เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 เมษายน 2024, 11:48:56
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ปัญหาถ่านหินในเชียงราย(แม่จัน)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ปัญหาถ่านหินในเชียงราย(แม่จัน)  (อ่าน 1801 ครั้ง)
thaicha
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 665



« เมื่อ: วันที่ 23 สิงหาคม 2010, 21:40:57 »

เชียงรายชี้ขนถ่านหินพม่าไปสระบุรีกระทบหนัก รวมตัวแจงเหตุไม่เอายื่นจังหวัด/เอกชนสัมปทาน
PostDateIcon Mon, 2010-07-19 10:49 | PostAuthorIcon aorchmai

เชียงรายชี้ขนถ่านหินพม่าไปสระบุรีกระทบหนัก

รวมตัวแจงเหตุไม่เอายื่นจังหวัด/เอกชนสัมปทาน

 

 

คนเชียงรายรวมตัวถกรายละเอียด การเตรียมขนถ่านหินลิกไนต์จากพม่าเข้าไทยผ่านเชียงรายไปสระบุรี   ชี้ตัดถนนใหม่ผ่านหมู่บ้านเทอดไทยกระทบหนัก  5 ตำบลในอำเภอแม่ฟ้าหลวงประสานเสียงไม่เอา   เผยโครงการต้องส่งรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมพฤศจิกายนนี้ แต่เข้าพื้นที่แจงแต่ผลดีของการตัดถนน  สรุปความเห็นไม่ต้องการส่งจังหวัดและบริษัทสระบุรีถ่านหิน

 

                เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2553 ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ชาวบ้าน 5 ตำบลในอำเภอแม่ฟ้าหลวง นักธุรกิจ นักพัฒนา นักวิชาการ  ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนได้ร่วมกันประชุมเรื่อง “การขนส่งถ่านหินของบริษัทสระบุรีถ่านหิน”  

 

                                                    

 

                  รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และประธานอำนวยการมหาวิทยาลัย  กล่าวว่าเนื่องจากชาวบ้านแม่สะลอง ม.14 ต.ป่าซาง อ.แม่จัน จงเชียงราย ได้ทำหนังสือถึงมหาวิทยาลัยช่วยประสานงานกรณีบริษัทสระบุรีถ่านหินจะมี โครงการขนส่งถ่านหินจากประเทศพม่าเข้ามาทางหมู่บ้านม้งเก้าหลัง  มาผ่าน ต.เทอดไท ต. แม่สะลองใน และพักกองถ่านหินไว้ที่ ต. ป่าซาง จากนั้นขนส่งต่อมายัง อ. แม่จัน เข้าสู่ถนนพหลโยธิน  ก่อนขนส่งไปยังจังหวัดสระบุรี จึงได้เชิญฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาแสดงความคิดเห็นถึงท่าที่ของชุมชน เพื่อจะได้สรุปให้ทางราชการได้รับทราบ

นายพินิจ  หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย  กล่าวว่า ปี 2551 บริษัทสระบุรีถ่านหิน ทำเรื่องผ่านกระทรวงมหาดไทยไปยังสภาความมั่นคง ขอเปิดจุดผ่านแดนในการขนส่งถ่านหินในพม่า ได้ 2 แปลง คือที่เมืองกก และอีกแปลงอยู่ติด อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี   โดยจะขอเปิดช่องนำเข้าที่ตะโกปิดทอง จ.ราชบุรี และที่บ้านม้งเก้าหลัง จ.เชียงราย     โดยที่จังหวัดราชบุรีพิจารณาแล้วพบว่าเป็นจุดที่สูงชันมาก  และเป็นทางเดินเท้า ซึ่งไม่เหมาะสม  หากจะนำยานพาหนะขนเข้ามาจะต้องตัดเขาให้ต่ำ ก็จะเกิดผลกระทบสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม  และด้านเขตแดนที่จะขาดความชัดเจน เลยมีความเห็นว่าไม่เหมาะสม และเสนอแนะอีกช่องถัดไปอีก 4 กม.ที่เรียกว่า ตะโกบน

