เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 23:11:16
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ต้นทุนการทำนาปี 2555 ต่อ 1 ไร่ของผม
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน ต้นทุนการทำนาปี 2555 ต่อ 1 ไร่ของผม  (อ่าน 10896 ครั้ง)
chetta2499
เชษฐา 2499
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,138


จุดเทียนไขดีกว่านั่งแช่งความมืด


« เมื่อ: วันที่ 01 ตุลาคม 2012, 21:42:40 »

การที่เราทำนาแล้วจะได้รู้ว่าหลังเก็บเกี่ยวแล้วเรามีกำไรเท่าไหร่
นี้คือข้อมูลที่ผมทำในนา 14 ไร่ ปี 2555 ครับ


1.ค่าซื้อเมล็ดพันธุ์ กข.47   8 ถุง ๆ ละ  670 บ.     =                    5.360      บ.
2.ค่ากากชากำจัดหอยเชอรี่ 10 ถุง ๆ ละ 180 บ.     =                   1.800     บ.
3.ค่าจ้างไถ+ปั่น 14 ไร่ ๆ ละ 500 บ.                       =               7.000     บ.
4.ค่าน้ำมันดีเซลเติมรถไถนาเดินตาม                        =                 200     บ.
5.ค่าน้ำมันเบนซินตัดหญ้าตามคันนา 3 รอบ/ฤดูกาล     =                 200     บ.
6.ค่าจ้างปักดำ 14 ไร่ ๆ ละ 1400 บ                          =            19.600     บ
7.ค่าวัตถุอินทรีย์ปรับปรุงดิน (มูลค้างคาวอัดเม็ด) 3 กส.                 1.200     บ
8.ค่าแม่ปุ๋ย 46-0-0  1 กส. ๆ ละ 830 บ                     =                 830     บ
9.ค่าแม่ปุ๋ย 18-46-0 1 กส. ๆ ละ  1300                     =              1.300     บ.
10. ค่าฮอร์โมนเร่งแตกกอ 1 กป.ๆ ละ 1200                =              1.200     บ
11.ค่ารถเกี่ยว+นวด 14 ไร่ ๆ ละ 500                        =              7.000     บ
12.ค่ารถบรรทุกข้าวประมาณ 3.000                          =              3.000    บ

รวมต้นทุน 14 ไร่                                   = 42,690 /14    3,049      =  บ/ 1ไร่

เป็นแนวทางในการลงทุนทำนา สิ่งไหนลดได้ก็จะประหยัด = กำไรเพิ่มครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 11 ตุลาคม 2012, 07:14:47 โดย chetta2499 » IP : บันทึกการเข้า

ฟาร์มผลิตไก่ชนคุณภาพ จังหวัดเชียงราย
ซุ้มไก่ชนลูกพ่อขุนฯเชียงราย

htt://www.facebook.com/chetta worapitbenja

โทร 0892576293/0808979330
sripoom
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 463


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 01 ตุลาคม 2012, 22:15:47 »

เป็นข้อมูลที่ดีมาก ครับ
  ผมก็อยากทำนาไว้ ทำข้าวกินเอง
     ได้ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ จริงๆ

....ขอบคุณ cr focus ที่มี  ห้องเกษตร ที่นี่ครับ
     
IP : บันทึกการเข้า
chinchin
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,588



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 01 ตุลาคม 2012, 23:33:53 »

การที่เราทำนาแล้วจะได้รู้ว่าหลังเก็บเกี่ยวแล้วเรามีกำไรเท่าไหร่
นี้คือข้อมูลที่ผมทำในนา 14 ไร่ ปี 2555 ครับ
1.ค่าซื้อเมล็ดพันธุ์ กข.47   8 ถุง ๆ ละ  670 บ.     =         5.360      บ.
2.ค่ากากชากำจัดหอยเชอรี่ 10 ถุง ๆ ละ 180 บ.     =          1.800     บ.
3.ค่าจ้างไถ+ปั่น 14 ไร่ ๆ ละ 500 บ.                   =          7.000     บ.
4.ค่าน้ำมันดีเซลเติมรถไถนาเดินตาม                       =             200     บ.
5.ค่าน้ำมันเบนซินตัดหญ้าตามคันนา 3 รอบ/ฤดูกาล    =             200     บ.
6.ค่าจ้างปักดำ 14 ไร่ ๆ ละ 1400 บ                         =             19.000 บ
7.ค่าวัตถุอินทรีย์ปรับปรุงดิน (มูลค้างคาวอัดเม็ด) 3 กส.                 1.200 บ
8.ค่าแม่ปุ๋ย 46-0-0  1 กส. ๆ ละ 830 บ                     =                    830 บ
9.ค่าแม่ปุ๋ย 18-46-0 1 กส. ๆ ละ  1300                    =               1.300 บ.
10. ค่าฮอร์โมนเร่งแตกกอ 1 กป.ๆ ละ 1200                =                1.200 บ
11.ค่ารถเกี่ยว+นวด 14 ไร่ ๆ ละ 500                         =                 19.000 บ
12.ค่ารถบรรทุกข้าวประมาณ 3.000                        =               3.000 บ

รวมต้นทุน 14 ไร่     =  60.090/14 =4.292 บ/ 1ไร่
แล้วของพี่น้องมีต้นไร่ละเท่าไหร่ครับ
ใกล้เคียงกันครับ
IP : บันทึกการเข้า
boonpasrem
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 204



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 02 ตุลาคม 2012, 07:23:26 »

ไม่ได้ทำนา
แต่ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการทำนาตลอด
เพราะอยากทำน่า เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผมอยากทำ
ขอบคุณข้อมูลต้นทุนดีๆครับ
IP : บันทึกการเข้า
chetta2499
เชษฐา 2499
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,138


