เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 09:15:13
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  นาฬิกาจับเวลาทำสมาธิ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน นาฬิกาจับเวลาทำสมาธิ  (อ่าน 3103 ครั้ง)
กล้วยไม้ไทย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 374


« เมื่อ: วันที่ 08 สิงหาคม 2010, 23:48:03 »

อยากเรียนถามว่า ที่เชียงรายมีร้านไหนขายนาฬิกาจับเวลาเพื่อทำสมาธิบ้างค่ะ เพราะจะนำไปถวายวัดสัก10เครื่องนะคะ ถ้าทราบราคาได้ยิ่งดีนะคะ เพี่อให้ผู้คนที่สนใจไปปฏิบัติวิปัสสนา ได้นำไปฝึกการทำสมาธินะคะ
IP : บันทึกการเข้า

~KT 2 U~
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,601


♥ แม่ค้าออนไลน์ ผู้ซึ่งเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ♥


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 08 สิงหาคม 2010, 23:57:12 »

ใช้นาฬิกาแบบไหนหรอคะ
แบบที่เป็นนาฬิกาจับเวลา เหมือนที่เขาใช้จับเวลาของนักกีฬามั้ยอะคะ

ถ้าเป็นนาฬิกาจัีบเวลาแบบนั้น
ร้านไทยเจริญนาฬิกา ถนนธนาลัย ก็มีอยู่ค่ะ แต่เรื่องราคาไม่ทราบจริงๆ แหะๆ
น่าจะมีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพันน่ะค่ะ แล้วแต่ยี่ห้อ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

กล้วยไม้ไทย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 374


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 00:02:39 »

ขอบคุณค่ะ ที่ช่วยตอบนะคะ ตอนนี้กำลังดูตามเวปไซด์ว่าแบบไหนนะคะ ดูจากร้านDaiso ราคาไม่แพงเลย60บาทค่ะ ไม่ทราบคุณภาพจะเป็นอย่างไร แล้วจะหาได้ไหมเนียะเรา หุหุหุ

ก๊อปปี้รูปก็ไม่ได้ เอาลิงค์ช่วยดูนะคะว่าคุณภาพเป็นไงบ้างค่ะ

http://www.daisoeshop.com/index.php?lay=show&ac=cat_show_pro_detail&cid=25514&pid=116719
IP : บันทึกการเข้า

~KT 2 U~
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,601


♥ แม่ค้าออนไลน์ ผู้ซึ่งเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ♥


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 00:15:33 »

 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

ต้องลองเสี่ยงซื้อค่ะ อิอิ
ไม่ลองไม่รู้ โน๊ะ
IP : บันทึกการเข้า

กล้วยไม้ไทย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 374


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 00:21:27 »

ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

ต้องลองเสี่ยงซื้อค่ะ อิอิ
ไม่ลองไม่รู้ โน๊ะ

สงสัยต้องแบบนั้นแล้วแหละค่ะ
IP : บันทึกการเข้า

Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 02:43:33 »

???กำลังเข้าสมาธิอยู่เพลินๆ
จู่ๆเสียงนาฬิกาก็ดังขึ้น
สติไม่กระเจิดกระเจิงเหรอครับ
ถ้าต้องการราคาไม่แพงแนะนำแม่สายครับ
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
กล้วยไม้ไทย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 374


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 02:50:07 »

???กำลังเข้าสมาธิอยู่เพลินๆ
จู่ๆเสียงนาฬิกาก็ดังขึ้น
สติไม่กระเจิดกระเจิงเหรอครับ
ถ้าต้องการราคาไม่แพงแนะนำแม่สายครับ
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ตอนแรกคิดแบบนี้นะคะ พอเข้าไปฝึกจริงๆๆไม่เป็นอย่างที่คิดนะคะ
ทำให้มีสติมากขึ้นกว่าเดิมนะคะ จริงๆๆนะคะ คุณไปทดลองสักครั้งก็จะเข้าใจ
คำว่า สติไม่กระเจิดกระเจิง ไม่มีค่ะ

ลองดูนะคะ "อย่าเชื่อในสิ่งที่คิด เพราะสิ่งที่คิดอาจไม่เป็นอย่างที่คิด"ค่ะ

ขอบคุณนะคะที่แนะนำที่แม่สายจะลองไปหาดูเจ้าค่ะ
IP : บันทึกการเข้า

Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 08:53:33 »

???กำลังเข้าสมาธิอยู่เพลินๆ
จู่ๆเสียงนาฬิกาก็ดังขึ้น
สติไม่กระเจิดกระเจิงเหรอครับ
ถ้าต้องการราคาไม่แพงแนะนำแม่สายครับ
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ตอนแรกคิดแบบนี้นะคะ พอเข้าไปฝึกจริงๆๆไม่เป็นอย่างที่คิดนะคะ
ทำให้มีสติมากขึ้นกว่าเดิมนะคะ จริงๆๆนะคะ คุณไปทดลองสักครั้งก็จะเข้าใจ
คำว่า สติไม่กระเจิดกระเจิง ไม่มีค่ะ

ลองดูนะคะ "อย่าเชื่อในสิ่งที่คิด เพราะสิ่งที่คิดอาจไม่เป็นอย่างที่คิด"ค่ะ

ขอบคุณนะคะที่แนะนำที่แม่สายจะลองไปหาดูเจ้าค่ะ
ผมคงเข้าใจผิดไปเองครับ
เคยฝึกนั่งมานาน แต่ยังไม่เคยเข้าถึงสมาธิเลยครับ
จำได้ว่าสมัยเรียนประถม คุณครูจะให้นั่งสมาธิหลังเคารพ ธงชาติ
ก่อนเรียนทุกวัน ตอนนั้นทำได้ครับ
ยังติดใจอารมณ์ตอนเป็นสมาธิมันสว่างเย็นมากเลย
พอโตขึ้นมากลับปฏิบัติไม่ได้
หรือว่าช่วงเป็นเด็กเราไม่ต้องแบกรับปัญหามากมาย
สมองไม่ต้องคิดฟุ้งซ๋านเรื่อยเปื่อย
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
~KT 2 U~
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,601


♥ แม่ค้าออนไลน์ ผู้ซึ่งเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ♥


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 09:02:37 »

