เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 16:12:31
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  เป็งปุ๊ด ความเป็นมาของการตักบาตรเที่ยงคืน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน เป็งปุ๊ด ความเป็นมาของการตักบาตรเที่ยงคืน  (อ่าน 4358 ครั้ง)
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« เมื่อ: วันที่ 30 ตุลาคม 2012, 00:29:50 »

พระอุปคุต อรหันต์ผู้พิชิตพญามาร ตำนานการตักบาตรเที่ยงคืน โดย พนมกร นันติ



ระอุปคุต อรหันต์ผู้พิชิตพญามาร
      
   เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  ได้จัดให้มีพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ที่ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่ง  นั่นคือพิธีมหาพุทธาภิเษกพระเจ้าล้านทองเฉลิมพระเกียรติ  
ซึ่งในพิธีสำคัญนี้เองที่ผู้เขียนได้เป็นคณะกรรมการดำเนินการ  และได้จัดให้มีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องที่สำคัญๆ หลายพิธี
เช่น การขึ้นท้าวทั้งสี่ พิธีอัญเชิญพระอุปคุต พิธีกวนข้าวทิพย์ และพิธีเบิกเนตรเป็นต้น  
ซึ่งในพิธีอันเป็นมหามงคลที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเช่นนี้  ตามประเพณีวัฒนธรรม
และคติความเชื่อของชาวล้านนา  จะต้องมีการอันเชิญพระอุปคุตมาสถิต ณ มณฑลพิธี  
เพื่อช่วยปกป้องคุ้มครองและรักษาพิธีให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
   แต่ก่อนที่จะไปถึงพิธีการอันเชิญพระอุปคุตนั้น  ผู้เขียนขออธิบายให้เกิดความกระจ่าง
และเพื่อเป็นการทำความเข้าใจร่วมกัน  ว่าพระอุปคุตนั้นคืออะไร  และมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนามากน้อยเพียงใด
   ตามตำนานกล่าวเอาไว้ว่าพระอุปคุตเถระนั้นเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร เมื่อบวชแล้วได้บำเพ็ญเพียร
จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ชื่อว่า  พระอรหันต์ขีณาสพ  เป็นผู้ที่มีอภิญญาภินิหารต่างๆ
จนสามารถแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย  และมีเรื่องเล่าขานกันว่า
ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่  ๒ หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ดับขันธ์ปรินิพพาน
ณ นครปาตลีบุตราชธานีแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ซึ่งมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ได้ทรงสร้างพระวิหารและพระสถูปมากมายทั่วทั้งชมพูทวีป เพื่อใช้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า  
โดยได้สร้างสถูปและเจดีย์ขึ้นถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ด้วยกัน เมื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว
พระองค์ก็ทรงปรารภที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมด เป็นการมโหฬารยิ่งใหญ่
ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน และเพื่อให้การฉลองสมโภช เป็นไปด้วยความเรียบร้อยปราศจากอุปสรรค
และการเข้ามารบกวนซึ่งหมู่มารทั้งปวง  พระองค์จึงได้อาราธนาพระอรหันต์ขีณาสพผู้ซึ่งทรงอิทธิฤทธิ์
มาเป็นผู้คุ้มครองงาน ให้ปราศจากการรบกวนจากมารร้ายต่างๆ เนื่องจากว่าพระสงฆ์ในนครปาตลีบุตร
ไม่มีรูปใดที่จะสามารถจะเป็นผู้คุ้มครองงานมหกรรมนั้นได้ โดยเฉพาะภัยจากพญาวัสสวดีมาร
ผู้มีฤทธิ์ยิ่งกว่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย  นอกเสียจากพระอุปคุตเถระผู้เดียวเท่านั้น พระสงฆ์ทั้งปวงจึงตั้งตัวแทน ๒ รูป
ลงไปอาราธนาพระอุปคุตเถระมาช่วยรักษาความปลอดภัย ซึ่งกล่าวกันว่าพระอุปคุตเถระองค์นี้
ปกติแล้วเป็นผู้ที่ชอบสันโดษอยู่องค์เดียว เข้าฌานสมาบัติเสวยวิมุตติสุข  ตามตำนานกล่าวว่าท่านเนรมิตเรือนแก้ว(กุฏิแก้ว)
ขึ้นในท้องทะเลหลวงหรือสะดือทะเล ซึ่งภายในปราสาทแก้วได้เนรมิตรัตนะบัลลังก์เป็นที่พำนัก
แล้วก็ลงไปอยู่ประจำที่กุฏิแก้วตลอดเวลา   พระอุปคุตเถระจะออกจากสมาบัติเหาะขึ้นมาบิณฑบาตในโลกมนุษย์
เฉพาะในวันพุธเพ็ญกลางเดือนเท่านั้น  ซึ่งวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธนี้เอง  ชาวล้านนาเรียกกันว่า “เป็งปุ๊ด”
ซึ่งมีประเพณีใส่บาตรพระอุปคุตตอนเที่ยงคืน  ซึ่งผู้เขียนจะได้นำมาอธิบายต่อไป



และในครั้งนี้เองที่พระอุปคุตเถระถูกพระภิกษุสองรูป ผู้ได้อภิญญาสมาบัติชำแรกมหาสมุทรลงมาถึงตัวท่าน
แล้วแจ้งต่อท่านว่า ให้ท่านจงเป็นธุระเพื่อคอยปกป้องกันพญาวัสสวดีเทพบุตรมาร อย่าให้รบกวนงานฉลองพระสถูปเจดีย์
ของพระเจ้าอโศกมหาราชที่จัดฉลองสมโภชในครั้งนี้ได้ และเมื่อพระอุปคุตเถระได้รับทราบความดังนั้นแล้ว
ท่านได้รับนิมนต์จากภิกษุทั้ง ๒  และได้เดินทางมานมัสการและรายงานตัวต่อคณะสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น
พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้เสด็จเข้ามานมัสการคณะสงฆ์เพื่อขอทราบเรื่อง ถึงผู้จะที่จะมาทำหน้าที่
รักษาความสงบเรียบร้อยของงานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ที่พระองค์ทรงตั้งพระทัยจัดขึ้น  
เมื่อพระองค์ทรงทราบว่าผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้ คือพระอุปคุตเถระก็ทรงนึกแคลงพระทัย
เนื่องจากพระอุปคุตเถระนั้นท่านมีร่างกายผ่ายผอมดูอ่อนแอ พระองค์ก็ทรงไม่แน่ใจและเกรงว่าพระอุปคุตเถระองค์นี้
จะทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ ครั้นวันรุ่งขึ้นขณะที่พระอุปคุตเถระออกบิณฑบาตนั้น
พระเจ้าอโศกมหาราชต้องการทดสอบฤทธิ์เดชพระเถระรูปนี้จึงทรงปล่อยช้างตกมันให้เข้าทำร้าย
พระมหาอุปคุตเถระเห็นดังนั้นจึงได้สะกดช้างที่กำลังวิ่งเข้ามาหาให้หยุดอยู่กับที่ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
ประดุจช้างที่สลักด้วยก้อนหิน  เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชเห็นดังนั้นก็ทรงเลื่อมใสศรัทธาพระอุปคุต  
จึงเสด็จไปขอขมาพระมหาอุปคุตเถระ  และท่านก็ให้อภัยทั้งแก่พระเจ้าอโศกมหาราช และพญาคชสารนั้น
   พระเจ้าอโศกมหาราชเมื่อเห็นว่าพระอุปคุตเถระ เป็นผู้มีฤทธิ์เดชเพียงนั้นพระองค์ก็ทรงวางพระทัย
และสั่งให้จัดเตรียมฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมดด้วยการปลูกสร้างโรงพิธี ประดับประดา
ให้มีความวิจิตรสวยงามด้วยธงทิวและประทีปโคมไฟตลอดระยะทางกึ่งโยชน์ ทำให้ตามแนวฝั่งแม่น้ำคงคา
สว่างไสวไปทั่วทั้งบริเวณ  เมื่อถึงฤกษ์งามยามดีตามที่กำหนดไว้พระอรหันต์ขีณาสพพร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งหมด
ตลอดจนพุทธศาสนิกชนที่หลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงานพร้อมเครื่องสักการบูชา
เพื่อร่วมพิธีฉลองสมโภช พระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในมหาเจดีย์และเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสี่พันองค์ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา



