ผมเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นนี้ครับ
--->
อยากแลกเปลี่ยนด้วยครับ เรื่องปัญหาการบุกรุกป่า ของชาวบ้าน ในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน 30 ปีที่ผ่านมา มุมมองคนเมืองหลวง มองคนชนบท เป็นผู้บุกรุกป่า เหมือนเช่นที่คนพื้นราบ มองคนบนภูเขา บุกรุกป่า นั่นแหละครับ
จริง ๆ เรามอง ปัญหาอย่างตัดขาด ระหว่างเมืองและชนบท ย้อนไปร้อยกว่าปี รอบ ๆ กรุงเทพ ก็มีแต่ป่าไม้ครับ แต่ปัจจุบัน ไม่เหลือสักต้น นั่นคือการบุกรุกป่าเหมือนกัน ตอนนี้ภาคกลางในรัศมีร้อยกิโลเมตร ไม่เหลือป่าไม้เลย เขตรอยต่อป่าไม้ รอบกทม. ถ้าใกล้สุดก็นครนายก ห่างออกไป 80 กม. ภาคตะวันออก เหลืออยู่ที่อ.ศรีราชา ชลบุรี หย่อมหนึ่ง ส่วนเขาไม้แก้ว ทางไประยอง ก็จะหมดแล้ว ซึ่งก็ห่างออกไป 100 กม. ทางตะวันตก นี่ไม่ต้องพูดถึง โน่นครับ ติดอ.ด่านช้าง สุพรรณบุรี ไกลไปกว่า 200 กม. ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ก็ต้องอุทัยธานี 250 กม. ส่วนทางเหนือ ก็ต้องเลยนครสวรรค์ ไป มากกว่า 250 กม. ตะวันตก เมืองกาญจนบุรี และราชบุรี พอ ๆ กันครับ 150 กม. ทางใต้ ก็ต้องโน่น เข้าเขตหัวหิน ประจวบฯ ทั้ง ๆ อดีต พื้นที่ป่าไม้ อยู่รอบ ๆ กทม. ไม่เกิน 30 กม.
ถามว่าทำไม ต้นไม้หายไป ก็เพราะคนเราต้องการพื้นที่ทำการเกษตร ที่อยู่อาศัย พาณิชย์ ฯลฯ เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร ในอดีตเรามีประชากร เพียง 35 ล้านคน แต่ปัจจุบันเรา จะแตะ 70 ล้าน คนอยู่แล้ว
โจทย์ใหญ่ที่สุด ที่เราไม่เคยทำการวิจัย ศึกษา และวางแผน มาเลย คือ การใช้ที่ดิน อย่างคุ้มค่า และเพิ่มมูลค่า การใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไร ในพื้นที่ 321 ล้านไร่ของประเทศไทย เป็นพื้นที่เกษตร มากกว่า 100 ล้านไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่ป่า ประมาณ 100 กว่าล้านไร่ ซึ่งก็มีความทับซ้อน ระหว่างป่าสงวน ป่าเสื่อมโทรม ป่าอนุรักษ์ อุตุลุดไปหมด ส่วนอีกเกือบ 80 ล้านไร่ เป็นที่ส่วนราชการ ที่ทหาร ที่ราชพัสดุ ที่พาณิชย์ ที่อยู่อาศัย และที่รกร้างว่างเปล่า
