เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 24 เมษายน 2024, 23:34:37
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ต๋านก๋วยสลาก
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ต๋านก๋วยสลาก  (อ่าน 4056 ครั้ง)
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« เมื่อ: วันที่ 17 ตุลาคม 2012, 23:14:47 »

ตานก๋วยสลาก

ประเพณี “ตานก๋วยสลาก” หมายถึง ประเพณีถวายทานสลากภัตร เป็นวิธีการถวายเครื่องไทยทานแก่พระพระสงฆ์วิธีหนึ่งอันเป็นที่นิยมของชาวเหนือ ประเพณีตานก๋วยสลากนี้มีชื่อที่เรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่นของชาวภาคเหนือ  บ้างเรียกกิ๋นข้าวสลาก  บ้างเรียกงานตานก๋วยสลาก  บ้างเรียกตานสลาก  หรือบางแห่งเรียกงานสลากภัตรเป็นต้น ซึ่งประเพณีนี้โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มทำกันในช่วงวันเพ็ญ เดือน ๑๒ เหนือหรือราวเดือนกันยายน ถึงแรม ๑ ค่ำ เดือนเกี๋ยงดับหรือราวเดือนพฤศจิกายนนั่นเอง
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเป็นประเพณีตานก๋วยสลากนี้มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลว่านานมาแล้วได้มีนางยักษิณีตนหนึ่งมักจะเบียดเบียนผู้คนอยู่เสมอครั้นได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนางก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธานิสัยใจคอที่โหดร้ายก็กลับเป็นผู้เอื้ออารีแก่คนทั่วไป ซึ่งนางยักษิณีตนนี้เป็นผู้ที่รู้ฤกษ์ยามเป็นอันดี ปีไหนฝนดีนางก็บอกให้ชาวเมืองทำนาในที่ดอน ปีไหนฝนฟ้าไม่ดีไม่ตกต้องตามฤดูกาลนางก็บอกให้ชาวเมืองทำนาทำไร่ในที่ลุ่ม ชาวเมืองจึงได้อาศัยนางยักษิณีเป็นผู้พยากรณ์ และแนะนำในการทำนาปลูกข้าวและทำมาหากินมาโดยตลอด  จนผู้คนต่างพากันซาบซึ้งในน้ำใจและบุญคุณของนางยักษ์ตนนั้น  จึงได้พากันนำข้าวของต่างๆ  มาแบ่งปันให้นางเป็นจำนวนมากแต่เนื่องจากข้าวของที่ได้รับนั้นมีจำนวนมาก นางยักษิณีจึงนำสิ่งของเหล่านั้นไปถวายแก่พระสงฆ์ โดยการจับสลากด้วยหลักอุปโลกนกรรม คือสิ่งของที่ถวายมีทั้งของมีราคามากและมีราคาน้อยแตกต่างกันไป ดังนั้นพระสงฆ์จะทำการจับสลากเพื่อรับของที่นางยักษ์นำมาถวายตามแต่โชคของผู้ได้รับ การถวายแบบจับสลากของนางยักษิณีจึงนับเป็นครั้งแรกของประเพณีทำบุญสลากภัตในพุทธศาสนาสืบมา และประเพณีตานก๋วยสลากนี้ก็ยังได้รับการรักษาและสืบสานจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง  เป็นมรดกของชาวล้านนาที่ยึดถือปฏิบัติกันมากระทั่งปัจจุบัน
คำว่า “ก๋วย” แปลว่า ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ รูปร่างลักษณะเหมือนกับตะกร้าหรือชะลอมใส่ผลไม้ของภาคกลาง การตานก๋วยสลากจึงหมายถึงการถวายทานด้วยวิธีการจับสลากเครื่องไทยทานที่บรรจุมาในก๋วยหรือชะลอม ซึ่งวัตถุประสงค์แห่งการตานก๋วยสลากนี้มีจุอยู่ ๒ ประการด้วยกันกล่าวคือ หนึ่งเพื่อเป็นการอุทิศให้เทพยดาและญาติพี่น้องผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และอีกอย่างหนึ่งเป็นการอุทิศไว้ให้ตนเองเมื่อล่วงลับไปในภายหน้า เพื่อเป็นการสร้างบารมีและกุศลกรรม การถวายก๋วยสลากถือกันว่าจะได้อานิสงส์มาก เพราะเป็นการทำบุญแบบสังฆทานผู้ถวายไม่ได้เจาะจงตัวผู้รับว่าจะเป็นพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดรูปหนึ่ง ประเพณีตานก๋วยสลากนั้นมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีชื่อและความหมายที่แตกต่างกันออกไปซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๓ ประเภทดังนี้