ในขณะเดียวกันที่มีการฉลองสมโภชอยู่นั้นพญาวัสสวดีเทพบุตรมาร ก็มุ่งหน้าเข้ามาในงาน
เพื่อหวังที่จะก่อความวุ่นวาย ต่างๆ นานา ทั้งบันดาลให้เกิดลมพายุ ทั้งแปลงร่างเป็นสัตว์ป่าและสัตว์ที่ดุร้ายต่างๆนาๆ
แต่ทุกครั้งก็ถูกพระอุปคุตเถระกำราบได้ทุกครั้งไป  สุดท้ายเพื่อให้พญาวัสสวดีเทพบุตรมารออกไปจากบริเวณพิธี  
พระอุปคุตเถระจึงเนรมิตร่างหมาเน่าขึ้นมาตัวหนึ่ง แล้วดึงเอาประคตจากเอวของท่านออกมาผูกร่างหมาเน่านั้น
คล้องคอพญาวัสสวดีเทพบุตรมารไว้ แล้วสำทับว่าไม่ว่าใครก็ตามนอกจากท่านเอง แล้วเอาหมาเน่านี้
ออกจากคอพญาวัสสวดีเทพบุตรมารไม่ได้ แล้วขับพญาวัสสวดีเทพบุตรมารออกไปจากบริเวณงานทันที
ด้วยความอับอายพญาวัสสวดีเทพบุตรมารก็ออกมาจากบริเวณงาน และพยายามแกะเอาซากหมาเน่าออก
ด้วยฤทธานุภาพทั้งหมดที่ตนมีอยู่  แต่ทำอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ได้เพราะเมื่อเอามือทั้งสองต้องสายประคตที่คล้องคอเมื่อได  
ต้องมีเหตุให้ไฟลุกขึ้นไหม้คอและมือทันทีทุกครั้ง  สุดที่พญาวัสสวดีเทพบุตรมารจะแก้ไขด้วยตนเอง  
จึงได้ไปขอความช่วยเหลือจากผู้ทรงฤทธิ์ตามที่ต่างๆ แต่ก็ไม่มีใครที่จะสารมารถช่วยเหลือได้
   ถึงแม้พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร จะไปขอให้พระอินทร์ ท้าวยามา ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมิตเทวราช
ตลอดจนท้าวสหัสบดีพรม ก็ไม่มีใครสามารถช่วยได้ ต่างได้แต่แนะนำให้พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร
ไปขอขมาพระอุปคุตเถระเสีย พญาวัสสวดีเทพบุตรมารเห็นดังนั้นจึงจำใจต้องกลับไปหาพระอุปคุตเถระ
เพื่อขอขมาและขอให้ท่านช่วยเอาซากหมาเน่าออกจากคอให้แล้วจะไม่มารบกวนการจัดงานอีก
พระอุปคุตเถระก็ให้ความเมตตาผ่อนปรนให้ แต่ท่านยัง
ไม่ไว้ใจพญาวัสสวดีเทพบุตรมาร เกรงว่าพญาวัสสวดีเทพบุตรมารจะกลับมาทำลายพิธีในภายหลัง
จึงเดินนำพญาวัสสวดีเทพบุตรมารไปยังเขาใหญ่ลูกหนึ่ง แล้วเอาซากหมาเน่าทิ้งลงเหวพร้อมทั้งเนรมิต
ให้สายประคตยาวขึ้น แล้วพันคอพญาวัสสวดีเทพบุตรมารไว้กับเขาลูกนั้น พร้อมทั้งแจ้งให้พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร
ทราบว่าเมื่อเสร็จพิธีฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์สิ้นสุดลงแล้วจึงจะมาแก้สายประคตออกให้
และปล่อยให้พญาวัสสวดีเทพบุตรมารเป็นอิสระต่อไป
   เมื่อเวลาการจัดงานสมโภชน์ผ่านไปตามที่ตกลงกันไว้และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี พระอุปคุตเถระ
จึงกลับมาหาพญาวัสสวดีเทพบุตรมารโดยแอบอยู่ห่างๆ เพื่อฟังเสียงพญาวัสสวดีเทพบุตรมารว่าละพยศร้ายหรือยัง
พญาวัสสวดีเทพบุตรมารเองเมื่อจากทิพยวิมานอันบรมสุขมารับทุกขเวทนาเช่นนี้เป็นเวลานานแล้ว
ก็ละพยศร้ายในสันดานหวนนึกถึงพระพุทธโคดม จึงกล่าวสดุดีในความเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้า
ในเรื่องที่ทรงมีมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ว่า “ทรงบำเพ็ญสิ่งอันเป็นที่สุดหามิได้เป็นที่พึ่งพำนัก
แก่สัตว์โลกทั้งมวลในกาลทุกเมื่อ พระองค์นั้น เป็นผู้ประเสริฐหาผู้เสมอเหมือนมิได้ อนึ่ง
ในกาลก่อนข้าพเจ้าได้ทำร้ายพระองค์โดยประการต่างๆ แต่พระองค์ก็ยังทรงมหากรุณาธิคุณ
มิได้กระทำการโต้ตอบแก่ข้าพเจ้าเลย มาบัดนี้สาวกของพระองค์นามว่าอุปคุตไม่มีเมตตาแก่ข้าพเจ้าเลย
กระทำกับข้าพเจ้าให้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส และได้รับความอับอายเป็นอย่างยิ่ง
ถ้าหากว่าข้ายังมีบุญกุศลที่ได้สั่งสมไว้แต่กาลก่อน ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูในอนาคต
ดังเช่นพระองค์ต่อไป”




