เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2025, 13:15:16
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การศึกษา (ผู้ดูแล: >:l!ne-po!nt:<)
| | |-+  >> รวมข้อมูล เกี่ยวกับการสอบ ท้องถิ่น ภาค ก ข และ ค 2556 <<
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 4 พิมพ์
ผู้เขียน >> รวมข้อมูล เกี่ยวกับการสอบ ท้องถิ่น ภาค ก ข และ ค 2556 <<  (อ่าน 28979 ครั้ง)
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 11:38:38 »

กำหนดการเปิดรับสมัครสอบแข่งขัน

เดือนกรกฎาคม - ประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน
เดือนสิงหาคม - เปิดรับสมัครสอบ
15 - กันยายน - สอบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:28:12 โดย ۰•ฮักแม่จัน©® » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:26:10 »

     การสอบครั้งนี้คือ "การสอบบรรจุข้าราชการท้องถิ่น" มันหมายถึงท่านสอบเพื่อบรรจุเลย ไม่มีใบผ่านภาค ก จบกันในวันเดียว ถ้าผ่านทั้ง ก และ ข ก็ได้ไปต่อ ถ้าไม่ผ่านอย่างใดอย่างหนึ่งก็กลับบ้านครับ


สอบบรรจุข้าราชการท้องถิ่น วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556
รอบเช้า สอบภาค ก. 100 คะแนน
รอบบ่าย สอบภาค ข. 100 คะแนน

ทุกคนจะได้สอบทั้ง ก และ ข
แต่จะมีไม่กี่คนที่จะได้สอบ ภาค ค.





ผู้ที่ยังไม่รู้ว่าตนเองจะสอบตำแหน่งไหน ผมแนะนำให้ อ่านภาค ก. ท้องถิ่นไปก่อนเลย
ในการสอบภาค ก ของท้องถิ่น จะแบ่งเนื้อหาการสอบเป็น
"วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล 25 คะแนน ,
วิชาภาษาไทย 25 คะแนน
และวิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ 50 คะแนน

ภาค ข. ทุกคนจะสอบความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ เหมือนกัน 70 - 80 %

เดือนหน้ารอประกาศค่อยคิดว่าจะสอบตำแหน่งอะไร

แต่คนที่มีเป้าหมายแล้วจะดีมากๆ อ่านเฉพาะที่ตนเองจะสอบได้เลยไม่ต้องรอใคร เหลืออีก 85 วัน ก่อนสอบ ใครดีใครได้ครับผม
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:27:59 »

ข้อแนะนำที่สำคัญลืมบอกเกี่ยวกับภาค ก.

ภาค ก. กพ มี 80 ข้อ เกณฑ์ผ่าน 60% ดังนั้นท่านทำได้ แค่ 48 ข้อก็จะผ่านทันที เอาแค่ผ่านรึไม่ผ่าน


ภาค ก ท้องถิ่นมี 100 ข้อ เกณฑ์ผ่าน 60 % เช่นกัน แต่ท่านต้องทำให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะจะมีการนำคะแนนไปรวมกับภาค ข และ ค เพื่อจัดลำดับผู้สอบแข่งขันได้ คะแนนสูงก็ได้บรรจุก่อน


ภาค ก กพ.มีแต่ คณิต -ไทย แต่ของท้องถิ่นมีระเบียบกฎหมายเพิ่มมา 50 %ดังนั้นง่าย ทำให้ได้มากที่สุดน้ะครับ
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:28:32 »

คำถามเดิมๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจภาค ก. กพ กับ ภาค ก. ท้องถิ่น


1.ภาค ก. กพ. กับภาค ก.ท้องถิ่นไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยแม้แต่น้อย ดังนั้น กพ.ที่จะสอบเดือนหน้า ใครที่สมัครไว้ก็สอบไป คณิต - ไทย กพ. ช่วยเสริมภาค ก. ท้องถิ่นได้ส่วนหนึ่ง
2.มันใช้แทนกันไม่ได้ เพราะไม่เกี่ยวกัน
3.ภาค ก. กพ สอบเพื่อเก็บไว้สมัครสอบภาค ข ในครั้งต่อๆไป แต่การสอบท้องถิ่นครั้งนี้ อย่าเรียกว่าสอบภาค ก. เพราะมันสอบทั้ง ก ข ค ให้เรียกว่าสอบบรรจุข้าราชการท้องถิ่น ท่านจะได้ไม่สับสน
4.ภาค ก กพ. จะมีใบผ่าน ท่านเก็บไว้ได้ตลอดชีวิต แต่ของท้องถิ่นครั้งนี้ไม่มีใบผ่านภาค ก ท่านจะต้องสอบให้ผ่านภาค ก ข และ ค เลย ถ้าผ่านอย่างใดอย่างหนึ่งตัดทิ้ง

ทีนี้ทุกท่านคงจะเข้าใจแล้วน้ะครับ อยากเข้าใจมากขึ้นไปเปิดดู ระเบียบบริหารแผ่นดิน รึไม่ก็ รธน. นะครับ
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:29:26 »

ภาค ก ภาค ข ภาค ค ต่างกันยังไง


ภาค ก. ?
เมื่อสนใจและต้องการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ เริ่มแรกจะต้องสอบ ภาค ก. หรือมีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า “ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป” การสอบจะกำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ 100 คะแนน
โดยจะทดสอบด้วย “ข้อสอบปรนัย” (ข้อสอบแบบมีตัวเลือก) โดยหน่วยดำเนินการสอบจะคำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการตามระดับตำแหน่ง ซึ่งจะแบ่งเนื้อหาขอบเขตของข้อสอบ ภาค ก. ได้ดังนี้


(๑) วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ข้อสอบเคยออกถึง “การหาค่าของเลขอนุกรม , การหาร้อยละ , โจทย์เงื่อนไขทางคณิตศาสตร์ , การอ่านค่าจากตาราง กราฟ แผนภูมิ”


(๒) วิชาภาษาไทย กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทย โดยการให้สรุปความและหรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความและให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำประโยคหรือข้อความสั้นๆ
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านภาษาไทย ข้อสอบเคยออกถึง “อุปมา อุปไมย , เงื่อนไขทางภาษา , การเรียงประโยค , การเติมคำ , การตีความจากบทความยาว , คำราชาศัพท์ , สำนวน สุภาษิตไทย”


(๓) วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ กำหนดคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน
จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบงานสารบรรณ และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น “โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น , พระราชบัญญัติ อบจ./เทศบาล/อบต.”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 03 สิงหาคม 2013, 10:33:48 โดย ۰•ฮักแม่จัน©® » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:31:03 »

ตำแหน่งว่าง  ระดับ  1   วุฒิ ปวช,ปวท  หรือ ไม่ต่ำกว่านี้


* 999550_201700459985088_545596329_n.jpg (55.49 KB, 679x960 - ดู 7982 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:31:20 »

ระดับ  2   ปวส  หรือไม่ต่ำกว่านี้


* 1252_201700499985084_999201876_n.jpg (63.96 KB, 679x960 - ดู 14085 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:31:40 »

ระดับ  3  ปริญญาตรี  หรือไม่ต่ำกว่านี้


* 1005052_201700619985072_767482069_n.jpg (66.71 KB, 679x960 - ดู 19877 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:33:42 โดย ۰•ฮักแม่จัน©® » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:43:29 »

เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 1
ทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์การสอบบรรจุของท้องถิ่น




ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นมา หลักเกณฑ์การสอบบรรจุเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) / เทศบาล / องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ได้เกิดหลักเกณฑ์การสอบใหม่ขึ้นมา ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมตัวเองให้พร้อมกับการสอบ จึงต้องมาทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์การสอบใหม่นี้ก่อน

        ขออ้างถึงประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลเรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด / พนักงานเทศบาล /พนักงานส่วนตำบล

     ในกรณีอบจ./เทศบาล/อบต.เป็นหน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน ให้อบจ./เทศบาล/อบต.เป็นเจ้าของบัญชี หมายถึง เทศบาลอื่นๆ หรือ อบต.อื่นๆ ไม่สามารถขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การขึ้นบัญชีและใช้บัญชีจะใช้ได้เฉพาะหน่วยงานที่จัดสอบเท่านั้น

     ในกรณีคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน ให้จังหวัดที่เป็นศูนย์อำนวยการสอบแข่งขันในแต่ละภาค/เขตเป็นเจ้าของบัญชีผู้สอบแข่งได้ สำหรับการแบ่งภาค/เขตในการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามประกาศกำหนด

     ณ ตอนนี้หลายๆท่าน คงเฝ้ารอการสอบแบบแบ่งภาค/เขต ตามหลักเกณฑ์ฯ บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) ประกอบด้วยจังหวัดในกลุ่มภาค/เขต ดังนี้


ภาคกลางเขต ๑ ได้แก่
1.จังหวัดชัยนาท ๒.จังหวัดนนทบุรี ๓.จังหวัดปทุมธานี ๔.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๕.จังหวัดลพบุรี ๖.จังหวัดสระบุรี ๗.จังหวัดสิงห์บุรี ๘.จังหวัดอ่างทอง

ภาคกลางเขต ๒ ได้แก่
๑.จังหวัดจันทบุรี ๒.จังหวัดฉะเชิงเทรา ๓.จังหวัดชลบุรี ๔.จังหวัดตราด ๕.จังหวัดนครนายก ๖.จังหวัดปราจีนบุรี ๗.จังหวัดระยอง ๘.จังหวัดสมุทรปราการ ๙.จังหวัดสระแก้ว

