ภาษาไทยจะวิบัติอยู่แล้ว พวกคุณคิดว่าเป็นเรื่องเล็กหรอ !!!
เห็นด้วยครับ คำว่า หรอ ด้วยนะ ...
นักเขียน ที่ใช้ภาษาพูดแทนภาษาเขียนมีเยอะ เนื่องจากสื่ออารมณ์ บ่งบอกสถานภาพ และความแตกต่างของตัวละครแต่ละตัวขณะพูดได้ง่าย ทำให้คนอ่านเกิดจินตนาการได้เร็ว ไม่ต้องอาศัยถ้อยคำพรรณาโวหารซ้ำซากประกอบเพื่อความเข้าใจอยู่ตลอดเวลาขณะ ที่อ่านเรื่องนั้น ๆ
ถามว่าสมควรหรือไม่
อันนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้แต่งแล้วล่ะ ว่าใช้คำนั้นด้วยวัตถุประสงค์อะไร
- ใช้เพื่อบ่งบอกอายุผู้พูดในเรื่อง
เช่น "ช้างพูดจริง ๆ หรอ ไม่หลอกเรานะ" (เด็กเล็ก ๆ พูดไม่ชัด)
"ช้างพูดจริง ๆ เหรอ ไม่หลอกเรานะ" (เด็กโตขึ้นไป)
"ช้างพูดจริง ๆ หรือ ไม่หลอกเรานะ" (ได้ทุกวัย ขึ้นอยู่กับแนว)
- ใช้เพื่อบอกอารมณ์ผู้พูดในขณะนั้น
"อ๋อหรอ ไม่บอกไม่รู้"
"อ๋อเหรอ ไม่บอกไม่รู้"
"อ๋อหรือ ไม่บอกไม่รู้"
- ใช้เพื่อความสมจริงกับยุคสมัย หรือแนวของนวนิยาย
เช่น มักจะใช้คำว่า "หรือ" ทั้งเรื่องในแนวพีเรียด (ย้อนยุค)
ตัวละครจำเป็นต้องใช้คำที่สละสลวย เพื่อบ่งบอกถึงชาติตระกูล ฐานะ
ที่ออกจะค่อนไปทางสูง
แต่ไม่ได้หมายความว่าแนวอื่นห้ามใช้ ยืนยันว่ายังคงต้องใช้อยู่เช่น
เดิม ยกเว้นจะมีเหตุผลอื่นตามข้อแรก หรือข้อต่อไปที่จะได้อ่าน
- ใช้เพื่อบอกคาแร็กเตอร์ของตัวละคร
เช่น ฝรั่งพูด จะใช้คำว่า "เหรอ"
เด็กเล็ก ๆ พูด จะใช้คำว่า "หรอ"
แต่ไม่ได้หมายความว่าในเรื่องจะไม่ใช้คำว่า "หรือ" เลย เพราะถ้า
หลุดจากเหตุผลของคาร์แรกเตอร์แล้ว ก็ควรใช้ในตัวละครอื่น ๆ
ว่า "หรือ" ตามปกติของภาษาไทย
- ใช้ด้วยความเคยชิน
ประเภทนี้ประมาณว่าเอะอะก็เหมาใช้ทั้งเรื่อง ใช้เพราะรู้สึกว่าต้องใช้
ใช้เพราะเคยชินที่จะใช้ ใช้เพราะเห็นคนอื่นเขาใช้กัน ซึ่งเป็นการใช้ที่
ไร้เหตุผล ไม่ได้ดูองค์ประกอบหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้ จนทำให้คน
อ่านรู้สึกว่าเป็นภาษาวิบัติ
สำหรับข้อนี้ใครที่เป็นอยู่ ควรปรับปรุงตัวอย่างแรง
สรุป...การใช้ภาษาเพื่ออารมณ์ของงานเขียน มีการอลุ่มอล่วย แต่ต้อง
ดูด้วยว่าจำเป็นมากน้อยแค่ไหน สมควรใช้ทั้งเรื่องหรือไม่
ยกตัวอย่าง...เรื่อง "ใยเสน่หา บทประพันธ์ของ คุณทมยันตี
"ปากิม..." คนยืนข้างท้องร่องออกคำสั่ง คนท่องน้ำอยู่ในท้องร่อง
"เด็ดก้านบัวยาว ๆ น้า เอามาทำฉายฉ้อย"
"สายสร้อย!" คนในท้องร่องแก้คำแล้วบ่น "พูดยังไม่จั๊ด อุตส่าห์สั่ง"
"นั่นละ เลาจาเอา" คนอยากได้ไม่สนใจหรอกว่าจะพูดยังไง
ฉะนั้น การใช้คำว่า หรือ เหรอ หรอ หรือแม้แต่ เรอะ จึงไม่ผิดแต่ประการใด
สำคัญต้องใช้อย่างมีเหตุผล หากตัวละคร หรือองค์ประกอบหลายๆ อย่างไม่จำเป็นให้ต้องใช้คำแสลง ก็ควรกลับมาใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง