เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 02:17:40
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง ผิดหรือถูก ใครเป็นผู้กำหนด
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง ผิดหรือถูก ใครเป็นผู้กำหนด  (อ่าน 11365 ครั้ง)
ratt
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 15 มิถุนายน 2011, 06:47:39 »



   ตักบาตรข้าวสาร + อาหารแห้ง..........ผิดหรือถูก...ใครเป็นผู้กำหนด


   พระพุทธเจ้ากำหนดให้ภิกษุ มีสมบัติเพียงแค่ บริขารแปด  ที่เรียกว่าอัฐบริขารเท่านั้น  ไม่มีการสะสมอื่นใดทั้งสิ้น

  ดังนั้น  การรับบิณฑบาต ข้าวสารอาหารแห้ง  ก็น่าจะเป็นหัวคิดของพระยุคใหม่ที่กลัวอดตาย  ต้องการสะสม  เจ้าอาวาสบางองค์  ก็สะสมไว้มากๆ  แล้วก็เอาไปขายนำเงินมาใช้เป็นส่วนตัว...นรกภูมิเป็นที่หมายของพระองค์นั้น

  พระวัดป่าบางองค์ (ผู้เขียนอยู่ในเหตุการณ์ที่มีโยมมานิมนต์) ก็ไม่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย  ยอมรับนิมนต์ไปบิณฑบาตข้าวสารอาหารแห้ง  เห็นแก่ปากท้องของตนเอง  แทนที่จะอธิบายให้ญาติโยมฟังว่าเป็นการไม่ถูกต้อง  ญาติโยมส่วนมากไม่รู้พระวินัยของพระ  ก็กระทำไปตามที่ตนเองเข้าใจในการครองเรือน  ซึ่งผิดจากพระธรรมวินัยของพระเป็นอย่างมาก  ก็ไม่ยอมอธิบาย  ยอมทำตามที่ญาติโยมได้กระทำ  ยิ่งทำให้ญาติโยมเกิดการเข้าใจผิด  แล้วก็สืบต่อกันมาจนจะเป็นค่านิยมไปแล้ว  นี่คือพระที่เห็นแก่กิน

    พระแท้ๆอย่างหลวงพ่อทูล หลวงพ่อทวี  หรือพระองค์อื่นๆที่ปฏิบัติอย่างพระแท้ๆ  เวลาญาติโยมเอาถังสังฆทานมาถวาย  ท่านก็จะให้ญาติโยมตรวจดูในถังสังฆทานก่อน  ว่ามีข้าวสารหรืออาหารอย่างใดหรือไม่  ถ้ามีก็ให้เอาออก  แล้วนำไปมอบไว้ในโรงครัว  เพื่อที่จะทำเป็นอาหารสำเร็จถวายพระในวันต่อๆไป  เพราะ  ถ้าพระเกิดรับถังสังฆทานนั้นแล้ว  ถ้าเป็นอาหารก็ต้องฉันให้หมดภายในก่อนเที่ยงของวันนั้น  ถ้าฉันไม่หมดก็ต้องนำออกไปให้ทานต่อไป  และจะนำกลับมาถวายอีกไม่ได้  ถือว่าเป็นของเดน ของบูด  ถ้ารับหลังเวลาเที่ยง  อาหารนั้นก็ถือว่าเป็นของเดนของบูดเช่นกัน  แต่พระส่วนใหญ่ในปัจจุบันเห็นแก่กิน  จนไม่สังวรในพระธรรมวินัย  ทำให้เป็นที่มัวหมองแก่ศาสนาพุทธ  น่าสงสารญาติโยมที่หวังดีแต่กระทำการไปโดยไม่รู้

    ที่วัดถ้ำขาม  อ.พรรณานิคม  จ.สกลนคร  ของหลวงปู่ฝั้น  อาจาโร  วันนั้นคนจีนในตัวจังหวัดสกลนคร  นำน้ำตาลทรายไปถวายที่วัด  พระองค์หนึ่งบวชใหม่  ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์  ไปช่วยเขายกกระสอบน้ำตาลทรายลงจากรถ  หลวงปู่ฝั้นต้องบอกให้คนจีนคนนั้น  เอาน้ำตาลทรายกระสอบนั้นไปเปลี่ยนกระสอบใหม่มา  เพราะพระไม่กี่รูป  จะฉันน้ำตาลทรายทั้งกระสอบนั้นให้หมดภายในเจ็ดวันได้อย่างไร คนจีนคนนั้นก็ต้องไปเปลี่ยนกระสอบน้ำตาลทรายกระสอบใหม่มา  ทั้งๆที่การเดินทางในสมัยนั้นไม่สะดวกสบายเหมือนสมัยนี้  หลวงปู่ท่านก็อบรมแนะนำพระใหม่รูปนั้นให้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย

    โยมที่ไม่เข้าใจ  ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งก็เลยได้ทั้งบุญและบาป  ได้บุญเพราะมีจิตศรัทธา  ได้บาปเพราะทำให้พระอาบัติ  เลี้ยงคนผิดให้อยู่ในศาสนาโดยไม่รู้ตัว                                         
                         .........................................................................
IP : บันทึกการเข้า
ลุงหนาน
ผู้ดูแลบอร์ด
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 249



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 15 มิถุนายน 2011, 09:01:09 »

ประเด็นที่ว่า พระบิณฑิบาตรเข้าสารอาหารแห้งนั้นผิดไหม.. ในวินัยก็ไม่ได้ห้ามหรอกว่าห้ามรับเพียงแต่ว่า ถ้าพูดตามหลักจริงๆ พระท่านบิณเพื่อฉัน เพียงเพื่อการตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้ ไม่ใช้เพื่อความมัวเมา ไม่ใช่เพราะความสมบูรณ์พูนสุข แต่ยุคสมัยมันเปลี่ยนไป เราะจะเอาพระท่านนี้ ท่านนั้นมาเปรียบเทียบไม่ได้หรอก ว่าหลวงพ่อนั้นดี พระรูปนั้นไม่ดี.. โดยหลักการแล้วถึงแม้พระจะมีพระธรรมวินัยข้อเดียวกันก็จริง แต่ตัวบุคคลย่อมปฏิบัติต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น คนไทยมีรัฐธรรมนูญ มีกฏหมายเหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วคนเราทำตามเหมือนกันหมดหรือไม่ล่ะ.. อันนี้ก็เหมือนกันบางครั้งก็อยู่ที่วัตถุประสงค์ เช่น ท่านบิณฑิบาตรข้าวสารเพื่อหาปัจจัยส่งเสริมการศึกษาพระเณร หรือเช่น หาปัจจัยสร้างโน่นสร้างนี่.. แล้วก็วัดไหนมีมากกว่า ท่านก็แบ่งปันให้วัดต่างๆ ที่เดือดร้อนเช่น วัดสามชายแดนจังหวัดภาคใต้..  แล้วถามว่าเช่นวันสำคัญคือวันเข้าพรรษา. ประเพณีคนไท่ยเราชอบทำบุญให้ทาน.หากให้ญาติโยมใส่แต่ข้าวอาหาร แล้วจะฉันกันใหวหรอ ดีไม่ดีเน่าเสียเสียของเปล่า ๆ แต่หากเป็นของแห้ง เรายังเก็บเป็นของสงฆ์ได้..ไม่ใช่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น วัดหลวงตามหาบัว คนเอาอะไรไปถวายท่านวันละไม่รู้กี่คันรถสิบล้อ..ท่านยังไม่ปฏิเสธแต่ท่านก็แบ่งปันให้วัดอื่นๆ ที่ลำบากกว่า  ทุกอย่างมันอยู่ที่เจตนาคับ
อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญพระสงฆ์อยากให้เคร่งครัดเหมือนกันหมด เราก็คงทำได้ยาก เพราะว่า อุปนิสัย แหล่งที่มาของคน แต่ละสภาพแวดล้อมก็ต่างกััน ท่านบวชมาในธรรมวินัยนี้เพื่อมาศึกษาและฝึกฝนตน..ไม่ได้หมายความว่า ใครบวชแล้วใส่ผ้าเหลืองแล้ว จะเป็นเทวดาทันดี.. ผ้าเหลืองก็เป็นเครื่องแบบ หรือสัญลักษณ์  ความเป็นพระที่แท้จริง ท่านต้องสร้างของท่านเอง แต่การที่เป็นพระที่สมบูรณ์ได้ ก็ต้องอาศัยระยะเวลา ยิ่งทุกวันนี้เราต้องเห็นใจพระ เพราะว่าสภาพแวดล้อมสิ่งยั่วยุต่างๆ มันมากมาย. ออกจากวัดมามีแต่กิเลส 108  ต่างจากสมัยพุทธกาล..พระสมัยนี้ต้องใช้ความพยายามสูงอย่างยิ่ง ที่จะชนะใจตัวเองในหลายๆ เรื่อง  หลายคนบอกว่า แล้วท่านทำไมไม่ไปเป็นพระป่า พระกรรมฐาน..แล้วหากพระเหล่านี้ไปอยู่ป่ากันหมด บ้านเมืองวัดวาที่บรรพบุรุษสร้างไว้ ใครจะมาดูแลรักษา.. วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ใครจะมาสืบสาน..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 15 มิถุนายน 2011, 09:08:33 โดย ลุงหนาน » IP : บันทึกการเข้า

