เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 20:37:35
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  แมนสรวงกับแม่สรวยเป็นที่เดียวกันรึป่าว??
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน แมนสรวงกับแม่สรวยเป็นที่เดียวกันรึป่าว??  (อ่าน 5635 ครั้ง)
pranpriya
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 65



« เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2011, 17:40:26 »

คือในเรื่องลิลิตพระลอ พระลอเป็นคนนครแมนสรวง จะเป็นไปได้มั๊ยคะที่ว่าเมื่องแมนสรวงคือแม่สรวยในปัจจุบัน สงสัยมากมายค่ะ = ="
IP : บันทึกการเข้า
ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,466



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2011, 18:28:19 »

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม บ่น่าจะแม่
IP : บันทึกการเข้า

..............
shiff2007
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,150



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2011, 19:51:31 »

อาจจะเป็นไปได้เหมือนกันนะครับ
เพราะเคยได้ยินข้อมูลลักษณะนี้มาก่อนในช่วงที่ทำงานที่อำเภอแม่สรวย
ถ้าอยากได้ข้อมูลในเรื่องนี้  ต้องลองไปสอบถามข้อมูลคนเฒ่าคนแก่แถวๆ
ตำบลเจดีย์หลวง หรือตำบลป่าแดด ดูนะครับ

อำเภอแม่สรวย มีเรื่องราวต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ให้น่าติดตามมากมาย
รวมทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เปรียมเหมือนเป็น
เพชรที่จมอยู่ในโคลนตม รอวันที่มีคนนำมาล้างและขัดถูเอาคราบไคลออก
รับรองว่า อำเภอปายที่ว่าแน่ ๆ แพ้กระจุยครับ เสียดายที่ไม่มีใครลงมือทำ
แม้แต่คนในพื้นที่เองก็เฉยต่อเรื่องเหล่านี้ ... เสียดายจริงๆ ครับ

เอาตัวอย่างง่าย ๆ
อำเภอแม่สรวย เป็นอำเภอเดียวในจังหวัดเชียงราย
ที่มีพระมหากษัตริย์ของไทยเสด็จมาถึง 3 พระองค์

พระองค์แรก คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  เสด็จมาตั้งทัพก่อนไปตีพม่า
ซึ่งเป็นการยกทัพครั้งสุดท้ายในสมัยของพระองค์ท่าน ก่อนที่จะทรงประชวร
และสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา ....

พระองค์ที่สอง คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 6
ทรงเสด็จประพาสจากเวียงเชียงราย ไปยังจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เส้นทาง
ผ่านบ้านห้วยส้าน อำเภอแม่ลาวในปัจจุบัน โปรดให้ตั้งพลับพลาที่ประทับ
หมู่บ้านนั้นจึงเรียกกันว่า บ้านห้วยส้านพลับพลา  เมื่อเสด็จผ่านเส้นทาง
อำเภอแม่สรวย ได้มีประชาชนนำต้นโพธิ์ (ต้นศรี) มาปลูกสองฝั่งถนนเส้นทางเสด็จ
เพื่อความเป็นสิริมงคล หมู่บ้านนั้นจึงมีชื่อว่า ศรีถ้อย (ศรี - ต้นโพธิ์ / ถ้อย - แถว)
เมื่อขบวนเสด็จผ่านมาถึงบ้านท่าก๊อ จึงโปรดให้ตั้งพลับพลาที่ประทับ
หมู่บ้านนั้นจึงมีชื่อว่า ท่าก๊อพลับพลามาจนถึงปัจจุบันนี้  และเมื่อขบวนเสด็จ
มาถึงบริเวณบ่อน้ำร้อนแม่ขะจาน ทรงโปรดฯ ให้มีการจารึกตัวอักษรและข้อความไว้
ซึ่งปัจจุบัน มีการพัฒนาสถานที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ไม่ทราบว่า ยังเก็บรักษาไว้หรือไม่

พระองค์ที่สาม คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน พร้อมด้วย
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ พระบรมราชินีนาถ  ทรงโปรดฯ ให้มีการตั้งราชวัตร
พร้อมเครื่องราชบวงสรวง เพื่ออุทิศถวายแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
ณ บริเวณโรงเรียนอนุบาลแม่สรวยในปัจจุบัน

