เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 13:04:37
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ผมมีนิสัยชอบคุยกับตัวเองมานาน เผลอเป็นไม่ได้...................
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ผมมีนิสัยชอบคุยกับตัวเองมานาน เผลอเป็นไม่ได้...................  (อ่าน 1634 ครั้ง)
The_Net
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21


จงรักเสียเมื่อเป็นเวลาแห่งรัก ไม่นานนักถึงแสนรักก็ต้องลา


« เมื่อ: วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2012, 22:43:35 »

ถาม – ผมมีนิสัยชอบคุยกับตัวเองมานาน เผลอเป็นไม่ได้ จะคุยหรือระลึกเรื่องต่างๆ ได้กับตนเอง บางทีนั่งอมยิ้มตุ้ยเพลินเลยครับ ขนาดแฟนผมเขาบอกว่าเขาก็เพิ่งเคยเห็นคนที่นั่งคุยกับตัวเองได้เสมอๆก็คราวนี้ ทีนี้เวลาปฏิบัติธรรมให้สังเกตจิต หรือเวทนา ผมเอาอีกดวงจิตที่ชอบคุยด้วยเป็นตัวสังเกต หรือ ผู้รู้ผู้สังเกต ได้หรือไม่?

เวลาเรามีสติสัมปชัญญะแล้วใช้สติระลึกรู้นามธรรมในจิตนั้น
ถ้าดูได้ละเอียดจะพบคนหลายคนในตัวเรา
คนหนึ่งรู้สึกสุขทุกข์ เฉยๆ
คนหนึ่งเป็นคนคุ้ยความจำต่างๆ ขึ้นมา
คนหนึ่งเป็นคนคิด คิดตลอดเวลา แล้วพูดแจ้วๆ ไม่เลิก
คนหนึ่งเป็นคนรู้ อะไรผุดขึ้นก็มีหน้าที่รู้อย่างเดียว

ที่ดูแล้วมันกลายเป็นหลายคนนั้น ไม่แปลกหรอกครับ
คือนามทั้งหลายมันถูกจำแนกออก
เป็นเวทนา (ความรู้สึกสุขทุกข์)
สัญญา (ความจำได้หมายรู้)
สังขาร (เจตนาดีร้าย ความชอบความชัง)
และวิญญาณ (การรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ)
เดิมสิ่งเหล่านี้ร่วมหัวจมท้ายกัน คอยก่อปัญหาให้เรา
คือมันรวมกันเข้ามาเป็นความรู้สึกว่า เรา เรา เรา

เวลาปฏิบัติแล้ว จะมีกี่ตัวก็ช่างมันเถอะครับ
ให้มีตัวหนึ่งเป็นคนดู อีกตัวหรือหลายตัวก็แสดงหน้าที่ของมันไป
อย่างนี้ก็ใช้ได้แล้วครับ
นักปฏิบัติจำนวนมาก ต้องการดับความคิด
ตัวความคิดหรือสังขารขันธ์นั้น เป็นส่วนของทุกข์ท่านให้เรารู้ ไม่ใช่ไปละมันเพียงแต่เมื่อมีสติสัมปชัญญะ รู้ความคิดแล้ว
ความคิดจะค่อยๆ เงียบเสียงลงตามลำดับ โดยไม่ต้องไปบังคับมัน
มันจะพูดก็ช่างมัน มันจะเงียบก็ช่างมัน รู้มันเรื่อยๆอย่าเผลอก็พอแล้วครับ

เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อดับสังขารขันธ์ หรือเวทนาและสัญญาขันธ์
แต่ปฏิบัติเพื่อจะรู้ทันความเกิดดับของมัน ด้วยจิตที่เป็นกลาง
ถ้าคิดจะดับมัน จิตจะเกิดความรำคาญใจขึ้นมาเล็กๆแบบไม่รู้ตัวครับ
เรียกว่ากิเลสเกิดขึ้น แต่เรารู้ไม่ทัน
จิตจึงไปปฏิเสธสภาพธรรมที่กำลังปรากฏอยู่

สันตินันท์
(พระปราโมทย์ ปาโมชโช ในปัจจุบัน)
๙ มิ.ย. ๒๕๔๒
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 01 มีนาคม 2012, 13:23:59 »