จุดเทียนไขดีกว่านั่งแช่งความมืด


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 02 ตุลาคม 2012, 09:06:52 »

การเกษตร ไม่ใช่เป็นเรื่องของการทำนาอย่างเดียวครับ เช่น
1. การทำพืชผักสวนครัว/เห็ด/ต้นไม้กินยอด/กินใบ/กินหน่อ/กินผล/กินหัว
2. การเลี้ยงสัตว์
3. การประมงค์
4. จำพวกแมลง
5. ไม้ประดับ/สมุนไพร
6. ไม้กินผลต่าง ๆ

เป็นต้น  แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ
การเริ่มต้นจากผืนดินที่เรามี นำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สุงสุด
เพื่อทำรายได้เลี้ยงครอบครัวให้พออยู่พอกินเหลือเก็บครับ
IP : บันทึกการเข้า

ฟาร์มผลิตไก่ชนคุณภาพ จังหวัดเชียงราย
ซุ้มไก่ชนลูกพ่อขุนฯเชียงราย

htt://www.facebook.com/chetta worapitbenja

โทร 0892576293/0808979330
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 02 ตุลาคม 2012, 17:52:27 »

ขอบคุณคับ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 02 ตุลาคม 2012, 19:49:23 »

ของผมนะครับ

นี้คือข้อมูลที่ผมทำในนา 22 ไร่ ปี 2555 ครับ ( นาปลัง )
1.ค่าเมล็ดพันธุ์ กข.47 (ซื้อสมัยประกันราคา 6 บ. ไร่ละ 35 กก) ซื้อพันธุ์ข้าวที่ไว้ใจได้นำมาตากเอง   =         4,620 บ.
2.ค่ากากชากำจัดหอยเชอรี่ 10 ถุง ๆ ละ 180 บ.     =          1,800     บ.
3.ค่าน้ำมันรถไถ 22 ไร่ ไถ+ทำเทือกมีรถของตัวเอง =          1,500     บ.
4.ค่าน้ำมันเบนซินตัดหญ้าตามคันนา 3 รอบ/ฤดูกาล    =         400     บ.
6.ค่าน้ำมันหว่านข้าว                                           =          200     บ.
7. ขี้หมูตักเอง กส.ละ 6 บาทไร่ละ 6 กส.  x22 ไร่       =          792     บ.
8. ค่ายูเรีย  46-0-0  2 กส. ๆ ละ   850 บ                 =          1700    บ.
9.ค่าปุ๋ย    16-20-0    3 กส. ๆ ละ  780 บ.               =          2340    บ.
10. ค่าแม่ปุ๋ย  0 - 0 - 60 1 กส.ละ 1300 บาท           =          1300    บ.
11. หัวเชื้อ EM 0.5 ลิตร กากน้ำตาล 5 ลิตร             =            200     บ.
12. เชื้อราสดไตรโครเดอร์มา  ถุงละ 70  2 ถุง + ข้าวสวย =      200     บ.
13. ยาคลุมเลน  ขวดละ 250/5 ไร่  ใช้ 5 ขวดพ่นเป็นจุดให้กระจายคลุมหญ้า  =  1250 บ.
14. น้ำมันเบนซินค่าเครื่องพ่นฮอโมน                          =    200   บ.
15.ค่ารถเกี่ยว  22 ไร่ ๆ ละ 550                         =                  12100 บ
16.ค่ารถบรรทุกข้าวประมาณ                             =                   2200 บ
17 ค่าใช้จ่ายจิปาถะ(หัวเทียน น้ำมันเครื่อง ซ่อมบำรุง) =                  3000  บ

รวมต้นทุน 22 ไร่     =  33802/22 =1536 บ/ 1ไร่

ที่จริงการทำนามีค่าแรงแฝง   เดือนนึงไปนาหลัก ๆ ส อ ( บางสัปดาห์ก็ไม่ได้ไป ) คิดไป 4 สัปดาห์  คิดวันละ 300 บาท  เดือนนึงจ่ายค่าแรงตัวเอง  2400 บาท/เดือน คิดที่ 5 เดือน  ทำนารอบนึงค่าแรงตัวเองคิด   12,000  บาท

ต้นทุนที่ใช้ในนา    33802  บาท + ค่าแรงตัวเอง 12000 บาท = 45802 บ./22 ไร่  = 2081 บาท  รอบที่ผ่านมา 22 ไร่  ขายข้าวได้เงิน  269,823 บาท ครับ
IP : บันทึกการเข้า
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,176



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 02 ตุลาคม 2012, 20:03:00 »

พี่  ubuntuthaith ต้นทุนน้อยมากๆ เจ้า
IP : บันทึกการเข้า
chetta2499
เชษฐา 2499
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,138


จุดเทียนไขดีกว่านั่งแช่งความมืด


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 02 ตุลาคม 2012, 21:10:27 »