ภาคกลางเขต ๓ ได้แก่
๑.จังหวัดกาญจนบุรี ๒.จังหวัดนครปฐม ๓.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๔.จังหวัดเพชรบุรี ๕.จังหวัดราชบุรี ๖.จังหวัดสมุทรสงคราม ๗.จังหวัดสมุทรสาคร ๘.จังหวัดสุพรรณบุรี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต ๑ ได้แก่
๑.จังหวัดกาฬสินธุ์ ๒.จังหวัดขอนแก่น ๓.จังหวัดชัยภูมิ ๔.จังหวัดนครราชสีมา ๕.จังหวัดบุรีรัมย์
๖.จังหวัดมหาสารคาม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต ๒ ได้แก่
๑.จังหวัดมุกดาหาร ๒.จังหวัดยโสธร ๓.จังหวัดร้อยเอ็ด ๔.จังหวัดศรีสะเกษ ๕.จังหวัดสุรินทร์ ๖.จังหวัดอำนาจเจริญ ๗.จังหวัดอุบลราชธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต ๓ ได้แก่
๑.จังหวัดนครพนม ๒.จังหวัดบึงกาฬ ๓.จังหวัดเลย ๔.จังหวัดสกลนคร ๕.จังหวัดหนองคาย ๖.จังหวัดหนองบัวลำภู ๗.จังหวัดอุดรธานี

ภาคเหนือเขต ๑ ได้แก่
๑.จังหวัดชียงราย ๒.จังหวัดเชียงใหม่ ๓.จังหวัดน่าน ๔.จังหวัดพะเยา ๕.จังหวัดแพร่ ๖.จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๗.จังหวัดลำปาง ๘.จังหวัดลำพูน

ภาคเหนือเขต ๒ ได้แก่
๑.จังหวัดกำแพงเพชร ๒.จังหวัดตาก ๓.จังหวัดนครสวรรค์ ๔.จังหวัดพิจิตร ๕.จังหวัดพิษณุโลก ๖.จังหวัดเพชรบูรณ์ ๗.จังหวัดสุโขทัย ๘.จังหวัดอุตรดิตถ์ ๙.จังหวัดอุทัยธานี

ภาคใต้ เขต ๑ ได้แก่
๑.จังหวัดกระบี่ ๒.จังหวัดชุมพร ๓.จังหวัดนครศรีธรรมราช ๔.จังหวัดพังงา ๕.จังหวัดภูเก็ต ๖.จังหวัดระนอง ๗.จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ภาคใต้ เขต ๒ ได้แก่
๑.จังหวัดตรัง ๒.จังหวัดนราธิวาส ๓.จังหวัดปัตตานี ๔.จังหวัดพัทลุง ๕.จังหวัดยะลา ๖.จังหวัดสงขลา ๗.จังหวัดสตูล

          คราวนี้ จะได้เตรียมตัวลงสนามสอบได้ถูก ว่าจะเลือกลงในเขตไหนดี ถ้าที่ดีควรศึกษาถึงกรอบอัตราตำแหน่งที่ว่างอยู่ในเขต/จังหวัดนั้นๆ เพราะหากกรอบอัตราตำแหน่งว่างมีมาก จะส่งผลให้การใช้เรียกบัญชีก็จะมีมากเช่นกัน
 
หลักสูตรในการสอบแข่งขัน
กำหนดให้หน่วยดำเนินการสอบ จัดสอบทั้ง ๓ ภาค คือ ภาค ก. ภาค ข. และภาค ค.
 
วิธีการดำเนินการสอบแข่งขัน

กำหนดให้หน่วยดำเนินการสอบ ให้ดำเนินการสอบแข่งขันทั้งภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. (ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากเดิม)
กรณีการสมัครสอบแข่งขันที่ กสถ. เป็นผู้ดำเนินการกำหนดให้ผู้สมัครสอบต้องเลือกกลุ่มจังหวัดที่ประสงค์จะบรรจุแต่งตั้ง *ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครด้วย
 
การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้

กำหนดให้บัญชีผู้สอบแข่งขันมีอายุ ๒ ปี ผู้ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะต้องบรรจุตามลำดับที่ โดยผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดมีสิทธิเลือกบรรจุใน อปท. ใดก็ได้ตามบัญชีรายชื่อ อปท. ที่ขอใช้บัญชีไปบรรจุแต่งตั้ง
 
เงื่อนไขการบรรจุแต่งตั้ง

จะต้องบรรุจแต่งตั้งในตำแหน่งที่สอบได้หรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกัน และกำหนดให้เมื่อบรรจุห้ามโอนย้ายภายใน ๑ ปีนับจากวันบรรจุ โดยไม่มีข้อยกเว้น

จากหลักเกณฑ์การสอบที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่แล้ว หากเราทำความเข้าใจกับหลักเกณฑ์ฯ ก็จะสามารถเตรียมตัวเองได้ถูก เสมือนหนึ่งว่ารู้หลักกติกาการสอบ ก็จะสามารถเดินตามกติกาได้จนจบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:18:40 โดย ۰•ฮักแม่จัน©® » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:45:11 »

เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 2
รายละเอียดหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ



เหตุใด ทำไมต้องสอบภาค ก ข และ ค
     ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว หลักสูตรในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการได้กำหนดให้หน่วยดำเนินการสอบ จัดสอบทั้ง 3 ภาค คือ ภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. ถ้าเป็นมือใหม่คงไม่เข้าใจและสงสัยว่าคืออะไร ทำไมต้องสอบกันหลายภาคด้วย ดังนั้นเพื่อความเข้าใจในการเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ จะขออธิบายความหมาย และประเด็นสำคัญในการเตรียมตัวสอบ ดังนี้

ภาค ก. ?
        เมื่อสนใจและต้องการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ เริ่มแรกจะต้องสอบ ภาค ก. หรือมีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า “ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป” การสอบจะกำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ 100 คะแนน
โดยจะทดสอบด้วย “ข้อสอบปรนัย” (ข้อสอบแบบมีตัวเลือก) โดยหน่วยดำเนินการสอบจะคำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการตามระดับตำแหน่ง ซึ่งจะแบ่งเนื้อหาขอบเขตของข้อสอบ ภาค ก. ได้ดังนี้

      (๑) วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ข้อสอบเคยออกถึง “การหาค่าของเลขอนุกรม , การหาร้อยละ , โจทย์เงื่อนไขทางคณิตศาสตร์ , การอ่านค่าจากตาราง กราฟ แผนภูมิ”

      (๒) วิชาภาษาไทย กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทย โดยการให้สรุปความและหรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความและให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำประโยคหรือข้อความสั้นๆ
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านภาษาไทย ข้อสอบเคยออกถึง “อุปมา อุปไมย , เงื่อนไขทางภาษา , การเรียงประโยค , การเติมคำ , การตีความจากบทความยาว , คำราชาศัพท์ , สำนวน สุภาษิตไทย”

      (๓) วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ กำหนดคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน
จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบงานสารบรรณ และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น “โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น , พระราชบัญญัติ อบจ./เทศบาล/อบต.”

ภาค ข. ?
     หลังจากการสอบภาค ก. เราก็ต้องมาสอบภาค ข. (ภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง) ว่าง่ายๆ ก็คือความรู้ความเข้าใจในตำแหน่งที่เราสมัครสอบ (เหมือนกับเวลาเราไปสมัครงานบริษัทเอกชน เราก็ต้องรู้ใช่ไหมว่าตำแหน่งที่เราสมัครต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องรู้ *งานราชการก็เช่นกัน)
     ซึ่งภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง(ภาค ข) กำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ ๑๐๐ คะแนน
โดยจะทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่โดยเฉพาะตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนหรือวิธีสอบปฏิบัติ หรือวิธีอื่นใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้จะรวมสอบเป็นวิชาเดียวหรืออย่างเดียว หรือแยกสอบเป็นสองวิชาหรือสองอย่าง แต่เมื่อรวมคะแนนทุกแบบทดสอบแล้วต้องมีคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน โดยเมื่อจะทดสอบความรู้ความสามารถในทางใดและโดยวิธีใด หน่วยดำเนินการสอบจะระบุไว้ในประกาศรับสมัครสอบด้วย

     ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสมัครตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ก็ต้องเตรียมอ่านแล้วว่า ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร รับผิดชอบอะไรบ้าง พรบ.หรือข้อกฎหมายที่เราควรทราบ อย่างเช่น  งานพัสดุ งานสารบรรณ งานเลขานุการ งานบริหารบุคคล เป็นต้น สามารถศึกษาหน้าที่และลักษณะงานของแต่ละตำแหน่งของท้องถิ่นได้ตาม “มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ของ อบจ./เทศบาล/อบต.” (http://local.chiangmai.go.th/noui/math/) และที่สำคัญต้องสังเกตในส่วนท้ายของประกาศการรับสมัครสอบด้วยว่า “ขอบเขตเนื้อหาในการสอบตำแหน่งนั้นๆ จะออกเนื้อหาในส่วนใดบ้าง” ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผ่านมาหน่วยดำเนินการสอบจะระบุแจ้งไว้อย่างชัดเจน

