เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 07:11:37
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ..โทษของการฆ่าตัวตาย..
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ..โทษของการฆ่าตัวตาย..  (อ่าน 3468 ครั้ง)
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 08:27:20 »

     เคยได้ฟังมาว่า..(หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี) การฆ่าตัวตาย จะต้องเกิดเป็นสัตว์ติรัจฉาน 500 ชาติ และเมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะต้องมีเหตุให้ต้องฆ่าตัวตายอีก 7 ชาติจึงจะพ้นวิบากกรรมนี้
     ลองมาพิจารณาดูข้อมูลที่ได้มานี้ เครดิตจาก..
http://www.chongter.com/Articles/general/suicide.htm
....................
  
การฆ่าตัวตายบาปมากแค่ไหนมาดูกัน
ฆ่าตัวตายเค้าว่าจะต้องตามไปฆ่าตัวเองอีก 500 ชาติ เคยมีเรื่องราวสมัยพุทธกาลเล่าว่า มีพระรูปหนึ่งจะมาลาพระพุทธเจ้าไปเผยแผ่ศาสนา ก่อนไปพระพุทธเจ้าถามพระองค์นั้นว่า

ตถาคต: ถ้ามีคนมาว่าท่านหละ
ภิกษุ: เขามามาว่าเราก็ดีกว่าเขาเอาก้อนดินมาปา
ตถาคต: ถ้าเขาเอาก้อนดินมาปาท่านหละ
ภิกษุ: เขาเอาก้อนดินมาปาก็ดีกว่าเขาเอาไม้มาตี
ตถาคต: ถ้าเอาไม้มาตีท่านหละ
ภิกษุ: เขาเอาไม้มาตีก็ดีกว่าเขาเอามีดมาฟันให้บาดเจ็บ
ตถาคต: ถ้าเขาทำให้ท่านบาดเจ็บหละ
ภิกษุ: เขาทำให้บาดเจ็บก็ดีกว่าเขาฆ่าเราให้ตาย
ตถาคต: ถ้าเขาฆ่าท่านให้ตายหละ
ภิกษุ: เขาฆ่าเราให้ตายก็ดีกว่าเราฆ่าตัวตาย
พระพุทธเจ้าจึงอนุญาตให้พระองค์นั้นไปตามแคว้นอื่นได้

โทษของการฆ่าตัวตาย

     คน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในวัฏสงสารนั้น เมื่อตายแล้วจะเกิดใหม่เป็นอะไร หรือจะไม่ต้องเกิดอีกนั้น ก็ขึ้นกับสภาวะจิตตอนใกล้จะตาย ที่เรียกว่า มรณาสันนวิถี เป็นสำคัญ คือถ้าขณะนั้นจิตผ่องใส ไม่เศร้าหมองด้วยกิเลส ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี คือ สุคติภูมิ แต่ถ้าขณะนั้นจิตเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส เพราะถูกกิเลส หรืออุปกิเลสครอบงำแล้ว (ดูเรื่องอุปกิเลส 16 ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ) ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ไม่ดี คือ ทุคติภูมิ (คือจะไปเกิดในภพภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับจิตในมรณาสันนวิถีมากที่สุดนั่นเอง) และถ้าขณะนั้นจิตหมดความยินดีพอใจ หรือหมดความยึดมั่นถือมั่นในภพภูมิใดๆ รวมทั้งในสิ่งทั้งปวงแล้ว ก็จะหมดเหตุให้ต้องเกิดอีก (ดูเรื่องปฏิจจสมุปบาท ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ)

ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ดังนี้
พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4 มัชฌิมนิกาย
มูลปัณณาสก์ วัตถูปมสูตร
[๙๒] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่เศร้าหมองมลทินจับ ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมภู ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมไม่ดี มีสีมัวหมอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะผ้าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.

ผ้าที่บริสุทธิ์สะอาด ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมภู ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมดี มีสีสด ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะผ้าเป็นของบริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.

คนทั่วไปก่อนฆ่าตัวตายนั้น จิตจะน้อมไปในทางโทสะอย่างแรงกล้า (ความโกรธ เศร้า หดหู่ หมดหวัง กลัว ความทุกข์ทางใจทั้งหลาย) เพราะธรรมดาแล้ว ชีวิตของตนย่อมเป็นที่รักยิ่งของคนทั่วไป คนทั่วไปนั้นเมื่อรู้ตัวว่าความตายกำลังจะมาถึง จะมีความหวาดหวั่น พลั่นพลึง กลัวตาย และจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ แม้จะต้องอยู่อย่างยากลำบาก ก็ยังดีกว่าจะต้องตายไป แม้สัตว์ทั้งหลายก็ยังดิ้นรนเพื่อหนีความตาย

ดังนั้น คนที่จะสามารถฆ่าตัวตายได้นั้น ขณะนั้นจะต้องถูกความทุกข์ทางใจ (ทุกทางใจทุกชนิด เป็นจิตที่มีโทสะเป็นมูล) ครอบงำอย่างรุนแรง จึงจะสามารถทำลายชีวิตอันเป็นที่รักยิ่งของตนลงได้ ซึ่งความทุกข์ทางใจ หรือโทสมูลจิตนี้ อาจจะมีสาเหตุจากเรื่องทางใจ หรือเรื่องทางกายก็ได้ เช่น อกหัก ผิดหวัง เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว ความล้มเหลวในชีวิต ฯลฯ

