เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 20:07:50
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ตลาดกลางซื้อขายสินค้าออนไลน์
| |-+  ศูนย์รวมธุรกิจด้านการบริการ (ผู้ดูแล: CR.COM, B.E.)
| | |-+  ถูกโกง ถูกเบี้ยวค่าจ้าง ทนายคลายทุกข์
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ถูกโกง ถูกเบี้ยวค่าจ้าง ทนายคลายทุกข์  (อ่าน 3528 ครั้ง)
oranit
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 662


« เมื่อ: วันที่ 04 พฤษภาคม 2018, 07:42:54 »

NGOช่วยเหลือ
เป็นกลุ่มคนที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือช่าง
กรณีที่ถูกเอาเปรียบจากการรับเหมา หรือบริการของท่าน
ผู้จ้างไม่ย่อมจ่ายค่าจ้าง
ผู้จ้างหนี
ผู้จ้างอ้างไม่มีทำสัญญาจ้าง  
ผู้ว่าจ้างอ้างผลงานไม่ได้ตามแบบ
และเพื่อเป็นสื่อกลางในการเตือนภัยผู้รับเหมา
รวมถึงกลโกงค่าจ้างจากผู้จ้างหรือผู้รับเหมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 มิถุนายน 2018, 08:03:57 โดย oranit » IP : บันทึกการเข้า
oranit
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 662


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 10 พฤษภาคม 2018, 09:54:38 »

สำหรับใครที่ถูกโกง แบบไม่มีสัญญาจ้าง
อ่าน  ให้  จบ  
การโกงค่าจ้าง ขอแยกออกเป็นสองกรณี
1. นายจ้างโกงลูกน้อง  ตรงนี้ลูกจ้างต้องมีการทำประกันส่งคมด้วยนะครับ
2. นายจ้างหรือคนจ้างงาน ไม่มีสัญญาจ้างและไม่มีการทำประกันสังคม
.....ขอแยกออกเป็น 2 ประเด็นนี้ก่อนนะครับ...
การร้องเรียน ร้องทุกข์  ดำเนินการเบื้องต้น
กรณี 1. ให้ติดต่อที่สำนักการสวัสดิการแรงงานจังหวัด  ไปติดต่อที่นั้น ทางเจ้าหน้าที่จะช่วยดูแลและดำเนินการให้
กรณี 2. รับจ้างไม่มีสัญญาจ้าง(เช่น รับทำส่ิ่งของ  รับก่อสร้าง  ช่างต่างๆที่รับงานแล้วไม่มีสัญญา) เมื่อถูกเบี้ยว โกง  หรือบ่ายเบี่ยงค่าจ้าง  กรณีนี้แนะนำเข้าปรึกษากับ สำนักงานอัยการสูงสุดของแต่ละจังหวัด  
.......อย่าลืม...การรับงานแต่ละครั้งถ่ายรูปก่อน  หลัง  และขณะทำงานด้วย  เพราะสามารถใช้เป็นหลักฐานได้  ...หรือบทสนทนาทางไลน์  ก็สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้....
เพิ่มเติม.....สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ที่สถานีตำรวจ ได้  คดี ฉ้อโกง......
ก็หวังว่าพอจะใช่วยเหลือกันได้ไม่มากก็น้อย..
สำหรับผู้รู้  ที่มีความรู้  ก็ช่วยแนะนำเพิ่มเติมได้...นะ ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 มิถุนายน 2018, 08:06:24 โดย oranit » IP : บันทึกการเข้า
oranit
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 662


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 31 พฤษภาคม 2018, 08:01:37 »

ไม่มีสัญญาจ้างถูกเบี้ยวค่าจ้าง

         ผมรับจ้างติดฝ้าเพดานให้กับผู้รับเหมารายหนึ่ง  เมื่อก่อนไม่มีปัญหาการจ่ายเงินแต่มางวดนี้  ผู้รับเหมารายนี้เขาเบี้ยวค่าแรงและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ผมนำไปติดตั้งให้โทรไปก็ไม่รับสาย  ตามหาตัวก็ไม่เจอ  ถ้าผมต้องการรื้อถอนอุปกรณ์ที่นำไปติดตั้งจะมีปัญหาไหมครับแล้วจะต้องดำเนินอย่างไรดีครับ  สัญญาการว่าจ้างก็ไม่มี

คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
         การที่ท่านรับการติดตั้งฝ้าเพดานให้แก่ผู้รับเหมาซึ่งผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาตกลงให้สินจ้างเพื่อผลสำหรับแห่งการที่ทำนั้น อันเข้าลักษณะเป็นการทำสัญญาจ้างทำของ ตาม ป.พ.พ.ม.587 และการทำสัญญาจ้างทำของไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำกันเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษร ดังนั้น เมื่อท่านได้กระทำการติดตั้งเพดานแต่ละงวดงาน ก็ชอบที่ท่านจะเรียกค่าจ้างและค่าอุปกรณ์อันเป็นสินจ้างและค่าสัมภาระที่ทำการติดตั้งพร้อมดอกเบี้ยผิดนัดเอาจากผู้รับเหมาได้ ถ้าและผู้รับเหมาละเลยเสียไม่ชำระหนี้นั้น ท่านก็ต้องฟ้องผู้รับเหมาต่อศาลเพื่อบังคับให้ชำระหนี้ต่อไปตาม ป.พ.พ.ม.213
IP : บันทึกการเข้า
oranit
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 662


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 31 พฤษภาคม 2018, 08:03:21 »

เกร็ดความรู้กฎหมายแรงงาน (ที่ทุกคนอาจไม่รู้)
เกร็ดความรู้กฎหมายแรงงาน (ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ ?)

องค์กรมีกฎระเบียบ ประเทศชาติก็ต้องมีกฎหมายถ้าใครจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายแล้วก็ทำผิดกฎหมายก็ไม่ได้ใช่ไหมครับ วันนี้ผมก็จะพาท่านมาสู่เรื่องของกฎหมายแรงงานซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายใกล้ตัวของคนทำงานทุกคนไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างพนักงานไปจนกระทั่งผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการที่ควรรู้แล้วก็ควรจะปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

วันนี้เรามาลองทดสอบความรู้ในเรื่องกฎหมายแรงงานกันดูไหมครับว่าท่านมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน

เรามาเริ่มกันเลยนะครับ

ให้ท่านอ่านข้อความแต่ละข้อและกาเครื่องหมาย “ถูก” หน้าข้อที่ท่านคิดว่าถูก และกาเครื่องหมาย “ผิด” หน้าข้อที่ท่านคิดว่าผิด

1. สภาพการจ้างงานเกิดได้ด้วยการทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเท่านั้น ถ้าไม่มีสัญญาจ้างก็ไม่ถือว่าเกิดสภาพการจ้าง ลูกจ้างจะไปฟ้องร้องอะไรไม่ได้

2. เมื่อรับผู้สมัครงานเข้าทำงานไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งใดก็ตาม บริษัทสามารถแจ้งให้พนักงานใหม่วางเงินค้ำประกันความเสียหาย ถ้าพนักงานหาเงินค้ำประกันไม่ได้ก็ให้หาคนค้ำประกันการทำงานแทน

3. กฎหมายแรงงานระบุให้บริษัทสามารถทดลองงานพนักงานเข้าใหม่ได้ไม่เกิน 120 วัน

4. หากพนักงานทดลองงานทำงานไม่เป็นที่น่าพอใจและอายุงานยังไม่เกิน 120 วัน บริษัทสามารถเลิกจ้างพนักงานทดลองงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า

5. หากบริษัทเลิกจ้างพนักงาน บริษัทจะต้องจ่ายค่าจ้าง, ค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด, ค่าล่วงเวลาในวันหยุดภายใน 7 วันนับแต่วันที่บอกเลิกจ้าง

6. หากบริษัททำสัญญาจ้างพนักงานชั่วคราวแบบมีระยะเวลาครั้งละ 1 ปี โดยจะต่อสัญญาหรือไม่ตาม หากผลงานไม่ดี บริษัทสามารถไม่ต่อสัญญาและเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า เพราะเป็นเงื่อนไขในสัญญาจ้าง