แอบเป็นเหมือนกันนะคะเนี่ย สมัยเรียนอาจารย์ให้ทำสมาธิ ทำได้ไม่มีวอกแวก จิตมั่นมาก
แต่ตอนนี้คุมจิตใจไม่ค่อยอยู่เลยค่ะ - -"  เวลานั่งอยู่เฉยๆ นั่งทำงาน ขี่รถ เดิน ฯลฯ ก็เลยพยายามตั้งสมาธิไปด้วย  ยิงฟันยิ้ม  (พุทธ โธ ๆ ๆ ๆ ๆ สติๆๆๆๆ)

ก่อนนอนก็นั่งสมาธิสักนาที เดี๋ยวถ้าเริ่มมีสมาธิ คงจะเพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ สู้ค่า  ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,466



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2010, 14:29:19 »

ถ้ามีเวลาว่างไม่ต้องปลุกหรอกครับ นั่งดูลมไปเรื่อยๆ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บางครั้งนั่ง 2 ชั่วโมงก็เหมือนกับ 10 นาที่
แต่ถ้าต้องการปลุกจริง เช่นบางครั้งนำผู้อื่นทำสมาธิเป็นกลุ่มโดยกำหนดเวลา ก็ใช้มือถือปลุกก็ได้ครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


ผมคงเข้าใจผิดไปเองครับ
เคยฝึกนั่งมานาน แต่ยังไม่เคยเข้าถึงสมาธิเลยครับ
จำได้ว่าสมัยเรียนประถม คุณครูจะให้นั่งสมาธิหลังเคารพ ธงชาติ
ก่อนเรียนทุกวัน ตอนนั้นทำได้ครับ
ยังติดใจอารมณ์ตอนเป็นสมาธิมันสว่างเย็นมากเลย
พอโตขึ้นมากลับปฏิบัติไม่ได้
หรือว่าช่วงเป็นเด็กเราไม่ต้องแบกรับปัญหามากมาย
สมองไม่ต้องคิดฟุ้งซ๋านเรื่อยเปื่อย
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

สาเหตุที่เป็นแบบนั้นเป็นเพราะนิวรณ์ ครับ (นิวรณ์=เครื่องกั้นไม่ให้บรรลุคุณงามความดี)
ในการทำสมาธินั้นบางครั้งเรานั่งแล้วนิวรณ์เกิด ท่านให้หาวิธีแก้ ดังนี้ครับ

คำว่า นิวรณ์  แปลว่า เครื่องห้าม หรือ เครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึง เครื่องกั้นจิต
มิให้บรรลุถึงธรรม ที่สูงขึ้นไป อธิบายว่า ตามปรกติ คนเรา มักมีความรู้สึกที่
เรียกว่า นิวรณ์ อยู่ด้วยกันทุกคน ไม่อย่างใด ก็อย่างหนึ่ง ตามวิสัยของ ปุถุชน
เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันว่า จิตของ ปุถุชน ถูกนิวรณ์ เหล่านี้ กีดกันไว้ จากการ
บรรลุธรรมะ ที่สูงขึ้นไป อยู่ทุกครั้ง ที่ กิเลสชั้นละเอียด ถูกปรุง ฟุ้งป่วน ขึ้น
เป็นความกลัดกลุ้ม วุ่นวาย ไม่สงบ รำงับ ในภายใน ผู้ที่สามารถทำจิตให้ว่าง
จากนิวรณ์ ได้ตาม ความต้องการ ของตน นับว่า เป็นปุถุชนพิเศษ หรือ กัลยาณ
ปุถุชน ได้แก่ ผู้มีปัญญา ในการที่จะเปลื้องนิวรณ์ เหล่านี้ ออกไป เสียจากจิต
โดยการยกจิต ขึ้นมาสู่ สมาธิได้สำเร็จ ตามวิธีใด วิธีหนึ่ง เป็นต้น

1.  กามฉันทะ แปลว่า ความพอใจในกาม แต่ความหมาย หมายถึง ความกลัดกลุ้ม
อยู่ด้วยความกำหนัดในกาม จนมืดมัว ไม่แจ่มใส ไม่เห็นแจ้ง ในธรรมตามที่เป็น
จริง ท่านเปรียบอุปมาเหมือนน้ำใส แต่มีสี ต่างๆ มาเจือปน จนหมดความใส

2.  พยาบาท หมายถึง ความกลัดกลุ้ม อยู่ด้วยความไม่พอใจ โกรธแค้น เกลียดชัง
เป็นต้น ซึ่งทำความมืดมัว ให้อีก ในลักษณะหนึ่ง ซึ่งท่าน เปรียบด้วยน้ำที่ใส
แต่ถูกทำให้เดือด พลุ่งพล่าน อยู่ ก็ไม่อาจ ทำให้ผู้มอง มองเห็น สิ่งต่างๆ ที่มี
อยู่ ภายใต้น้ำ นั้นได้

3.  ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่ เคลิบเคลิ้ม ไม่ร่าเริง แจ่มใส ทำให้ จิต ไม่มีสมรรถ
ภาพ ในการที่จะเห็นแจ้ง ในธรรม ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส แต่มีพืช เช่น
ตะไคร่ หรือ สาหร่าย เกิด อยู่เต็ม ก็ไม่อาจจะ มองเห็น สิ่งต่างๆ ใต้น้ำ ได้
เช่นเดียวกัน

4.  อุทธัจจกุกกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน รำคาญ กระสับกระส่าย ในลักษณะที่
ตรงกันข้าม จากถีนมิทธะ ท่านเปรียบอุปมา ไว้เหมือนน้ำใส แต่ถูก ทำให้เป็น
ละลอกคลื่น หรือ กระเพื่อม อยู่เป็นนิจ ทำให้ไม่สามารถ จะมองเห็นสิ่งใต้น้ำ
เช่น กรวด ปลา และ หอย ได้เช่นเดียวกัน

5.  วิจิกิจฉา ข้อสุดท้ายนั้น หมายถึง ความสงสัย เพราะไม่รู้  หรือ มีอะไร มา
รบกวน ความอยากรู้ ไม่มีความสงบลงได้ ทำให้ เกิดความมืดมัว แก่จิต ไม่
อาจจะเห็นแจ้ง ในสิ่งที่ควรเห็นแจ้ง ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส อยู่ในที่มืด
ย่อมไม่อำนวยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ในน้ำนั้นได้

เมื่อพิจารณา ดูจากอุปมาเหล่านี้ จะเห็นความหมายได้ว่า จิตที่เป็นเดิมๆ นั้น
มีลักษณะเป็นประภัสสร คือใสกระจ่าง แต่ได้สูญเสีย ความในกระจ่างไป
เพราะสิ่งภายนอก เข้าไปแทรกแซง โดยการปรุงแต่ง ต่างๆ กัน ใน ๕ ลักษณะ
ที่กล่าวแล้ว เรามีหวัง ที่จะขจัด สิ่งซึ่งเป็น นิวรณ์ เหล่านั้น เช่นเดียวกับ อาจ
จะขจัด สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำ ตามที่กล่าวแล้วในอุปมา ฉะนั้น จึงถือว่า เป็น
สิ่งที่ ไม่เหลือวิสัย และมีลู่ทาง สำหรับให้ปฏิบัติ จนประสบผล ได้โดยแน่นอน
ถ้าสังเกตให้ดี จากอุปมา จะเห็นว่า กามฉันทะ เป็นสิ่งที่ ขจัดยาก เช่นเดียวกับ
น้ำผสมสี เป็นการยาก ที่จะแยกเอาสี ออกจากน้ำ ได้ง่ายๆ ไม่เหมือนกับ การยก
สาหร่าย หรือ จอกแหน ขึ้นจากน้ำ ในอุปมาของ ถีนมิทธะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น
ผู้ปฎิบัติ จะต้องเลือกหา ข้อปฏิบัติ ที่เป็น คู่ปรับ โดยตรง กับนิวรณ์ ของตนๆ
โดย หลักทั่วๆ ไป ท่านถือเป็นหลัก เลือกวิธีขจัด นิวรณ์ ๕ ด้วย กัมมัฏฐาน
อารมณ์ ต่างกัน เป็น ๕ อย่าง ดังนี้:

(๑) ถ้ากามฉันทะเกิด  ให้พิจารณาในทาง อสุภะ และปฏิกูล เช่น กายคตาสติ เป็นต้น ซึ่งจะกำจัด
กามฉันทะได้

(๒) ถ้าพยาบาทเกิด  ให้ เจริญ เมตตา โดยนัยเป็นต้นว่า ให้เห็น โดยความเป็น เพื่อนสัตว์ ที่เกิด
แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด ทุกคน ทุกชีวิต นี่ ย่อม กำจัด พยาบาท

(๓) ถ้าถีนมิทธะให้ทำในใจ ถึง แสงสว่างเป็นอารมณ์ เช่น การเจริญ อโลกสัญญา เป็นต้น
ย่อมกำจัด ถีนมิทธะ ข้อนี้ แม้การทำในใจ ถึงสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใส
หรือ อิ่มใจ เช่น การเจริญ พุทธานุสติ เป็นต้น ก็ อาจจะช่วย กำจัด ถีนมิธะ ได้
ตามสมควร

(๔) อถ้าอุทธัจจะกุกกุจจะเกิด  ให้ทำจิต จดจ่อ อยู่ที่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งง่ายแก่การ จดจ่อ เช่น การเจริญกสิณ
ทั่วๆไป หรือ แม้แต่ การเจริญอานาปานสติ ย่อมกำจัด อุทธัจจะกุกกุจจะได้

(๕) ถ้าวิจิกิจฉาเกิด  ให้ทำความเชื่อ ในสิ่งที่ควรเชื่อ แน่ใจในสิ่งที่ควรแน่ใจ ทำให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้
เช่น เชื่อในการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า แน่ใจในเรื่องกรรม หรือทำความรู้ ในเรื่อง
ไตรลักษณ์ อย่างนี้เป็นต้น ย่อมกำจัด วิจิกิจฉา ให้สิ้นไป

ถ้ากล่าวกลับกัน อีกทางหนึ่ง ถ้าผู้ใด สามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้น โดยวิธีใดก็ตาม
จนกระทั่งเป็น อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิที่แน่วแน่ แล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ย่อมเป็นอัน
ระงับไปหมดสิ้น ฉะนั้น ในอันดับแรกนี้ บุคคล ควรเริ่มต้น ด้วยการ เจริญสมาธิ
ที่สะดวกสบาย เช่น อานาปานสติ เป็นต้น ต่อเมื่อทำไปไม่สำเร็จ เพราะนิวรณ์
อย่างใด รบกวนพิเศษ จึงค่อยหันไป เจริญสมาธิ ที่เป็นคู่ปรับกับนิวรณ์นั้นโดย
ตรง จะเป้นวิธีที่ สะดวกกว่า และ ได้ผลดีกว่า

ความไม่มีนิวรณ์ หมายถึง จิตมีลักษณะบริสุทธิ์ ผ่องใส เยือกเย็น ปลอดโปร่ง
เป็นความพร้อม ที่จะรู้แจ้งเห็นจริง ในอรรถะ และธรรม อันลึก นับว่า เป็นสิ่ง
ที่จำเป็น จะต้องมี หรือ ต้องฝึกหัด สำหรับ ผู้ที่ประสงค์ จะก้าวหน้า ไปในทาง
ธรรม แม้จะกล่าวกันอย่างโลกๆ เวลาที่จิต ไม่ถูกนิวรณ์ รบกวน ก็กล่าวได้ว่า เป็น
เวลา ที่มีความ ผาสุก ที่สุด จึงได้มีผู้ หลงใหล ใน รสของ สมาธิ หรือ ฌาน จน
ถึงสิ่งนี้เคยถูก บัญญัติ เหมาเอาว่า เป็น นิพพาน มาแล้ว ในยุคหนึ่ง คือ ยุค ที่ยัง
ไม่มีความรู้ ในทางจิตสูงไปกว่านั้น


....


