เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 07:42:52
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  หนองหลวง เวียงชัย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หนองหลวง เวียงชัย  (อ่าน 4626 ครั้ง)
tonkla
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,334


ธรรม=ธรรมชาติ ธรรมดา ธรรมนูญ


« เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2012, 20:38:37 »

เนื่องจากผมจะทำงานวิจัย ด้านการเปปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพของหนองหลวง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจากผู้รู้ ผู้อาวุโส เกี่ยวกับหนองหลวงในอดีต ด้วยครับ

IP : บันทึกการเข้า

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง"(ไว้เตือนตนเอง)
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2012, 11:43:10 »

เนื่องจากผมจะทำงานวิจัย ด้านการเปปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพของหนองหลวง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจากผู้รู้ ผู้อาวุโส เกี่ยวกับหนองหลวงในอดีต ด้วยครับ



จะเก็บข้อมูลเชิงสังคมวิทยาโตยก่อครับ
IP : บันทึกการเข้า
yuan lanna
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 82


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2012, 12:59:27 »

บ้านผมอยู่ใกล้หนองหลวง ตั้งแต่ละอ่อนตวยป่อแม่ไปเซาะเห็ด ไปกุ๋มถ่าน ไปขุดหน่อ ไปหาปลา ใหญ่มาก็ไปแอ่ว เซาะยิงนก(ตอนนี้เลิกแล้ว)  ตะก่อนเกยหันหนังสือประวัติหนองหลวงอยู่เล่มหนึ่ง กำลังได้ผ่อฮูปกับอ่านคำนำไอ่เจ้าของหนังสือหันเฮาไค่ฮู้นักก็ดึงเอาไปเหียบ่าหื้ออ่าน แล้วก็ล่นไปกึ้ดใจเดี่ยวนี้สูมาเต๊อะยังไค่เตะมันอยู่ ตอนนั้นเป็นละอ่อน ม.ต้น เลยมาได้อ่านเต๊าบ่าเดี่ยว ถามอาจารย์ชรินทร์ท่านว่าท่านมีอยู่ ตอนนี้บ่ฮู้อยู่ไหน ยังบ่ได้เซาะหาเตื่อ ข้อมูลจริงแท้ผมแนะนำท่านไปหาท่านสุเมธโขภิกษุอดีตท่านเป็นปลัดอำเภอเวียงชัยชื่อโกเมศ ขุนศรี ท่านเป็นรองเจ้าอาอาวาสวัดเวียงเชียงรุ้ง ต.ทุ่งก่อ (ถ้าปัจจุบันท่านจำพรรษาที่อื่นหรือกระผมเอ่ยนามผิดก็ขอสูมาตวยเพราะถามพี่กูเกิ้นมา)  ทั้งพ่อผมพ่อเฒ่าผมอยู่คนละตำบลยังฮู้จักเพราะท่านมาค้นพบ และยะหลายอย่างตี่ อ.เวียงชัย อย่างหอแม่หม้ายที่เกาะบ่าหนุนหนองหลวงหั้นท่านก็เป็นคนคิดริเริ่มสร้าง ตังบ้านป่อเฒ่าก็ขยายถนนหนตางจนปะพระโบราณที่วัดเวียงเดิม ตี่เหลืออ้ายเซาะผ่อตี่กูเกิ้ลก็มีอยู่สะป๊ะ ถ้าถามคนเฒ่าคนแก่แนะนำอ้ายเลย ไปถามผ่อเอาคนเฒ่าที่บ้านปงหลวง ถ้าเปิ้นอธิบายจ่าง อ้ายก็จะฮู้ แต่ถ้าอ้ายถามผมซึ่งบ่านับว่าตัวเก่าเฒ่า เพราะยังลักเมาสาววัยทีนอยู่ละก่อปอโม้ได้ ย้อนว่าป่อแม่ปาข้ามขี้ปึ๋งไปหาเกาะจนปะเดี๋ยวนี้ ขี้ปึ๋งมามีหื้อเตียวข้ามไปแล้ว ไผบ่าอู้ถามมาขี้ปึ๋งข้ามหนองหลวง ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ(นี่หละเข้าหัวข้ออ้าย "ความเปลี่ยนแปลง ความหลากหลายทางชีวภาพหนองหลวง")
IP : บันทึกการเข้า
tonkla
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,334