                  กรณีจังหวัดเชียงราย จากเมืองกกมาชายแดน เส้นทางวิ่งรถก็ต้องวิ่งมาหาเส้นทางหมายเลข 1 หน้ามหาวิทยาลัยแม่หฟ้าหลวง  เพราะเป็นทางหลวงหลักเชื่อมกรุงเทพเส้นทางเดียว ขณะที่เส้นทางเชื่อมมาเป็นเส้นทางสายเล็ก   อย่างไรก็ตามประเด็นของช่องทางเข้า ยังคงเป็นเพียงหลักการ เพราะผู้เกี่ยวข้องยังต้องศึกษาความเป็นไปได้   อยู่ระหว่างดำเนินการ ปรับพิจารณา  ดังนั้นช่องทางจะไม่ตายตัวว่าจะเป็นจุดใด  แต่อยู่ที่ความเหมาะสมภายใต้หลักการคือให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด  ทางหลวงชนบทยังไม่ดำเนินการขอใช้พื้นที่  รวมทั้งบริษัทยังไม่ถึงเงื่อนไขต้องขนส่งถ่านหิน เพราะกำหนดเวลาไว้ในปี 2555   ส่วนการจะขนส่งถ่านหินเข้ามาสะพานแม่สายแห่งที่ 2 จ.ท่าขี้เหล็กนั้น  มีความเห็นมาาจากบริษัทสระบุรีถ่านหินว่ารัฐบาลพม่าไม่อนุญาต    

รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายแสดงความเห็นส่วนตัวถึงทางเลือกการจัดการว่า เส้นทางที่จะเข้าบ้านม้งเก้าหลังผ่านชุมชนมาก  สภาพถนนเล็กและเป็นทางภูเขา ไม่สะดวกต่อการขนส่งจึงไม่น่าจะเหมาะสม และหากขนส่งออกมาได้น้อยก็จะต้องมีพื้นที่กองถ่านหิน  ดังนั้นทางเลือกของการจัดการคือเส้นทางเข้าผ่านบ้านม้งเก้าหลังเป็นชุมชนมาก สภาพถนนเล็กและเป็นภูเขา ไม่สะดวกต่อรถขนส่ง  ดังนั้นไม่น่าจะเหมาะสม

“ที่ ราชบุรีมีโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ กำลังผลิตเท่ากับแม่เมาะ มีประสบการณ์ได้รับผลกระทบจากกองถ่านหินมาก ดังนั้นกระบวนการขนย้ายถ้าต้องดำเนินการ บริษัทก็ต้องชี้แจงอยู่แล้ว ไม่นับกรณีรถสิบล้อที่ต้องขนส่ง ความเห็นของผมคือไม่เหมาะ เพราะถนนไม่ได้สร้างเพื่อรับรถบรรทุกขนาดใหญ่”

รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายกล่าวว่า ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นเวลาสิ้นสุดของการเสนอผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการก่อสร้างถนนนี้ ความเห็นของจังหวัดเชียงรายที่เคยเสนอไปก่อนหน้านี้คือจะต้องเสนอทางเลือก ด้วย และจังหวัดได้เสนอเรื่องการเข้าทางสะพานแม่สายที่ 2 เพราะมีโครงสร้างรองรับแล้ว  ส่วน ความเห็นโดยรวมของจังหวัดนั้นสอดรับกับแนวทางของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ ให้ความเห็นว่าผู้ประกอบการไทยนำทรัพยากรต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศเป็น เรื่องดี แต่วิธีการจะนำเข้ามาเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

 

                                    

 

                นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจกล่าวว่า  สิ่งที่เราควรจะทำคือต้องศึกษาเพิ่มเติมและเสนอให้มีทางเลือง  ในเชิงเศรษฐกิจตนเห็นด้วยต่อกรณีของพลังงานที่เราต้องการนำเข้ามาจากต่างประเทศ แต่กระบวนการก็จะต้องศึกษาก่อน   หากในพื้นที่จะมีการขนส่ง  ก็จะเกิดการบริการที่ได้ทั้งแง่บวกและลบที่จะเป็นจะต้องศึกษา ไม่ใช่เพียงศึกษาแค่จะให้เกิดโครงการ   ที่ ผ่านมามีความพยายามตั้งโรงไฟฟ้าบริเวณที่มีแหล่งถ่านหิน และเอาโรงไฟฟ้าข้ามไป เช่นที่ท่าขี้เหล็ก แต่ไปไม่ได้ โรงไฟฟ้าก็ยังเก็บอยู่ในโกดังที่กรุงเทพก็มีอยู่   ขณะนี้สิ่งที่น่าห่วงคือเส้นทาง เพราะไม่ใช่เพียงแค่เส้นทางในบริเวณพื้นที่ แต่จะผ่านตัวเมืองเชียงรายด้วย   ปริมาณรถบรรทุกที่เพิ่มขึ้น  ความสะดวกย่อมลดลง  และมีผลกระทบสุขภาพ  ดังนั้นการนำถ่านหินมากอง ก็ต้องนำเรื่อง HIA การประเมินผลกระทบสุขภาพของชุมชนเข้ามาพิจารณาร่วมด้วย  ส่วนด้านความมั่นคง ความกังวลเรื่องยาเสพติด ธุรกิจสีเทาจากการจะมีช่องทางใหม่ที่ควบคุมยากก็ต้องช่วยกันดูต่อไปอีกด้วย  

 

                นายสมพงษ์  เขมวงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไท  กล่าวว่าเส้นทางการขนส่งถ่านหินที่เข้ามาในหมู่บ้านเทอดไท จะกระทบชีวิตชาวบ้าน  เช่นทุกวันนี้ขับรถขนส่งจากดอย เดินทางเข้าเมืองใช้เวลาในระดับหนึ่ง แต่หากมีการขนส่งถ่านหินโดยรถบรรทุกที่จะต้องวิ่งรถ 25 กม.ต่อชั่วโมง หลายร้อยคัน  ย่อมทำให้การขนส่งของชาวบ้านเปลี่ยนแปลง ขนสินค้าจากดอยลงมาก็ได้วันเที่ยวเดียว จากวันละ 2 เที่ยวเท่านั้น นอกจากนั้น ในพื้นที่อบต.เทอดไทยและอำเภอแม่ฟ้าหลวง วางยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาไว้คือด้านการท่องเที่ยว  เพราะในพื้นที่มีบ้านขุนส่า มีชาชื่อดัง และกำลังจะพัฒนามุ่งตลาดจีน  หาก มีการขนส่งถ่านหินย่อมได้รับผลกระทบ ที่สำคัญได้ไปศึกษากรณีเหมืองลิกไนต์ที่อ.แม่เมาะ จ.ลำปางพบว่าชาวบ้านที่นั่นต้องการย้ายออกทั้งหมดและบอกว่าหากเลือกได้จะไม่ ให้มีเหมือง แต่วันนี้สายไปเสียแล้ว และยังไปได้ดูพื้นที่เหมืองทองที่จ.พิจิตร พบว่าวัด โรงเรียน บ้านเรือนถูกปล่อยทิ้งร้างต้องย้ายออกเพราะทำเหมือง  

                                        

 

                นายสมพงษ์  ยังกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ  เป็นเพียงลักษณะการชี้แจงการทำโครงการโดยบริษัทเทคนิคสิ่งแวดล้อมเท่านั้นและพูดเพียงข้อดีเท่านั้น  ซึ่ง จากการประชาคมหมู่บ้าน สภาอบต.คัดค้านการทำถนนเข้ามา ดังนั้นเห็นว่าจังหวัดยังไม่น่าจะสรุปความเป็นใด น่าจะได้สอบถามชาวบ้านและคนในชุมชนก่อนด้วย

 

