เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 24 เมษายน 2024, 23:52:54
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ทำงาน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ทำงาน  (อ่าน 781 ครั้ง)
monaka
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 120



« เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2011, 18:02:29 »

ผมต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง การจัดการบริหารพุทธศาสนาในสมัยพทธกาลจนถึงปัจจุบัน

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ลุงหนาน
ผู้ดูแลบอร์ด
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 249



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2011, 21:25:23 »

    สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงใช้ระบอบสามัคคีธรรมเป็นแม่บทในการบริหารคณะสงฆ์  โดยพระองค์เองทรงอยู่ในฐานะเป็นประมุขหรือประธานของภิกษุสงฆ์ทั้งหมด ทรงประทานความเสมอภาคแก่ภิกษุทุกรูป ไม่มีการเลือกปฏิบัติสำหรับภิกษุที่เคยมีสถานะเดิมแตกต่างกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ เช่น บางรูปเคยมีสถานะเดิมเป็นกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง บุตรเศรษฐี หรือคนยากจนเข็ญใจก็ตาม ต่างก็ต้องประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในหลักพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงและบัญญัติไว้แล้วเสมอเหมือนกัน
        หลังจากสังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราช องค์ประธานศาสนูปถัมภก ได้ส่งพระมหาเถระไปประกาศพระพุทธศาสนา ๙ สาย โดยเฉพาะประเทศไทยก็ได้รับผลจากการประกาศพระพุทธศาสนาในคราวนั้น ทำให้พระพุทธศาสนาแผ่ขจรขจายไปทั่วทุกมุมโลกและสร้างประโยชน์สำคัญคือการทำให้เกิดความสามัคคีของคนในชาติ เพราะอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักพุทธธรรมนำชีวิตให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
        พระพุทธศาสนา มีหลักศาสนธรรมที่สามารถน้อมนำไปปฏิบัติ มีศาสนสถานไว้สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และมีศาสนบุคคลคือพระสงฆ์เป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  แล้วเผยแผ่พุทธธรรม  ในสังคมไทยให้ความสำคัญกับพระสงฆ์ เนื่องจากเห็นว่าเป็นบุคคลที่มีฐานะพิเศษทางสังคมได้รับการยอมรับนับถือ สังคมไทยให้ความเอื้อเฟื้อและแสดงความเคารพนอบน้อมต่อพระสงฆ์เมื่อได้พบเห็น ยิ่งพระสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยด้วยแล้ว มักจะได้รับการยอมรับนับถือจากพุทธศาสนิกชนอย่างมาก เมื่อพระสงฆ์เป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชนยิ่งทำให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป  หากพระสงฆ์ประพฤติในทางเสียหายก็จะทำให้ศาสนามีความเศร้าหมองและประชาชนเสื่อมความศรัทธา     เมื่อพระสงฆ์ประพฤติดีปฏิบัติชอบคุณานุประโยชน์ก็จะเกิดแก่สังคมสงฆ์นั้น การที่พระสงฆ์ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประชาชนมากขึ้น  