เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 12:40:36
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  อยากรู้ประวัติศาสร์ล้านนาในยุคประเทศราชของพม่า
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน อยากรู้ประวัติศาสร์ล้านนาในยุคประเทศราชของพม่า  (อ่าน 3369 ครั้ง)
Benzram
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 216


หนุ่มน้อย ไร้ร้อยตีนกา


« เมื่อ: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2012, 12:54:14 »

เรื่องราวล้านนาในยุคที่พม่า ปกครองล้านนานี่มีเหตุการณ์สำคัญ อะไรบ้างครับ แล้วเขาปกครองเราแบบใหน เท่าที่หาความรู้ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ยุคนี้มีเรื่องราวหรือบันทึกน้อยมากทั้งที่ระยะเวลากว่า200 ปีครับ อยากให้ท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยครับ
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2012, 22:26:49 »

ปกติในหนังสือประวัติศาสตร์ล้านนา เวลาเปิ้นอยู่เถิงล้านนาในช่วงตี้ม่านครองเมือง
เปิ้นจะเน้นไปตางเจียงใหม่นักน่อ แต้ๆแล้วแต่ละเมืองก็จะมีลักษณะเฉพาะของตั๋วเก่า
ผมจะเล่ากว้างๆหื้อฟังก่อนน่อครับ ถ้าจะหื้อเจาะตั๊ดใดก็บอกมาน่อ


เวลาตี้ม่านครองล้านนา นักประวัติศาสตร์เปิ้นกำหนดเป๋นช่วง พ.ศ.2101-2317
พ.ศ.2101 เป๋นปี๋ตี้พระเจ้าบุเรงนองตี๋เจียงใหม่แตก (แต่ไปตี๋เมืองน่านได้ พ.ศ.2102)
พ.ศ.2317 เป๋นปีตี้พระยาจ่าบ้าน (บุญมา) กับเจ้ากาวิละ ฮ่วมกับทัพธนบุรีไล่ม่านออกเจียงใหม่สำเร็จ
(แต่กว่าจะไล่ม่านออกเจียงแสน เจียงฮาย ได้ต้องรอเถิงปี๋ พ.ศ.2347
ช่วง 30 ปี๋ พ.ศ.2317-2347 เป๋นเวลาตี้ล้านนาเหนือ+ม่าน ฮบกับ ล้านนาใต้+สยาม)

ราชวงศ์ม่านตี้ปกครองล้านนามี 2 ราชวงศ์น่อ
1. ราชวงศ์ตองอู ปกครองล้านนา พ.ศ.2101-2295
2. ราชวงศ์คอนบอง (อลองพญา) ปกครองล้านนา พ.ศ.2295-2317 (2347)


กษัตริย์ดังๆของม่าน หลายท่านก็คงฮู้จัก ไหนๆก็จะเป๋นประชาคม ASEAN แล้ว
เฮียนประวัติศาสตร์คนข้างบ้านไว้ก็บ่เสียหลายน่อ

ราชวงศ์ตองอู
พระเจ้าบุเรงนอง (พ.ศ.2094-2124) คนนี้ตี๋ล้านนาได้ ใจ้เวลาล้อมเจียงใหม่ 3 วัน 3 คืน
พระเจ้านันทบุเรง (พ.ศ.2124-2142) ช่วงหนี้ม่านตกต่ำ เจ้าเมืองในล้านนาหันไปเข้ากับพระนเรศวร
พระเจ้าอโนเพตลุน (พ.ศ.2148-2171) ม่านกลับมารุ่งเรือง ล้านนาหันไปเข้ากับม่าน
พระเจ้าปเย หรือ พระเจ้าแปร (พ.ศ.2204-2215) ปฏิรูปก๋ารปกครองในอาณาจักร หื้อล้านนามีสถานะเป๋นมณฑลนึ่งของม่าน
พระเจ้าสเน่ห์มิน (พ.ศ.2241-2257) ม่านแยกเจียงแสนออกจากเจียงใหม่ โดยหื้อก๋ารปกครอง
ต่างหาก เพื่อลดอำนาจเจ้าเมืองเจียงใหม่ หื้อคานอำนาจกั๋นในล้านนา


