เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 23:41:09
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ฌาน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ฌาน  (อ่าน 1057 ครั้ง)
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« เมื่อ: วันที่ 22 ธันวาคม 2012, 20:40:18 »

ฌาน  เป็นผลจากการฝึก จิต ให้มีกำลัง  คือ จิตสงบนิ่ง เป็นการออกกำลัง  ของ  จิต
เป็น  สมถะ กัมมัฎฐาน       
 กราบเรียน หมู่ญาติธรรม ร่วมเสวนา เป็น ธรรมทาน ครับ
IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
jirapraserd
magdafVE
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 693


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 16:35:21 »

มีท่านผู้หนึ่งท่านตอบไว้ได้ดีมากๆ เลยครับ

ชนิดของฌาน

- อารัมมณูปนิชฌาน ได้แก่การปักจิตแน่วอยู่ในอารมณ์เดียวไม่มีความนึกคิดแบบปกติแต่มีอาการน้อมกำหนดว่าเราจะเปลี่ยนระดับฌานได้ถ้าก่อนถึงฌานไม่มีปัญญาพิจารณาสภาพเกิดดับไว้ก่อนก็จะไม่มี ตัวน้อมอัตโนมัติ เข้าไปดูว่าอะไรไม่เที่ยง อะไรไม่ใช่ตัวตนจะมีแต่ความยึดติด ดูดติดอยู่กับอารมณ์อันน่าชื่นใจในฌานเท่านั้นแต่ถ้าก่อนเข้าถึงฌานได้เคยพิจารณาความเกิดดับของขันธ์ ๕ ตลอดสายมาก่อนก็จะมีอัตโนมัติประการหนึ่ง คือรู้อะไรก็ตาม จะเห็นสิ่งที่รู้โดยความเป็นไตรลักษณ์อาจจะเป็นครั้งเป็นคราวสำหรับปุถุชน แต่จะเกือบทุกครั้งสำหรับอริยบุคคลเพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งกล่าวว่าอารัมมณูปนิชฌานเป็นฌานนอกศาสนาฌานคือฌาน เป็นอาการของจิตอย่างหนึ่งอาจเป็นบันไดส่งทอด หรืออาจเป็นอ่างสำหรับพายเรือ ขึ้นอยู่กับบุคคลและวาระ

- ลักขณูปนิชฌาน ได้แก่วิปัสสนาญาณ มรรคผล และผลสมาบัติในกรณีของฌานในฐานะของวิปัสสนาญาณนั้นจะมีความนึกคิดแบบปกติได้ รับกระทบตามปกติได้ เดินเหินได้ หรือกระทั่งพูดจาได้แต่ยืนพื้นอยู่บนสภาพจิตที่ตั้งมั่น แนบแน่น ในแบบของฌานหมายความว่าจิตเคลื่อนจากสภาพแนบแน่นขึ้นรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ เป็นห้วงๆแล้วตกกลับลงมาอยู่ในสภาพแนบแน่นเป็นหนึ่งเหมือนเดิมแต่ละครั้งที่รู้อารมณ์ แม้ความนึกคิด ก็รู้โดยความเป็นของไม่เที่ยงหรือรู้โดยสักแต่เป็นสภาพปรุงประกอบด้วยเหตุปัจจัย ไม่ใช่ตัวตนหากถามว่าถ้ารู้อารมณ์ทางอายตนะได้ จะกล่าวว่าเป็นหนึ่งได้อย่างไรก็ตอบว่าเป็นหนึ่งอยู่กับความว่างจากอัตตา ว่างจากอุปาทานและความรู้สึกว่าว่างเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องบรรลุมรรคผลเสียก่อนทำนองเดียวกับคนครึ่งหลับครึ่งตื่นย่อมลืมว่าตัวเองเป็นใคร ชื่ออะไรต่างแต่ว่านี่เป็นความรู้สึกเต็มตื่น รู้เห็นว่าสิ่งปรากฏทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนจึงไม่หมายมั่นว่านั่นเป็นเรา เรามีชื่ออย่างนี้ สกุลอย่างนี้หลายท่านมองว่าลักขณูปนิชฌานคืออุปจารสมาธิก่อนอื่นต้องแยกแยะว่าอุปจารสมาธิไม่ใช่ศัพท์เดิมที่ใช้กันในพุทธกาลเพราะฉะนั้นความหมายเชิงประสบการณ์จึงค่อนข้างคลุมเครือเนื่องจากนิยามนั้นจะหมายถึงสมาธิเฉียดฌานประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติสุขอันเกิดแต่วิเวกขาดอย่างเดียวคือสภาพจิตที่เป็นเอกัคคตาสำหรับนักภาวนานั้น เมื่อคุ้นกับอุปจารสมาธิมากเข้าก็อาจเกิดความรู้สึกก้ำกึ่ง เห็นน้ำหนักและคุณภาพอุปจารสมาธิหลากหลายเพราะแม้มีวิตก วิจาร ปีติสุขเหมือนกัน ทว่ากำลังก็ผิดกันความมั่นคงที่เป็นพื้นภายในก็ต่างกันมากบางครั้งรู้สึกหนักแน่นเป็นหนึ่งเหมือนฌาน แต่กลับยังสามารถรับรู้อารมณ์ได้แม้แต่สภาพเอกัคคตาก็อาจขึ้นเร็วลงเร็วได้ในเวลาไม่กี่วินาทีเหมือนไฟที่ติดๆดับๆ (โดยเฉพาะสำหรับคนเคยมีแน่นๆแล้วเสื่อมลง)ความสับสนอาจลดน้อยลง ถ้าเราไม่ไปให้ความสำคัญกับนิยามทางศัพท์มากนักแต่มองตามจริงว่าอุปจารสมาธิกับฌานคือลูกพี่ลูกน้องที่หน้าคล้ายกันและสูงต่ำกว่ากันไม่มาก เมื่อใช้คำว่าลักขณูปนิชฌานอธิบายประสบการณ์ใดก็จะได้ไม่ต้องไปยึดติดว่าเป็นอุปจาระ (เฉียด)หรือว่าเป็นอัปปนา (แนบแน่นเป็นฌานแล้ว) กันแน่