ส่วนเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีสถานที่ทางธรรมชาติให้เลือกพักผ่อน
ตามความต้องการอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น บ้านแม่น้ำขุ่น ตำบลท่าก๊อ ซึ่งเป็นที่ตั้ง
ของโครงการหลวง ปัจจุบัน มีชื่อในการปลูกท้อ ลูกพลับ ฯลฯ บ้านเล็กป่าใหญ่ ตำบลป่าแดด
พื้นที่ทรงงานในพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ พระบรมราชินีนาถ  สุสานโบราณ
คำบลป่าแดด (กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์) กลุ่มคนเฒ่าคนแก่
ตำบลป่าแดด จุดเริ่มต้นของเล่นเด็กแบบบ่าเก่า จุดเริ่มต้นของคำว่าเตาะแตะ ต้วมเตี้ยม
(เด็กๆ ดูแลคนเฒ่าคนแก่) บ่อน้ำร้อนโป่งปูเฟือง เขื่อนแม่สรวย ตำบลแม่สรวย 
และพื้นที่ท่องเที่ยวหลักตำบลวาวี .... คอกาแฟคอชา คงจะเคยลิ้มรสชาดของกาแฟวาวี
ชาวาวี และกาแฟดอยช้าง  ดอยกาดผี ดอยช้าง ฯลฯ

ไปอยู่แม่สรวยมา 6 ปี ยังศึกษาข้อมูลไม่ครบเลย  น่าเสียดายครับ

แม่สรวย เมืองแห่งเพชรในตม ....
IP : บันทึกการเข้า

โบราณว่า ไม้ใหญ่ย่อมเจอขวานคม คนเด่นต้องมีคนด่า
คนมีปัญญาจึงมีคนลองดี คนทำงานดีจึงมีคนริษยา
shiff2007
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,150



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 02 กันยายน 2011, 19:36:34 »

ท่านใดมีข้อมูลเอามาแบ่งปันกันนะครับ
IP : บันทึกการเข้า

โบราณว่า ไม้ใหญ่ย่อมเจอขวานคม คนเด่นต้องมีคนด่า
คนมีปัญญาจึงมีคนลองดี คนทำงานดีจึงมีคนริษยา
เด็กชาววัง(หงส์)แพร่
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 325



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 07 กันยายน 2011, 17:16:45 »

พระลอเมื่อเสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องำพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่แก้วของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอเพื่อเตือนภัย แต่พระลอเห็นความงามของนางทั้งสองจึงไม่ยอมกลับไปแต่สุดท้ายพระลองก็ ต้องกลับไปพร้อมให้สัญญาว่าจะกลับมาหาอีก วันหนึ่งรื่นและโรยเข้ามาในตำหนักและบอกว่ามีพระลอมาขอเข้าเฝ้า นางเห็นว่าถ้าพระลอออกไปก็อันตรายจึงพาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระ แพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย

อยู่ที่จังหวัดแพร่
อ.สอง ดังรายละเอียดนี้ครับ
ตำนานรักพระลอ เป็นนิยายรักอมตะ ที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งที่เขียนไว้ในวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ เชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในเขตอำเภอสอง จังหวัดแพร่ เพราะมีหลักฐานหลายอย่างสอดคล้องกันเช่น เมืองสรอง ซึ่งเป็นเมืองของพระเพื่อนพระแพงผู้เลอโฉม สันนิษฐานว่าคือ เมืองสอง(อ.สอง) ของจังหวัดแพร่ในปัจจุบัน มีแม่น้ำกาหลงไหลผ่าน มีเด่นนางฟ้อน บ้านแดนชุมพล ถ้ำปู่เจ้าสมิงพราย ผาปี่ผาน้อง และที่เวียงสรองยัง ปรากฎซากแนวกำแพงเมืองถึง ๓ ชั้น ให้เห็นอย่างชัดเจน ส่วนบริเวณที่ติดกับอำเภอสองคือจังหวัดพระเยา มีทุ่งลอ นักวิชาการเชื่อกันว่าเป็นดินแดนเมืองแมนสรวงของพระลอ เมื่อคิดคำนวณระยะทางในการเดินทัพของพระลอมายังเมืองสรอง ในยุคนั้น ก็ใกล้เคียงสอดคล้องกับที่พรรณนาไว้ในลิลิตพระลอ จึงน่าเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในอาณาเขตจังหวัดแพร่ น่าน พะเยา และลำปาง


* 0161.jpg (221.55 KB, 600x800 - ดู 1603 ครั้ง.)

* palosong.gif (143.88 KB, 600x450 - ดู 1486 ครั้ง.)

* big.jpg (189.69 KB, 750x500 - ดู 7085 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 07 กันยายน 2011, 17:28:45 โดย เด็กชาววัง(หงส์)แพร่ » IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 08 กันยายน 2011, 18:51:25 »

แม่สรวย บ่แม่นเลย
แหมข้อหนึ่ง ตำนาน หรือประวัติศาสตร์ล้านนา พระนเรศ บ่เกยมาแม่สรวยครับ
ถ้าเชียงดาว ผ่านครับ
IP : บันทึกการเข้า
konrukmear
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 565



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 16 กันยายน 2011, 10:55:10 »

สมัยป้อเป๋นหนุ่ม  ตี๋มวย  เปิ้นใจ้จื่อ ลานทอง ส.แมนสรวง  อี้ว่ะ
IP : บันทึกการเข้า
shiff2007
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,150