ได้อ่านแล้วก็ให้นึกถึงตอนปฏิบัติใหม่ๆ และ ต่อเนื่อง

จำได้ว่าช่วงนั้น เห็นความคิดของตัวเองคิดอยู่ทั้งวัน พอเรื่องนี้เกิดคิดจบก็ตามด้วยเรื่องใหม่

หมุนเวียนอยู่อย่างนี้แบบไม่รู้จบ ตอนแรกก็เครียดจนได้ฟัง ซีดี ของหลวงพ่อปราโมทย์ ที่

ว่า รู้สักแต่ว่ารู้  ทีนี้ก็เลยปล่อย อยากคิดก็คิดไป ติดตามไปเรื่อยๆ มีหลงเข้าไปในความคิด

บาง รู้สึกตัวออกมาเป็นผู้ดูบ้าง บางครั้งตามดูความคิดที่เป็นความคิดสุดท้ายที่เชื่อมต่อ

ระหว่างกำลังจะหลับ และ เฝ้าดูความคิดแรกเมื่อตื่นนอน(ที่เล่านี้ไม่ใช่ทำได้ทุกวัน แค่บาง

วัน) พอเริ่มตามรู้ตามดูมากเข้า เริ่มเห็น พวก รัก โลภ โกรธ หลง ( พอใจ ไม่พอใจ

สึกจะดูสองอย่างนี้:จากหนังสือ เรียนธรรมคู่เพื่อรู้ธรรมหนึ่ง) ตอนนั้นก็ดูความพอใจ กับไม่

พอใจ มีอยู่วันหนึ่ง ดูมาทั้งวัน วันนั้น ตอนเที่ยงกำลังทานข้าวเที่ยง จำได้ว่าทานแกงเขียว

หวาน แล้วกำลังตักข้าวเข้าปาก ตอนนั้นจิตก้ไปดู เอ๊ะ!!  ทำไม่เราตักชิ้นไก่ ไม่ตักมะเขือ

มันก็มีเสียงตอบออกมาว่า  อ๋อ..เป็นเพราะเราชอบเราพอใจ ในเนื้อไก่ มากกว่ามะเขือจึงตัก

ตักเนื้อไก่ พอรู้แบบนี้ก็ดูต่อไป ตอนนั้นยอมรับว่าสนุกกับการดูมาก ยิ่งตอนดูทีวียิ่งเห็นชัด

ถ้าได้ถือรีโมตด้วยจะชัดเลย ไม่พอใจไม่ชอบใจ เราก้เปลี่ยนช่อง ถ้าชอบใจเราก็จะแช่ อยู่

ช่องเดียว ยิ่งดูรายการที่ชอบแล้วกำลังสนุกมีโฆษณามาคั้น เสียอารมณ์มาก เราก็รู้ต่อไป

ว่า โทสะเกิด เราก็มีสติระลึกรู้ต่อ การดูแบบนี้ถ้าทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจะทำให้เรา

มีผู้รู้ที่คอยดูจิตดูความคิดอีกต่างหาก ทำให้เราไม่หลงไปกับความคิดนั้นๆ 

ยกตัวอย่างไงดีหว่า???  เช่นเวลาผมไปดูหนังในโรงแล้วจะสนุกมาก เพราะหลงไปกับตัว

ละคร เหมือนว่าตัวเองเป็นพระเอง เวลาจูบนางเองเหมือนได้ไปจูบกับเขา ^_^ เวลายิง

ปืน เหมือนได้ไปอยู่ตรงนั้น เล้งแล้วยิงกับเขาด้วย แต่เมื่อหัดดูหัดรู้เป็นแล้ว >_<'

ไม่สนุกเลย พระเอง นางเองก็เป็นอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่เรา เขาก็แสดงไป เราก็ดุไป คนละคน

กับเราที่เป็น ผู้ชม  เขาจูบก้จูบไป เขายิงก็ยิงไป วันนั้นที่เห็นแบบนี้ โลกทั้งโลกมันคือละคร

จริงๆ ทุกคนก็ต่างแสดงบทบาทไป มีแต่คนรวมแสดง ไม่มีใครถอยออกมาเป็นผู้ดู ผู้ชม ผู้รู้

เจอคนเถียงกันเมื่อก่อนจะไปร่วมเถียงกับเขาใน(ทางความคิด) นึกในใจ จะเถียงกันทำมัย

ลำคาญหู ตอนั้นพอเห็นก็เฉยๆ รู้สักแต่ว่ารู้ พอมาอยู่บ้านก็เฉยๆกับทุกสิ่งรู้แต่สักว่ารู้