ภาค ค. ?
    ภาค ค. (ภาคความเหมาะสมเฉพาะตำแหน่ง) ก็คือ “การสอบสัมภาษณ์” นั่นเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย
ซึ่งภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) กำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ ๑๐๐ คะแนน โดยจะประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบ “จากการสัมภาษณ์” ทั้งนี้หน่วยดำเนินการสอบอาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมอีกก็ได้ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จริยธรรมและคุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น

     การดำเนินการสอบ ภาค ก ภาค ข และภาค ค อาจจะดำเนินการทดสอบในคราวเดียว หรือดำเนินการสอบภาคหนึ่ง ภาคใดก่อนก็ได้ ทั้งนี้หน่วยดำเนินการสอบแข่งขันจะประกาศชัดเจนในประกาศรับสมัครสอบ ขอให้ผู้เข้าสอบอ่านและศึกษาประกาศการสอบให้ละเอียดด้วย

เกณฑ์การตัดสินการสอบ

     การตัดสินว่าผู้ใดเป็นผู้สอบแข่งขันได้ให้ถือเกณฑ์ว่าต้องเป็นผู้สอบได้คะแนนในภาคความรู้ความสามารถทั่วไป(ภาค ก) ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) ที่สอบตามหลักสูตรแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ โดยหน่วยดำเนินการสอบจะนำคะแนนจากการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป(ภาค ก) ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะสำหรับตำแหน่ง(ภาค ข) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) มารวมกัน ทั้งนี้จะคำนึงถึงหลักวิชาการวัดผลด้วย

     ผู้ที่สนใจจะเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น อบจ. เทศบาล และอบต. จะต้องเข้าสู่กระบวนการสอบตามหลักเกณฑ์ข้างต้น โดยจะต้องเริ่มจากสอบภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. เรียงตามลำดับไป ซึ่งการสอบนั้น อาจจะสอบทั้ง 3 ภาคพร้อมกัน หรือแยกการสอบออกเป็นการสอบภาคใดก่อนก็ได้ โดยผู้เข้าสอบต้องอ่านระเบียบการสอบให้ดี
     การสอบทั้ง ภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. แต่ละภาคนั้นจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จากนั้นการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ หน่วยดำเนินการสอบจะเอาคะแนนภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. มารวมกัน และประกาศบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ให้ทราบต่อไป

     แนวข้อสอบก็จะออกตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ซึ่งผู้ที่สนใจจะสอบนั้น ควรขยันทำสอบข้อเก่าๆ เพื่อทำความเข้าใจในหลักการหาคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งข้อสอบเก่าๆที่ผ่านมา จะเป็นอาจารย์ของเราได้อย่างดี การสอบครั้งนี้เป็นการสอบแข่งขันระดับประเทศ ดังนั้นต้องขยันอ่านหนังสือ ต้องสร้างระเบียบวินัยในการอ่านหนังสือให้กับตัวเอง การสอบนอกจากแข่งขันกับตัวเองแล้ว ยังต้องทำคะแนนแข่งขันกับผู้สอบคนอื่นๆอีกมากมาย โดยหลักการอ่านหนังสือนั้น ผู้เขียนจะนำมาอธิบายเผยแพร่ในโอกาสต่อไป

     การสอบครั้งนี้ เป็นศึกการสอบที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกครั้งที่เคยมีมา ดังนั้นอยากให้ทุกท่านเตรียมตัวเองให้พร้อมสอบอยู่เสมอ อย่ากังวลกับวันประกาศรับสมัครสอบ อย่ากังวลกับอัตรากำลังที่เปิดรับ ขอให้ท่านอ่านหนังสือ ทบทวนความรู้ความเข้าใจอยู่เสมอ จากนี้ไปใช้ทุกวันก่อนสอบให้คุ้มค่า ถามตัวเองดูว่า "อ่านหนังสือพอหรือยัง? เข้าใจแล้วหรือยัง? มีความตั้งใจทุ่มเทขนาดไหน?" มีความพร้อมที่จะแข่งกับคนอื่นหรือยัง?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:18:55 โดย ۰•ฮักแม่จัน©® » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:48:09 »

เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 3
การขึ้นบัญชีและเงื่อนไขการใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้



จากหลักเกณฑ์ใหม่นี้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่องๆ ไม่ว่าจะเป็น
- การเมื่อได้รับการบรรจุแต่งตั้งแล้ว ต้องบรรจุทำงานอยู่อย่างน้อย 1 ปี ก่อนจึงจะทำเรื่องโอนย้ายได้
- การใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ก็สามารถใช้ภายในกลุ่มจังหวัด / ภาค (ข้ามจังหวัดภายในกลุ่มจังหวัด/ภาคได้)
- การขอใช้บัญชี (ขอรับรองบัญชี) หน่วยงานที่ขอใช้ ก็ต้องอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่เป็นเจ้าของบัญชี
   ซึ่งจะมีรายละเอียด ดังนี้


การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้

         ตามหลักเกณฑ์ฯการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จะเรียงลำดับที่จาก “ผู้สอบได้คะแนนสูงลงมาตามลำดับ” ในกรณีที่ผู้สอบแข่งขันได้คะแนนรวมเท่ากัน ผู้ที่สอบได้คะแนนภาค ค มากกว่า จะอยู่ในลำดับที่สูงกว่า แต่ถ้าคะแนนภาค ค. เท่ากันอีก ผู้ที่สอบได้คะแนนภาค ข. มากกว่า จะอยู่ในลำดับที่สูงกว่า แต่...ถ้าได้คะแนนภาค ข. เท่ากันอีก ผู้ที่สอบได้คะแนนภาค ก. มากกว่า จะอยู่ในลำดับที่สูงกว่า สุดท้ายถ้าคะแนนยังเท่ากันอีก จะให้ผู้ที่สมัครสอบก่อนอยู่ในลำดับที่สูงกว่า ซึ่งจะพิจารณาจากเอกสารการสมัครสอบ ดังนั้น การสมัครก่อน หรือหลัง ก็มีผลกับการเรียงลำดับในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้นะครับ

เงื่อนไขการบรรจุแต่งตั้ง

        การบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้จากบัญชีผู้สอบแข่งขันนี้ ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บรรจุแต่งตั้งอย่างน้อย 1 ปีไม่มีข้อยกเว้น จึงจะโอนไปสังกัดหน่วยงานราชการอื่นได้ อนึ่งเมื่อจังหวัดเจ้าของบัญชีได้ส่งบุคคลใดไปเพื่อรับการบรรจุแต่งตั้งแล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีสิทธิปฏิเสธที่จะรับผู้นั้นเข้ารับการบรรจุแต่งตั้ง
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงกันกับคุณวุฒิที่ผู้นั้นนำมาสมัครสอบแข่งขัน และเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อฉันลกัน ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนดโดยต้องเรียกบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้

การรับโอนผู้สอบแข่งขัน

        การรับโอนผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งเป็นข้าราชการประเภทอื่นให้ระบุว่าจะรับโอนมาบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งในระดับและการศึกษาเงินเดือนตามที่ประกาศไว้ เว้นแต่หน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน จะประกาศเป็นการล่วงหน้าว่าจะรับโอนในตำแหน่งและระดับเดิมหรือเทียบเท่าไม่สูงกว่าระดับในระดับควบและอัตราเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานเทศบาลหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้บรรจุแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของเทศบาลหรือคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเท่านั้น

การเรียกใช้บัญชี

        หากสอบผ่าน จนมีรายชื่ออยู่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้นั้น ในบัญชีฯจะมีอายุการใช้งานได้ไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศขึ้นบัญชี
* ถ้า อบจ./เทศบาล/อบต. จัดสอบเอง บัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะใช้ได้เฉพาะหน่วยงานที่จัดเท่านั้น หน่วยงานอื่นไม่สามารถขอใช้บัญชีได้
* ถ้าคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) เป็นผู้จัดสอบ ในแบบรายกลุ่มจังหวัด / รายภาคนั้น บัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะใช้ได้ในกลุ่มจังหวัดหรือภาคนั้น



             ยกตัวอย่างเช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 ได้แก่ 1.จังหวัดมุกดาหาร 2.จังหวัดยโสธร 3.จังหวัดร้อยเอ็ด 4.จังหวัดศรีสะเกษ 5.จังหวัดสุรินทร์ 6.จังหวัดอำนาจเจริญ 7.จังหวัดอุบลราชธานี การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะประกาศเป็นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 7 จังหวัดข้างต้นที่ร้องขอให้จัดการสอบและมีอัตรากำลังตำแหน่งว่าง สามารถขอใช้บัญชีได้ จึงจะทำให้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้สามารถใช้ข้ามจังหวัดได้ แต่ไม่สามารถใช้ข้ามภาคได้ ซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม จากจุดนี้ก่อให้เกิดผลดีในการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ทำให้โอกาสการเรียกใช้บัญชีมีมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม จะทำให้จำนวนผู้สอบแข่งขันนั้นมีจำนวนมากขึ้น ก่อให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น

การอนุญาตให้ใช้บัญชี

   กรณีเทศบาลเป็นหน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน ให้บรรจุแต่งตั้งได้เฉพาะเทศบาลนั้น ไม่อาจอนุญาตให้เทศบาลอื่นใช้บัญชีเพื่อบรรจุแต่งตั้งได้