เราไม่เคยมีการบอกว่า เราต้องมีพื้นที่ปลูกข้าวเท่าไหร่ จึงเหมาะสม และในแต่ละพื้นที่ปลูกข้าว นั้นต้องได้ข้าวกี่ตัน จึงจะคุ้มค่า ต้องปลูกผลไม้เท่าไหร่ จึงเหมาะสม ทำมันสำปะหลัง เท่าไหร่ ทำปาล์มเท่าไหร่ ทำสวนยางเท่าไหร่ มันสัมพันธ์ ความไม่ประสบความสำเร็จ ในการบริหารจัดการที่ดินและพืชผลทางการเกษตร ที่เกิดคำถามว่า ทำไมเกษตรกรยากจน เพราะส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรล้มเหลว เรื่องอาชีพ ในการสร้างรายได้ ที่ต้องยกระดับเข้าสู่สังคมโลกยุคใหม่ครับ นี่ยังดีนะ ที่แรงงานภาคเกษตร ไหลเทเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม บริการ และพาณิชย์ ไม่เช่นนั้น เราจะเห็นพื้นที่ป่าหายไปมากกว่านี้
สิ่งที่คุณเห็นในภูเขาภาคเหนือ นั่นในอดีตไม่ไกลนัก เป็นฝีมือของชาวเขา ครับ แต่ปัจจุบันมีชาวเรา ชาวพื้นราบ ชาวเมือง จากทั่วทุกทิศ เข้าไปปะปน เช่นคนใต้จังหวัดชายแดน และใต้ตอนกลาง หนีไปทำสวนยางในภาคอีสาน และภาคเหนือ เป็นต้น
จริง ๆ หากมีคนทำโมเดล การบริหารจัดการด้านเกษตร และที่ดิน อย่างสัมพันธ์ เราก็จะรู้ว่า สินค้าเกษตร แบบครัวเรือน หรือเอกชนรายย่อย นั้น มันมีความเหมาะสมของมันในแต่ละประเภทสินค้าเกษตรที่ปลูก ผมยกตัวอย่าง เช่นยางพารา ครอบครัวหนึ่ง ที่เหมาะสมคือประมาณ 25 ไร่ คือความหมายว่า ใช้แรงงานในครอบครัว ปลูก ดูแล กรีด โดยไม่ต้องจ้าง นะครับ ปาล์มนี่ ใช้พื้นที่มากหน่อย ประมาณ 50 ไร่ จึงจะคุ้มทุน เพราะปลูกปาล์ม ไร่หนึ่งได้ 22 ต้น ขณะที่ยางได้ 78-82 ต้น ต่างกัน 4 เท่าตัว แต่ปาล์มตัดเดือนละ ไม่เกิน 2 ครั้ง ส่วนปาล์มกรีดวันเว้นวัน หรือทุกวันแต่เว้นแถว ดังนั้นแรงงานปาล์มจึงรองรับพื้นที่ได้มากกว่ายาง ครัวเรือนหนึ่ง จึงรองรับได้มาก และการให้ผลผลิต จากพันธ์ปาล์ม ของกรมวิชาการเกษตรของไทย อยู่ระดับที่ 2.7-3 ตัน หากปลูกน้อย ก็ไม่คุ้มค่าการลงทุน ส่วนมันสำปะหลัง อ้อย ก็เช่นเดียวกัน มีโมเดล ที่เหมาะสมรองรับครับ
เช่นเดียวกับข้าว ที่หากยึดโมเดลชุมชนบุพกาล เต็มที่ ครอบครัวหนึ่งทำได้ไม่เกิน 20 ไร่ ครับ นั่นคือ ปลูกเอง (ลงแขกบ้าง) หรือใช้ควาย เกี่ยวเอง แต่หากเป็นยุคปัจจุบันใชเครื่องจักร ก็สามารถทำได้ถึง 50 ไร่