หลังจากหั้นราชวงศ์ตองอูก็เสื่อม ม่านวุ่นวาย จ๋นโดนเม็ง (มอญ) ตี๋เมืองหลวงอังวะแตก
ราชวงศ์ตองอูล่ม ม่านบ่มีเวลามาผ่อล้านนา เจ้าเมืองในล้านนาก็ตี๋กั๋นลู่อำนาจกั๋น

ม่านมาสงบลงเมื่อมีฮีโร่จื่อ อองไจยะ (อองไชยะ) เปิ้นไล่เม็งออกจากอังวะ กู้ชาติสำเร็จ
แล้วตั้งตั๋วเป๋นกษัตริย์จื่อ "พระเจ้าอลองพญา" จื่อเปิ้นแปล๋ว่า พระโพธิสัตว์
หื้อความหมายประมาณ พระผู้มาโปรด ปลดปล่อยประชาชนออกจากยุคเข็ญ

ม่านปราบเม็งจ๋นเสี้ยงแล้ว
พระเจ้าฉินบูชิน (พระเจ้ามังระ ลูกพระเจ้าอลองพญา) ก็บุกเข้าล้านนา พ.ศ.2306
ต๋อนหั้นในล้านนา เมืองต่างๆเอาม่านหมด ยกเว้นเจียงใหม่ บ่ยอมหื้อม่าน
แถมบ่ปอยังเป๋นพันธมิตรกับเม็งแหม ม่านก็เลยถล่มเจียงใหม่เละ
ยับเจ้าขี้หูด (เจ้าเมืองเจียงใหม่) กับลูกเมีย ไปเมืองม่าน
แล้วส่งขุนนางม่านมากิ๋นเมืองเจียงใหม่แตน


สมัยราชวงศ์ตองอู ในเอกสารปื้นเมืองเจียงแสน เปิ้นบอกว่าจาวบ้านอยู่ดีมีสุข เถิงจะมีสงครามพ่อง
แต่ปอสมัยราชวงศ์คอนบอง ม่านกดขี่ล้านนานัก ก็เลยผิดใจ๋กับขุนนางจาวล้านนา
คือ พระยาจ่าบ้าน (บุญมา) กับเจ้ากาวิละ ตึงสองเกยต้านทัพธนบุรีตี้มาตี๋เจียงใหม่
ยะหื้อธนบุรีต้องถอยกลับ แต่ปอผิดกับม่าน ตึงสองก็ย้ายไปเข้ากับธนบุรี ฮ้องคนใต้มาตี๋เจียงใหม่
ไล่ม่านออกไปสำเร็จ พ.ศ.2317
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2012, 23:06:17 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2012, 22:29:54 »

อันหนี้ปะในเว็บอื่นน่อ
ที่มา:
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ล้านนาสมัยพม่าปกครอง (พ.ศ.2101–2317)
นับเป็นยุคแห่งความอ่อนแอของล้านนา ในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่พม่าปกครอง แต่จะมีบางช่วงที่อยุธยายกทับขึ้นมายึดเชียงใหม่ได้ เช่น สมัยพระนเรศวรและสมัยพระนารายณ์ นอกจากนั้นมีบางช่วงที่เชียงใหม่และเมืองต่าง ๆ แยกเป็นรัฐอิสระ เช่น ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 เนื่องจากเป็นช่วงที่พม่าประสบปัญหาการเมืองภายใน เมื่อพม่าแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้วจะยกทัพมาปราบล้านนา ดังนั้นจึงควรเข้าใจว่าอำนาจพม่าในล้านนาไม่สม่ำเสมอ แต่ด้วยเหตุผลที่ช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนใหญ่พม่าปกครองล้านนา จึงเรียกสมัยนี้ว่าสมัยพม่าปกครอง ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง (พ.ศ.2101) จนถึง พ.ศ. 2317 สมัยพระเจ้าตากสิน ล้านนาจึงตกเป็นเมืองประเทศราชสยาม ล้านนาในสมัยพม่าปกครองเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานถึง 216 ปี นโยบายของพม่าที่ปกครองล้านนาได้ปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขตามการเมืองภายใน ของพม่าและปรับตามสภาพการเมืองในท้องถิ่นล้านนา ประวัติศาสตร์ในช่วงนี้แบ่งตามพัฒนาการเป็นสองสมัย