สลากน้อย เป็นการตานก๋วยสลากสลากเฉพาะวัดเท่านั้น ซึ่งเป็นการทำบุญเพื่อถวายทานไปให้กับผู้ที่ล่วงลับ ซึ่งไม่เพียงแต่ญาติพี่น้องเท่านั้น อาจจะเป็นเพื่อนสนิทมิตรสหาย  เจ้ากรรมนายเวร หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เราเคยรักและมีคุณต่อเราเมื่อครั้งยังมีชีวิตเช่นสุนัข ช้าง ม้า วัว ควาย และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ เป็นต้น
สลากหลวง เป็นการตานก๋วยสลากที่ค่อนข้างเป็นงานบุญใหญ่  และมักนิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่น ๆ มาร่วมพิธีด้วย  ซึ่งพระสงฆ์ที่นิมนต์มานี้มีคำเฉพาะของชาวล้านนาว่า “ตุ๊เจ้าหัววัด” และในสลากหลวงนี้ชาวบ้านนิยมทำก๋วยสลากขนาดใหญ่เป็นพิเศษ  ด้านในจะบรรจุข้าวของถวายเป็นมหากุศลสำหรับคนที่มีกำลังศรัทธา ก๋วยสลากที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สลากโชค” นั่นเอง
สลากพระอินทร์ เป็นการตานก๋วยสลากที่ทำขึ้นเมื่อฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพื่อถวายกุศลแด่พระอินทร์ และเทพยดาต่าง ๆ เพื่อเป็นการขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลนั่นเอง
ประเพณีตานก๋วยสลากนี้จัดขึ้นทั่วไปในจังหวัดภาคเหนือแทบทุกจังหวัด แต่ละแห่งแต่ละวัดก็จะมีจุดเด่นของพิธีกรรมและรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปจุดเด่นที่สุดของพิธีกรรมนี้จะอยู่ที่คัวตาน ที่จัดเป็นคัวตานกลางถวายแก่วัด ซึ่งอาจมีการจัดขบวนแห่คัวตานให้สวยงามและยิ่งใหญ่ด้วยขบวนฟ้อนรำต่าง ๆ  (คัว หมายถึงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อันจำเป็นแก่พระสงฆ์ ส่วนคำว่า ตาน  หมายถึงการนำไปถวายทาน คัวตานในที่นี้จึงหมายถึงการนำเอาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ไปถวายพระนั่นเอง)
ประเพณีตานก๋วยสลากส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน มีเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้นที่แตกต่างกันออกไปบ้าง การตานก๋วยสลากนิยมจัดช่วงหลังการออกพรรษา ประเพณีตานก๋วยสลากบางหมู่บ้านจะจัดให้มีขึ้นเป็นประเพณีทุกปี บางหมู่บ้านอาจจัดเว้นปี หรือ ๒ ปี ๓ ปีบ้าง ตามแต่ความพร้อมของแต่ละหมู่บ้าน  ซึ่งการงานตานก๋วยสลากแต่ละครั้งต้องอาศัยความร่วมมือ ความสามัคคีของคนในชุมชน รวมทั้งปัจจัยต่างๆ เป็นจำนวนมาก การตานก๋วยสลากจึงเป็นสิ่งสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจของชุมชน และความสามัคคีของชาวบ้านได้เป็นอย่างดีด้วย
ในงานตานก๋วยสลากนั้นก่อนวันงานหนึ่งวันเราเรียกว่าวันดา ซึ่งเป็นวันเตรียมงาน ผู้ชายจะช่วยกันสานก๋วยไว้สำหรับใส่ข้าวของต่างๆ ที่จะนำไปทำบุญ ส่วนฝ่ายหญิงก็จะจัดเตรียมเครื่องไทยทานที่จะบรรจุลงในก๋วยสลาก อาทิ ข้าวสาร พริก หอม กระเทียม เกลือ อาหาร  ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ  ตามแต่ศรัทธา  นอกจากนั้นจะมีการห่อข้าวต้มหรือขนม(ส่วนมากจะเป็นขนมเทียน) เพื่อบรรจุลงในก๋วยสลากส่วนหนึ่ง  ไว้เลี้ยงต้อนรับเพื่อนบ้านที่มาร่วมทำบุญด้วยส่วนหนึ่ง ญาติมิตรที่มาร่วมทำบุญนี้อาจจะมาจากต่างหมู่บ้านเรียกว่า “มาฮอมครัว” นอกจานั้นในแต่ละก๋วยจะมียอดซึ่งหมายถึงปัจจัยตามแต่ศรัทธาของแต่ละบ้านปักไว้ด้วย ที่สำคัญก็คือเจ้าของก๋วยจะต้องเขียนชื่อของตนและคำอุทิศไว้ในใบลานหรือกระดาษเล็ก ๆ เรียกว่า “เส้นสลาก” เมื่อได้เวลาชาวบ้านจะนำเส้นสลากนี้ไปรวมกันไว้ที่วัดแล้วแบ่งถวายพระภิกษุสามเณรไปโดยไม่เจาะจง จากนั้นจึงจะมีผู้ขานชื่อในเส้นสลากแต่ละเส้นดัง ๆ เจ้าของก็จะนำเอาก๋วยของตนไปถวายพระภิกษุหรือสามเณรตามสลากนั้น ๆ พระจะอ่านข้อความในเส้นสลาก และกล่าวอนุโมทนาและให้พรต่อไป



