เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 กรกฎาคม 2025, 15:38:31
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  อยากให้ลุกเรียนเก่งต้องทนนั่งรถไปกลับวันละ3-4ชั่วโมง
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 [2] 3 พิมพ์
ผู้เขียน อยากให้ลุกเรียนเก่งต้องทนนั่งรถไปกลับวันละ3-4ชั่วโมง  (อ่าน 4438 ครั้ง)
louis
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,477



« ตอบ #20 เมื่อ: วันที่ 13 มิถุนายน 2012, 22:00:47 »

โดยมากพ่อแม่คงไม่อยากให้ลูกไปเรียนในเมืองสงสารเด็ก
ถ้า  โรงเรียนใกล้บ้าน  สอนดีและเด็กรุ้เรื่อง

IP : บันทึกการเข้า

อย่าเอามีดไปฟันหิน
นอกจากจะไร้ค่า
ยังทำให้มีดเสียคม
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #21 เมื่อ: วันที่ 13 มิถุนายน 2012, 22:10:59 »

มองต่างมุมครับ  น้าผมส่งลูกเรียน  สามัคคี จนจบมหิดลทั้งสองคน  สองคนได้ทำงานดี  คนหนึ่งเป็นวิศวะ  อีกคนเป็นสัตวแพทย์  แต่พอพ่อป่วย  แม่มีปัญหาทางสายตา  ไม่มีสักคนที่สามารถมาดูแลได้  ด้วยภาระงาน  ต้องให้ญาติๆ  ช่วยกันดูแล  ต่างกันกับน้าอีกคนที่ลูกเรียนลุ่มๆ  ดอนๆ  เรียนแถวๆ  บ้าน ติด 0 มั่ง  สอบซ่อมมั่ง  แต่ก้อเรียนจนจบ  สุดท้ายก้อเปิดร้านคอมอยู่ที่่บ้านได้ดูแลครอบครัว  มีลูกมีหลาน   ครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้า  ต่างกันกับอีกสองคนไม่รู้จะได้กลับบ้านหรือเปล่า  ยิ่งเรียนสูงยิ่งไกลบ้าน

กรณีหยั่งอี้มีนักครับ

ตะวา (12 มิ.ย. 2555) ได้ผ่อรายก๋าร "ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร" ของไทยพีบีเอส ครับ
เป๋นเรื่องของทนายหนุ่มลูกจาวนาเจียงคำ สมัยละอ่อนได้โครงก๋ารจ๊างเผือก
ไปเฮียน ป.ตรี นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ จบมาก็เป๋นทนายใน กทม.
ได้เงินเดือนเป๋น 50,000 บาท แกเยียะก๋ารอยู่ กทม. ได้ 5 ปี๋ ก็ลาออกมาจ่วยป้อเยียะนา


ป้อแกบ่หันโตย อยากหื้อลูกสบาย บ่ใคร่หื้อตุ๊ก
แต่ทนายหนุ่มแกก็ยืนยันว่าจะเยียะนา ย้อนว่าแกเป๋นลูกจาวนา
แกอยากพิสูจน์ว่าจาวนาเป๋นอาชีพตี้มีคุณค่า
ทนายหนุ่มบอกว่าโครงก๋ารจ๊างเผือกหื้อโอกาสละอ่อนบ้านนอกไปเฮียน
เพื่อนำความฮู้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด เมื่อแกมีโอกาสแกก็อยากปิ๊กมาจ่วยท้องถิ่น

ในรายก๋ารแกไปว่าความจ่วยจาวนา อ.เจียงคำ กับ อ.จุน ตี้โดนโฮงสีโกงก้าข้าว (ค่าข้าว) โตยครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 13 มิถุนายน 2012, 22:13:16 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
louis
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,477



« ตอบ #22 เมื่อ: วันที่ 13 มิถุนายน 2012, 22:15:27 »