สมัยแรก ระหว่าง พ.ศ.2101–2207 คือประมาณร้อยปีแรก
ช่วงนี้ล้านนามีฐานะเป็นมณฑลหนึ่งของราชอาณาจักรพม่า เนื่องจากล้านนามีความแตกต่างกับพม่าทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม คนต่างชาติต่างภาษา พม่าจึงกำหนดให้เป็นเขตที่มีการปกครองตนเองได้ในระดับหนึ่ง คือคงให้เจ้าเมืองคนเดิมสามารถปกครองตนเองได้ โดยยอมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกษัตริย์พม่า ดังพบว่า บุเรงนองแต่งตั้งให้พระเมกุฏิกษัตริย์เชียงใหม่ปกครองตนเองตามเดิม แต่ต้องส่งส่วยเป็น ช้าง ม้า และแพรพรรณต่าง ๆ ทุกปี และในราชการสงครามต้องส่งกำลังร่วมรบ ต่อมาพม่าเข้าจัดการควบคุมเข้มงวดยิ่งขึ้น เพราะในสงครามระหว่างพม่ากับอยุธยา พ.ศ. 2106 พระเมกุฏิไม่ได้ช่วยพม่ารับอยุธยาอย่างจริงจัง บุเรงนองจึงปลดพระเมกุฏิออกใน พ.ศ. 2107 แล้วแต่งตั้งพระนาง วิสุทธิเทวีซึ่งเป็นพระชายา ซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์มังรายเป็นกษัตริย์ เมื่อพระนางวิสุทธิเทวีสิ้นเจ้ามังนรธาช่อ โอรสของบุเรงนองกับพระนางวิสุทธิเทวี เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงเป็นการสิ้นสุดของการปกครองเชียงใหม่ โดยเชื้อสายของราชวงศ์มังราย อย่างไรก็ตามเชื้อสายมังนรธาช่อ ปกครองต่อมา 2 องค์ หลังจากนั้นพม่าส่งข้าหลวงมาประจำการที่เชียงใหม่ ส่วนตำแหน่งเข้าเมืองอื่น ๆ ในล้านนาพม่าควบคุม โดยการแต่งตั้งโยกย้ายถอดถอนและปูนบำเหน็จความดีความชอบ ข้าหลวงพม่าที่เชียงใหม่จะทำหน้าที่ปกครองเชียงใหม่ และดูแลเมืองอื่น ๆ ในล้านนา
ในส่วนการปกครองภายในของล้านนา คงปฏิบัติไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของตน พม่าจะควบคุมนโยบายที่สำคัญคือ ตำแหน่งเจ้าเมืองและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในรูปการเกณฑ์แรงงานและ การส่งส่วยไปให้พม่า อย่างไรก็ตามการปกครองของพม่ามีการควบคุมที่เข้มงวด โดยเฉพาะการเกณฑ์แรงงานทำสงครามและการส่งส่วย

