เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 02:39:07
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  นักลงทุน การเงิน การธนาคาร
| | |-+  การตลาด >> เมื่อ “สิงห์” อยากสร้างแบรนด์ในมุมใหม่
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน การตลาด >> เมื่อ “สิงห์” อยากสร้างแบรนด์ในมุมใหม่  (อ่าน 1929 ครั้ง)
oldfriend
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 51


« เมื่อ: วันที่ 03 ธันวาคม 2011, 13:03:54 »



เบียร์สิงห์เป็นแบรนด์ที่อยู่ในตลาดมากว่า 75 ปี และตลอดเวลาที่ผ่านมาสิงห์มั่นคงใน
Positioning ของแบรนด์ ที่ว่า “เมืองไทยของเรา เบียร์ไทยของเรา” มาอย่างต่อเนื่อง และด้วยปัจจัยด้านเวลาที่ยาวนาน บวกกับตำแหน่งที่ชัดเจน ทำให้เบียร์สิงห์กลายเป็นตำนานของเบียร์ไทยไปเป็นที่เรียบร้อย ถึงจุดนี้คงไม่ต้องบอกถึงความคุ้นเคยและการจดจำด้านตราสินค้าของสิงห์แล้ว เพราะไม่ว่าจะเป็นตลาดในประเทศ และอีกหลาย ๆ ประเทศในโลก ต่างมีการจดจำตราและรับรู้ว่า “สิงห์” เป็นเบียร์จากประเทศไทย 



อย่างไรก็ตาม เบียร์เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ต้องเล่นกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ซึ่งมักจะปรับเปลี่ยน ผันแปรได้ตลอดเวลา และดูเหมือนว่าปัจจัยนี้จะเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของแบรนด์ที่อยู่ในตลาดมานาน ซึ่งสิงห์ตระหนักดีถึงจุดนี้ จึงตัดสินใจปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Refresh) เพื่อให้คงความเป็นแบรนด์ที่ทันสมัยในสายตาผู้บริโภค และให้เข้ากับการใช้ชีวิตของคนไทยยุคใหม่ได้ โดยมีกำหนดให้ภาพลักษณ์ของสิงห์เป็นเหมือนพี่ชายของกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 35 ปี ส่วนกลุ่มผู้ดื่มที่อายุสูงกว่านั้นสิงห์เปรียบได้กับเพื่อนคนหนึ่งของพวกเขา ซึ่งทั้งสองกลุ่มอยู่ในกลุ่มวัยทำงานเป็นวัยที่กำลังมุ่งมั่นกับการสร้างความมั่นคงในชีวิต



ดังนั้นสิงห์จะต้องแสดงบทบาทของการเป็นเครื่องดื่มที่สะท้อนภาพลักษณ์ของผู้ดื่มออกมาให้ได้ ซึ่งสิงห์สื่อสารกับผู้กลุ่มเป้าหมายผ่านโฆษณาที่นำเสนอแนวคิดดี ๆ ในการใช้ชีวิต เช่น ภาพยนตร์โฆษณาที่ชูคอนเซปท์ "คุณภาพสังคม คุณภาพคน"  3 เรื่อง 3 คือ ชุดสมาธิ,ฝึกซ้อม และให้โอกาส



จากความแข็งแกร่งของแบรนด์และความชัดเจนของภาพลักษณ์ของสิงห์ที่มี ได้ถูกนำมาต่อยอดด้วยกลยุทธ์ Brand Stretching ซึ่งในครั้งแรกในชื่อของ “เบียร์สิงห์เฮาส์” ร้านอาหารย่านอโศก และครั้งที่สองจากการเลือกเข้าสู่ธุรกิจแฟชั่นภายใต้แบรนด์ “สิงห์ ไลฟ์ (Singha Life)” เพราะได้มองเห็นโอกาสสำคัญที่ว่า ปัจจุบันชีวิตของผู้บริโภคขาดแฟชั่นไม่ได้ ทั้งเสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้ ที่สำคัญธุรกิจแฟชั่นจะช่วยสร้างแบรนด์สิงห์ให้เป็นที่รู้จักแก่ลูกค้าระดับกลางถึงบนที่เป็นกลุ่มใหม่ ๆ มากขึ้น ทั้งตลาดในและต่างประเทศ