ธรรม=ธรรมชาติ ธรรมดา ธรรมนูญ


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2012, 21:40:18 »

เนื่องจากผมจะทำงานวิจัย ด้านการเปปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพของหนองหลวง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจากผู้รู้ ผู้อาวุโส เกี่ยวกับหนองหลวงในอดีต ด้วยครับ



จะเก็บข้อมูลเชิงสังคมวิทยาโตยก่อครับ

เก็บทั้งหมดครับ  เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงในแต่ละด้านที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของหนองหลวงทั้งทางตรงและทางอ้อม ครับ

IP : บันทึกการเข้า

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง"(ไว้เตือนตนเอง)
tonkla
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,334


ธรรม=ธรรมชาติ ธรรมดา ธรรมนูญ


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2012, 21:45:23 »

บ้านผมอยู่ใกล้หนองหลวง ตั้งแต่ละอ่อนตวยป่อแม่ไปเซาะเห็ด ไปกุ๋มถ่าน ไปขุดหน่อ ไปหาปลา ใหญ่มาก็ไปแอ่ว เซาะยิงนก(ตอนนี้เลิกแล้ว)  ตะก่อนเกยหันหนังสือประวัติหนองหลวงอยู่เล่มหนึ่ง กำลังได้ผ่อฮูปกับอ่านคำนำไอ่เจ้าของหนังสือหันเฮาไค่ฮู้นักก็ดึงเอาไปเหียบ่าหื้ออ่าน แล้วก็ล่นไปกึ้ดใจเดี่ยวนี้สูมาเต๊อะยังไค่เตะมันอยู่ ตอนนั้นเป็นละอ่อน ม.ต้น เลยมาได้อ่านเต๊าบ่าเดี่ยว ถามอาจารย์ชรินทร์ท่านว่าท่านมีอยู่ ตอนนี้บ่ฮู้อยู่ไหน ยังบ่ได้เซาะหาเตื่อ ข้อมูลจริงแท้ผมแนะนำท่านไปหาท่านสุเมธโขภิกษุอดีตท่านเป็นปลัดอำเภอเวียงชัยชื่อโกเมศ ขุนศรี ท่านเป็นรองเจ้าอาอาวาสวัดเวียงเชียงรุ้ง ต.ทุ่งก่อ (ถ้าปัจจุบันท่านจำพรรษาที่อื่นหรือกระผมเอ่ยนามผิดก็ขอสูมาตวยเพราะถามพี่กูเกิ้นมา)  ทั้งพ่อผมพ่อเฒ่าผมอยู่คนละตำบลยังฮู้จักเพราะท่านมาค้นพบ และยะหลายอย่างตี่ อ.เวียงชัย อย่างหอแม่หม้ายที่เกาะบ่าหนุนหนองหลวงหั้นท่านก็เป็นคนคิดริเริ่มสร้าง ตังบ้านป่อเฒ่าก็ขยายถนนหนตางจนปะพระโบราณที่วัดเวียงเดิม ตี่เหลืออ้ายเซาะผ่อตี่กูเกิ้ลก็มีอยู่สะป๊ะ ถ้าถามคนเฒ่าคนแก่แนะนำอ้ายเลย ไปถามผ่อเอาคนเฒ่าที่บ้านปงหลวง ถ้าเปิ้นอธิบายจ่าง อ้ายก็จะฮู้ แต่ถ้าอ้ายถามผมซึ่งบ่านับว่าตัวเก่าเฒ่า เพราะยังลักเมาสาววัยทีนอยู่ละก่อปอโม้ได้ ย้อนว่าป่อแม่ปาข้ามขี้ปึ๋งไปหาเกาะจนปะเดี๋ยวนี้ ขี้ปึ๋งมามีหื้อเตียวข้ามไปแล้ว ไผบ่าอู้ถามมาขี้ปึ๋งข้ามหนองหลวง ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ(นี่หละเข้าหัวข้ออ้าย "ความเปลี่ยนแปลง ความหลากหลายทางชีวภาพหนองหลวง")

ขอบคุณครับ อันดับแรกคงต้องตามหาท่านนสุเมธโขภิกษุ หลังจากนั้นจะไปคุยกับ คนเฒ่าคนแก่ที่บ้านปงครับ