สมัยที่สอง ระหว่าง พ.ศ.2207–2317 ประมาณ 110 ปีหลัง
ฐานะของล้านนาเปลี่ยนไป คือถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรพม่าโดยกษัตริย์พม่าส่งขุนนางชาว พม่ามาปกครองร่วมกับชาวล้านนา กำหนดให้ขุนนางพม่ามีตำแหน่งสำคัญและมีอำนาจอย่างแท้จริง ส่วนขุนนางล้านนาอยู่ในกำกับของขุนนางพม่า นอกจากนั้นใน พ.ศ. 2244 พม่าใช้วิธีแยกเชียงแสนออกเป็นเขตสำคัญ เพื่อทอนกำลังของเชียงใหม่ลง เนื่องจากเชียงใหม่เป็นแหล่งเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านพม่า เมืองเชียงแสนเป็นฐานที่มั่นสำคัญของพม่าจนกระทั่งพม่าหมดอำนาจในล้านนา ใน พ.ศ. 2347
อย่างไรก็ตาม ในสมัยพระเจ้าฉินบูชินหรือมังระ (พ.ศ.2306–2319) แห่งราชวงศ์คอนบอง ปกครองล้านนาได้เพียง 11 ปี (พ.ศ.2306–2317) เชียงใหม่ก็หันไปสวามิภักดิ์ต่อสยาม นโยบายพม่าช่วงสุดท้ายนี้ปกครองอย่างเฉียบขาดมากขึ้นโดยส่งโป่แม่ทัพ มาปกครองแทนเมียวหวุ่นซึ่งโป่มักจะใช้อำนาจขูดรีดเก็บเกี่ยว ผลประโยชน์มาเป็นของตนอย่างมาก และใช้อำนาจตามอำเภอใจสร้างความทุกข์ยากแก่ราษฎรนอกจาก นั้นข้าหลวงพม่าขัดแย้งกับขุนนางท้องถิ่น เพราะโป่ดึงอำนาจและผลประโยชน์จากส่วยและเกณฑ์แรงงานไพร่ไปจากท้องถิ่น โดยที่ขุนนางท้องถิ่นเสียผลประโยชน์จากส่วยและยังถูกข่มเหงอีกด้วย ความขัดแจ้งระหว่างโป่กับขุนนางท้องถิ่นนำไปสู่การสู้รบ ดังพบว่าพระญาจ่าบ้าน (บุญมา) รบกับโป่หัวขาว พระญาจ่าบ้านมีกำลังไม่พอจึงชักชวนพระเจ้ากาวิละร่วมกันสวามิภักดิ์พระเจ้า ตากสิน กองทัพพระเจ้าตากสินและร่วมกับผู้นำชาวล้านนาช่วยกันขับไล่พม่าไปจาก เชียงใหม่สำเร็จเมื่อ พ.ศ.2317 นับตั้งแต่นั้นมา เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทย

น่าสังเกตในสมัยพม่า ปกครองมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองตอบโต้พม่าอย่างต่อเนื่อง พม่าก็ใช้วิธียกทับมาปราบกันเป็นระยะๆ การต่อต้านพม่าของชาวล้านนามีข้อจำกัดเพราะความเป็นรัฐในหุบเขาเป็นเงื่อนไข ทำให้ความร่วมมือกันทำได้ยาก ดังนั้นแต่ละเมืองมักต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวและพม่าคงพบข้อจำกัดนี้ จึงใช้วิธีแบ่งแยกแล้วปกครองโดยแบ่งแยกเมืองต่าง ๆ ออกจากกัน ให้ทุกเมืองขึ้นกับพม่า

การต่อต้านอำนาจพม่าได้ปรับ เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ คือช่วงแรก ต้นพุทธศตวรรษที่ 22 เมื่อพม่ายึดครองล้านนาใหม่ ๆ ลักษณะการต่อต้านอยู่ในกลุ่มเจ้านครรัฐต่าง ๆ เจ้านครรัฐที่ต่อต้าน เช่น พระเมกุฏิ หรือท้าวแม่กุ เจ้าเมืองเชียงแสน เจ้าเมืองเชียงราย เจ้าเมืองน่าน เจ้าเมืองลำปาง โดยมีพระไชยเชษฐา จากล้านช้างเป็นผู้นำ กองทัพพม่าได้ยกมาปราบปรามสำเร็จ สาเหตุที่เจ้านครรัฐต่อต้านเพราะพม่าได้ดึงผลประโยชน์จากท้องถิ่นไปพม่า คือการให้ส่งบรรณาการและส่วย และเกณฑ์กำลังคน ดังนั้นแม่เจ้านครยังมีหน้าที่ปกครองตามจารีตของตนเอง แต่อยู่ในฐานะเสียผลประโยชน์ ในระยะหลังคือปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 กลุ่มการเมืองท้องถิ่นต่อต้านพม่ามีความหลากหลายมากขึ้น เช่นมีกลุ่มพระสงฆ์ คนบุญ มีกลุ่มไพร่ตั้งเป็นกองโจร และกลุ่มเจ้านครรัฐ แต่ละกลุ่มกระทำกันไปตามลำพัง เพราะพม่าพยายามเข้าควบคุมที่ตำแหน่งเจ้าเมืองมากขึ้น คำตำแหน่งเจ้าเมืองสำคัญเป็นชาวพม่า ส่วนเมืองระดับเล็กนั้นอาจเป็นชาวพม่าหรือไทใหญ่ หากเป็นชาวพื้นเมืองก็ต้องภักดีต่อพม่าลักษณะเช่นนี้ทำให้การเคลื่อนไหวลง สู่ระดับล่ามมากขึ้น สถานการณ์ในล้านนาในช่วงปลายสมัยพม่าปกครองจึงเกิดรัฐบาลท้องถิ่นกระจายตัว อยู่ทั่วไป ซึ่งบางครั้งก็สู้รับกันเอง บางครั้งก็สู้รบกับพม่า บ้านเมืองล้านนามีสภาพระส่ำระสาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2012, 22:32:13 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2012, 22:47:24 »

