เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 เมษายน 2024, 02:09:21
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ยี่เป็ง ป๋าเพณีแห่งความเลื่อมใสศรัทธา
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ยี่เป็ง ป๋าเพณีแห่งความเลื่อมใสศรัทธา  (อ่าน 2378 ครั้ง)
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2012, 20:24:01 »

ยี่เป็ง ป๋าเพณีแห่งความเลื่อมใสศรัทธา



ยี่เป็ง เป็นคำที่คุ้นหูสำหรับผู้อ่านมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย ค่ำว่า “ยี่” หมายถึง ๒ ส่วนคำว่า “เป็ง”
หมายถึงเพ็ญ หรือคืนเดือนเพ็ญ ยี่เป็งภาษาเหนือหมายถึงวันเพ็ญเดือนยี่ ซึ่งเป็นเดือนตามจันทรคติของชาวล้านนา
ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๑๒ ของไทย และส่วนใหญ่มีความเข้าใจกันแล้วว่าประเพณียี่เป็งนั้น
คือ ประเพณีในเทศกาลลอยกระทงนั่นเอง  บรรยากาศทั่วไปที่คุ้นหูคุ้นตากันมากในประเพณียี่เป็ง  
เราจะเห็นชาวบ้านล้านนาจะมีการประดับประดาวัดวาอารามบ้านเรือนด้วยประทีปโคมไฟ โคมระย้า
โคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืนจะมีการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า
เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีที่อยู่บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีการทำซุ้มประตูป่าด้วยต้นกล้วย
ต้นอ้อยและ ก้านมะพร้าว  ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นภาพโดยรวมของประเพณียี่เป็งที่ทุกคนรู้จัก



ยี่เป็ง ที่ผู้เขียนจะนำมากล่าวถึงนี้ เป็นประเพณียี่เป็งในอีกมุมหนึ่งที่ผู้คนส่วนมาก
ยังไม่ทราบถึงความสำคัญและประเพณี ที่ชาวล้านนายึดถือและมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
ซึ่งประเพณียี่เป็งของชาวล้านนานอกจากจะมีกิจกรรมต่างๆ ข้างต้นแล้ว  
ในวันดังกล่าวนี้เองที่ชาวล้านนาจะถือโอกาสออกไปทำบุญตานขันข้าว หรือสำรับอาหารไปถึงบรรพชน
อุทิศส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยอาหารหลักที่นิยมนำไปทำบุญกันที่วัดจะเป็น ห่อนึ่ง
แกงฮังเล  ในวันดังกล่าวจะมีกิจกรรมพิเศษคือการตั้งธรรมหลวง หรือฟังเทศน์มหาชาติ  
ซึ่งจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เช้ามือราวตี ๔ หรือ ตี ๕ เรื่อยไปกระทั่งถึงกลางคืน ประเด็นที่น่าสนใจ
เกี่ยวกับการตั้งธรรมหลวงนี้  ชาวล้านนาจะแสดงออกถึงการเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างสูงสุด  
และถือว่าเป็นการสร้างทานบารมีและอานิสงส์แก่ตนเอง



ที่ธรรมมาสจะประดับประดาไปด้วยดอกกระดาษสีต่างๆ อย่างสวยงาม มีการประดับโคมไฟ
เครื่องหอมซึ่งทำมาจากดอกไม้ตากแห้ง  และสานด้วยไม้ขัดแตะเล็กๆ ประกบไว้ ๒ ด้าน  
ซึ่งดอกไม้แห้งนี้จะส่งกลิ่นหอมอยู่ตลอดเวลาที่พระสงฆ์เทศนา ซึ่งเมื่อพระสงฆ์เริ่มเทศมหาชาติตั้งแต่กัณฑ์แรก  
ซึ่งแต่ละกัณฑ์ก็จะให้อานิสงส์กับผู้ที่เกิดในปีนักษัตรแต่ละปีแตกต่างกันไป  
ผู้ที่เกิดในปีนักษัตรที่พระกำลังเทศน์อยู่นั้น  ก็จะเผาเทียนที่ทำด้วยใยฝ้ายพันกับไม้ไผ่เล็กๆ
ลักษณะคล้ายธูป  ชุบด้วยน้ำมันมะพร้าวบริเวณลานวัดเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
และชาวล้านนายังเชื่อว่าจะช่วยสร้างเสริมบารมีและความเป็นมงคลกับชีวิต
ซึ่งจำนวนเทียนที่เผานี้มีจำนวนต่างกันออกไปตามแต่กำลังอานิสงค์ของเทศกัณฑ์นั้นๆ



ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปฟังเทศน์ในวันยี่เป็งหลายครั้ง ซึ่งได้เห็นวิถีชีวิตที่ชาวล้านนายึดถือ
และถ่ายทอดกันมาเป็นประเพณีที่หาดูได้ยาก และเชื่อว่าปัจจุบันคงจะมีให้เห็นน้อยมาก
เนื่องจากผู้คนห่างวัดมากขึ้น เทศน์มหาชาติแต่ละกัณฑ์ที่พระสงฆ์แสดงนั้นจะบอกเล่าเรื่องราวชาติภพต่างๆ
ของพระพุทธเจ้าก่อนที่จะเกิดมาเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย  สิ่งที่ผู้เขียนจะนำมาอธิบายที่ว่า
ความเลื่อมใสของชาวล้านนา  ซึ่งในการบูชากัณฑ์เทศแต่ละกัณฑ์นั้นมีพิธีที่แตกต่างกันออกไป
เช่นการเผาเทียนที่ทำด้วยฝ้ายที่อธิบายไปแล้ว  บางกัณฑ์ผู้เขียนจะเห็นผู้เฒ่าผู้แก่
ออกไปเผาเส้นด้ายที่ทำมาจากฝ้าย ชุบด้วยน้ำมันมะพร้าวเรียกพิธีนี้ว่า“การเผาสีสาย”
บางกัณฑ์ที่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการให้ทานหรือกัณฑ์ที่สาธยายเกี่ยวกับ กัญหาชาลี นั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะตักน้ำใส่ลงในอ่าง



หรือภาชนะใหญ่ๆ ลอยด้วยดอกบัวไปตั้งไว้หน้าธรรมมาสเพื่อเป็นการบูชากัณฑ์เทศ
ซึ่งสื่อความหมายถึงกันหาและชาลีหลบลงไปอยู่ในสระดอกบัว  ขณะที่ชูชกมาขอจากพระเวสสันดร
หรือกระทั่งกัณฑ์ที่แสดงถึงอานิสงส์ผางประทีป  ก็จะมีการจุดประทีปเพื่อเป็นการบูชา
โดยผางประทีปนั้นจะใช้น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงาเป็นเชื้อเพลิง  ซึ่งก่อนวันยี่เป็งแต่ละบ้าน
จะนำมะพร้าวมาคั้นเป็นกะทิ และนำไปเคี่ยวจนได้เป็นน้ำมันมะพร้าวเตรียมไว้ก่อน
ซึ่งผู้เขียนเองได้มีประสบการณ์ในการทำน้ำมันมะพร้าวเพื่อจุดผางประทีปมาแล้ว
มีอยู่กัณฑ์หนึ่งที่กล่าวถึงฝนห่าแก้ว  ชาวล้านนาก็จะนำข้าวตอก ข้าวสารโปรยกันให้ทั่วบริเวณวิหาร
เสมือนว่าฝนห่าแก้วกำลังโปรยลงมา  ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับวันจะมีผู้สืบทอดน้อยลงไปทุกขณะ
บางแห่งก็จะมีการปล่อยโคมลอย  เรียกว่า “ว่าวฮม” หรือ “ว่าวควัน” ในช่วงเวลากลางวัน  
ส่วนพลบค่ำหรือช่วงกลางคืนจะมีการปล่อยโคมลอยขึ้นไปในท้องฟ้า โดยเชื่อกันว่าเปลวไฟในโคม
เป็นสัญลักษณ์ของความรู้และแสงสว่างที่ได้รับจากโคมจะส่งผลให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง
และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาด้วยนั่นเอง



ปัจจุบันประเพณียี่เป็งของชาวล้านนาที่เห็นปัจจุบัน  เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมที่รับเอามาจากถิ่นอื่น  
เข้ามาผสมกันจนแทบแยกไม่ออกโดยเฉพาะประเพณีลอยกระทง  ที่รับเอามาจากอาณาจักรสุโขทัย
ซึ่งมีดินแดนติดต่อกับอาณาจักรล้านนาในอดีต ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงประเพณียี่เป็งแล้ว
ทุกคนจะนึกถึงงานประเพณีลอยกระทง  การประกวดรถกระทงซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการท่องเที่ยวไป
แล้วในหลายจังหวัดของภาคเหนือ  และประเพณีการเผาเทียนเล่นไฟของจังหวัดสุโขทัย  
ซึ่งแทบจะเป็นสัญลักษณ์ของประเพณียี่เป็งไปแล้ว  จะมีใครสักกี่คนที่จะเข้าใจและรู้ลึกซึ้งถึงงานบุญยี่เป็ง
ที่ผู้เฒ่าผู้แก่  และชาวล้านนาสืบทอดกันจนมากระทั่งปัจจุบัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 31 ตุลาคม 2012, 22:12:19 โดย maekok_14 » IP : บันทึกการเข้า
WH_Y
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,222