มีรถไถเองก็สามารถลดต้นทุนการผลิต
แต่ก็อย่าลืมว่า ราคาที่ซื้อรถ+ค่าบำรุงรักษา+ค่าเสื่อมราคา ก็คือต้นทุนเหมือนกัน
การหว่านก็ใช้ทุนน้อยแต่เหนื่อยสำหรับการบริหารจัดการ เช่นการกำจัดวัชพืช
ที่มันขึ้นเร็วกว่าข้าวที่หว่าน ต้องพ่นยา 2 รอบ แล้วยังเพิ่มสารเคมีในนาอีก
ส่วนการโยน ก็จะเพิ่มต้นทุนในการซื้อหลุมเพาะกล้าและต้องคอยดูแลน้ำอย่าให้ขาดจากแปลง
ที่ผมเลือกใช้คนดำ เพราะมีเวลาน้อยครับ เลยต้องเพิ่มต้นทุน
การใช่รถดำ จะได้ปริมาณต้นข้าวมากว่าคนดำ เพราะแถวถี่กว่า แต่ลำต้นจะแตกต่างกัน
ใช้คนดำใส่กล้าน้อย แตกกอดีเล่มสม่ำเสมอ แต่รถดำจะแน่นใส่กล้าเยอะถ้าใส่น้อยหอยจะกินหมด
ต้องคอยซ่อมใช้เวลาเป็นเดือน ข้าวแตกกอใหญ่ แต่เล่มกลางกอจะเล็ก
การใส่ปุ๋ย หว่านจะมากกว่า รถดำ 2-3 เท่า  รถดำจะมากกว่าคนดำ 3 เท่าเช่นกัน
IP : บันทึกการเข้า

ฟาร์มผลิตไก่ชนคุณภาพ จังหวัดเชียงราย
ซุ้มไก่ชนลูกพ่อขุนฯเชียงราย

htt://www.facebook.com/chetta worapitbenja

โทร 0892576293/0808979330
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 02 ตุลาคม 2012, 22:59:33 »

เพิ่มเติมการทำนาแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกันแต่ต้องปรับใช้ให้ถูกต้องและเหมาะกับเราครับอย่าง

รถไถก็พูดยากนะครับบางคนซื้ออาจซื้อมาเพื่อไปรับจ้างด้วยก็มีรายได้พิเศษเข้ามาบางคนมีรายได้ดีกว่าการปลูกข้าวด้วยซ้ำสำหรับคนที่มีที่นาน้อย ๆ  รายได้ต่อวันไม่ต่ำกว่าวันละ 3 พันบาท/วัน ตลอดระยะเวลา 1-2 เดือนในช่วงไถนา  ของผมไม่ได้รับจ้างใครเพราะทำงานบริษัทไปด้วยว่างเฉพาะเสาร์อาทิตย์  รถผมซื้อมาในราคา 190000 บาทรวมอุปกรณ์ทั้งหมด

ค่าใช้จ่ายหากผมจ้างเค้า
ทำนาปี    ปั่น + เทือก  ไร่ละ 600 บาท x  22 ไร่  = 13200 บาท
ทำนาปรัง   ไถตาก + ปั่น  + เทือก  850 บาท x 22 ไร่ =  18700  บาท
รวมจ้างต่อปี   31,900 บาท คิดที่ 5 ปีต้องจ่าย   = 159500 บาท

ถ้าคำนวณรถ 190000  บาท  ค่าซ่อมบำรุงและค่าน้ำมัน / รอบคือ  3000 บาท ( คิดเผื่อครับที่จริงไม่ถึง ) ปีละ 6000 บาทx 5 ปี = 30000  บาท รวมที่ 5 ปี  =  220000 บาท  ราคาขายที่ 5 ปี  90000 บาท จะอยู่ที่ลงทุนไป 130000 บาทซึ่งน้อยกว่าการจ้างเค้า  แต่ความเป็นจริงแล้วรถไถสามารถใช้งานได้มากกว่านั้น แถวบ้านบางคันก็ 20  ปีหรือมากกว่านั้นก็มี  บางคันเป็นรถนำเข้ามือสองญี่ปุ่นมาอายุการใช้งานก็เกินสิบปี สำหรับรถของผมสามารถใช้ได้ 10 ปีได้สบาย เพราะไม่ได้ใช้งานหนักมากคือไม่ได้รับจ้าง ชั่วโมงการทำงานไม่เยอะครับ

