ขอขอบคุณทุกๆท่านที่ให้แนวคิดและกำลังใจครับ คิดว่าคงใช้ไม้แข็งบ้างครับ เพราะว่าฝ่ายโน้นฝีปากนี่สุดยอดครับ สามียังเงียบกริบ ไม่กล้าปริปากเลย ผมคนนึงก็เล่นนกีฬา ยิงปืนอยู่ทุกวันหยุด ไม่อยากให้เป็นเรื่องราวใหญ่โต เกินไป พยายามระงับอารมณ์อยู่ตลอด เรื่องอื่นยังพอระงับได้อยู่ แต่เรื่องเด็กๆที่บ้านนี่สิ ยอมไม่ได้
เด็กๆผมก็ปรามได้อยู่ เวลาที่เด็กๆเห่าครบทุกตัว ตอนผมกลับเข้าบ้านครับ ได้ยินเสียงรถหน้าปากซอยก็เห่าแล้วครับ กับเห็นแมวเดินผ่านหน้าบ้าน ถ้าคนก็ไปรษณีย์มาส่ง จดหมาย คนส่งบิลไฟฟ้า คนจดมิเตอร์ประปา ก็แค่นั้น ว่างๆก็เล่นต่อสู้กัน 2 ตัว ที่เหลือนอนอย่างเดียว ฝ่ายโน้นนอนอยู่บ้านอย่างเดียวสามีเลี้ยง กรรมครับ
และอีกอย่างเรื่องกฎหมายของการเลี้ยงสัตว์ ในบ้านมันมีไหมครับเป็นยังไง ผมไม่รู้เลย เห็นฝ่ายโน้นบอกจะไปแจ้งเทศบาลให้มาจับหมา
ในปัจจุบันต้องยอมรับว่ามนุษย์ไม่สามารถอยู่เพียงลำพ ังคนเดียวได้ จำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นหรือไม่ก็หาสัตว์เลี้ยง น่ารักๆ หลากชนิด ตัวเล็กใหญ่ หนึ่งหรือสองตัวมาเลี้ยงเป็นเพื่อนแก้เหงา หรือเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นงานอดิเรก หรือใช้ประโยชน์จากสัตว์เพื่อไว้ขายหรือการค้า ซึ่งสัตว์แต่ละชนิดแต่ละประเภทก็ย่อมมีข้อแตกต่างกัน ไป ทั้งในเรื่องของการเลี้ยงดู สถานที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ทั้งแบบมีข้อจำกัดและแบบมีอ ิสระได้ เรื่องของอาหารสัตว์ การเอาใจใส่ดูแลจากผู้เลี้ยง การให้วัคซีน ฯลฯ ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากมนุษย์เราเท่าไหร่นัก
สัตว์เลี้ยงทุกชนิดที่เรานำมาเลี้ยงทั้งแบบกักขังหรื อแบบปล่อย อาจจะนำปัญหามาสู่ผู้เลี้ยง ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคจากสัตว์ไปสู่คน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แอนแทรกซ์ ไข้หวัดนก โรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น รวมทั้งอันตรายที่เกิดจากถูกสัตว์ทำร้าย เช่น สุนัขรุมกัดเด็ก ซึ่งเป็นข่าวให้พบเห็นประจำ นอกจากนั้นอาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ ในเรื่องของกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ เสียงรบกวนจากการร้องของสัตว์ รวมถึงน้ำเสียจากการล้างคอกสัตว์ หรือตัวสัตว์เป็นต้น
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในหมวด ๖ กำหนดให้มีการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ โดยให้อำนาจแก่ราชการส่วนท้องถิ่นในการออกข้อกำหนดท้ องถิ่น เพื่อกำหนดเขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ ทั้งในเรื่องประเภทของสัตว์ที่ห้ามเลี้ยง กรรมวิธีการเลี้ยง การป้องกันเหตุรำคาญ และการปล่อยสัตว์ในที่หรือ ทางสาธารณะด้วย ข้อกำหนดของท้องถิ่นที่กำหนดเขตควบคุมการเลี้ยงหรือป ล่อยสัตว์สามารถแบ่งได้ ๓ ลักษณะดังนี้
1. เขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์บางชนิดโดยเด็ดขาด คือ เขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่มีความเจริญ เป็นชุมชนหนาแน่น เป็นสถานที่หรือแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะให้มีการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร เป็นต้น และเมื่อได้มีการกำหนดเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ชน ิดใดในเขตพื้นที่ใดก็ตาม จะมีผลให้ประชาชนแม้มีที่เป็นของตนเองก็ไม่อาจเลี้ยง สัตว์ที่ถูกกำหนดในพื้นที่นั้นได้ เช่น กำหนดห้ามเลี้ยงหรือปล่อย โค กระบือ ม้า แพะ ในบริเวณรอบหนอง บึง ที่เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคของชุมชน เพราะจะทำให้แหล่งน้ำสกปรก
