บทความดีๆจาก สตรอมคลับ ครับ
http://www.stormclub.com/ เพื่อเราพูดถึง ท่วงท่าในการขับขี่ ก็หมายถึงการจัดร่างกาย ให้เหมาะกับสภาพของการขับขี่ เช่นเดียวกับกีฬาอื่น มักจะมีท่าเตรียมตัวเช่นการฟอร์มของการว่ายน้ำหรือท่าจรดของการวิ่ง 400 เมตร การขี่รถมอเตอร์ไซค์ว่าไปแล้วก็เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง หากจัดท่าทางระหว่างขับขี่ได้เหมาะสม จะช่วยให้ ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมรถ ซึ่งหมายถึงว่าสามารถลดโอกาส"เสี่ยง"ต่ออุบัติเหตุจาก การหย่อนสมรรถะภาพในการขับขี่ลงไปได้ (อุบัติเหตุจากมอเตอร์ไซค์กว่า 40 เปอร์เซ็นมาจาก การไม่สามารถควบคุมรถได้อย่างที่ควรจะเป็น พูดอีกแง่ก็คือเจ็บตัวเพราะทักษะ และสภาพร่างกายไม่พร้อม)
ท่าขับขี่มาตรฐาน
ในหลักสูตรการขับขี่ เราแบ่งท่าทางการขับขี่ออกเป็น 4 แบบ คือ
Lean with posture (หรือเรียกสั้นๆว่า "ลีนวิท")
Lean in posture ("ลีนอิน")
Lean out posture ("ลีนเอ้าท์")
Hang On ("แฮ้งค์ ออน")
จากท่าขับขี่ทั้ง 4 ถ้าแบ่งตามการใช้งานก็จะเหลือ 2 แบบใหญ่คือ
ท่าขับขี่ปกติ (ลีนอิน)
ท่าขับขี่ในโค้ง (ลีนอิน , ลีนอิน ,ลีนเอ้าท์ , แฮงค์ออน)
ในบทนจะกล่าวถึงเฉพาะ ท่าขับขี่แบบ ( ที่ 1 ) หรือท่าขับขี่แบบปกติ ส่วนในแบบที่ 2 จะขอไปกล่าวถึงอีกครั้งในเรื่องในบทที่ 4 (การเข้าโค้ง)
Lean with posture
ประการแรก คุณต้องให้คุณรู้ความแตกต่างระหว่างท่านี้กับ ท่าขับขี่ที่เคยชิน คุณสามารถทดลองจัดท่าลีนวิทได้ถูกต้องง่ายๆ ด้วยขั้นตอนดังนี้
ขึ้นไปยืนตรงบนพักเท้า โดยให้พักเท้าทั้งสองข้างอยู่กลางฝ่าเท้า และปลายเท้าชี้ไปด้านหน้า เอาท่อนขาด้านในหนีบข้างรถหรือถังน้ำมันเอาไว้ให้กระชับ
.ย่อตัวลงช้าๆนั่งลงบนเบาะ ถ้าหากรถไม่ใช่กระเทยหรือรถครอบครัว ตั้งแต่ตอนยืนและย่อตัวลงมานั่ง ท่อนขาจะต้องหนีบถังน้ำมันอยู่ตลอดเวลา
เอื้อมมีจับแฮนด์ สายตามองขนานพื้น หน้าไม่ก้มเมื่อนั่งลงแล้วเอื้อมมือไปจับแฮนด์ จากนั้นลองเช็คส่วนต่างๆว่าเป็นไปอย่างนี้หรือไม่
สายตา และศรีษะ
โดยปรกติผู้ขับขี่มอเตอร์ส่วนใหญ่จะเพ่งสายตามองข้างหน้าไม่เกิน 50 เมตร เพราะมักจะก้มศรีษะ หรือลดระดับสายตาโดยไม่รู้ตัว วิธีแก้ตรงนี้ก็คือการบังคับให้ตัวคุณมองระดับสายตา ไม่ก้มศรีษะ ยิ่งมองไกลขึ้นเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีเวลาตัดสินใจต่อเหตุการณ์ข้างหน้าได้รอบคอบมากขั้น นอกจากนี้ทักษะการขับขี่ในระดับสูง อย่างเช่นการเข้าโค้ง สายตาสำคัญต่อการกำหนดไลน์เข้าโค้ง
ไหล่ หลังท่อนบน-คอ
ที่พบบ่อยมาก คือบางคนมักจะแอ่นหลัง ด้วยการยกไหล่บริเวณไหปลาร้า ให้สูง หรือแอ่นหลังต่อเนื่องมาจากแนวตะโพก ทางที่ดีที่สุดให้คุณ"ปลดล๊อก"จุดที่มีปัญหาออกให้หมดด้วยการ เอามือกลับมาวางที่ถังน้ำมันแล้วลดข้อศอกลง จำความรู้สึกขณะนั้นเอาไว้ แล้วเลื่อนมือขึ้นมาจำแฮนด์ไหมอีกครั้ง จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น
ท่อนแขน,ข้อศอก