เมื่อเป็นดังนี้แล้ว หลังจากตายไปก็ย่อมจะต้องไปเกิดในทุคติภูมิอย่างไม่ต้องสงสัย และด้วยความรุนแรงของไฟโทสะที่ครอบงำจิตใจนั้น ทุคติภูมิที่ว่าก็คงไม่พ้นนรกอย่างแน่นอน เพราะเป็นภพภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับโทสะที่สุดนั่นเอง

ดังนั้น ผู้ที่คิดสั้นจะยุติปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายนั้น ขอให้คิดดูให้ดี เพราะนอกจากจะต้องไปพบกับทุกข์ครั้งใหม่ในนรก ซึ่งเป็นทุกข์ที่รุนแรงกว่าแล้ว ยังเป็นการสร้างทุกข์ สร้างปัญหาให้กับคนอื่นๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ต้องรับความทุกข์ที่เขาไม่ได้ก่ออีกด้วย กรุณาให้ความเป็นธรรมกับเขาเหล่านั้นด้วย


มรณานุสสติ แปลว่า นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรื่องของความตายเป็นของธรรมดาของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมา เมื่อมีความเกิดมาได้แล้ว ก็ต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด ความตายนี้รู้สึกว่าเป็นปกติธรรมดาของคนและสัตว์ทั่วไป พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดาไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น ความตายนี้แบ่งออกเป็นสาม อย่างด้วยกัน คือ

     ๑.สมุจเฉทมรณะ ความตายขาดตอน หมายถึงความตายของพระอรหันต์ท่านเสร็จ กิจแห่งพรหมจรรย์ คือสิ้นกิเลสแล้ว เหตุที่จะต้องทำให้เกิด คือกิเลสและตัณหาที่จะควบคุมบังคับ ท่านให้เกิดอีกไม่มี ท่านมรณะแล้วท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เรียกว่า สมุจเฉทมรณะ แปลว่า ตายขาดตอนไม่กลับมาเกิดอีก

     ๒. ขณิกมรณะ แปลว่า ตายเล็กๆ น้อย ๆ ท่านหมายเอาความตาย คือ ความดับ หรือการ เคลื่อนไปของชีวิต ที่มีการเคลื่อนไปวันหนึ่ง ๆ วันเวลาล่วงไป ชีวิตก็เคลื่อนไปใกล้จุดจบสุดยอดคือ ตายดับทุกขณะ การผ่านไปของชีวิตท่านถือเป็นความตาย คือ ตายทุกลมหายใจออกและเกิด ต่อทุกๆ ลมหายใจเข้า อาหารเก่าที่บริโภคเข้าไปเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตชั่วคราวเมื่อสิ้นอำนาจ ของอาหารเก่า ร่างกายต้องการอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงแทนแต่ถ้าไม่ได้อาหารใหม่เข้าไปทด แทนชีวิตก็จะต้องดับ ชีวิตที่ทรงอยู่ได้ก็เพราะอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงไว้ เมื่อสิ้นสภาพของอาหาร เก่า ท่านถือว่าร่างกายต้องตายแล้วไปยุคหนึ่ง พอได้อาหารใหม่มาทดแทน ชีวิตก็เกิดใหม่อีกวาระ หนึ่ง การเกิดการตายต่อเนื่องกันทุกวันเวลาอย่างนี้ ถ้าอาหารเก่าหมดสภาพไม่บริโภคใหม่ หรือลม หายใจออกแล้ว ไม่หายใจเข้า สภาพของร่างกายก็จะสิ้นลมปราณ คือตายทันที ที่ทรงอยู่ได้อย่างนี้ก็ เพราะได้ปัจจัยบางอย่างค้ำจุนทดแทนกันเข้าไป ท่านสอนให้มองเห็นสภาพของสังขารร่างกายว่ามี ความตายเป็นปกติทุกวันเวลาอย่างนี้ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แปลว่า ตายทีละเล็กละน้อย หรือ ตายเล็ก ๆ น้อย ๆ

     ๓. กาลมรณะ และ อกาลมรณะ กาลมรณะ แปลว่า ตายตามกาลตามสมัยที่ชาวโลก นิยม เรียกว่า ถึงที่ตาย คือสิ้นอายุ อย่างชนิดที่ไม่มีการแก้ไขได้ อกาลมรณะ แปลว่า ตายใน โอกาสที่ยังไม่ถึงกาลควรตาย แต่ต้องตายเพราะกรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลเข้ามาบีบคั้นให้ตาย การตายประเภทหลังนี้พอมีทางต่อให้อายุยืนยาวต่อไปได้ตามสมควรแก่กรรมใน อดีต จะต่อให้เลยพอดีนั้นไม่ได้ พวกตายตามแบบกาลมรณะตายไปแล้วเสวยผลกรรมทันที แต่ พวกที่ตายตามแบบอกาลมรณะนี้ ตายแล้วยังไม่ไปเสวยผลกรรมทันที ต้องไปเป็นสัมภเวสี แสวงหา ที่เกิดก่อน คือรอกาลที่จะถึงกาลมรณะก่อน เมื่อถึงเวลาแล้วจึงจะได้รับผลกรรมดีและกรรมชั่วที่ทำ ไว้ขณะที่ยังไม่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้นั้นต้องลำบากในเรื่องอาหารและที่อยู่ ท่องเที่ยวไปตามความ ต้องการ พวกตายแบบอกาลมรณะนี้ ที่ชาวโลกนิยมเรียกว่า ตายโหงนั่นเอง เช่น ถูกฆ่าตาย คลอด ลูกตาย รถทับตาย ฟ้าผ่าตาย ฆ่าตัวตาย งูกัดตาย รวมความว่าตายแบบผิดปกติ ไม่ใช่ป่วยตายตาม ธรรมดาเรียกว่า อกาลมรณะ คือตายก่อนกำหนด ตายทั้งนั้น การตายแบบนี้ ถ้ามีท่านผู้รู้ช่วย เหลือสามารถช่วยให้พ้นตายได้ เช่น ที่นิยมเรียกกันว่า สะเดาะเคราะห์หรือต่ออายุ การสะเดาะ-เคราะห์หรือต่ออายุนั้น ต้องทำโดยธรรมจริง ๆ และรู้จริงจึงใช้ได้
--------------------------------------------------------------------------------