บทบาทของกองทัพล้านนาในสงครามอยุธยาแตกเตื้อตี้ 2 พ.ศ.2310
ก็บ่มีอะหยังนัก มอกส่งคน+เสบียงไปจ่วยม่านฮบ ในฐานะประเทศราชตี้ดี
ในทัพม่านตี้เข้าตี๋อยุธยา มีผู้นำล้านนาหลายคนตี้ปรากฏจื่อในผะวัติศาสตร์ เจ่น


เจ้าคำโสม (น้องบ่าวเจ้ากาวิละ) คุมทัพเมืองลำปาง
ต่อมา พ.ศ.2325 เจ้าคำโสมได้เป๋นเจ้าหลวงเมืองนครลำปาง

เจ้าอ้าย (เจื้อสายหลวงตื่นมหาวงศ์ ต้นสกุล ณ น่าน) คุมกองทัพเมืองน่าน
ต่อมา พ.ศ.2311 เจ้าอ้ายได้เป๋นเจ้าหลวงเมืองน่าน

ท้าวเภก (เพชร) คุมกองทัพเจียงแสน-เจียงฮาย
ต่อมา พ.ศ.2311 ท้าวเภกได้เป๋นเจ้าเมืองเจียงฮาย

ในค่ายของม่านมีคนล้านนานักอยู่ คนหมู่หนี้ก็ได้บุกปล้นอยุธยาโตย
สมบัติมีค่าตี้สุดตี้คนล้านนาขนปิกมาแผ่นดินเกิดก็คือ "พระสิงห์"
เซิ่งพระนารายณ์ (พญาใต้) ตี๋เมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ.2205
แล้วขนพระสิงห์ไปไว้ตี้วัดพระศรีสรรเพชญ์อยุธยาเมิน 105 ปี
ก่อนตี้คนล้านนาจะโตยไปเอาคืนในปี๋ พ.ศ.2310 หนี้แล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2012, 10:54:10 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
Yim sri
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,753



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2012, 00:19:32 »

โอ้โฮ นับถือจริงๆ
เป็นแหล่งความรู้มากมายมหาศาล
สุดยอดมากเลยค่ะ
IP : บันทึกการเข้า

ธ สถิตย์ในใจตราบนิรันดร์กาล
Benzram
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 216


หนุ่มน้อย ไร้ร้อยตีนกา


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2012, 08:55:17 »

ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ที่หาไม่ได้ในตำราเรียน ได้อ่านแล้วเสียดายล้านนาทะเลาะแย่งอำนาจกันเอง บ้านเมืองเราเลยอ่อนแอตกเป็นเมืองขึ้นเขาตลอด ตั้งแต่สิ้นยุคราชวงศ์มังราย
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2012, 10:21:52 »

ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ที่หาไม่ได้ในตำราเรียน ได้อ่านแล้วเสียดายล้านนาทะเลาะแย่งอำนาจกันเอง บ้านเมืองเราเลยอ่อนแอตกเป็นเมืองขึ้นเขาตลอด ตั้งแต่สิ้นยุคราชวงศ์มังราย