ไม่ภาวนาต่อ ไม่ตามดู ตามรู้ ต่อ ไอ้ที่เราว่าเฉยๆนี้มันคืออะไร แล้วมันก็มีความคิดด้านลบ

เข้ามาในหัวว่า ถ้าเป็นอย่างนี้จะอยู่ในโลกนี้ ไปแบบซักกะต่ายน่ะ สนุกกับมันซิ ถึงเวลา

ก็ค่อยออกมาเป็นผู้รู้ ผู้ดูบ้างก้ได้ เราทำได้แล้วนี้ อีกความคิด ก็มาแย้งว่า เดี๋ยวถ้าเลิก

ปฏิบัติระวังจะโดนโลกกลื่นน่ะ ที่เรามาถึงขนาดนี้ก้ไม่ได้ทำมาวันสองวัน เป็นปี สองปี ถ้าทิ้งไปเฉยๆ ระวังกลับมาไม่ได้น่ะ ควรที่จะเอาจริง เอาจังในรูปแบบเลย

    สงสัยตอนนั้นบุญไม่ถึง ความคิดแรกชน่ะ แล้วผมก็หลงจากวันนั้นมาถึงวันนี้ก็ 3 ปี ที่

ผมยังหลงอยู่ หาทางตื่นไม่เจอ....

 



   



* หนังสือ.jpg (4.82 KB, 168x242 - ดู 256 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
^<หมูช:มวง>^
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 619


~MSๅด~>~เชีeJSๅe<~


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 01 มีนาคม 2012, 15:18:42 »

เข้ามาแอบอ่าน.... ดีมากเลยนะคะ ทำให้คิดอะไรได้หลาย ๆ ๆ อย่าง....
ขอบคุณมากค่ะ ^_____^"""" ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

>>>"" ค ว า ม ทุ ก ข์ ... มี ไ ว้ ใ ห้ เ ห็ น .... ไ ม่ ใ ช่ .... มี ไ ว้ ใ ห้ เ ป็ น ......" ""<<<

          >>>"" มองเห็นตัวตน เท่ากับ มองเห็นธรรมะ ""<<<
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 01 มีนาคม 2012, 17:03:56 »

ทุกวันนี้ก็ปฏิบัติแบบล้มลุกคลุกคลาน ด้วยภาระหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งต้องดูแลลูก

น้องใต้บังคับบัญชา วันๆมีแต่เรื่องปวดหัว (วันนี้ก็เพิ่งไล่ออกไป 3 คน) การประฏิบัติก็ไม่ต่อ

เนื่อง คลายๆกับว่าปล่อยปะละเลยมานาน พอมาทำอีกทีนึกว่าจะง่าย มันไม่ใช่ละ เขาใจเลย

ครับ ที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ว่า เมื่อเราปฏิบัติแล้วจะถึงขั้นไหน ได้

ขั้นไหนแล้วก็ต้องมาเริ่มที่ขั้นต้นก่อนก็คือการทำสมาธิเบื้องต้นนี้เองแล้วค่อยไล่ระดับขึ้น

ไป ไม่ใช่พอได้ขั้นนี้แล้ว พอเริ่มใหม่จะมาต่อที่ฉันนั้นเลยไม่ใช่ ผมเปรียบเทียบเอาเหมือน

เราขึ้นไปตึก 5 ชั้น ถึงเราจะเคยขึ้นไปชั้น 3 แล้ว ถ้าเราออกจากถึงนั้นแล้วจะขึ้นไปชั้น 5

ไม่ใช่เราจะเริ่มจากชั้น 3 แล้วไป ชั้น 4 และ 5 เลย ไม่ใช่ เราต้องมาเริ่ม จาก 1 2 ใหม่ แต่

ชั้น 1 2 นี้ หากเคยไปแล้ว จะทำให้ไปไว เพราะเราเคยผ่านมาแล้ว รู้ว่าอะไร อยู่ตรงไหน

ส่วนผู้มาใหม่จะช้าหน่อย หรือผ่านไปไวก้แล้วแต่บุคคล ส่วนตัวผมนั้นสารภาพตรงๆ เหมือน