ถาม – การฆ่าตัวตายถือเป็นปาณาติบาตหรือเปล่าคะ?

การฆ่าตัวตายไม่ใช่ปาณาติบาต แต่เป็นอัตวินิบาต เป็นกรรมคนละอย่างครับ ปาณาติบาตคือปลงชีวิตสัตว์อื่น มีผลให้ชีวิตของสัตว์อื่นขาดก่อนถึงอายุขัย พรากสิทธิ์ในการมีชีวิตไปจากเขา โดยเฉพาะหากเขามีบุญมาก ก็เท่ากับตัดโอกาสเสวยสุขของเขาทิ้งทั้งยวง ส่วนอัตวินิบาตคือการปลงชีวิตตนเอง มีผลให้ไม่ได้ใช้กรรมที่ควรใช้ก่อนถึงอายุขัย โดยเฉพาะหากมีบาปมาก ก็เท่ากับพยายามแหกคุกเพื่อหนีโทษด้วยทางลัด

การไม่รอให้มีการล้างไพ่ใหม่ตามกาล จัดเป็นการตัดตอน สร้างปมยุ่งเหยิงขึ้น ไม่ให้เป็นไปตามวิถีธรรมชาติกรรมวิบาก เปรียบกับหนี้ก็ซับซ้อนกว่าหนี้ชนิดไหนๆ เนื่องจากการทบหนี้กรรมนั้นแตกต่างจากการทบต้นทบดอกของหนี้สินเงินทองมาก ถ้าคุณฆ่าคนมีบุญ โอกาสเสวยบุญของเขาที่ถูกตัดทิ้ง ย่อมสะท้อนกลับมาเป็นความหมดโอกาสเสวยบุญของคุณเช่นกัน คุณจะมีอายุมากในอัตภาพที่เป็นทุกข์ แต่จะมีอายุสั้นในอัตภาพที่เป็นสุข
และถ้าฆ่าตัวเองขณะต้องใช้บาป การหนีโทษย่อมเป็นการเพิ่มโทษในตัวเอง ทุกข์ที่ยังไม่เสวยก็ต้องเสวยอยู่ดี แถมพ่วงทุกข์อันเกิดจากการพยายามแหกคุกเข้าไปอีกกระทง นั่นคือแทนที่จะต้องทนทุกข์ในสภาพมนุษย์ตามเดิม ก็ต้องไปทนทุกข์ในสภาพเปรต สภาพเดรัจฉาน หรือสภาพสัตว์นรก ซึ่งเป็นอัตภาพที่แย่หนักเข้าไปใหญ่

ข้อแตกต่างระหว่างปาณาติบาตกับอัตวินิบาตยังมีอีกมาก เช่น ปาณาติบาตมีผลในกาลต่อไปเป็นความโหดเหี้ยมของจิตใจ มีใบหน้าเหี้ยมเกรียม มีความเดือดร้อนเรื่องสุขภาพกาย อาจถูกรังแก อาจถูกฆ่าให้ตายก่อนวัยอันควร ส่วนอัตวินิบาตมีผลในกาลต่อไปเป็นความอ่อนแอทางใจ มีใบหน้าเศร้าหมอง มีความเดือดร้อนเรื่องสุขภาพจิต คิดมากและน้อยใจเก่ง รู้สึกอ่อนแอ อยากตายด้วยเหตุบีบคั้นแค่ง่ายๆ เป็นต้น

การฆ่านั้น ไม่ว่าฆ่าผู้อื่นหรือฆ่าตนเอง ย่อมได้ชื่อว่าทำจิตให้เศร้าหมอง เมื่อจิตเศร้าหมองย่อมมีคติวิบัติเป็นที่หวัง แต่หากฆ่าตนเองโดยไม่มีจิตเศร้าหมอง ทำจิตให้ขาดจากอุปาทานว่าเป็นตัวตน อันนั้นพระพุทธเจ้าสรรเสริญ การสิ้นชีวิตขณะไร้อุปาทานไม่ถือเป็นบาปด้วยประการทั้งปวง ที่ทำอย่างนั้นได้ก็มีแต่ผู้ศึกษาธรรมจนเข้าใจ และปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงแล้วเท่านั้นครับ
--------------------------------------------------------------------------------
สติปัฏฐาน 4

กายานุปัสนา
เวทนานุปัสนา
จิตานุปัสนา
ธรรมานุปัสนุ


[๑๓๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายหนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ.