IP : บันทึกการเข้า

..............
watinta
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 10 สิงหาคม 2010, 21:49:13 »

ใช้นาฬิกาปลุกธรรมดาก็ได้มั้งครับ  ขออนุญาตอาจจะนอกเรื่องนิดหนึ่งนะครับจริงๆแล้วการทำสมาธิไม่ต้องตั้งเวลาก็ได้ครับ  พระที่ปฏิบัติทุกๆวันจนชำนาญแล้วจะรู้เวลาเองครับ   (โดยเฉพาะตอนเช้าตื่นนอนแล้วนั้งทันทีเลยครับ)  บางวันนั่งแล้วสงบจนไม่อยากลุกไปใหนไม่เจ็บไม่ปวดเลย  นั่งเป็นชั่วโมงๆมันจะสงบนิ่งเหมือนหนองน้ำยามเช้าในฤดูหนาวที่ปราศจากคลื่นและลมเลยครับ  แต่บางวันก็ไม่เป็นสัปรดเลยครับ (เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ เขาว่าอย่างนั้น)
IP : บันทึกการเข้า
กล้วยไม้ไทย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 374


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 10 สิงหาคม 2010, 22:33:07 »

ใช้นาฬิกาปลุกธรรมดาก็ได้มั้งครับ  ขออนุญาตอาจจะนอกเรื่องนิดหนึ่งนะครับจริงๆแล้วการทำสมาธิไม่ต้องตั้งเวลาก็ได้ครับ  พระที่ปฏิบัติทุกๆวันจนชำนาญแล้วจะรู้เวลาเองครับ   (โดยเฉพาะตอนเช้าตื่นนอนแล้วนั้งทันทีเลยครับ)  บางวันนั่งแล้วสงบจนไม่อยากลุกไปใหนไม่เจ็บไม่ปวดเลย  นั่งเป็นชั่วโมงๆมันจะสงบนิ่งเหมือนหนองน้ำยามเช้าในฤดูหนาวที่ปราศจากคลื่นและลมเลยครับ  แต่บางวันก็ไม่เป็นสัปรดเลยครับ (เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ เขาว่าอย่างนั้น)
ขอบคุณมากๆๆนะคะที่บอกผ่านประสบการณ์ อนุโมทนาสาธุ เจ้าค่ะ
พอดีข้าเจ้าอยากเอาไปทำบัญทีวัดที่เคยไปปฎิบัติมาและเคยใช้ในการปฏิบัติมา
แต่ยังไม่เก่งในการปฏิบัติจริง เลยต้องมีเครื่องชี้แนะนะเจ้า
ขอบคุณเจ้า
IP : บันทึกการเข้า

กล้วยไม้ไทย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 374


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 10 สิงหาคม 2010, 22:39:37 »

แอบเป็นเหมือนกันนะคะเนี่ย สมัยเรียนอาจารย์ให้ทำสมาธิ ทำได้ไม่มีวอกแวก จิตมั่นมาก
แต่ตอนนี้คุมจิตใจไม่ค่อยอยู่เลยค่ะ - -"  เวลานั่งอยู่เฉยๆ นั่งทำงาน ขี่รถ เดิน ฯลฯ ก็เลยพยายามตั้งสมาธิไปด้วย  ยิงฟันยิ้ม  (พุทธ โธ ๆ ๆ ๆ ๆ สติๆๆๆๆ)

ก่อนนอนก็นั่งสมาธิสักนาที เดี๋ยวถ้าเริ่มมีสมาธิ คงจะเพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ สู้ค่า  ยิ้มกว้างๆ

ดีใจเจ้าที่มีใจรักในการทำสมาธิเจ้า อนุโมทนาเจ้า ยะบ่อยๆๆเน้อเจ้า เป็นกลังใจ สู้ๆๆเจ้า
IP : บันทึกการเข้า

กล้วยไม้ไทย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 374


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 10 สิงหาคม 2010, 22:41:20 »

???กำลังเข้าสมาธิอยู่เพลินๆ
จู่ๆเสียงนาฬิกาก็ดังขึ้น
สติไม่กระเจิดกระเจิงเหรอครับ
ถ้าต้องการราคาไม่แพงแนะนำแม่สายครับ
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ตอนแรกคิดแบบนี้นะคะ พอเข้าไปฝึกจริงๆๆไม่เป็นอย่างที่คิดนะคะ
ทำให้มีสติมากขึ้นกว่าเดิมนะคะ จริงๆๆนะคะ คุณไปทดลองสักครั้งก็จะเข้าใจ
คำว่า สติไม่กระเจิดกระเจิง ไม่มีค่ะ

ลองดูนะคะ "อย่าเชื่อในสิ่งที่คิด เพราะสิ่งที่คิดอาจไม่เป็นอย่างที่คิด"ค่ะ

ขอบคุณนะคะที่แนะนำที่แม่สายจะลองไปหาดูเจ้าค่ะ
ผมคงเข้าใจผิดไปเองครับ
เคยฝึกนั่งมานาน แต่ยังไม่เคยเข้าถึงสมาธิเลยครับ
จำได้ว่าสมัยเรียนประถม คุณครูจะให้นั่งสมาธิหลังเคารพ ธงชาติ
ก่อนเรียนทุกวัน ตอนนั้นทำได้ครับ
ยังติดใจอารมณ์ตอนเป็นสมาธิมันสว่างเย็นมากเลย
พอโตขึ้นมากลับปฏิบัติไม่ได้
หรือว่าช่วงเป็นเด็กเราไม่ต้องแบกรับปัญหามากมาย
สมองไม่ต้องคิดฟุ้งซ๋านเรื่อยเปื่อย
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม




บ่เป้นหยังเจ้า เริ่มใหม่ได้เสมอเจ้า ขอให้ปฏิบัติได้สมใจมุ่งหวังเน้อเจ้า สาธุ
IP : บันทึกการเข้า

กล้วยไม้ไทย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 374


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 10 สิงหาคม 2010, 22:42:46 »

ถ้ามีเวลาว่างไม่ต้องปลุกหรอกครับ นั่งดูลมไปเรื่อยๆ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บางครั้งนั่ง 2 ชั่วโมงก็เหมือนกับ 10 นาที่
แต่ถ้าต้องการปลุกจริง เช่นบางครั้งนำผู้อื่นทำสมาธิเป็นกลุ่มโดยกำหนดเวลา ก็ใช้มือถือปลุกก็ได้ครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


ผมคงเข้าใจผิดไปเองครับ
เคยฝึกนั่งมานาน แต่ยังไม่เคยเข้าถึงสมาธิเลยครับ
จำได้ว่าสมัยเรียนประถม คุณครูจะให้นั่งสมาธิหลังเคารพ ธงชาติ
ก่อนเรียนทุกวัน ตอนนั้นทำได้ครับ
ยังติดใจอารมณ์ตอนเป็นสมาธิมันสว่างเย็นมากเลย
พอโตขึ้นมากลับปฏิบัติไม่ได้
หรือว่าช่วงเป็นเด็กเราไม่ต้องแบกรับปัญหามากมาย
สมองไม่ต้องคิดฟุ้งซ๋านเรื่อยเปื่อย
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