สิงห์ได้แยกกลุ่มแฟชั่นออกมาทำตลาดในนาม บริษัท สิงห์ เทรนด์ จำกัด โดยมีโจทย์ที่ว่า ร้านจะต้องอยู่ได้ด้วยตัวเอง



เสื้อผ้าแบรนด์สิงห์ ไลฟ์ จับกลุ่มเป้าหมายอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยวัตถุประสงค์หลักนั้นต้องการที่จะเปิดทางให้แบรนด์สิงห์ได้เข้าไปใกล้ชิดกับผู้บริโภคในหลายมิติมากขึ้น โดยกลยุทธ์นี้จะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยในแง่ของการขยายและกระตุ้นแบรนด์ในรูปแบบใหม่บ้าง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนแบรนด์สิงห์ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ที่สำคัญการทำเสื้อผ้าแบรนด์สิงห์มีพื้นฐานสำคัญมาจากการที่สิงห์เป็นแบรนด์ที่อยู่กับการใช้ไลฟ์สไตล์มาตลอด และ แฟชั่นก็เป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของผู้คนเช่นกัน



สินค้าแฟชั่นของสิงห์มีการออกแบบที่เรียบง่ายแต่ซ่อนรายละเอียดที่ดูเท่ห์และเก๋ ได้รับพัฒนาโดยดีไซเนอร์ไทย ได้แก่ ชำนัญ ภักดีสุข ดีไซเนอร์ผู้คร่ำหวอดในวงการแฟ ชั่นมาอย่างยาวนานกับแบรนด์ Fly Now, โกวิทย์ พงษ์พันธ์เดชา เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าผู้ชาย Krane ที่มีเอกลักษณ์ในการออกแบบที่โดดเด่น, สุธิดา ทอมป์สัน อดีตนางแบบและดีไซน์เนอร์กระเป๋าแบรนด์ Ann"s Bag และ โรจน์ สังขทรัพย์ อีกหนึ่งในดีไซเนอร์ชั้นนำ ทำให้ผลงานที่ร่วมกันออก แบบสามารถดึงเอาเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของแบรนด์สิงห์ มาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่ครอบคลุมตั้งแต่เสื้อผ้า และแอคเซสซอรี่ ในแนว ready-to-wear กึ่งสปอร์ต เป็น Unisex และไม่ได้จับกลุ่มวัยรุ่นมาก



โดยสินค้ากลุ่มแฟชั่นมีครบไลน์สำหรับผู้ชายเป็นหลัก ตั้งแต่เสื้อผ้าลำลอง
ชุดทำงาน อุปกรณ์เสริมต่างๆ เสื้อผ้าภายใต้แบรนด์สิงห์วางจำหน่ายในช็อป Singha Life ชั้น 3 ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์



สิงห์มีรายได้มาจากสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่น ภายใต้แบรนด์ “สิงห์ ไลฟ์” โดยมีรายได้เฉลี่ย 20 ล้านบาทต่อปี ทำให้สิงห์เริ่มมีความมั่นใจต่อธุรกิจนี้มากขึ้น จึงมีแนวคิดแตกไลน์สินค้าให้ครอบคลุมทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และวางเป้าหมายสู่โกลบอลแบรนด์ในอนาคตเช่นเดียวกับเบียร์สิงห์



ขณะที่ปี 2554 สิงห์ได้ต่อยอดด้วยกลยุทธ์ Brand Stretching ครั้งที่ 3 ด้วยการขยายเข้าสู่กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเครื่องสำอางที่ผลิตขึ้นจากเบียร์ โดยเป็นการต่อยอดทางธุรกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจเบียร์มากขึ้น นำร่องด้วย แชมพูและสบู่ จากนั้นจะขยายไปสู่สินค้ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งสิงห์ใช้วิธีจ้างให้บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ผลิต โดยสินค้าวางจำหน่ายในร้านสิงห์ ไลฟ์



สิงห์คาดหวังว่าธุรกิจใหม่จะเติบโตได้ดีอย่างเช่นแบรนด์สิงห์ ไลฟ์ ที่ได้ใช้เวลาพิสูจน์ตัวเอง จนปัจจุบันสามารถไต่ขึ้นเป็นแบรนด์แฟชั่นขายดีอันดับ 2 ของสยามเซ็นเตอร์ รองจากเกรฮาวด์ได้ส่งผลต่อกำไรของบริษัทในอนาคต



ขอบคุณข้อมูลจาก

Marketinfo.co.th
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!