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2012, 21:08:46 »

..สรียินดีเจ้าสำหรับข้อมูล ลอยกระทง..ใกล้เข้ามาติ๊กๆล่ะน่อเจ้า.. ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2012, 22:12:42 »

..สรียินดีเจ้าสำหรับข้อมูล ลอยกระทง..ใกล้เข้ามาติ๊กๆล่ะน่อเจ้า.. ยิ้มกว้างๆ

แม่ละครับ เซาะหากู่ลอยก่อนนิครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
คุณชายมากรัก
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 62



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2012, 09:28:38 »

โคมลอย ตะก่อนลอยเฉพาะวันยี่เป็งเพื่อเป๋นพุทธบูชา แต่บ่าเดี่ยวก็ลอยกั๋นไปเรื่อยเหียละ ไผใคร่ลอยก็ลอย     เศร้า เศร้า
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2012, 11:14:10 »

ลอยกระทงเศร้าทุกปี ร้องไห้ ร้องไห้ :'(บ่ามีกู่ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
Number9
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,759



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 07 พฤศจิกายน 2012, 13:55:57 »


สมัยก่อนจะปล่อยโกมลอยแก่นหลวงๆใหญ่ๆ ทำด้วยกระดาษว่าวปะต่อกั๋น
เป๋นโกมลอย เวลาจะปล่อยต้องจ่วยกั๋นหลายสิบคน บางคนก็วีควันไฟจากเต๋า
หื้อเข้าไปในโกมลอยนักๆ บางคนก็จ่วยกั๋นค้ำห่วงโกมลอยที่อยู่ด้านบนสุดไว้
มีไม้ค้ำอย่างน้อย 3 อันค้ำยันไว้ต๋อนรองรับควันไฟ เพื่อบ่หื้อมันยุบลงมาหรือ
ลอยไปก่อนที่ควันจะเต๋มโกมลอย ถ้าบ่เต๋มมันจะขึ้นบ่สูง บางทีโดนไฟหูบ
ก็ต้องจ่วยกั๋นดับ บางพ่องก็แห่ฆ้องแห่ก๋อง บางพ่องก็ฟ้อนเจิงตบมะผาบ
แวดโกมลอย ม่วนขนาด เปิ้นจะปล่อยโกมลอยในวัดเวลาก๋างวัน ต๋อนขวายๆ
พอกิ๋นข้าวงายแล้วตึงละอ่อน คนใหญ่ จะเตียวไปวัดกั๋น เพื่อไปผ่อและไปจ่วยกั๋น
ปล่อยโกมลอย บ่าเดี่ยวนี้บ่ค่อยหันแล้ว

IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 07 พฤศจิกายน 2012, 20:49:08 »


สมัยก่อนจะปล่อยโกมลอยแก่นหลวงๆใหญ่ๆ ทำด้วยกระดาษว่าวปะต่อกั๋น
เป๋นโกมลอย เวลาจะปล่อยต้องจ่วยกั๋นหลายสิบคน บางคนก็วีควันไฟจากเต๋า
หื้อเข้าไปในโกมลอยนักๆ บางคนก็จ่วยกั๋นค้ำห่วงโกมลอยที่อยู่ด้านบนสุดไว้
มีไม้ค้ำอย่างน้อย 3 อันค้ำยันไว้ต๋อนรองรับควันไฟ เพื่อบ่หื้อมันยุบลงมาหรือ
ลอยไปก่อนที่ควันจะเต๋มโกมลอย ถ้าบ่เต๋มมันจะขึ้นบ่สูง บางทีโดนไฟหูบ
ก็ต้องจ่วยกั๋นดับ บางพ่องก็แห่ฆ้องแห่ก๋อง บางพ่องก็ฟ้อนเจิงตบมะผาบ
แวดโกมลอย ม่วนขนาด เปิ้นจะปล่อยโกมลอยในวัดเวลาก๋างวัน ต๋อนขวายๆ
พอกิ๋นข้าวงายแล้วตึงละอ่อน คนใหญ่ จะเตียวไปวัดกั๋น เพื่อไปผ่อและไปจ่วยกั๋น
ปล่อยโกมลอย บ่าเดี่ยวนี้บ่ค่อยหันแล้ว



เกยไล่โตยโกมลอยก่อครับ
เป็นละอ่อนไล่โตยโกมลอย
มานึกถึงตอนนี้ สมัยเป็นละอ่อนหยังมาบ่าล๊วก 555+
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!