อย่ายึดมั่นกับสิ่งใดๆ เพราะอะไรๆ ก็ไม่แน่นอน
boy013
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 15 มิถุนายน 2011, 09:31:06 »

ขอบคุณลุงหนานครับ รออ่านผลงานในประเด็นนี้ของลุงอยู่ เรื่องวัด โดยเฉพาะธรรมวินัย ผมก่บ่ค่อยคล่อง บางเรื่องเคยทำผิด พอฮู้แล้วก่จะบ่ประมาททำซ้ำ ค่อยๆศึกษาไปอ่ะครับ

ขออนุญาตแสดงความเห็น ถ้าผิดพลาดก่ขออภัย เนื่องด้วยความบ่ฮู้  ยินดีครับที่นำเรื่องนี้มานำเสนอ วันก่อนผมไปวัดแห่งหนึ่ง ในอำเภอเวียงป่าเป้า ตอนบ่ายสาม ญาติโยมเอาเงินใส่ซอง วางบนสังฆทาน ในสังฆทานมีกระสอบข้าวสาร!!!  นานมาแล้วผมไปกราบพระอริยสงฆ์ เส้นทางเขื่อนแม่งัด อำเภอแม่แตง เจียงใหม่ ท่านก่เมตตาสอนว่า ข้าวสารเลยเที่ยงไปแล้ว รับประเคนไม่ได้

ผมก็นึกถึงพระธรรมวินัย เกี่ยวกับข้อห้ามรับบิณฑบาตรข้าวสาร ก่หาบ่เจอ เจอแต่ข้าวสารเป็นวัตถุอนามาส บ่ควรจับต้อง แล้วผมก่นึกถึงงานบุญประทายข้าวเปลือกขององค์หลวงตา มีข้าวสารเป็นกองภูเขา แต่ท่านไม่ได้จับ ท่านนำไปใช้ประโยชน์แบ่งปันโรงครัววัดต่างๆ

ก็ขออนุญาต แสดงความเห็นเป็นประเด็นดังก่อนครับ
๑. "การรับบิณฑบาต ข้าวสารอาหารแห้ง  ก็น่าจะเป็นหัวคิดของพระยุคใหม่ที่กลัวอดตาย  ต้องการสะสม  เจ้าอาวาสบางองค์  ก็สะสมไว้มากๆ  แล้วก็เอาไปขายนำเงินมาใช้เป็นส่วนตัว...นรกภูมิเป็นที่หมายของพระองค์นั้น" อันนี้เห็นด้วยครับ
๒."พระวัดป่าบางองค์....รับนิมนต์ไปบิณฑบาตข้าวสารอาหารแห้ง...แทนที่จะอธิบายให้ญาติโยมฟังว่าเป็นการไม่ถูกต้อง  ญาติโยมส่วนมากไม่รู้พระวินัยของพระ..." ถ้าพระธรรมวิันัยไม่ห้ามน่าจะรับบิณฑบาตได้ แต่คงจะฉันข้าวสารไม่ได้โดยสภาพ ต้องสละ แล้วไปฉันภัตตาหารที่ญาติโยมถวายแทน"
๓."พระแท้ๆ...เวลาญาติโยมเอาถังสังฆทานมาถวาย  ท่านก็จะให้ญาติโยมตรวจดูในถังสังฆทานก่อน  ว่ามีข้าวสารหรืออาหารอย่างใดหรือไม่  ถ้ามีก็ให้เอาออก  แล้วนำไปมอบไว้ในโรงครัว เพื่อที่จะทำเป็นอาหารสำเร็จถวายพระในวันต่อๆไป" ก็แสดงว่าท่านรับเอาไว้ได้ แต่ไม่อาจรับประเคนได้ เดาเอาว่าญาติโยมเอาไปถวายหลังเที่ยง แม้ถวายช่วงสาย ท่านอาจไม่รับเพราะฉันหนเดียว อิ่มเดียว
๔."พระองค์หนึ่งบวชใหม่...ไปช่วยเขายกกระสอบน้ำตาลทรายลงจากรถ...ต้องไปเปลี่ยนกระสอบน้ำตาลทรายกระสอบใหม่มา.." เข้าใจว่า ไปช่วยยกนี่เป็นการจับอาหารโดยไม่ได้รับประเคน อีกประการหนึ่งคือน้ำตาลเก็บไว้ได้๗วัน "แล้วไปเปลี่ยนกระสอบใหม่" ก็หมายความอยู่ในตัวว่า น้ำตาลซึ่งเป็นอาหารแห้ง ท่านรับได้ และก็บิณฑบาตได้ เพียงแต่รับบิณฑบาตหากน้ำตาลระคนกับอาหาร ก็ฉันไม่เกินเที่ยงวัน ถ้าน้ำตาลซึ่งเป็นอาหารแห้งใ่ส่บรรจุุถุงใส่บาตรแล้วไม่ได้ระคนกับอาหาร แสดงว่าเก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน

อนุโมทนาครับ
IP : บันทึกการเข้า
ลุงหนาน
ผู้ดูแลบอร์ด
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 249



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 15 มิถุนายน 2011, 09:38:44 »

ขอบคุณลุงหนานครับ รออ่านผลงานในประเด็นนี้ของลุงอยู่ เรื่องวัด โดยเฉพาะธรรมวินัย ผมก่บ่ค่อยคล่อง บางเรื่องเคยทำผิด พอฮู้แล้วก่จะบ่ประมาททำซ้ำ ค่อยๆศึกษาไปอ่ะครับ

ขออนุญาตแสดงความเห็น ถ้าผิดพลาดก่ขออภัย เนื่องด้วยความบ่ฮู้  ยินดีครับที่นำเรื่องนี้มานำเสนอ วันก่อนผมไปวัดแห่งหนึ่ง ในอำเภอเวียงป่าเป้า ตอนบ่ายสาม ญาติโยมเอาเงินใส่ซอง วางบนสังฆทาน ในสังฆทานมีกระสอบข้าวสาร!!!  นานมาแล้วผมไปกราบพระอริยสงฆ์ เส้นทางเขื่อนแม่งัด อำเภอแม่แตง เจียงใหม่ ท่านก่เมตตาสอนว่า ข้าวสารเลยเที่ยงไปแล้ว รับประเคนไม่ได้

ผมก็นึกถึงพระธรรมวินัย เกี่ยวกับข้อห้ามรับบิณฑบาตรข้าวสาร ก่หาบ่เจอ เจอแต่ข้าวสารเป็นวัตถุอนามาส บ่ควรจับต้อง แล้วผมก่นึกถึงงานบุญประทายข้าวเปลือกขององค์หลวงตา มีข้าวสารเป็นกองภูเขา แต่ท่านไม่ได้จับ ท่านนำไปใช้ประโยชน์แบ่งปันโรงครัววัดต่างๆ