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 16 กันยายน 2011, 13:40:54 »

แม่สรวย บ่แม่นเลย
แหมข้อหนึ่ง ตำนาน หรือประวัติศาสตร์ล้านนา พระนเรศ บ่เกยมาแม่สรวยครับ
ถ้าเชียงดาว ผ่านครับ

เมื่อก่อนก็เคยคิดแบบนี้แหละครับ
แต่เมื่อได้เห็นภาพในหลวงพร้อมพระราชินี
เสด็จมาอำเภอแม่สรวย เพื่อตั้งพิธีหลวงถวายเครื่องราชบวงสรวง
แด่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประมาณปี 2512 (อาจจะคลาดเคลื่อนครับ)
ผมเชื่อเต็มร้อยเลยว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยยกกองทัพและมาพักทัพ
ในพื้นที่อำเภอแม่สรวย  เพราะถ้าไม่เชื่อข้อมูลของทางทหาร ที่กราบทูลเสนอ
กระทั่งพระองค์ท่านเสด็จมาถวายเครื่องราชบวงสรวง  ก็ไม่รู้จะว่ายังไงละครับ
IP : บันทึกการเข้า

โบราณว่า ไม้ใหญ่ย่อมเจอขวานคม คนเด่นต้องมีคนด่า
คนมีปัญญาจึงมีคนลองดี คนทำงานดีจึงมีคนริษยา
ธารตะวัน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,179


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 30 สิงหาคม 2012, 21:40:55 »

ลองศึกษาเรื่องลิลิตพระลอดูคับ แล้วคิดจินตนาการดูคับว่าอันใหนน่าจะเป็นไปได้ที่สุด
IP : บันทึกการเข้า
teetee2011
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 664


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 05 กันยายน 2012, 06:37:51 »

แม่สรวย บ่แม่นเลย
แหมข้อหนึ่ง ตำนาน หรือประวัติศาสตร์ล้านนา พระนเรศ บ่เกยมาแม่สรวยครับ
ถ้าเชียงดาว ผ่านครับ

เมื่อก่อนก็เคยคิดแบบนี้แหละครับ
แต่เมื่อได้เห็นภาพในหลวงพร้อมพระราชินี
เสด็จมาอำเภอแม่สรวย เพื่อตั้งพิธีหลวงถวายเครื่องราชบวงสรวง
แด่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประมาณปี 2512 (อาจจะคลาดเคลื่อนครับ)
ผมเชื่อเต็มร้อยเลยว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยยกกองทัพและมาพักทัพ
ในพื้นที่อำเภอแม่สรวย  เพราะถ้าไม่เชื่อข้อมูลของทางทหาร ที่กราบทูลเสนอ
กระทั่งพระองค์ท่านเสด็จมาถวายเครื่องราชบวงสรวง  ก็ไม่รู้จะว่ายังไงละครับ
  ครับผมเชื่อ1.000.000 %  เหตุผลเพราะอย่างนั้นพระองค์ท่านทั้งสองพระองค์ถึงเสด็จมาบวงสรวงเมือ 2512 แน่นอนเพราะผมเป๋นละอ่อนแถ่วแล้วยังไปชมพระบารมีอยู่เลย และยังมีในหนังสือประวัติสมเด็จพระนเรศวรอยู่เลย  จัดทำโดยตอนนั้นรู้สึกจะเป็นหลวงพ่อโกเมศ  (อดีตปลัดอำเภอแม่สรวย ท่านคงเห็นในข้อมูลเชียงรายในอดีต  ตอนนี้ท่านได้บวชเป็นระอยู่แถว อ.เวียงเชียงรุ้งไป ๆ มาระหว่างแม่สรวย ครับ) อีกอย่างไม่อย่างนั้นทางการจะไม่มมาตั้งศาลพระนเรศวรที่อำเภอแม่สรวย และ ในที่นี้ขอข้อเหตผลข้อโต้แย้งของท่าน แมงคอลั่นด้วยครับ (เพราะท่านมั่นใจมากว่า บ่แม่นเลย) เพื่อที่จะได้ศึกษาเพิ่มเติมข้อมูลจริง ในการนำมาหักล้างข้อมูลเดิมครับ 
IP : บันทึกการเข้า
ล้อล้านนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 444


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 05 กันยายน 2012, 22:49:06 »