หากใครมีข้อมูลเพิ่มเติม ใคร่ขอรบกวนด้วยครับ
IP : บันทึกการเข้า

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง"(ไว้เตือนตนเอง)
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2012, 21:46:00 »

บ้านผมอยู่ใกล้หนองหลวง ตั้งแต่ละอ่อนตวยป่อแม่ไปเซาะเห็ด ไปกุ๋มถ่าน ไปขุดหน่อ ไปหาปลา ใหญ่มาก็ไปแอ่ว เซาะยิงนก(ตอนนี้เลิกแล้ว)  ตะก่อนเกยหันหนังสือประวัติหนองหลวงอยู่เล่มหนึ่ง กำลังได้ผ่อฮูปกับอ่านคำนำไอ่เจ้าของหนังสือหันเฮาไค่ฮู้นักก็ดึงเอาไปเหียบ่าหื้ออ่าน แล้วก็ล่นไปกึ้ดใจเดี่ยวนี้สูมาเต๊อะยังไค่เตะมันอยู่ ตอนนั้นเป็นละอ่อน ม.ต้น เลยมาได้อ่านเต๊าบ่าเดี่ยว ถามอาจารย์ชรินทร์ท่านว่าท่านมีอยู่ ตอนนี้บ่ฮู้อยู่ไหน ยังบ่ได้เซาะหาเตื่อ ข้อมูลจริงแท้ผมแนะนำท่านไปหาท่านสุเมธโขภิกษุอดีตท่านเป็นปลัดอำเภอเวียงชัยชื่อโกเมศ ขุนศรี ท่านเป็นรองเจ้าอาอาวาสวัดเวียงเชียงรุ้ง ต.ทุ่งก่อ (ถ้าปัจจุบันท่านจำพรรษาที่อื่นหรือกระผมเอ่ยนามผิดก็ขอสูมาตวยเพราะถามพี่กูเกิ้นมา)  ทั้งพ่อผมพ่อเฒ่าผมอยู่คนละตำบลยังฮู้จักเพราะท่านมาค้นพบ และยะหลายอย่างตี่ อ.เวียงชัย อย่างหอแม่หม้ายที่เกาะบ่าหนุนหนองหลวงหั้นท่านก็เป็นคนคิดริเริ่มสร้าง ตังบ้านป่อเฒ่าก็ขยายถนนหนตางจนปะพระโบราณที่วัดเวียงเดิม ตี่เหลืออ้ายเซาะผ่อตี่กูเกิ้ลก็มีอยู่สะป๊ะ ถ้าถามคนเฒ่าคนแก่แนะนำอ้ายเลย ไปถามผ่อเอาคนเฒ่าที่บ้านปงหลวง ถ้าเปิ้นอธิบายจ่าง อ้ายก็จะฮู้ แต่ถ้าอ้ายถามผมซึ่งบ่านับว่าตัวเก่าเฒ่า เพราะยังลักเมาสาววัยทีนอยู่ละก่อปอโม้ได้ ย้อนว่าป่อแม่ปาข้ามขี้ปึ๋งไปหาเกาะจนปะเดี๋ยวนี้ ขี้ปึ๋งมามีหื้อเตียวข้ามไปแล้ว ไผบ่าอู้ถามมาขี้ปึ๋งข้ามหนองหลวง ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ(นี่หละเข้าหัวข้ออ้าย "ความเปลี่ยนแปลง ความหลากหลายทางชีวภาพหนองหลวง")

ขอบคุณครับ อันดับแรกคงต้องตามหาท่านนสุเมธโขภิกษุ หลังจากนั้นจะไปคุยกับ คนเฒ่าคนแก่ที่บ้านปงครับ

หากใครมีข้อมูลเพิ่มเติม ใคร่ขอรบกวนด้วยครับ

ไปหาเปิ้นตี้วัดเวียงเจียงฮุ้งก่ะครับ
IP : บันทึกการเข้า
tonkla
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,334


ธรรม=ธรรมชาติ ธรรมดา ธรรมนูญ


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2012, 21:51:31 »

