจริญสัมมาทิฏฐิแล้ว เธอย่อมไม่หวาดกลัวต่อความตายที่จะมีข้างหน้า

 ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรสร้างอัปปมาท คือ การรักษาใจด้วยสติ โดยตนเอง ในฐานะ ๔ คือ
 ๑. ...จิตของเรา อย่าติดใจในธรรมที่ชวนให้เกิดความติดใจ
 ๒. ...จิตของเรา  อย่าขัดเคืองในธรรมที่ชวนให้เกิดความขัดเคือง
 ๓. ...จิตของเรา อย่าหลงในธรรมที่ชวนให้เกิดความหลง
 ๔. ...จิตของเรา  อย่ามัวเมาในธรรมที่ชวนให้เกิดความมัวเมาเมื่อจิตของภิกษุ ไม่ติดใจในธรรมที่ชวนให้เกิดความติดใจ เพราะปราศจากราคะแล้ว ไม่ขัดเคือง...ไม่หลง...ไม่มัวเมาแล้ว เธอย่อมไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นไหว ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้ง และไม่(ต้อง)เชื่อถือ แม้แต่เพราะถ้อยคำของสมณะ

 ถาม : มีบ้างไหม ธรรมข้อเดียว ที่จะยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน หรือประโยชน์เฉพาะหน้า) และ สัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้า หรือประโยชน์ชั้นสูงขึ้นไป)?
 ตอบ : มี
 ถาม : ธรรมนั้น คืออะไร ?
 ตอบ : ธรรมนั้น คือ ความไม่ประมาท
 ดูกรมหาบพิตร ธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วนั้น สำหรับผู้มีกัลยาณมิตร มีกัลยาณสหาย มีกัลยาณชนเป็นที่คบหา หาใช่สำหรับผู้มีบาปมิตร ผู้มีบาปสหาย ผู้มีบาปชนเป็นที่คบหาไม่...ความมีกัลยาณมิตรนั้น เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว

 เพราะเหตุนั้นแล มหาบพิตร พระองค์พึงทรงสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้มีกัลยาณมิตร มีกัลยาณสหาย มีกัลยาณชนเป็นที่คบหา พระองค์ผู้ทรงมีกัลยาณมิตรนั้น จะต้องทรงดำเนินพระจริยาอาศัยธรรมข้อนี้อยู่ประการหนึ่ง คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย

 เมื่อพระองค์ไม่ประมาท ดำเนินพระจริยาอาศัยความไม่ประมาทอยู่ พวกฝ่ายใน...เหล่าขัตติยบริวาร...ปวงเสนาข้าทหาร...ตลอดจนชาวนิคมชนบท ก็จะพากันคิดว่า “พระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ทรงดำเนินพระจริยาอาศัยความไม่ประมาท ถึงพวกเราก็จะเป็นผู้ไม่ประมาท จะเป็นอยู่โดยอาศัยความไม่ประมาทด้วย”

 ดูกรมหาบพิตร เมื่อพระองค์ทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ทรงดำเนินพระจริยาอาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้ตัวพระองค์เอง ก็เป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา แม้พวกฝ่ายในก็เป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา (ตลอดจน) แม้เรือนคลัง ยุ้งฉาง ก็เป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา
......พระธรรมวินัยของพระพุทะองคืมิใช่จะสำเร็จเพียงเพราะแค่การกล่าวออกมาตรงๆเท่านั้นแต่ผู้กล่าวจะต้องรู้วาระจิตของผู้ฟัง..มีเป้าหมายในการสื่อสาร...ผู้รับสารมีความพร้อมจากศีล...สมาธิ..และปัญญาในระดับที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภายใน...
........คือผมอยากจะเรียน จขกท...ว่าธรรมะของพระพุทธองค์ มีความลึกซึ้ง สวยงาม ละเอียดอ่อน ที่สำคัญมีความหลากหลายที่สอดรับกับความวิจิตรพิสดารของจิตใจหรือจิตสำนึกของมนุษย์น่ะครับ...