มองต่างมุมครับ  น้าผมส่งลูกเรียน  สามัคคี จนจบมหิดลทั้งสองคน  สองคนได้ทำงานดี  คนหนึ่งเป็นวิศวะ  อีกคนเป็นสัตวแพทย์  แต่พอพ่อป่วย  แม่มีปัญหาทางสายตา  ไม่มีสักคนที่สามารถมาดูแลได้  ด้วยภาระงาน  ต้องให้ญาติๆ  ช่วยกันดูแล  ต่างกันกับน้าอีกคนที่ลูกเรียนลุ่มๆ  ดอนๆ  เรียนแถวๆ  บ้าน ติด 0 มั่ง  สอบซ่อมมั่ง  แต่ก้อเรียนจนจบ  สุดท้ายก้อเปิดร้านคอมอยู่ที่่บ้านได้ดูแลครอบครัว  มีลูกมีหลาน   ครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้า  ต่างกันกับอีกสองคนไม่รู้จะได้กลับบ้านหรือเปล่า  ยิ่งเรียนสูงยิ่งไกลบ้าน

กรณีหยั่งอี้มีนักครับ

ตะวา (12 มิ.ย. 2555) ได้ผ่อรายก๋าร "ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร" ของไทยพีบีเอส ครับ
เป๋นเรื่องของทนายหนุ่มลูกจาวนาเจียงคำ สมัยละอ่อนได้โครงก๋ารจ๊างเผือก
ไปเฮียน ป.ตรี นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ จบมาก็เป๋นทนายใน กทม.
ได้เงินเดือนเป๋น 50,000 บาท แกเยียะก๋ารอยู่ กทม. ได้ 5 ปี๋ ก็ลาออกมาจ่วยป้อเยียะนา


ป้อแกบ่หันโตย อยากหื้อลูกสบาย บ่ใคร่หื้อตุ๊ก
แต่ทนายหนุ่มแกก็ยืนยันว่าจะเยียะนา ย้อนว่าแกเป๋นลูกจาวนา
แกอยากพิสูจน์ว่าจาวนาเป๋นอาชีพตี้มีคุณค่า
ทนายหนุ่มบอกว่าโครงก๋ารจ๊างเผือกหื้อโอกาสละอ่อนบ้านนอกไปเฮียน
เพื่อนำความฮู้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด เมื่อแกมีโอกาสแกก็อยากปิ๊กมาจ่วยท้องถิ่น

ในรายก๋ารแกไปว่าความจ่วยจาวนา อ.เจียงคำ กับ อ.จุน ตี้โดนโฮงสีโกงก้าข้าว (ค่าข้าว) โตยครับ



ชาวนาสมัยนี้ไม่ธรรมดาครับ
รายไ้ด้ดีกว่าเมื่อก่อนมาก
IP : บันทึกการเข้า

อย่าเอามีดไปฟันหิน
นอกจากจะไร้ค่า
ยังทำให้มีดเสียคม
b'ngo-nga
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,709


« ตอบ #23 เมื่อ: วันที่ 13 มิถุนายน 2012, 22:19:54 »

ต่างคน  ต่างความคิดน่ะค่ะ 
ช้างเผือกอยู่ในป่า  แต่กว่าจะหาได้  สมัยนี้คงหายาก

IP : บันทึกการเข้า
Archavin
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 309


089-999-4438


« ตอบ #24 เมื่อ: วันที่ 13 มิถุนายน 2012, 22:27:08 »

เรียนในเมือง ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เงินกู้ยืมเรียนเอาไม่อยู่ แต่เพื่ออนาคต พ่อแม่ที่ทุ่มเทย่อมให้ลูกได้
ตัวลูกเอง ก็ต้องรับผิดชอบตัวเองมากๆ อย่าเดินทางผิด เพราะในเมืองสิ่งล่อตา ล่อใจมันเยอะ บางคนเช่าหอพักอยู่ น่าเป็นห่วงพอๆกับการเดินทางไปกลับ ที่บ้าน
IP : บันทึกการเข้า

ขาย-ซ่อม มือถือ แท็บเล็ท โน๊ตบุ๊ค เดสท๊อป จอคอมพิวเตอร์
ประกอบคอมพิวเตอร์ อัพเกรต แลกเปลี่ยนอะไหล่
แฟลชโปรแกรมมือถือ Nokia Samsung Imobile Chaina
ปลดล็อกไทย-พม่า-จีน
Schematic and Software repair
teetee2011
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 664


« ตอบ #25 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 07:48:44 »