ผมกล้าหักล้าง และเคยหักล้างกับพระปลัดโกเมศมาแล้วครับ สอบถามเพื่อนรุ่นๆ เดียวกันกับปลัดโกเมศในสมัยนั้นได้ ขออนุญาตอ้างอิง อ.ชรินทร์ แจ่มจิตต์, อ.บุญยัง ชุมศรี, อ.อินทร์ สุใจ ทั้งสามท่านแย้งหัวเด็ดตีนขาดว่าทัพพระนเรศวรไม่เคยผ่านทางนี้ กรณีอำเภอแม่สรวย อดีตตั้งชื่ออำเภอว่า อำเภอแม่พริก เกิดน้ำท่วมที่ว่าการอำเภอ เลยย้ายมาตั้งข้างแม่น้ำ "แม่ซ่วย" ซ่วย แปลว่า ล้าง ตามตำนานชื่อแม่น้ำที่พระพุทธเจ้ามา ซ่วยพระพักตร์ (ล้างหน้า) ชาวสยามที่ได้มาเป็นข้าราชการฟังผิดเพี้ยน เลยเรียกตามใจปากว่า แม่สวย แถมยังไม่พอเอา ร มาใส่อีก มีความหมายก็หาไม่ ย้อนไปศาลพระนเรศวร เนื่องจากผู้คัดค้านมิได้มีอำนาจหน้าที่ทางราชการ แต่ "เถียงบ่แป้" กับท่านปลัดโกเมศ ซึ่งได้นำเหตุผลซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับมาทำเป็นหนังสือส่งราชการเป็นผลงานของปลัดอำเภอขณะนั้น จึงของบประมาณมา และได้จัดตั้งศาล ส่วนฝ่ายการทหารท่านก็คงเห็นว่ามีข้อมูลเช่นนั้น เลยกราบทูลในหลวง แต่หาได้ฟังข้อมูลของคนพื้นถิ่นหรือนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่ เรื่องการเสด็จมาบวงสรวงของในหลวงใช่ว่าจะยืนยันประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ หากใครอยากได้ข้อมูลหักล้างผมยินดีทุกด้าน กรณี "กิ่วตั๊บยาง" ก็มีผู้คนผูกโยงไปถึง "ทัพพระนเรศวร" มาพักมายั้งที่นั่นอีกด้วย เห้อออออออออออ ดอยกิ่วป่าต้นยางเป็นตั๊บ วันนี้กลายเป็น กิ่วทัพยั้ง ไปแล้วววววววว
IP : บันทึกการเข้า
teetee2011
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 664


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 05 กันยายน 2012, 23:11:15 »

ผมกล้าหักล้าง และเคยหักล้างกับพระปลัดโกเมศมาแล้วครับ สอบถามเพื่อนรุ่นๆ เดียวกันกับปลัดโกเมศในสมัยนั้นได้ ขออนุญาตอ้างอิง อ.ชรินทร์ แจ่มจิตต์, อ.บุญยัง ชุมศรี, อ.อินทร์ สุใจ ทั้งสามท่านแย้งหัวเด็ดตีนขาดว่าทัพพระนเรศวรไม่เคยผ่านทางนี้ กรณีอำเภอแม่สรวย อดีตตั้งชื่ออำเภอว่า อำเภอแม่พริก เกิดน้ำท่วมที่ว่าการอำเภอ เลยย้ายมาตั้งข้างแม่น้ำ "แม่ซ่วย" ซ่วย แปลว่า ล้าง ตามตำนานชื่อแม่น้ำที่พระพุทธเจ้ามา ซ่วยพระพักตร์ (ล้างหน้า) ชาวสยามที่ได้มาเป็นข้าราชการฟังผิดเพี้ยน เลยเรียกตามใจปากว่า แม่สวย แถมยังไม่พอเอา ร มาใส่อีก มีความหมายก็หาไม่ ย้อนไปศาลพระนเรศวร เนื่องจากผู้คัดค้านมิได้มีอำนาจหน้าที่ทางราชการ แต่ "เถียงบ่แป้" กับท่านปลัดโกเมศ ซึ่งได้นำเหตุผลซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับมาทำเป็นหนังสือส่งราชการเป็นผลงานของปลัดอำเภอขณะนั้น จึงของบประมาณมา และได้จัดตั้งศาล ส่วนฝ่ายการทหารท่านก็คงเห็นว่ามีข้อมูลเช่นนั้น เลยกราบทูลในหลวง แต่หาได้ฟังข้อมูลของคนพื้นถิ่นหรือนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่ เรื่องการเสด็จมาบวงสรวงของในหลวงใช่ว่าจะยืนยันประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ หากใครอยากได้ข้อมูลหักล้างผมยินดีทุกด้าน กรณี "กิ่วตั๊บยาง" ก็มีผู้คนผูกโยงไปถึง "ทัพพระนเรศวร" มาพักมายั้งที่นั่นอีกด้วย เห้อออออออออออ ดอยกิ่วป่าต้นยางเป็นตั๊บ วันนี้กลายเป็น กิ่วทัพยั้ง ไปแล้วววววววว
   ขอบคุณสำหรับข้อหักล้างนะครับขอยอมแพ้  ถ้าจะอั้นแล้วเฮาจะฮู้ได้จะใดว่าผ่านกาว่าบ่าผ่าน เฮาฮุ้ได้จะไดว่าไปแว่ตี๊ถ้ำเจียงดาว เฮาฮุ้ได้จะไดว่า  พระมาลาตี๊เวียงแหงเป็นของพระองค์ท่านครับ  หรือว่ามีหลักฐานอันใดตี๊พอเจื่อถือได้ 100 %  หรือเป็นเพียงสมติฐานเท่านั้น  แล้วอาจารย์ทั้งสามท่านนั้น (ต้องขอโทษด้วยหากถือว่าเป็นการล่วงเกิน) ได้เคยร่วมอยู่ในขบวนเสด็จ หรือว่าได้ข้อมูลจากญาติพี่น้องของพระองค์ท่านหรือเหล่านายทหารที่ออกรบกับท่านในครั้งนั้นที่ยังมีชีวิตหลงเหลืออยู่ในขณะนี้  หรือท่านใดท่านหนึ่งมีญาณบารมีแก่กล้าที่สื่อกับพระองค์ท่านได้  หรือเป็นคำบอกเล่าของร่างทรง   ถึงได้กล้าฟันธงเช่นนั้น  หากเป็นเพียงสมมติฐาน   แล้วทำถึงกล้าฟันธงว่าสมมติฐานของท่านอื่นนั้นไม่ใช่    (ต้องขอโทษอีกครั้งนะครับผมไม่เก่งในเรื่องประวัติศาสตร์จึงขอน้อมรับคำตัดสินของท่านผู้รู้)
IP : บันทึกการเข้า
ล้อล้านนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 444