                นางรุจิรา ใจจักร  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สะลองในกล่าวว่า  มีความพยายามเข้าพื้นที่กรณีสร้างถนนมานานหลายปีแล้ว  และ ข้อสรุปคือให้ไปประชาคมชาวบ้านทุกหมู่บ้านในเส้นทางการจะสร้างถนน แต่ชาวบ้านมาต้องการ ทั้งนี้ตนเห็นว่าปีที่ผ่านมาจังหวัดเชียงรายต้องต่อสู้เรื่องปัญหาหมอกควัน มาโดยตลอด หากต้องมาสู้กับปัญหาฝุ่นจากการขนส่งลิกไนต์อีก จะต้องการเช่นนั้นหรือ

                                              

             นายโกมินท์ เสือภูเขา  ผู้ใหญ่บ้าน ม. 14 ต.ป่าซาง  กล่าวว่าบ้านป่าซางมีประสบการณ์ในเขต ม.2 มีโกดังเก็บลิกไนต์เพื่อขายให้กับโรงบ่มใบยา และขนลิกไนต์เข้ามาเดือนละ 2  ลำรถหกล้อเพื่อมาขาย  และชาวบ้านเสียชีวิตจากการเป็นแรงงานในเหมืองมาแล้ว 4 คน  ทำให้คนในชุมชนต้องรวมตัวกันให้ย้ายโกดังออกจากพื้นที่  ที่สำคัญคือขณะนี้ได้มีหนังสือราชการมาติดที่เทศบาลฯ ว่าพื้นที่ที่จะกองถ่านหินจะอยู่ที่หมู่ 4 หมู่ 14 บ้านป่าซาง และหมู่ 10 บ้านใหม่พัฒนา และต.ศรีค้ำรวม 6 หมู่บ้าน 2 ตำบล  ซึ่งห่างจากชุมชนเพียง 500 เมตรเท่านั้น พื้นที่ประมาณ 80 ไร่  ซึ่งชาวบ้านไม่มีใครทราบเลย   และเริ่มมีการเข้ามาเก็บข้อมูลสุขภาพชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านต่อต้าน  

            นาย สนั่น มาหล้า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีค้ำ เห็นว่า การทำประชาคมความคิดเห็นน่าจะเป็นหลักในการทำงาน แต่เห็นว่าโครงการนี้ยังไม่ได้ทำความเข้าใจกับประชาชน  ซึ่งในพื้นที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างเส้นทาง ไม่เห็นด้วยกับการมากองถ่านหิน  เพราะมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมความเป็นอยู่ และการประชาคมก็ไม่เอาคนที่รับผลกระทบมารับทราบ

นาย มนตรี จันทวงศ์ โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ(ภาคเหนือ) กล่าวว่า จุดทำเหมืองถ่านหินในพม่า อยู่ที่ต้นน้ำแม่น้ำกก ที่ไหลผ่านเชียงรายเพื่อทำประปา และลงมาในประเทศไทยด้วย  หาก ไปดูการทำเหมืองแม่เมาะ มีรายการการศึกษาผลกระทบชัดเจนว่ามีการดูแลดีมาก แต่การวัดค่าน้ำยังพบว่ามีโลหะหนัก ชั้นน้ำผิวดินและใต้ดิน คือน้ำบาดาลใช้ไม่ได่ ปนเปื้อนตะกั่ว และแคดเมียม  จึงเห็นว่า นอกจากการขนส่งแล้ว  ประเด็นที่ต้องพิจารณาแม้จะอยู่ในพม่า คือผลกระทโลหะหนักที่เกิดจากการทำเหมือง  เพราะโอกาสที่จะสะสมมากับแม่น้ำกกมีแน่

กรณีแผนที่ที่นำมาใช้เพื่อประกอบการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังไม่ชัดเจน  เพราะเกณฑ์ที่จะต้องพิจารณาเรื่องป่ามีทั้งป่าประเภทชั้น 1 A แต่ก็ต้องพิจารณาพื้นที่เขตป่าอนุรักษ์ตามมติครม.ปี 2535 ด้วย  แผนที่ดังกล่าวขาดแผนที่เขตป่าอนุรักษ์ที่ครอบคลุมพื้นที่ชั้น 2-3 ที่จะต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแลดล้อมด้วยเช่นกัน    