กล่าวได้ว่าการตกระกำลำบากในครั้งนี้ทำให้พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร ซึ่งความจริงแล้วในอดีตชาติ  
เคยมีจิตตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญเพียรให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นกัน แต่ที่ได้กระทำการขัดขวางพุทธศาสดา
ของพระพุทธโคดมก็ด้วยความริษยาพระพุทธโคดม  เนื่องด้วยพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก่อนตน
ทั้งๆที่ตนบำเพ็ญบารมีมามากพอสมควรเหมือนกัน แต่การกระทำในแต่ละครั้งก็มิได้ล่วงเกินทำบาปหนักแต่ประการใด
เมื่อพระอุปคุตเถระได้ยินคำปรารภดังนั้น ก็เห็นว่าพญาวัสสวดีเทพบุตรมารสิ้นพยศแล้วจึงแก้สายรัดประคตออกให้
และปล่อยให้พญาวัสสวดีเทพบุตรมารเป็นอิสระ พร้อมทั้งขอขมาพญาวัสสวดีเทพบุตรมารและบอกว่า
การกระทำครั้งนี้ก็เพื่อให้พญาวัสสวดีเทพบุตรมารระลึกได้ถึงพุทธภูมิที่ท่านเคยปรารถนาไว้เท่านั้นเอง
มิได้มีเจตนาที่จะล่วงเกินประการใด ซึ่งพญาวัสสวดีเทพบุตรมารก็เข้าใจด้วยดี
ต่อจากนั้นพระอุปคุตเถระก็ได้ขอให้พญาวัสสวดีเทพบุตรมารเนรมิตกายเป็นพระพุทธองค์
เพื่อจะได้เห็นเป็นพุทธานุสติบ้าง ซึ่งพญาวัสสวดีเทพบุตรมารก็รับคำแต่ขอร้องว่า  
เมื่อเห็นเขาเนรมิตกายเป็นพระพุทธองค์แล้ว อย่าหลงกราบไหว้เป็นอันขาดเพราะจะให้เขาบาปหนัก
ครั้นเมื่อพญาวัสสวดีเทพบุตรมารเนรมิตกายเป็นพระพุทธเจ้า ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ
และฉัพพรรณรังสีอันวิจิตร มีพระอัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวา แวดล้อมด้วยมหาสาวกทั้งหลายเป็นบริวาร
เสด็จเยื้องย่างด้วยพุทธลีลาอันงดงามยิ่ง พระเถระและบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเช่นนั้น
ก็ลืมตัวพากันถวายนมัสการทำเอาพญาวัสสวดีเทพบุตรมารตกใจ รีบคืนร่างเดิมและท้วงติงว่าทำให้ตนมีบาปหนัก
แต่พระอุปคุตเถระก็กล่าวให้พญาวัสสวดีเทพบุตรมารสบายใจว่า ทุกคนกราบไหว้พระพุทธเจ้า
และพญาวัสสวดีเทพบุตรมารก็ไม่บาปหรอก แต่หากจะได้กุศลมากกว่า



ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นตำนานที่กล่าวถึงอภิญญาภินิหารของพระอุปคุตเถระ  
ที่มีการเล่าขานสืบต่อกันมากระทั่งปัจจุบัน และในตำนานหรือในพระไตรปฎก
ไม่ได้กล่าวถึงการละสังขารเข้าสู่นิพพานของพระอุปคุตเถระ  หรือพระอรหันต์ขีณาสพรูปนี้เลย  
จึงมรความเชื่อกันอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้ว่าพระอุปคุตเถระ  
ท่านยังคงเข้าฌานสมาบัติเสวยวิมุตติสุขอยู่ในเรือนแก้ว หรือกุฏิแก้ว  
ในท้องทะเลหลวงหรือสะดือทะเล เพื่อคอยช่วยเหลือโลกมนุษย์อยู่นั่นเองในคติ
ความเชื่อของชาวล้านนา เมื่อมีการฉลองสมโภช หรืองานทำบุญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา  
อาทิงานฉลองกุฏิ ศาลา วิหาร งานพุทธาภิเษก  ปอยหลวง
ชาวล้านนาจะมีพิธีอันเชิญพระอุปคุตเถระเพื่อมาสถิต ณ  
มณฑลพิธีที่จัดขึ้น เพื่อให้พระอุปคุตช่วยปกป้องคุ้มครอง
และรักษาความสงบเรียบร้อยของงานให้เกิดความราบรื่น
โดยตลอด  พิธีอันเชิญพระอุปคุตของชาวลานน้ามีพิธีที่
น่าสนใจดังนี้  การจัดงานฉลองสมโภชต่างๆที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างข้างต้น
ส่วนใหญ่แล้วชาวล้านนาจะกำหนดระยะเวลาของการจัดงานราว ๓-๔ วัน
วันแรกเรียกว่าตานตุง วันถัดมาเป็นวันดา วันที่ ๓ เป็นวันที่หัววัดต่างๆ มาร่วมทำบุญ  
และวันสุดท้ายเป็นวันถวายทาน  ซึ่งก่อนวันที่จะมีการตานตุงนั้น  ชาวล้านนาจะมีพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่  
หรือต๊าวตังสี่เพื่อบอกกล่าวเทวาอารักษ์และพระแม่ธรณีให้รับรู้รับทราบถึงงานบุญดังกล่าว  
หลังจากนั้นจะมีพิธีอันเชิญพระอุปคุตเพื่อมาสถิตยังมณฑลพิธี  ซึ่งชาวล้านนาจะสร้างหอพระอุปคุตขึ้น
ทำด้วยโครงไม้ไผ่สูงพอประมาณ  หุ้มด้วยจีวรพระลักษณะเป็นซุ้มเล็กๆ พอที่จะวางเครื่องนอนและอัฐบริขารได้  
หลังจากนั้นจะจัดเตรียมบุษบกและประดับประดาบุษบกให้มีความสวยงาม ซึ่งในสมัยก่อน
จะใช้คนหามหรือใช้เกวียนลาก แต่ปัจจุบันจะใช้รถยนต์แทนเนื่องจากมีความสะดวกมากกว่าตามยุคสมัย  
ภายในบุษบกจะมีพานสำหรับอัญเชิญพระอุปคุตหนึ่งใบ มีผ้าขาวหรือผ้าทองรองรับและประดับประดาให้สวยงาม  
บนรถบุษบกมีโต๊ะหมู่บูชาจำนวน ๑ ชุด พร้อมทั้งเครื่องสักการะต่างๆ อันประกอบไปด้วยแจกันดอกไม้
กระถางธูป-เชิงเทียน  และที่ขาดไม่ได้คือเครื่องอัฐบริขารซึ่งมีบาตร ผ้าไตร ๑ ชุด ตาลปัตร ขันข้าวตอก- ดอกไม้
เพื่ออันเชิญพระอุปคุต น้ำขมิ้นส้มป่อยและน้ำอบน้ำหอม