๔ ประการเป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญา มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 08:29:53 โดย Siranoi » IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
little girl
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,174



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 11:33:19 »


500 ชาติ  นานมากมายจริง ๆ  แล้ว 500 ชาตินั้น ก็ต้องระทมทุกข์ ไร้สุข จึงต้องฆ่าตัวเองอีก
เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในโลกก็ว่าได้
IP : บันทึกการเข้า

Mickky (รักในหลวง)
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 930


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 11:36:10 »

ชาติเดียวก็...แย่แล้ว..500 ชาติ จะทรมานขนาดไหน...
IP : บันทึกการเข้า
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 12:50:07 »

ไม่นานดอก..
เช่น
สุนัข อาจมีอายุ 15 ปี
ยุง อาจมีอายุ 15 วัน
หนอน อาจมีอายุ 10 วัน
จิ้งหรีด อาจมีชีวิต 30 วัน
ฯลฯ
IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
little girl
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,174



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 13:00:00 »

อย่างสัตว์   ฆ่าตัวเอง จะทำเช่นไรจ๊ะ  สัตว์มีความคิดหรือไม่....?

เป็นมนุษย์อีก 7 ชาติ   ทุกๆ ชาติไม่มีความสุขเลยน้าา
IP : บันทึกการเข้า

เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 15:18:40 »

ตรงประเด็นที่ว่าถ้าฆ่าตัวตาย จะต้องเกิดเป็นสัตว์ติรัจฉาน 500 ชาติ และเมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะต้องมีเหตุให้ต้องฆ่าตัวตายอีก 7 ชาติจึงจะพ้นวิบากกรรม อันนี้โดยความคิดเห็นส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไรครับ (ไม่ได้หมายความว่าจะเถียงครูบาอาจารย์น่ะครับ แค่ความคิดของคนๆหนึ่ง) เพราะถ้าเทียบเคียงแล้วสมมิตว่าฆ่าตัวตายๆซ้ำ 7 ชาติลองพิจารณาดูว่าสภาพจิตของคนผู้นั้นจะเป็นอย่างไร คงแหลกสลาย เศร้าหมองเป็นที่สุด และเมื่อจบที่ชาติที่ 7 สภาพจิตใจคงไม่เหลือสภาพแล้วอาจจะมีต่อชาติที่ 8  แต่เรื่องของวิบากกรรมนี้ก็เป็น 1 ใน อจินไตย สงสัยไปก็เกินความรู้ความสามารถ ขึ้นชื่อว่าบาปหลีกให้ไกลดีกว่า



*แก้ไขอนันตริยกรรมตาม คุณSiranoi  ขอบคุณครับ... 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 20:11:04 โดย เมฆพัตร » IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 15:19:55 »

“ส่วนตัวอัตวินิบาตมีผลในกาลต่อไปเป็นความอ่อนแอทางใจ มีใบหน้าเศร้าหมอง มีความเดือดร้อนเรื่องสุขภาพจิต คิดมากและน้อยใจเก่ง รู้สึกอ่อนแอ อยากตายด้วยเหตุบีบคั้นแค่ง่ายๆ เป็นต้น”  อันนี้เห็นด้วยเพราะจิตใจ ณ ตอนที่จะฆ่าตัวตายนั้น คงเป็นสภาวะที่แย่ที่สุดและขาดสติที่สุด ลองเทียบเคียง ถ้าหากเราเกิดอุบัติเหตุ เช่น รถยนต์คว่ำไฟไหม้รถ พอดีแขนเราโดนรถทับไม่สามารถดึงออกมาได้แบบธรรมดา ถ้าจะออกมาได้ต้องหักแขนตัวเอง เพราะถ้ารอคนมาช่วยไฟก็คงไหมรถและเราตายไปพอดี ถ้าหากเกิดเหตุการณ์นี้ ก็ลองนึกถึงอารมณ์สภาวะจิตใจขณะนั้น ที่จะทำร้ายตัวเองเพื่อรักษาชีวิตจะอยู่ในสภาวะแบบใด แล้วลองนึกถึงสภาวะจิตใจ อารมณ์จิตใจ ที่ต้องการจะล้างผลาญชีวิตตัวเอง(ฆ่าตัวตาย)จะดำมืดขนาดไหน และถึงจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อเจอสิ่งแวดล้อมต่างๆมากระทบ โดยบีบคั้น จากสิ่งแวดล้อมและสังคมก็จะทำให้อยากฆ่าตัวตายอีก  ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ คนที่ทำงานในบริษัทต่างๆเมื่อเจอปัญหาอะไรมากระทบจิตใจอาจจะเป็นเรื่องงานหรือเพื่อนร่วมงานจนทำให้เขาผู้นั้นตัดสิ้นใจลาออกเพราะทนสภาวะบีบคั้นทางจิตใจและสิ่งแวดล้อมที่มากระทบไม่ไหว  เมื่อไปทำงานที่บริษัทใหม่เจอปัญหและสภาวะแบบเดิมหรือใกล้เคียงอีกเขาก็จะลาออกอีกเพราะจิตใจและความเคยชินในการลาออกเมื่อเจอปัญหา เป็นวงเวียนวัฏจักรไปเลื่อนๆ ต่างกับคนที่จิตใจเข้มแข็งเมื่อเจอปัญหาก็จะต่อสู้ไม่ยอมแพ้แม้จะเจอแรงกดดันมากมายเท่าใดก็ตาม
IP : บันทึกการเข้า
Siranoi
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,101


เฒ่า! สดใส วัยซน..


