เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 00:04:37
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  งานบ้านงานครัว คลีนิค ถามหมอ เรื่องสุขภาพ (ผู้ดูแล: แชทซาโนย่า กอยุ่ง~*-., ©®*)
| | |-+  แพทยศาสตร์วิทยา กว่าจะมาเป็นแพทย์
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน แพทยศาสตร์วิทยา กว่าจะมาเป็นแพทย์  (อ่าน 729 ครั้ง)
Telwada
CharlesJesOB
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


« เมื่อ: วันที่ 15 มีนาคม 2019, 16:06:16 »

แพทยศาสตร์ วิทยา กว่าที่จะมาเป็นแพทย์    โดย  “เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์”
   แพทยศาสตร์ วิทยา ในที่นี้ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับ แพทย์(หมอ)หลายสาขา สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เข้าศึกษา หรือที่ศึกษาจบแล้วทำงานแล้ว เพื่อให้ประชาชน นักเรียน ผู้สนใจอยากจะเรียนต่อคณะ แพทยศาสตร์ เพื่อได้ทำการรักษา ช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ และเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกิดกับประชาชนทั้งหลายที่อาจได้รับผลกระทบ จากการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ ตามสถานพยาบาลต่างๆพอสมควรกับความรู้ของข้าพเจ้า
   ท่านทั้งหลายคงเคยได้ยิน ได้รู้ข่าว เกี่ยวกับการที่ผู้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ตามสถานพยาบาลต่างๆ ได้รับผลกระทบจากข้อผิดพลาด หรืออาจไม่ใช่ข้อผิดพลาด แต่เกิดจากปัจจัยอื่น จนเกิดความสูญเสีย บางรายถึงขั้นเสียชีวิตไปก็มี บ้างก็เกิดเป็นคดีความ ร้องเรียนร้องทุกข์ให้เยียวยาหรือเรียกค่าเสียหาย จนทำให้รัฐบาลต้องบัญญัติกฎหมายเพื่อให้มีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษาจากแพทย์ อีกประการหนึ่งบทความนี้จะเป็นการสร้างความรู้เบื้องต้น เป็นการเตรียมตัว เตรียมความพร้อม สำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาใน คณะแพทยศาสตร์ เป็นความรู้เท่าที่ข้าพเจ้าจำได้หรือมีอยู่ บางอย่างบางประการต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติม   เพราะข้าพเจ้าไม่ได้เป็น แพทย์ เภสัชกร หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้เรียนมาทาง แพทยศาสตร์ แต่เป็นความรู้เก็บสั่งสมมา เผยแพร่เพื่อให้ประชาชน และนักเรียนนักศึกษาทั้งหลาย ได้มีความรู้ ความเข้าใจ เป็นพื้นฐาน อันจักเป็นการลดข้อขัดแย้ง ความไม่รู้ หรือเป็นการเสริมความรู้ ด้านแพทยศาสตร์เบื้องต้นให้นักเรียนนักศึกษารุ่นหลานเหลนโหลนทั้งหลาย
   กว่าที่จะมาเป็น แพทย์และการแพทย์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งหญิงและชายได้นั้น ต้องมีความพร้อมของผู้ที่จะเข้าศึกษาในหลายด้าน เริ่มตั้งแต่ ความชอบ ความรัก ความสนใจ ความมุ่งมั่น การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ผลการเรียน  และต้องเป็นผู้มีสติปัญญาที่ดีพอประมาณ ไม่ต้องถึงกับเก่ง เพียงมีความขยัน หมั่นทบทวน เพราะต้องใช้สมองในการจำ ต้องมีปฏิภาณไหวพริบ สามารถปรุงแต่ง  ผสมผสานความรู้ที่มีอยู่  เพื่อให้สามารถทำงานด้านนี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลอย่างดีที่สุด เพราะการเรียนแพทยศาสตร์นั้นต้องเรียนรู้ศึกษาจดจำในศาสตร์หลายแขนง ทั้งยังเป็นศิลปะที่ผู้เรียนต้องทำความเข้าใจถึงหลักการแห่งศิลปะหลายแขนง เพื่อเสริมเพิ่มความรู้ความเข้าใจและประสิทธิภาพในการทำงาน