ก็ยิ่งควรต้องตระหนักในสมณภาวะและภาระหน้าที่ เกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง โดยมีการศึกษาปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างถูกต้อง ไม่สร้างความเสื่อมทรามหรือสิ่งที่ไม่ดีงามแก่พระพุทธศาสนา การปกครองคณะสงฆ์ในสมัยพุทธกาลนั้นยังไม่เป็นรูปแบบในลักษณะที่เป็นองค์กรบริหารจัดตั้งตามลักษณะองค์กรบริหารทั่วๆไป เหมือนในปัจจุบันแต่เป็นการทำหน้าที่ของพระภิกษุทุกรูปที่อยู่ร่วมกันในอารามนั้น ๆ มีสิทธิเท่าเทียมกันในการช่วยเหลือทำหน้าที่ดูแลรักษา และดำเนินการให้ชีวิตความเป็นอยู่ จากการกระทำของภิกษุแต่ละรูป ให้เป็นไปตามหลักพระธรรมวินัย ให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติเรียกว่าเป็นการปกครองโดยธรรมวินัย    โดยภาพรวมแล้วสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงดำเนินการปกครองด้วยวิธีการคัดเลือกกลั่นกรองบุคลากรมาบวชในพระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นฐานรองรับ ทรงให้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย เพื่อนำไปสู่การเผยแผ่พระพุทธศาสนานั่นเอง
การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะใหญ่เป็นสมาชิกของสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ถ้าไม่สามารถฝึกฝนอบรมจิตใจของตนให้หลุดพ้น  หรืองดเว้นจากจากความโลภ ความโกรธ ความหลงได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ย่อมจะเกิดความขัดแย้งในหมู่คณะนั้น ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันรับผิดชอบและเข้มงวดกับการคัดเลือกสมาชิกที่เข้ามาในสังคมสงฆ์  ด้วยกฏหมายหรือแบบแผนจารีตประเพณีกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเครื่องรองรับสถานภาพแห่งการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ กฎหมายและแบบแผนที่คนส่วนใหญ่ของสังคมให้ความเห็นชอบร่วมกันว่า สามารถใช้เป็นมาตรการมาตรฐานแนวทางควบคุมความประพฤติปฏิบัติแต่ละบุคคลให้อยู่ในกรอบเขตอาณาณัติที่ถูกต้องและดีงามตามประเพณี  ทั้งนี้ ก็เพื่อให้สังคมสงฆ์สามารถดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุขและไม่ก่อให้เกิดจลาจลกระทำการอันไม่ควรที่เรียกว่าภินทนาการในภายใน    จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงแผ่ข่ายคือพระญาณอันยาวไกล ทรงทราบถึงอนาคต เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับศาสนาของพระองค์เอง อาศัยพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้เป็นตัวแทนของพระองค์ เหมือนคราวที่พระอานนท์ทูลถามว่า “พระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว จะมอบอำนาจหน้าที่การดูแลคณะสงฆ์แก่ผู้ใด” พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า  “ดูก่อนอานนท์ พระธรรมและวินัยใดที่เราได้แสดงและบัญญัติไว้ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว พระธรรมและวินัยนั้นแหละ จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 21 มิถุนายน 2011, 21:28:37 โดย ลุงหนาน » IP : บันทึกการเข้า