การรับรองบัญชี

   กรณีคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันสามารถอนุญาตให้เทศบาลอื่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ประสงค์จะขอใช้บัญชีสอบแข่งขันดังกล่าวสามารถใช้บัญชีเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงตามคุณวุฒิที่ผู้นั้นนำมาสมัครสอบแข่งขันแต่ต้องเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อฉันลกัน ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด โดยต้องเรียกบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งหน่วยงานที่ขอใช้บัญชีจะต้องมีพื้นที่อยู่ในภาค/เขตที่กำหนด
* ทั้งนี้จะต้องดำเนินการหลังจากที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้ร้องขอให้คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันแทนได้รับการบรรจุแต่งตั้งจนครบจำนวนแล้ว
   กรณีตำแหน่งที่จะบรรจุแต่งตั้งในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของภาค/เขตไม่มี หรือบรรจุแต่งตั้งครบทั้งบัญชีแล้ว  ก็อาจใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้นหรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อฉันลกันของบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของภาค/เขตอื่นได้ตามที่คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:19:10 โดย ۰•ฮักแม่จัน©® » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:51:50 »

เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 4
หลักการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ภาค ก (ท้องถิ่น)




เนื้อหาที่จะมีในการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อ่านควรกำหนดอ่านหนังสือให้ครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้
     (1) วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล มีคะแนนเต็ม 25 คะแนน
   จะทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน
   จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ข้อสอบเคยออกถึง “การหาค่าของเลขอนุกรม , การหาร้อยละ , โจทย์เงื่อนไขทางคณิตศาสตร์ , การอ่านค่าจากตาราง กราฟ แผนภูมิ”

     (2) วิชาภาษาไทย มีคะแนนเต็ม 25 คะแนน
   จะทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทย โดยการให้สรุปความและหรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความและให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำประโยคหรือข้อความสั้นๆ
   จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านภาษาไทย ข้อสอบเคยออกถึง “อุปมา อุปไมย , เงื่อนไขทางภาษา , การเรียงประโยค , การเติมคำ , การตีความจากบทความยาว , คำราชาศัพท์ , สำนวน สุภาษิตไทย”

     (3) วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ มีคะแนนเต็ม 50 คะแนน
   จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบงานสารบรรณ และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
   จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น “โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น , พระราชบัญญัติ อบจ./เทศบาล/อบต.”

      จากนี้ จะขอแนะนำหลักการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบ ไม่ว่าจะเป็น ภาค ก หรือ ภาค ข ก็สามารถนำข้อหลักการ 9 ข้อนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการอ่านหนังสือของท่านได้ ดังนี้

1. ทำตารางการอ่านหนังสือ
      ผู้อ่านควรทำตารางการอ่านหนังสือทุกวันโดยให้ครอบคลุมเนื้อหาของการสอบในภาค ก ทั้งหมด  เพื่อเป็นการตั้งเป้าหมายและหัวข้อในการอ่านหนังสือ ทั้งนี้ควรอ่านเรียงกันไปทีละหัวข้อ เช่น อ่านหัวข้อ “เลขอนุกรม” อ่านจบก็ติ๊กเครื่องหมายว่าอ่านแล้ว พอวันต่อไปก็อ่านหัวข้อถัดไป ทำอย่างนี้จนครบทุกหัวข้อ จะถือว่าครบ 1 รอบ เมื่ออ่านครบ 1 รอบก็ให้รางวัลกับตัวเองเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการอ่านหนังสือรอบต่อไป จากนั้นก็อ่านหนังสือเรียงหัวข้อไปเรื่อยๆ หลายๆรอบ จนกว่าจะถึงวันสอบ หากทำแบบนี้แล้วรับรองจำเนื้อหาได้ขึ้นใจ

2. ตำราหนังสือข้อสอบเก่า(อาจารย์ชั้นดี)
       ผู้อ่านควรหาหนังสือที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ หนังสือที่ดีจะต้องอธิบายหลักการได้ชัดเจนและถูกต้อง และมีแนวข้อสอบเก่าที่มีเฉลยคำตอบและอธิบายหลักการหาคำตอบให้ด้วย เคล็ดลับสำหรับการเลือกซื้อหนังสือ ลองหยิบหนังสือขึ้นมา เปิดอ่านดู หากเราอ่านแล้วเริ่มจะเข้าใจก็ซื้อได้เลย หากเปิดอ่านดูแล้วงงๆ ก็วางแล้วลองเลือกดูเล่มใหม่ และควรเลือกหนังสือที่เขียนโดยสถาบันหรือสำนักพิมพ์ที่เชื่อถือได้ (ช่วงนี้มีหนังสือที่ข้าราชการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นรวมกลุ่มกัน รวบรวมเนื้อหาจัดทำเป็นหนังสือเตรียมสอบท้องถิ่นโดยเฉพาะ ลองๆหาดูในร้านหนังสือชั้นนำทั่วไปนะครับ) พยายามหาหนังสือเตรียมสอบเล่มที่เราเข้าใจและเหมาะกับเรามากที่สุด เพราะหนังสือนี้จะอยู่กับเราไปอีกนาน
      สิ่งที่ผู้อ่านหนังสือเตรียมสอบฯ จะต้องมี คือ 3 สิ่ง ดังต่อไปนี้ 1. หนังสืออธิบายความหมาย-หลักการ (หนังสือเตรียมสอบ) 2. เอกสาร/หนังสือสรุปใจความสำคัญ (ที่ทำขึ้นเองหรือดาวน์โหลดในเว็บไซต์) 3.แนวข้อสอบ/ข้อสอบเก่า (ซื้อมาเองหรือดาวน์โหลดในเว็บไซต์)

3. สื่อสารสนเทศ
     ในระหว่างการอ่านหนังสือ ส่วนใหญ่จะเกิดอาการง่วงและเบื่อหน่ายการอ่านหนังสือ ทางออกที่ดีที่สุด คือ เปิดดูวีดีโอติวการสอบ หรือ ฟังเสียงบรรยายการสอบ ควบคู่ไปกับการอ่านหนังสือ วิธีนี้จะทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจในเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น และทำให้การอ่านหนังสือมีสีสันมากขึ้น ผู้อ่านจะได้รับฟังและอ่านหนังสือไปพร้อมๆกัน เนื่องจากบางครั้งการอ่านหนังสือเอง เราอาจจะไม่เข้าใจ จากการเปิดดูวิดีโอติวการสอบ จะทำให้เราได้เคล็ดลับในการจดจำเนื้อหาจากอาจารย์ผู้สอนได้

4. Mind map
       แผนที่ความคิด ในการอ่านทุกๆหัวข้อ ผู้อ่านจะต้องจินตนาการก่อให้เกิดแผนที่ความคิด (Mind map) ให้ได้ ผู้อ่านจะต้องสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการอ่านออกมาเป็นแผนผังที่มีลักษณะเกี่ยวโยงกันได้
       เช่น พรบ. เทศบาล ผู้อ่านจะต้องสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นแผนผังได้ว่า ประกาศใช้เมื่อใด? แบ่งเทศบาลออกเป็นกี่ประเภท? เทศบาลแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง? ฝ่ายบริหารเทศบาลคือ? ฝ่ายนิติบัญญัติเทศบาลคือ?
      หากผู้อ่านสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการอ่านออกมาเป็นแผนผังที่มีลักษณะเกี่ยวโยงกันได้แล้ว ประมาณว่า "หลับตานึกแล้วเห็นภาพเลย" ตอนอยู่ในห้องสอบผู้อ่านจะสามารถทำข้อสอบได้อย่างฉลุย

5. กำลังใจ เป้าหมายในชีวิต
      เป็นสิ่งสำคัญในการอ่านหนังสือ ผู้อ่านจะต้องหมั่นสร้างกำลังใจให้กับตนเอง และต้องกำหนดจุดเป้าหมายในชีวิตไว้ ผู้อ่านจะต้องทำให้ได้ ทำให้สำเร็จ  “กำลังใจ” สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผู้อ่านทุกคนหาและสร้างขึ้นเองได้ แหล่งที่มาของกำลังใจ อาจจะสร้างขึ้นเองหรือหาได้จากคนรอบข้าาง ที่แน่ๆสามารถหาได้ในชุมชนคนท้องถิ่น ในระหว่างการอ่านหนังสือต้องคอยเติมและเพิ่มกำลังใจสม่ำเสมอ อย่าให้กำลังใจหมดไป อย่าได้ท้อแท้ คนที่ประสบความสำเร็จในการสอบ ทุกคนต่างก็ต้องผ่านการอ่านหนังสือมามากๆ เช่นกัน

6. ตั้งใจแบ่งเวลา
       “เวลา” เป็นสิ่งสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง แต่ด้วยเนื่องจากผู้อ่านส่วนใหญ่จะต้องทำงานประจำ ดังนั้นในแต่ละวัน ควรจัดสรรแบ่งเวลาให้กับการอ่านหนังสืออย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงต่อวัน เช่น วันจันทร์ถึงวันศุกร์ กำหนดอ่านหนังสือตั้งแต่เวลา 18.00 น. จนถึง 21.00 น.  ส่วนวันเสาร์-วันอาทิตย์ อาจจะอ่านเต็มวัน (ช่วงเช้า 1 วิชา ช่วงบ่าย 1 วิชา) เป็นต้น
       ในเมื่อมีหนังสือแล้ว อย่าปล่อยวางไว้เฉยๆ จะต้องหมั่นเปิดอ่าน เพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหาอยู่สม่ำเสมอ และท่องไว้เสมอว่า “อย่าผัดวันประกันพรุ่ง” ต้องสามารถวินัยในการอ่านหนังสือของตนเอง
 
