เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 04:35:34
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ปุโรหิตทดลองศีล
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ปุโรหิตทดลองศีล  (อ่าน 1278 ครั้ง)
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« เมื่อ: วันที่ 27 สิงหาคม 2012, 22:53:15 »

โทษแห่งอทินนาทาน.... ปุโรหิตทดลองศีล
........" ผู้มีอำนาจวาสนา หากว่าไม่รักษาศีล ย่อมไม่อาจรักษาลาภยศของตนไว้ได้ " คำกล่าว
นี้จะเป็นจริงเพียงใด พบกับคำตอบได้ เมื่อปุโรหิตผู้ยิ่งใหญ่ได้ทดลองขโมยทรัพย์ของผู้อื่น


ปุโรหิตทดลองศีล


.......เมื่อครั้งพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ปุโรหิตผู้หนึ่งของพระองค์ ได้
เกิดความสงสัยว่าถ้าผิดศีลแล้วจะเป็นอย่างไร จึงได้ทดลองด้วยการขโมยเงินหลวงไปวันละ ๑ กหาปนะ

ในวันแรก และวันที่ ๒ นั้น ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ทั้งหลายยังมีความยำเกรงในตัว
ปุโรหิตอยู่ ด้วยเห็นว่าเป็นถึงราชครู แต่พอวันที่ ๓ เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็หมดความยำเกรง ร้องประกาศ
ขึ้นว่า " ขโมย ขโมย " แล้วจับตัวปุโรหิตผู้นั้นไปถวายพระราชา

ในขณะที่เดินไปตามทางนั้น ปุโรหิตได้เห็นพวกหมองูแสดงการเล่นงูอยู่ งูนั้นเป็นงูพิษ แต่
ไม่กล้ากัดใคร เพราะถูกสะกดไว้ด้วยอำนาจมนต์ของหมองู แต่ถึงอย่างนั้นผู้คนทั้งหลาย ก็พากัน
ชื่นชมงูนั้นว่า " งูตัวนี้ดี เป็นงูมีศีล ไม่กัดใคร " ปุโรหิตจึงคิดอยู่ในใจว่า " แม้แต่งูซึ่งไม่กัดใคร
เพราะอำนาจของหมองู ยังได้รับคำชื่นชมว่าเป็นงูดี งูมีศีล หากมนุษย์เช่นเราเป็นผู้มีศีล คงจะดี
ยิ่งขึ้นไปอีก "

เมื่อเข้าเฝ้าพระราชา พระองค์ตรัสถามปุโรหิตว่า " เหตุใดท่านจึงทำเช่นนี้ "

ปุโรหิตกราบทูลว่า " ข้าพระองค์ทำไป เพื่อจะทดลองดูว่า เมื่อผิดศีลแล้วจะเป็นอย่างไร เมื่อ
ก่อนข้าพระองค์สงสัยว่า ที่องค์ราชานับถือข้าพระองค์ ที่ประชาชนยำเกรงข้าพระองค์นั้น เป็น
เพราะชาติตระกูล ศีลปวิทยา ความเป็นปุโรหิต หรือเพราะศีลกันแน่ มาบัดนี้.......ข้าพระองค์ได้
ทราบแล้วว่า เป็นเพราะศีลนั่นเอง

ข้าแต่มหาราชา ทรัพย์สมบัติซึ่งเป็นของบิดาของข้าพระองค์ก็ดี ทรัพย์สมบัติที่ข้าพระองค์หาได้
ด้วยตนเองก็ดี ทรัพย์สมบัติที่พระองค์ได้พระราชทานก็ดี ข้าพระองค์มีอยู่เป็นอันมาก แต่ที่ข้าพระองค์
ขโมยเงินเช่นนี้ ก็เพื่อจะทดลองผิดศีลดู และนี่เองจึงทำให้ข้าพระองค์ได้รู้ว่า ศีลนั้นสูงกว่าชาติ
ตระกูล สูงกว่าทรัพย์สมบัติใดๆ ทั้งสิ้น "

จากนั้นปุโรหิตได้ทูลขออนุญาตจากพระราชา ออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ สมาทาน
ตั้งมั่นอยู่ในศีล และปฎิบัติกัมมัฏฐาน จนได้สำเร็จอภิญญาสมาบัติ เมื่อละจากโลกแล้วได้ไปเกิด
ในชั้นพรหมโลก


.......ปุโรหิตผู้ทรงปัญญาได้รู้ซึ้งแล้วว่า อำนาจ วาสนา หรือ ทรัพย์สมบัติใดๆ ก็ไม่มีความหมาย
ไม่อาจช่วยอะไรได้ ยามเมื่อเขาได้ชื่อว่าเป็นขโมย

ถ้าหากการลักทรัพย์ในครั้งนี้ มิใช่เป็นเพียงแค่การทดลอง หากแต่เป็นการกระทำด้วยความโลภ
เรื่องนี้คงต้องจบลงอย่างน่าอัปยศอดสูแน่นอน

ในที่สุด จุดจบอันร้ายแรงที่สุดนั้น ย่อมมิใช่อยู่ที่ความเสียหายในทรัพย์สินของทางราชการ หรือ
โทษทัณฑ์ทางกฎหมายที่ปุโรหิตจะต้องได้รับ หากแต่อยู่ที่ความพินาศย่อยยับในคุณสมบัติของ
ความเป็นมนุษย์ นี่คือผลเสียหายที่ร้ายแรงที่สุดของการลักทรัพย์

ที่ีมา::
ที่มา คุณwellrider เว็บพลังจิต
IP : บันทึกการเข้า
kai015
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 204


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 28 สิงหาคม 2012, 15:29:54 »

ลึกซึ้งๆๆ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!