                                                               ด้วยจิตคารวะ  ขอเจริญยิ่งๆในธรรม


IP : บันทึกการเข้า
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2013, 13:34:55 »

#13
        ศาสนา  หมายถึง  คำสอน
        พุทธะ     หมายถึง  รู้ ตื่น  เบิกบาน
        ศาสนาพุทธ หมายถึง คำสอนเพื่อไปสู่การเป็นผู้รู้  ตื่น เบิกบาน

           ดังนั้นสาวกของพระศาสดาในพระพุทธศาสนาควรต้องศึกษาเรียนรู้จากถ้อยคำของศาสดาตนจึงจะเป็นการไม่ประมาท เมื่อศึกษาเรียนรู้แล้วย่อมมีความเจริญ รู้ ตื่นและเบิกบานตามลำดับ ในมหาสติปัฏฐานสูตรมีพุทธวจนตอนหนึ่งว่า

[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า   ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต  จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต   อื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่    เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด  พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา  เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ


           หากพวกเราสังเกต จะเห็นว่าพระศาสดาทรงบอกให้ “รู้” เป็นส่วนมากและหากพวกเราทำตามที่พระองค์สอนด้วยการ”รู้”อยู่อย่างไม่ลืมหลงก็จะได้รับคำยืนยันจากพระศาสดาว่าเป็นผู้ไม่เหินห่างจากฌาน พุทธวจนนั้นจะตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม ง่ายๆ ซื่อๆ
สะอาดหมดจดดังข้อความตอนหนึ่ง “พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุสงฆ์ยังจะหวังอะไรในเราเล่า  ธรรมอันเราได้แสดงแล้ว กระทำไม่ให้มีในมีนอก   กำมืออาจารย์ในธรรมทั้งหลายมิได้มีแก่ตถาคต.”(มหาปรินิพพานสูตร 10/86/93 ไทยสยามรัฐ)
          พวกเราในฐานะสาวกควรศึกษาเรียนรู้ด้วยการทดลองปฏิบัติจนกระทั่ง”รู้”ในสิ่งที่พระองค์สอนเมื่อ”รู้”แล้วย่อมไม่สงสัยว่าพระธรรมวินัยที่ทรงประทานไว้มีรหัสนัยที่ต้องตีความหรืออย่างไร
           ศาสนาพุทธง่ายอย่างนี้ พระศาสดาก็สอนตรงๆอย่างนี้ทรงใช้ถ้อยคำที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันทีไม่มีลับลมคมใน หากพระองค์จะทรงสอนในความหมายใดก็จะตรัสตรงๆด้วยคำที่มีความหมายนั้นๆเสมอ
           ในความเห็นของ จขกท.เห็นว่าถ้าผู้ใดมีความเลื่อมใสศรัทธาในตถาคตควรฟังและทดลองทำตามดูก่อน แม้หากทำตามทุกขั้นตอนแล้วย่อมต้องเห็นผลไม่มากก็น้อยขณะเดียวกันการถ่ายทอดบอกต่อก็สมควรลงมือทำทันทีและเพื่อป้องกันการวิพากษ์ถกเถียงในสิ่งที่เราเผยแผ่มิให้ผู้ใดตำหนิว่าความรู้นั้นเป็นอัตโนมติของผู้ใด
            จึงควรอาศัยพุทธวจนขององค์พระศาสดาเป็นหลักในการแสดงทุกครั้ง อย่างนี้ก็จะไม่มีการยกตนข่มท่านจากคนพาล ปฏิบัติถึงขั้นไหนก็รู้ด้วยตนเองไม่ต้องอาศัยใครมารับรองในคุณธรรมที่มี การเปิดเผยธรรมวินัยก็ไม่ต้องกลัวผิดสามารถหาพุทธวจนมาแสดงได้ทุกเวลา
   
             จากข้อความในสี่บรรทัดสุดท้ายใช้ภาษาได้สละสลวยดี ขอชื่นชมเพียงขอฝากนิดหน่อย ถ้าสำนวนนี้มีพุทธวจนมาประกอบไว้ด้วยจะดูดีมากเผื่อผู้ไม่เคยผ่านตาในบทนี้จะได้มีข้อมูลไว้พิจารณา

             ขอจงมีความเพียรให้มาก รู้ธรรมเห็นธรรมในเร็วพลันจะได้มีมุมมองใหม่ๆมาอย่างต่อเนื่อง.
                      เจริญธรรม
IP : บันทึกการเข้า
dr.kuay
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 88


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม 2013, 08:58:00 »

ใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา

http://www.youtube.com/watch?v=NC6c6qQxXiA

ความว่าง

http://www.youtube.com/watch?v=6tzq-xpgbbM

วิธีปฏิบัติเพื่อเป็นอยู่ด้วยความว่าง

http://www.youtube.com/watch?v=uTO5WV_SHn8

IP : บันทึกการเข้า
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 06 กุมภาพันธ์ 2013, 12:37:36 »

ในปโลกสูตร(ไทยสยามรัฐ 18/53/101)พระศาสดาทรงตรัสกับพระอานนท์ว่าเหตุที่เรียกว่าโลกเพราะมีการแตกสลายไม่ตั้งมั่นคงที่ของ ตา หูจมูก ลิ้น กายและ ใจ.

