เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 07:36:54
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ** พระสูตร พระคาถาอาการะวัตตาสูตร ระงับมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุมช้านานถึง 90 แสนกัลป์ **
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ** พระสูตร พระคาถาอาการะวัตตาสูตร ระงับมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุมช้านานถึง 90 แสนกัลป์ **  (อ่าน 8521 ครั้ง)
ClassicHome
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 25 กันยายน 2011, 22:16:59 »




พระคาถาอาการะวัตตาสูตร

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ดี ได้ทรงกระทำตามกันมาทุกๆพระองค์

พระสูตรนี้เป็นพระสูตรอันใหญ่ยิ่งหาสูตรอื่นมาเปรียบมิได้ ด้วยมีทั้ง พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ พระปิฎก
ขอท่านทั้งหลายอย่าได้ทิ้งวางในที่อันไม่สมควรเลย จงทำการสักการะบูชา สวดมนต์ ภาวนา ฟัง ตามสติกำลังด้วยเทอญ


อานิสงส์อาการวัตตาสูตร

......ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานีราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่ง
ในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า
" อิเม โข สตฺตา ฉินฺนมูลา อตีตสิกฺขา " สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ที่หนาไปด้วยกิเลสมีอวิชชาหุ้มห่อไว้ มีสันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากุศลมูลขาดแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว เที่ยงที่จะไปสู่อบายทั้ง ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายและสัตดิรัจฉาน เมื่อสัตว์หนาไปด้วยอกุศล จะนำตน
ให้ไปไหม้อยู่ในอบายภูมิตลอดกาลยืดยาวนาน ธรรมเครื่องกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือบารมี ๓๐ ทัศ มีอยู่จะห้ามกันเสียได้ซึ่งจตุราบายทุกข์ทั้งมวล และธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ในพระสูตรพระวินัย พระปรมัตถ์ล้วนเป็นธรรมที่จะนำให้สัตว์พ้นจากสังสารทุกข์ทั้งนั้น เมื่อปริวิตกเช่นนี้เกิดมีแก่พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรแล้ว ด้วยความเมตตากรุณาแก่ประชาชนทั้งหลายที่เกิดมาในสุดท้ายภายหลังจะได้ปฏิบัติเป็นเครื่องป้องภัยในอบาย พระผู้เป็นเจ้าจึงยกอัญชลีกรถวายอภิวาทพระบรมโลกนาถเจ้า แล้วทูลถามว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ " เย เกจิ ทุปฺปญฺญา ปถคฺคลา" บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญายังหนาด้วยโมหะหารู้จักพุทธกรณธรรม คือบารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้นไม่เพราะเป็นคนอันธพาล กระทำซึ่งกรรมอันเป็นบาปทั้งปวงด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำกระทำกรรมตั้งแต่เบาคือ ลหุกรรม จนกระทั่งกรรมหนักคือครุกรรม โดยไม่มีความกระดากอายเบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์ จากชีวิตอินทรีย์แล้วจะไปเกิดในอเวจีนิรยาบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าข้าผู้ประเสริฐ ธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพสามารถปราบปรามห้ามเสียซึ่งสัตว์ทั้งหลาย มิให้ตกไปสู่นรกใหญ่จะมีอยู่หรือพระพุทธเจ้าข้า

ในลำดับนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงอาการวัตตาสูตรกำหนดด้วยวรรค ๕ วรรค มีนวราทิคุณวรรค เป็นต้น จนถึงปารมีทัตตะวรรค เป็นคำรบ ๕คาถาอาการวัตตาสูตรนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าสูตรอื่น ๆ ในการที่ป้องกันภัยอันตรายแก่ผู้มาตามระลึกอยู่เนืองนิตย์ บาปกรรมทั้งปวงจะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานได้ด้วยอำนาจอาการวัตตาสูตรนี้และบุคคลผู้ใดได้ฟังก็ดีได้เขียนเองก็ดี หรือได้จ้างท่านผู้อื่นเขียนให้ก็ดีได้ท่องทรงจำไว้ก็ดี ได้กล่าวสอนผู้อื่นก็ดี ได้สักการบูชาเคารพนับถือก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่เนือง ๆ ก็ดี ก็จะได้พ้นจากภัย ๓๐ประการคือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อนพยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของ
นรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธรผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการอันตรธานพินาศไทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจเคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์ จะเป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุปัททวันอันตราย นั้นหามิได้ ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอันผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗ ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์ "ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ" แม้แต่สดับฟังท่านอื่นเทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่คติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้