ก็ขออนุญาต แสดงความเห็นเป็นประเด็นดังก่อนครับ
๑. "การรับบิณฑบาต ข้าวสารอาหารแห้ง  ก็น่าจะเป็นหัวคิดของพระยุคใหม่ที่กลัวอดตาย  ต้องการสะสม  เจ้าอาวาสบางองค์  ก็สะสมไว้มากๆ  แล้วก็เอาไปขายนำเงินมาใช้เป็นส่วนตัว...นรกภูมิเป็นที่หมายของพระองค์นั้น" อันนี้เห็นด้วยครับ
๒."พระวัดป่าบางองค์....รับนิมนต์ไปบิณฑบาตข้าวสารอาหารแห้ง...แทนที่จะอธิบายให้ญาติโยมฟังว่าเป็นการไม่ถูกต้อง  ญาติโยมส่วนมากไม่รู้พระวินัยของพระ..." ถ้าพระธรรมวิันัยไม่ห้ามน่าจะรับบิณฑบาตได้ แต่คงจะฉันข้าวสารไม่ได้โดยสภาพ ต้องสละ แล้วไปฉันภัตตาหารที่ญาติโยมถวายแทน"
๓."พระแท้ๆ...เวลาญาติโยมเอาถังสังฆทานมาถวาย  ท่านก็จะให้ญาติโยมตรวจดูในถังสังฆทานก่อน  ว่ามีข้าวสารหรืออาหารอย่างใดหรือไม่  ถ้ามีก็ให้เอาออก  แล้วนำไปมอบไว้ในโรงครัว เพื่อที่จะทำเป็นอาหารสำเร็จถวายพระในวันต่อๆไป" ก็แสดงว่าท่านรับเอาไว้ได้ แต่ไม่อาจรับประเคนได้ เดาเอาว่าญาติโยมเอาไปถวายหลังเที่ยง แม้ถวายช่วงสาย ท่านอาจไม่รับเพราะฉันหนเดียว อิ่มเดียว
๔."พระองค์หนึ่งบวชใหม่...ไปช่วยเขายกกระสอบน้ำตาลทรายลงจากรถ...ต้องไปเปลี่ยนกระสอบน้ำตาลทรายกระสอบใหม่มา.." เข้าใจว่า ไปช่วยยกนี่เป็นการจับอาหารโดยไม่ได้รับประเคน อีกประการหนึ่งคือน้ำตาลเก็บไว้ได้๗วัน "แล้วไปเปลี่ยนกระสอบใหม่" ก็หมายความอยู่ในตัวว่า น้ำตาลซึ่งเป็นอาหารแห้ง ท่านรับได้ และก็บิณฑบาตได้ เพียงแต่รับบิณฑบาตหากน้ำตาลระคนกับอาหาร ก็ฉันไม่เกินเที่ยงวัน ถ้าน้ำตาลซึ่งเป็นอาหารแห้งใ่ส่บรรจุุถุงใส่บาตรแล้วไม่ได้ระคนกับอาหาร แสดงว่าเก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน

อนุโมทนาครับ


อนุโมทนาในความคิดเห็น ขอเสริมอีกหน่อย.ที่ว่าพระรับประเคนเลยเที่ยงไม่ได้ อันนี้จริงๆ บางคนถวายสังฆทานตอนบ่าย พระท่านรับไม่ได้.. พระท่านไหนรับประเคนถือว่าอาบัติ.. เราชาวพุทธต้องศึกษาด้วยนะ. งั้นเดี๋ยวจะไม่ได้บุญกัน..
IP : บันทึกการเข้า

อย่ายึดมั่นกับสิ่งใดๆ เพราะอะไรๆ ก็ไม่แน่นอน
boy013
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 15 มิถุนายน 2011, 11:00:49 »

ขอแก้ไขของผมตางบนครับ ที่ผมว่า "เจอแต่ข้าวสารเป็นวัตถุอนามาส" จริงๆน่าจะเป๋นข้าวเปลือกอ่ะครับ
IP : บันทึกการเข้า
YANAEI
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 15 มิถุนายน 2011, 11:58:40 »

ลึกซึ้งจริงๆครับลุงหนาน มันอยู่ที่การจัดการ ว่าเป็นประโยชน์ของตนหรือส่วนรวม
ไม่มีผิดหรือถูก มีแต่ควรกับไม่ควร อนุโมทนาบุญครับ
IP : บันทึกการเข้า
แค่เอื้อม
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 56



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 16 มิถุนายน 2011, 06:26:05 »

การตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งนั้น  สามารถเก็บไว้ได้นานและนำไปบริจาคได้อีกเหมือนกับโครงการตักบาตรพระ100,000รูปของวัดพระธรรมกายที่นำขาวสารอาหารแห้งไปช่วยผู้เดือดร้อนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นต้นนะครับ
  แต่ขอแสนออีกอย่างนะครับคือ  ตักบาตรตอนเช้าที่มีพระไม่กี่รูปก็ตักบาตรตามปกติคืออาหารอะไรก็ได้ตามเจตนา  แต่ถ้าตักบาตรพระหลายรูปควรเป็นข้าวสารอาหารแห้งเพราะจะได้ประโยชน์หลายอย่างตามที่กล่าวมาครับ
IP : บันทึกการเข้า
wsan
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 16 มิถุนายน 2011, 16:12:22 »