การทำนาแต่ละแบบมีวิธี และข้อดีข้อเสียแตกต่างกันครับ  สำหรับนาหว่านที่ผมทำไม่ได้พ่นคลุมหญ้าครับ คือแค่ปล่อยน้ำเข้านาหลังจากทำเทือกเสร็จและใช้ยาคลุมเลนโดยพ่นเป็นจุด ๆ หรือก็ปล่อยไปกับน้ำเข้านาเลยก็ได้แต่อาจไม่ทั่วถึงจากนั้นกักน้ำไว้ 2- 3 วันครับก็ปล่อยน้ำออกและก็หว่านข้าวครับ แต่ชาวบ้านทั่วไปนิยมหว่านแล้ว 7-13 วันแล้วพ่นยาคลุมหญ้าซึ่งหญ้าตายบ้างไม่ตายบ้างบางทีข้าวก็ตายเป็นหย่อม ๆก็มี   บางทีพ่นไปฝนตกก็ต้องกลับมาพ่นซ้ำอีกก็มี  บางปีผมก็ไม่ได้ใส่ยาคลุมเลน ใช้วิธีล่อให้หญ้าขึ้นโดยการปล่อยน้ำเข้าและปล่อยให้แห้งหญ้าก็ขึ้น จากนั้นเราก็ไถทิ้งช่วยลดหญ้าได้ครับและใช้วิธีกักน้ำแทนหลังหว่าน 7 วัน และอีกวิธีคือเมื่อเวลาหญ้าในนาออกดอกให้เรารีบกำจัดอาจจะลงไปถอนหรือเด็ดดอกทิ้งครับอย่าเมล็ดหรือดอกเกสรให้ตกในนาช่วยป้องกันการแพร่กระจายได้ระดับหนึ่งในปีต่อไปก็สบาย  การหว่านต้องเปลืองปุ๋ยก็ถูกส่วนหนึ่งครับแต่ถ้ามีการบำรุงดินที่ดีพืชก็ไม่ได้ต้องการปุ๋ยมาก เพราะดินมีธาตุที่ต้องการอยู่แล้ว  ที่เราต้องใส่ปุ๋ยมากอย่างทุกวันนี้คือดินไม่ดี ข้าวไม่งามจึงต้องเพิ่มปุ๋ยเคมีเข้าไปเรื่อย ๆ ซึ่งการใส่ปุ๋ยเคมีมาก ๆ จะเร่งอัตราการสลายตัวของอินทรียวัตถุ ทำให้โครงสร้างของดินเสื่อมลง ดินจึงกระด้าง แร่ธาตุในดินมีน้อย ทุกวันนี้ผมจึงใส่พวกปุ๋ยคอกลงไป บางครั้งก็พ่นจุลินทรีย์ในดิน หมักฟางในนาบ้าง บางครั้งก็เป็นปุ๋ยหมักใส่ลงไปและลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงเรื่อย ๆ สังเกตุได้ว่าเราสบายมากขึ้น ไม่เหนื่อยเหมือนการทำนาปีแรก ๆ หลายละเอียดมีอีกมากครับแต่ก็ไม่รู้อธิบายไงหมด  การทำนาผมเคยลองศึกษาและทำการปลูกทั้งแบบปลูกอาจารย์เดชา ศิริภัทร  การโยนตามวิธีของอาจารย์เชาว์ วัส หนูทอง การหว่านของคุณชัยพร พรหมพันธุ์  ตลอดจนทดลองแบบเกษตรธรรมชาติของมาซาโนบุ ในที่ดินแปลงเล็ก ๆ  ก็ยังมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แม้แต่พื้นที่เพาะปลูกก็ยังมีผลอยู่  ขึ้นอยู่ว่าเราจะนำความรู้มาประยุกต์ใช้ยังไงเท่านั้นครับ ชาวบ้านนิยมทำตาม ๆ กันตามค่านิยมใครทำแปลกมักจะโดนว่าเสมอ  ตั้งแต่ผมเอาเชื้อราไตโครเดอร์มาร์พ่นในนา หรือเอาแหนแดงมาเพาะปล่อยในนาก็หาว่าบ้าแล้วครับทุกวันนี้ชาวบ้านเริ่มทำตามครับเพราะเริ่มมีนักวิชาการเกษตร์มาให้ความรู้ครับ  แต่เดิมแม้แต่กรมยังส่งเสริมให้ชาวนาใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตในการส่งออก แต่ก็ทำให้เกิดผลกระทบกลับมามากมายทั้งปัญหาหนี้สินแม้แต่ระบบนิเวศ จนไปถึงชั้นบรรยากาศครับทุกวันนี้ทำนาแต่ละครั้งผมพยายามลดปุ๋ยเคมีลงเรื่อย ๆ แล้วครับจากเดิมครั้งแรก ไร่ละลูกคือ 22 กส. ตอนนี้เหลือ 6 กส เท่านั้น ปีต่อไปคงลดได้มากกว่านี้ดินเริ่มดีขึ้นมากละครับ

สุดท้ายนี้ต้องขออภัยเจ้าของกระทู้นะครับ มารบกวนกระทู้มากไปหน่อย  มาแชร์ความรู้นะครับ บางทีอาจได้ไอเดียดี ๆ จากวิธีการปลูกของแต่ละท่านครับ หากใครสนใจวิธีของผมก็ PM มาก็ได้ครับ ยินดีให้คำแนะนำครับ เพราะมีเทคนิคอยู่มากที่ไม่ได้ลงในนี้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
ⒷⒼ*
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,369

นิพพานคือนิรันดร์


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 02 ตุลาคม 2012, 23:04:29 »

ตกใจ ทำนาสามารถทำเงินได้อย่างมากมายขนาดนี้เลยหรอ
ขอบคุณที่นำความรู้ดีๆมาบอกเล่านะครับ
  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
chetta2499
เชษฐา 2499
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,138


จุดเทียนไขดีกว่านั่งแช่งความมืด


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 08:01:02 »

กระทู้นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการต้องการให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการลดต้นทุน
ในการทำนาแบบต่าง ๆ มาแชร์กันครับ ไม่ได้มาอวดกันว่าใครได้กำไรมากกว่า
เหมือนอย่างคำที่ว่า "พี่รู้สอง น้องรู้หนึ่ง" ร่วมด้วยช่วยกัน
การทำนาในอดีตของปู่ย่าตายายเคยทำแบบก้มหน้าหลับตาทำ โดยไม่สนใจว่าจะกำไรหรือจาดทุน
อย่างไร ในฐานะที่พวกเราคนรุ่นใหม่ ต้องนำหลักเศรษฐศาสตร์มาปรับใช้
คือ ลงทุนน้อย กำไรมาก ไม่อย่างนั้น ชาวนาก็คงต้องเป็นกระดูกสันหลังที่ผุ ๆ ของชาติไปเรื่อย ๆ

การมีกำไรมากของชาวนาในช่วงนี้เกิดจากที่รัฐฯ ได้เข้ามารับภาระในส่วนต่างของราคาซื้อขายจริงตามกลไกของตลาด ไม่ว่าจะเป็นการประกันราคา หรือ รับจำนำก็ตาม เท่าที่ทราบ รัฐได้นำข้าวที่พวกเราจำนำไว้แบบไม่ไถ่คืนไปขายแบบขาดทุนให้พ่อค้าส่งออก 400 เหรียญ/ 1ตัน โดยต้นทุนอยู่ที่600 เหรียญ/ 1 ตัน
จึงทำให้นักวิชาการวิตกกังวลว่า ในที่สุด รัฐฯ จะต้องก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นทุกปี