7. หาข้อด้อย เสริมจุดเด่น
      ในระหว่างการอ่านหนังสือสอบ ผู้อ่านต้องพิจารณาข้อด้อยและข้อเด่นของตัวเอง ว่ามีปัญหาในหัวข้อเนื้อหาการสอบวิชาใด จากนั้นต้องมาอ่านเสริมทำความเข้าใจเพิ่มเติม หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีก ก็ต้องพึ่งพาผู้รู้จากการสอบถามเพื่อให้ตัวเองเข้าใจ เช่น ผู้อ่านมีปัญหาในการอ่านค่าจากตารางและการคิดร้อยละ ในส่วนนี้มีออกอยู่ในข้อสอบแน่นอน ดังนั้นหากไม่อยากสูญเสียคะแนนตรงนี้ไป ผู้อ่านต้องพยายามศึกษาทำความเข้าใจการอ่านค่าจากตารางและการคิดร้อยละให้ได้

8. อย่าภวังค์กับวันสอบ
      ขอให้ผู้อ่านใช้เวลาทุกวันให้มีค่า ตั้งใจอ่านหนังสือ และหมั่นทบทวนทำข้อสอบเก่า ขอให้ถามตัวเองว่าพร้อมหรือยัง? คุณพร้อมที่จะสอบแข่งขันกับคนอื่นๆหรือยัง? คุณมีดีอะไรที่จะสอบแข่งขันได้หรือไม่? ถ้ายังไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ ก็ขยันอ่านหนังสือให้มากขึ้น และอ่านหนังสือต่อไป
และอย่ากังวลใจว่า “จะเปิดสอบเมื่อไร” เพราะจะทำให้ผู้อ่านไม่มีสมาธิ ขอให้ตั้งเป้าหมายไว้กับการอ่านหนังสือแต่เพียงอย่างเดียว

9. ชุมชนคนท้องถิ่น
      ผู้อ่านสามารถหาความรู้ หากำลังใจ และข่าวสารการสอบต่างๆ ได้ที่ชุมชนคนท้องถิ่นแห่งนี้ เพื่อนๆสมาชิกทุกคนยินดีที่จะแบ่งบันสิ่งดีๆให้แก่กัน ขอเพียงท่านผู้อ่านตั้งใจจริง เราก็พร้อมเดินเคียงข้างไปกับท่านเสมอครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:19:25 โดย ۰•ฮักแม่จัน©® » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 12:54:10 »

เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 5
เส้นทางการสอบข้าราชการ และพนักงานส่วนท้องถิ่น




* ZoiC9H.jpg (141.77 KB, 500x571 - ดู 2506 ครั้ง.)

* H1rBDY-vert.jpg (399.52 KB, 500x2284 - ดู 2418 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:20:00 โดย ۰•ฮักแม่จัน©® » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:02:06 »

เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 6
คุณวุฒิที่ต้องมี รายวิชาที่ต้องใช้สอบ ภาค ข ในแต่ละตำแหน่ง




คุณวุฒิที่ต้องมี รายวิชาที่ต้องใช้สอบ ภาค ข ในแต่ละตำแหน่ง
ตำแหน่งสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1


ชื่อตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  หรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ทุกสาขาที่ ก.อบต.   ก.พ.  หรือก.ค.  รับรอง ซึ่งศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และมีความสามารถในการบันทึกข้อมูลภาษาไทยไม่น้อยกว่านาทีละ 42 คำ และภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่านาทีละ 30 คำ
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
   1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
   2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
   5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
   7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
   8. วิชาความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์
* กรณีล่าสุด อบต.สบป่อง ทดสอบความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้ โดยวิธีการสอบข้อเขียน
มีรายละเอียด คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานสารบรรณ ความรู้ด้านการพิมพ์เอกสาร หนังสือราชการ การบันทึกข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์


ชื่อตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ธุรการ 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทุกสาขาที่ ก.พ. ก.ค. หรือ ก.ท. รับรอง
ซึ่งศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต หรือผ่านการฝึกอบรมทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ จาก
สถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการรับรองจากทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีระยะเวลาการ
ฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางธุรการ งานสารบรรณอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
   1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
   2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
   5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
   7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
   8. วิชาความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์


ชื่อตำแหน่ง  เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางช่างเครื่องยนต์ช่างไฟฟ้า
ช่างโยธา ช่างก่อสร้าง ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติ
เฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานด้านการดับเพลิง งานธุรการทั่วไป งานสารบรรณอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
   1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
   2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
   5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
   7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526


ชื่อตำแหน่ง  เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี พณิชยการ การตลาด
การขาย ภาษาต่างประเทศ เลขานุการ การเงินการธนาคาร ประชาสัมพันธ์ การโรงแรม การท่องเที่ยว
คอมพิวเตอร์ หรือ ทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานด้านการประชาสัมพันธ์ งานธุรการทั่วไป งานสารบรรณอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
   1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
   2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
   5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
   7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526


ชื่อตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชีพาณิชยการ เลขานุการ
บริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป (เฉพาะทางบริหารธุรกิจ และการจัดการทั่วไป ต้องมีการศึกษาวิชาบัญชีมา
ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต) หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานการบัญชีอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
   1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
   2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
   5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   6. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   7. พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   8. พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
   10. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
   11. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   12. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.
2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   13. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540


ชื่อตำแหน่ง  เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี พาณิชยการ เลขานุการ การตลาด การขาย บริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป (เฉพาะทางบริหารธุรกิจ และการจัดการทั่วไป ต้องมีการศึกษาวิชาบัญชีมา ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต) หรือทางอื่น ที่ ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานจัดเก็บรายได้ของเทศบาลอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
10. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
11. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน
และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
12. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541
และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
13. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540


ชื่อตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัสดุ 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี พณิชยการ เลขานุการ การตลาด การขาย บริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป ช่างโยธา ช่างเครื่องกล ช่างก่อสร้าง ช่างเครื่องยนต์ ช่างกลโรงงาน หรือทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับงานพัสดุอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
7. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
8. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและ การตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
9. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
10. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
   * กรณีล่าสุด อบต.สบป่อง ทดสอบความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้ โดยวิธีการสอบข้อเขียน
ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การลงบัญชีและทะเบียนพัสดุ  ตรวจสอบใบสำคัญช่วยเก็บและจ่ายพัสดุ
ครุภัณฑ์  การตรวจสอบอุปกรณ์และเครื่องมือ  เครื่องใช้ต่าง ๆ การเก็บรวบรวมและรักษาเอกสารหลักฐานการเบิกจ่าย พัสดุครุภัณฑ์


ชื่อตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ทะเบียน 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี พณิชยการ เลขานุการ การตลาด การขาย ภาษาต่างประเทศ การจัดการ บริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ การเงิน การธนาคารหรือทางอื่น ที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานทะเบียนอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
7. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
8. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม


ชื่อตำแหน่ง  เจ้าหน้าที่การประปา 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางช่างก่อสร้าง ช่างเครื่องยนต์ ช่างไฟฟ้า หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานกิจการประปาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526


ชื่อตำแหน่ง  ช่างโยธา 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางช่างก่อสร้าง ช่างสำรวจ ช่างโยธา สถาปัตยกรรม เทคนิควิศวกรรมโยธา เทคนิควิศวกรรมสำรวจ เทคนิคสถาปัตยกรรม หรือทางอื่นที่ ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานช่างโยธาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
9. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535และที่แก้ไขเพิ่มเติม


ชื่อตำแหน่ง  ช่างไฟฟ้า 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กโทรนิกส์ หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานช่างไฟฟ้าอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526


ชื่อตำแหน่ง ช่างเขียนแบบ 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางช่างก่อสร้าง ช่างโยธา ช่างเขียนแบบ
สถาปัตยกรรม หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานช่างเขียนแบบอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526


ชื่อตำแหน่ง  ช่างเครื่องยนต์ 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางช่างเครื่องยนต์ช่างยนต์ช่างกลโรงงาน ช่างกล หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักร ซึ่งกรมเจ้าท่าออกให้ตามประเภทชั้นและชนิดของเรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือ หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานควบคุมการเดินเครื่องยนต์ การบำรุงรักษา และแก้ไขข้อขัดข้องที่เกิดขึ้น
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526


ชื่อตำแหน่ง เจ้าหน้าที่เทศกิจ  1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้  ทุกสาขาและผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ ก.ท. กำหนดภายในระยะเวลา  6  เดือน  นับแต่วันที่ไดรับการบรรจุและแต่งตั้ง
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
1.   มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล  กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  กฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล และกฎหมาย  กฎ  ระเบียบ
ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
2.   มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างเหมาะสม
3.   ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรและระยะเวลาที่สำนักงาน ก.ท. กำหนด