บ้านผมอยู่ใกล้หนองหลวง ตั้งแต่ละอ่อนตวยป่อแม่ไปเซาะเห็ด ไปกุ๋มถ่าน ไปขุดหน่อ ไปหาปลา ใหญ่มาก็ไปแอ่ว เซาะยิงนก(ตอนนี้เลิกแล้ว)  ตะก่อนเกยหันหนังสือประวัติหนองหลวงอยู่เล่มหนึ่ง กำลังได้ผ่อฮูปกับอ่านคำนำไอ่เจ้าของหนังสือหันเฮาไค่ฮู้นักก็ดึงเอาไปเหียบ่าหื้ออ่าน แล้วก็ล่นไปกึ้ดใจเดี่ยวนี้สูมาเต๊อะยังไค่เตะมันอยู่ ตอนนั้นเป็นละอ่อน ม.ต้น เลยมาได้อ่านเต๊าบ่าเดี่ยว ถามอาจารย์ชรินทร์ท่านว่าท่านมีอยู่ ตอนนี้บ่ฮู้อยู่ไหน ยังบ่ได้เซาะหาเตื่อ ข้อมูลจริงแท้ผมแนะนำท่านไปหาท่านสุเมธโขภิกษุอดีตท่านเป็นปลัดอำเภอเวียงชัยชื่อโกเมศ ขุนศรี ท่านเป็นรองเจ้าอาอาวาสวัดเวียงเชียงรุ้ง ต.ทุ่งก่อ (ถ้าปัจจุบันท่านจำพรรษาที่อื่นหรือกระผมเอ่ยนามผิดก็ขอสูมาตวยเพราะถามพี่กูเกิ้นมา)  ทั้งพ่อผมพ่อเฒ่าผมอยู่คนละตำบลยังฮู้จักเพราะท่านมาค้นพบ และยะหลายอย่างตี่ อ.เวียงชัย อย่างหอแม่หม้ายที่เกาะบ่าหนุนหนองหลวงหั้นท่านก็เป็นคนคิดริเริ่มสร้าง ตังบ้านป่อเฒ่าก็ขยายถนนหนตางจนปะพระโบราณที่วัดเวียงเดิม ตี่เหลืออ้ายเซาะผ่อตี่กูเกิ้ลก็มีอยู่สะป๊ะ ถ้าถามคนเฒ่าคนแก่แนะนำอ้ายเลย ไปถามผ่อเอาคนเฒ่าที่บ้านปงหลวง ถ้าเปิ้นอธิบายจ่าง อ้ายก็จะฮู้ แต่ถ้าอ้ายถามผมซึ่งบ่านับว่าตัวเก่าเฒ่า เพราะยังลักเมาสาววัยทีนอยู่ละก่อปอโม้ได้ ย้อนว่าป่อแม่ปาข้ามขี้ปึ๋งไปหาเกาะจนปะเดี๋ยวนี้ ขี้ปึ๋งมามีหื้อเตียวข้ามไปแล้ว ไผบ่าอู้ถามมาขี้ปึ๋งข้ามหนองหลวง ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ(นี่หละเข้าหัวข้ออ้าย "ความเปลี่ยนแปลง ความหลากหลายทางชีวภาพหนองหลวง")

ขอบคุณครับ อันดับแรกคงต้องตามหาท่านนสุเมธโขภิกษุ หลังจากนั้นจะไปคุยกับ คนเฒ่าคนแก่ที่บ้านปงครับ

หากใครมีข้อมูลเพิ่มเติม ใคร่ขอรบกวนด้วยครับ

ไปหาเปิ้นตี้วัดเวียงเจียงฮุ้งก่ะครับ

ครับ คาดว่าวันจันทร์นี้จะไปหหาเปิ้นครับ
IP : บันทึกการเข้า

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง"(ไว้เตือนตนเอง)
nansom
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 461



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2012, 22:40:35 »

ค้นอ่านตำนานปลาเหยี่ยนเผือกไปตวยเน้อ ตั้งแต่เจียงแสนยันถึงลาวอีสานเขมร มีเหมือนกัน เลาะน้ำของ (น้ำโขง) ละแม่นเลย อยากหื้อมีการพัฒนาหนองหลวงขนาด บ่มีไผเอาแต๊สักคน เสียดาย
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2012, 08:21:51 »

ปล๋าเหยี่ยนเผือก หลั้งว่ามีหลายตัว กะว่าตัวเดียวกัน คือ ต๋ายแล้วเกิด ต๋ายแล้วเกิด หลายเตื้อ เพื่อจะหื้อ มีหนองหล่ม เวียงหล้ม หลาย ๆที่ ตำนานคือนิทาน สร้างสรรค์จากเค้าโครงที่เกิดจากธรรมชาติแล้วไปนาดโทษใส่ อาเพศ อาถรรพ์ ขึด ตังหลายเพื่อจะหื้อคนได้"เกรงกลัวต่อบาป"
IP : บันทึกการเข้า
tonkla
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,334