แก้ด้ายที่พันกัน ไม่รู้ต้นไม่รู้ปลาย เคยคิดว่าเมื่อมีตำแหน่งที่มากขึ้นจะได้มีเวลาปฏิบัติธรรม

มากขึ้น แต่กลับเป็นว่าต้องมีหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้น มีเรื่องให้คิดวางแผนและรับผิดชอบ

มากมาย ทำให้นึกถึงคำเตื่อนของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่ว่า อย่าประมาทในธรรม วันนี้เข้า

ใจอย่างแจ่มแจ้งรู้เลยครับว่าเป็นอย่างไร ถ้าวันนั้นไม่ประมาทในธรรมอาจจะทุกข์น้อยกว่านี้

ก็เป็นได้ ฟุ้งซ่านมากแล้ว หวนคิดคำนึกถึงเหตุที่ผ่านมาแล้ว กลับไปปฏิบัติก่อนละครับ...
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 01 มีนาคม 2012, 18:28:59 »

มงคลชีวิต มงคลที่ ๒๑ ความไม่ประมาทในธรรม...
ความไม่ประมาทคืออะไร ?
 ความไม่ประมาท คือ การมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางที่เสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมที่ต้องเว้นใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่างจริงจังและดำเนินรุดหน้าตลอดเวลา
 ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง กล่าวได้ว่าคำสอนในพุทธศาสนาทั้งหมด เมื่อสรุปแล้ว ก็คือสอนให้เราไม่ประมาท ดังจะเห็นได้จากปัจฉิมโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ
 “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด”

ไม่ประมาทในธรรมหมายความว่าอย่างไร
     คำว่า “ธรรม” ในที่นี้หมายถึง คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาแปลเอาความท่านแปลว่าเหตุ หมายถึงต้นเหตุ ข้อธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกข้อ ถ้าดูให้ดีแล้วล้วนแต่เป็นคำบอกเหตุทั้งสิ้นคือ บอกว่าถ้าทำเหตุอย่างนี้แล้ว จะเกิดผลอย่างนั้น หรือไม่ก็บอกว่าผลอย่างนี้เกิดมาจากเหตุอย่างนั้น เช่น ความขยันหมั่นเพียรเป็นเหตุให้เกิดความเจริญ ความเกียจคร้านเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อม
 ดังนั้น “ไม่ประมาทในธรรม” จึงหมายถึง “ไม่ประมาทในเหตุ” ให้มีสติรอบคอบตั้งใจทำเหตุที่ดีอย่างเต็มที่ เพื่อให้บังเกิดผลดีตามมานั่นเอง

ลักษณะของผู้ที่ยังประมาทอยู่
 ๑.พวกกุสีตะ คือพวกไม่ทำเหตุดีแต่จะเอาผลดี เป็นพวกเกียจคร้าน เช่น เวลาเรียนไม่ตั้งใจเรียนแต่อยากสอบได้ งานการไม่ทำ แต่ความดีความชอบจะเอา ไม่ทำประโยชน์แก่ใคร แต่อยากให้คนทั้งหลายนิยมชมชอบ ทาน ศีล ภาวนา ไม่ปฏิบัติ แต่อยากได้สวรรค์ นิพพาน ฯลฯ
 ๒.พวกทุจริตะ คือพวกทำเหตุเสียแต่จะเอาผลดี เป็นพวกทำอะไรตามอำเภอใจ แต่อยากได้ผลดี เช่น ทำงานเหลวไหลเสียหาย แต่พอถึงเวลาพิจารณาผลงานอยากได้เงินเดือนเพิ่ม ๒ ขั้น ปากเสียเที่ยวด่าว่าชาวบ้านทั่วเมืองแต่อยากให้ทุกคนรักตัว ฯลฯ
 ๓.พวกสิถิละ คือพวกทำเหตุดีเล็กน้อยแต่จะเอาผลดีมากๆ เป็นพวกค้ากำไรเกินควร เช่น จุดธูป ๓ ดอกบูชาพระ แต่จะเอาสวรรค์วิมาน มีนางฟ้า เทวดา คอยรับใช้นับหมื่นนับแสน อ่านหนังสือแค่ ๑ ชั่วโมง แต่จะเอาที่ ๑ ในชั้น เลี้ยงข้าวเขาจานหนึ่ง แต่จะให้เขาจงรักภักดีต่อตัวไปจนตาย
 รวมความแล้วผู้ที่ยังประมาทอยู่มี ๓ จำพวกคือ พวกไม่ทำเหตุดีแต่จะเอาผลดี พวกทำเหตุเลวแต่จะเอาผลดี พวกทำเหตุน้อยแต่จะเอาผลมาก ส่วนผู้ไม่ประมาทในธรรม มีคุณสมบัติตรงข้ามกับคน ๓ จำพวกดังกล่าว คือ จะต้องไม่เป็นคนดูเบาในการทำเหตุ ต้องทำแต่เหตุที่ดี ทำให้เต็มที่ และทำให้สมผล
ผู้ที่ไม่ประมาททุกคนจะต้องมีสติอยู่เสมอ