เราทั้งทางด้านดีและด้านเสียมาเป็นองวค์ประกอบกันครับในความคิดผมนะ
เรียนในเมือง  1. การสอนของครูมีการเตรียมนำเสนอที่ดีกว่าเพราะครูก็แข่งขันเอาผลงานจึงมีวิธีการนำเสนอที่ดี  2. อาคารสถานที่ก็ดีกว่าเพราะผู้ปกครองต้องทุ่มเทเงินให้เพื่อให้ลูกได้เรียนสถานที่ดี ๆ 3.การพบปะเพื่อนฝูงในโรงเรียนก็มีโอกาสเลือกคบคนได้(เลวมากกว่าดี)   4. เด็ก ๆ เกิดทักษะได้ดีกว่า (แต่ทั้งหมดก็ไม่แน่เสมอไป)   
เรียนบ้านนอก
1. การเ้ตรียมการสอนของครูไม่พัฒนาเท่าที่ควรในโรงเรียนแบ่งพรรคแบ่งพวกเห็นได้ชัด
    สอนเด็กไปวัน ๆ เพื่อให้หมดคาบของตนเอง ครูท้องถิ่นเก่า ๆ เยอะไม่ยอมรับการพัฒนาของเด็กใหม่ (เท่าที่เห็นนะ)
2.  อาคารสถานที่ สื่อการเรียนการสอนไม่พร้อม (เพราะคนรวยเอาเงินเอาลูกไปให้โรงเรียนในเมืองหมด จึงเหลือแต่คนจน ๆ บ้านนอก) โรงเรียนขาดงบจะได้แต่ละทีจัดผ้าป่าเรี่ยไรที่บ้านผมปีละ 50-100 บาท ทอดผ้าป่าตอนสงกรานต์ (แล้วเมื่อไหร่จะรวยจะมีเงินซื้อสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย) เพราะคนบ้านนอกเราไม่เข้าใจในด้านนี้
3. การพบปะเพื่อนฝูงของเด็กก็มีในกลุ่มเดียวกัน  (คนบ้านเดียวกัน) ที่บ้านผมคนในพื้นที่ไม่ค่อยเรียนในโรงเรียนบ้านตัวเอง  เพราะในโรงเรียนมีหลากหลายชาติพันธ์ เยอะมาก จนจะเป็นโรงเรียนของพวกเขาไปแล้ว  มารยาท ความสะอาดหรือไม่ต้องพูดถึง (แล้วใครกล้าที่จะเอาลูกเราไปเรียนรวมด้วย  นี่ก็เป็นอีกเหตผลหนึ่งที่ต้องหนีไปที่ิื่อื่น)
IP : บันทึกการเข้า
N' Mook
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 111



« ตอบ #26 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 08:10:59 »

ผมขอแบบกลางๆละกันนะครับ ส่วนตัวก็ยอมรับว่ามีความต่างกันเหมือนกันสำหรับโรงเรียนในเมืองกับชนบท (ไม่ได้เหมารวมว่าเป็นทุกที่นะครับ เดี๋ยวจะโดนประท้วงซะปล่าวๆ) แต่พ่อแม่สมัยนี้บางคนก็เห่อเกินไป อนุบาล ป.1 เรียนกวดวิชากันแล้วค่าใช้จ่ายก็ไม่ใช่น้อยๆ ค่าเทอมเด็กเดี๋ยวนี้บางที่อนุบาลสองหมื่นครับท่าน (บางที่ยังแพงกว่านี้อีก) แพงกว่าผมเรียนปริญญาตรีอีกค่าเทอมแค่เก้าพันปลายๆเท่านั้นเอง พ่อแม่บางคนก็บ้าเห่อเกินไป เด็กบางคนก็โอเคปรับตัวได้คือเรียนได้ตามพ่อแม่ตั้งใจ แต่มันก็เป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ตามกระแสเกินไป เด็กก็เหนื่อย พ่อแม่ก็เหนื่อย แถมเครียดอีก ผมไม่เคยสนับสนุนครับ ยิ่งเห็นยัดเงินเข้าเรียนป.1 ถึงกับอ้าปากค้างว่ามันเกินไปจริงๆ ผมว่าเอาให้พอดีครับ ส่วนตัวผมคิดว่าซัก ม.1 ค่อยเรียนก็ได้ (บางคนติวแต่เด็กยังเรียนแย่ก็มี หลานๆผมเอง) ไม่ใช่อะไรเลยครับผมคิดว่าช่วงเด็กให้เรียนใกล้ๆบ้านดีกว่า แล้วเราก็ช่วยสอนด้วย ใส่ใจสักนิด ค่าใช้จ่ายก็ลดลง ช่วง ม.1 เป็นต้นไป เป็นวัยที่เด็กสามารถปรับตัวได้ครับสมองเด็กก็พัฒนาได้เร็ว เปิดรับได้ง่าย (สมองพร้อม) ไม่ต้องกลัวว่าเขาจะเรียนไม่ได้หากเขาเป็นคนสนใจในการเรียน  รับรองว่าเรียนรู้ได้เร็ว ผมเองก็ย้ายโรงเรียนตอน ม.1 ครับ ยอมรับว่ามีปัญหาเหมือนกัน ตอน ป.1-6 เรียนโรงเรียนติดวัดใกล้บ้าน เข้า ม.1 ในเมืองแรกๆก็เกือบไม่ทันเพื่อน ไปตั้งตัวได้ตอนขึ้น ม.3 ครับ ติดท็อปของห้องเลย ได้ย้ายอยู่ห้องต้นๆเลย แซงพวกเพื่อนๆที่เรียนในเมืองมาตลอดเสียอีก ปัจจุบันเป็นวิศวกรครับ ส่วนตัวคิดว่าโอเคมากครับ
IP : บันทึกการเข้า
N' Mook
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 111