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2012, 08:57:54 »

ข้อมูลทางทหารเมื่อ พ.ศ. 2510 กับข้อมูล พ.ศ. 2555 ต่างกันลิบลับครับ มีการศึกษาเส้นทางเดินทัพของพระนเรศ ประกอบเอกสารพงศาวดารเรียบร้อยครับ และกรมแผนที่ทหารก็ได้ทำกราฟฟิคเส้นทางไว้เรียบร้อย โดยใช้เส้นทางเข้าไปเมืองแหง(เวียงแหง) ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงระหว่าง จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย และพระองค์ท่านได้ทรงประชวรโดยตำราหนึ่งบอกว่าเป็นฝีดาดที่หน้าผาก อีกตำราบอกว่าถูกแมลง(ตัวต่อ)ต่อยเข้าที่ใบหน้า แต่จะตำราไหนพระองค์ก็ประชวร ณ ที่นี้ได้สวรรคตในที่สุด ลองดูจากแผนที่ทางอากาศก็ได้ครับ จะมาจากอยุธยาแล้วแวะมาพักแม่สรวยจะทำให้เสียเวลามาก จุดมุ่งหมายคือบริเวณชายแดนพม่าปัจจุบัน ผมศึกษาเรื่องนี้มาพอสมควร และเป็นคำติดปากของนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอยู่ตลอดว่า "พระนเรศวรมาแม่สรวยได้เพราะปลัดโกเมศ" ท่านไปเป็นปลัดอำเภอที่ไหนก็จะพาพระนเรศไปด้วยตลอดครับ
IP : บันทึกการเข้า
ล้อล้านนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 444


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2012, 09:22:27 »

สมเด็จพระนเรศวรตัดสินพระทัยกรีธาทัพใหญ่ ๑ แสนไปโจมตีอังวะ หากคราวนี้ไม่ทรงเสี่ยงกับเส้นทางเดินทัพเดิมที่ต้องผ่านหัวเมืองมอญ แต่ทรงเปลี่ยนไปเดินทัพในพระราชอาณาเขตแทน โดยเคลื่อนทัพขึ้นไปทางภาคเหนือซึ่งปลอดภัยจากการถูกโจมตีแนวหลัง แล้วไปหยุดบำรุงรี้พลที่เชียงใหม่ ๑ เดือน ก่อนจะโปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรถยกทัพหน้าไปเมืองฝางแล้วเกณฑ์กำลังเพิ่มจาก หัวเมืองไทใหญ่เพื่อให้ทัพหน้ามีกำลังพลถึงแสนคน