หลังจากที่การเตรียมก๋วยสลากหรือที่เรียกว่าการดาสลากพร้อมเสร็จแล้ว  เมื่อถึงวันที่กำหนดชาวบ้านเจ้าของกัณฑ์สลาก จะจัดขบวนแห่เครื่องไทยทานเข้าวัดโดยขบวนแห่จะประกอบด้วยต้นสลาก ขบวนรถก๋วยสลาก แต่ละขบวนแห่จะมีการฟ้อนรำของศรัทธาชาวบ้านซึ่งจะมากันเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า ศรัทธาของหมู่บ้านทั้งหมู่บ้านที่จัดประเพณีนี้ขึ้น และศรัทธาหมู่บ้านอื่นที่มาร่วมงาน โดยมีการจับจองสถานที่บริเวณต่างๆ ภายในวัดเป็นที่ตั้งก๋วยสลากของตน   ปัจจุบันการแห่สลากไม่ค่อยมีให้เห็นกันแล้ว  จะมีก็เฉพาะการแห่คัวตานเท่านั้น  ส่วนก๋วยสลากนิยมนำไปตั้งไว้ที่วัดตามที่ได้จับจองกันตั้งแต่ช่วงเช้าแทน จากนั้นแต่ละคนจะทำเส้นสลาก      ในสมัยก่อนเส้นสลากทำจากใบตาลหรือใบลาน แล้วเขียนข้อความอุทิศส่วนบุญส่วนกุศไปให้ผู้ที่ล่วงลับและเทวดาทั้งหลายตามความประสงค์ของแต่ละคน และเส้นสลากจะมีการทำเครื่องหมายที่แตกต่างกันออกไป  ปัจจุบันเส้นสลากนิยมพิมพ์ด้วยกระดาษกว้างราว ๒ นิ้ว ยาวประมาณ ๑๒ นิ้ว  บนเส้นสลากมักนิยมพิมพ์ข้อความว่า  
“สลากข้าวซองนี้ หมายมีผู้ข้า นาย.....นางสาว..... ขอทานไว้กับตนตัวภายหน้า” อันหมายถึง ขอทำบุญไว้กับตนเอง และอีกข้อความคือ “ผู้ข้า..........ขอทานไว้แก่ นาง.....  ขอหื้อเป็นสุขเป็นสุขเถิด”
อันหมายถึงมอบการบุญนี้เป็นอานิสงส์แด่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ตามที่มีนามปรากฏบนเส้นสลากเป็นต้น พร้อมกับจะระบุตำแหน่งที่ตนนั่งหรือจับจองไว้ว่าอยู่บริเวณใดของวัด  เพื่อ ให้พระสงฆ์ที่ได้รับสลากนั้นไปหาได้ง่ายขึ้นและนำเส้นสลากไปกองรวมกันยังที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิหารหน้าพระประธาน กรรมการจะจัดแบ่งสลากออกเป็นกอง ๆ ตามจำนวนที่ พระภิกษุ สามเณร ที่นิมนต์มาร่วมพิธีและจัดแบ่งให้พระประธานด้วย ถือว่าเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ถ้ามีสลากจำนวนมากพระภิกษุจะได้รับ ๑๕-๒๐ เส้น สามเณรได้ ๑๐-๑๕เส้น บ้าง  แต่บางแห่งอาจจะลดหลั่นกันไปตามจำนวน เส้นที่เหลือสมทบถวายพระประธานหรือที่เรียกว่าสลากเข้าวัดนั่นเอง เมื่อเสร็จจากการแบ่งเส้นสลากแล้วคณะกรรมการจะนำเส้นสลากที่แบ่งแล้วจำนวน ๑ มัด ไปประเคนพระผู้อาวุโส ซึ่งเป็นประธานในพิธี ต่อจากนั้นกรรมการจึงนำเส้นสลากไปถวายพระเณรตามลำดับ เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาจบแล้ว ชาวบ้านต่างแยกย้ายกันไปนั่ง ณ ที่จัดไว้ให้ชาวบ้านเจ้าของกัณฑ์สลากต่างพากันตามหาเส้นสลากของตนที่อยู่ในมือของพระภิกษุสามเณร เมื่อพบแล้วพระภิกษุสามเณรอ่านเส้นสลากแล้วจึงถวายของ เมื่อรับพรเสร็จรับเส้นสลากของตนไปเผา แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปหาผู้ที่ตายเป็นเสร็จพิธี
ประเพณีตานก๋วยสลากได้ปรับเปลี่ยนไปจากเดิมพอสมควร  เนื่องจากสภาพสังคม เศรษฐกิจ บางบ้านที่ไม่มีเวลามานั่งเฝ้าก๋วยสลากของตน  ก็จำนำเอาก๋วยสลากนั้นมายกถวายวัดในช่วงเช้าแทน  โดยที่ไม่ต้องเขียนเส้นสลากของตาเองไปรวมกับคนอื่น  บางครอบครัวที่มีฐานะดีและต้องการทำสลากโชค ก็จัดแต่งก๋วยสลากของตนให้มีขนาดใหญ่รวมทั้งปัจจัยที่ถวายพระด้วย  แต่ก็ไม่ได้เขียนเส้นสลากไปรวมกับส่วนกลางเหมือนกัน  แต่จะนิมนพระหรือสามเณรที่มาจากวัดอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลและไม่ค่อยมีคนไปทำบุญมาเป็นผู้รับสลากนั้นแทน  ซึ่งถือว่าเป็นโชคของพระสงฆ์หรือสามเณรรูปนั้นนั่นเอง