เมื่อทุกอย่างได้จัดเตรียมพร้อมแล้ว ก็เคลื่อนขบวนทั้งหมดซึ่งมีฆ้องกลองหรือมโหรีที่แต่ละหมู่บ้าน
แต่ละชุมชนพอจัดเตรียมให้  เพื่อเดินทางไปอันเชิญพระอุปคุตยังสถานที่ๆ กำหนดไว้  
ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานที่ในการไปอันเชิญพระอุปคุตนั้น  ชาวล้านนาจะไปอันเชิญพระอุปคุต
ที่แม่น้ำหรือลำห้วยที่มีน้ำไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา และเป็นแม่น้ำที่สะอาดบริสุทธิ์
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณต้นน้ำเช่นอุทยาน น้ำตก เพราะเป็นแหล่ง กำเนิดของสายน้ำ
และมีความสะอาดมากที่สุด  มูลเหตุที่ต้องไปอันเชิญพระอุปคุตที่แม่น้ำนั้นก็เนื่องด้วยตามตำนาน  
พระอุปคุตเถระท่านเนรมิตเรือนแก้วหรือกุฏิแก้ว ขึ้นในท้องทะเลหลวงหรือสะดือทะเล  
แต่เนื่องจากบริเวณอาณาจักรล้านนานั้นไม่มีแผ่นดินที่ติดกับทะเลเลย  
ดังนั้นชาวล้านนาจึงได้สมมติให้แม่น้ำสายใดสายหนึ่งเป็นสะดือทะเลแทน
ในพิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าล้านทองเฉลิมพระเกียรติฯ ผู้เขียนซึ่งเป็นคณะกรรมการดำเนินการจัดงาน  
และเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดพิธีอันเชิญพระอุปคุต  ได้เลือกเอาสถานที่สวนรุกขชาติน้ำตกโป่งพระบาท
เป็นสถานที่ในการไปอันเชิญพระอุปคุต  เนื่องจากเป็นแหล่งต้นน้ำและมีความเป็นธรรมชาติมากที่สุดนั่นเอง
การเลือกเอาสถานที่ใดสานที่หนึ่งเป็นสถานที่ๆ จะประกอบพิธีอันเชิญพระอุปคุตนั้น  
เจ้าของงานหรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องออกไปสำรวจเพื่อเตรียมความเรียบร้อยก่อน  
ซึ่งดูว่าสถานที่นั้นสะดวกและมีพื้นที่พอที่จะรองรับผู้คนได้หรือไม่  
และสะดวกที่จะลงไปอันเชิญพระอุปคุตกลางแม่น้ำนั้นหรือไม่  
เพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคระหว่างการอันเชิญพระอุปคุต  ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดการติดขัดและการจัดงานจะไม่ราบรื่น
เมื่อได้เวลาอันสมควรและทุกอย่างพร้อมแล้ว  พิธีอันเชิญพระอุปคุตก็จะเริ่มต้นจากปู่อาจารย์
หรือพ่อหนานของชาวล้านนา  จะทำหน้าที่กล่าวโองการอัญเชิญพระอุปคุต ณ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ  
โดยในคำกล่าวอัญเชิญจะบอกด้วยว่าผู้เป็นประธานในการจัดงานหรือผู้ที่เป็นประธานมาอันเชิญนั้นเป็นใคร  
และอัญเชิญไปในงานอะไรเป็นต้น  ขณะเดียวกันในแม่น้ำก็จะมีเจ้าหน้าที่คอยอยู่แล้ว
เพื่อเตรียมอันเชิญพระอุปคุตขึ้นมา  โดยในน้ำนั้นจะเลือกเอาที่ไม่ลึกและพอที่ให้เจ้าหน้าที่ลงไปยืนได้  
เมื่อพ่อหนานอ่านโองการจบก็จะบอกให้เจ้าหน้าที่ที่ลงไปคอยอยู่นั้นงมเอาก้อนกินขึ้นมาก้อนหนึ่ง  
ซึ่งเคล็ดในการงมเอาก้อนหินซึ่งสมมติแทนองค์พระอุปคุตนี้  จะงมเอาก้อนหินขึ้นมา ๓ ครั้งด้วยกัน  
ครั้งแรกและครั้งที่ ๒ ผู้ที่งมก้อนหินขึ้นมาจะชูก้อนหินที่งมได้ขึ้นเพื่อให้พ่อหนานดูว่าใช่หรือไม่
ซึ่ง ๒ ครั้งแรกที่นำขึ้นมานั้นถือว่ายังถือว่าไม่ใช่  จนกระทั่งครั้งที่ ๓ ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่งมเอาก้อนหินขึ้นมา
ต้องรู้จักเลือกเอาก้อนที่มีลักษณะกลมสวยงาม  ไม่มีรอยร้าว  ไม่แตกบิ่นหรือมีรอยตำหนิ  ล้างให้สะอาด  
จากนั้นชูให้พ่อหนานดูเมื่อพ่อหนานหรือผู้ประกอบพิธีบอกว่าใช่  ขณะนี้วงดนตรี  
ฆ้อง-กลองที่เตรียมไปจะเริ่มบรรเลง    ผู้คนจะโห่ร้องไชโยเพื่อแสดงความชื่นชมยินดีและเสมือนหนึ่งเป็น
การถวายการต้อนรับพระอุปคุตด้วย  เมื่อได้ก้อนหินสมมติองค์พระอุปคุตแล้วก็เชิญใส่พานที่เตรียมไว้  
มอบให้ผู้เป็นประธานซึ่งอาจเป็นพระสงฆ์หรือคฤหัสถ์ก็ได้  ประพรมด้วยน้ำขมิ้นส้มป่อย น้ำอบน้ำหอมต่างๆ
และเชิญขึ้นบุษบก  เพื่อเคลื่อนขบวนแห่มายังมณฑลพิธีอันเป็นในการประกอบการฉลองสมโภชนั้นๆ ต่อไป  
ขณะที่เคลื่อนขบวนมานั้นวงมโหรีหรือวงดนตรีจะประโคมนำหน้ารถบุษบกมาโดยตลอด