จากเชียงใหม่ไปอังวะมีเส้นทางซึ่งเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา ๒ เส้นทางที่ใช้เดินทัพได้ เส้นทางที่ ๑ เป็นเส้นทางตามสายน้ำแม่ปิงผ่านอำเภอเชียงดาวไปสู่ช่องกิ่วผาวอก เข้าสู่แดนไทใหญ่ เส้นทางที่ ๒ คือถนนสายเก่าที่เรากำลังใช้อยู่นี้ ซึ่งอาศัยที่ราบริมสายน้ำแม่แตงเดินทางไปท่ามกลางภูเขาสูง สู่เมืองกื๊ด เมืองคอง และเมืองแหง เป้าหมายของสมเด็จพระนเรศวรต่อจากเมืองแหงคือผ่านช่องหลักแต่ง ทะลุไปเมืองเต๊าะ ไปเมืองทาซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองร้าง แล้วก็จะถึงบริเวณสบจ๊อด (บริเวณที่แม่น้ำจ๊อดไหลลงแม่น้ำสาละวิน) แล้วไปข้ามฝั่งที่ท่าผาแดง ที่นั่นแม่น้ำจะกว้างราว ๗๐ เมตร เป็นจุดที่แม่น้ำแคบที่สุดของแถบนั้น ข้ามน้ำที่นั่นแล้วจึงไปเมืองปั่น เมืองนาย แล้วก็ไปเมืองลางเคอ จากเมืองลางเคอก็ทะลุสู่เมืองอังวะ ซึ่งผมเชื่อว่าทรงใช้เส้นทางนี้มากกว่าเส้นทางแรก

ส่วนกรณีสวรรคตที่เมืองหางนั้น ถ้าพิจารณาตามพงศาวดารส่วนใหญ่ที่บันทึกว่า สมเด็จพระนเรศวรทรงให้สมเด็จพระเอกาทศรถยกทัพหน้าไปก่อนพระองค์ถึง ๗ วัน โดยไปรวมพลที่เมืองฝาง ถ้าดูตามแผนที่ หากทัพหลวงอยู่ที่เมืองหางขณะพระองค์สวรรคตจริงก็เท่ากับทัพหลวงอยู่เหนือ ขึ้นไปจากเมืองฝางอันเป็นที่ตั้งทัพหน้า ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้เพราะผิดหลักการทำสงคราม

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมาถึงเมืองแหง ผมคิดว่าพระองค์ไม่ได้ประทับที่คุ้มเจ้าเมือง แต่น่าจะทรงเดินทัพไปที่ ทุ่งดอนแก้ว จากการคำนวณ หลังออกจากเชียงใหม่พระองค์หยุดที่นั่นพอดีในคืนที่ ๖ ผมจึงตีความอย่างนี้ครับ ทุ่ง คือ นาที่เราเห็น ดอน คือ เนิน แก้ว หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือพระธาตุแสนไห นอกจากนี้ในบริเวณเดียวกันยังมีการค้นพบบ่อน้ำช้างศึกด้วย ซึ่งแสดงว่าเคยมีกองทัพมาหยุดพักอยู่ที่นี่

หากเรื่องนี้เป็นความจริง เมื่อ ๔๐๑ ปีก่อน วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๑๔๘ ทัพหลวงของสมเด็จพระนเรศวรก็น่าจะหยุดอยู่ที่ เมืองแหง ตำบลทุ่งดอนแก้ว และเพลานั้นเอง สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงประชวรเป็นฝีระลอกขึ้นที่พระพักตร์ ก่อนที่พระอาการจะทรุดลงอย่างรวดเร็ว

สองวันต่อมา ม้าเร็วถูกส่งไปเมืองฝางแจ้งข่าวพระอาการประชวรให้สมเด็จพระอนุชาทรงทราบ

๒๐ เมษายน ๒๑๔๘ ม้าเร็วจากเมืองฝางกลับมาถึงทัพหลวง สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จขึ้นเฝ้าพระอาการพระเชษฐา ทัพหน้าที่เมืองฝางหยุดเคลื่อนทัพ

๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเอกาทศรถทรงอัญเชิญพระบรมศพกลับสู่กรุงศรีอยุธยา ก่อนจะถวายพระเพลิงอย่างยิ่งใหญ่ในกาลต่อมา

ลองใช้ความเป็นจริงเข้าพิจารณาอย่างละเอียดนะครับ ตัดอคติต่างๆ ออกทั้งหมดก่อนแล้วจะเห็นว่ายังไงๆ ก็ไม่เกี่ยวกับอำเภอแม่สรวยแต่าอย่างใดครับ


* newMap.jpg (270.64 KB, 283x388 - ดู 1143 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 กันยายน 2012, 09:25:19 โดย ล้อล้านนา » IP : บันทึกการเข้า
60RADIO
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 807

60RADIO


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2012, 11:06:25 »

จากแมนสรวงกับแม่สรวยกลายเป็น เรียนประวัติศาตร์เลย ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

60RADIO 79/243 หมู่ 22 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย
ติดตั้ง ระบบFire Alarm, GPS ติดตามรถ, ซ่อมกล่อง ECU, วิทยุสื่อสาร, กล้องวงจรปิด และ อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยในอาคาร
Phone&line; 089 556 3228
hollboot
จะตามฝันหรือจะมุ่งมั่นเพื่อให้ได้ฝันมาครอง..อยู่ที่คุณ....
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 254