สำหรับหรับก๋วยสลากที่เหลือทั้งหมดที่ไม่มีพระสงฆ์ไปรับ  หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าก๋วยที่ไม่ออกสลาก  ซึ่งก็เป็นก๋วยสลากที่ถวายแก่พระพุทธหรือก๋วยสลากที่เข้าวัด  ชาวบ้านจะนำขึ้นไปรวมกันไว้บนวิหารหน้าพระประธาน  และนิมนต์พระสงฆ์ผู้เป็นเจ้าอาวาสมาเป็นผู้รับถวายทานและให้พรรวมกันทั้งหมด  ซึ่งปัจจัยที่ได้จากสลากนี้คณะกรรมการจะนำเข้าไปสมทบกองทุนของวัดเพื่อไว้ใช้ในการทำนุบำรุงเสนาสนะและเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ของวัด  ส่วนไทยทานและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ทางวัดจะนำมาจัดสรรให้พระลูกวัดตามจำนวนต่อไป
ปัจจุบันชาวล้านนายังคงมีการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีกิ๋นข้าวสลาก  หรืองานตานก๋วยสลากนี้อยู่  แต่รูปแบบของก๋วยสลากและข้าวของเครื่องใช้ไทยทานต่างๆ นั้น  มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและยุคสมัย  ซึ่งจะนำเอาข้าวของที่จำเป็นที่เท่านั้นที่นำมาถวายพระ  ส่วนหมากเมี่ยงและบุหรี่ตามประเพณีล้านนานั้นจะลดน้อยลงไปมากเกือบจะไม่มีให้เห็นแล้ว  ส่วนภาชนะที่เห็นสานด้วยไม้ไผ่ก็เปลี่ยนเป็นถังน้ำพลาสติกบ้าง กระติกน้ำบ้างซึ่งนำมาใช้ประโยชน์และหาซื้อได้ง่ายกว่าในปัจจุบัน
ก๋วยสลากของแท้และดั้งเดิมของชาวล้านนานั้น มีความพิเศษกว่าที่เห็นกันในปัจจุบัน โดยชาวบ้านนั้นจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกกล่าวคือ นำไม้ไผ่สูงตามต้องการทำเป็นเสาสลากของต้นกัลปพฤกษ์  จากนั้นนำไม้ไผ่เหลาเป็นวงกลมทำเป็นชั้น ๆ อาจเป็น ๓ ชั้น , ๕ ชั้น , ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้นก็ได้ตามความต้องการ แต่ส่วนมากนิยมทำเป็น ๙ ชั้น เนื่องจากเชื่อกันว่าจะมี