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 15:28:10 »

ตรงประเด็นที่ว่าถ้าฆ่าตัวตาย จะต้องเกิดเป็นสัตว์ติรัจฉาน 500 ชาติ และเมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะต้องมีเหตุให้ต้องฆ่าตัวตายอีก 7 ชาติจึงจะพ้นวิบากกรรม อันนี้โดยความคิดเห็นส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไรครับ (ไม่ได้หมายความว่าจะเถียงครูบาอาจารย์น่ะครับ แค่ความคิดของคนๆหนึ่ง) เพราะถ้าเทียบเคียงแล้วสมมิตว่าฆ่าตัวตายๆซ้ำ 7 ชาติลองพิจารณาดูว่าสภาพจิตของคนผู้นั้นจะเป็นอย่างไร คงแหลกสลาย เศร้าหมองเป็นที่สุด และเมื่อจบที่ชาติที่ 7 สภาพจิตใจคงไม่เหลือสภาพแล้วอาจจะมีต่อชาติที่ 8  แต่เรื่องของวิบากกรรมนี้ก็เป็น 1 ใน อจินไตย สงสัยไปก็เกินความรู้ความสามารถ ขึ้นชื่อว่าบาปหลีกให้ไกลดีกว่า ยิงเป็นอนันตริยกรรม (กรรมหนักสุดและขัดขวางการบรรลุธรรม) ขอหลีกให้ไกลสุดๆดีกว่า
บทเพิ่มเติม
เครดิตจาก...
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
อนันตริยกรรม หมายถึง กรรมหนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ

1.มาตุฆาต - ฆ่ามารดา
2.ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา
3.อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์
4.โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ขึ้นไป เช่น พระเทวทัตได้ทำร้ายพระพุทธองค์ ในสมัยพุทธกาล
5.สังฆเภท - ยังสงฆ์ให้แตกกัน ทำลายสงฆ์
อนันตริยกรรม 4 ประการแรก คือ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต และโลหิตตุปบาท จัดเป็นสาธารณอนันตริยกรรม คือ เป็นอนันตริยกรรมที่ทั่วไปแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ทั้งหลาย หมายความว่า บรรพชิตก็ทำได้ คฤหัสถ์ก็ทำได้
ส่วนสังฆเภท เป็นอสาธารณอนันตริยกรรม คือ เป็นอนันตริยกรรมที่ไม่ทั่วไป หมายความว่า ภิกษุคือบรรพชิตเท่านั้น จึงจักกระทำสังฆเภทอนันตริยกรรม นี้ได้

ในส่วนของโทษหนักเบา และลำดับการให้ผลก่อนหลัง ของอนันตริยกรรม เรียงลำดับจากแรงที่สุดลงไป ได้ดังนี้

สังฆเภทอนันตริยกรรม
โลหิตุปบาทอนันตริยกรรม
อรหันตฆาตอนันตริยกรรม
มาตุฆาตปิตุฆาตอนันตริยกรรม
IP : บันทึกการเข้า

" ... ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย ... "
๘ นาฬิกา และ ๑๘ นาฬิกา Sitiya_por@hotmail.com
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 15:31:15 »

ถ้ายึดหลักที่ว่า

"คน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในวัฏสงสารนั้น เมื่อตายแล้วจะเกิดใหม่เป็นอะไร หรือจะไม่ต้องเกิดอีกนั้น ก็ขึ้นกับสภาวะจิตตอนใกล้จะตาย ที่เรียกว่า มรณาสันนวิถี เป็นสำคัญ คือถ้าขณะนั้นจิตผ่องใส ไม่เศร้าหมองด้วยกิเลส ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี คือ สุคติภูมิ แต่ถ้าขณะนั้นจิตเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส เพราะถูกกิเลส หรืออุปกิเลสครอบงำแล้ว (ดูเรื่องอุปกิเลส 16 ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ) ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ไม่ดี คือ ทุคติภูมิ (คือจะไปเกิดในภพภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับจิตในมรณาสันนวิถีมากที่สุดนั่นเอง) และถ้าขณะนั้นจิตหมดความยินดีพอใจ หรือหมดความยึดมั่นถือมั่นในภพภูมิใดๆ รวมทั้งในสิ่งทั้งปวงแล้ว ก็จะหมดเหตุให้ต้องเกิดอีก (ดูเรื่องปฏิจจสมุปบาท ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ)"

ก็จะอยู่ที่ขณะจิตก่อนตาย ไม่ได้ให้ความหมายว่าให้คนอื่นฆ่าหรือฆ่าตัวเอง

แล้วใครละที่มีจิตหมดความยินดีพอใจ หรือหมดความยึดมั่นถือมั่นในภพภูมิใดๆ รวมทั้งในสิ่งทั้งปวงแล้ว?? ก็คงเป็นอริยบุคคลตั้งแต่เบื้องตนจนถึงเบื้องปลาย หรือผู้ที่ทรงณาญสมาบัติทั้งหลาย ปุถุชนคนธรรมดาคงยากที่จิตสดใสแม้ขณะตายปกติยิ่งเมื่อฆ่าตัวตายเองด้วยแล้วยิ่งน่าเป็นห่วง
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 15:33:54 »

แม้การฆ่าตัวตายนี้ พระพุทธเจ้าเราเมื่ออดีตชาติก็เคยสละชีวิตตัวเองเพื่อผู้อื่น หาอ่านได้จากบารมี 30 ทัศน์
ยกตัวอย่าง..