จะพ้นจากภัย ๓๐ ประการคือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อน พยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของนรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธรผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ อันตรธานพินาศไป ทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์ จะเป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุปัททวันอันตราย นั้นหามิได้ ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอันผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์ ๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗ ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์
" ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ" แม้แต่สดับฟังท่านอื่นเทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่ทุคติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์

บทสวดพระคาถาอาการาวัตตาสูตร

1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)

2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
(อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)

3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
(คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)

4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)

5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
(มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)

6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
(ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)

7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)

8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
(วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)

9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)

10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
(โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)

11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)

12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
(กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)

13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)

14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
(จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)

15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)

16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)

17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
(ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)
IP : บันทึกการเข้า
ClassicHome
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 25 กันยายน 2011, 22:31:13 »



คำแปลพระคาถาอาการะวัตตาสูตร

(คำแปล) พระสูตรว่าด้วยพระอาการที่เป็นไปแห่งพระพุทธเจ้า


ณ บัดนี้จะแสดงธรรม ที่มีมาในพระอาการะวัตตาสูตร ที่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม ทรงเสด็จประดับ ณ คิชฌกูฏบรรพตคีรีวันฯได้ทรงแสดงธรรมในพระบารมี คือบารมีที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงตรัสรู้ อันเป็นพระบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ คุณธรรมที่ได้ทรงบำเพ็ญเพียรตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงที่สุด ในการตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงได้ปฏิบัติตามกันมาเป็นลำดับดังนี้ แก่พระสารีบุตรและพระพุทธสาวกของพระองค์ให้รู้ตาม ในคุณอันยิ่งใหญ่ที่มีมานั้น ที่วงศ์สกุลแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงได้ตรัสรู้แล้ว

คำแปล พระพุทธคุณวรรคที่1
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่นทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ เครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลกเป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยมเป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิตทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรมพระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

คำแปลอภินิหารวรรคที่2
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬารพระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณพระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจ
โชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์

คำแปล คัพภวุฏฐานวรรคที่3
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมีมีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงามพระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ

คำแปล อภิสัมโพธิวรรคที่4
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิพระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง

คำแปล มะหาปัญญาวรรคที่5
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริงพระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า คือ ตาเนื้อ ทิพพจักษุปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส

คำแปล ปาระมิวรรคที่6
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติพระบารมีในการเว้น ขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญาพระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตาพระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้

คำแปล ทสบารมีวรรคที่7
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของพระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิตพระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌาน และองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมีมีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้นพระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต

คำแปล วิชชาวรรคที่8
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิพระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชาพระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า

คำแปล ปริญญาณวรรคที่9
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหาพระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนาพระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ

คำแปล โพธิปักขิยะวรรคที่10
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมี มีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐาน พระบารมีมีพระปัญญาในสัมมัปปธาน พระบารมี มีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมี มีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมีมีพระปัญญาในพละห้า พระบารมี มีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมี มีพระปัญญาในมรรคแปดพระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล

คำแปล ทศพลญาณวรรคที่11
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะพระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวงรู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลายพระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้นแห่งธรรมมีฌานเป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้

คำแปล กายพลวรรคที่12
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิพระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญาตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ

คำแปล ถามพลวรรคที่13
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรงพระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายในพระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะพระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้

คำแปล จริยาวรรคที่14
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติพระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลกพระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์
พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยา พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง
พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี

คำแปล ลักขณวรรคที่15
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้าพระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลายพระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป

คำแปล คตัฏฐานวรรคที่16
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไปพระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนัก
พระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์

คำแปล ปเวณิวรรคที่17
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณีพระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐพระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวงพระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย





IP : บันทึกการเข้า
omglol
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 25 กันยายน 2011, 23:00:07 »

พอจะทราบมั้ยครับว่าใครแต่ง ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า
omglol
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 25 กันยายน 2011, 23:04:37 »