« ตอบ #27 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 08:15:30 »

อันนี้แอบบวกประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ แต่คิดว่าโอเค เลยมาแบ่งปัน เผื่อพ่อแม่บางคนจะได้อะไรดีๆ แล้วอาจเปลี่ยนแนวคิดกันบ้าง
IP : บันทึกการเข้า
sigpro
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 509


« ตอบ #28 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 09:51:18 »

ลองไปซื้อหนังสือ 5เสือ พันธ์มังกร มาอ่านและอ่านให้ลูกๆฟังกันดูนะครับ
    เพราะท่านเหล่านี้เรียนกันด้วยชีวิตจริงๆ ตั้งแต่เล็กๆ ลมลุกคลุกคลานมา แต่ก็ประสบความสำเร็จในชีวิต

   ส่วนปัจจุบันเด็กๆต้องไปเรียนตั้งแต่ 2-3 ขวบ จนอายุ 20 กว่าๆ มันคือ1/3ของเวลาชีวิต
กว่าจะมาเริ่มต้นทำงานก็อายุ 20-25 แยกย้ายกันไปทำงานตามที่ฝันไว้ บ้างก็ตรงตามฝัน  บ้างก็ไม่ตรงตามฝัน ตามแต่ความรู้ความสามารถ ตายไประหว่างเรียนไปบ้าง ตายไปหลังวันรับปริญญากันบ้าง ที่เหลือรอดมาก็เริ่มไปทดลองทำงานเป็นลูกจ้างเขาบ้าง 3-5 ปี เพื่อจะเอาประสบการ์ณมาเริ่มทำกิจการที่เป็นของตัวเอง รวมๆแล้วคนที่เป็น พ่อ-แม่หมดเงินกันไปเท่าไหร่แล้ว
    ถ้าเราสอนลูกๆให้รู้จักเรียนรู้เรื่องการทำมาหากินกันตั้งแต่เด็ก(9-10ขวบ) พร้อมกับการเรียนไปด้วย สำหรับผมคิดว่าเขาคงบินได้เองก่อนอายุ20 ปีแน่นอนครับ เพราะชีวิตของลูกหลานไม่ควรเราเอาไปฝากไว้กับโรงเรียนเพียงอย่างเดียวนะครับ เพราะไม่มีใครแก่เกินเรียนนะครับ เรียนพอได้ระดับหนึ่ง สอนให้เขาทำงาน แล้วพอทำงาน-มีเงิน-ไปเรียนเป็นงานอดิเรก(เสาร์-อาทิตย์)ก็ยังได้นะครับ อยู่พร้อมหน้า-พร้อมตาเป็นความสุขที่หาได้อยากครับทุกวันนี้ เอาง่ายๆครับในวันที่ลูกทำไข่เจียวได้เอง ลองให้ลูกทำข้าวไข่เจียวให้กินด้วยกันซักจานดูนะครับ

อย่าลืมนะครับตอนนี้ปริญญาเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด
แค่จะสอบเข้าเป็นตำรวจก็โกงข้อสอบซะแล้ว แล้วจะหวังพึ่งใครละครับ
มันอาจจะเปลี่ยนความคิดทุกๆท่านได้ไม่มาก แต่ถ้าได้ซักน้อยนิดก็ยังดีครับ