ปัญหาทั้งหมด เราไม่เคยมีการ ทำโมเดล ที่เหมาะสม ครับ เพราะคนไทยชอบเสรี ไม่เคยคิดโมเดล การเกษตร ที่สนองตอบ การตลาด แบบครบรอบ เช่น หากทำนา เราทำเหมือนกันหมด เพราะง่ายต่อระบบการจัดการน้ำ เก็บเกี่ยวและขนส่ง เนื่องจาก ระบบนาของเรา มันเป็นพรืด ติดกัน ไม่ว่าจะมีเจ้าของกี่ราย จริง ๆ หากเอาโมเดลมาจัง ให้ครบมิติ จะพบว่า เรามีที่ดินเหลือพอที่จะทำการเกษตร เพื่อการผลิตด้านบริโภค หรือแปรรูป
ผมยกตัวอย่าง เราเจอปัญหาราคาข้าวตก ผลผลิตข้าวอยู่ในอัตราต่ำต่อไร่ วิธีแก้ของเรา คือ แทรกแซงราคา ประกันราคา รับจำนำ และหาทางเพิ่มผลผลิตต่อไร่ แต่ไม่เคยคิดหาทางว่า ถ้าพื้นที่ตรงนี้มันไม่คุ้ม ก็หันไปคิดพืชเกษตรชนิดอื่น เรายังคงตั้งหน้าตั้งตา แก้ปัญหาปลายทาง ไปตลอด ดังนั้นเมื่อข้าวราคาดี ทุกคนก็จะแห่ปลูก แม้กระทั่งคนเมืองหลวง ก็อยากได้ที่นา กว้านซื้อแล้วจ้างชาวบ้านปลูกอีกที ชาวนาขายที่ ได้ราคาแพง ก็ไปหาที่ ราคาถูก ซึ่งก็คือ การขยายพื้นที่ใหม่ นั่นแหละครับ
ตอนผมแวะไปต่างประเทศ หลายปีก่อน เช่นเยอรมัน ระบบการบริหารจัดการเกษตร นั้นเป็นระบบฟาร์ม ครับ เช่น เขาปลูกผัก ขาย เขาคิดวางแผน ตั้งแต่ การใช้ที่ดิน ที่เอเคอร์ จึงเหมาะสม ไม่เกินกำลัง แล้วแบ่งแปลงปลูก ผัก โดยคำนวณอายุผัก ว่าผักชนิด 45 วันเก็บได้ อีกชนิดหนึ่ง 60 วันเก็บได้ เขาก็จะแบ่งเป็น 45 แปลง หรือ 60 แปลง และเริ่มลงมือปลูกแปลงที่ 1 แปลงที่ 2 ไล่เรียงกันไปจนครบ 45 แปลง 45 วัน พอเขาปลูกแปลง ที่ 45 เสร็จ นั่นหมายความว่า เขาเริ่มแปลงที่ 1 แล้ว และเขาก็จะหมุนรอบแบบนี้ ผมก็ถามเขาว่าทำไม เขาบอกว่า สะดวกสำหรับคนรับซื้อและตลาด คือมีสินค้าสด ป้อนให้เขาทุกวัน คนกลางรับซื้อก็ไม่เสียเที่ยว ตลาดแผงขาย ก็มีสินค้ามาส่งทุกวัน แบ่งงานกันทำ แบ่งกำไร กัน ครับ แต่ของเรา มีพื้นที่แปลงหนึ่ง เราปลูกชนิดเดียวกัน ครั้งเดียว และรอผลผลิตออก 45 วัน ก็ตัด เสร็จแล้วก็เริ่มปลูกใหม่ รออีก 45 วัน จึงจะได้เก็บ พ่อค้าเขาต้องหาของขายทุกวัน เขาวางแผนไม่ถูก เขาไม่รอหรอกครับ 45 วัน เขาก็ต้องไปหาที่อื่น หาสินค้าอื่น ซึ่งสร้างปัญหาให้กับเกษตรกร ทีปลูกแล้ว ไม่มีใครมารับซื้อ ก็ต้องหาทางเอาไปขายตลาดเอง เสียต้นทุนค่าขนส่ง บางทีไปแล้ว เสียท่าพ่อค้า กดราคา ก็ต้องขาย ผีถึงป่าช้า ขายขาดทุน ดีกว่าต้องเททิ้ง มันเป็นแบบนี้