ชื่อตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ศูนย์เยาวชน 1

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้  ทางคหกรรมศาสตร์  หัตถกรรม วิจิตรศิลป์  ศิลปประยุกต์  นาฎศิลป์  อาหารและโภชนาการหรือ  ประกาศนียบัตรทางการศึกษา  ทางบรรณารักษ์ หรือทางอื่นที่ ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
1.   มีความรู้ในงานศูนย์เยาวชนอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2.   มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน  กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  และกฎหมาย  กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3.   มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานธุรการ  และงานสารบรรณอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:20:22 โดย ۰•ฮักแม่จัน©® » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:05:15 »

คุณวุฒิที่ต้องมี รายวิชาที่ต้องใช้สอบ ภาค ข ในแต่ละตำแหน่ง
ตำแหน่งสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2



ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการ 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทุกสาขาที่ก.พ. ก.ค.
หรือ ก.ท.รับรอง ซึ่งศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต หรือผ่านการฝึกอบรมทางด้านการใช้
คอมพิวเตอร์จากหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการรับรองจากทางราชการหรือ
หน่วยงานของรัฐที่ใช้เวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติ
เฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทุกสาขาที่ก.พ. ก.ค.
หรือ ก.ท. รับรอง ซึ่งศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต หรือผ่านการฝึกอบรมทางด้านการใช้
คอมพิวเตอร์จากหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการรับรองจากทางราชการหรือ
หน่วยงานของรัฐที่ใช้เวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติ
เฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางธุรการ งานสารบรรณอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
8. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547
9. วิชาความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์
   * กรณีล่าสุด อบต. สบป่อง ทดสอบความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้ โดยวิธีการสอบข้อเขียน
ทดสอบความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานธุรการและงานสารบรรณ  เช่น  ร่างโต้ตอบ  บันทึก  ย่อเรื่อง  การ
รวบรวมข้อมูลและสถิติ  การเก็บรักษา  การจัดท าทะเบียนยานพาหนะการโอนกรรมสิทธิ์  การติดตามให้มีการซ่อมบำรุงรักษา  การซ่อมแซมตามกำหนดเวลาที่ฝ่ายเทคนิคกำหนดไว้ การจำหน่ายยานพาหนะที่ชำรุดเสื่อมสภาพและการเบิกจ่ายพัสดุทางช่าง  การตรวจสอบลงหรือเปลี่ยนแปลงรายการเก็บรักษาและให้บริการเอกสารสำคัญของทางราชการ  เช่น  ทะเบียนประวัติพนักงานส่วนตำบล  ทะเบียนที่เกี่ยวกับการค้าและอุตสาหกรรม  งานทะเบียนเอกสารเกี่ยวกับสิทธิต่าง  ๆ  การรวบรวมข้อมูลหรือจัดเตรียมเอกสารและจดบันทึกรายงานการประชุม

ชื่อตำแหน่ง  เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางทางบัญชี  พาณิชยการ เลขานุการ การบริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป สำหรับทางการบริหารธุรกิจ   การจัดการทั่วไป จะต้องมีการศึกษาวิชาบัญชีไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต หรือทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบเท่าหรือไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชีพณิชยการ เลขานุการ  
การบริหารธุรกิจ  การจัดการทั่วไป สำหรับทางการบริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป จะต้องมีการศึกษาวิชาบัญชีไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
10. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
11. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
12. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541และที่แก้ไขเพิ่มเติม
13. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
   * กรณีล่าสุด อบต.สบป่อง ทดสอบความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้ โดยวิธีการสอบข้อเขียน
ทดสอบความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานการเงิน และบัญชี การรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อประกอบการ
จัดทำงบประมาณประจำปี  การทำฎีกาเบิกเงิน  การทำบัญชีเงินสดประจำวัน การทำบัญชีเงินฝากธนาคาร  การทำบัญชีแยกประเภท    การตรวจสอบใบสำคัญหมวดรายจ่าย    การตรวจทานงบใบสำคัญที่ไม่มีปัญหา การทำรายงานการเงินประจำเดือน

ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคทุกสาขา หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทุกสาขาที่ก.พ. ,
ก.ค. หรือ ก.ท. รับรอง หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทุกสาขาที่ก.พ. , ก.ค. หรือ ก.ท.รับรอง
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานพัฒนาชุมชนอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2548
8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

ชื่อตำแหน่ง  เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางวิศวกรรมเครื่องกล
เทคนิควิศวกรรมโยธา เทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า เทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ ช่างเครื่องยนต์ช่างไฟฟ้า
ช่างโยธา ช่างก่อสร้าง ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติ
เฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ทางวิศวกรรมเครื่องกล
เทคนิควิศวกรรมโยธา เทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า เทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ ทางช่างเครื่องยนต์ช่างไฟฟ้า
ช่างโยธา ช่างก่อสร้าง ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น หรือทางอื่นที่ ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติ
เฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

ชื่อตำแหน่ง  เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรทางการสาธารณสุข การพยาบาล การแพทย์แผนไทยซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปีต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาวิชาสามัญหรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการสาธารณสุข การพยาบาลซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า3 ปีต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาวิชาสามัญหรือทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ หรือ
3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการแพทย์แผนไทย หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานสาธารณสุขชุมชน อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535
8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

ชื่อตำแหน่ง  เจ้าพนักงานทะเบียน 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ทางบัญชี พณิชยการ เลขานุการ การตลาด การขาย ภาษาต่างประเทศ การจัดการ บริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ การเงิน การธนาคารหรือทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรืออนุปริญญา หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ทางบัญชี พณิชยการ เลขานุการ การตลาด การขาย ภาษาต่างประเทศ การจัดการ บริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ การเงิน การธนาคาร หรือทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานทะเบียนอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. พ.ศ.2496 รวมแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
8. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ชื่อตำแหน่ง  นายช่างโยธา 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางเทคนิควิศวกรรมโยธา เทคนิควิศวกรรมสำรวจ เทคนิคสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม ช่างก่อสร้าง ช่างสำรวจ ช่างโยธา ก่อสร้างหรือ ทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางเทคนิควิศวกรรมโยธา เทคนิควิศวกรรมสำรวจ เทคนิคสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม ช่างก่อสร้าง ช่างสำรวจ ช่างโยธา ก่อสร้างหรือ ทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานช่างโยธาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. พ.ศ.2496 รวมแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
9. พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535
10. พระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543
11. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

ชื่อตำแหน่ง  นายช่างไฟฟ้า 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า เทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ อิเล็กโทรนิกส์หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดไว้ใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางช่างไฟฟ้า ช่างเครื่องเย็น และปรับอากาศ อิเล็กโทรนิกส์หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานช่างไฟฟ้าอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

ชื่อตำแหน่ง  นายช่างสำรวจ 2
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางเทคนิควิศวกรรม สำรวจ เทคนิควิศวกรรมโยธา ช่างสำรวจ ช่างก่อสร้าง ก่อสร้าง ช่างโยธาหรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางเทคนิค วิศวกรรมสำรวจ เทคนิควิศวกรรมโยธา ช่างสำรวจ ช่างก่อสร้าง ก่อสร้าง ช่างโยธา หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนด ว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานช่างสำรวจอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

ชื่อตำแหน่ง นายช่างเครื่องยนต์ 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางช่างเครื่องยนต์ช่างยนต์ ช่างกล ช่างกลโรงงาน หรือทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางช่างเครื่องยนต์ช่างยนต์ ช่างกล ช่างกลโรงงาน หรืองานอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานควบคุมการเดินเครื่องยนต์ การบำรุงรักษา และแก้ไขข้อขัดข้องที่เกิดขึ้น
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:20:42 โดย ۰•ฮักแม่จัน©® » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:05:32 »

ชื่อตำแหน่ง นายช่างเขียนแบบ 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางเทคนิควิศวกรรมโยธาช่าง ก่อสร้าง ช่างโยธา ช่างเขียนแบบ เทคนิคสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางเทคนิควิศวกรรมโยธา ช่างก่อสร้าง ช่างโยธา ช่างเขียนแบบ สถาปัตยกรรม เทคนิคสถาปัตยกรรม หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานช่างเขียนแบบอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
   * กรณีล่าสุด อบต.สบป่อง ทดสอบความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้ โดยวิธีการสอบข้อเขียน
ทดสอบความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานช่างเขียนแบบ เช่น  แบบแนวทางและระดับของทาง  แบบแปลนและ
รูปด้านข้างของอาคาร  ผังบริเวณรูปตัดง่าย ๆ  ของแบบ  โครงสร้างของอาคาร  สะพาน  เขื่อน  อาคารการประปา  เป็นต้น  การคัดลอกหรือเขียนแผนที่ต่าง ๆ  เช่น  แผนที่แสดงเส้นทาง  แนวทางแสดงภูมิประเทศ  รวมทั้งเขียนตัวอักษรและอื่นๆ


ชื่อตำแหน่ง  สัตวแพทย์ 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาสัตวแพทย์หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ หรือทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางด้านการตรวจเนื้อสัตว์และการป้องกันและกำจัดโรคระบาดสัตว์
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี พาณิชยการ เลขานุการ การตลาด การขาย การธนาคาร และธุรกิจการเงิน การจัดการ การบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์หรือทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี พาณิชยการ เลขานุการ การตลาด การขาย การธนาคาร และธุรกิจการเงิน การจัดการ การบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ หรือทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานจัดเก็บรายได้ของเทศบาลอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
10. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
11. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน
และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
12. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
13. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540