แต่ละเมืองก็มีผะวัติศาสตร์ของตั๋วเก่า ในช่วงม่านครองเมือง บางเมืองฟื้นม่าน บางเมืองยอมม่าน
ตี๋กั๋นไปตี๋กั๋นมา บุคคลสำคัญบางท่านตะก่อนเกยยะก๋ารหื้อม่าน ปายลูนหันมาเข้ากับคนใต้ก็จ้าดนักน่อ
อย่างเจ้ากาวิละ ปู่เปิ้น ป้อเปิ้น ตั๋วเปิ้น ก็ยะก๋ารหื้อม่านมา 3 เจเนอเรชั่น
มารุ่นเปิ้นหนี้แลตี้ย้ายพรรค ไปขอเข้ากับธนบุรี
ก่อนจะกล๋ายเป๋นขะกู๋ล ณ เจียงใหม่, ณ ลำปาง, ณ หละปูน, เจื้อเจ็ดต๋น ฯลฯ บ่าเดี่ยว


ส่วนเมืองน่าน ขะกู๋ล ณ น่าน ช่วงแรกๆ ก็เข้ากับม่าน ต๋อนเจ้ากาวิละไปเข้ากับคนใต้แล้ว
ในหมู่เจ้านายเมืองน่านก็แบ่งเป๋นหลายฝ่าย ฝ่ายนึ่งจะเอาม่าน แหมฝ่ายจะเอาคนใต้ (ธนบุรี)
กว่าจะลงตั๋วก็เลยมาเถิงสมัย กทม. ปู้น สรุปว่าเมืองน่านจะเอาคนใต้

เมืองแป้ พระยาแป้มังไชย ตะก๋อนเป๋นขุนนางของม่าน ปายลูนมาเข้ากับคนใต้
แลได้เป๋นต้นขะกู๋ล เจ้าหลวงเมืองแป้ เลยน่อ

ส่วนเมืองเจียงฮาย เจียงแสน ม่านอยู่เมินเหลือเปิ้น
พ.ศ.2317 เจียงใหม่ ลำปาง เปิ้นไปเข้ากับธนบุรีแล้ว แต่เจียงฮาย เจียงแสน ยังเป๋นตี้หมั้นของม่าน
ฮบกับเจียงใหม่ ลำปาง เป๋น 30 ปี๋ จ๋น พ.ศ.2347 เจียงแสนเถิงแตก ม่านหนีปิกบ้าน
ส่วนคนล้านนาโดนกวาดต้อนไปตางใต้ ไปอยู่เจียงใหม่พ่อง ลำปางก็มี น่านก็นัก
ราชบุรี (บ้านคูบัว) สระบุรี (เสาไห้) ก็จ้าดนัก
เมืองเจียงแสน เมืองเจียงฮาย เลยกล๋ายเป๋นเมืองฮ้าง หลายสิบปี๋
(เมืองเจียงฮายฟื้นฟู พ.ศ.2386 เมืองเจียงแสนฟื้นฟู พ.ศ.2423)

ในเมืองลำปางบ่าเดี่ยว ก็ยังมีจื่อวัดเจียงฮาย บ้านเจียงฮาย ห้าแยกบ้านเจียงฮาย
ปะตู๋เจียงฮาย (จื่อปะตู๋เมือง) โฮงเฮียนเทศบาล 4 บ้านเชียงราย
(อยู่ตี้หอนาฬิก๋า หน้า สนง.เทศบาลนครลำปาง ไปผ่อได้เลย)

ตี้เจียงใหม่ ถ้าไผไปแอ่วไนท์บาซาร์ ก็หื้อฮู้ไว้้ว่า คนเจียงแสนไปอยู่หั้นเป๋น 200 ปี๋ มาแล้ว
คนเจียงแสนเปิ้นเป๋นศรัทธาวัดพันต๋อง วัดช่างฆ้อง วัดศรีดอนไจย
ไปแอ่วเจียงใหม่ก็จะยังหันวัดหมู่หนี้อยู่แถวๆไนท์บาซาร์ เจียงใหม่
แต่ถ้าไปถามจาวบ้านเปิ้นจะบ่ฮู้แล้วว่าตั๋วเก่าสืบเจื้อคนเจียงแสน
ย้อนว่าคนล้านนาบ่ได้เฮียนผะวัติศาสตร์ของตั๋วเก่าน่อ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2012, 10:53:23 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
Benzram
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 216