ขออภัยถามอีกนิดครับที่ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้ ตอนนี้นะครับอยากถามว่าตรัสใว้ในพระสูตรใหน กับใคร พระไตรปฏิกเล่มใหน ขอบคุณอย่าสูงครับ
IP : บันทึกการเข้า
ClassicHome
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 25 กันยายน 2011, 23:37:30 »

พระคาุถาอาการะวัตตาสูตรนี้ มีแพร่หลายทั่วไป ตาม website ต่างๆ ค่ะ ครั้งที่ตนเองได้มานั้น เป็นก่อนที่แม่จะเข้าโรงพยาบาล ไม่รู้ทำไมอยู่ๆ ถึงได้พระคาถาอาการะวัตตาสูตรมาและพิมพ์เก็บไว้อย่างดี และตั้งใจว่าจะต้องสวดให้ได้ และได้ใช้สวดจริงๆ 45 วัน ครั้งที่แม่อยู่ ICU จนกระทั่งคุณแม่หายดีแล้ว เรื่องนี้ไม่ธรรมดาค่ะ ต้องมีเหตุบางอย่างให้ได้มา และตนเองเชื่อมั่นและสวดและระลึกถึงพระคาถาด้วยความเคารพนอบน้อมอย่างที่สุด

พระคาถาอาการวัตรสูตรนี้ ผู้เขียนคัดลอกมาจาก website หลายแห่ง แล้วมาเปรียบเทียบกัน ท่านผู้นำมาเผยแพร่ท่านหนึ่งระบุว่า  คัดลอกมาจากหนังสือ พระมหาทิพมนต์ เรียบเรียงโดย ตรี เขมกุลภรณ์ สร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2550

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสกับพระสารีบุตรค่ะ ส่วนจะเป็นพระสูตรไหน และพระไตรปิฎกเล่มไหนนั้น ไม่ทราบค่ะ เดี๋ยวจะลองหาข้อมูลให้นะค่ะ อนุโมทนาสาธุค่ะ ที่ถามมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 26 กันยายน 2011, 01:33:35 โดย ClassicHome » IP : บันทึกการเข้า
ClassicHome
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 26 กันยายน 2011, 01:30:41 »

พระอาการวัตตาสูตร (เพิ่มเติมค่ะ)

ไปค้นพระสูตร ในพระไตรปิฎกมาให้แล้ว  แต่ไม่ปรากฎว่ามี มีคำอธิบายเพิ่มเติมค่ะ

พระคาถาอาการะวัตตาสูตรนี้ เป็นสูตรโบราณนับถือกันมาว่าศักดิ์สิทธิ์มาก แต่ไม่ปรากฏมีอยู่ในพระไตรปิฎก เนื้อเรื่องก็เป็นทำนองพระพุทธภาษิต ตรัสแสดงแก่พระสารีบุตร ณ ภูเขาคิชฌกูฎ แขวงเมืองราชคฤห์ พระเถรเจ้าได้เล็งญาณเห็นส่ำสัตว์ผู้หนาด้วยกิเลส ได้ประกอบอกุศลกรรมต้องไปอบาย จึงมีความปริวิตก กรุณาในส่ำสัตว์ทั้งหลายยิ่งนัก เห็นอยู่แต่พระบารมี ๓๐ ทัศ ซึ่งพระบรมศาสดาบำเพ็ญมาเท่านั้นจะช่วยป้องกันสัตว์เหล่านั้นได้ จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พรรณนาความปริวิตกของท่านให้ทรงทราบ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรง แสดงพระอาการวัตตาสูตร กำหนดด้วยวรรค ๑๗ วรรค คือ อรหาทิคุณ ๑ อภินิหารวรรค ๑ คัพภวุฏฐานวรรค ๑ อภิสัมโพธิวรรค ๑ มหาปัญญาวรรค ๑ ปารมิวรรค ๑ ทสปารมิวรรค ๑ วิชชาวรรค ๑ ปริญญาณวรรค ๑ โพธิปักขิยวรรค ๑ ทสพลญาณวรรค ๑ กายพลวรรค ๑ ถามพลวรรค ๑ จริยาวรรค ๑ ลักขณวรรค ๑ คตัฏฐานวรรค ๑ ปเวณีวรรค ๑ รวม ๑๗ วรรค มีข้อความพิสดาร แต่ล้วนเป็นคำสรรเสริญพระพุทธคุณว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบริบูรณ์ด้วยพระคุณอย่างนี้ ๆ เช่น ในอรหาทิคุณวรรค มีข้อความดังนี้