ธรรม=ธรรมชาติ ธรรมดา ธรรมนูญ


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2012, 20:06:34 »

ถ้าดูตามสภาพทางกายภาพของเชียงราย  เมื่อเอาตำนานมารวมกับทางวิทยาศาสตร์ ในความคิดเห็นส่วนตัวของผม  ผมคิดว่าปลาไหลเผือกในตำนานนั้นมีจริง และมันออกมาจากหนองหลวง และแอ่งเชียงแสนจริง เพราะสัญชาตญานว่าจะเกิดแผ่นดินไหว
IP : บันทึกการเข้า

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง"(ไว้เตือนตนเอง)
ekkchaiboy
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 39



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 14:51:37 »

มีครับเป็นตำนานหนองหลวงตี่เวียงชัยบ้านผมเอง
เป็นหนังสือที่จัดพิมเมื่อสมัยตะก่อนครับ
หนองหลวงตำนานจะคล้ายๆกันสองตี่โตยกันคือ
1.หลวงหลวงที่เจียงแสน
2.หนองหวงตี่เวียงไชย
ตำนานหนองหลวง(บ้านปงหลวง)
   หนองหลวง (บ้านปงหลวง) สันนิฐานกันว่าอ่างเก็บน้ำในอาณาบริเวณบ้านปงหลวง  (หนองหลวง)ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวางกินเนื้อที่ไปถึงห้วยสักเป็นที่หรือเมืองที่กว้างใหญ่ที่มีชื่อว่าโยนกไชยบุรีซึ่งจมลงในสมัยของพระเจ้าชัยชนะเมื่อพุทธศักราช 370 โดยมีเหตุอาถรรพ์ที่ว่าชาวเมืองฆ่าและพากันกินเนื้อปลาไหลเผือกจนเกิดอาเพศแผ่นดินไหวทำให้เมืองล่มจมสลายหายไปในสมัยอาณาจักรเชียงแสน
        พระเจ้าพังคราช  สืบเชื้อสายมาแต่ราชวงศ์  สิงหลนะวัติ  ต้นราชวงศ์เชียงแสนโบราณ  เมืองโยนกนาคบุรี มหาสักราชได้ 277 ในกาลนั้นอำนาจการปกครองอ่อนแอมากทำให้พวกขอมยึดเมืองจนพระเจ้าพรหมกุมาร ราชบุตรกอบกู้เมือง กลับคืนมาได้และมีการเปลี่ยนแปลงนามเมืองใหม่เป็น โยนกไชยบุรี และในขณะนั้นแว่นแคว้นในโยนกไชยบุรีมี 4 นครด้วยกันคือ
      1.เมืองไชยบุรี(เป็นเมืองหลวง) 2.เวียงชัยนารายณ์ (เป็นแคว้นขวา) พระยาเรือนแก้วเป็นผู้ครอง 3.เมืองไชยปราการ(เป็นแคว้นซ้าย)เจ้าพรหมกมารเป็นผู้ครอง 4.เวียงผ่างรางคำ (เจ้าทุกขิตกุมารเป็นคนครอง) ลุศักราช  333  พระองค์เจ้าพังคราชเจ้าเมืองไชยบุรีทรงประชวรและได้สวรรคตมหาอุปราชทุกขิตะจึงได้เสวยราชสมบัติสืบต่อไป 16  พรรษา ก็ทรงสวรรคตองค์มหาวันราชโอรสจึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติได้  20  พรรษาก็ทรงสวรรคตอีก  องค์มหาไชยชนะจึงสืบขึ้นครองราชย์สมบัติแทน  เมื่อศักราช 369  ฝ่ายพระเจ้าพรหมราชได้ครองราชย์สมบัติเมืองไชยปราการได้ 59 พรรษาก็ทรงสวรรคต พระเจ้าไชยศิริราชโอรสจึงขึ้นเสวยราชสมบัติแทน