เมื่อมาถึงยังสถานที่ประกอบพิธีแล้ว  ผู้เป็นประธานจะอันเชิญพระอุปคุตขึ้นประดิษฐานบนซุ้มที่จัดเตรียมไว้  
หลังจากนั้นจะมีการจุดธูป-เทียน เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และถวายเครื่องอัฐบริขารต่างๆ
ถือว่าเสร็จสิ้นพิธีการอันเชิญพระอุปคุต  บางแห่งเมื่อขบวนอันเชิญพระอุปคุตมาถึงสถานที่หรือมณฑลพิธี  
จะมีชาวล้านหรือผู้เฒ่าผู้แก่ ออกมาฟ้อนรำเพื่อเป็นการสักการบูชาด้วย
เมื่อเสร็จสิ้นการฉลองสมโภชแล้ว  วันสุดท้ายของงานพ่อหนานผู้ประกอบพิธีคนเดิม
จะนำชาวบ้านมาอันเชิญพระอุปคุต  เริ่มจากการสวดมนต์ไหว้พระ  และอัญเชิญพระอุปคุตขึ้นบุษบก
พร้อมอัฐบริขารต่างๆ   และมีวงดนตรีหรือวงมโหรีเหมือนเช่นเคยที่ไปอันเชิญมา  
เพื่อส่งพระอุปคุตกลับยังสถานที่เดิมที่เชิญมานั้น  จึงถือว่าเป็นการเสร็จสิ้นพิธีการทั้งหมด
      มีประเด็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับการตักบาตรพระอุปคุต ตามที่ผู้เขียนได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า  
พระอุปคุตเถระจะออกจากสมาบัติเหาะขึ้นมาบิณฑบาตในโลกมนุษย์ เฉพาะในวันพุธเพ็ญกลางเดือนเท่านั้น      
ซึ่งวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธนี้เองที่ชาว
ล้านนาเรียกกันว่า “เป็งปุ๊ด” ซึ่งมีประเพณีใส่บาตรพระอุปคุตตอนเที่ยงคืน  
ซึ่งยังมีปรากฏให้เห็นอยู่ในหลายจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน  
การได้ตักบาตรเที่ยงคืนหรือตักบาตรเป็งปุ๊ดนี้ชาวล้านนาถือว่าได้อานิสงสูงมาก
และประเพณีนี้ยังคงได้รับการสืบถอดมาถึงปัจจุบัน ผู้เขียนได้มีโอกาสไปใส่บาตรเที่ยงคืนเป็นประจำ  
ซึ่งในปีหนึ่งๆ จะมีเหตุการณ์เป็งปุ๊ด  หรือเพ็ญที่ตรงกับคืนวันพุธเพียง ๒ ครั้งเท่านั้น  
ในจังหวัดเชียงรายพระสงฆ์ในเขตตัวเมืองจะออกมารับบาตรในคืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ
ช่วงเวลาประมาณ ๔-๕ ทุ่มเรื่อยไป  จนกระทั่งเลยเข้าสู่วันใหม่ที่เป็นวันพุธ หรือวันเป็งปุ๊ดนั่นเอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 30 ตุลาคม 2012, 00:38:31 โดย maekok_14 » IP : บันทึกการเข้า
สบายแมน
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,485



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 30 ตุลาคม 2012, 16:31:31 »

ชอบครับที่บ้านพระจะเดินมาบิณฑบาตรตอนเที่ยงคืนเลยครับ ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
samurai_ฅนเมือง
VIP
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,120



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2012, 20:43:46 »

ที่จะถึงนี่ วันที่หยังคับ จะได้เตรี่ยมตัว.
IP : บันทึกการเข้า

หลายคนเรียนไม่จบแต่พบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นคนใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง ปัญญาไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยแต่อยู่ในจิตใจที่ใฝ่รู้
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2012, 21:11:51 »

ถ้าอู้ในเชิงประวัติศาสตร์
"ก๋ารนับถือพระอุปคุต" (เซิ่งเป๋นตี้มาของตักบาตรเป็งปุ๊ด)
อันหนี้คนล้านนาฮับวัฒนธรรมพม่ามาครับ (พม่าฮับลุกมอญมาแหมกำ)

มีหลายอย่างในล้านนาตี้ฮับของพม่ามา เจ่น
จารีตก๋ารปั้นสิงห์ในวัด แก๋งฮังเล

ในภาษาล้านนาหลายกำก็เอาลุกภาษาพม่ามา เจ่น
กำว่า สล่า ปอย
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 02 พฤศจิกายน 2012, 00:17:46 »

ถ้าอู้ในเชิงประวัติศาสตร์
"ก๋ารนับถือพระอุปคุต" (เซิ่งเป๋นตี้มาของตักบาตรเป็งปุ๊ด)
อันหนี้คนล้านนาฮับวัฒนธรรมพม่ามาครับ (พม่าฮับลุกมอญมาแหมกำ)

มีหลายอย่างในล้านนาตี้ฮับของพม่ามา เจ่น
จารีตก๋ารปั้นสิงห์ในวัด แก๋งฮังเล

ในภาษาล้านนาหลายกำก็เอาลุกภาษาพม่ามา เจ่น
กำว่า สล่า ปอย


แม่นแล้ว เพราะล้านนาเคยตกอยู่ภายใต้ปกครองของพม่า
จึงมีความกลมกลืนทางวัฒนธรรม และแห๋มอย่าง
ดินแดนทั้ง 2 มีความใกล้ชิดกันทางเชื้อสายของผู้ครองนครในอดีต
โดยการสมรสข้ามราชวงศ์ในล้านนาและไทยใหญ่ จึงมีการผสมกลมกลืนของวัฒนธรรม
IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 02 พฤศจิกายน 2012, 20:54:58 »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
ปีนี้เดือนพฤศจิกายน ผ่อปฏิทินแล้ว
ตั๊ดวันลอยกระทงพอดี(วันพุธ ที่ 28 พ.ย.55 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน12 )
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
Kontae_ki
อนาคต..เราสร้างเองได้
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 399


ลูกชาวนา 100%


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 02 พฤศจิกายน 2012, 21:05:52 »



ขอบคุณที่แบ่งปัน
IP : บันทึกการเข้า

maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 04 พฤศจิกายน 2012, 23:03:43 »



ขอบคุณที่แบ่งปัน

ยินดีครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
สบายแมน
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,485



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 06 พฤศจิกายน 2012, 12:38:50 »

ถ้าอู้ในเชิงประวัติศาสตร์
"ก๋ารนับถือพระอุปคุต" (เซิ่งเป๋นตี้มาของตักบาตรเป็งปุ๊ด)
อันหนี้คนล้านนาฮับวัฒนธรรมพม่ามาครับ (พม่าฮับลุกมอญมาแหมกำ)