แต่ถ้าจะถามว่ามันยุติธรรมไหมที่รัฐควรจะมาชดเชยรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
มันก็ยุติธรรมครับ  เพราะว่า รัฐได้ชดเชยคนรวยที่ใช้รถโดยการเก็บเงินสำรองน้ำมันไว้เพื่อตึงราคาน้ำมันไว้ รัฐชดเชยแรงงานผู้มีเงินเดือนที่เข้าประกันตนในระบบประกันสังคมให้ทุกเดือน

แต่เกษตรกรผู้ที่ผลิตข้าวเลี้ยงประชากรของประเทศ และส่งออกนำรายได้สู่ประเทศ
ไม่เคยได้ลืมตาอ้าปากกับเขากี่ยุคกี่สมัยมาแล้ว เพิ่งจะมีโอกาสกับเขา แค่ 2-3 ปีนี้เอง
เลิกทำนาก็ไม่เหลืออะไร นอกจากสุขภาพที่ทรุดโทรม ต้องอาศัยบัตรทองเข้าออก ร.พ. ยามเจ็บป่วย
ไม่มีโอกาสนอนห้องพิเศษ หรือรับยาดี (พิเศษ) ต้องเข้าคิวยาวเหยีดเพื่อรับยา

พอทีเถอะครับ  ท่านนักวิชาการ / ส.ว. สรรหา เห็นใจเกษตรกรบ้างครับ
ให้พวกเขาได้กินข้าวด้วยรอยยิ้มบ้าง  เพราะว่าพวกเขากินข้าวคลุกน้ำตามานานแล้ว
IP : บันทึกการเข้า

ฟาร์มผลิตไก่ชนคุณภาพ จังหวัดเชียงราย
ซุ้มไก่ชนลูกพ่อขุนฯเชียงราย

htt://www.facebook.com/chetta worapitbenja

โทร 0892576293/0808979330
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 08:51:56 »

กระทู้นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการต้องการให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการลดต้นทุน
ในการทำนาแบบต่าง ๆ มาแชร์กันครับ ไม่ได้มาอวดกันว่าใครได้กำไรมากกว่า
เหมือนอย่างคำที่ว่า "พี่รู้สอง น้องรู้หนึ่ง" ร่วมด้วยช่วยกัน
การทำนาในอดีตของปู่ย่าตายายเคยทำแบบก้มหน้าหลับตาทำ โดยไม่สนใจว่าจะกำไรหรือจาดทุน
อย่างไร ในฐานะที่พวกเราคนรุ่นใหม่ ต้องนำหลักเศรษฐศาสตร์มาปรับใช้
คือ ลงทุนน้อย กำไรมาก ไม่อย่างนั้น ชาวนาก็คงต้องเป็นกระดูกสันหลังที่ผุ ๆ ของชาติไปเรื่อย ๆ

การมีกำไรมากของชาวนาในช่วงนี้เกิดจากที่รัฐฯ ได้เข้ามารับภาระในส่วนต่างของราคาซื้อขายจริงตามกลไกของตลาด ไม่ว่าจะเป็นการประกันราคา หรือ รับจำนำก็ตาม เท่าที่ทราบ รัฐได้นำข้าวที่พวกเราจำนำไว้แบบไม่ไถ่คืนไปขายแบบขาดทุนให้พ่อค้าส่งออก 400 เหรียญ/ 1ตัน โดยต้นทุนอยู่ที่600 เหรียญ/ 1 ตัน
จึงทำให้นักวิชาการวิตกกังวลว่า ในที่สุด รัฐฯ จะต้องก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นทุกปี

แต่ถ้าจะถามว่ามันยุติธรรมไหมที่รัฐควรจะมาชดเชยรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
มันก็ยุติธรรมครับ  เพราะว่า รัฐได้ชดเชยคนรวยที่ใช้รถโดยการเก็บเงินสำรองน้ำมันไว้เพื่อตึงราคาน้ำมันไว้ รัฐชดเชยแรงงานผู้มีเงินเดือนที่เข้าประกันตนในระบบประกันสังคมให้ทุกเดือน

แต่เกษตรกรผู้ที่ผลิตข้าวเลี้ยงประชากรของประเทศ และส่งออกนำรายได้สู่ประเทศ
ไม่เคยได้ลืมตาอ้าปากกับเขากี่ยุคกี่สมัยมาแล้ว เพิ่งจะมีโอกาสกับเขา แค่ 2-3 ปีนี้เอง
เลิกทำนาก็ไม่เหลืออะไร นอกจากสุขภาพที่ทรุดโทรม ต้องอาศัยบัตรทองเข้าออก ร.พ. ยามเจ็บป่วย
ไม่มีโอกาสนอนห้องพิเศษ หรือรับยาดี (พิเศษ) ต้องเข้าคิวยาวเหยีดเพื่อรับยา

พอทีเถอะครับ  ท่านนักวิชาการ / ส.ว. สรรหา เห็นใจเกษตรกรบ้างครับ
ให้พวกเขาได้กินข้าวด้วยรอยยิ้มบ้าง  เพราะว่าพวกเขากินข้าวคลุกน้ำตามานานแล้ว


เยี่ยมครับ เห็นด้วยอย่างยิ่ง  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
tfgc2007
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,874


สมบัติพญามังราย ต้องรักษาไว้


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 12:43:08 »