สติคืออะไร ?
 สติ คือ ความระลึกนึกได้ถึงความผิด ชอบ ชั่ว ดี เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้คิด ทำ พูด ในสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้ไม่ลืมตัว ไม่เผลอตัว ใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ ได้
 ธรรมชาติของจิต มีการนึกคิดตลอดเวลา การนึกคิดนี้ถ้าไม่มีสติกำกับ ก็จะกลายเป็นความคิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ ใช้งานอะไรไม่ได้ แต่ถ้ามีสติกำกับแล้ว จะทำให้ไม่เผลอ ควบคุมความนึกคิดได้ ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอย ไม่ปล่อยอารมณ์ให้เป็นไปตามสิ่งที่มากระทบ

หน้าที่ของสติ
 ๑.สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความระมัดระวังตัว ป้องกันภัยที่จะมาถึงตัว คือ ระแวงในสิ่งที่ควรระแวง และระวังป้องกันภัยที่จะมาถึงในอนาคต
 ความระแวง หมายถึง ความกริ่งเกรงล่วงหน้าว่า จะมีความเสียหายอันใดเกิดขึ้น เช่น คนกำลังขับรถขณะฝนตก ถนนลื่น ก็ระแวงว่ารถจะคว่ำ ระแวงว่าจะมีรถอื่นสวนมาในระยะกระชั้นชิด ส่วนความระวังคือ การป้องกันไม่ให้ภัยชนิดนั้นๆ เกิดขึ้น เช่น ลดความเร็วลง ตั้งใจขับมากขึ้น อย่างนี้เป็นต้น
 ๒.สติเป็นเครื่องยับยั้ง เตือนไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม ไม่ให้มัวเมาลุ่มหลง ไม่ให้เพลิดเพลินไปในสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษต่อตนเอง เช่น เพื่อนชวนไปดื่มเหล้า ก็มีสติยับยั้งตัวเองไว้ว่า อย่าไป เพราะเป็นโทษต่อตัวเอง ฯลฯ
 ๓.สติเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้ขวนขวายในการสร้างความดีไม่แชเชือนหยุดอยู่กับที่ ไม่ทอดธุระ ไม่เกียจคร้าน ป้องกันโรค “นอนบิดติดเสื่อ งานการเบื่อทำไม่ไหว ข้าวปลากินได้อร่อยดี”
 ๔.สติเป็นเครื่องเร่งเร้าให้มีความขะมักเขม้น คือ เมื่อเตือนตัวเองให้ทำความดีแล้วก็ให้ทำอย่างเอาจริงเอาจัง ไม่อืดอาดยืดยาด ไม่ทำแบบเรื่อยๆ เฉื่อยๆ
 ๕.สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความสำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ ตระหนักถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ตระหนักถึงสิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
 ๖.สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความละเอียดรอบคอบในการทำงานไม่สะเพร่า ไม่ชะล่าใจว่าสิ่งนั้นๆ เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่เป็นไร


ที่มา  http://www1.freehostingguru.com/thaigenx/mongkhol/mk21.htm


* 05.jpg (125.89 KB, 400x312 - ดู 250 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
nuchnad
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2012, 21:21:14 »

โมทนาสาธุค่ะ   ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
sabaidree
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 565


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2012, 22:45:21 »

ขอมารอฟังคำตอบด้วยคนนะครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
และขอเป็นกำลังใจให้กับผู้เดินทางทุกท่านนะครับ ให้หน้าที่นี้สำเร็จลุล่วงโดยเร็วนะครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!