มีหลายอย่างในล้านนาตี้ฮับของพม่ามา เจ่น
จารีตก๋ารปั้นสิงห์ในวัด แก๋งฮังเล

ในภาษาล้านนาหลายกำก็เอาลุกภาษาพม่ามา เจ่น
กำว่า สล่า ปอย


ผมเกยได้ยินมาว่า ตำนานการสร้างวัดพระอุปคุตตี้เจียงใหม่เปิ้นเล่าว่า สมัยต่ะก่อนมีสองผัวเมียเป็นพ่อก้า ตี๋สี่จะต้องลุกมาหาบของไปขายตี้กาดครับ ซึ่งฐานะก็ค่อยข้างยากจ๋น มีอยู่วันหนึ่งในหน้าหนาว สองผัวเมียก่อต้องลุกมาเพื่อจะเอาของไปขายตี้กาด ฝ่ายผัวก็ได้อู้ขึ้นว่าเฮานี้หยังมาตุ๊ก หนาวก่อหนาวต้องได้ลุกเจ๊าอดเอาเน้อสูซักวันเฮาถ้าจะได้สบายกับเปิ้นพ้อง ว่าแล้วสองผัวเมียก่อหาบเอาของไปขายตี้กาด ก๋างตางได้ป๊ะพระหน้อยเตียวบิณฑบาตร ก่อเกิดความเลื่อมใสศรัทธาว่าพระน้อยยังลุกเจ๊ามาบิณฑบาตร ได้ สองผัวเมียก่อได้เอาของกิ๋นตี้จะเอาไปกิ๋นตี้กาดใส่บาตรพระหน้อย จากนันก่อได้เตียวไปกาดต่อ แต่ฝ่าผัวเอ๊ะใจว่าพระหน้อยลุกตางใดมายังบ่าเกยหันซักเตื้อ เลยปิ๊กไปผ่อก็ได้หันว่าพระหน้อยได้หายไปยังตี้เก้าไม้ฮิมน้ำแห่งหนึ่งฝ่ายผัวก่อได้มาบอกฮื้อเมีย นับจากนั้นมาสองผัวเมียก็บังเกิดความมั่งคั่ง เจริญก้าวหน้า ฮิมาก๊าขึ้น ร่ำรวย เป๋นตี้ฮือฮาแก่คนในล่ะแวกนั้นและเจื่อว่าพระตี้สองผัวเมียนั้นป๊ะเป๋นพระอุปคุต ตะแหล๋งมาโผดซึ่งวันนั้นเป๋นม่ะเจ๊าของคืนเดือนเป็งวันปุ๊ดนั้นเอง จึ๋งได้สร้างวัดเอาไว้ตี้พระหน้อยนั้นหายไปและตั้งจื่อว่าวัดพระอุปคุต จากตำนานนี้ทำฮื้อจาวเจียงใหม่ นั้นนิยมไปตักบาตรพระอุปคุตกั๋นเพราะเจื่อว่าถ้าหากได้ใสบาตรกับพระอุปคุตแล้วจะได้อานิสงฆ์แฮง จะได้อยู่สุขสบายเหมือนเศรษฐี ซึ่งใจ้ว่าจะเป๋นก้าคนเจียงใหม่คนในล้านนาเฮาก่อเจื้อ แม้แต่จาวไตใหญ่ยังลงทุนข้ามมาเจียงใหม่เพื่อตี้จะมาใส่บาตรพระอุปคุตทีวัดพระอุปคุตเลยเน้อครับ วัยรุ่นเจียงใหม่บ่าเดี่ยวนี้ก็นิยมใส่บาตรพระอุปคุตเหมือนกั๋นครับ เป๋นต๋ำนานตี้เอามาเล่าสู่กั๋นครับผม....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 พฤศจิกายน 2012, 12:43:52 โดย สบายแมน » IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 06 พฤศจิกายน 2012, 19:44:47 »

ถ้าอู้ในเชิงประวัติศาสตร์
"ก๋ารนับถือพระอุปคุต" (เซิ่งเป๋นตี้มาของตักบาตรเป็งปุ๊ด)
อันหนี้คนล้านนาฮับวัฒนธรรมพม่ามาครับ (พม่าฮับลุกมอญมาแหมกำ)

มีหลายอย่างในล้านนาตี้ฮับของพม่ามา เจ่น
จารีตก๋ารปั้นสิงห์ในวัด แก๋งฮังเล

ในภาษาล้านนาหลายกำก็เอาลุกภาษาพม่ามา เจ่น
กำว่า สล่า ปอย


ผมเกยได้ยินมาว่า ตำนานการสร้างวัดพระอุปคุตตี้เจียงใหม่เปิ้นเล่าว่า สมัยต่ะก่อนมีสองผัวเมียเป็นพ่อก้า ตี๋สี่จะต้องลุกมาหาบของไปขายตี้กาดครับ ซึ่งฐานะก็ค่อยข้างยากจ๋น มีอยู่วันหนึ่งในหน้าหนาว สองผัวเมียก่อต้องลุกมาเพื่อจะเอาของไปขายตี้กาด ฝ่ายผัวก็ได้อู้ขึ้นว่าเฮานี้หยังมาตุ๊ก หนาวก่อหนาวต้องได้ลุกเจ๊าอดเอาเน้อสูซักวันเฮาถ้าจะได้สบายกับเปิ้นพ้อง ว่าแล้วสองผัวเมียก่อหาบเอาของไปขายตี้กาด ก๋างตางได้ป๊ะพระหน้อยเตียวบิณฑบาตร ก่อเกิดความเลื่อมใสศรัทธาว่าพระน้อยยังลุกเจ๊ามาบิณฑบาตร ได้ สองผัวเมียก่อได้เอาของกิ๋นตี้จะเอาไปกิ๋นตี้กาดใส่บาตรพระหน้อย จากนันก่อได้เตียวไปกาดต่อ แต่ฝ่าผัวเอ๊ะใจว่าพระหน้อยลุกตางใดมายังบ่าเกยหันซักเตื้อ เลยปิ๊กไปผ่อก็ได้หันว่าพระหน้อยได้หายไปยังตี้เก้าไม้ฮิมน้ำแห่งหนึ่งฝ่ายผัวก่อได้มาบอกฮื้อเมีย นับจากนั้นมาสองผัวเมียก็บังเกิดความมั่งคั่ง เจริญก้าวหน้า ฮิมาก๊าขึ้น ร่ำรวย เป๋นตี้ฮือฮาแก่คนในล่ะแวกนั้นและเจื่อว่าพระตี้สองผัวเมียนั้นป๊ะเป๋นพระอุปคุต ตะแหล๋งมาโผดซึ่งวันนั้นเป๋นม่ะเจ๊าของคืนเดือนเป็งวันปุ๊ดนั้นเอง จึ๋งได้สร้างวัดเอาไว้ตี้พระหน้อยนั้นหายไปและตั้งจื่อว่าวัดพระอุปคุต จากตำนานนี้ทำฮื้อจาวเจียงใหม่ นั้นนิยมไปตักบาตรพระอุปคุตกั๋นเพราะเจื่อว่าถ้าหากได้ใสบาตรกับพระอุปคุตแล้วจะได้อานิสงฆ์แฮง จะได้อยู่สุขสบายเหมือนเศรษฐี ซึ่งใจ้ว่าจะเป๋นก้าคนเจียงใหม่คนในล้านนาเฮาก่อเจื้อ แม้แต่จาวไตใหญ่ยังลงทุนข้ามมาเจียงใหม่เพื่อตี้จะมาใส่บาตรพระอุปคุตทีวัดพระอุปคุตเลยเน้อครับ วัยรุ่นเจียงใหม่บ่าเดี่ยวนี้ก็นิยมใส่บาตรพระอุปคุตเหมือนกั๋นครับ เป๋นต๋ำนานตี้เอามาเล่าสู่กั๋นครับผม....