หื้อข้อมูลดีทั้งสองท่านครับ
ผมประทับใจ๋ กำนี้ครับ จึงก๊อบมา
"แต่เกษตรกรผู้ที่ผลิตข้าวเลี้ยงประชากรของประเทศ และส่งออกนำรายได้สู่ประเทศ
ไม่เคยได้ลืมตาอ้าปากกับเขากี่ยุคกี่สมัยมาแล้ว เพิ่งจะมีโอกาสกับเขา แค่ 2-3 ปีนี้เอง
เลิกทำนาก็ไม่เหลืออะไร นอกจากสุขภาพที่ทรุดโทรม ต้องอาศัยบัตรทองเข้าออก ร.พ. ยามเจ็บป่วย
ไม่มีโอกาสนอนห้องพิเศษ หรือรับยาดี (พิเศษ) ต้องเข้าคิวยาวเหยีดเพื่อรับยา

พอทีเถอะครับ  ท่านนักวิชาการ / ส.ว. สรรหา เห็นใจเกษตรกรบ้างครับ
ให้พวกเขาได้กินข้าวด้วยรอยยิ้มบ้าง  เพราะว่าพวกเขากินข้าวคลุกน้ำตามานานแล้ว"

นักวิชาการ ลูกน้อง นักธุรกิจ เลิกเต๊อะครับ..ท่านหยะนาก็บ่าจ่าง..บ่าเกยตุก..บ่าเกยตากแดด.แล้วท่านจะมาฮู้ดีกว่าจาวนาไดจะได ก่ายแต๊บ่าห่าหมู่นี้หนา
IP : บันทึกการเข้า

รักษ์กำเมือง....ร่วมส่งเสริมละอ่อนเหนือ อู้กำเมือง....
เชียงรายสถาปนิก'97 รับ ออกแบบ เขียนแบบบ้าน อาคาร รับบริหารงานก่อสร้างและงานระบบทุกประเภท ตรวจสอบอาคาร โดยสามัญวิศวกร สามัญสถาปนิก และ จป.วิชาชีพ
chetta2499
เชษฐา 2499
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,138


จุดเทียนไขดีกว่านั่งแช่งความมืด


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 12:57:12 »

พูดถึง เชื้อไตรโคเดอม่า
เชียงรายน่าจะตื่นตัีวกันได้แล้วครับ
เดี๋ยวรอปรึกษากับคณะกรรมการอำเภอและเกษตรอำเภอก่อนครับ
ว่าจะเปิดให้ศึกษาเรียนรู้เอาแค่หัวข้อเดียว เอาจนเป็นใน 1 วัน
เรามีเจ้าหน้าเกษตรตำบลดอยลาน ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ครับ
อย่างไรจะแจ้งให้ทราบเรื่องวัน เวลา และสถานที่จัดที่แน่นอนอีกครับ
 

 สำหรับข้อคิดเห็นอื่น  ๆ จะโพสท์ที่นี้ หรือที่โรงเรียนชาวนาก็ได้นะครับ
ร่วมด้วยช่วยกัน ใครอยากแบ่งปันอะไรก็เสนอเข้ามา
เพื่อว่าเราจะได้หาคนมาเรียน มาศึกษา
เมื่อสัปดาห์ก่อนก็มีคนมาสอนทำเห็ดขอนขาว
ผมก็ได้อนิสงมา 10 ถุง แต่ยังไม่ออกช่อนะครับ
IP : บันทึกการเข้า

ฟาร์มผลิตไก่ชนคุณภาพ จังหวัดเชียงราย
ซุ้มไก่ชนลูกพ่อขุนฯเชียงราย

htt://www.facebook.com/chetta worapitbenja

โทร 0892576293/0808979330
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,176



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 13:02:16 »

พูดถึง เชื้อไตรโคเดอม่า
เชียงรายน่าจะตื่นตัีวกันได้แล้วครับ
เดี๋ยวรอปรึกษากับคณะกรรมการอำเภอและเกษตรอำเภอก่อนครับ
ว่าจะเปิดให้ศึกษาเรียนรู้เอาแค่หัวข้อเดียว เอาจนเป็นใน 1 วัน
เรามีเจ้าหน้าเกษตรตำบลดอยลาน ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ครับ
อย่างไรจะแจ้งให้ทราบเรื่องวัน เวลา และสถานที่จัดที่แน่นอนอีกครับ
 

 สำหรับข้อคิดเห็นอื่น  ๆ จะโพสท์ที่นี้ หรือที่โรงเรียนชาวนาก็ได้นะครับ
ร่วมด้วยช่วยกัน ใครอยากแบ่งปันอะไรก็เสนอเข้ามา
เพื่อว่าเราจะได้หาคนมาเรียน มาศึกษา
เมื่อสัปดาห์ก่อนก็มีคนมาสอนทำเห็ดขอนขาว
ผมก็ได้อนิสงมา 10 ถุง แต่ยังไม่ออกช่อนะครับ
ดรีมขอไปต๋วยเน้อเจ้าอาจารย์
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 13:39:44 »

ยังมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่ไม่ได้บอกหมดนะครับ มันเยอะจนค่อยบอกละกันครับ  อย่างเชื้อราที่เป็นประโยชน์กับข้าว  ก็มีครับที่นอกเหนือจากไตรโครเดอร์ม่าก็มีที่นิยมใช้กับนาข้าวเช่น เชื้อราบิวเวอเรีย  

เชื้อราบิวเวอร์เรียเป็นเชื้อราที่สามารถให้เกิดโรคได้กับแมลงได้หลายชนิด โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนศัตรูพืช  เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียที่ตกที่ผนังลำตัวแมลง เมื่อมีสภาพที่เหมาะสมสปอร์จะงอกแทงทะลุผ่านลำตัวแมลงเข้าไปไชช่องว่างภายในลำตัวและเจริญเติบโตเป็นเส้นใยท่อนสั้นๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดในตัวของแมลง  ทำให้แมลงเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด  หลังจากแมลงตายแล้วเชื้อราจะสร้างสปอร์แพร่กระจายได้ตามธรรมชาติ  เฝ้าระวังแปลงนาของเกษตรกรจากแมลงศัตรูข้าง เพราะสามารถทำลายแมลงได้ทุกระยะ  แต่เมื่อเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีหรือเชื้อราไตรโคเดอร์มา กำจัดเชื้อราสาเหตุของโรคข้าว  จะทำให้เชื้อราบิวเวอร์เรียถูกทำลายไปด้วย  

