เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 กรกฎาคม 2025, 15:49:02
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  +++ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าที่เชียงของ+++
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน +++ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าที่เชียงของ+++  (อ่าน 527 ครั้ง)
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« เมื่อ: วันที่ 30 กรกฎาคม 2012, 15:02:50 »

ทุ่ม1.5พันล.เชียงของ คมนาคมผุดศูนย์โลจิสติก

คมนาคมวาดแผนผุดศูนย์กลางโลจิสติกส์แห่งภาคเหนือ เร่งสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าที่เชียงของ หวังเปลี่ยนประตูการขนส่งเป็นประตูการค้าและประตูเศรษฐกิจ สู่จีนและประเทศเพื่อนบ้าน

รองรับการเกิดเออีซี ส่วนคิวต่อไปเล็งเปิดเพิ่มที่นครพนมเพื่อเชื่อมโยงสู่เวียดนาม ล่าสุดร่วมมือจีนเร่งเครื่องโครงข่ายงานก่อสร้างถนน สะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 และท่าเรือพื้นที่ภาคเหนือเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบังเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์
 นายสมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากการที่รัฐบาลกำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจและการค้าของภูมิภาคอินโดจีน โดยมีระบบโลจิสติกส์ที่สนับสนุนเพื่อไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ในส่วนของกรมการขนส่งทางบกจะดำเนินโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า (Inter Modal Facilities) ที่บริเวณสะพานเชียงของ จังหวัดเชียงราย ใช้เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ งบประมาณการสร้างคาดว่าจะใช้ประมาณ 1,500 ล้านบาท(งบผูกพัน 3 ปี พ.ศ.2556-2558) เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ทางถนนจากประเทศจีนผ่านเส้นทาง R3A เข้าสู่ประเทศไทยทางสะพานเชียงของ จากนั้นสามารถเปลี่ยนมาใช้ระบบการขนส่งทางถนนภายในประเทศ หรือเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งเป็นการขนส่งทางรถไฟ และการขนส่งทางเรือ ณ สถานที่ดังกล่าว เพื่อไปยังท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง  
       ส่วนรูปแบบการดำเนินโครงการจะเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยภาครัฐมีหน้าที่ในการเวนคืนที่ดินมาพัฒนา ตลอดจนการสร้างสาธารณูปโภคและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง รวมถึงสิทธิของการเป็นเจ้าของโครงการ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535  ในขณะที่ภาคเอกชนจะมีหน้าที่ในการจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ยกขน อุปกรณ์สำนักงานต่างๆ การจ้างแรงงาน การให้บริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ และจ่ายค่าสัมปทานตามสัญญาตลอดอายุสัมปทานซึ่งกระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณาในเรื่องนี้อีกครั้ง
       "ในการคัดเลือกผู้ที่ได้รับสัมปทานนั้นจะไม่ใช้วิธี Bidding มอบสิทธิแก่ผู้ที่เสนอผลประโยชน์หรือค่าสัมปทานให้แก่รัฐสูงสุด แต่จะใช้วิธี Tendering ซึ่งจะให้สัมปทานแก่ผู้ที่เสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ใช้บริการ เช่น การให้สัมปทานแก่ผู้ที่เสนอค่าบริการที่เก็บจากผู้ใช้บริการต่ำที่สุด และขณะเดียวกันต้องมีการให้บริการที่มีคุณภาพดีได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ภายใต้พันธะสัญญาในการชำระค่าสัมปทานรายปีตามที่กำหนดไว้"
       นายสมชัยกล่าวว่า กรมการขนส่งทางบกได้เร่งจัดเตรียมกระบวนการเชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาแข่งขันเพื่อเป็นผู้ประกอบการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง  ตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535  โดยมีเป้าหมายว่าจะสามารถจัดหาผู้ประกอบการได้ภายในปี พ.ศ. 2561 แต่เนื่องจากยังเป็นของใหม่ในประเทศไทยคาดว่าจะมีผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศร่วมมือกันเข้าร่วมยื่นข้อเสนอในครั้งนี้หลายรายแน่ๆ