สาเหตุที่เป็นแบบนั้นเป็นเพราะนิวรณ์ ครับ (นิวรณ์=เครื่องกั้นไม่ให้บรรลุคุณงามความดี)
ในการทำสมาธินั้นบางครั้งเรานั่งแล้วนิวรณ์เกิด ท่านให้หาวิธีแก้ ดังนี้ครับ

คำว่า นิวรณ์  แปลว่า เครื่องห้าม หรือ เครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึง เครื่องกั้นจิต
มิให้บรรลุถึงธรรม ที่สูงขึ้นไป อธิบายว่า ตามปรกติ คนเรา มักมีความรู้สึกที่
เรียกว่า นิวรณ์ อยู่ด้วยกันทุกคน ไม่อย่างใด ก็อย่างหนึ่ง ตามวิสัยของ ปุถุชน
เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันว่า จิตของ ปุถุชน ถูกนิวรณ์ เหล่านี้ กีดกันไว้ จากการ
บรรลุธรรมะ ที่สูงขึ้นไป อยู่ทุกครั้ง ที่ กิเลสชั้นละเอียด ถูกปรุง ฟุ้งป่วน ขึ้น
เป็นความกลัดกลุ้ม วุ่นวาย ไม่สงบ รำงับ ในภายใน ผู้ที่สามารถทำจิตให้ว่าง
จากนิวรณ์ ได้ตาม ความต้องการ ของตน นับว่า เป็นปุถุชนพิเศษ หรือ กัลยาณ
ปุถุชน ได้แก่ ผู้มีปัญญา ในการที่จะเปลื้องนิวรณ์ เหล่านี้ ออกไป เสียจากจิต
โดยการยกจิต ขึ้นมาสู่ สมาธิได้สำเร็จ ตามวิธีใด วิธีหนึ่ง เป็นต้น

1.  กามฉันทะ แปลว่า ความพอใจในกาม แต่ความหมาย หมายถึง ความกลัดกลุ้ม
อยู่ด้วยความกำหนัดในกาม จนมืดมัว ไม่แจ่มใส ไม่เห็นแจ้ง ในธรรมตามที่เป็น
จริง ท่านเปรียบอุปมาเหมือนน้ำใส แต่มีสี ต่างๆ มาเจือปน จนหมดความใส

2.  พยาบาท หมายถึง ความกลัดกลุ้ม อยู่ด้วยความไม่พอใจ โกรธแค้น เกลียดชัง
เป็นต้น ซึ่งทำความมืดมัว ให้อีก ในลักษณะหนึ่ง ซึ่งท่าน เปรียบด้วยน้ำที่ใส
แต่ถูกทำให้เดือด พลุ่งพล่าน อยู่ ก็ไม่อาจ ทำให้ผู้มอง มองเห็น สิ่งต่างๆ ที่มี
อยู่ ภายใต้น้ำ นั้นได้

3.  ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่ เคลิบเคลิ้ม ไม่ร่าเริง แจ่มใส ทำให้ จิต ไม่มีสมรรถ
ภาพ ในการที่จะเห็นแจ้ง ในธรรม ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส แต่มีพืช เช่น
ตะไคร่ หรือ สาหร่าย เกิด อยู่เต็ม ก็ไม่อาจจะ มองเห็น สิ่งต่างๆ ใต้น้ำ ได้
เช่นเดียวกัน

4.  อุทธัจจกุกกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน รำคาญ กระสับกระส่าย ในลักษณะที่
ตรงกันข้าม จากถีนมิทธะ ท่านเปรียบอุปมา ไว้เหมือนน้ำใส แต่ถูก ทำให้เป็น
ละลอกคลื่น หรือ กระเพื่อม อยู่เป็นนิจ ทำให้ไม่สามารถ จะมองเห็นสิ่งใต้น้ำ
เช่น กรวด ปลา และ หอย ได้เช่นเดียวกัน

5.  วิจิกิจฉา ข้อสุดท้ายนั้น หมายถึง ความสงสัย เพราะไม่รู้  หรือ มีอะไร มา
รบกวน ความอยากรู้ ไม่มีความสงบลงได้ ทำให้ เกิดความมืดมัว แก่จิต ไม่
อาจจะเห็นแจ้ง ในสิ่งที่ควรเห็นแจ้ง ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส อยู่ในที่มืด
ย่อมไม่อำนวยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ในน้ำนั้นได้

เมื่อพิจารณา ดูจากอุปมาเหล่านี้ จะเห็นความหมายได้ว่า จิตที่เป็นเดิมๆ นั้น
มีลักษณะเป็นประภัสสร คือใสกระจ่าง แต่ได้สูญเสีย ความในกระจ่างไป
เพราะสิ่งภายนอก เข้าไปแทรกแซง โดยการปรุงแต่ง ต่างๆ กัน ใน ๕ ลักษณะ
ที่กล่าวแล้ว เรามีหวัง ที่จะขจัด สิ่งซึ่งเป็น นิวรณ์ เหล่านั้น เช่นเดียวกับ อาจ
จะขจัด สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำ ตามที่กล่าวแล้วในอุปมา ฉะนั้น จึงถือว่า เป็น
สิ่งที่ ไม่เหลือวิสัย และมีลู่ทาง สำหรับให้ปฏิบัติ จนประสบผล ได้โดยแน่นอน
ถ้าสังเกตให้ดี จากอุปมา จะเห็นว่า กามฉันทะ เป็นสิ่งที่ ขจัดยาก เช่นเดียวกับ
น้ำผสมสี เป็นการยาก ที่จะแยกเอาสี ออกจากน้ำ ได้ง่ายๆ ไม่เหมือนกับ การยก
สาหร่าย หรือ จอกแหน ขึ้นจากน้ำ ในอุปมาของ ถีนมิทธะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น
ผู้ปฎิบัติ จะต้องเลือกหา ข้อปฏิบัติ ที่เป็น คู่ปรับ โดยตรง กับนิวรณ์ ของตนๆ
โดย หลักทั่วๆ ไป ท่านถือเป็นหลัก เลือกวิธีขจัด นิวรณ์ ๕ ด้วย กัมมัฏฐาน
อารมณ์ ต่างกัน เป็น ๕ อย่าง ดังนี้:

