|
|
|
|
|
|
mp423
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #46 เมื่อ: วันที่ 25 มีนาคม 2012, 08:50:31 » |
|
******การศึกษาเพื่อสร้างเส้นทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย มีมาตั้งแต่ปี 2503 โดนท่านทรงธรรม ปัญญาดี ผู้ล่วงลับ อดีต สส.เชียงราย พรรคชาติไทยได้ผลักดันอย่างเต็มที่จนมีการสำรวจเบื้องต้นในปี 2512 จากเด่นชัย-แพร่-สอง-เชียงม่วน-ดอกคำใต้-พะเยา-ป่าแดด-เชียงราย ระยะทางรวม 273 กิโลเมตร
.........ต่อมาปี 2537-2538 ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการทบทวนผลการศึกษาเดิมได้ข้อสรุปให้ก่อสร้างตามแนวเด่นชัย-แพร่-สอง-งาว (ลำปาง)-พะเยา-เชียงราย ระยะทางรวม 246 กิโลเมตร
.........กระทั่งปี 2539-2541 ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างเอกชนให้สำรวจออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบและปี 2547 ได้ว่าจ้างให้ศึกษาความเหมาะสมอีกครั้งเพื่อเชื่อมกับจีนตอนใต้ ซึ่งผลสรุปคือเส้นทางเดิมมีความเหมาะสมมากที่สุด ล่าสุด เมื่อ 17 พ.ย.52 คณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ได้มีมติเห็นชอบให้พัฒนาโครงข่ายระบบรางและให้บริการรถไฟของ รฟท.และเห็นชอบแผนการลงทุนระยะเร่งด่วนในวันที่ 27 เม.ย.2553 โดยมีรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย เป็นหนึ่งในแผนดังกล่าวควบคู่กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม สปป.ลาว-ไทย เข้าทาง จ.หนองคาย และเส้นทางอีสาน-มหาสารคาม-นครพนม มูลค่าทั้งหมด 176,808 แสนล้านบาท .......อย่างไรก็ตาม ในปี 2554 นายโสภณ ซารัมย์ รมว.กระทรวงคมนาคมได้จัดสรรงบประมาณราว 200 ล้านบาท เพื่อศึกษารถไฟรางคู่ต่อไปจนถึง อ.เชียงของ ชายแดนไทย-สปป.ลาว ระยะทาง 326 กิโลเมตร โดย รฟท.พึ่งลงนามจ้างเอกชนให้ศึกษาเมื่อวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา ระยะเวลาศึกษา 14 เดือน
........ขณะที่โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่าเรือแม่น้ำโขงมูลค่า 1,500 ล้านบาท อนุมัติให้ก่อสร้างสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธิ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ถนนโครงข่ายสะพานแม่น้ำโขง สะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชียงของ-ห้วยทราย ฯลฯ ล้วนเป็นโครงการที่อยู่ในแผนของรัฐบาลชุดก่อนๆ และพัฒนาการด้านงบประมาณมาตามลำดับจนถึงรัฐบาลปัจจุบัน
.......ดังนั้น การก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย ยังเป็นความฝันต่อไปเรื่อยเพราะว่ารัฐบาลชุดไหนเข้ามาจะต้องจัดงบประมาณมาทำการศึกษาสำรวจออกแบบกัน โดยไม่มีการอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างซักรัฐบาล งานนี้ สส.เชียงราย พรรคเพื่อไทยทั้ง 8 คนจะต้องช่วยกันผลักดัน ไม่ใช่ว่าพอได้เป็น สส.แล้วเงียบฉี่เช่นปัจจุบัน.....
ถูกต้องที่สุดในสามโลก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
mewlordose
ชั้นประถม

ออฟไลน์
กระทู้: 209
|
 |
« ตอบ #55 เมื่อ: วันที่ 25 มีนาคม 2012, 19:07:44 » |
|
เดาว่าในเมืองน่าจะแถวๆ ดอยสะเก็น ป่ายางมน ประมาณนี้แหละ มีนายทุนซื้อที่นาไว้รองรับแล้วกว่า 500 ไร่ ไว้คอยดูต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร จะมีรถไฟที่เชียงรายหรือไม่ แล้วจะสร้างความเจริญหรือ ชุมชนแออัดริมทางรถไฟ หรือปัญหามลพิษทางเสียง การจราจรทับซ้อนระหว่างถนนรถยนต์ กับทางรถไฟ ที่มักจะตัดทับซ้อนกันเสมอ ถ้ารถไฟผ่าน รถยนต์ก็ต้องหยุด มาดูข้อมูลต่อไปนี้ ครับพอสรุปนะครับ เกี่ยวกับรถไฟไทย รถไฟไทย เริ่มมีครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2429 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ช้ากว่าประเทศแรกอย่างอังกฤษ 70 กว่าปี กิจการรถไฟได้ดำเนินการเรื่อยมา พ.ศ.2471 ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่เปลี่ยนหัวรถจักรไอน้ำมาเป็นหัวรถจักรดีเซล ทำให้รถไฟไทยทันสมัยที่สุดในเอเชียปัจจุบัน การรถไฟไทยมีรูปแบบการบริหารเป็นแบบรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีหัวจักร 212 หัวจักร แต่วิ่งได้เพียง 135 หัวจักร และมีผลประกอบการขาดทุนปีละเกือบ 8,000 ล้านบาท ต่อเนื่องกันมาตลอด และมีหนี้สินสะสม 70,000 กว่าล้านบาท แล้วมาดูข้อมูลการรถไฟเพื่อนบ้านเราอย่างเวียดนามกันครับ เวียดนามกำลังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวความเร็วสูง (Hi-Speed Monorail) ซึ่งเมืองไทยยังไม่มี จะทำให้เวียดนามเป็นประเทศแรกในเขตอินโดจีน ที่มีรถไฟความเร็วสูง แล้วเมืองไทยจะเป็นอย่างไรครับ กับการคมนาคมขนส่งทางรถไฟของไทย แล้วเชียงรายจะเอารถไฟแบบไหนกันครับ เรามีสิทธิ์เลือกระบบรถไฟของคนเชียงรายได้หรือปล่าวครับ (แต่ไม่เอาแบบศาลากลางหลังเก่านะ) เห็นว่ากันว่า อยากให้เป็นระบบรถไฟฟ้าพลังชีวมวล ก็ยัง งง งง อยู่ว่าเป็นอย่างไร ใช้พลังงานอะไร ขอชาวเชียงรายได้มีส่วนร่วมในการสร้างทางรถไฟของเราได้หรือปล่าวครับ ช่วยกันแสดงความคิดเห็นกันครับ credit ข้อมูลบางส่วน : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=461439ชีวมวล คืออะไรไม่ทราบ ทราบแต่ว่ามีคนอิ่มเพราะชีวมวลเยอะแน่นอน 
|
|
|
|
|
|
Mr.e30
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #58 เมื่อ: วันที่ 28 มีนาคม 2012, 09:57:09 » |
|
ที่แน่ๆตอนนี้ที่นาที่สวนของข้าพเจ้า โดนรางวัดเรียบร้อยแล้ว เซงเลยต้องหาที่ใหม่ทำมาหากิน ทำไมไม่ไปที่อื่นก็ไม่รู้ที่ยิ่งน้อยๆ อยู่ด้วย โดนผ่ากลางเลย
|
|
|
|
|