ปี๋ 2554 เป๋นปี๋ สุดท้ายของแผนฯ 10 แล้ว น่อ
ลองย้อนไปอ่านผ่อว่าแผนฯ 10 เปิ้นว่าใดพ่องสรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554)แนวคิด ทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนฯ 10
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ยังคงยึดพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญภายใต้หลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้สามารถพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกันและสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นทุกมิติ โดยอาศัยทุนของประเทศที่มีสะสมอยู่มากมาย ทั้งทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเสริมสร้างให้เข้มแข็ง เป็นรากฐานการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม รวมทั้งระดับประเทศ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะแผนฯ 10
ภายใต้แนวคิด สศช. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)ได้นำผลการระดมความคิดในเวทีต่างๆมาสังเคราะห์และกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยพัฒนาศักยภาพคนไทยให้มีความรอบรู้คู่คุณธรรม มีสุขภาวะที่ดี พร้อมรับผลกระทบจากากรเปลี่ยนแปลงเป็นกำลังปัญญาในการพัฒนาประเทศให้สามารถก้าวทันโลกได้อย่างรู้เท่าทันและอย่างมั่นคง สังคมไทยมีความสงบสุข รักษาไว้ซึ่งความเป็นไทย และมีการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ
2. การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมเป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ ให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมที่เป็นธรรม ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย เชื่อมโยงเครือข่ายการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง รวมทั้งสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชนและการแก้ไขปัญหาความยากจน
3. การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและการแข่งขันได้ในช่วงศตวรรตแห่งเอเซีย ปรับฐานเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็ง โดยบริหารเศรษฐกิจมหภาคให้มีเสถียรภาพ ลดการพึ่งพาจากภายนอกและพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น เสริมสร้างความเข้มแข็งภาคการผลิต ควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ พลังงานและบริหารองค์ความรู้และกลไกที่เกี่ยวข้อง
4. การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการจัดการองค์ความรู้ ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ส่งเสริมการผลิตและการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการวางรากฐานสำหรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพในระยะยาว
5. การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน โดยปรับโครงสร้าง กลไกและกระจายการจัดสรรทรัพยากรสู่ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน กระจายอำนาจ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดบริการสาธารณะที่ตอบสนองความต้องการของ ประชาชนในพื้นที่ เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการประเทศ และเสริมสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย
อ้างอิง
http://krabi.souththai.org/index.php?option=com_content&task=view&id=21&Itemid=9http://www.nesdb.go.thhttp://www.ldd.go.th/Thai-html/05022007/PDF/PDF01/index.htm