(๑) ถ้ากามฉันทะเกิด  ให้พิจารณาในทาง อสุภะ และปฏิกูล เช่น กายคตาสติ เป็นต้น ซึ่งจะกำจัด
กามฉันทะได้

(๒) ถ้าพยาบาทเกิด  ให้ เจริญ เมตตา โดยนัยเป็นต้นว่า ให้เห็น โดยความเป็น เพื่อนสัตว์ ที่เกิด
แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด ทุกคน ทุกชีวิต นี่ ย่อม กำจัด พยาบาท

(๓) ถ้าถีนมิทธะให้ทำในใจ ถึง แสงสว่างเป็นอารมณ์ เช่น การเจริญ อโลกสัญญา เป็นต้น
ย่อมกำจัด ถีนมิทธะ ข้อนี้ แม้การทำในใจ ถึงสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใส
หรือ อิ่มใจ เช่น การเจริญ พุทธานุสติ เป็นต้น ก็ อาจจะช่วย กำจัด ถีนมิธะ ได้
ตามสมควร

(๔) อถ้าอุทธัจจะกุกกุจจะเกิด  ให้ทำจิต จดจ่อ อยู่ที่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งง่ายแก่การ จดจ่อ เช่น การเจริญกสิณ
ทั่วๆไป หรือ แม้แต่ การเจริญอานาปานสติ ย่อมกำจัด อุทธัจจะกุกกุจจะได้

(๕) ถ้าวิจิกิจฉาเกิด  ให้ทำความเชื่อ ในสิ่งที่ควรเชื่อ แน่ใจในสิ่งที่ควรแน่ใจ ทำให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้
เช่น เชื่อในการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า แน่ใจในเรื่องกรรม หรือทำความรู้ ในเรื่อง
ไตรลักษณ์ อย่างนี้เป็นต้น ย่อมกำจัด วิจิกิจฉา ให้สิ้นไป

ถ้ากล่าวกลับกัน อีกทางหนึ่ง ถ้าผู้ใด สามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้น โดยวิธีใดก็ตาม
จนกระทั่งเป็น อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิที่แน่วแน่ แล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ย่อมเป็นอัน
ระงับไปหมดสิ้น ฉะนั้น ในอันดับแรกนี้ บุคคล ควรเริ่มต้น ด้วยการ เจริญสมาธิ
ที่สะดวกสบาย เช่น อานาปานสติ เป็นต้น ต่อเมื่อทำไปไม่สำเร็จ เพราะนิวรณ์
อย่างใด รบกวนพิเศษ จึงค่อยหันไป เจริญสมาธิ ที่เป็นคู่ปรับกับนิวรณ์นั้นโดย
ตรง จะเป้นวิธีที่ สะดวกกว่า และ ได้ผลดีกว่า

ความไม่มีนิวรณ์ หมายถึง จิตมีลักษณะบริสุทธิ์ ผ่องใส เยือกเย็น ปลอดโปร่ง
เป็นความพร้อม ที่จะรู้แจ้งเห็นจริง ในอรรถะ และธรรม อันลึก นับว่า เป็นสิ่ง
ที่จำเป็น จะต้องมี หรือ ต้องฝึกหัด สำหรับ ผู้ที่ประสงค์ จะก้าวหน้า ไปในทาง
ธรรม แม้จะกล่าวกันอย่างโลกๆ เวลาที่จิต ไม่ถูกนิวรณ์ รบกวน ก็กล่าวได้ว่า เป็น
เวลา ที่มีความ ผาสุก ที่สุด จึงได้มีผู้ หลงใหล ใน รสของ สมาธิ หรือ ฌาน จน
ถึงสิ่งนี้เคยถูก บัญญัติ เหมาเอาว่า เป็น นิพพาน มาแล้ว ในยุคหนึ่ง คือ ยุค ที่ยัง
ไม่มีความรู้ ในทางจิตสูงไปกว่านั้น


....



ขอบคุณเจ้าได้ความรู้มากขึ้นเป็นกองเลยเจ้า สาธุเจ้าคุณพระคุณเจ้าคุ้มครองเน้อเจ้าเน้อ
IP : บันทึกการเข้า

Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 11 สิงหาคม 2010, 08:03:50 »

ถ้ามีเวลาว่างไม่ต้องปลุกหรอกครับ นั่งดูลมไปเรื่อยๆ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บางครั้งนั่ง 2 ชั่วโมงก็เหมือนกับ 10 นาที่
แต่ถ้าต้องการปลุกจริง เช่นบางครั้งนำผู้อื่นทำสมาธิเป็นกลุ่มโดยกำหนดเวลา ก็ใช้มือถือปลุกก็ได้ครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


ผมคงเข้าใจผิดไปเองครับ
เคยฝึกนั่งมานาน แต่ยังไม่เคยเข้าถึงสมาธิเลยครับ
จำได้ว่าสมัยเรียนประถม คุณครูจะให้นั่งสมาธิหลังเคารพ ธงชาติ
ก่อนเรียนทุกวัน ตอนนั้นทำได้ครับ
ยังติดใจอารมณ์ตอนเป็นสมาธิมันสว่างเย็นมากเลย
พอโตขึ้นมากลับปฏิบัติไม่ได้
หรือว่าช่วงเป็นเด็กเราไม่ต้องแบกรับปัญหามากมาย
สมองไม่ต้องคิดฟุ้งซ๋านเรื่อยเปื่อย
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

สาเหตุที่เป็นแบบนั้นเป็นเพราะนิวรณ์ ครับ (นิวรณ์=เครื่องกั้นไม่ให้บรรลุคุณงามความดี)
ในการทำสมาธินั้นบางครั้งเรานั่งแล้วนิวรณ์เกิด ท่านให้หาวิธีแก้ ดังนี้ครับ