+1
IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 06 พฤศจิกายน 2012, 19:50:43 »

ถ้าอู้ในเชิงประวัติศาสตร์
"ก๋ารนับถือพระอุปคุต" (เซิ่งเป๋นตี้มาของตักบาตรเป็งปุ๊ด)
อันหนี้คนล้านนาฮับวัฒนธรรมพม่ามาครับ (พม่าฮับลุกมอญมาแหมกำ)

มีหลายอย่างในล้านนาตี้ฮับของพม่ามา เจ่น
จารีตก๋ารปั้นสิงห์ในวัด แก๋งฮังเล

ในภาษาล้านนาหลายกำก็เอาลุกภาษาพม่ามา เจ่น
กำว่า สล่า ปอย


ผมเกยได้ยินมาว่า ตำนานการสร้างวัดพระอุปคุตตี้เจียงใหม่เปิ้นเล่าว่า สมัยต่ะก่อนมีสองผัวเมียเป็นพ่อก้า ตี๋สี่จะต้องลุกมาหาบของไปขายตี้กาดครับ ซึ่งฐานะก็ค่อยข้างยากจ๋น มีอยู่วันหนึ่งในหน้าหนาว สองผัวเมียก่อต้องลุกมาเพื่อจะเอาของไปขายตี้กาด ฝ่ายผัวก็ได้อู้ขึ้นว่าเฮานี้หยังมาตุ๊ก หนาวก่อหนาวต้องได้ลุกเจ๊าอดเอาเน้อสูซักวันเฮาถ้าจะได้สบายกับเปิ้นพ้อง ว่าแล้วสองผัวเมียก่อหาบเอาของไปขายตี้กาด ก๋างตางได้ป๊ะพระหน้อยเตียวบิณฑบาตร ก่อเกิดความเลื่อมใสศรัทธาว่าพระน้อยยังลุกเจ๊ามาบิณฑบาตร ได้ สองผัวเมียก่อได้เอาของกิ๋นตี้จะเอาไปกิ๋นตี้กาดใส่บาตรพระหน้อย จากนันก่อได้เตียวไปกาดต่อ แต่ฝ่าผัวเอ๊ะใจว่าพระหน้อยลุกตางใดมายังบ่าเกยหันซักเตื้อ เลยปิ๊กไปผ่อก็ได้หันว่าพระหน้อยได้หายไปยังตี้เก้าไม้ฮิมน้ำแห่งหนึ่งฝ่ายผัวก่อได้มาบอกฮื้อเมีย นับจากนั้นมาสองผัวเมียก็บังเกิดความมั่งคั่ง เจริญก้าวหน้า ฮิมาก๊าขึ้น ร่ำรวย เป๋นตี้ฮือฮาแก่คนในล่ะแวกนั้นและเจื่อว่าพระตี้สองผัวเมียนั้นป๊ะเป๋นพระอุปคุต ตะแหล๋งมาโผดซึ่งวันนั้นเป๋นม่ะเจ๊าของคืนเดือนเป็งวันปุ๊ดนั้นเอง จึ๋งได้สร้างวัดเอาไว้ตี้พระหน้อยนั้นหายไปและตั้งจื่อว่าวัดพระอุปคุต จากตำนานนี้ทำฮื้อจาวเจียงใหม่ นั้นนิยมไปตักบาตรพระอุปคุตกั๋นเพราะเจื่อว่าถ้าหากได้ใสบาตรกับพระอุปคุตแล้วจะได้อานิสงฆ์แฮง จะได้อยู่สุขสบายเหมือนเศรษฐี ซึ่งใจ้ว่าจะเป๋นก้าคนเจียงใหม่คนในล้านนาเฮาก่อเจื้อ แม้แต่จาวไตใหญ่ยังลงทุนข้ามมาเจียงใหม่เพื่อตี้จะมาใส่บาตรพระอุปคุตทีวัดพระอุปคุตเลยเน้อครับ วัยรุ่นเจียงใหม่บ่าเดี่ยวนี้ก็นิยมใส่บาตรพระอุปคุตเหมือนกั๋นครับ เป๋นต๋ำนานตี้เอามาเล่าสู่กั๋นครับผม....
+1 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
สบายแมน
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,485



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 07 พฤศจิกายน 2012, 08:15:22 »

แอ๊........ พิมพ์มาจ๊าดยาวได้สองบาทต๊ะอั้นหน่ะ ยิงฟันยิ้ม
อันนี้ท่านกรเปิ้นอู้ดี สายใต้เหมือนกั๋น ปีนี้จะเซ๊าะใส่บาตรพระอุปคุตซักกำเม๊าะ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 07 พฤศจิกายน 2012, 20:50:14 »

แอ๊........ พิมพ์มาจ๊าดยาวได้สองบาทต๊ะอั้นหน่ะ ยิงฟันยิ้ม
อันนี้ท่านกรเปิ้นอู้ดี สายใต้เหมือนกั๋น ปีนี้จะเซ๊าะใส่บาตรพระอุปคุตซักกำเม๊าะ ยิงฟันยิ้ม

2 บาท นี่ได้ปันหนึ่งละหน้าครับ ถ้าบ่อหัก %
555+
IP : บันทึกการเข้า
sripoom
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 463


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 07 พฤศจิกายน 2012, 21:24:19 »

ขอถาม...ตักบาตรเป็งปุ๊ด  เพราะสงสัยในเวลา

ผมเข้าใจเองว่า เที่ยงคืนวันพุธ คือ เวลา24.00 น ของวันพุธที่ล่วงเลยไปเช้าวันพฤหัส
แต่ที่ทุกคน(ยกเว้นผม) จะตักบาตร เที่ยงคืนวันอังคารล่วงมาถึงเช้าวันพุธ