2. เขตให้เลี้ยงสัตว์บางชนิดไม่เกินจำนวนที่กำหนด ต้องกำหนดชนิดและประเภทของสัตว์ที่ห้ามให้ชัดเจนด้วย เช่น ในเขตชุมชน อาคารพาณิชย์ที่มีผู้อาศัยอย่างหนาแน่นไม่สมควรให้มี สุนัขจำนวนเกินกว่า ๒ ตัวต่ออาคาร ๑ คูหา เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ก่อเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่ข้าง เคียง หรือการกำหนดให้เขตพื้นที่ของท้องถิ่นนั้นเป็นเขตห้า มเลี้ยงสุกรเกินกว่า ๕๐ ตัว ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของ ปัญหาว่าต้องมีจำนวนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับสภาพแวดล ้อมของชุมชนนั้นๆ
3. เขตให้เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์บางชนิดได้โดยมีมาตร การอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการนำมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการทางวิชาการมากำหนด เพื่อมิให้เกิดปัญหาด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สุขลักษณะหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ เช่น กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด อาคารสถานที่ คอกสัตว์ ตัวสัตว์ การกำจัดมูลสัตว์และสิ่งปฏิกูลต่างๆ การบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งการควบคุมโรคติดต่อ โดยการฉีดวัคซีน แล้วแต่กรณี หรือการนำสุนัขออกไปเลี้ยงนอกบ้านต้องล่ามโซ่ไปด้วย หรือกำหนดให้ผู้เลี้ยงสุกรตั้งแต่ ๒๐ ตัวขึ้นไป ต้องอยู่ห่างจากชุมชนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร หรือมีแนวพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่า ๕๐ เมตร จากโรงเลี้ยง และต้องจัดทำระบบกำจัดมูลสุกรอย่างน้อย ๑ ถัง
เมื่อราชการส่วนท้องถิ่นออกเป็นข้อกำหนดของท้องถิ่นแ ล้ว ก็จะมีผลบังคับให้ประชาชนในเขตพื้นที่นั้นๆ ต้องปฏิบัติตาม หากใครฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท และในการกำหนดเขตควบคุมดังกล่าวจะต้องกำหนดขอบเขตให้ ชัดเจน และต้องขึ้นอยู่กับปัญหา และต้องมีเหตุมีผล มีข้อเท็จจริงตามสภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนนั้นๆ หากไม่มีเหตุผล ประชาชนย่อมมีสิทธิฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนข้อกำหนดข องท้องถิ่นนั้นได้
กฎหมายจึงเป็นเครื่องมือและเป็นหลักปฏิบัติของสังคม ที่จะทำให้ดำเนินไปได้อย่างมีระเบียบเกิดความเรียบร้ อย และเป็นปกติสุข และยังเป็นแนวทางให้ชุมชนได้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวก ัน กฎหมายจึงมีบทบาทสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันไม่ว่าจะเป็น มนุษย์หรือสัตว์ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลและรับผิดชอบขอ งมนุษย์ และถ้าไม่มีกฎหมายเข้ามาควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยงเหล่าน ี้ ลองคิดดูว่าจะเกิดปัญหาอะไรตามมา
** กฏหมาที่ผู้เลี้ยงสุนัขควรรู้**
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 377 ผู้ใดควบคุม สัตว์ดุ หรือ สัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคล หรือ ทรัพย์ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 433 ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่า เจ้าของสัตว์ หรือ บุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื ่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมค วรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์หรือต ามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้น ย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึง เพียงนั้น
ขอความจากเวป
http://www.rottweilersociety.com/8_1Aticle_law.html