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2012, 11:13:24 »

เน็ตขนาดท่านล้อล้านนา...ผมชอบประวัติศาตร์ล้านนาและก็ได้รู้จักรู้จริงก่ะท่านเนี่ย..
ขอบคุณจ๋าดนักครับ
IP : บันทึกการเข้า
ล้อล้านนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 444


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2012, 14:19:19 »

เน็ตขนาดท่านล้อล้านนา...ผมชอบประวัติศาตร์ล้านนาและก็ได้รู้จักรู้จริงก่ะท่านเนี่ย..
ขอบคุณจ๋าดนักครับ

ขอบคุณครับ ผมก็บ่ได้เก่งครับ แต่ศึกษาเอา ใช้เหตุใช้ผล ประวัติศาสตร์บ้านเฮา คนบ้านเฮาย่อมฮู้ดีกว่า แต่คนบ้านเฮาบ่ค่อยจะสนใจประวัติศาสตร์ตัวเก่า อาจเป็นเพราะประวัติศาสตร์ส่วนกลางได้เข้ามามีบทบาทในระบบการศึกษา เฮาเลยบ่ฮู้จักตัวเก่าเลย อย่างบ้านเฮา "พระเจ้าตัวเก่าบ่แป๋ง" เช่น พญามังราย พญาไชยสงคราม พญาแสนภู ฯลฯ เจ้าธรรมลังกา เจ้าอุ่นเรือน เจ้าสุรยะ เจ้าเมืองไชย ฯลฯ ผู้ที่มีบุญคุณต่อแผ่นดินเชียงราย กลับบ่ค่อยหันไผแป๋งอนุสาวรีย์หื้อเปิ้นเลย แต่ "พระเจ้าแห่งอยุธยาและสยามประเทศ" มีอยู่เกือบกู่ตี้ในแผ่นดินเชียงราย ลองกึ๊ดผ่อเต๊อะครับ ส่วนเรื่อง "แมนสรวง แม่สรวย" มีข้อมูลอยู่พอสมควรครับ เกยมีคนพยายามผูกโยงเรื่องนี้ใกล้เคียง มีส่วนเป็นไปได้ และเป็นไปไม่ได้ ว่างๆ ผมจะนำเสนอใหม่ครับ
IP : บันทึกการเข้า
novabizzzzz
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 199


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2012, 18:46:47 »

ผมกล้าหักล้าง และเคยหักล้างกับพระปลัดโกเมศมาแล้วครับ สอบถามเพื่อนรุ่นๆ เดียวกันกับปลัดโกเมศในสมัยนั้นได้ ขออนุญาตอ้างอิง อ.ชรินทร์ แจ่มจิตต์, อ.บุญยัง ชุมศรี, อ.อินทร์ สุใจ ทั้งสามท่านแย้งหัวเด็ดตีนขาดว่าทัพพระนเรศวรไม่เคยผ่านทางนี้ กรณีอำเภอแม่สรวย อดีตตั้งชื่ออำเภอว่า อำเภอแม่พริก เกิดน้ำท่วมที่ว่าการอำเภอ เลยย้ายมาตั้งข้างแม่น้ำ "แม่ซ่วย" ซ่วย แปลว่า ล้าง ตามตำนานชื่อแม่น้ำที่พระพุทธเจ้ามา ซ่วยพระพักตร์ (ล้างหน้า) ชาวสยามที่ได้มาเป็นข้าราชการฟังผิดเพี้ยน เลยเรียกตามใจปากว่า แม่สวย แถมยังไม่พอเอา ร มาใส่อีก มีความหมายก็หาไม่ ย้อนไปศาลพระนเรศวร เนื่องจากผู้คัดค้านมิได้มีอำนาจหน้าที่ทางราชการ แต่ "เถียงบ่แป้" กับท่านปลัดโกเมศ ซึ่งได้นำเหตุผลซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับมาทำเป็นหนังสือส่งราชการเป็นผลงานของปลัดอำเภอขณะนั้น จึงของบประมาณมา และได้จัดตั้งศาล ส่วนฝ่ายการทหารท่านก็คงเห็นว่ามีข้อมูลเช่นนั้น เลยกราบทูลในหลวง แต่หาได้ฟังข้อมูลของคนพื้นถิ่นหรือนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่ เรื่องการเสด็จมาบวงสรวงของในหลวงใช่ว่าจะยืนยันประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ หากใครอยากได้ข้อมูลหักล้างผมยินดีทุกด้าน กรณี  ก็มีผู้คนผูกโยงไปถึง "ทัพพระนเรศวร" มาพักมายั้งที่นั่นอีกด้วย เห้อออออออออออ ดอยกิ่วป่าต้นยางเป็นตั๊บ วันนี้กลายเป็น กิ่วทัพยั้ง ไปแล้วววววววว

