เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 20:26:00
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  พุทธวิธีในการบริหารทรัพย์ของพระพุทธศาสนา
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน พุทธวิธีในการบริหารทรัพย์ของพระพุทธศาสนา  (อ่าน 1021 ครั้ง)
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« เมื่อ: วันที่ 28 เมษายน 2012, 16:49:30 »

ในพระพุธศาสนาเรามีหลักคำสอนเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์ที่หามาได้ ซึ่งจัดได้ว่า

เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งของนักบริหารที่จะต้องมีกัน หากปราศจากหลักธรรมที่จะกล่าวต่อไป

นี้แล้ว ก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จในด้านของการดำรงค์ชีวิตที่มีความสุขได้

หลักการแสวงหาทรัพย์ (หัวใจเศรษฐี)

1.อุฎฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการหา เราควรหาทรัพย์ด้วยอาชีพที่ไม่เป็นโทษและผิดศีลธรรม

2.อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการเก็บรักษา เราควรรักษาทรัพย์ที่เราหามาได้ไม่ควรใช้จ่ายไปแบบฟุ่มเฟือยโดยไม่รู้คุณค่าของทรัพย์

3.กัลยาณมิตตตา ถึงพร้อมด้วยการคบมิตรที่ดี เราควรคบสหายที่เป็นคนดีมีศีลธรรมไม่เป็นคนอันธพาล ที่จะชักพาให้เราเสียทรัพย์

4.สมชีวิตา ถึงพร้อมด้วยการประมาณในการใช้จ่ายทรัพย์ เราต้องรู้จักการจัดแจงทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฟืดเคืองนัก หรือ สุรุ่ยสุร่ายเกินไป


* 4.jpg (110.55 KB, 600x450 - ดู 143 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 28 เมษายน 2012, 16:51:45 »

หลักการบริหารทรัพย์ที่หามาได้

1.เอเกน โภเค ภุญเชยฺย พึงใช้จ่ายทรัพย์เลี้ยงชีพตน เลี้ยงครอบครัว และคนที่พึงเลี้ยงเช่นบิดา มารดา และ ทำประโยชน์ส่วนหนึ่ง

2.ทวีหิ กมฺมํ ปโยชเย พึงใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพเสีย 2 ส่วน

3.จตุตฺถญฺจ ติราเปยฺย พึงเก็บไว้ในคราวจำเป็น 1 ส่วน
สามารถสรุปหลักธรรมที่กล่าวมานี้ ได้ว่าเราควรจัดแจงทรัพย์ ออกเป็น 4 ส่วน

(ส่วนที่หนึ่ง)เราควรเอาไปใช้ เลี้ยงตัวเอง ครอบครัว และ ทำประโยชน์

(ส่วนที่สอง)กับ(สาม)เราควรเอาไปเป็นทุนในการประกอบอาชีพ ซึ่งมีข้อหน้าสังเกตว่าทุน

ในการประกอบอาชีพเหตุใดจึงต้องแบ่งเป็นออกเป็นสองส่วน เพราะในการประกอบอาชีพ

นั้น ควรมีทุนสำหรับลงทุนหนึ่งส่วน อีกส่วนหนึ่งพึงใช้เป็นทุนสำรอง(คราวจำเป็น)โดยที่ทุน

ส่วนที่หนึ่งหากเมื่อถึงคราวประสบปัญหา(ขาดทุนหรือไม่พอใช้) ทุนส่วนที่สองนี้จะเป็นทุนที่

สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะฉะนั้นท่านเลยให้แบ่งทุนออกเป็น 2 ส่วน

(ส่วนที่สี) เราควรเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็นต่างๆ เช่น เกิดว่าเราป่วย เราก็สามารถนำทุนส่วนนี้มาใช้ในการรักษาได้เป็นต้น


* 003.jpg (184.26 KB, 753x565 - ดู 129 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 28 เมษายน 2012, 16:52:52 »

หลักการใช้ทรัพย์ที่หามาได้
(1) ใช้เลี้ยงมารดาบิดาครอบครัวให้เป็นสุข
(2) ใช้เลี้ยงมิตรสหาย และผู้ที่ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข
(3) ใช้ป้องกันอันตราย ปกป้องรักษาสวัสดิภาพ ทำงานให้มีความปลอดภัย
(4) ทำพลี ๕
ญาติ สงเคราะญาติ
อถิติ ต้อนรับแขก
ปุพเปต ทำบุญอุทิศให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไป เช่น พ่อ แม่
ราชพลี บำรุงราชการ เช่นเสียภาษี เป็นต้น
เทวตา ทำบุญอุทิศแก่สิ่งที่เราเคารพบูชา
(5) อุปถัมภ์นักบวช
การจัดแจงทรัพย์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นหลักของการวางแผนการใช้ทรัพย์ของทางพระพุทธศาสนา ในการที่เราจะใช้จ่ายทรัพย์หรือบริหารทรัพย์ควรมีหลักในการปฏิบัติที่ดีและควรคิดให้รอบคอบเสียก่อน เพราะบางท่านอาจมีรายรับรายจ่ายไม่เหมือนกัน ดังนั้นพุทธวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้อาจจะช่วยให้ผู้ที่มีความสนใจได้นำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์กับตัวเองได้ และสามารถยืนหยัดในสังคมได้เป็นอย่าง
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 28 เมษายน 2012, 16:55:01 »

ที่มา : http://www.pstbd.com/webforum2/index.php?topic=132.0

พระจิระเดช ญาณธีโร


* 005.jpg (196.15 KB, 793x595 - ดู 130 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 28 เมษายน 2012, 17:06:33 »

อาชีพที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ เป็นบาปและก็ผิดมรรคด้วยคือ

อาชีพที่ว่ามีดังนี้
1.การค้าขายศัสตราวุธ
2.การค้าขายมนุษย์
3.การเลี้ยงสัตว์เพื่อขาย เพื่อฆ่า (คือการเลี้ยงให้โต แล้วขายต่อให้ผู้อื่นนำไปฆ่าต่อ)
4.การค้าขายน้ำเมา
5.การค้าขายยาพิษ


* 007.jpg (112.8 KB, 600x379 - ดู 133 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 28 เมษายน 2012, 17:09:32 »

การฆ่าสัตว์ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ

๑. พิจารณาจากคุณประโยชน์ การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์ที่มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ที่ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น

๒. ขนาดกาย สำหรับสัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่ มีโทษมาก กว่าการฆ่าสัตว์เล็ก

๓. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย

๔. กิเลสหรือเจตนา กิเลสหรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่น การฆ่าด้วยโทสะ หรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัว


* 111.jpg (198.82 KB, 857x569 - ดู 124 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!