7. พนักงานชั่วคราวไม่จำเป็นต้องมีสวัสดิการให้เหมือนพนักงานประจำ เพราะเป็นพนักงานคนละประเภท

8. พนักงานมีสิทธิลาป่วยได้ไม่เกิน 30 วันทำงาน

9. พนักงาน Outsource ไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี

10. บริษัทมีกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกสิ้นเดือน บริษัทแจ้งเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากผลงานไม่ดีในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยไม่ต้องมาทำงานในวันที่ 2 กรกฎาคมเป็นต้นไป บริษัทจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือนตามกฎหมาย

11. พนักงานจะลาออกได้ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติตามระเบียบบริษัทเสียก่อน ถ้าบริษัทยังไม่อนุมัติแล้วพนักงานไม่มาทำงานในวันที่ระบุในใบลาออก ก็จะถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถ้าเกินกว่า 3 วัน บริษัทสามารถเลิกจ้างพนักงานดังกล่าวโดยไม่จ่ายค่าจ้างได้

12. วันเพ็ญได้รับเงินเดือน 12,000 บาท ได้รับค่าภาษาเดือนละ 3,000 บาทเนื่องจากเป็นเลขานุการต้องใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน ค่าล่วงเวลาของวันเพ็ญจะคิดจากฐานเงินเดือน 12,000 บาท ส่วนค่าภาษาไม่ต้องนำมารวมเพราะค่าภาษาไม่ใช่เงินเดือน

เป็นยังไงบ้างครับ....ท่านกาเครื่องหมายถูกไปกี่ข้อ และกาเครื่องหมายผิดไปกี่ข้อ ?

ลองมาดูเฉลยกันดังนี้นะครับ

1. ผิด : สภาพการจ้างเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีสัญญาจ้าง การกวักมือเรียกให้มาทำงาน, การพูดด้วยวาจาเชิญชวนให้มาทำงานก็ถือว่าเกิดสภาพการจ้างขึ้นแล้วครับ

2. ผิด : นายจ้างจะให้ลูกจ้างต้องวางเงินค้ำประกันได้ก็ต่อเมื่อเป็นงานที่มีลักษณะหรือสภาพการทำงานที่ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้างที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้เท่านั้น ไม่ใช่เรียกเงินค้ำประกันได้ทุกตำแหน่งนะครับ

3. ผิด : ไม่มีมาตราไหนในกฎหมายแรงงานที่ระบุให้มีการทดลองงาน 120 วันเลยนะครับ เพียงแต่ในมาตรา 118 พูดถึงเรื่องการจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานหากลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี หากนายจ้างจะเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดทางวินัยที่เป็นกรณีร้ายแรง หากจะเลิกจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน ก็เลยทำให้บริษัทต่าง ๆ นำมากำหนดเป็นระยะเวลาทดลองงานเพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายในกรณีที่ลูกจ้างไม่ผ่านทดลองงานยังไงล่ะครับ

4. ผิด : การเลิกจ้างพนักงานทดลองงานเพราะเหตุว่าทำงานไม่ดี ไม่ว่าจะทำงานมากี่วันก็ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าครับ

5. ผิด : จะต้องจ่ายภายใน 3 วันนับแต่วันเลิกจ้างครับ (ตามมาตรา 70)

6. ผิด : เพราะสัญญาทำนองนี้คือสัญญาจ้างที่ไม่มีระยะเวลานั่นเอง ดังนั้นจึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน (ตามมาตรา 118) ครับ

7. ผิด : ลูกจ้างที่ทำงานมาตั้งแต่ 120 วันไปแล้วทางกฎหมายแรงงานถือว่าเป็น “ลูกจ้าง” โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นลูกจ้างชั่วคราว หรือลูกจ้างรายเดือน จะมีแต่คำว่า “ลูกจ้าง” เท่านั้น ดังนั้นบริษัทก็จะต้องจัดให้มีสิทธิประโยชน์และสวัสดิการเหมือนกันครับ

8. ผิด : พนักงานสามารถลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง แต่นายจ้างสามารถจ่ายค่าจ้างให้ไม่เกิน 30 วันทำงาน (จะจ่ายเกิน 30 วันทำงานได้นะครับแต่น้อยกว่านี้ไม่ได้)

9. ผิด : ตามมาตรา 11/1 ลูกจ้าง Outsource ที่ทำงานเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้าง (ผู้ประกอบกิจการ) บริษัทผู้ว่าจ้างก็จะต้องจัดให้ลูกจ้าง Outsource ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการเหมือนกับลูกจ้างของตนเองอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้นลูกจ้าง Outsource จึงมีสิทธิในเรื่องวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อทำงานมาแล้วครบ 1 ปีครับ

10. ผิด : เพราะการบอกกล่าวล่วงหน้าจะต้องบอก ณ วันจ่ายค่าจ้างเพื่อให้มีผลในรอบการจ่ายค่าจ้างถัดไป ในกรณีนี้จ่ายค่าจ้างทุกสิ้นเดือน แต่ไปบอกเลิกจ้างเอาในวันที่ 1 กรกฎาคม ก็เสมือนกับไปบอกเอา ณ วันที่ 31 กรกฎาคมซึ่งจะมีผลในรอบการจ่ายค่าจ้างถัดไปคือวันที่ 31 สิงหาคม เมื่อบอกให้ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงานในวันที่ 2 กรกฎาคม นายจ้างก็จะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนกรกฏาคม 1 เดือน และรอบการจ่ายค่าจ้างถัดไปคือ 31 สิงหาคมอีก 1 เดือน ดังนั้นจึงต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 2 เดือนถึงจะถูกต้องครับ

11. ผิด : พนักงานจะลาออกเมื่อไร หากระบุวันที่มีผลไว้ในใบลาออกก็จะมีผลในวันนั้นไม่จำเป็นต้องให้บริษัทอนุมัติแต่อย่างใด เพราะถือว่าลูกจ้างไม่ประสงค์จะทำงานกับนายจ้างอีกต่อไป แม้บริษัทจะมีกฎระเบียบว่าจะต้องยื่นใบลาออกล่วงหน้าก็ตาม แต่ถ้าพนักงานแจ้งระบุวันที่ลาออกวันไหนก็จะมีผลตามที่ระบุในใบลาออกทันที (แต่พนักงานที่ดีก็ควรจะทำตามกฎระเบียบของบริษัทนะครับ)

12. ผิด : ค่าจ้างของวันเพ็ญคือ 12,000+3,000 = 15,000 บาท ดังนั้นฐานค่าจ้างในการคำนวณค่าล่วงเวลาคือ 15,000 บาท ถึงจะถูกต้องครับ เพราะค่าภาษาเป็น “ค่าจ้าง” เนื่องจากเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามมาตรา 5
IP : บันทึกการเข้า
twunthong donchai
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,595


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 31 พฤษภาคม 2018, 08:28:32 »

ผมปีก่วาละครับเงินคงค้างไม่ได้เหลืออีกเกือบหมี่น
นัดวันประกันพุ่งโทรหาไม่รับสาย.พยายามจะใช้ไปช่วยงานตลอดเลยเบี่ยง
เดียวนี้ไม่รับสายเลย
IP : บันทึกการเข้า
oranit
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 662


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 31 พฤษภาคม 2018, 13:16:29 »

ผมปีก่วาละครับเงินคงค้างไม่ได้เหลืออีกเกือบหมี่น
นัดวันประกันพุ่งโทรหาไม่รับสาย.พยายามจะใช้ไปช่วยงานตลอดเลยเบี่ยง
เดียวนี้ไม่รับสายเลย

มีหลักฐานสามารถแจ้งความได้
IP : บันทึกการเข้า
twunthong donchai
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,595


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 01 มิถุนายน 2018, 07:57:58 »

หลักฐานมีแต่รูปถ่ายคนรับเหมาครับ
IP : บันทึกการเข้า
konmoung
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 627


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 01 มิถุนายน 2018, 19:29:10 »