จับลูกพญานาค
        ลุศักราช  370 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นแก่นครโยนกไชยบุรี   กล่าวคือ เมื่อวันเสาร์ เดือนเจ็ด แรมเจ็ดค่ำ มีลูกพญานาดตัวหนึ่งลำตัวใหญ่ยาวประมาณเท่าลำตาลลักษณะขาวผ่องดังสีเงินยวงยาวประมาณ 7 วา เล่นน้ำอยู่ที่แม่น้ำกุนะนที (แม่น้ำกกปัจจุบัน) และมาเกยร่างพักอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ชาวบ้านที่ไปหาปลาที่บริเวณนั้นเห็นเข้า จึงเข้าใจว่าเป็นปลาไหลเผือกยักษ์ จึงได้ใช้กลอุบายที่จะฆ่าโดยหากว่าการเข้าไปทุบตีปลาไหลขณะนั้นตรงๆเกรงว่าถ้าไม่ตายทันที่ก็จะเป็นอันตรายเอามาก จึงได้ชวนกันไปกลิ้งไม้ขอนใหญ่บริเวณนั้นมาซึ่งอยู่ไม่ไกลกับลูกพญานาคนอนอยู่เมื่อกลิ้งขอนไม้มาในระยะใกล้แล้วคนทั้งหลายก็ได้ดันไม้ใหญ่ลงไปทับหัวพญานาค เสียงดังสนั่น หัวพญานาคถึงกับแหลกเหลว  จึงพากันไปแจ้งข่าวแก่คนในเมืองชักชวนกันมาหลายร้อยคน พากันเอาเถาวัลย์และเชือกมาเข้ามาฉุดลากเข้าไปในเมือง พร้อมกับกราบบังคมทูลพระเจ้ามหาชัยชนะ ว่าพวกเขาไปหาปลาในลำน้ำกก พบปลาไหลเผือกยักษ์ตัวโตมาเกยตื้นตลิ่งจึงชวนกันฆ่าและชักลากลำตัวมาถวาย จะทรงโปรดประการใด
   พระเจ้ามหาชัยชนะได้ทราบเรื่อง เช่นนั้นมิได้เฉลียวพระทัยแต่อย่างไรคิดว่าเป็นปลาไหลธรรมดา แต่มีขนาดใหญ่จึงอนุญาตและดำรัสให้แล่เนื้อปลาแจกกินกันทั่วเมือง  ชาวจึงพากันออก
แล่เนื้อลูกพญานาคแบ่งปันกัน ปรากฏว่าขณะนั้นฝูงชนทราบเรื่องจึงพากันออกมายื้อแย้งเนื้อพญานาคกันจนเกิดเสียงดังอื้ออึงไปทั่วเมือง หมู่หนึ่งไปอีกหมู่ก็แห่กันมาแทน แม้จะแล่เนื้อแบ่งกันสักเท่าไหร่เป็นน่าอัศจรรย์เนื้อปลาไหลเผือกตามที่ชาวบ้านเข้ใจก็หาหมดไม่ กองเนื้อก็คงเหลือมากมาย จนให้ที่สุดชาวเมืองมารับแบ่งกันแล้วทุกครัวเรือนก็ยังเหลืออยู่เป็นกองใหญ่ ณ สถานที่นั้นชาวบ้านจึง ฮ้องจิ้นเบ้อ กาลต่อว่าจึงพากันเรียกสั้นๆว่า ฮ้องเบ้อ ฝ่ายชาวเมืองเมื่อได้กินจิ้น(เนื้อ)ปลาไหลเผือกไปแล้วต่างก็พากันมาต้มแกงกินกันสร้างความสำราญใจแก่คนทั่วไปอย่างมากตามที่คอสุราก็รินกินดื่มกันอย่างอร่อยส่งเสียงอื้ออึงไปทั่วทั้งเมือง ด้วยรสชาติเนื้อนาคาที่มีรสชาติไม่เหมือนกับสัตว์อื่นๆ
 