กรณีล่าสุดบริษัทแจ้งมาว่าจะลดจำนวนการขนถ่านหินจาก 5,000 ตันเหลือ 2,000 ตันเป็นการลดลงมากว่าครึ่ง  ซึ่ง ต้องถามต่อว่าถ้าเป็นเช่นนั้นจะคุ้มทุนที่จะทำหรือไม่ เพราะในการทำอีไอเอทั่วไปต้องคิดต้นทุนให้เห็นด้วยว่ามีค่าใช้จ่ายและกำไร เท่าไหร่ต่อปี   บริษัทต้องชี้แจงให้ชัดเจนมากกว่าการแจ้งด้วยวาจา

กรณีต้นทางการทำเหมืองที่นอกประเทศจะต้องพิจารณาให้ดี  เพราะมีผลต่อเนื่องถึงภาพลักษณ์ของประเทศ  กรณีการทำเหมืองที่เมืองกก ประเทศพม่า ขณะนี้เริ่มมีการบังคับอพยพประชาชนในเขตเมืองกกเพื่อเปิดพื้นที่เหมืองแล้ว  ดัง นั้นเราควรจะได้พิจารณาประเด็นนี้ เพราะการไปซื้อถ่านหินแล้วเกิดปัญหากับประชาชนในพื้นที่ หลายประเทศเริ่มจับตาดูอยู่ว่าการลงทุนในพม่านำไปสู่การละเมิดสิทธิหลายกรณี การจะทำโครงการใดก็ควรจะสะอาดตั้งแต่ต้นทาง ไม่ทำให้ภาพลักษณ์ไทยเสียหายทีหลัง เพราะระยะเวลาโครงการนี้ยาวนานถึง 30 ปี

                ที่ ประชุมเปิดอภิปรายความเห็นและได้ข้อสรุปว่าที่ประชุมไม่เห็นด้วยในการดำเนิน การขนถ่ายหินจากประเทศพม่าผ่านมาทางจังหวัดเชียงรายเข้าสู่จังหวัดสระบุรี เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน การท่องเที่ยว  ความปลอดภัยด้านการคมนาคม  และ เห็นว่าควรได้ยุติโครงการเพื่อไม่ให้มีผลระยะยาว ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจะได้สรุปประเด็นหลักๆ พร้อมข้อมูลสนับสนุนยื่นต่อจังหวัดเชียงรายและบริษัทเจ้าของโครงการอย่าง เป็นทางการ พร้อมจะได้ตั้งคณะทำงานติดตามความคืบหน้าเรื่องนี้อย่างเป็นทางการต่อไป.






http://www.tvthainetwork.com/update/786
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 สิงหาคม 2010, 22:06:03 โดย thaicha » IP : บันทึกการเข้า
Sukrit
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 24 สิงหาคม 2010, 21:14:01 »

คนที่เข้าประชุมบอกว่า ทุกๆสามนาทีจะมีรถขนลิกไนท์ผ่านหน้า ม.แม่ฟ้าหลวง 1 คัน
IP : บันทึกการเข้า
Auan IE15
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 460



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 24 สิงหาคม 2010, 22:53:45 »

คนที่เข้าประชุมบอกว่า ทุกๆสามนาทีจะมีรถขนลิกไนท์ผ่านหน้า ม.แม่ฟ้าหลวง 1 คัน


ดูที่ช่องทีวีไทยเหมือนกันในระยะยาวน่ากลัวน่ะครับ
IP : บันทึกการเข้า

พรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว
maxthailand
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 24 สิงหาคม 2010, 23:57:57 »

จะทำอย่างไร เพราะ
โรงไฟฟ้านิวเคลียก็ไม่เอา
โรงไฟฟ้าชีวมวลก็ไม่เอา
ถ่านหินแม่เมาะ ก็จะหมดแล้ว
ไฟฟ้าก็ต้องใช้
ถ้าไม่ใช้ถ่านหินก็ต้องใช้น้ำมันในการผลิต
พลังลมก็ไม่ได้ ไม่มีลมพอในภาคเหนือ
พลังน้ำก็มีจำกัด