1 .การนำไปใช้สำหรับฉีดพ่น  นำเชื้อราบิวเวอร์เรีย 1-2  กก./น้ำ 20 ลิตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยนำน้ำ 5 ลิตร ใส่ถุงมือขยำก้อนเชื้อกับน้ำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพดแล้วกรองด้วยผ้าบางๆ  แล้วจึงนำไปผสมกับน้ำอีก 15 ลิตร ผสมกับสารจับใบ(ตามฉลาก) คนให้เข้ากัน นำไปฉีดพ้นในช่วงเช้าตรู่หรือเย็นแดดอ่อน(ช่วงเย็นดีที่สุดเมื่อพ่นไปแล้วเชื้อรามีช่วงเวลาฟื้นตัวนานก่อนที่จะพบกับอากาศร้อนช่วงกลางวันวันถัดไป) ควรปรับหัวฉีดให้พ่นเป็นฝอยละเอียดจะทำให้ได้ผลดีและได้พื้นที่เพิ่มขึ้น และควรติดตามตรวจสอบเมื่อฉีดพ่นได้ 2-3 วัน  ข้อควรระวังในการใช้คือ สวมถุงมือ ปิดปาก ปิดจมูก  เหมือนกับใช้สารเคมีทั่วไป  ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิด และควรล้างเครื่องฉีดพ้นที่เคยพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชให้สะอาด และเชื้อราบิวเวอร์เรียจะอยู่ได้นานจนถึงระยะเก็บเกี่ยวเมื่อใช้กับข้าวที่อายุ 40-50  วัน  เพราะจะมีใบข้าวที่ปกคลุมป้องกันแสงแดดส่อง อีกทั้งสภาพแวดล้อมในควรมีความชื้นทีเหมาะสม (80%)

2.  ใส่เชื้อราบิวเวอร์เรียในกระบอก    การทำไผ่สำหรับใส่เชื้อราบิวเวอร์เรีย นำกระบอกที่ทำไว้ปักหลักตั้งกระบอกที่อาจทำจากท่อพลาสติก PVC  หรือกระบอกไม้ไผ่ห่างกันประมาณ 10-20 เมตรกระจายทั่วแปลงนา สำหรับการใช้กระบอกไม้ไผ่เกษตรกรจะตัดเหนือข้อ 1 ด้านส่วนอีกด้านตัดเลยข้อประมาณ 1.5 นิ้ว  ก่อนที่จะตัดเหนือข้อต่อกระบอกตัดเหนือข้อลึกลงไปครึ่งกระบอก ก่อนผ่านำส่วนที่ไม่ต้องการออกจะเหลือข้อเพื่อกันก้อนเชื้อราบิวเวอร์เรียปลิวกระเด็น เมื่อตัดและทำกระบอกได้ทรงตรงตามที่ต้องการแล้วนำเชือกมาผูกและนำใบตาลตอกติดกระบอกที่เตรียมไว้ ทำเป็นหางเสือ เมื่อนำกระบอกปักหรือแขวนติดกับเสาจะหมุนหันปากกระบอกรับลม เพื่อพัดพาสปอร์ล่องลอยไปตกลงในแปลงนาหรือเปื้อนติดตัวแมลงศัตรูพืช และทำลายจนตายก่อนที่จะขยายพันธุ์โดยอาศัยตัวแมลงพร้อมกับขยายเจริญเติบโตในแปลงนาเหมือนกับว่ามียามหรือหน่วยป้องกันในนาของเกษตรกร  นำกระบอกไม้ไผ่ที่เสียบฐานเรียบร้อยแล้วไปปักในนาข้าว 1 ไร่ใช้ 4 กระบอก



* 1.JPG (89.53 KB, 565x606 - ดู 6482 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 13:44:04 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
chetta2499
เชษฐา 2499
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,138


จุดเทียนไขดีกว่านั่งแช่งความมืด


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 13:52:04 »

ยังมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่ไม่ได้บอกหมดนะครับ มันเยอะจนค่อยบอกละกันครับ  อย่างเชื้อราที่เป็นประโยชน์กับข้าว  ก็มีครับที่นอกเหนือจากไตรโครเดอร์ม่าก็มีที่นิยมใช้กับนาข้าวเช่น เชื้อราบิวเวอเรีย  

เชื้อราบิวเวอร์เรียเป็นเชื้อราที่สามารถให้เกิดโรคได้กับแมลงได้หลายชนิด โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนศัตรูพืช  เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียที่ตกที่ผนังลำตัวแมลง เมื่อมีสภาพที่เหมาะสมสปอร์จะงอกแทงทะลุผ่านลำตัวแมลงเข้าไปไชช่องว่างภายในลำตัวและเจริญเติบโตเป็นเส้นใยท่อนสั้นๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดในตัวของแมลง  ทำให้แมลงเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด  หลังจากแมลงตายแล้วเชื้อราจะสร้างสปอร์แพร่กระจายได้ตามธรรมชาติ  เฝ้าระวังแปลงนาของเกษตรกรจากแมลงศัตรูข้าง เพราะสามารถทำลายแมลงได้ทุกระยะ  แต่เมื่อเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีหรือเชื้อราไตรโคเดอร์มา กำจัดเชื้อราสาเหตุของโรคข้าว  จะทำให้เชื้อราบิวเวอร์เรียถูกทำลายไปด้วย  