ผมถึงบอกว่า เราไม่มีการจัดทำโมเดล ด้านการเกษตร กระทั่งปัจจุบัน มีสินค้ายาง ปาล์ม และอ้อย เท่านั้น ที่เข้าสู่วงจรอุตสาหกรรม โดยเฉพาะยางพารา ที่พอกรีด ได้น้ำยางสด ก็มีพ่อค้ามารับซื้อ แต่ด้วยความเป็นธรรมชาติของยางพาราครับ ที่สามารถกรีดได้ทุกวัน เพียงแต่ต้องรอนาน 7 ปี กว่าจะกรีดได้ ไม่ใช่เรื่องการวางแผน เป็นโมเดล ในทางการเกษตร
ข้าวโพด ก็เหมือนกัน ภาคเหนือ ปลูกกันมาก เพราะการส่งเสริมบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างซีพี ที่ต้องการซื้อข้าวโพด เป็นเมล็ดพันธุ์ (seed) และเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าโรงอาหารสัตว์ ข้าวโพดที่ปลูก ส่วนใหญ่ ปลูกปีละครั้ง ครับ เพื่อให้ได้ผลผลิต มาก ก็ต้องใช้พื้นที่มาก ดังนั้น จึงเห็นชาวบ้านบุกรุกพื้นที่บนเขา ปลูกข้าวโพดกัน ถามว่าเขาเหนื่อยไหม เหนื่อยครับ แค่เดินขึ้นดอย ก็หมดแรงแล้ว สำหรับพวกเรา แต่เขาต้องทำ เนื่องจากต้องการเงิน จึงมีความพยายาม คิดทฤษฎี แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ เช่นเศรษฐกิจพอเพียง แต่มันไม่ตอบโจทย์ ครับ เพราะอะไร นักวิชาการบางคน โยนเป็น วัตถุนิยม แต่จริง ๆ มันก็เป็นกฎของฟรอยด์ ครับ ที่เป็นความต้องการของมนุษย์ เราจะไปกีดกันไม่ให้เขา ดิ้นรน มีเศรษฐกิจ ที่ดีขึ้น ส่งลูกเรียนต่างประเทศ นั่งเครื่องบิน มีรถใช้ มีเฟอร์นิเจอร์ใช้ เหมือนคนเมืองไม่ได้ เพราะมนุษย์ มีความต้องการเหมือนกัน
แต่กล้บไม่มีใครคิด ว่า แล้วโมเดล ที่เหมาะสม สำหรับการทำเกษตร ในแต่ละระดับ แต่ละพื้นที่ แต่ละประเภท เป็นอย่างไร แต่กลับโยนโจทย์ ไปที่ กระแสค่านิยม หรือพยายามเบี่ยง ให้เขาอยู่อย่างสมถะ ซึ่งฝืนธรรมชาติความต้องการของมนุษย์ ครับ ดังนั้นกระแสตอบรับ ในแนวคิด เหล่านี้ยังไม่ได้ผล คนก็ยังตั้งหน้าตั้ง ดิ้นรนตอบสนองความต้องการ ของตนเอง อยู่ต่อไป บางคนอยากรวยเร็ว ก็ค้ายาบ้า ยาเสพติด ที่มีเห็นกันเกลื่อน
ประเด็นหลัก จริง ๆ ผมเห็นว่า เราแก้กันที่ต้นทาง ครับ คือ การสร้างโมเดล บริหารจัดการเกษตร ที่เหมาะสม ขึ้นมา เสียใหม่