ผลของการมีฌาน

แน่นอนว่าผู้มีฌานย่อมได้เปรียบผู้ไม่มีฌานเพราะย่อมพิจารณาธรรมได้นานกว่า ต่อเนื่องกว่ามีกำลังหนุนให้เกิดธรรมชาติล้างผลาญสังโยชน์ได้มากกว่าแต่ก็ไม่ใช่ข้อบังคับของธรรมชาติว่าผู้จะถึงมรรคผลต้องผ่านฌานเสียก่อนเพราะมรรคผลที่ถูกต้องนั้น คลี่คลายมาจากการกำหนดรู้ความเกิดดับอย่างถูกต้องหาได้เกิดจากความมีฌาน หรือกระทั่งมีญาณหยั่งรู้เหนือโลกแต่ประการใดดังนั้นสิ่งที่สำคัญกว่าฌานจึงเป็นสัมมาทิฏฐิต้องแน่ใจว่าตั้งความเห็นไว้ให้ถูก ให้ตรงเสียก่อนทั้งในแนวทางโดยรวม เช่นรู้ว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง จึงไม่ควรยึดมั่นว่าเป็นเราและทั้งในแนวทางโดยเจาะจงเช่นรู้ว่าจะต้องดูความไม่เที่ยงที่กาย เวทนา จิต ธรรมอันกำลังปรากฏตามจริงไม่ใช่ไปสร้างเงื่อนไขอะไรขึ้นมาแล้วบอกว่าจะบรรลุธรรมด้วยเงื่อนไขนั้นๆผู้มีสัมมาทิฏฐิอยู่แล้ว จะเข้าฌานได้ลึกแค่ไหนก็ไม่น่าเป็นห่วงเพราะแน่ใจได้ว่าจิตจะฝักใฝ่มารู้ มาดูกายใจโดยความเป็นไตรลักษณ์แน่นอนแม้เข้าฌานในแบบอารัมมณูปนิชฌานในเบื้องต้นเมื่อถอนออกมา แล้วยังไม่ได้พิจารณาธรรมทันทีแต่ก็ได้ชื่อว่าสั่งสมกำลังใหญ่ไว้ก่อน ประจุพลังดีๆไว้พร้อมใช้ระหว่างวันถ้าแค่พิจารณาอะไรเล่นๆว่าผิวหนังเราสะอาดเพราะสบู่อยู่ๆไปก็สกปรกด้วยคราบไคลเพราะปฏิกูลภายในกายไหลซึมออกมาจิตที่เกิดความสลดสังเวชนั้นอาจฉุดเอากำลังใหญ่ที่สั่งสมไว้ขึ้นมากลายเป็นสภาพตั้งมั่น รู้กายโดยความเป็นปฏิกูลทั้งแท่งแล้วเห็นปฏิกูลนั้นกระจายออกโดยความเป็นธาตุหยั่งรู้เข้าไปตามจริงในสภาพที่ปรากฏขณะนั้น ที่เป็นก้อนกายเดี๋ยวนั้นว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นแค่สภาพธรรมชาติหลายๆอย่างมาประชุมประกอบกันอยู่ไม่เกิดความมั่นหมายว่าเป็นก้อนอัตตา ไม่มีที่ตั้งของความรู้สึกในตัวตนอันนั้นเองจัดเป็นลักขณูปนิชฌานขึ้นมามีองค์ฌานคือวิตก วิจาร ปีติ สุขปรากฏพร้อมโดยไม่ได้รู้เพียงอารมณ์เดียวเหมือนอย่างอารัมมณูปนิชฌานและผู้มีสัมมาทิฏฐิเป็นอย่างดี ถึงแม้ยังไม่ใช่อริยเจ้า ถึงแม้ไม่เคยถึงปฐมฌานแต่เมื่อพิจารณาธรรมอยู่เสมอๆไม่ขาดสาย เห็นอะไรเป็นธรรมะแสดงอนิจจังไปหมดทั้งในระดับคิดๆ และในระดับกำหนดสติเป็นสมาธิชั่วคราวก็อาจเป็นตัวก่อกำลังให้ครบ ๕ ประการคือศรัทธาที่จะหันมา วิริยะที่จะประคอง สติที่จะระลึกได้ สมาธิที่จะตั้งมั่นเป็นหนึ่งและสำคัญสูงสุดคือปัญญาที่จะเห็นความเกิดดับตามจริงของทุกสภาวะทั้งนอกและในถึงขีดสุดของพละ ๕ เมื่อไหร่ ลักขณูปนิชฌานก็เกิดขึ้นได้เช่นกันคือสำนึกจะตั้งต้นที่ความรู้สึกว่างจากตัวตนและมีความคงเส้นคงวาเหมือนค้ำด้วยพลังเหลือเฟือไม่มีความเพ่ง ไม่มีความบีบรัดคับแคบ จิตมีความเป็นใหญ่แบบฌานข้อเสียของผู้ภาวนาประเภทไม่มีอารัมมณูปนิชฌานรองรับก็คือจิตจะพลัดตกจากสภาพเอกัคคตาเมื่อไหร่ก็ไม่รู้แล้วจะเกิดภาวะเห็นขันธ์ ๕ ชัดครบตลอดสายอีกเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบเหมือนกันแบบนานทีปีหน นอกนั้นปกติจะเริ่มรู้สึกตั้งต้นกันด้วยอัตตา ความนึกคิดเดิมๆต้องเพียรรู้กระทบ รู้ผัสสะ สังเกตปฏิกิริยาของจิตนานเป็นพักใหญ่กว่าจิตจะเสถียรพอจะรู้อารมณ์โดยความไม่เที่ยง หรือไม่ใช่ตัวตน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 07 มกราคม 2013, 11:15:13 โดย jirapraserd » IP : บันทึกการเข้า

dr.kuay
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 88


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 14:49:41 »

ผมขอแชร์น่ะครับ...

* ฌาน.doc (413 KB - ดาวน์โหลด 47 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 22:46:18 »

ขอกราบอนุโมทนา ท่านทั้งคู่ ครับ
IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 08 มกราคม 2013, 00:20:47 »

ผู้รู้ กล่าวว่า ผู้ได้ ฌาน มาก่อน เป็น เจโตวิมุต(ผู้หลุดพ้น ที่มีณาน นำวิปัสสนา) จิตมีกำลังมาก กว่า เมื่อ ก้าวไปหา การวิปัสสนา  จะมีปัญญา ลึกซึ้ง สูงกว่า  ผู้ใช้ปัญญานำสมาธิ
  พวกปัญญาวิมุต (ผู้ หลุดพ้น ด้วยปัญญา) คือ มี วิปัสสนา ใคร่ครวญ ในข้อธรรม แล้วมี  ฌานเกิด ตามมาทีหลัง
 ผู้หลุดพ้น เขียน   วิมุต              หากเขียน  วิมุตติ  หมายถึง  ความหลุดพ้น

ไหว้สา  ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 มกราคม 2013, 23:24:13 โดย nantong » IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!