...ว่ากันตามจริงการตักบาตรด้วยอะไรนั้นเป็นเรื่องของผู้ตักบาตรเอง .. ไม่ใช่พระ ..
....พระไม่มีสิทธิที่จะเลือกว่าจะต้องตักบาตรด้วยอะไร
......การตักบาตร ด้วยของสดหรือของแห้ง เป็นการพิจารณาของผู้ตักบาตรเอง
.......วิถีแห่งวัด คนมาทำบุญมากของมามาก ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือวันที่มีคนไปร่วมตักบาตรมาก ๆ หากเป็นของสด จะเกิดความเน่าเสียทิ้งไปในวันสองวัน บางที่เป็นภูเขาเลากาทีเดียว เพราะพระฉันได้แค่อิ่ม
........วิถีแห่งวัด บางครั้งบางวัน หาคนทำบุญตักบาตรแทบไม่มี
..........จะทำตารางจัดคิวว่าใครทำบุญตักบาตรวันไหน ก็ไม่ได้...
.................พอเป็นข้อคิดสะกิดใจบ้างไหม ว่าจะตักบาตรด้วย ของสด หรือของแห้ง...
IP : บันทึกการเข้า
nansom
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 461



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 20 มิถุนายน 2011, 21:45:39 »

ศาสนาพุทธเราให้ปล่อยให้ปลงลงซะ อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมัน อย่าไปถกเถียงหน้าดำคร่ำเคร่ง เราต่างก็มีภาระต้องปล่อยพันธนาการตนเองออกจากกิเลส มองตนอย่าไปมองเขามากนัก บางคนว่าพระที่ฉันอาหารจากปากบาตรไปก้นบาตรไม่คนอาหารเลยนั้น สุดยอด บางคนก็มองว่าที่พระที่คนอาหารปนกันหมดแล้วฉันนี่สุดกว่า นานาจิตตังเนาะ
IP : บันทึกการเข้า
ClanNad
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 41



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 20 มิถุนายน 2011, 23:58:46 »

ประเด็นที่ว่า พระบิณฑิบาตรเข้าสารอาหารแห้งนั้นผิดไหม.. ในวินัยก็ไม่ได้ห้ามหรอกว่าห้ามรับเพียงแต่ว่า ถ้าพูดตามหลักจริงๆ พระท่านบิณเพื่อฉัน เพียงเพื่อการตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้ ไม่ใช้เพื่อความมัวเมา ไม่ใช่เพราะความสมบูรณ์พูนสุข แต่ยุคสมัยมันเปลี่ยนไป เราะจะเอาพระท่านนี้ ท่านนั้นมาเปรียบเทียบไม่ได้หรอก ว่าหลวงพ่อนั้นดี พระรูปนั้นไม่ดี.. โดยหลักการแล้วถึงแม้พระจะมีพระธรรมวินัยข้อเดียวกันก็จริง แต่ตัวบุคคลย่อมปฏิบัติต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น คนไทยมีรัฐธรรมนูญ มีกฏหมายเหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วคนเราทำตามเหมือนกันหมดหรือไม่ล่ะ.. อันนี้ก็เหมือนกันบางครั้งก็อยู่ที่วัตถุประสงค์ เช่น ท่านบิณฑิบาตรข้าวสารเพื่อหาปัจจัยส่งเสริมการศึกษาพระเณร หรือเช่น หาปัจจัยสร้างโน่นสร้างนี่.. แล้วก็วัดไหนมีมากกว่า ท่านก็แบ่งปันให้วัดต่างๆ ที่เดือดร้อนเช่น วัดสามชายแดนจังหวัดภาคใต้..  แล้วถามว่าเช่นวันสำคัญคือวันเข้าพรรษา. ประเพณีคนไท่ยเราชอบทำบุญให้ทาน.หากให้ญาติโยมใส่แต่ข้าวอาหาร แล้วจะฉันกันใหวหรอ ดีไม่ดีเน่าเสียเสียของเปล่า ๆ แต่หากเป็นของแห้ง เรายังเก็บเป็นของสงฆ์ได้..ไม่ใช่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น วัดหลวงตามหาบัว คนเอาอะไรไปถวายท่านวันละไม่รู้กี่คันรถสิบล้อ..ท่านยังไม่ปฏิเสธแต่ท่านก็แบ่งปันให้วัดอื่นๆ ที่ลำบากกว่า  ทุกอย่างมันอยู่ที่เจตนาคับ
อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญพระสงฆ์อยากให้เคร่งครัดเหมือนกันหมด เราก็คงทำได้ยาก เพราะว่า อุปนิสัย แหล่งที่มาของคน แต่ละสภาพแวดล้อมก็ต่างกััน ท่านบวชมาในธรรมวินัยนี้เพื่อมาศึกษาและฝึกฝนตน..ไม่ได้หมายความว่า ใครบวชแล้วใส่ผ้าเหลืองแล้ว จะเป็นเทวดาทันดี.. ผ้าเหลืองก็เป็นเครื่องแบบ หรือสัญลักษณ์  ความเป็นพระที่แท้จริง ท่านต้องสร้างของท่านเอง แต่การที่เป็นพระที่สมบูรณ์ได้ ก็ต้องอาศัยระยะเวลา ยิ่งทุกวันนี้เราต้องเห็นใจพระ เพราะว่าสภาพแวดล้อมสิ่งยั่วยุต่างๆ มันมากมาย. ออกจากวัดมามีแต่กิเลส 108  ต่างจากสมัยพุทธกาล..พระสมัยนี้ต้องใช้ความพยายามสูงอย่างยิ่ง ที่จะชนะใจตัวเองในหลายๆ เรื่อง  หลายคนบอกว่า แล้วท่านทำไมไม่ไปเป็นพระป่า พระกรรมฐาน..แล้วหากพระเหล่านี้ไปอยู่ป่ากันหมด บ้านเมืองวัดวาที่บรรพบุรุษสร้างไว้ ใครจะมาดูแลรักษา.. วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ใครจะมาสืบสาน..