อีกหนึ่งความคิดครับ และขอบคุณทุกๆกระทู้ ทุกๆท่านที่ให้ข้อคิดเห็นมาณ.ที่นี้ด้วยครับครับ

 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 11:07:00 โดย sigpro » IP : บันทึกการเข้า

เชียงรายคาเมร่า จำหน่ายกล้อง กล้องใหม่ มือสอง รับฝากกล้อง และอุปกรณ์ถ่ายภาพ
ชื่อบัญชี เชียงราย คาเมร่า
ธ.กรุงเทพ. บัญชีเลขที่ 262-4990-988
T. 053-715579 มือถือ 089-7594166 dtac
thaicha
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 665



« ตอบ #29 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 10:00:55 »

คนที่มีเงินส่งลูกเรียนสูงๆ ในโรงเรียนดีๆ ให้เรียนพิเศษตั้งแต่เด็ก  เมื่อลูกเรียนจบแล้วน้อยมากที่จะกลับมาทำงานใกล้บ้าน  แต่เมื่อเทียบกับลูกชาวบ้านธรรมดา ส่งลูกเรียนใกล้บ้าน เพราะไม่มีเงินให้เรียนที่ดีๆ พอลูกจบมาก็หางานทำแถวบ้าน แต่งงานมีลูกมีหลานอยู่กับพ่อแม่ แต่เมื่อเทียบกับลูกคนรวย ปีหนึ่งจะกลับสอง สามครั้ง  อันไหนคือความสุขที่แท้จริงยามบั้นปลายชีวิตของพ่อแม่
IP : บันทึกการเข้า
เด็กชาววัง(หงส์)แพร่
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 325



« ตอบ #30 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 11:31:24 »

ต่างคนต่างความคิดครับ แต่ผมว่าอยู่ที่ครูในโรงเรียนนั้นๆมากกว่านะครับมีศักยภาพในการสอนหรือถ่ายทอดความรู้ให้เด็กมากน้อยเพียงใด
IP : บันทึกการเข้า
Tikky cacumiya39
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 67


มักม่วน


« ตอบ #31 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 13:06:04 »

ลูกผมอยู่ในเมืองเดินไปเรียนสามัคคี10นาที เลิกเรียนกลับบ้านมาให้แม่สอนการบ้าน(แม่เป็นครูวิทย์)ต้องบังคับอ่านหนังสือทุกวันเพื่อให้คะแนนทุกเทอมดีรักษาการเป็นเด็กศูนย์วิทย์ สรุปว่าเหนื่อยทุกคน ครับจะปั้นเด็กให้ได้ดีต้องทุ่มทุนสร้างครับเพื่อให้เด็กมันถึงจุดสูงสุดของตัวส่วนพ่อแม่ถือเป็นหน้าที่ครับส่วนถ้ามีการเดินทางไปกลับเด็กเหนื่อยอีกหลายเท่า รับสภาพครับแต่ได้เรียนรู้สังคมเด็กในเมืองรู้จักปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงวันต่อวันต้องแลกเอาคับ
IP : บันทึกการเข้า
Ploytubtim
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 76



« ตอบ #32 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 13:51:30 »

การศึกษาคือการลงทุนคับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

+1
IP : บันทึกการเข้า

"คนที่ใช่ต้องมา ถูกที่ ถูกเวลา ถ้าต่อให้ใช่แค่ไหน แต่มาผิดที่ ผิดเวลา ยังไงก็ไม่ใช่อยู่ดี"
cr01
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 951


« ตอบ #33 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 14:17:13 »