อย่ายึดมั่นกับสิ่งใดๆ เพราะอะไรๆ ก็ไม่แน่นอน
monaka
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 120



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2011, 17:21:44 »

   สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงใช้ระบอบสามัคคีธรรมเป็นแม่บทในการบริหารคณะสงฆ์  โดยพระองค์เองทรงอยู่ในฐานะเป็นประมุขหรือประธานของภิกษุสงฆ์ทั้งหมด ทรงประทานความเสมอภาคแก่ภิกษุทุกรูป ไม่มีการเลือกปฏิบัติสำหรับภิกษุที่เคยมีสถานะเดิมแตกต่างกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ เช่น บางรูปเคยมีสถานะเดิมเป็นกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง บุตรเศรษฐี หรือคนยากจนเข็ญใจก็ตาม ต่างก็ต้องประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในหลักพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงและบัญญัติไว้แล้วเสมอเหมือนกัน
        หลังจากสังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราช องค์ประธานศาสนูปถัมภก ได้ส่งพระมหาเถระไปประกาศพระพุทธศาสนา ๙ สาย โดยเฉพาะประเทศไทยก็ได้รับผลจากการประกาศพระพุทธศาสนาในคราวนั้น ทำให้พระพุทธศาสนาแผ่ขจรขจายไปทั่วทุกมุมโลกและสร้างประโยชน์สำคัญคือการทำให้เกิดความสามัคคีของคนในชาติ เพราะอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักพุทธธรรมนำชีวิตให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
        พระพุทธศาสนา มีหลักศาสนธรรมที่สามารถน้อมนำไปปฏิบัติ มีศาสนสถานไว้สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และมีศาสนบุคคลคือพระสงฆ์เป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  แล้วเผยแผ่พุทธธรรม  ในสังคมไทยให้ความสำคัญกับพระสงฆ์ เนื่องจากเห็นว่าเป็นบุคคลที่มีฐานะพิเศษทางสังคมได้รับการยอมรับนับถือ สังคมไทยให้ความเอื้อเฟื้อและแสดงความเคารพนอบน้อมต่อพระสงฆ์เมื่อได้พบเห็น ยิ่งพระสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยด้วยแล้ว มักจะได้รับการยอมรับนับถือจากพุทธศาสนิกชนอย่างมาก เมื่อพระสงฆ์เป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชนยิ่งทำให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป  หากพระสงฆ์ประพฤติในทางเสียหายก็จะทำให้ศาสนามีความเศร้าหมองและประชาชนเสื่อมความศรัทธา     เมื่อพระสงฆ์ประพฤติดีปฏิบัติชอบคุณานุประโยชน์ก็จะเกิดแก่สังคมสงฆ์นั้น การที่พระสงฆ์ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประชาชนมากขึ้น  ก็ยิ่งควรต้องตระหนักในสมณภาวะและภาระหน้าที่ เกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง โดยมีการศึกษาปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างถูกต้อง ไม่สร้างความเสื่อมทรามหรือสิ่งที่ไม่ดีงามแก่พระพุทธศาสนา การปกครองคณะสงฆ์ในสมัยพุทธกาลนั้นยังไม่เป็นรูปแบบในลักษณะที่เป็นองค์กรบริหารจัดตั้งตามลักษณะองค์กรบริหารทั่วๆไป เหมือนในปัจจุบันแต่เป็นการทำหน้าที่ของพระภิกษุทุกรูปที่อยู่ร่วมกันในอารามนั้น ๆ มีสิทธิเท่าเทียมกันในการช่วยเหลือทำหน้าที่ดูแลรักษา และดำเนินการให้ชีวิตความเป็นอยู่ จากการกระทำของภิกษุแต่ละรูป ให้เป็นไปตามหลักพระธรรมวินัย ให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติเรียกว่าเป็นการปกครองโดยธรรมวินัย    โดยภาพรวมแล้วสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงดำเนินการปกครองด้วยวิธีการคัดเลือกกลั่นกรองบุคลากรมาบวชในพระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นฐานรองรับ ทรงให้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย เพื่อนำไปสู่การเผยแผ่พระพุทธศาสนานั่นเอง
การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะใหญ่เป็นสมาชิกของสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ถ้าไม่สามารถฝึกฝนอบรมจิตใจของตนให้หลุดพ้น  หรืองดเว้นจากจากความโลภ ความโกรธ ความหลงได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ย่อมจะเกิดความขัดแย้งในหมู่คณะนั้น ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันรับผิดชอบและเข้มงวดกับการคัดเลือกสมาชิกที่เข้ามาในสังคมสงฆ์  ด้วยกฏหมายหรือแบบแผนจารีตประเพณีกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเครื่องรองรับสถานภาพแห่งการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ กฎหมายและแบบแผนที่คนส่วนใหญ่ของสังคมให้ความเห็นชอบร่วมกันว่า สามารถใช้เป็นมาตรการมาตรฐานแนวทางควบคุมความประพฤติปฏิบัติแต่ละบุคคลให้อยู่ในกรอบเขตอาณาณัติที่ถูกต้องและดีงามตามประเพณี  ทั้งนี้ ก็เพื่อให้สังคมสงฆ์สามารถดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุขและไม่ก่อให้เกิดจลาจลกระทำการอันไม่ควรที่เรียกว่าภินทนาการในภายใน    จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงแผ่ข่ายคือพระญาณอันยาวไกล ทรงทราบถึงอนาคต เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับศาสนาของพระองค์เอง อาศัยพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้เป็นตัวแทนของพระองค์ เหมือนคราวที่พระอานนท์ทูลถามว่า “พระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว จะมอบอำนาจหน้าที่การดูแลคณะสงฆ์แก่ผู้ใด” พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า  “ดูก่อนอานนท์ พระธรรมและวินัยใดที่เราได้แสดงและบัญญัติไว้ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว พระธรรมและวินัยนั้นแหละ จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย






ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!