หนุ่มน้อย ไร้ร้อยตีนกา


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2012, 16:20:06 »

ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ที่หาไม่ได้ในตำราเรียน ได้อ่านแล้วเสียดายล้านนาทะเลาะแย่งอำนาจกันเอง บ้านเมืองเราเลยอ่อนแอตกเป็นเมืองขึ้นเขาตลอด ตั้งแต่สิ้นยุคราชวงศ์มังราย

แต่ละเมืองก็มีผะวัติศาสตร์ของตั๋วเก่า ในช่วงม่านครองเมือง บางเมืองฟื้นม่าน บางเมืองยอมม่าน
ตี๋กั๋นไปตี๋กั๋นมา บุคคลสำคัญบางท่านตะก่อนเกยยะก๋ารหื้อม่าน ปายลูนหันมาเข้ากับคนใต้ก็จ้าดนักน่อ
อย่างเจ้ากาวิละ ปู่เปิ้น ป้อเปิ้น ตั๋วเปิ้น ก็ยะก๋ารหื้อม่านมา 3 เจเนอเรชั่น
มารุ่นเปิ้นหนี้แลตี้ย้ายพรรค ไปขอเข้ากับธนบุรี
ก่อนจะกล๋ายเป๋นขะกู๋ล ณ เจียงใหม่, ณ ลำปาง, ณ หละปูน, เจื้อเจ็ดต๋น ฯลฯ บ่าเดี่ยว


ส่วนเมืองน่าน ขะกู๋ล ณ น่าน ช่วงแรกๆ ก็เข้ากับม่าน ต๋อนเจ้ากาวิละไปเข้ากับคนใต้แล้ว
ในหมู่เจ้านายเมืองน่านก็แบ่งเป๋นหลายฝ่าย ฝ่ายนึ่งจะเอาม่าน แหมฝ่ายจะเอาคนใต้ (ธนบุรี)
กว่าจะลงตั๋วก็เลยมาเถิงสมัย กทม. ปู้น สรุปว่าเมืองน่านจะเอาคนใต้

เมืองแป้ พระยาแป้มังไชย ตะก๋อนเป๋นขุนนางของม่าน ปายลูนมาเข้ากับคนใต้
แลได้เป๋นต้นขะกู๋ล เจ้าหลวงเมืองแป้ เลยน่อ

ส่วนเมืองเจียงฮาย เจียงแสน ม่านอยู่เมินเหลือเปิ้น
พ.ศ.2317 เจียงใหม่ ลำปาง เปิ้นไปเข้ากับธนบุรีแล้ว แต่เจียงฮาย เจียงแสน ยังเป๋นตี้หมั้นของม่าน
ฮบกับเจียงใหม่ ลำปาง เป๋น 30 ปี๋ จ๋น พ.ศ.2347 เจียงแสนเถิงแตก ม่านหนีปิกบ้าน
ส่วนคนล้านนาโดนกวาดต้อนไปตางใต้ ไปอยู่เจียงใหม่พ่อง ลำปางก็มี น่านก็นัก
ราชบุรี (บ้านคูบัว) สระบุรี (เสาไห้) ก็จ้าดนัก
เมืองเจียงแสน เมืองเจียงฮาย เลยกล๋ายเป๋นเมืองฮ้าง หลายสิบปี๋
(เมืองเจียงฮายฟื้นฟู พ.ศ.2386 เมืองเจียงแสนฟื้นฟู พ.ศ.2423)

ในเมืองลำปางบ่าเดี่ยว ก็ยังมีจื่อวัดเจียงฮาย บ้านเจียงฮาย ห้าแยกบ้านเจียงฮาย
ปะตู๋เจียงฮาย (จื่อปะตู๋เมือง) โฮงเฮียนเทศบาล 4 บ้านเชียงราย
(อยู่ตี้หอนาฬิก๋า หน้า สนง.เทศบาลนครลำปาง ไปผ่อได้เลย)