ชุมชนต้องเข้มแข็ง   ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง  ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ดี    มองไกล  ผู้ตามต้องให้การสนับสนุน    ไม่ใช่ขยันจัดงานที่มีแต่ความรื่นเริง   มีสุรา   ไร้สาระ ยังคงชอบจัดให้ไปดูงาน    ผมเห็นโรงพิมม์หลายแห่ง     สถานที่กว้าง    ตึกรามใหญ่โต งบประมาณไม่ใช่น้อย    แต่ไม่มีใครอยากใช้บริการ   บางทีชุมชนควรต้องเข้าไปตรวจสอบหน่อยว่า   มันขัดข้องตรงไหน    ควรซ่อม   ควรถอดเปลี่ยนตรงไหน อันไหนเก่า คุณภาพไม่ดี  เสียดายค่าใช้จ่าย บางทีเปลือกนอกอาจดูดีต้องดูลึกๆว่าข้างในเป็นอย่างไร ต้องวัดกันที่ผลงาน   อะไหล่ของใหม่มีเยอะครับ   สามารถเลือกได้ คัดได้ เคยเห็นผลงาน  ของโรงเรียนมานิต  ที่ห้วยไคร้   มีอยู่ปีหนึ่ง    สอบเข้า สวค   ได้เกือบยี่สิบคน   น่าจะหมายความว่า    มาสอบเท่าไหร่ได้หมด  ได้ข่าวว่า   แต่ไม่มาเรียนเลย
ยังคงเรียนอยู่ที่เดิม    หากโรงพิมม์รอบนอกมีคุณภาพ    จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง    เวลาจะได้เพิ่มขึ้นมา    จะได้ความปลอดภัย     จะได้ความเสมอภาค   จะได้โอกาสอย่างเท่าเทียมกัน   ลองนึกง่ายๆ ว่าหากไม่มี ตาง    ไม่มีเส้น    จะเข้าได้ไหม
เหมือน บดินเดชา  เราต้องช่วยกันพัฒนานักรบของเราให้สู้กับคนอื่นได้   
เห็นด้วย อย่างยิ่ง ครับ แม้แต่ใน สวค เอง ในแต่ละห้องก็ไม่เหมือนกัน ห้องที่เรียกว่าเรียนเก่งก็มีบรรยากาศแข่งขันกัน ห้องที่รองลงมา ก็เฮฮากันมีเพื่อนมากสนุกสนาน มากกว่า  อยู่ที่ไหนถ้าขยัน มันก็สู้ได้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
BenzRacing
m | moto
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,382


Mangology| moto


« ตอบ #34 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 15:38:45 »

ใช่เลยค่ะ ตื่นตีห้ารอรถไปเรียนกลับถึงบ้านหกโมงชีวิตแทบไม่มีเวลาได้เล่นได้อะไรเลยค่ะ
เลิกเรียนต้องรีบวิ่งไปรอรถ จะเรียนพิเศษทีนึงคิดแล้วคิดอีก (วิธีไป-กลับ) ลืมของไปโรงเรียนทีก็ซวยไปเลย เหนื่อยอย่างแรง
หัวอกเดียวกันครับ แต่ของผมต้องตื่น ตี 4 มารอรถ นั่งรถมา ชั่วโมงกว่า พอกลับถึงบ้านก้เกือบทุ่มแล้ว เวลาเรียนก้ง่วงครับ นอนไม่พอ


อยากอยู่หอแต่ไม่มีใครเข้าใจเลยครับ
IP : บันทึกการเข้า

Mangology Moto เชียงราย
namzom
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 585



« ตอบ #35 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 16:26:27 »

การศึกษาคือการลงทุนคับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
คำนี้พูดมาตั้งแต่เรียน ม.1 แล้วค่ะ 555 ยังจำได้เวลาได้จ่ายตังค์ 
IP : บันทึกการเข้า
natwat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #36 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 20:53:12 »

ผมเคยเขียนโพสต์ในเชียงรายโฟกัสบ่อยครั้งว่า  เหรียญบาทมี 2 - 3 ด้านเสมอ  มันมีทั้งส่วนดี และส่วนเสียอยู่เสมอ  เด็กดอยหลวง-เชียงรุ้ง  ตั้งนั่งรถเมล์รับเด็กไปเรียนในเมือง(รถโรงเรียน เป็นรถพัดลมมีทั้งรถช่วงสั้น8 เมตร และรถช่วงยาว12 เมตร)  มี 3-4 คันทุกวัน  รถออกดอยหลวง ตีห้า  ถึงเชียงรุ้งหกโมงเช้า ถึงในเมือง 7 โมงเช้า   รถจะไปส่งเด็กตามโรงเรียนต่างๆและส่วนมากจะเอารถไปจอดข้างโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ด้านทิศเหนือเต็มไปหมด  ตอนกลับรถออกจากโรงเรียนต้นทาง 4 โมงกว่า  วิ่งรับนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ ตามรายงาน  รถออกจากเชียงราย 5 โมงกว่า  ไปถึงเชียงรุ้ง 6 โมง  ถึงดอยหลวงก็ 1 ทุ่มพอดี  ดีที่รถเหล่านี้เขามีทีวี  เครื่องเสียงเปิดเพลงให้นักเรียนดู  สบายและเพลินไปตลอดทาง 
IP : บันทึกการเข้า
Helpme
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 834