ดังนั้นสิ่งทั้งปวงล้วนไม่เที่ยงด้วยสฬายตนะทั้งหลาย และเหตุนั้นปุถุชนผู้มิได้สดับจึงยังจมอยู่ภายใต้กระแสแห่งโลกอันเชี่ยวกรากไม่มีที่สิ้นสุด

ศาสนาพุทธนั้นสอนให้ย้อนทวนกระแสโลก เพื่อจะได้อยู่เหนือโลกเหนือการเกิด-ดับทั้งปวง นั่นหมายความว่าพ้นจากความมีชาติ ชรา มรณะโดยสิ้นเชิง

พระศาสดาทรงบัญญัติทางสายเอกคือสติปัฏฐานสี่ ในพระสูตรที่ชื่อว่ากายคตาสติสูตร(ไทยสยามรัฐ14/161/292-296 )ด้วยใจความที่เข้าใจได้ง่ายเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจการภาวนาทั้งผู้ใหม่และผู้เก่า  ถ้อยคำตถาคตในพระสูตรช่วงนี้สอนให้ผู้ภาวนาฝึกสติด้วยการรู้ลมหายใจและอิริยาบถใหญ่น้อยทั้งหมดซึ่งหน้าที่ของเราคือทำตามเต็มกำลังอย่างไม่ย่อท้อและควรหมั่นสังเกตว่าในการฝึกที่ว่านี้ผู้ฝึกมีสติเกิดมากในการรู้ต่อสิ่งไหนเช่นถ้าฝึกรู้ลมหายใจแล้วสติรู้ลมได้ต่อเนื่องไม่หลงลืม(ใจลอย)ก็ควรที่จะรู้ลมให้มากจนเกิดสติเป็นอัตโนมัติ-รู้ได้เร็วด้วยความคุ้นชินอย่างไม่มีการกำหนดบีบคั้น รู้แบบธรรมชาติสบายๆ เช่นเดียวกันกับในอิริยาบถอื่นๆหากผู้ฝึกรู้สึกได้ถึงการเกิดขึ้นของสติว่าอิริยาบถใหญ่น้อยทำให้สติรู้ง่ายก็ควรเน้นเพียรตรงนั้นให้มากขึ้น เรียกได้ว่ากายขยับนิดหนึ่งก็รู้ได้ทันอยู่ตลอดเวลา พระศาสดายังบอกว่าแม้ใครทำได้ถึงขนาดนี้จิตก็จะเป็นสมาธิมีธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นแน่วแน่
ในจังหวะขั้นตอนนี้ผู้ฝึกจะมีกำลังของสติมากขึ้นตามลำดับจิตก็จะละเอียดขึ้นตามความต่อเนื่องนั้นจนสามารถรู้ได้ถึงเวทนา จิตและธรรมหรืออารมณ์ ความคิด ความรู้สึกทั้งปวงนั่นเอง ช่วงเวลาเหล่านี้ผู้ฝึกย่อมประสบพบเจอแน่นอนถ้ายังมีอินทรีย์ห้าอยู่ครบถ้วน

ในการภาวนานั้นผู้ฝึกสามารถเข้าถึงธรรมได้ทุกคนตามที่พระศาสดาทรงยืนยันไว้ในปฐมปัณณาสก์( ไทยสยามรัฐ20/48/251)และในคณกโมกคัลลานสูตร(14/65/101-103)

หมายเหตุ    ไทยสยามรัฐคือ ไทย(บาลีสยามรัฐ)
                   14/65/101-103 คือ เล่ม/หน้า/ข้อ
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้โหลดพระไตรปิฎกแนะนำที่นี่เลย

http://watnapp.com/
IP : บันทึกการเข้า
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2013, 13:17:53 »

แจกหนังสือพุทธวจน ท่านใดต้องการลงชื่อไว้ที่นี่พร้อมระบุชื่อหนังสือที่เลือก

แล้วโทรแจ้งเพื่อไปรับหนังสือด้วยตนเองในตัวเมือง จขกท.ไม่สะดวกที่จะจัดส่ง

090-0519165 





IP : บันทึกการเข้า
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2013, 14:47:06 »



       [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้ง ๒ ท่าน
ทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดา
ด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่งเขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่านทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้วและทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ

ไทย(บาลีสยามรัฐ)20/58/278
IP : บันทึกการเข้า
สดชื่นตลอด
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 13:04:59 »






IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!