   การศึกษาของ นักศึกษาแพทย์และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องนั้น ต้องอาศัยความจำ ความเข้าใจจากการศึกษาค้นคว้า จากประสบการณ์ จากการได้รู้เห็นและปฏิบัติจริง ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ความจำ ด้านกายวิภาคศาสตร์ ระบบการทำงานของอวัยวะตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ก่อนเริ่ม ปฏิสนธิ  ไปจนถึงมีอวัยวะครบถ้วน จวบจนแก่ชรา และเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งจำต้องเรียนรู้ความสัมพันธ์ของระบบการทำงานต่างๆหลายระบบ และในความรู้ความจำ ด้านกายวิภาคศาสตร์และระบบการทำงานของอวัยวะ ตำแหน่งที่ตั้ง ยังแจกแจงความรู้ ไปถึงขั้นการทำงานของระดับเซลล์แห่งอวัยวะต่างๆเหล่านั้น  หากไม่มีการทบทวน หรือขยันหมั่นเพียร หรือไม่มีสมองสติปัญญาที่ดีพอควรมาตั้งแต่เกิด หรือจากการได้รับการขัดเกลาทางการศึกษา ก็ยากที่เล่าเรียนศึกษาให้ผ่านพ้นหรือหากมีความเพียรก็ย่อมสามารถผ่านพ้นไปได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความคิดและสภาพจิตใจของแต่ละบุคคลว่าจะคิดว่ามัน ยากลำบาก หรือสนุกสนานท้าทายความสามารถ
   เมื่อเรียนรู้จดจำอวัยวะ ตำแหน่งที่ตั้งและการทำงานแล้ว ก็จะศึกษาถึงกระบวนการหรือปัจจัยที่ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสื่อม หรือบาดเจ็บ หรือเป็นโรค ว่าเกิดจากปัจจัยใดบ้าง อันนี้บรรดาเหล่าอาจารย์คงจะให้นักศึกษาได้เรียนรู้ค้นคว้า หาประสบด้วยตัวเอง เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยของผู้เข้ารับการรักษา การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวของนักศึกษาเองจะทำให้เกิดความจำ ความประทับใจ ความภูมิใจ หากสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้มานั้น ถูกต้อง ใกล้เคียง
นักศึกษาต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจและจดจำ ตำแหน่งที่ตั้ง ลักษณะอาการ การทำงานที่เป็นปกติของอวัยวะ และต้องเรียนรู้สภาพพยาธิวิทยาควบคู่กันไป เพื่อเป็นความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ที่ต้องใช้การจดจำ วิเคราะห์ หรือวินิจฉัยเป็นอย่างมาก
   นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไป นักศึกษาแพทย์ ยังต้องเรียนรู้ศึกษาด้าน เวชศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และอื่นๆอีกหลายด้าน ต้องรู้จักจดจำชื่อของตัวยาต่างๆมากมาย และต้องรู้จักฤทธิ์ของยา การออกฤทธิ์ของยา จำนวนหรือขนาด เวลาหรือความถี่ในการให้ยา ลักษณะการให้ยา ระบบการทำงานของอวัยวะอาการของผู้ป่วย รวมไปถึงการขับยาออกจากร่างกายผู้ป่วยเมื่อได้รับยานั้น ทั้งยังต้องรู้ และจดจำว่า ตัวยาหากผสมกัน ฤทธิ์ของยาจะออกฤทธิ์อย่างไร หรือจะมีฤทธิ์ยาที่จะไปออกฤทธิ์ในส่วนที่เจ็บป่วยได้อย่างไร จะมีผลข้างเคียงอย่างไร ใช้เวลานานเท่าไรยาส่วนเกินจึงจะถูกขับออกจากร่างกาย ท่านทั้งหลายลองคิดพิจารณาดูว่า ผู้ที่เป็นแพทย์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ต้องใช้สมองสติปัญญา ความจำกี่มากน้อย การใช้สมองมันเหนื่อยกว่าการใช้กำลัง เพราะต้องใช้ระบบการทำงานของร่างกายหลายระบบร่วมกัน สมองเป็นจุดศูนย์รวมความจำทุกอย่างนับตั้งแต่ การทำงานของอวัยวะต่างๆ ฯลฯ ที่สำคัญ แพทย์ทั้งหญิงและชาย ก็คือ มนุษย์เดินดินกินข้าวเหมือนกับประชาชนทั้งหลายคนหนึ่ง (ปัจจุบันนี้ มีระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามามีส่วนในการช่วยจำ ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น)
   ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนจะไม่นานเท่าไหร่ แต่ที่เขียนไปทั้งหมด ต้องใช้เวลาเรียนและศึกษา ๖ ปีเป็นอย่างน้อย เมื่อจบการศึกษา เป็นนายแพทย์ หรืแพทย์หญิง ออกทำงานจริง ก็ต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจ ความจำ รวมไปถึง ประสานร่วมกับการแพทย์สาขาอื่น ในการตรวจรักษาให้กับผู้เข้ารับการรักษา ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบรรดาแพทย์เหล่านั้น ไม่ได้มีตาทิพย์ หูทิพย์ ต้องอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์ และการแพทย์สาขาอื่นบูรณาการ เพื่อวินิจฉัยโรค บางโรคก็สามารถดูอาการด้วยตาได้ แต่บางอาการอาจมีอาการมากกว่าที่ตาเห็น ต้องอาศัยอุปกรณ์ เครื่องมือ การแพทย์สาขาอื่นๆ ปฏิภาณไหวพริบ ประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจอย่างยิ่งยวด ในการตรวจและวินิจฉัย จึงจะสามารถทำการรักษาด้วย ยา ด้วยการผ่าตัด ฉายรังสี ถ่ายเลือด ให้เลือด ฟอกอวัยวะ กายภาพบำบัด อาหาร ในการตรวจวินิจฉัยโรค บางโรค บางอาการ จำต้องใช้เวลาในการตรวจวินิจฉัยเพื่อการรักษา บางอาการใช้เวลานานเกินไป ไม่สามารถรักษาได้ทันท่วงที ก็เกิดการสูญเสีย  น้อยครั้งที่จะเกิดจากความประมาทเลินเล่อ มึนงง จนทำให้เกิดความผิดพลาดในการรักษาจากแพทย์ดังนั้นผู้เป็นแพทย์ มิใช่ว่าจะทำการรักษาเพียงแค่ผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว แต่ต้องรักษาสุขภาพนับตั้งแต่ของตัวแพทย์เองเป็นต้นไป เพราะหากเกิดการผิดพลาดขึ้นมานั่นหมายถึง ชีวิตร่างกายของผู้เข้ารับการรักษา และผลกระทบยังตกไปถึงครอบครัวอีกด้วย ซึ่งทุกคนรวมถึงตัวแพทย์เอง ก็ไม่อยากให้มีเรื่องอย่างนั้นเกิดขึ้น อันนี้ทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า การใช้สมอง ความจำ ปฏิภาณไหวพริบ การปรุงแต่งผสมผสานความรู้ ประสบการณ์ เป็นงานที่เหนื่อย ทำให้เกิดอาการล้าทางสมอง อันอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดพลาด ซึ่งแพทย์บางท่านก็มีวิธีแก้ โดยมีความคิดว่าสนุกกับงานถือว่าเป็นการเล่น หรือเป็นความบันเทิงในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค
   ทุกคนที่เข้ารับการรักษาจากแพทย์ ในสถานพยาบาลต่างๆ ยอมมีความคาดหวังว่าเมื่อได้รับการรักษาจากแพทย์แล้ว จะต้องหายจากโรคภัยไข้เจ็บ เรียกว่าต่างหวังพึงความรู้ ความสามารถ การบริการ ของแพทย์  การแพทย์สาขาอื่นๆ รวมถึงบุคลากรของสถานพยาบาลหน้าที่อื่น เริ่มตั้งแต่การลงทะเบียนรับผู้ป่วยเป็นต้นไป จะช่วยทำให้ผู้เข้ารับการรักษา มีจิตใจหรือกำลังใจที่ดีขึ้น ง่ายต่อการรักษา เป็นจิตวิทยา หรือศิลปวิทยา จากความรู้หลักการทางการแพทย์และพยาบาลทั้งหมดทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่า ผู้มีความรู้เหล่านั้นจะใช้ความรู้หลักการที่มีอยู่เป็นหรือไม่ และเกิดประโยชน์ในทุกด้านหรือไม่ เพราะความรู้หลักการทางการแพทย์และพยาบาล  ไม่ใช่ใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้เพียงด้านใดด้านหนึ่ง แต่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการบริการทางการแพทย์ ได้อย่างดียิ่ง
   ด้วยเหตุที่มีข้อผิดพลาด หรือเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ ผู้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ในสถานพยาบาลต่างๆสูญเสียมีขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เพราะสมัยนี้การสื่อสารทันสมัย ว่องไวกว่าสมัยก่อน ข้าพเจ้าจึงเขียนบทความนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน รวมไปถึงนักเรียน นักศึกษา ทั้งที่ยังไม่ได้เข้าศึกษาด้าน แพทย์ศาสตร์ และที่จบการศึกษาทำงานแล้ว ได้ใช้วิจารณญาณในการใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ หลักการ ร่วมไปถึงขวนขวายหาความรู้ หมั่นทบทวนหลักการ ประสบการณ์ ความรู้ อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด หรือปัญหาอื่นใด อันจักทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นในการรักษาพยาบาล เป็นที่พึ่งของประชาชนยามเจ็บป่วย และที่สำคัญอย่าลืมรักษาสุขภาพของตัวแพทย์เองด้วยนะจ๊ะ
                                                                                 ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๒
   

IP : บันทึกการเข้า

หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!