หลักฐานมีแต่รูปถ่ายคนรับเหมาครับ
ขอรบกวนส่งรูปถ่าย ชื่อจริง ชื่อเล่น ผู้รับเหมาด้วยครับที่เบี้ยวค่าเเรง ส่งมาทางไลย นะครับรบกวนหน่อยครับ  เบอร์ไล และ ไอดีไล อันเดวกันครับ 0810268717 ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ ร่วมด้วยช่ายกันครับ ส่วนผมก่อมีรายชื่ออยู่ในมือเหมือนกันนะครับ ใครอย่างรุ้ pm มาเลยครับ
IP : บันทึกการเข้า
ยินดีครับ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,814


ติดต่อได้ตลอดเวลาครับ


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 20 มิถุนายน 2018, 00:46:52 »

สำหรับใครที่ถูกโกง แบบไม่มีสัญญาจ้าง
อ่าน  ให้  จบ  
การโกงค่าจ้าง ขอแยกออกเป็นสองกรณี
1. นายจ้างโกงลูกน้อง  ตรงนี้ลูกจ้างต้องมีการทำประกันส่งคมด้วยนะครับ
2. นายจ้างหรือคนจ้างงาน ไม่มีสัญญาจ้างและไม่มีการทำประกันสังคม
.....ขอแยกออกเป็น 2 ประเด็นนี้ก่อนนะครับ...
การร้องเรียน ร้องทุกข์  ดำเนินการเบื้องต้น
กรณี 1. ให้ติดต่อที่สำนักการสวัสดิการแรงงานจังหวัด  ไปติดต่อที่นั้น ทางเจ้าหน้าที่จะช่วยดูแลและดำเนินการให้
กรณี 2. รับจ้างไม่มีสัญญาจ้าง(เช่น รับทำส่ิ่งของ  รับก่อสร้าง  ช่างต่างๆที่รับงานแล้วไม่มีสัญญา) เมื่อถูกเบี้ยว โกง  หรือบ่ายเบี่ยงค่าจ้าง  กรณีนี้แนะนำเข้าปรึกษากับ สำนักงานอัยการสูงสุดของแต่ละจังหวัด  
.......อย่าลืม...การรับงานแต่ละครั้งถ่ายรูปก่อน  หลัง  และขณะทำงานด้วย  เพราะสามารถใช้เป็นหลักฐานได้  ...หรือบทสนทนาทางไลน์  ก็สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้....

ก็หวังว่าพอจะใช่วยเหลือกันได้ไม่มากก็น้อย..
สำหรับผู้รู้  ที่มีความรู้  ก็ช่วยแนะนำเพิ่มเติมได้...นะ ครับ

ความรู้ดีๆ ขอบคุณมากครับ
IP : บันทึกการเข้า

คลิกลิ้งติดต่องาน https://www.facebook.com/profile.php?id=100054820356981
manit11
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,429


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 23 มิถุนายน 2018, 08:01:41 »

นอกจาก 2 วิธึที่กล่าวมาแล้วนั้น  สามารถแจ้งความดำเนินคดี ได้ที่สถานีตำรวจได้  ข้อหา ฉ้อโกง ได้ โดยที่ท่านต้องมีหลักฐาน  พยานบุคคล  ประกอบจะสามารถดำเนินการได้ 
IP : บันทึกการเข้า
oranit
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 662


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 23 มิถุนายน 2018, 08:04:13 »

ความผิดฐานฉ้อโกงคืออะไร และต้องดำเนินคดีอย่างไร
            การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงนั้นก็คือการหลอกลวงคนอื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงที่ควรบอก ซึ่งเป็นการกระทำโดยทุจริต  และการหลอกลวงทำให้ได้ทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกลวงหรือคนอื่นๆ หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือคนอื่นต้องทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ซึ่งในปัจจุบันส่วนมากจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงแบบนี้  ซึ่งการฉ้อโกงนั้นมีหลายลักษณะ เช่น การฉ้อโกงประชาชน การฉ้อโกงแรงงาน การหลอกกินอาหารและเครื่องดื่มฟรี เป็นต้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341-348  เช่น หลอกให้ลงทุนเพื่อประกอบธุรกิจด้วยกันแต่ไม่มีเจตนาทำธุรกิจมาตั้งแต่แรก หลอกว่าจะนำเงินไปชำระหนี้ให้แต่ไม่นำไปชำระ เป็นต้น