ผมยกตัวอย่าง เช่น ผลไม้ ที่มีปัญหาทุกปี แต่แปลกไหมครับ ทุเรียนเมืองนนท์ นี่ใช้พื้นที่ไม่มาก แต่กำไรมหาศาล เพราะขายได้ราคาสูง เป็นสินค้าพรีเมียม เพราะทุกคนเชื่อมั่นว่า เป็นทุเรียนอร่อยที่สุดในประเทศ มีประวัติมายาวนาน มีชื่อ จนผลผลิตจากสวนต้องจองกันตั้งแต่ ติดลูกเล็ก ๆ กันเลยทีเดียว แต่ทุเรียนระยอง ทุเรียนนาสาร กลับมีปัญหาราคาตกทุกปี แต่เราก็ยังปลูกกัน ไม่ได้เปลี่ยนแปลง โดยส่วนใหญ่นะครับ มีบางคน เท่านั้น ที่เปลี่ยนแปลง คือ หันมาผลิตทุเรียน เฉพาะกลุ่มลูกค้า สร้างเอกลักษณ์ ออกมา บางรายส่งเฉพาะญี่ปุ่น จีนก็ไม่พอ นี่คือ การบริหารจัดการเกษตรแบบยุคใหม่ ที่ครบทุกมิติ คือ ผลิตป้อนตลาดเฉพาะ
ผักปลอดสารพิษ โดยปลูกแบบไฮโดรโปรนิกส์ นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ตัวอย่างมีอยู่เจ้าหนึ่งปลูก ในพื้นที่ 3 ไร่ เลียบทางด่วนรามอินทรา ใกล้กับวัดคู้บอน เขาป้อนตลาดผักสลัด สำหรับโรงแรม ครับ เก็บขายทุกวัน รายได้ดี แต่กับกระหล่ำปลี ที่ปลูกบนดอย ภาคเหนือไล่จากตากไปจนถึงเชียงราย ปลูกดะ ครับ ปีไหนราคาดีรอด ปีไหนราคาตก เจ๊ง และผักเหล่านี้ขนไปส่ง กทม. และไม่น่าเชื่อ บางทีขนไปส่งถึงตลาด นครศรีธรรมราช ส่งต่อไปสิงคโปร์ บางทีไปถึงภูเก็ต ทั้ง ๆ กระหล่ำปลี ปลูกที่ไหนก็ได้ เราก็ไม่มีการจัดการ เรายอมปลูกบนดอย ขนส่ง ลงใต้ ค่าขนส่งกินหมด
ภูเก็ตนี่ เป็นจังหวัดท่องเที่ยว ต้องการผักทุกประเภท แต่กลับปล่อยให้จังหวัดกระบี่ และพังงา ปลูกยาง ปลูกปาล์ม ขายยาง ขายปาล์ม ซื้อผักจากทางเหนือ มากิน เราไม่เคยบอกว่า เฮ้ย กระบี่ และพังงา นี่ สร้างโมเดล ปลูกผัก ขนาดคนละ 5 ไร่ รวมกลุ่ม เป็นกลุ่มผลิต ผัก สัก 5 ประเภท แบ่งแปลงให้ครบรอบการผลิต สามารถป้อนผักให้ภูเก็ต ได้ทุกวัน ไม่มีคนคิด ไม่มีคนทำ ทั้ง ๆ ประหยัดค่าขนส่ง ไม่ต้องกดราคาคนปลูก เพื่อเอากำไร และต้องขายขูดรีดนักท่องเที่ยวในราคาแพง ๆ จริง ๆ เราทำแบบนี้ได้ แต่เราไม่ทำ กลายเป็นเรื่องตลก ครับ
จริง ๆ ด้วยประเทศเราเป็นประเทศ ที่่เหมาะสมกับการเกษตรทุกประเภท ครับ แต่เราขาดศักยภาพ ในการบริหารจัดการในรูป "โมเดล" ผมยกตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ที่นครนายก และรังสิตคลอง 6-12 และอำเภอบ้านนา เป็นแหล่งผลิตต้นไม้ ทุกประเภท เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรม ครบวงจร เลยทีเดียว ที่ถือว่าประสบความสำเร็จ คือ ปลูกหลายประเภท และแบ่งกันนะครับ ถ้าต้นไม้ใหญ่ ก็ต้องอ.บ้านนา ไม้ดอก ไม้ประดับ ก็ต้องแถวคลองรังสิต ส่วนไม้ยืนต้น ก็ต้อง ปราจีน แถมกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เกิดร้านกาแฟ แหล่งพักผ่อน ฯลฯ ซึ่งหากศึกษา เราก็จะพบว่า มีการพัฒนา ที่มีรูปแบบ และมีความรู้การบริหารจัดการ ที่ควรถอดออกมาครับ
มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมแปลกใจ คือ ทุ่งดอกกระเจียว มีอยู่คราวหนึ่งก่อนหน้านี้ รู้สึกเราจะต้องฟ้องร้อง เรื่องที่ยุโรป ได้เอาไปขึ้นทะเบียน เป็นสินค้าของเขา และเราคัดค้าน บอกว่าเป็นของเรา สุดท้ายผมจำไม่ได้ว่าเราแพ้ หรือชนะ แต่ผมได้แต่ สมเพช คือ เราสู้เพื่อบอกคนทั้งโลก ว่านี่เป็นของเรา เสร็จแล้วก็จบ แหล่งดูดอกกระเจียว ยังอยู่ที่ ชัยภูมิ เหมือนเดิม ทั้ง ๆ ที่ ดอกกระเจียว เป็นพืชตระกูลหัว ที่สามารถนำมาวางแผน ผลิต ปลูก เป็นไม้กระถาง ตั้งโต๊ะ ชนิดบังคับออกดอกได้ด้วย และปลูกที่ไหนก็ได้ ถ้ามีการควบคุมอุณหภูมิ สามารถเนรมิต สร้างแหล่งปลูกดอกกระเจียว ในระบบปิด รอบ ๆ กรุงเทพ นี่ยังได้เลย โดยที่คนอยากดูไม่ต้องถ่อสังข
--------------------------------------
ทำไมเพิ่งมาดูตอนนี้ อดีต ทำไมไม่ดูแลรักษา
และ ชาวเขาอย่างที่ว่า ป้องกันได้หรือ มาจากไหนเยอะแยะ ?? เยอะเรื่อยๆ
บัตรประชาชน ได้มาอย่างไร แบบทับซ้อนชื่อ ??
ป่า ใครเป็นคนทำลายกันแน่

ชาวบ้าน นายทุน หรือ ผู้ที่หวังครอบครองโดยชาวต่างประเทศ ??
ทำไมภาคกลาง ไม่มีป่า ?? มันหายไปไหนล่ะ ?? มีใบโฉนดได้อย่างไร ??
แล้วชาวเขาที่เข้ามายังประเทศไทยเรื่อยๆ จะป้องกันอย่างไร ?? ป่าหายไปเพราะชาวเขาบุกทำลาย ใครหรือที่จะอาสามาปราบปรามฯลฯ

?
สิทธิ์ที่ดินทำกิน ของชาวบ้าน ที่ทำมานาน ไม่ออกสักที หลักฐานที่ดินไม่เด่นชัด
ชอบที่ไหนแบบรวบรัด ก็เอาไปเป็นของป่าสงวน มันผิดมาแต่แรกล่ะ อีกพันปี
ปัญหานี้ก็ไม่จบ สุดท้าย หายนะก็บังเกิด ทั้งคนพื้นที่ และคนกรุงฯ
เงินมันบังตา ความขี้เกียจมีมาก
หน้าที่ก็ละหลวม ส่วนรวมก็ไม่เป็นธรรม
ความวิบัติและความเดือนร้อน ย่อมบังเกิดทุกหนละแห่ง

จริงทุกประการครับ สังคมเกษตรของไทยเน้นที่ปริมาณครับ ปลูกมากก็ขายได้เงินมาก มันจึงต้องขยายพื้นที่เพราะปลูกออกไปเรื่อยๆไงครับ เราควรหันกลับมาเน้นคุณภาพกันบ้าง หน่วยงานหลายๆหน่วยงานก็ทำกันอยู่ แต่เกษตรกรตามไม่ทันและเข้าไม่ถึงครับ