พญานาคตามหาลูก
   ฝ่ายพญานาคเห็นลูกหายไป จึงเที่ยวติดตามทั่วนาคพิภพก็ไม่เจอจึงเที่ยวติดตามไปยังรอยชำแรกพระสุธาขึ้นมาเรื่อยๆจนพบกับกองเนื้อกองใหญ่ ที่ชาวบ้านพากันกินแล้วเนื้อเหลือทิ้งไว้อย่างมากมายก็ตกใจ จึงรู้แน่ว่าลูกถูกฆ่าเสียแล้ว เพราะเนื้อนาคผิดเพี้ยนกว่าเนื้อสัตว์อื่น แต่ต้องการจะทราบว่าลูกถูกฆ่าด้วยเหตุอันใดจึงแปลงกายเป็นมานพน้อยเดินทางเข้าไปในเมืองเพื่อสืบทราบความหาเรื่องราวลูก ครั้นมาถึงบ้านหลังหนึ่งจึงตรงเข้าไปถามหาเจ้าของบ้าน ปรากฏว่าเป็นหญิงชราอายุมากแล้วมีนามว่า จุมปาทอง (จำปาทอง) อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นแต่เพียงผู้เดียวไม่มีสามีและบุตรธิดาไว้สืบสกุล มานพน้อยจึงถามหญิงชราคนนั้นว่าในเมืองเขาทำอะไรกันจึงมีเสียงดัง       อื้ออึง และมีกลิ่นหอมตลบไปทั่วทั้งเมืองหญิงชราจึงตอบไปว่าวันนี้ชาวเมืองพากันชื่นชมกับการได้กินเนื้อปลาเหยี่ยนเผือก(ปลาไหลเผือก) มาได้เจ้าเมืองจึงอนุญาตให้แล่เนื้อแบ่งกันเอามากินจึงเสียงดังอื้ออึงไปทั่วทั้งเมือง มานพน้อยจึงถามไปอีกว่าทำไมยายไม่ไปเอามากินบ้าง หญิงชราจึงตอบไปว่ายายเป็นคนอายุมากแล้วไม่อาจที่จะไปยื้อแย้งกับเขาได้ เรี่ยวแรงก็ไม่มีและลูกผัวก็หามีไม่จึงไม่ได้กินเนื้อปลาเหยี่ยนเหมือนกับเขา มานพน้อยได้ฟังดังนั้นแล้วจึงพูดกับหญิงชราว่า ยายไม่ได้กินเนื้อปลาเหยี่ยนเผือกกับเขาก็อย่าไปเสียใจเลย ยายจะอยู่ดีมีสุข แต่อย่าได้ไปพูดจากับใครเวลานี้เลย  ตัวข้าผู้เป็นหลานจะขอลายายไปเที่ยวในเมืองสักพักหากมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ยายจงปิดประตูอยู่แต่ในเรือน ไม่เห็นหน้าข้าผู้เป็นหลานยายอย่าได้ลงจากเรือนเป็นอันขาด
ครั้นล่วงราตรีคืนนั้นในปฐมยามได้เกิดเสียงดังสนั่นสะท้านไปทั่วแผ่นดินไหวแล้วสงบลงต่อมาเข้ามัชฌิมายามแผ่นดินก็เกิดเสียงดังสนั่นลั่นเลือนอีกครั้งหนึ่ง พอล่วงเข้าปัจฉิมยามแผ่นดินก็ดังกึกก้องสนั่นหวั่นไหวเป็นรบสาม เมืองโยนกไชยบุรี ทั้งเมืองล่มจมหายไปในแผ่นดินกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ ทั้งเมืองคงเหลือแต่เรือนแม่หม้ายหญิงชราเพียงหลังเดียวอยู่บนเกาะ พระเจ้าแผ่นดินและขัติวงค์ศา พร้อมด้วยอำมาตร์ราษฎรทั้งหลาย ได้ถึงกาลกิริยาไปตามกรรม
   ครั้นรุ่งเช้าขุนพันนาพร้อมด้วยชาวบ้านทั้งหลาย ได้พากันมาดูบริเวณที่เมืองจมหายไป เห็นเรือนหลังหนึ่งค้างอยู่บนเกาะ หาเป็นอันตรายไม่ จึงให้ชาวบ้านต่อแพถ่อไปตรวจดู พบหญิงชราหม้ายอยู่ในเรือนเพียงคนเดียว จึงทำการสอบถามเรื่องราว หญิงชราเล่าให้ฟังตามเหตุการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นถึงสาเหตุที่เมืองจมหายลงไป และเหตุการณ์ที่เมืองจม หญิงชรากล่าวเสริมว่าขณะที่เกิดเสียงดังครั้งแรก นางได้ปิดประตูลงกลอนไว้แต่หัวค่ำ ตามคำแนะนำของมาณพน้อยนั้น พอเกิดเสียงดังรู้สึกว่าแผ่นดินสะเทือนอย่างรุนแรง เรือนไหวโยนตัวไปมา ตัวแกเองต้องกอดเสาเรือนเพื่อไม่ให้กลิ้งไปกลิ้งมา จะลงหนีจากเรือนมาณพนั้นได้ ก็ห้ามไว้ จึงอดทนอยู่แต่ในเรือน จนได้ยินเสียงลั่นเป็นครั้งที่สาม ได้ยินเสียงน้ำไหลอย่างแรงรอบๆ เรือน แต่ความมืดมองอะไรไม่เห็น ครั้นรุ่งสว่างมองออกไปตามช่องฝาเมืองทั้งเมืองจมหายไป จึงมีความกลัวไม่กล้าจะลงเรือนได้ จนท่านขุนพันนามาพบ
   เมื่อขุนพันนาได้ทราบเรื่องโดยตลอดแล้ว จึงรับตัวหญิงชราลงแพถ่อขึ้นฝั่งไปเลี้ยงดูไว้อย่างดี และตั้งให้เป็นพญาหญิง และได้ประชุมกันเอานายบ้านผู้หนึ่ง ชื่อขุนคลัง ขึ้นเป็นประธานาธิบดีเบื้องทิศตะวันออกของเมืองที่จมหายไป เมืองที่สร้างเสร็จแล้วให้นามว่า เวียงปรึกษา ประชาธิปไตยไทยแห่งแรก ณ แห่งนี้ด้วย ในขณะนั้นไม่มีกษัตริย์ในราชวงศ์สิงหลนะวัติ สืบราชวงศ์อีกต่อไป ราชวงศ์นี้สิ้นสุดลงนับได้ ๔๕ รัชกาลฯ

   เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2410 มีประชากรมาตั้งบ้านเรือน ชื่อบ้าน “สันคอกควาย” โดยมีพ่อหนานใจโข่  และแม่อุ้ยใจขี้แหลว  คนเมืองน่านมาอยู่ มีพ่อหลวงแดง เป็นคนเวียงป่าเป้าต่อมายังมี พ่อหลวงแก้ว  บุญเรือง มาปกครองจากนั้นก็ยังมีราษฎรรุ่นๆต่อมามาตั้งรกรากถิ่นฐานสืบต่อๆกันมา โดยต่อมาเปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน เป็นบ้านปงหลวง ชื่อปงหลวงก็เพราะว่าสถานที่ตั้งเป็นลักษณะที่ราบลุ่มคลอง (แม่น้ำสะกึ๋น) และมีน้ำขังตลอดปี และเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2543   พ่อกำนันประเสริฐ   บุญเทพ   จึงได้มีการแยกการปกครองเป็น  “บ้านหนองหลวง”   ถึงปัจจุบันโดยมีพ่อหลวง บุญศรี   คำเมือง  เป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นคนแรกของหมู่บ้านหนองหลวง  เป็นหนองน้ำที่มีพื้นที่กว้างขวาง มีขนาดของเนื้อที่โดยประมาณ  9,600  ไร่  ในเขตการปกครอง  3 ตำบล  คือ ตำบลห้วยสัก ตำบลดอนศิลา  ตำบลเวียงชัย  เป็นแหล่งท่องเที่ยว  มีเกาะต่างๆเป็นจำนวน  9  เกาะปัจจุบันยังมีอยู่สามารถตรวจสอบได้และยังมีเกาะแม่หม้ายที่มีประวัติยาวนานและยังเป็นที่นับถือเคารพนับถือของผู้คนที่ผ่านมามากมายดังในตำนานหนองหลวงที่เล่าสืบต่อมาถึงยุคปัจจุบัน


* DSC07526.JPG (104.08 KB, 640x480 - ดู 2050 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
tonkla
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,334


ธรรม=ธรรมชาติ ธรรมดา ธรรมนูญ


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 16:22:29 »

ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง"(ไว้เตือนตนเอง)
tonkla
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,334


ธรรม=ธรรมชาติ ธรรมดา ธรรมนูญ


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2012, 09:10:05 »

และแล้ว ก็ยังหาเวลาไปหาหลวงพ่อยังไม่ได้เลย
IP : บันทึกการเข้า

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง"(ไว้เตือนตนเอง)
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!