              ความผิดฐานฉ้อโกงนั้นเป็นความผิดอันยอมความได้ ยกเว้นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน  ซึ่งหมายถึงผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดสามารถเจรจาคืนทรัพย์สินหรือชำระค่าเสียหายเพื่อยุติคดีได้ และเนื่องจากเป็นความผิดอันยอมความได้ผู้เสียหายจึงต้องดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องคดีเองภายในกำหนดเวลา 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดด้วย มิเช่นนั้นคดีขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96  By www.siaminterlegal.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 มิถุนายน 2018, 11:51:24 โดย oranit » IP : บันทึกการเข้า
oranit
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 662


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 23 มิถุนายน 2018, 14:14:58 »

คดีอาญา
ปัญหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาข้อหาต่างๆ เช่น ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก รับของโจร โกงเจ้าหนี้ ทำให้เสียทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ทะเลาะวิวาท เจตนาฆ่า หมิ่นประมาท  รวมทั้งการจ้างวาน บ่งการ ใช้ หรือมีส่วนร่วมกระทำผิดในลักษณะใดๆ ตลอดจนความผิดตามพระราชบัญญัติต่างๆ ที่มีโทษตามกฎหมายอาญา เช่น ยาเสพติดประเภทต่างๆ ศุลกากร คนต่างด้าวเข้าเมือง อาวุธปืน ป่าไม้ เป็นต้น

คดีผิดสัญญา
ปัญหาเกี่ยวกับการผิดสัญญาทางแพ่งต่างๆ เช่น ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ กู้ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ขายฝาก สัญญาว่าจ้างประเภทต่างๆ ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งเกิดจากเหตุที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือกระทำการงานไม่ถูกต้องครบถ้วนเป็นเหตุให้ต้องเกิดความรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าปรับล่าช้าต่างๆ หรือให้ทำการส่งมอบทรัพย์สินแก่กันหรือให้ชำระหนี้ตามสัญญา เป็นต้น

คดีแรงงาน
ปัญหาเกี่ยวกับการผิดสัญญาจ้างแรงงานอันเกิดจากลูกจ้างกระทำละเมิดต่อนายจ้าง เช่น ลักทรัพย์นายจ้าง ประมาทในหน้าที่การงานเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ยักยอกเงินนายจ้าง หรือปัญหาเกิดจากการถูกนายจ้างเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือการลวนลามของนายจ้างต่อลูกจ้าง  ปัญหาความรับผิดของการค้ำประกันการทำงาน การเรียกค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่างๆ เป็นต้น

ที่มา http://www.siaminterlegal.com/
IP : บันทึกการเข้า
manit11
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,429


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2018, 10:49:40 »

 สัญญาจ้างทำของ
                สัญญาว่าจ้างทำของ คือ สัญญาซึ่งบุคคล หนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น สาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของมีดังนี้
      1. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทน กล่าว คือ ผู้รับจ้างจะต้องทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างต้อง ให้สินจ้างเพื่อผลงานนั้น ทั้งนี้สินจ้างดังกล่าวอาจเป็นเงินตราหรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ตามแต่ จะตกลงกัน
     2. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างทำของ คือ “ผลสำเร็จของงาน” ไม่ใช่ต้องการ เฉพาะแต่แรงงานของผู้รับจ้างเท่านั้น เช่น จ้างก่อสร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ติดกระจก ซ่อมหลังคาบ้าน จ้างตัดเสื้อผ้า หรือจ้างว่าความ เมื่อไม่ใช่การจ้างแรงงาน นายจ้างจึงไม่ต้อง รับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิดต่อบุคคลภายนอก ผู้รับจ้างจึงมีอิสระในการทำงาน มากกว่าลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุม บังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงาน หรือบงการผู้รับจ้าง
3. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ กล่าวคือ สัญญาจ้างทำของเกิดขึ้นโดยการแสดง เจตนาตกลงกัน แม้ด้วยวาจาก็สามารถ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!