คำว่า นิวรณ์  แปลว่า เครื่องห้าม หรือ เครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึง เครื่องกั้นจิต
มิให้บรรลุถึงธรรม ที่สูงขึ้นไป อธิบายว่า ตามปรกติ คนเรา มักมีความรู้สึกที่
เรียกว่า นิวรณ์ อยู่ด้วยกันทุกคน ไม่อย่างใด ก็อย่างหนึ่ง ตามวิสัยของ ปุถุชน
เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันว่า จิตของ ปุถุชน ถูกนิวรณ์ เหล่านี้ กีดกันไว้ จากการ
บรรลุธรรมะ ที่สูงขึ้นไป อยู่ทุกครั้ง ที่ กิเลสชั้นละเอียด ถูกปรุง ฟุ้งป่วน ขึ้น
เป็นความกลัดกลุ้ม วุ่นวาย ไม่สงบ รำงับ ในภายใน ผู้ที่สามารถทำจิตให้ว่าง
จากนิวรณ์ ได้ตาม ความต้องการ ของตน นับว่า เป็นปุถุชนพิเศษ หรือ กัลยาณ
ปุถุชน ได้แก่ ผู้มีปัญญา ในการที่จะเปลื้องนิวรณ์ เหล่านี้ ออกไป เสียจากจิต
โดยการยกจิต ขึ้นมาสู่ สมาธิได้สำเร็จ ตามวิธีใด วิธีหนึ่ง เป็นต้น

1.  กามฉันทะ แปลว่า ความพอใจในกาม แต่ความหมาย หมายถึง ความกลัดกลุ้ม
อยู่ด้วยความกำหนัดในกาม จนมืดมัว ไม่แจ่มใส ไม่เห็นแจ้ง ในธรรมตามที่เป็น
จริง ท่านเปรียบอุปมาเหมือนน้ำใส แต่มีสี ต่างๆ มาเจือปน จนหมดความใส

2.  พยาบาท หมายถึง ความกลัดกลุ้ม อยู่ด้วยความไม่พอใจ โกรธแค้น เกลียดชัง
เป็นต้น ซึ่งทำความมืดมัว ให้อีก ในลักษณะหนึ่ง ซึ่งท่าน เปรียบด้วยน้ำที่ใส
แต่ถูกทำให้เดือด พลุ่งพล่าน อยู่ ก็ไม่อาจ ทำให้ผู้มอง มองเห็น สิ่งต่างๆ ที่มี
อยู่ ภายใต้น้ำ นั้นได้

3.  ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่ เคลิบเคลิ้ม ไม่ร่าเริง แจ่มใส ทำให้ จิต ไม่มีสมรรถ
ภาพ ในการที่จะเห็นแจ้ง ในธรรม ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส แต่มีพืช เช่น
ตะไคร่ หรือ สาหร่าย เกิด อยู่เต็ม ก็ไม่อาจจะ มองเห็น สิ่งต่างๆ ใต้น้ำ ได้
เช่นเดียวกัน

4.  อุทธัจจกุกกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน รำคาญ กระสับกระส่าย ในลักษณะที่
ตรงกันข้าม จากถีนมิทธะ ท่านเปรียบอุปมา ไว้เหมือนน้ำใส แต่ถูก ทำให้เป็น
ละลอกคลื่น หรือ กระเพื่อม อยู่เป็นนิจ ทำให้ไม่สามารถ จะมองเห็นสิ่งใต้น้ำ
เช่น กรวด ปลา และ หอย ได้เช่นเดียวกัน

5.  วิจิกิจฉา ข้อสุดท้ายนั้น หมายถึง ความสงสัย เพราะไม่รู้  หรือ มีอะไร มา
รบกวน ความอยากรู้ ไม่มีความสงบลงได้ ทำให้ เกิดความมืดมัว แก่จิต ไม่
อาจจะเห็นแจ้ง ในสิ่งที่ควรเห็นแจ้ง ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส อยู่ในที่มืด
ย่อมไม่อำนวยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ในน้ำนั้นได้

เมื่อพิจารณา ดูจากอุปมาเหล่านี้ จะเห็นความหมายได้ว่า จิตที่เป็นเดิมๆ นั้น
มีลักษณะเป็นประภัสสร คือใสกระจ่าง แต่ได้สูญเสีย ความในกระจ่างไป
เพราะสิ่งภายนอก เข้าไปแทรกแซง โดยการปรุงแต่ง ต่างๆ กัน ใน ๕ ลักษณะ
ที่กล่าวแล้ว เรามีหวัง ที่จะขจัด สิ่งซึ่งเป็น นิวรณ์ เหล่านั้น เช่นเดียวกับ อาจ
จะขจัด สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำ ตามที่กล่าวแล้วในอุปมา ฉะนั้น จึงถือว่า เป็น
สิ่งที่ ไม่เหลือวิสัย และมีลู่ทาง สำหรับให้ปฏิบัติ จนประสบผล ได้โดยแน่นอน
ถ้าสังเกตให้ดี จากอุปมา จะเห็นว่า กามฉันทะ เป็นสิ่งที่ ขจัดยาก เช่นเดียวกับ
น้ำผสมสี เป็นการยาก ที่จะแยกเอาสี ออกจากน้ำ ได้ง่ายๆ ไม่เหมือนกับ การยก
สาหร่าย หรือ จอกแหน ขึ้นจากน้ำ ในอุปมาของ ถีนมิทธะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น
ผู้ปฎิบัติ จะต้องเลือกหา ข้อปฏิบัติ ที่เป็น คู่ปรับ โดยตรง กับนิวรณ์ ของตนๆ
โดย หลักทั่วๆ ไป ท่านถือเป็นหลัก เลือกวิธีขจัด นิวรณ์ ๕ ด้วย กัมมัฏฐาน
อารมณ์ ต่างกัน เป็น ๕ อย่าง ดังนี้:

(๑) ถ้ากามฉันทะเกิด  ให้พิจารณาในทาง อสุภะ และปฏิกูล เช่น กายคตาสติ เป็นต้น ซึ่งจะกำจัด
กามฉันทะได้

(๒) ถ้าพยาบาทเกิด  ให้ เจริญ เมตตา โดยนัยเป็นต้นว่า ให้เห็น โดยความเป็น เพื่อนสัตว์ ที่เกิด
แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด ทุกคน ทุกชีวิต นี่ ย่อม กำจัด พยาบาท