ความเจริญก้าวหน้าและเป็นมงคล  และนำกระดาษว่าวสีต่าง ๆ มาตัดและพันรอบเสาและชั้นของต้นกัลปพฤกษ์ให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น  บางแห่งกัณฑ์สลากทำเป็นหุ่นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ขนาดใกล้เคียงของจริงทำด้วยหุ่นโครงไม้ไผ่หุ้มด้วยผ้า ทาสีสันให้เหมือนสัตว์จริงก็มี  ในแต่ละชั้นก็นำเครื่องไทยทานมาผูกติดให้ ในปัจจุบันจะนิยมใส่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป วุ้นเส้น ปลากระป๋อง ถ้วย จาน ชาม ขันน้ำ ขนม แปรงฟัน ยาสีฟัน กระดาษชำระ ผงซักฟอก สบู่ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนูและเครื่องใช้อื่นๆ มากมาย  มาผูกติดขึ้นไปจากชั้นแรกจนถึงชั้นที่ ๘ ส่วนชั้นที่ ๙ จะนำผ้าสบงมาผูกไว้
ที่พิเศษไปกว่านั้น ในชั้นแรกสุดจะนำเอาเหรียญมาห่อด้วยกระดาษเงินกระดาษทอง  ผูกติดไว้ลักษณะคล้ายเฟื่องหรือตุ้งติ้ง  ส่วนชั้นบนสุดหรือส่วนยอดนั้นจะนำเอาธนบัตรชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยมาปักไว้

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 31 ตุลาคม 2012, 07:54:02 โดย maekok_14 » IP : บันทึกการเข้า
samurai_ฅนเมือง
VIP
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,120



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 18 ตุลาคม 2012, 20:46:54 »