« ตอบ #37 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 21:38:32 »

ขึ้นอยู่กับความคิดที่แตกต่างกันนะผมว่า
จะเรียนใกล้ หรือเรียนไกล ถ้าขอให้เด็กเป็นคนขยันตั้งใจเรียน
อยู่ที่ไหนตัวเขาเองก็มีคุณค่าครับ
IP : บันทึกการเข้า
atp
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 100


« ตอบ #38 เมื่อ: วันที่ 15 มิถุนายน 2012, 08:23:11 »

มองต่างมุมครับ  น้าผมส่งลูกเรียน  สามัคคี จนจบมหิดลทั้งสองคน  สองคนได้ทำงานดี  คนหนึ่งเป็นวิศวะ  อีกคนเป็นสัตวแพทย์  แต่พอพ่อป่วย  แม่มีปัญหาทางสายตา  ไม่มีสักคนที่สามารถมาดูแลได้  ด้วยภาระงาน  ต้องให้ญาติๆ  ช่วยกันดูแล  ต่างกันกับน้าอีกคนที่ลูกเรียนลุ่มๆ  ดอนๆ  เรียนแถวๆ  บ้าน ติด 0 มั่ง  สอบซ่อมมั่ง  แต่ก้อเรียนจนจบ  สุดท้ายก้อเปิดร้านคอมอยู่ที่่บ้านได้ดูแลครอบครัว  มีลูกมีหลาน   ครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้า  ต่างกันกับอีกสองคนไม่รู้จะได้กลับบ้านหรือเปล่า  ยิ่งเรียนสูงยิ่งไกลบ้าน
เห็นด้วยครับ
IP : บันทึกการเข้า
MRJACOP
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 200


« ตอบ #39 เมื่อ: วันที่ 15 มิถุนายน 2012, 22:23:56 »


เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
คนจน        ; ไม่มีความสามารถที่จะส่งลูกไปเรียนโรงเรียนในเมืองได้ ขอแค่ให้ลูกได้เรียนจบมีงานทำไม่เกเรก็เพียงพอแล้ว ถึงจะเป็นโรงเรียนใกล้บ้านหรือโรงเรียนวัดก็ไม่เป็นไร ส่วนลูกจะตั้งใจเรียนแค่ไหนอยู่ที่ตัวเด็กเองเพราะพ่อ-แม่ไม่มีความรู้ที่จะไปสอนการบ้านให้เด็กได้ ถ้าเด็กคนนั้นขยัน ตั้งใจเรียน หมั่นอ่านหนังสือ (ส่วนน้อย) ก็จะเป็นเด็กที่เรียนดีและทางโรงเรียน(บ้านนอก)ก็จะสนับสนุนอย่างเต็มที่เพราะหมายถึงหน้าตาของโรงเรียนด้วย

คนชั้นกลาง ; ในบางครอบครัวที่มีความสามารถพอที่จะส่งลูกเรียนที่ดีๆได้และอยากให้ลูกได้เรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงจะได้สอบเข้ามหาวิทยาลัยดังๆได้เช่นกัน และเมื่อจบมาก็จะได้ทำงานดีๆมีเงินเดือนสูงๆ ไม่ต้องมาลำบากเหมือนตนเอง

คนรวย       ; สามารถส่งลูกเรียนได้ทุกที่ๆเห็นว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่ดี เด็กส่วนใหญ่จบมาแล้วมีคุณภาพ หรือแม้กระทั่งเมื่อเห็นว่าสถาบันในประเทศยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ จึงส่งลูกๆไปเรียนยังสถาบันในต่างประเทศก็มาก(ดูจากลูกๆของคนในระดับผู้มีอันจะกินทั้งหลาย)

   ปล.อยากให้ทุกท่านมองให้เห็นถึงความเป็นจริงในสังคมเราว่าคนจนไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดีพอ   ส่วนคนฐานะปานกลางต้องดิ้นรนสุดความสามารถหาที่เรียนที่คิดว่าดีที่สุดเพื่อที่จะได้ไม่กลับไปเป็นคนจนอีก   ส่วนคนรวยนั้นมีทางเลือกมากมายไม่เรียนในประเทสก็ยังสามารถส่งลูกไปเรียนยังต่างประเทศได้สบายๆ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!