1 .การนำไปใช้สำหรับฉีดพ่น  นำเชื้อราบิวเวอร์เรีย 1-2  กก./น้ำ 20 ลิตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยนำน้ำ 5 ลิตร ใส่ถุงมือขยำก้อนเชื้อกับน้ำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพดแล้วกรองด้วยผ้าบางๆ  แล้วจึงนำไปผสมกับน้ำอีก 15 ลิตร ผสมกับสารจับใบ(ตามฉลาก) คนให้เข้ากัน นำไปฉีดพ้นในช่วงเช้าตรู่หรือเย็นแดดอ่อน(ช่วงเย็นดีที่สุดเมื่อพ่นไปแล้วเชื้อรามีช่วงเวลาฟื้นตัวนานก่อนที่จะพบกับอากาศร้อนช่วงกลางวันวันถัดไป) ควรปรับหัวฉีดให้พ่นเป็นฝอยละเอียดจะทำให้ได้ผลดีและได้พื้นที่เพิ่มขึ้น และควรติดตามตรวจสอบเมื่อฉีดพ่นได้ 2-3 วัน  ข้อควรระวังในการใช้คือ สวมถุงมือ ปิดปาก ปิดจมูก  เหมือนกับใช้สารเคมีทั่วไป  ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิด และควรล้างเครื่องฉีดพ้นที่เคยพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชให้สะอาด และเชื้อราบิวเวอร์เรียจะอยู่ได้นานจนถึงระยะเก็บเกี่ยวเมื่อใช้กับข้าวที่อายุ 40-50  วัน  เพราะจะมีใบข้าวที่ปกคลุมป้องกันแสงแดดส่อง อีกทั้งสภาพแวดล้อมในควรมีความชื้นทีเหมาะสม (80%)

2.  ใส่เชื้อราบิวเวอร์เรียในกระบอก    การทำไผ่สำหรับใส่เชื้อราบิวเวอร์เรีย นำกระบอกที่ทำไว้ปักหลักตั้งกระบอกที่อาจทำจากท่อพลาสติก PVC  หรือกระบอกไม้ไผ่ห่างกันประมาณ 10-20 เมตรกระจายทั่วแปลงนา สำหรับการใช้กระบอกไม้ไผ่เกษตรกรจะตัดเหนือข้อ 1 ด้านส่วนอีกด้านตัดเลยข้อประมาณ 1.5 นิ้ว  ก่อนที่จะตัดเหนือข้อต่อกระบอกตัดเหนือข้อลึกลงไปครึ่งกระบอก ก่อนผ่านำส่วนที่ไม่ต้องการออกจะเหลือข้อเพื่อกันก้อนเชื้อราบิวเวอร์เรียปลิวกระเด็น เมื่อตัดและทำกระบอกได้ทรงตรงตามที่ต้องการแล้วนำเชือกมาผูกและนำใบตาลตอกติดกระบอกที่เตรียมไว้ ทำเป็นหางเสือ เมื่อนำกระบอกปักหรือแขวนติดกับเสาจะหมุนหันปากกระบอกรับลม เพื่อพัดพาสปอร์ล่องลอยไปตกลงในแปลงนาหรือเปื้อนติดตัวแมลงศัตรูพืช และทำลายจนตายก่อนที่จะขยายพันธุ์โดยอาศัยตัวแมลงพร้อมกับขยายเจริญเติบโตในแปลงนาเหมือนกับว่ามียามหรือหน่วยป้องกันในนาของเกษตรกร  นำกระบอกไม้ไผ่ที่เสียบฐานเรียบร้อยแล้วไปปักในนาข้าว 1 ไร่ใช้ 4 กระบอก


อย่างนี้ต้องขอเชิญไปช่วยสอนละมั้งครับ พอจะสะดวกไหมครับ
ผมกำลังจะคุยกันในวันอาทิตย์นี้ครับ
IP : บันทึกการเข้า

ฟาร์มผลิตไก่ชนคุณภาพ จังหวัดเชียงราย
ซุ้มไก่ชนลูกพ่อขุนฯเชียงราย

htt://www.facebook.com/chetta worapitbenja

โทร 0892576293/0808979330
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 15:14:09 »


อย่างนี้ต้องขอเชิญไปช่วยสอนละมั้งครับ พอจะสะดวกไหมครับ
ผมกำลังจะคุยกันในวันอาทิตย์นี้ครับ


ขอบคุณครับที่เชิญ  คือพรุ่งนี้ผมจะเข้าไป หลวงน้ำทา สปป ลาว คาดว่าจะกลับมาวันเสาร์ แต่หากฝนตกมากอาจทำให้เดินทางกลับล่าช้า อาจจะถึงเชียงรายวันอาทิตย์ ซึ่งอาจจะไม่ทันครับ  ในส่วนเชื้อราไตรโครเดอร์มา ผมยังมีเก็บในตู้เย็นสามารถแบ่งไปให้สมาชิกดูเพื่อเป็นความรู้ก่อนก็ได้นะครับ เรื่องวิธีการเพาะขยายสำหรับการนำไปใช้ไม่ยาก แต่แรก ๆ ก็ทำเสียเหมือนกันครับ  เอาไว้ผมจะรวบรวมบทความที่ศึกษามาเย็บรวมเป็นหนังสือไว้ให้เป็นอีกแรงครับ
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2012, 16:17:19 »

เข้ามาหาความรู้ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!