เมื่อเสวยพระชาติเป็นพรหมกุมาร   

พรหมกุมาร  เป็นบุตรในตระกูลของ พราหมณ์มหาศาล เมื่อมารดา และบิดา ทรงสิ้นชีพ ได้สละสมบัติทั้งหมดให้ลูกศิษย์500คน แล้วออกบวชเป็นพระดาบส โดยได้สอน

ลูกศิษย์ว่าอย่า ประมาทในการดำเนินชีวิต  เวลาต่อมาเมื่อบิดามารดาของบรรดาลูกศิษย์สิ้นชีพไป  ก็เลยออกบวชตามพระโพธิศัตว์ เรื่องมีอยู่ว่าวันหนึ่ง ขณะออกไปหา

ผลไม้บนภูเขา  พระโพธิสัตว์ได้มองลงมายังเบื้องล่าง เห็นแม่เสือตัวผอมและหิวโซกำลังจะกินลูกของตนเอง พระองค์เกิดเศร้าสลดใจ และมองอย่างลึกซึ้งเห็นโทษ

ของวัฏสงสาร ได้สังให้ลูกศิษย์ออกหาเศษเนื้อมาให้แม่เสือกิน ระหว่ารออยู่นั้น พระโพธิสัตว์กลัวจะไม่ทันการ ได้คิดว่าร่างกายของเรานี้เป็นร่างกายที่ไร้แก่นสารไม่มี

ประโยชน์ใดๆเลย มีแต่บารมีธรรมเพียงอย่างเดียว(30ทัศ)ที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น แล้วจึงได้เปิดปากกล่าวประกาศแก่เทพยดาว่า ด้วยผลบุญบารมีแห่งการที่พระองค์

ได้ถวายชีวิต ให้ร่างของพระองค์เป็นทานแก่ แม่เสือ ไม่ให้แม่เสือนั้นกระทำปาปต่อลูกของตน  ขอผลแห่งบุญบารมีนี้ ทำให้พระองค์ได้ตรัสรู้ธรรมอันเป็นการหลุดจาก

วัฏสงสารนี้ และพาเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายหลุดไปด้วย  ว่าแล้วก็ทิ้งตัวลงจากหน้าผาให้แม่เสือได้กินร่างพระโพธิสัตว์  ถือว่าเป็นพระชาติแรก ที่พระองค์ได้เปิดปาก

ประกาศในการขอเป็นพุทธภูมิ(หลังจากที่คิดในใจมา 7อสงไขยในการปรารถพุทธภูมิ)

อ้างอิงจาก  มุนีนาถทีปนี หน้า 98-102
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 15:36:03 »

เมื่ออดีตชาติที่เกิด...เป็นโค


พหลาคาวีชาดก

พระศาสดาเมื่อทรงประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภความกตัญญูในพระมารดา จึงตรัสคำว่า นตฺถิ สจฺจํ สมํ ปุญฺญํ ดังนี้ ความมีอยู่ว่า วันหนึ่งภิกษุทั้งหลายนั่งสรรเสริญความกตัญญูของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ในโรงธรรม พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจะได้เป็นกตัญญูบุคคลแต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ ถึงในกาลก่อน เราก็ได้เป็นกตัญญูบุคคลเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ก็ทรงนิ่งอยู่ อันภิกษุทั้งหลายกราบทูลวิงวอน จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ในโกศลรัฐ กุฎุมพีคนหนึ่งมีแม่โคตัวหนึ่ง ชื่อพหลาคาวี นางโคพหลาคาวีนั้น มีลูกน้อยอยู่ตัวหนึ่ง ในคราวหนึ่ง นางพหลาคาวีนั้นออกจากคอกโคไปแสวงหาหญิงกับลูกน้อยของตนกับฝูงโคทั้งหลาย นางโคพหลาคาวีนั้น เข้าไปในป่าแต่ตัวเดียว ส่วนลูกโคไปกับฝูงโค ในกาลนั้น ในป่านั้น มีเสือโคร่งอยู่ตัวหนึ่ง เสือโคร่งนั้น ได้เห็นนางโคกินหญ้าอยู่ คิดว่า เราจักจับนางโคตัวนี้กิน จึงเข้าไปใกล้นางโคนั้น นางโคนั้นเงยหน้าขึ้นแลเห็นเสือโคร่งแล้วจึงพูดว่า ข้าแต่เสือโคร่งผู้เป็นใหญ่ ท่านมาเพื่อต้องการอะไร เสือโคร่งตอบว่า ข้าจะมาจับเจ้ากินเป็นอาหาร นางโคจึงตอบว่า ข้าแต่เสือโคร่งผู้เป็นใหญ่ ท่นจงงดกินข้าพเจ้าไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้ามีลูกน้อยอยู่ตัวหนึ่ง จะไปให้ลูกกินนมก่อนแล้วจะมาให้ท่านกินเป็นอาหาร เสือโคร่งจึงกล่าวว่า ถ้ำคำของเจ้าจักเป็นจริงไซร้ ข้าจะงดโทษให้เจ้า นางพหลาคาวีลาเสือโคร่งไปหาลูก พูดกับลูกว่า ลูกรัก เจ้าจงรีบกินนมแม่เร็วๆ เถิด แม่จะไปให้เสือโคร่งกินเป็นอาหาร ลูกโคน้อย จึงถามว่า เหตุไฉน แม่จึงมาพูดอย่างนี้ แม่อย่าไปให้เสือโคร่งกินเลย ลูกจะไปให้เสือโคร่งกินแทนคุณแม่ แม่โคพูดว่า ลูกรัก แม่ได้ให้ปฏิญาณแก่เสือโคร่งไว้ว่าจะให้เสือโคร่งกินแล้วจึงมา คำของแม่เป็นคำจริง ถึงร่างกายของแม่จะพินาศไป แม่ก็จะไม่ละทิ้งสัจธรรมคำจริง เวลานั้น ลูกโคน้อยเดินร้องไห้ตามแม่ไปยืนอยู่ข้างหลัง ได้พูดกับเสือโคร่งว่า ท่านเสือโคร่งผู้เป็นใหญ่ ท่านจงอนุเคราะห์กินตัว้า จงให้ชีวิตแก่แม่ข้าเถิด เสือโคร่งพูดว่า ข้างดโทษให้เจ้า ข้าไม่กินเจ้าทั้งสองแล้ว ด้วยเดชานุภาพแห่งสัจจะขันติและกตัญญู ภพของท้าวสักกเทวราชจึงแสดงอาการร้อนขึ้น ท้าวสักกเทวราชทรงอาวัชนาการ ครั้นทราบเหตุนั้นแล้ว จึงลงมาจากสวรรค์ เข้าไปใกล้สัตว์ทั้งสามนั้น แล้วพาสัตว์ทั้งสามนั้นไปยังเทวโลก ประทานทิพยพิมานอันเดียรดาษไปด้วยนางเทพอัปสรพันหนึ่ง พรั่งพร้อมไปด้วยโภคสมบัติทิพย์ กึกก้องไปด้วยการฟ้อนรำขับร้อง กึกก้องดุริยางดนตรีมีองค์ห้าประการ เกลื่อนกลาดไปด้วยธงชายและธงปฎากเป็นอันมาก สำเร็จไปด้วยกามคุณเป็นของทิพย์ให้แก่สัตว์ทั้งสามนั้น สัตว์ทั้งสามนั้น ก็สละอัตาพของตนเสีย แล้วได้อัตภาพเป็นเทวบุตรในสำนักท้าวสักกเทวราชแล้วก็เสวยทิพยสุขอยู่ในเทวโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า บุญกุศลส่วนดีงามซึ่งจะเสมอด้วยสัจจะความจริง ขันติความอดทน และกตัญญูความรูัจักคุณที่ผู้อื่นกระทำไว้แก่ตนทั้งสามประการนี้ เป็นบุญราศีอย่างสูงสุดอย่างประเสริฐ นี้เป็นผลของสัจจะขันติและกตัญญตา พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ประมวลชาดกว่า ท้าวสักกเทวราชกลับชาติมาเป็นพระอนุรุทธะในกาลนี้ เสือโคร่งผู้เป็นใหญ่ที่เที่ยวไปในป่า กลับชาติมาเป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราชพุทธบิดาในกาลนี้ นางพหลาคาวีกลับชาติมาเป็นพระนางสิริมหามายาพุทธมารดาในกาลนี้ ลูกโคกลับชาติมาเป็นพระบรมโลกนาถในกาลนี้ ท่านทั้งหลาย จงทรงจำชาดกนี้ไว้ ด้วยประการฉะนี้
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 15:41:51 »