อ๋อ อ้ายแม่นคนตี่มาบรรยายเรื่องล้านนาตี่ราชภัฎ เอกอุตแอ่วฯ แน่นอน จ๋ำได๋ เรื่องแม่ซ่วย กับ กิ่วตั๊บยาง จำแม่น 555
IP : บันทึกการเข้า
ล้อล้านนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 444


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2012, 20:55:06 »

ผมกล้าหักล้าง และเคยหักล้างกับพระปลัดโกเมศมาแล้วครับ สอบถามเพื่อนรุ่นๆ เดียวกันกับปลัดโกเมศในสมัยนั้นได้ ขออนุญาตอ้างอิง อ.ชรินทร์ แจ่มจิตต์, อ.บุญยัง ชุมศรี, อ.อินทร์ สุใจ ทั้งสามท่านแย้งหัวเด็ดตีนขาดว่าทัพพระนเรศวรไม่เคยผ่านทางนี้ กรณีอำเภอแม่สรวย อดีตตั้งชื่ออำเภอว่า อำเภอแม่พริก เกิดน้ำท่วมที่ว่าการอำเภอ เลยย้ายมาตั้งข้างแม่น้ำ "แม่ซ่วย" ซ่วย แปลว่า ล้าง ตามตำนานชื่อแม่น้ำที่พระพุทธเจ้ามา ซ่วยพระพักตร์ (ล้างหน้า) ชาวสยามที่ได้มาเป็นข้าราชการฟังผิดเพี้ยน เลยเรียกตามใจปากว่า แม่สวย แถมยังไม่พอเอา ร มาใส่อีก มีความหมายก็หาไม่ ย้อนไปศาลพระนเรศวร เนื่องจากผู้คัดค้านมิได้มีอำนาจหน้าที่ทางราชการ แต่ "เถียงบ่แป้" กับท่านปลัดโกเมศ ซึ่งได้นำเหตุผลซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับมาทำเป็นหนังสือส่งราชการเป็นผลงานของปลัดอำเภอขณะนั้น จึงของบประมาณมา และได้จัดตั้งศาล ส่วนฝ่ายการทหารท่านก็คงเห็นว่ามีข้อมูลเช่นนั้น เลยกราบทูลในหลวง แต่หาได้ฟังข้อมูลของคนพื้นถิ่นหรือนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่ เรื่องการเสด็จมาบวงสรวงของในหลวงใช่ว่าจะยืนยันประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ หากใครอยากได้ข้อมูลหักล้างผมยินดีทุกด้าน กรณี  ก็มีผู้คนผูกโยงไปถึง "ทัพพระนเรศวร" มาพักมายั้งที่นั่นอีกด้วย เห้อออออออออออ ดอยกิ่วป่าต้นยางเป็นตั๊บ วันนี้กลายเป็น กิ่วทัพยั้ง ไปแล้วววววววว

อ๋อ อ้ายแม่นคนตี่มาบรรยายเรื่องล้านนาตี่ราชภัฎ เอกอุตแอ่วฯ แน่นอน จ๋ำได๋ เรื่องแม่ซ่วย กับ กิ่วตั๊บยาง จำแม่น 555

ขอบคุณครับที่จำกั๋นได้ อย่างที่อ้ายบอกด้วยเหตุด้วยผล ขอหื้อการบรรยายของอ้ายมีประโยชน์ และขอหื้อน้องๆ เอกอุตฯ แอ่ว ได้หื้อข้อมูลนักท่องเที่ยวอย่างถูกต้องตวยครับ
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2012, 23:34:14 »

คนล้านนาบ่าเดี่ยวใหญ่มาก็ได้เฮียนก้าประวัติศาสตร์คนใต้ครับ
ถ้าบ่เซาะกำฮู้คนเดียวก็บ่ฮู้ว่าประวัติศาสตร์ล้านนาเป๋นหยั่งใด


เวลาปะอะหยัง ก๋ารอธิบายของเขาก็เลยมีข้อจ๋ำกัดอยู่เฉพาะในกรอบประวัติศาสตร์น้ำเจ้าพระยา
เจ่น ปะศาลบ่มีประวัติ ก็บอกว่ากษัตริย์อยุธยามาแป๋ง
ขุดปะพระเจ้ากล๋างต้ง ก็บอกว่ากษัตริย์อยุธยามาแป๋ง
ขุดปะวัดห่าง (ร้าง) ก็บอกว่ากษัตริย์สุโขทัยมาแป๋ง
ฝันหันพญารบเก่งขนาด ก็บอกว่าเป๋นกษัตริย์อยุธยา
ฯลฯ

ถ้าได้เฮ๊ยนประวัติศาสตร์ล้านนา เขาจะมีกำอธิบายตี้หลากหลาย แลสมเหตุสมผลกว่านี้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!