“อิติปิ โส ภควา อรหํ อิติปิ โส ภควา
สมฺมาสมฺพุทฺโธ อิติปิ โส ภควา วิชฺชาจรณสมฺ-
ปนฺโน อิติปิ โส ภควา สุคโต อิติปิ โส ภควา
โลกวิทู อิติปิ โส ภควา อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
อิติปิ โส ภควา สตถา เทวมนุสฺสานํ อิติปิ โส
ภควา พุทฺโธ อิติปิ โส ภควา ภควาติ”

ในอภิสัมโพธิวรรค มีข้อความดังนี้

“อิติปิ โส ภควา อภิสมฺโพธิปารมิสมฺปนฺโน
สิลขนฺธปารมิสมฺปนฺโน สมาธิขนฺธปารมิสมฺปนฺ-
โน ปญฺญขนฺธปารมิสมฺปนฺโน ทฺวตฺตึสมหาปุริส
ลกฺขณปารมิสมฺปนฺโน อภิสมฺโพธิวคฺโค จตุตฺโถ”

พระบรมศาสดา ได้ตรัสพรรณนาคุณานิสงส์ของพระสูตรนี้ว่า “ดูก่อนสารีบุตร ครั้งเมื่ออาการวัตตาสูตรนี้ ชนทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้กล่าวอยู่เป็นอัตราแล้ว บาปกรรมทั้งหมด ก็จะไม่ได้ช่องที่จะหยั่งลงไปในสันดาน แม้ถึงผู้นั้นกล่าวอยู่สักครั้งหนึ่งก็ดี ได้บอกกล่าวก็ดี หรือได้เขียนเองก็ดี และได้ให้ผู้อื่นเขียนก็ดี หรือได้ทรงจำไว้ได้ก็ดี หรือได้กระทำสักการบูชานับถือก็ดี หรือได้ระลึกเนือง ๆ โดยเคารพพร้อมด้วยไตรประณามก็ดี จะปรารถนาสิ่งใด ๆ ก็จะสำเร็จแก่บุคคลผู้นั้น ตามประสงค์พร้อมทุกสิ่งสรรพ์ ฯลฯ ก็ถ้าหากว่าบุคคลผู้ใดมีศรัทธาจะระลึกตามอาการวัตตาสูตรนี้เนือง ๆ บุคคลผู้นั้นเมื่อละเสียซึ่งอัตภาพร่างกายในปัจจุบันชาตินี้แล้ว จะปฏิสนธิในภพเบื้องหน้าในภพใดภพหนึ่ง ก็จักไม่เกิดในเดรัจฉาน ในเปตวิสัย จักไม่เกิดในชีพนรก ในอุสุทะนรก ในสังฆาฏะนรก ในโรรุวะนรก ในมหาโรรุวะนรก ในดาบนรก ในมหาดาบนรก ในอเวจีนรก ฯลฯ และไม่ไปเกิดเป็นอสุรกาย กำหนดนับถึง ๙๐ แสนกัปป์เป็นประมาณ ฯลฯ จะได้ไปเกิดในสุคติภพ บริบูรณ์ด้วยสุขารมณ์ต่ำ ๆ มีอินทรีย์ผ่องใสสมบูรณ์ มีปัญญาเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ จะได้เกิดเป็นพระอินทร์กำหนดถึง ๓๖ กัปป์โดยประมาณ จะได้สมบัติจักรพรรดิราช เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร กำหนดนานถึง ๓๖ กัปป์ ฯลฯ ในปัจจุบันภพ ก็จะเป็นผู้ปราศจากภัยเวรต่าง ๆ ปราศจากโรคาพยาธิเบียดเบียน มีอายุมั่นขวัญยืนอยู่เย็นเป็นสุข ฯลฯ” เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสประกาศคุณเดชานุภาพ และอานิสงส์ผลของพระสูตรนี้จบลง ธรรมาภิสมัยก็บังเกิดแก่หมู่ชนที่ได้สดับ ประมาณแปดหมื่นโกฏิ ด้วยประการฉะนี้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 26 กันยายน 2011, 01:36:59 โดย ClassicHome » IP : บันทึกการเข้า
omglol
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 26 กันยายน 2011, 09:41:32 »

ขอบคุณครับ จะเอาไปสวดบ้าง
IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2013, 23:19:14 »

กราบ ขออนุญาต  ฟื้น      สาธุ ครับ
IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!