ปรับภาษีรถยนต์ ขึ้นใหม่
ไม่รู้ว่าข่าวอันเดียวกันหรือเปล่า เค้าจะเริ่มเก็บ 1 มค.2559 นะครับ
ถ้าใช่ข่าวอันเดียวกัน ต่อไปรบกวนเอาเนื้อหามาให้หมดนะครับ
เดี๋ยวเป็นประเด็นดราม่าอีก
ครม.ไฟเขียว ยกเครื่องโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ เกาะกระแสรักษ์โลกกำหนดอัตราภาษีตามปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 “ทนุศักดิ์” คาดปิดโครงการรถคันแรกยอดทะลักล้านคันแน่นอน
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2555 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยวัตถุประสงค์การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ครั้งนี้ เน้นไปที่การดูแลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก
สำหรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ฉบับใหม่ จะแบ่งตามประเภทรถยนต์ ดังนี้ 1. รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน จัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์จากอัตราการปล่อย CO2 เป็น 3 ช่วง คือ ไม่เกิน 3,000 ซีซี และมีการปล่อย CO2 ไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บอัตราภาษีตามมูลค่า 30% รถยนต์ที่ปล่อย CO2 เกิน 150 แต่ไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษีที่ 35% ส่วนรถที่ปล่อย CO2 เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บอัตราภาษีมูลค่า 40%
ขณะที่รถยนต์นั่ง E-85 และรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทก๊าซธรรมชาติที่ติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรม (NGV-OEM) จัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ จากอัตราการปล่อย CO2 3 ช่วง คือ รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี และมีการปล่อย CO2 ไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 25%, เกิน 150-120 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 30% และเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บอัตราภาษีตามมูลค่าที่ 35%
สำหรับรถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า จัดเก็บเป็น 4 ช่วง เครื่องยนต์ ไม่เกิน 3,000 ซีซี และมีการปล่อย CO2 ไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บอัตราตามมูลค่า 10%, รถที่ปล่อย CO2 เกิน 100-150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 20%, รถยนต์ที่ปล่อยเกิน 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 25% และรถยนต์ที่ปล่อย CO2 เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บที่ 30%
สำหรับรถยนต์ที่นอกเหนือจาก 3 ประเภทนี้ หากมีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,000 ซีซี จัดเก็บอัตราตามมูลค่าที่ 50%
ส่วนรถยนต์กระบะที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ จัดเก็บภาษีเป็น 2 ช่วง คือ รถยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี ปล่อย CO2 ไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บอัตราตามมูลค่า 3% และปล่อยเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บอัตราภาษี 5% นอกเหนือจากนี้เก็บ 18% ขณะที่รถยนต์กระบะที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ จัดเก็บ 2 ช่วง คือ ไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บอัตราตามมูลค่าที่ 5% และการปล่อย CO2 เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บอัตราตามมูลค่า 7% ส่วนรถยนต์นั่งที่มีกระบะ (Double Cab) จัดเก็บภาษี 2 ช่วง คือ ปล่อย CO2 ไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บ 12% และรถยนต์การปล่อย CO2 เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บอัตราตามมูลค่า 15%
โดยรถยนต์ที่นอกเหนือจาก 4 ประเภทนี้ หากมีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ซีซี จัดเก็บอัตราภาษีตามมูลค่าที่ 50%
สำหรับอัตราภาษีใหม่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2559 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ดี ที่ประชุม ครม. ยังเห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดแนวทางให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์และผู้นำเข้าจะต้องติดป้ายแสดงการประหยัดพลังงานและปริมาณการปล่อย CO2 รวมถึงให้กระทรวงคมนาคมศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ประจำปี เพื่อให้สอดคล้องกับภาษีสรรพสามิตรถยนต์ต่อไป
ด้านนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง เผยยอดใช้สิทธิ์ในโครงการรถยนต์คันแรก ว่า ล่าสุดอยู่ที่ 9.1 แสนคัน คิดเป็นเงิน 6.7 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าจนกว่าจะครบกำหนดวันยื่นเอกสาร 31ธ.ค.2555 จะมีประชาชนมาร่วมโครงการกว่า 1 ล้านคน เป็นเงินที่ต้องคืนกว่า 7 หมื่นล้านบาท.
เครดิต-->
http://www.thaipost.net/news/191212/66835