 ยิงฟันยิ้ม กดถูกใจ
IP : บันทึกการเข้า

หลายคนเรียนไม่จบแต่พบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นคนใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง ปัญญาไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยแต่อยู่ในจิตใจที่ใฝ่รู้
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 18 ตุลาคม 2012, 21:13:30 »

ยิงฟันยิ้ม กดถูกใจ

1 กำลังใจ 555+
IP : บันทึกการเข้า
WH_Y
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,222



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 18 ตุลาคม 2012, 22:21:03 »

..ยินดีเจ้าสำหรับข้อมูลก๋านตานก๋วยสลากเจ้า.. ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
Jampolo
สมาชิกลงทะเบียน
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 363


คิดดี ทำดี ไม่มีโกง ซื่อตรง โปร่งใส


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 18 ตุลาคม 2012, 22:35:45 »

เส้นใหญ่ก็ได้ก๋วยใหญ๋ เส้นน้อยก็ได้ก๋วยขี้ปุ๋ม...
IP : บันทึกการเข้า

เกษม สิงห์แก้ว (Face เกษม สิงห์แก้ว)
 ต.ดงเจน อ.ภูกามยาว จ.พะเยา 56000
โทร. 086-1979660
HARLEY DAVIDSON
BIKER
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,537


HARLEY DAVIDSON & MERCEDES BENZ


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 20 ตุลาคม 2012, 00:33:58 »

น้ำคุสังกะสี สวดยอดแล้วครับ ตุ้เจ้า  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ขาดแคลนเงินตรา  แต่งชุดนักศึกษามาหาพี่
สุขใดไหนจะเท่า เมื่อล้วงกระเป๋าแล้วเจอตังค์
nicky629
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,881



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2012, 07:52:14 »

ปาดโท๊ะ บ่าเดี่ยวนี้ก๋วยขี้ปุ๋ม เอาใบซาวเป๋นยอดก่อนเน่อ ตะ่ก่อนมีปูลี 2 เบ้าแปมเหียกับเต่าอั้น นะ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
เวียงเก่า
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 280



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2012, 09:31:52 »

ถือว่าเป็นงานบุญหนึ่งที่ตื่นเต้นดีครับ คอยลุ้นว่าเส้นเราจะออกก่อ  ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ผลมันไม่ออกมาตามที่คาดหวัง จะมานั่งเสียใจไปทำไม เมื่อได้พยายามทำเหตุให้ดีที่สุดแล้ว
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2012, 14:24:00 »

กิ๋นข้าวสลากสมัยตะก่อนกับมะเ๋ด๋วต่างกั๋นเยอะคับ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2012, 23:40:58 »

ปาดโท๊ะ บ่าเดี่ยวนี้ก๋วยขี้ปุ๋ม เอาใบซาวเป๋นยอดก่อนเน่อ ตะ่ก่อนมีปูลี 2 เบ้าแปมเหียกับเต่าอั้น นะ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

555+ อันนี้ก๋วยน้อย
IP : บันทึกการเข้า
Kontae_ki
อนาคต..เราสร้างเองได้
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 399


ลูกชาวนา 100%


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 02 พฤศจิกายน 2012, 21:14:29 »



ได้ความรู้ดี  ช่วงนี้ก็เริ่มตานก๋วยสลากกันพอดีเลย

ขอบคุณ จขกท.
IP : บันทึกการเข้า

b'ngo-nga
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,709


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 02 พฤศจิกายน 2012, 23:22:31 »

ขอบคุณเจ้าของกระทู้เจ้า  ได้ความฮู้  ดีขนาดเจ้า
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 04 พฤศจิกายน 2012, 23:03:19 »

ด้วยความยินดีครับ
IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 05 พฤศจิกายน 2012, 21:04:24 »

ไปฮอมคัว
ฮากจ๋นเอาน้ำถุ้งตักน้ำหล่อหัวเลยครับงานนี้
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
nansom
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 461



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 05 พฤศจิกายน 2012, 22:40:09 »

เส้นตานหาควายแม่ว้อง ควายหงาน หายไปแล้วเนาะ เพราะต๋อนนี้บ่ได้ใช้แฮงวัวควาย
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!