แบบเดียวกับหัวไหลและอกท่อนบน ปัญหาประจำคือการ เกร็งท่อนแขน หรือปล่อยท่อนแขนให้ตึง จุดนี้อันตรายครับ การล๊อกท่อนแขนให้เป็นเส้นตรงแบบเกร็ง จะทำให้การคุมรถของมีความคล่องตัวน้อยลง ถ้าคุณเป็นแบบนี้ ลองแก้ง่ายๆ เลย คือถ้าหากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของอยู่ในระดับหน้าอก ให้ลองเอายืนท่อนแขนเอานิ้วโป้ง มาแตะที่ขอบมอนิเตอร์พร้อมกันทั้งสองข้าง จากนั้นเอียงนิ้วโป้งทั้งคู่ชี้ 45 องศาเข้าด้านใน แล้วค่อยๆดึงแขนเข้ามา จนได้ระยะระหว่างหน้าจอกับ หน้าของคุณเอง คุณจะเห็นว่า ในระยะนี้ท่อนแขนของคุณจะสบายที่สุด นั้นแหละ จำความรู้สึกไว้ครับ เวลาจับแฮนด์ก็แบบเดียวกัน
มือ และข้อมือ
มือ และข้อมือ ที่ห้ามเด็ดขาดคือ การเอาสันมือวางบนแฮนด์โดยเอานิ้วโป้งล๊อกใต้ปะกับแฮนด์
ตะโพก
ตะโพก ควรเลื่อนเข้ามาให้ถังน้ำมัน หัวเข่าและท่อนขาส่วนล่าง ส่วนนี้สำคัญอยู่ที่ การโน้มลำตัวมาข้างหน้า แต่ไม่ใช่แอ่นหลัง
หัวเข่าและต้นขา
เข่าต้องหนีบถังให้กระชับ (แต่ไม่เกร็งจนปวด) การออกแรงหนีบขอให้ออกแรงจากต้นขาด้านใน
เท้าและข้อเท้า
เท้าและข้อเท้า ให้เท้าวางกลางพักเท้า ปลายเท้าทั้งคู่ว่างเหนือคันเกียร์ และคันเบรกตลอดเวลา ปลายเท้าอย่ากางออกจากตัวรถ ให้วางขนานไปด้านหน้าเท่านั้น
ปัญหาที่พบและการแก้ไข
หลายๆท่านอาจเกิดปัญหาระหว่างการทดลองปรับท่าขับขี่ใหม่เช่น ไม่สามารถวางปลายเท้าเหนือคันเกียร์ได้ หรือพอวางแล้วมันมีอาการเมื่อยขาแบบสุดๆ หรือยังรู้สึกว่า ข้อมืออยู่ในมุมไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะจัดอย่างไรก็แล้วแต่ ความรู้สึกเหล่านั้นเป็นเรื่องปรกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลายๆ กรณีเช่นเกิดจากอุปกรณ์บางบนตัวรถไม่อยู่ในมุมหรือระดับที่เหมาะสมต่อการขับขี่ของคุณ ซึ่งเราจะต้องมาปรับมันอีกที จุดที่มักพบปัญหา และต้องแก้ไขเสมอๆคือ
1.มุมของคันเบรกหน้า และมือครัชต์
มุมของคันเบรกหน้า และมือครัชต์ ไม่ได้ระดับเท่ากัน ก้านคลัตช์ ก้านเบรกที่มีมุมต่ำหรือสูงเกินไป จะส่งผลให้กล้ามเนื้อต้องทำงานมากเกินความจำเป็น การแก้ไข... ให้คุณลองปรับระดับมันใหม่ โดยนับระดับมือเบรกและครัชต์ขนานพื้นเป็น 0 องศา(ดูจากจุดยึดมือเบรกและครัชต์เป็นหลัก แล้วปรับมุมลดลงไป 5 องศา หรือไม่เกิน 10 ถ้ายังไม่เหมาะมือก็ปรับตามใจชอบในขั้นสุดท้าย
2.ระดับของคันเกียร์ และคันเบรกหลัง
ระดับของคันเกียร์ และคันเบรกหลัง ไม่เหมาะสมกับมุมของข้อเท้า เป็นปัญหาหลักที่ทำให้ให้คุณไม่สามารถวางปลายเท้าเหนือคันเกียร์คันเบรกได้อย่างสะดวก คุณจำเป็นต้องแก้ไขให้เหมาะกับลักษณะมุมปลายและท่อนขาช่วงล่างด้วย โดยเฉพาะฝั่งคันเบรกหลังหากคุณปรับตั้งเอาไว้สูงเกินไป ปลายเท้าคุณอาจจะแตะเบรกหลังไว้ตลอดโดยไม่รู้ตัว หรือฝั่งคันเกียร์ ถ้าหากวางมุมไม่เหมาะสม การลดเกียร์จะทำได้ช้ากว่าปรกติ เนื่องจาก ระบบประสาทอัติโนมัติจะถูกขัดขวางจากกล้ามเนื้อที่เกร็งอยู่ตลอดเวลา
3.การตกแต่งรถแบบ แหกคอก ก็เป็นปัญหา
การตกแต่งรถแบบ แหกคอก ก็เป็นปัญหา เช่นพวกรถโหลดโช้คฯหน้า ปาดเบาะ ยกท้าย ปาดถังน้ำมัน สิ่งเหล่านี้มีผลต่อตำแหน่งการขับขี่ทั้งสิ้น ถ้ารถคุณเป็นประเภทนี้ ขอแนะนำว่า ควรเปลี่ยนรถ หรือปรับทุกอย่างให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมก่อนเอามาฝึกหัด(ข้อหลังนี้ดูท่าจะเป็นไปไม่ได้มั๊งสำหรับนักเล่นบ้านเรา)
บันทึกการเข้า