ที่ผมเข้าใจแบบนี้เพราะ โบราณไทยจะนับทั้งคืนหลังวันพุธ เป็นคืนวันพุธ ซึ่งเรียกว่า ราหู(พุธกลางคืน)   ... คนเมืองการนับการเกิดของคนเฒ่าก็นับแบบนี้

    ผมจึงสงสัยว่า ทำไมประเพณีดั้งเดิมของคนเมือง ที่ตักบาตรเที่ยงคืนจึงใช้เวลาปฏิทินสากล ที่ใช้เที่ยงคืนของวันอังคาร หรืิอ 00.00 น วันพุธ

    ผมขอโทษที่สงสัย  ครับ

   
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 08 พฤศจิกายน 2012, 10:28:57 »

ขอถาม...ตักบาตรเป็งปุ๊ด  เพราะสงสัยในเวลา

ผมเข้าใจเองว่า เที่ยงคืนวันพุธ คือ เวลา24.00 น ของวันพุธที่ล่วงเลยไปเช้าวันพฤหัส
แต่ที่ทุกคน(ยกเว้นผม) จะตักบาตร เที่ยงคืนวันอังคารล่วงมาถึงเช้าวันพุธ

ที่ผมเข้าใจแบบนี้เพราะ โบราณไทยจะนับทั้งคืนหลังวันพุธ เป็นคืนวันพุธ ซึ่งเรียกว่า ราหู(พุธกลางคืน)   ... คนเมืองการนับการเกิดของคนเฒ่าก็นับแบบนี้

    ผมจึงสงสัยว่า ทำไมประเพณีดั้งเดิมของคนเมือง ที่ตักบาตรเที่ยงคืนจึงใช้เวลาปฏิทินสากล ที่ใช้เที่ยงคืนของวันอังคาร หรืิอ 00.00 น วันพุธ

    ผมขอโทษที่สงสัย  ครับ

    

ไม่ได้นับปีปฏิทินสากลครับ  แต่ถือตามประเพณีว่า
พระอุปคุตจะเสด็จขึ้นมายังโลกมนุษ ในวันพระขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ
นั่นก็คือวันที่เริ่มย่างเข้าสู่วันพุธ ก็คือหลังเที่ยงคืนวันอังคาร
เริ่มตั้งแต่เวลา 00.00 หลังเที่ยงคืนของวันอังคารเป็นต้นไป

IP : บันทึกการเข้า
สบายแมน
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,485



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 08 พฤศจิกายน 2012, 16:21:23 »

ขอถาม...ตักบาตรเป็งปุ๊ด  เพราะสงสัยในเวลา

ผมเข้าใจเองว่า เที่ยงคืนวันพุธ คือ เวลา24.00 น ของวันพุธที่ล่วงเลยไปเช้าวันพฤหัส
แต่ที่ทุกคน(ยกเว้นผม) จะตักบาตร เที่ยงคืนวันอังคารล่วงมาถึงเช้าวันพุธ

ที่ผมเข้าใจแบบนี้เพราะ โบราณไทยจะนับทั้งคืนหลังวันพุธ เป็นคืนวันพุธ ซึ่งเรียกว่า ราหู(พุธกลางคืน)   ... คนเมืองการนับการเกิดของคนเฒ่าก็นับแบบนี้

    ผมจึงสงสัยว่า ทำไมประเพณีดั้งเดิมของคนเมือง ที่ตักบาตรเที่ยงคืนจึงใช้เวลาปฏิทินสากล ที่ใช้เที่ยงคืนของวันอังคาร หรืิอ 00.00 น วันพุธ

    ผมขอโทษที่สงสัย  ครับ

    

ไม่ได้นับปีปฏิทินสากลครับ  แต่ถือตามประเพณีว่า
พระอุปคุตจะเสด็จขึ้นมายังโลกมนุษ ในวันพระขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ
นั่นก็คือวันที่เริ่มย่างเข้าสู่วันพุธ ก็คือหลังเที่ยงคืนวันอังคาร
เริ่มตั้งแต่เวลา 00.00 หลังเที่ยงคืนของวันอังคารเป็นต้นไป



ใช่แล้วครับ พระอรรหันต์บิณบาตร เช่าแรกของวันศีล
IP : บันทึกการเข้า
oOMuSicOo
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 762



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 11 พฤศจิกายน 2012, 02:32:13 »

ขอโทษนะครับผมถามด้วยความสงสัยว่าทำไม พระอุปคุตถึงต้องแหงนหน้าด้วยครับ
(ไม่ได้ลบหลู่นะครับถามด้วยความสงสัยจริงๆ ด้วยความเคารพ)
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 11 พฤศจิกายน 2012, 17:09:55 »

ขอโทษนะครับผมถามด้วยความสงสัยว่าทำไม พระอุปคุตถึงต้องแหงนหน้าด้วยครับ
(ไม่ได้ลบหลู่นะครับถามด้วยความสงสัยจริงๆ ด้วยความเคารพ)

สงสัยมีคนเอิ้นเปิ้นก้า 555+

อู้เล่นบ่าดายเน้อ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 11 พฤศจิกายน 2012, 17:11:32 »

ขอโทษนะครับผมถามด้วยความสงสัยว่าทำไม พระอุปคุตถึงต้องแหงนหน้าด้วยครับ
(ไม่ได้ลบหลู่นะครับถามด้วยความสงสัยจริงๆ ด้วยความเคารพ)

สงสัยมีคนเอิ้นเปิ้นก้า 555+

อู้เล่นบ่าดายเน้อ



พระอุปคุตหรือพระอรหันต์ขีณาสพ  เป็นพระอรหันต์ที่ทรงฤทธานุภาพครับ
ที่เราเห็นว่ารูปปั้นพระอุปคุตจกบาตร แหงนหน้านั้น หมายถึง
การที่พระอุปคุตเงยหน้าขึ้นหยุดพระอาทิตย์ ขณะที่กำลังฉันข้าว
แสดงให้เห็นถึงอานุภาพว่า แม้พระอาทิตย์จะยิ่งใหญ่ปานใด
ก็ยังต้องสยบและหยุดอยู่ภายใต้อานุภาพท่านครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 11 พฤศจิกายน 2012, 19:59:52 »

แอ๊........ พิมพ์มาจ๊าดยาวได้สองบาทต๊ะอั้นหน่ะ ยิงฟันยิ้ม
อันนี้ท่านกรเปิ้นอู้ดี สายใต้เหมือนกั๋น ปีนี้จะเซ๊าะใส่บาตรพระอุปคุตซักกำเม๊าะ ยิงฟันยิ้ม
ปีนี้ตั๊ดลอยกระทงผมว่าใส่บาตรไปหลบพลุไป ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!