ลุงหนานครับ ซึ้งขนาดกับคำตอบ ของลุงหนานมากเลย ครับถ้ามีปุ่มกด Like ผมจะกดหือสักพันครั้งครับ

ส่วนคุณ ratt อ่านคำตอบของลุงหนานก่อนนะครับ บ่าฮู้จะไปว่าเปิลครับ ตุีเจ้าเปิลเป็นตนนิมนต์
ครับเปิลนิมนต์ไปใหนจำเป็นต้องไปครับ ยิ่งพระลูกวัดตี่บวชใหม่ ๆ เปิลใจ้ไปใหนก็ต้องไปตามเปิลครับ บ่าไปเป็นอาบัติ ครับ
IP : บันทึกการเข้า
Patu
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 236


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 24 มิถุนายน 2011, 19:33:32 »

ศาสนาพุทธเราให้ปล่อยให้ปลงลงซะ อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมัน อย่าไปถกเถียงหน้าดำคร่ำเคร่ง เราต่างก็มีภาระต้องปล่อยพันธนาการตนเองออกจากกิเลส มองตนอย่าไปมองเขามากนัก บางคนว่าพระที่ฉันอาหารจากปากบาตรไปก้นบาตรไม่คนอาหารเลยนั้น สุดยอด บางคนก็มองว่าที่พระที่คนอาหารปนกันหมดแล้วฉันนี่สุดกว่า นานาจิตตังเนาะ
+111 ค่ะ มองที่ตนเองแก้ไขตัวเอง ดีกว่าไปมองคนอื่น ตำหนิคนอื่นนะคะ
IP : บันทึกการเข้า
iiล้วiiต่น้oj
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 143



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 26 มิถุนายน 2011, 14:31:49 »

ท่านบวชมาในธรรมวินัยนี้เพื่อมาศึกษาและฝึกฝนตน..ไม่ได้หมายความว่า ใครบวชแล้วใส่ผ้าเหลืองแล้ว จะเป็นเทวดาทันดี..

ชอบตรงนี้มากเลยครับ
ขอบคุณมากครับลุงหนาน
IP : บันทึกการเข้า
samurai_dek
ห้าแยกพ่อขุนฯ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 204


ศรัทธาต้องมาก่อนสิ่งดีๆจึงจะตามมา


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 26 มิถุนายน 2011, 17:27:51 »

แหม เข้าใจพระดีเนาะ อย่างนี้สิ เขาเรียกว่า มีพระคุ้มครอง
IP : บันทึกการเข้า

หนึ่งการกระทำ  สำคัญกว่าพันคำสอน  หนึ่งตัวอย่างที่มีชีวิต  มีผลสัมฤทธิ์กว่าร้อยอนุสาวรีย์
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!