ชื่อตำแหน่ง  เจ้าพนักงานพัสดุ 2

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
   1.   ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี  เลขานุการ
เทคนิคการตลาด  การธนาคารและธุรกิจการเงิน  เทคนิควิศวกรรมโยธา  เทคนิคเขียนแบบวิศวกรรม
เครื่องกล พาณิชยการ บริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป ช่างโยธา ก่อสร้าง ช่างเครื่องกลหรือทางอื่นที่
ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ หรือ
   2.   ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ทางบัญชี เลขานุการ  
เทคนิคการตลาด การธนาคาร และธุรกิจการเงิน เทคนิควิศวกรรมโยธา เทคนิคเขียนแบบ  วิศวกรรม
เครื่องกล พาณิชยการ บริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป ช่างโยธา  ช่างก่อสร้าง  ช่างเครื่องกล  หรือทางอื่น
ที่ ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับงานพัสดุอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
7. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
8. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและ การตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
9. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
10. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:09:49 »

คุณวุฒิที่ต้องมี รายวิชาที่ต้องใช้สอบ ภาค ข ในแต่ละตำแหน่ง
ตำแหน่งสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3




ชื่อตำแหน่ง นักพัฒนาชุมชน 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทุกสาขาที่ก.พ. ก.ค. หรือ ก.ท. รับรอง หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงบัณฑิตอาสาสมัคร หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานพัฒนาชุมชน อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542
8. พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ.ศ. 2542
9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
10. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2548
11. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)
   * กรณีล่าสุด อบต.สบป่อง ทดสอบความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้ โดยวิธีการสอบข้อเขียน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ ความคิดเห็น และการวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี วิธีการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน กฎหมาย ระเบียบ นโยบายของรัฐบาล นโยบายกระทรวงมหาดไทย และนโยบายกรมการพัฒนาชุมชน เหตุการณ์ปัจจุบัน

ชื่อตำแหน่ง  นักวิชาการสวนสาธารณะ 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางเกษตรกรรมหรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานจัดสวนสาธารณะอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
10. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)

ชื่อตำแหน่ง  นักวิชาการเงินและบัญชี 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือ ทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานการเงินและบัญชีอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
10. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
11. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน
และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
12. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
13. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
14. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)

ชื่อตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางคอมพิวเตอร์ หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานการเขียนคำสั่งให้เครื่องจักรประมวลผลทำงานอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
7. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
8. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)

ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการประชาสัมพันธ์ 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางสื่อสารมวลชน วารสารศาสตร์นิเทศศาสตร์ ประชาสัมพันธ์ การบริหาร รัฐประศาสนศาสตร์บริหารธุรกิจ อักษรศาสตร์สารสนเทศ การจัดการ การโฆษณา คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว การโรงแรม ภาษาต่างประเทศ หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานการประชาสัมพันธ์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
7. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
8. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2548
9. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)
 
  * กรณีล่าสุด อบต.สบป่อง ทดสอบความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้ โดยวิธีการสอบข้อเขียน
ทดสอบความรู้ความเข้าใจในด้านการรวบรวมข้อมูล  สถิติ  ข้อคิดเห็น  ท่าที  ความรู้สึกของประชาชนที่แสดงออกหรือจากสื่อมวลชนต่าง ๆ  และปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์แห่งชาติ การสำรวจกิจกรรมเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์  การนำมาประมวลสรุปเพื่อเสนอแนะ  ฝ่ายบริหาร  การศึกษา  ค้นคว้าเรื่องต่าง ๆ  ประกอบการวิเคราะห์  วิจัย  วางแผนงานการประชาสัมพันธ์และเพื่อประกอบการพิจารณาวางหลักเกณฑ์  การปรับปรุงแก้ไขระเบียบวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ  เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์


ชื่อตำแหน่ง  นักวิชาการศึกษา 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิปริญญาตรี หรือ เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการศึกษา หรือคุณวุฒิอื่นที่ ก.ท. รับรองให้บรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาลได้ หรือคุณวุฒิอื่นที่ ก.ท. กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานการศึกษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. พระราชบัญญัติครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
9. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
10. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
11. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
12. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)
   * กรณีล่าสุด อบต.สบป่อง ทดสอบความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์ การแนะแนวการศึกษา และการจัดบริการส่งเสริมการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการกำลังคน หลักสูตร แบบเรียน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนความต้องการด้านการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดประชุมอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับการแนะนำแนวการศึกษาและอาชีพเผยแพร่การศึกษา เช่น ออกรายการทางวิทยุ โทรทัศน์ การเขียนบทความ จัดทำวารสารหรือเอกสารต่าง ๆ


ชื่อตำแหน่ง  นิติกร 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางกฎหมาย หรือทางอื่นที่ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานกฎหมายและมีความสามารถในการใช้กฎหมายอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
7. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
9. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
10. พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
11. พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
12. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542
13. พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ.ศ.2542
14. พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545
15. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
16. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
17. ประมวลกฎหมายอาญา
18. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
19. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
20. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์
21. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547
22. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
23. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)

ชื่อตำแหน่ง  นักวิชาการสุขาภิบาล 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรี  หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์เน้นวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล วิทยาศาสตร์สาธารณสุข วิทยาศาสตร์อนามัยและสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ    
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์เน้นทางวิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม  หรือทางอื่น
ที่ ก.อบต.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานการสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535
7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
8. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
9. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม และการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
10. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)

ชื่อตำแหน่ง  วิศวกรโยธา 3
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมชลประทาน วิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสำรวจ
หรือทางอื่นที่ ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ( ก.ว.)
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานวิศวกรรมโยธาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542
8. พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545
9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
10. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
11. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
12. พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535
13. พระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543
14. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547
15. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
16. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548
17. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)

ชื่อตำแหน่ง  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี พาณิชยศาสตร์หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานตรวจสอบบัญชีอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
8. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535และที่แก้ไขเพิ่มเติม
9. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
10. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
11. ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544
12. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2545
13. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)

ชื่อตำแหน่ง  บุคลากร 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์การบริหาร กฎหมาย บริหารธุรกิจ การบริหารรัฐกิจ รัฐศาสตร์หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานบริหารงานบุคคล หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2550
7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542
8. พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ.ศ. 2542
9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
10. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
11. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)

ชื่อตำแหน่ง  เจ้าหน้าที่สันทนาการ 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการศึกษา คหกรรมศาสตร์ หัตถกรรม วิจิตรศิลป์ศิลปประยุกต์นาฏศิลป์อาหารและโภชนาการ หรือทางอื่นที่ ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานสันทนาการอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติพ.ศ. 2521
8. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
10. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
11. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:21:00 โดย ۰•ฮักแม่จัน©® » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:10:05 »

ชื่อตำแหน่ง  เจ้าหน้าที่บริหารงานทะเบียนและบัตร 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางรัฐศาสตร์รัฐประศาสนศาสตร์กฎหมายหรือ
ทางอื่นที่ ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
9. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)

ชื่อตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการพยาบาล และได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการพยาบาล หรือสาขาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งหรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานพยาบาลอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถนิ่ พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
9. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)

ชื่อตำแหน่ง  นักวิชาการเกษตร 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางเกษตรศาสตร์สัตว์แพทย์เทคโนโลยีทางการเกษตร การจัดการศัตรูพืช พืชไร่พืชสวน โรคพืชวิทยา พัฒนาการเกษตร เทคโนโลยีการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือทางอื่นที่ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานเกษตรอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ.ศ. 2542
8. พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545
9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
10. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
11. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2548
12. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547
13. เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)
   * กรณีล่าสุด อบต.สบป่อง ทดสอบความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ งานวิชาการเกษตร เช่น การปรับปรุง บำรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์ การคัดพันธุ์ต้านทานโรคและศัตรูพืช การปรับปรุงวิธีการผลิต การใช้ปุ๋ย การเก็บรักษาผลผลิตจากข้าว พืชไร่ พืชสวน ไหมและยางพารา การสาธิตการปลูกพืชและการปราบศัตรูพืช การทดลองและวิเคราะห์วิจัยพันธุ์พืช วัตถุมีพิษปุ๋ยเคมี ตลอดจนการตรวจสอบควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายควบคุมการปฏิบัติงานห้องปฏิบัติการหรือในสถานีทดลอง

ชื่อตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ (ทุกสาขาวิชา)
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1)   ความรู้ในทางเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทยอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2)    กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1.   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
2.   พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546
3.   พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4.   พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนในการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
5.   พรบ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
6.   พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540
7.   ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8.   เหตุการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม)

   * กรณีล่าสุด อบต.สบป่อง ทดสอบความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักบริหารงานทั่วไป ได้แก่
- การบริหารทรัพยากรบุคลเบื้องต้น- การบริหารงบประมาณ การบัญชีเบื้องต้น
- การบริหารงานการประชุมเบื้องต้น- การจัดระบบงาน- การจัดการประชุม- การทำรายงานการติดตามการสรุป- การรวบรวมข้อมูลสถิติ
ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ- หลักการเขียนหนังสือราชการ - หลักการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ การทำแผนงานและโครงการ การบริหารแผนปฏิบัติราชการ
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:11:23 »

ชื่อตำแหน่ง  นักวิชาการคลัง 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางบัญชี พาณิชยศาสตร์  เศรษฐศาสตร์  กฎหมายบริหารธุรกิจ  การคลัง การจัดการการคลัง หรือทางอื่นที่ ก.อบต.กำหนดว่าให้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
10. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
11. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน
และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
12. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
13. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
  * กรณีล่าสุด อบต.สบป่อง ทดสอบความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้ โดยวิธีการสอบข้อเขียนทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาการคลัง  การดำเนินงานต่าง ๆ หลายด้าน  หรือด้านใดด้านหนึ่งเกี่ยวกับ  การวิเคราะห์ปัญหาการเงินและการคลังของอบต.  และพิจารณาวางหลักเกณฑ์  ปรับปรุงวิธีการคลังของอบต.ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและฐานะการเงินของอบต. การควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย  การควบคุมการรับการจ่าย  การฉัน้และการยืมเงินสะสมของอบต.  การควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับการตัดเงินปี การกันเงินไว้จ่ายเหลื่อมปีและการขยายเวลาตัดฝากเงินงบประมาณ การควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานในสังกัด อบต.