 "การพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าที่เชียงของจะทำให้ประตูการขนส่งกลายเป็นประตูการค้า และประตูเศรษฐกิจ ในอนาคต มีความสำคัญต่อการพัฒนาที่เกี่ยวเนื่อง เช่น การเกิดกิจกรรมการค้าและการลงทุนในบริเวณเชียงของไม่ใช่เพียงการขนส่งผ่านพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นต้นแบบในการพัฒนาและบริหารโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและการขนส่งเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในประตูการขนส่งอื่นๆของประเทศโดยจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางถนนระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการขนส่งของไทยให้มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"
 นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงข่ายการสร้างถนน-สะพาน-ท่าเรือในพื้นที่ภาคเหนือว่า ขณะนี้ภาพรวมของการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทั้งถนนสาย R3 และถนนในไทย สะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 หรือท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 มีความคืบหน้าไปมาก สามารถเชื่อมโยงกันได้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารไปสู่ท่าเรือแหลมฉบังและจุดต่างๆได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
        "สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 จะกำหนดเชื่อมช่วงกลางสะพานในวันที่ 12 ธันวาคมปีนี้ก่อนที่จะเร่งก่อสร้างจุดต่างๆให้แล้วเสร็จเพื่อเปิดให้บริการในเดือนธันวาคมปี 2556 ส่วนหลังจากนั้นจะตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-สปป.ลาวบริหารจัดการดูแลบำรุงรักษาโดยใช้งบจากค่าข้ามของรถยนต์เช่นด่านอื่นต่อไป คาดว่าในเบื้องต้นจะมีรถยนต์ใช้บริการประมาณ 1,000 คันต่อวันโดยจะเป็นรถบรรทุกประมาณ 30%"
 ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่านอกจากจะสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายโหมดการขนส่งสินค้าที่เชียงของแล้ว ยังมีแผนจัดสร้างขึ้นที่นครพนมให้เชื่อมโยงกับสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เชื่อมไปสู่เวียดนามได้อีกด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจพื้นที่และศึกษาความเหมาะสมในระยะต่อไป
 ร.ต.วิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่าสำหรับท่าเรือเชียงแสน 2 และสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 นั้นถือได้ว่าเป็นประตูทางการค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย ต้องให้เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศให้ได้
 อย่างไรก็ตาม ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 อยู่ระหว่างการเร่งสรุปผลศึกษาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ เช่นเดียวกับการเร่งระบบรถไฟทางคู่เชื่อมโยงถึงภายในโดยตรง อีกทั้งยังเร่งจัดระเบียบเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการขนส่งสินค้าจากท่าเรือสำคัญ ๆ ที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศพม่า และท่าเรือเชียงแสน 2 อำเภอเชียงแสน หรือสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายที่เชื่อมโยงสปป.ลาวและจีนซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้สร้างรายได้เพิ่ม"  สำหรับเส้นทางเชื่อมโยงที่กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการนั้นประกอบด้วยการเชื่อมโยงทางรถไฟเพื่อการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารเริ่มจากเชียงของผ่านเด่นชัย  อุตรดิตถ์ พิษณุโลก อยุธยา แก่งคอย  มุ่งสู่ท่าเรือแหลมฉบังที่ปัจจุบันก่อสร้างรถไฟทางคู่รองรับไว้แล้ว สำหรับช่วงเด่นชัย-เชียงรายระยะทางประมาณ 326 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบประมาณ 4หมื่นล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งสรุปผลการศึกษาออกแบบ และช่วงที่จะมีการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า(อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา) - แก่งคอย มูลค่า 11,348 ล้านบาท ระยะทาง 106 กิโลเมตรขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมนำเสนอครม.เห็นชอบให้ดำเนินการ ส่วนอีก 1 เส้นทางเริ่มจากอยุธยามุ่งสู่บางซื่อไปใช้เส้นทางสายใต้ผ่านนครปฐม มุ่งสู่ชะอำ ชุมพร หาดใหญ่ออกสู่ท่าเรือน้ำลึกปากบาราได้อีกด้วย

 
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,761   29  กรกฎาคม  - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555


* 2901.jpg (40.29 KB, 400x282 - ดู 3042 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!