(๓) ถ้าถีนมิทธะให้ทำในใจ ถึง แสงสว่างเป็นอารมณ์ เช่น การเจริญ อโลกสัญญา เป็นต้น
ย่อมกำจัด ถีนมิทธะ ข้อนี้ แม้การทำในใจ ถึงสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใส
หรือ อิ่มใจ เช่น การเจริญ พุทธานุสติ เป็นต้น ก็ อาจจะช่วย กำจัด ถีนมิธะ ได้
ตามสมควร

(๔) อถ้าอุทธัจจะกุกกุจจะเกิด  ให้ทำจิต จดจ่อ อยู่ที่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งง่ายแก่การ จดจ่อ เช่น การเจริญกสิณ
ทั่วๆไป หรือ แม้แต่ การเจริญอานาปานสติ ย่อมกำจัด อุทธัจจะกุกกุจจะได้

(๕) ถ้าวิจิกิจฉาเกิด  ให้ทำความเชื่อ ในสิ่งที่ควรเชื่อ แน่ใจในสิ่งที่ควรแน่ใจ ทำให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้
เช่น เชื่อในการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า แน่ใจในเรื่องกรรม หรือทำความรู้ ในเรื่อง
ไตรลักษณ์ อย่างนี้เป็นต้น ย่อมกำจัด วิจิกิจฉา ให้สิ้นไป

ถ้ากล่าวกลับกัน อีกทางหนึ่ง ถ้าผู้ใด สามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้น โดยวิธีใดก็ตาม
จนกระทั่งเป็น อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิที่แน่วแน่ แล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ย่อมเป็นอัน
ระงับไปหมดสิ้น ฉะนั้น ในอันดับแรกนี้ บุคคล ควรเริ่มต้น ด้วยการ เจริญสมาธิ
ที่สะดวกสบาย เช่น อานาปานสติ เป็นต้น ต่อเมื่อทำไปไม่สำเร็จ เพราะนิวรณ์
อย่างใด รบกวนพิเศษ จึงค่อยหันไป เจริญสมาธิ ที่เป็นคู่ปรับกับนิวรณ์นั้นโดย
ตรง จะเป้นวิธีที่ สะดวกกว่า และ ได้ผลดีกว่า

ความไม่มีนิวรณ์ หมายถึง จิตมีลักษณะบริสุทธิ์ ผ่องใส เยือกเย็น ปลอดโปร่ง
เป็นความพร้อม ที่จะรู้แจ้งเห็นจริง ในอรรถะ และธรรม อันลึก นับว่า เป็นสิ่ง
ที่จำเป็น จะต้องมี หรือ ต้องฝึกหัด สำหรับ ผู้ที่ประสงค์ จะก้าวหน้า ไปในทาง
ธรรม แม้จะกล่าวกันอย่างโลกๆ เวลาที่จิต ไม่ถูกนิวรณ์ รบกวน ก็กล่าวได้ว่า เป็น
เวลา ที่มีความ ผาสุก ที่สุด จึงได้มีผู้ หลงใหล ใน รสของ สมาธิ หรือ ฌาน จน
ถึงสิ่งนี้เคยถูก บัญญัติ เหมาเอาว่า เป็น นิพพาน มาแล้ว ในยุคหนึ่ง คือ ยุค ที่ยัง
ไม่มีความรู้ ในทางจิตสูงไปกว่านั้น


....



ขอบพระคุณครับท่าน
จะลองทำดูครับ
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 11 สิงหาคม 2010, 08:05:33 »

???กำลังเข้าสมาธิอยู่เพลินๆ
จู่ๆเสียงนาฬิกาก็ดังขึ้น
สติไม่กระเจิดกระเจิงเหรอครับ
ถ้าต้องการราคาไม่แพงแนะนำแม่สายครับ
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ตอนแรกคิดแบบนี้นะคะ พอเข้าไปฝึกจริงๆๆไม่เป็นอย่างที่คิดนะคะ
ทำให้มีสติมากขึ้นกว่าเดิมนะคะ จริงๆๆนะคะ คุณไปทดลองสักครั้งก็จะเข้าใจ
คำว่า สติไม่กระเจิดกระเจิง ไม่มีค่ะ

ลองดูนะคะ "อย่าเชื่อในสิ่งที่คิด เพราะสิ่งที่คิดอาจไม่เป็นอย่างที่คิด"ค่ะ

ขอบคุณนะคะที่แนะนำที่แม่สายจะลองไปหาดูเจ้าค่ะ
ผมคงเข้าใจผิดไปเองครับ
เคยฝึกนั่งมานาน แต่ยังไม่เคยเข้าถึงสมาธิเลยครับ
จำได้ว่าสมัยเรียนประถม คุณครูจะให้นั่งสมาธิหลังเคารพ ธงชาติ
ก่อนเรียนทุกวัน ตอนนั้นทำได้ครับ
ยังติดใจอารมณ์ตอนเป็นสมาธิมันสว่างเย็นมากเลย
พอโตขึ้นมากลับปฏิบัติไม่ได้
หรือว่าช่วงเป็นเด็กเราไม่ต้องแบกรับปัญหามากมาย
สมองไม่ต้องคิดฟุ้งซ๋านเรื่อยเปื่อย
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม




บ่เป้นหยังเจ้า เริ่มใหม่ได้เสมอเจ้า ขอให้ปฏิบัติได้สมใจมุ่งหวังเน้อเจ้า สาธุ
ยิงฟันยิ้มขอบคุณมากครับจะพยายามทำครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
กล้วยไม้ไทย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 374


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 12 สิงหาคม 2010, 13:56:40 »

ต้องกำหนดเวลาด้วยเหรอ

ค่ะฝึกใหม่ๆๆสำหรับตัวเองต้องกำหนดเวลา
มีแม่ชีเป็นอาจารย์ค่อยแนะนำ เริ่ม 5,10,15,........
ไปเรื่อยๆๆจนกว่านานเป็นชั่วโมงได้การฝึกบางคน
ต้องมีอาจารย์แนะนำถึงจะทำได้แต่บางคนมีบุญบารมีก็ฝึกเองได้
มีโอกาสไปทดลองฝึกด้วยนะคะ อนุโมทนาสาธุค่ะ
IP : บันทึกการเข้า

ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,466



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 12 สิงหาคม 2010, 14:06:04 »


จิตฺเต อสํกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้

ขอร่วมอนุโมทนาด้วยครับ
IP : บันทึกการเข้า

..............
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!