ชื่อตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางสังคมศาสตร์ การวางแผน รัฐศาสตร์ วิจัยทางสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
6. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
7. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2548
8. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ชื่อตำแหน่ง  นักผังเมือง 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางผังเมือง สถาปัตยกรรม วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม  วิจิตรศิลป์  สถาปัตยกรรม  หรือทางอื่นที่ ก.อบต.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ 
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานช่างเขียนแบบอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542
6. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
7. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
8. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

ชื่อตำแหน่ง  เจ้าพนักงานเทศกิจ 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรี  หรือเทียบได้ไม่ต่ํากว่านี้ทางรัฐศาสตร์  รัฐประศาสนศาสตร์  กฎหมายหรือทางอื่น  ที่ ก.ท.กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ
สําหรับตําแหน่งนี้ได้  โดยต้องได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรและระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ท. กําหนด
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
6. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
7. พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยบ้านเมือง  พ.ศ. 2535
8. พ.ร.บ.ควบคุมและโฆษณาการใช้เครื่องขยายเสียง  พ.ศ. 2496
9. พ.ร.บ.  การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
10. พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
11. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. 2539
12. ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเปรียบเทียบปรับและการสอบสวนคดีละเมิดข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2547
13. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเปรียบเทียบปรับคดีความผิดทางกฏหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2536
14. พ.ร.บ.จัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. 2503  และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน

ชื่อตำแหน่ง  นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ํากว่านี้ทางสาธารณสุขศาสตร์  การพยาบาล สุขศึกษาหรือทางอื่นที่ ก.ท.กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ
สําหรับตําแหน่งนี้ได้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542
6. พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
7. พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค  พ.ศ. 2522
8. พ.ร.บ. ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
9. พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ. 2550
10.พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 
11.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

ชื่อตำแหน่ง  นักวิชาการพัสดุ 3

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
  ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางกฎหมาย ทางเศรษฐศาสตร์ ทางสังคมศาสตร์ ด้านพาณิชยศาสตร์หรือบริหารธุรกิจ หรือคุณวุฒิอื่นที่ ก.ท. กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้
รายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)
(1) ความรู้ในทางงานระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับงานพัสดุอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
7. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
8. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและ การตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
9. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
10. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,051


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:13:17 »

เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 7
การเตรียมเอกสารแนวข้อสอบแข่งขัน เพื่อการสอบแข่งขัน แบบไม่เสียเงินสักบาท



ภาค ก (ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป)

   ทุกๆท่าน จะต้องเข้าสอบในภาค ก (ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป) เนื่องจากใบรับรองการสอบผ่านภาค ก ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเดิมนั้น ได้หมดอายุไปแล้ว  
   โดยจะทดสอบด้วย “ข้อสอบปรนัย” (ข้อสอบแบบมีตัวเลือก) โดยหน่วยดำเนินการสอบจะคำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการตามระดับตำแหน่ง ซึ่งจะแบ่งเนื้อหาขอบเขตของข้อสอบ ภาค ก. ได้ดังนี้

      (๑) วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน

จะทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ข้อสอบเคยออกถึง “การหาค่าของเลขอนุกรม , การหาร้อยละ , โจทย์เงื่อนไขทางคณิตศาสตร์ , การอ่านค่าจากตาราง กราฟ แผนภูมิ”

เอกสาร แนวข้อสอบ ดาวน์โหลดได้ด้านล่างนี้

   คณิตศาสตร์ทั่วไป
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,844.0.html
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,845.0.html
  
   อนุกรม (Number Series)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,678.0.html
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,679.0.html
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,680.0.html

   การวิเคราะห์สรุปเหตุผลทาง โอเปอร์เรต
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,692.0.html

   กราฟและตาราง
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,802.0.html
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,803.0.html

   เงื่อนไขสัญลักษณ์
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,846.0.html

   ตรรกศาสตร์
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1014.0.html


      (๒) วิชาภาษาไทย กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทย โดยการให้สรุปความและหรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความและให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำประโยคหรือข้อความสั้นๆ
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านภาษาไทย ข้อสอบเคยออกถึง “อุปมา อุปไมย , เงื่อนไขทางภาษา , การเรียงประโยค , การเติมคำ , การตีความจากบทความยาว , คำราชาศัพท์ , สำนวน สุภาษิตไทย”

เอกสาร แนวข้อสอบ ดาวน์โหลดได้ด้านล่างนี้

   การเติมคำ หรือ การเติมคำในช่องว่าง
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,6102.0.html

   บทความยาว    
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1356.0.html

   อุปมา อุปไมย
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1113.0.html

   บทความสั้น
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,6100.0.html

   บทความสั้น (เทคนิคขั้นสูง)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1355.0.html

   การเรียงประโยค หรือ การเรียงข้อความ
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1155.0.html

   เงื่อนไขทางภาษา
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,946.0.html

   สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1230.0.html

   การใช้คำราชาศัพท์
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1228.0.html

      (๓) วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ กำหนดคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน

จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบงานสารบรรณ และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น “โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น , พระราชบัญญัติ อบจ./เทศบาล/อบต.”

เอกสาร แนวข้อสอบ ดาวน์โหลดได้ด้านล่างนี้

   สรุปสาระสำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ฉบับที่ 18)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,2605.0.html

   เจาะข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ชุดที่1)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,2592.0.html

   เจาะข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ชุดที่2)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,2591.0.html

   เจาะข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ชุดที่3)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,2590.0.html

   พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจฯ 2542 (ชุดที่ 2)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1064.0.html

   ข้อสอบพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจฯ 2542 (ชุดที่ 2)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1065.0.html

   พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น 2542
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1069.0.html

   ข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น 2542
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1070.0.html
  
   พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1131.0.html

   ข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1132.0.html

   พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 12
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1135.0.html

   ข้อสอบพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 12)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1136.0.html

   พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (vol.1)  
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1094.0.html

   พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (vol.2)  
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1096.0.html

   พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (vol.3)  
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1097.0.html

ภาค ข. ?

     หลังจากการสอบภาค ก. เราก็ต้องมาสอบภาค ข. (ภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง) ว่าง่ายๆ ก็คือความรู้ความเข้าใจในตำแหน่งที่เราสมัครสอบ (เหมือนกับเวลาเราไปสมัครงานบริษัทเอกชน เราก็ต้องรู้ใช่ไหมว่าตำแหน่งที่เราสมัครต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องรู้ *งานราชการก็เช่นกัน)
     ซึ่งภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง(ภาค ข) กำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ ๑๐๐ คะแนน
โดยจะทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่โดยเฉพาะตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนหรือวิธีสอบปฏิบัติ หรือวิธีอื่นใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้จะรวมสอบเป็นวิชาเดียวหรืออย่างเดียว หรือแยกสอบเป็นสองวิชาหรือสองอย่าง แต่เมื่อรวมคะแนนทุกแบบทดสอบแล้วต้องมีคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน โดยเมื่อจะทดสอบความรู้ความสามารถในทางใดและโดยวิธีใด หน่วยดำเนินการสอบจะระบุไว้ในประกาศรับสมัครสอบด้วย

     ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสมัครตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ก็ต้องเตรียมอ่านแล้วว่า ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร รับผิดชอบอะไรบ้าง พรบ.หรือข้อกฎหมายที่เราควรทราบ อย่างเช่น  งานพัสดุ งานสารบรรณ งานเลขานุการ งานบริหารบุคคล เป็นต้น สามารถศึกษาหน้าที่และลักษณะงานของแต่ละตำแหน่งของท้องถิ่นได้ตาม “มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ของ อบจ./เทศบาล/อบต.” (http://local.chiangmai.go.th/noui/math/) และที่สำคัญต้องสังเกตในส่วนท้ายของประกาศการรับสมัครสอบด้วยว่า “ขอบเขตเนื้อหาในการสอบตำแหน่งนั้นๆ จะออกเนื้อหาในส่วนใดบ้าง” ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผ่านมาหน่วยดำเนินการสอบจะระบุแจ้งไว้อย่างชัดเจน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 13:21:23 โดย ۰•ฮักแม่จัน©® » IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
หน้า: [1] 2 3 4 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!