* 070410-wtf-is-going-on-here.jpg (31.42 KB, 500x375 - ดู 357 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
AEK13@กว่างกรุง
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,991


กว่างกรุง


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2010, 08:41:40 »

คนที่เข้าประชุมบอกว่า ทุกๆสามนาทีจะมีรถขนลิกไนท์ผ่านหน้า ม.แม่ฟ้าหลวง 1 คัน


ดูที่ช่องทีวีไทยเหมือนกันในระยะยาวน่ากลัวน่ะครับ

ระยะยาวมีผลดีมากกว่าผลเสียครับ
IP : บันทึกการเข้า

วีรบุรุษไซร้ ไร้น้ำตา ร่ำสุราหยาดโลหิตคลุกเคล้า หมื่นพันอดีตกาลแสนเศร้า ยิ้มเยาะเย้ามลายสิ้น กระบี่เดียว
AEK13@กว่างกรุง
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,991


กว่างกรุง


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2010, 08:50:38 »

การตัดสินใจผลิตพลังงานมาใช้เองเป็นความคิดที่ดีครับ ดีที่สุดด้วย เพราะปัจจุบันเราต้องสูญเสียไปกับเรื่องพลังงาน มหาศาลเกินจะตีมูลค่าได้ และมันมีวันหมดด้่วยสิครับ แต่เรื่องวิธีการก็คือส่วนของวิธีการ ที่จะต้องแก้ไขปัญหาผลกระทบที่จะตามมาว่าจะเอาใจใส่แค่ไหน
IP : บันทึกการเข้า

วีรบุรุษไซร้ ไร้น้ำตา ร่ำสุราหยาดโลหิตคลุกเคล้า หมื่นพันอดีตกาลแสนเศร้า ยิ้มเยาะเย้ามลายสิ้น กระบี่เดียว
maxthailand
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2010, 09:58:58 »

คือที่อยากอธิบาย ในฐานะคนผลิตวัตุดิบ ป้อนโรงงาน
ผู้ที่ใช้ก็เป็นพวกเรานี่แหละ ที่ใช้ finished products

ถามตัวเองว่าเข้าร้ายเซเว่น ใช้ถุงพลาสติกใหม
ถามตัวเองว่า ตู้เย็นที่บ้าน ไฟฟ้า(แหล่งพลังงาน)มาจากใหน
ถามตัวเองว่า รถที่วิ่ง พลังงานมาจากใหน

คือ แค่อยากให้คิด อย่าโอนเอนตามกระแสข่าวให้มากนัก


* image-A3C7_4A37CC47.jpg (40.22 KB, 480x640 - ดู 335 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
^อยากขี้เหล่^
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557


ฮ่าตึงว่าละหนา!!???


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2010, 16:13:19 »

บทสรุปจะเป็นอย่างไร ??
IP : บันทึกการเข้า

มะหินฝน
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 58



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2010, 17:33:52 »

วิ่งรถฝั่งพม่าไปลงน้ำโขง แล้วล่องเรือลงไปขึ้นรถไฟที่หนองคาย ลงสระบุรีเลยครับ เจ้านาาาาย
IP : บันทึกการเข้า
UnGpAo
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 565



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2010, 17:40:30 »

เอ๋ เค้าขน ส่งผ่านเฉยๆ นิ ไมได้ ทำเหมืองฝั่งเราใช่ม๊ะ ไม่น่าจะมีผลกระทบมากมายเลย นะ- -
IP : บันทึกการเข้า

Tel:0882254024  Line:Tanggemo

ขายปรีกและส่ง มาร์คหน้านำเข้าจากต่างประเทศ
Badz
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 27 สิงหาคม 2010, 22:44:37 »

มันก้อมีการทำ EIA และ HIA ด้วย เรื่องนี้ต้องคิดกันให้รอบคอบ ทั้งผลดีผลเสีย อย่าคิดว่ามีแต่ผลเสีย ต้องมองหลายๆด้าน
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!