และมีอีกหลายเรื่องผู้สนใจหาอ่านเพิ่มเติมได้จาก บารมี 30 ทัศน์

แม้แต่พระศรีอาริยเมตไตรเอง ก็สละชีวิตตัวเองบูชาพระพุทธเจ้าเช่นกัน...

ส่วนในยุคปัจจุบันนี้ที่สละชีวิตตัวเองเพื่อบูชาพระพุทธศาสนา บูชาพระพุทธเจ้า ก็มีอยู่ท่าน

หนึ่ง คือ พระโพธิสัตว์ กวาง ดิ๊ก ผู้สละชีวิตเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาในเวียดนาม...
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 15:48:15 »

พระภิกษุ ทิจ กวาง ดึ๊ก วัยุ 73 ปี จากวัดเทียนมู่  ซึ่ง ในวันที่ 11 มิถุนายน 2506  พระภิกษุ ทิจ กวาง ดึ๊ก วัยุ 73 ปี จากวัดเทียนมู่ ประกาศอุทิศชีวิตเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา ด้วยการเผาตนเอง เพื่อประท้วงรัฐบาลเวียดนามในขณะนั้นทีออกข้อห้ามต่างๆเช่น
- ผู้ริดรอนสิทธิของชาวพุทธ เช่นห้ามเข้าวัด ห้ามจัดกิจกรรมทางศาสนาเช่นวันวิสาขบูชา ห้ามออกหนังสือพุทธศาสนา ห้ามพระจัดรายการทางวิทยุ
- ผู้ปราบปราบและเข่นฆ่าพระสงฆ์ นางชี และชาวพุทธอย่างโหดเหี้ยม
- ผู้สั่งทหารให้นำรถพุ่งเข้าหากลุ่มผู้ประท้วง ผลทำให้พระสงฆ์และนางชีที่อยู่แถวหน้าเสียชีวิตทันที่ 70 ศพ ประชาชนอีก 30 ศพ
- ผู้สั่งให้ทหารกวาดกล้าง เผาวัด ทำลายศาสนสถาน ยิงกราดใส่กลุ่มพระและนางชีที่กำลังสวดมนต์และนั่งสมาธิ
- ผู้ออกกฏห้ามสร้างพระพุทธรูปบูชา หากทรุดโทรมผุพังให้นำรูปพระเยซูมาตั้งแทน ใครไม่ทำมีโทษประหาร
- ผู้ออกกฏให้ชาวบ้านนำรูปพระเยซูไว้ตามบ้าน ใครทำหาย หรือทำลาย จะได้รับโทษสถานหนัก
- ผู้ออกกฏ เมื่อมีการอบรมข้าราชการ ต้องให้บาทหลวงมาทำการอบรมข้าราชการด้วย
- ผู้กำหนดนโยบายเปลี่ยนคำสอนของพุทธศาสนา พระไตรปิฏก บังคับใช้กับพระภิกษุสงฆ์และสถาบัน โดยเป็นคำสั่งของ โง ดินห์ ถึก (พี่ชาย)ซึ่งคุมกระทรวงศึกษาธิการ
- ห้ามประชาชนชาวเมืองเว้ชักธงศาสนา(ธงพระธรรมจักร)ในวันสำคัญทางศาสนา และห้ามประกอบพิธีทางศาสนาพุทธ