ตี้เจียงใหม่ ถ้าไผไปแอ่วไนท์บาซาร์ ก็หื้อฮู้ไว้้ว่า คนเจียงแสนไปอยู่หั้นเป๋น 200 ปี๋ มาแล้ว
คนเจียงแสนเปิ้นเป๋นศรัทธาวัดพันต๋อง วัดช่างฆ้อง วัดศรีดอนไจย
ไปแอ่วเจียงใหม่ก็จะยังหันวัดหมู่หนี้อยู่แถวๆไนท์บาซาร์ เจียงใหม่
แต่ถ้าไปถามจาวบ้านเปิ้นจะบ่ฮู้แล้วว่าตั๋วเก่าสืบเจื้อคนเจียงแสน
ย้อนว่าคนล้านนาบ่ได้เฮียนผะวัติศาสตร์ของตั๋วเก่าน่อ

นั้นเนอะครับ คนเมือง คนล้านนาเฮา ฮู้จักที่มาของตั๋วเก่าน้อยขนาด แต่ไปฮู้จักประวัติของ ย่าโม พระเจ้าตาก พระยาพิชัย อี้หว่ะ ผมเกยไปกินเบียกับหมู่เปื้อนคนเจียงฮาย ที่กรุงเทพ แล้วผมเล่าเรื่อง ผญาติโลกราชฮื้อเขาฟัง เขาทำหน้าหน้างง บ่าฮู้จักว่าเป๋นไผบ่ะ แล้วมาบอกว่าผมคิดมากเรื่องมันเก่ามาแล้ว แต่พอมันอู้ถึงจตุคามรามเทพ มันฮู้จักหมด ว่าประวัติมาจาก กษัตริย์นครศรีธรรมราชโบราณ ชื่ออะหยังๆมันฮู้จักหมด ผมนี่เหนื่อยใจ๋แต๊ (อู้เมืองดีกว่า อู้ไทยมันเจ็บแอว555)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2012, 18:54:49 »

ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ที่หาไม่ได้ในตำราเรียน ได้อ่านแล้วเสียดายล้านนาทะเลาะแย่งอำนาจกันเอง บ้านเมืองเราเลยอ่อนแอตกเป็นเมืองขึ้นเขาตลอด ตั้งแต่สิ้นยุคราชวงศ์มังราย
ต๋อนนี้จะกู้ชาติก่ยังบ่สาย ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
sonpradoo
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 27 มีนาคม 2012, 19:25:54 »

แสดงว่า ผม ก็สืบเชื้อสาย เผ่าพันธ์ มาแต่ เชียงแสน
IP : บันทึกการเข้า
tonkla
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,334


ธรรม=ธรรมชาติ ธรรมดา ธรรมนูญ


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 27 มีนาคม 2012, 22:36:04 »

ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ครับ
IP : บันทึกการเข้า

"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง"(ไว้เตือนตนเอง)
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 27 มีนาคม 2012, 23:30:09 »

คนในเวียงเจียงฮายส่วนใหญ่เป๋นคนไทเขินเน่อครับ
แต่คนบ่เดี่ยวบ่ฮู้ แลบ่มีก๋ารส่งเสริมวัฒนธรรมไทเขินในเวียงสักมอกใด

ไปหันงานไทลื้อเจียงคำแล้ว บ้านเปิ้นเมืองเปิ้นเหน็ดขนาดน่อครับ
IP : บันทึกการเข้า
Benzram
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 216


หนุ่มน้อย ไร้ร้อยตีนกา


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 28 มีนาคม 2012, 10:13:21 »

อ้ายเจียงฮายพันแท้ครับ ถ้าชุมชนในเวียงเฮา เป๋นคนไท ที่มาจากทางเหนือหล่ายหน้า เช่น ไทใหญ่ ไทเขิน แล้วอย่างตำบลรอบนอกนี่หล่ะครับ เช่น บ้านดู่ นางแล สันทราย ส่วนใหญ่ เป๋นคนที่อพยพมาจากใหนครับ มาจากหล่ายหน้าเหมือนกั๋นก่อ ส่วนตั๋วผม อยู่ตำบลบ้านดู่ ตระกูลอุ๊ยหม่อนอพยพมาจาก สันก๋ำแปงเจียงใหม่ครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!