* พระภิกษุ ทิจ กวาง ดิ๊ก วัดเทียนมู่.jpg (33.32 KB, 256x416 - ดู 357 ครั้ง.)

* เมื่อเผาตัวเอง.jpg (63.02 KB, 576x393 - ดู 386 ครั้ง.)

* อีกภาพ.jpg (5.25 KB, 126x154 - ดู 282 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 15:59:49 โดย เมฆพัตร » IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 15:56:51 »

หากพิจารณาดูในภาพ วิเคราะห์แบบปุถุชนคนมีกิเลสเช่นผม จุดไฟเผาแล้วนั้งสมาธิขนาด

นั้นโดยสีหน้าท่าทางไม่มีความปริวิตกแบบนั้น  สำหรับปุถุชนคนธรรมดาเช่นผม แค่โดยน้ำ

ร้อนลวกก็ร้อนรนทุรนทุรายแล้ว แต่นี้เป็นไฟ ไฟร้อนๆแต่สีหน้าท่าทางของท่าน ยังเรียบเฉย

นั้งสมาธิเป็นปกติ ท่านจะทรงณาญขนาดไหน

นี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการที่สละชีวิตเพื่อบูชาพระธรรม พระพุทธศาสนา เป็นเช่น

ไร แตกต่างกับการฆ่าตัวตายทั่วไปอย่างไร ดังนั้นเมื่ออ่านพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าเมื่อ

เสวยพระชาติในอดีต แล้วมีการเสียสละชีวิตเพื่อผู้อื่น หรือบูชาพระพุทธเจ้านั้นผมเชื่อว่า

เป็นเรื่องจริง      
     V
     V
     V
     V
     V
     V
นี้เป็นภาพสี

ที่มา : http://board.palungjit.com


* 5.jpg (24.11 KB, 266x171 - ดู 317 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 16:06:52 โดย เมฆพัตร » IP : บันทึกการเข้า
little girl
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,174



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2012, 16:44:19 »

“ส่วนตัวอัตวินิบาตมีผลในกาลต่อไปเป็นความอ่อนแอทางใจ มีใบหน้าเศร้าหมอง มีความเดือดร้อนเรื่องสุขภาพจิต คิดมากและน้อยใจเก่ง รู้สึกอ่อนแอ อยากตายด้วยเหตุบีบคั้นแค่ง่ายๆ เป็นต้น”  อันนี้เห็นด้วยเพราะจิตใจ ณ ตอนที่จะฆ่าตัวตายนั้น คงเป็นสภาวะที่แย่ที่สุดและขาดสติที่สุด ลองเทียบเคียง ถ้าหากเราเกิดอุบัติเหตุ เช่น รถยนต์คว่ำไฟไหม้รถ พอดีแขนเราโดนรถทับไม่สามารถดึงออกมาได้แบบธรรมดา ถ้าจะออกมาได้ต้องหักแขนตัวเอง เพราะถ้ารอคนมาช่วยไฟก็คงไหมรถและเราตายไปพอดี ถ้าหากเกิดเหตุการณ์นี้ ก็ลองนึกถึงอารมณ์สภาวะจิตใจขณะนั้น ที่จะทำร้ายตัวเองเพื่อรักษาชีวิตจะอยู่ในสภาวะแบบใด แล้วลองนึกถึงสภาวะจิตใจ อารมณ์จิตใจ ที่ต้องการจะล้างผลาญชีวิตตัวเอง(ฆ่าตัวตาย)จะดำมืดขนาดไหน และถึงจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อเจอสิ่งแวดล้อมต่างๆมากระทบ โดยบีบคั้น จากสิ่งแวดล้อมและสังคมก็จะทำให้อยากฆ่าตัวตายอีก  ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ คนที่ทำงานในบริษัทต่างๆเมื่อเจอปัญหาอะไรมากระทบจิตใจอาจจะเป็นเรื่องงานหรือเพื่อนร่วมงานจนทำให้เขาผู้นั้นตัดสิ้นใจลาออกเพราะทนสภาวะบีบคั้นทางจิตใจและสิ่งแวดล้อมที่มากระทบไม่ไหว  เมื่อไปทำงานที่บริษัทใหม่เจอปัญหและสภาวะแบบเดิมหรือใกล้เคียงอีกเขาก็จะลาออกอีกเพราะจิตใจและความเคยชินในการลาออกเมื่อเจอปัญหา เป็นวงเวียนวัฏจักรไปเลื่อนๆ ต่างกับคนที่จิตใจเข้มแข็งเมื่อเจอปัญหาก็จะต่อสู้ไม่ยอมแพ้แม้จะเจอแรงกดดันมากมายเท่าใดก็ตาม


คล้ายชีวิตของ little girl มากเลยค่ะ  ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!