เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 เมษายน 2024, 08:31:28
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ตลาดกลางซื้อขายสินค้าออนไลน์
| |-+  พระเครื่อง-วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง ความเชื่อ ลี้ลับ (ผู้ดูแล: NOtis, micky13)
| | |-+  พระปี้หลง ป่าบง วัตถุมงคล และชีวประวัติ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน พระปี้หลง ป่าบง วัตถุมงคล และชีวประวัติ  (อ่าน 10115 ครั้ง)
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« เมื่อ: วันที่ 07 ตุลาคม 2015, 17:28:53 »



ผมเอาข้อมูลความรู้มาเพิ่มเติม เพื่อเป็นวิทยทาน แก่ผู้ที่ต้องการรู้ชีวประวัติ วัตถุมงคล ของพระปี้หลง ป่าบง มาเพิ่มให้คับ จากการสืบค้น จากสถานที่จริง ด้วยความความศรัทธา
 จากที่ผม เอ็มแม่สาย ได้สืบค้นชีวประวัติท่าน สมเด็จ อรัญวาสี พระปี้หลง ป่า บงมีดังนี้

ท่าน เกิด วันเสาร์ เดือน9 ขึ้น10ค่ำ จ.ศ 1244 พุทธศักราช 2426
นามเดิม ขันคำ
บิดา ชื่อ อ้ายอุ่นคำ (เสียชีวิต พศ.2438 ขณะนั้นพระปี้หลงอายุ 12ปี)
มารดา ชื่อ นางคำแสง

ท่าน บวช เป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยมีอายุ19ปี มีพ่อออก/ผู้บริจากช่วยเหลือในการอุปสมบท/ผู้อุปฐากชื่อ พ่อแสนจั๋ยสาน บ้านทุ่งน้ำ เวียงเมืองยอง



ภาพนี้ ถ่ายไว้เมื่อท่านบรรพชา คุณปู่ทวด และคุณย่าทวดผม ได้เก็บภาพนี้ไว้ ซึ่งผมได้เตรียมพิมพ์แจกฟรีในปีหน้า คุณแม่เล่าให้ฟังว่า คุณย่าทวดนั้นมีอายุมากกว่า พระปี้หลงอยู่3ปี ส่วนคุณปู่ทวดนั้นมีอายุมากกว่าพระปี้หลงอยู่5ปี คุณย่าทวดได้ทันเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ไว้บ้าง (คุณย่าทวดท่านสิ้นอายุ102ปี) ต่อๆ..คับ หลังจากท่านบวช ท่านได้ไปปฎิบัติธรรมอยู่ที่ พระธาตุหลวงจอมยอง 7คืน ท่านได้ สมาทานศีลกับ ตุ๊ป่า เยธรรม องค์หนึ่ง ที่มาประจำอยู่ที่ พระธาตุหลวงจอมยอง หลังจากนั้นก็ได้ย้ายลงมาอยู่ที่วัดป่าราม ป่าบง (เนื่องจากแม่ท่านไปหาฟืนและไปพบท่านจึงนิมนต์ลงมา)

ต่อมา..
พระ ครูบากันทาระสะ บ้านปุ่ง และ พระภิกษุทั้งหลาย ร่วมกันน้อม ยกท่าน ขึ้นเป็น สมเด็จ อรัญวาสี ณ ที่วัด ป่าราม ป่าบง แห่งนี้เอง ดังภาพ  



พระปี้หลงป่าบง ได้อาพาธ ด้วยโรคอะไรไม่ปรากฎ ท่านได้มรณะภาพเมื่อ เดือน9 ขึ้น14ค่ำ ตอนกลางคืน อายุ85ปี รวมพรรษา 66 พรรษา ปี จ.ศ.1329 พ.ศ.2510



ภาพนี้ คือภาพ กู่ ภายใน อารามที่บรรจุอัตฐิธาตุของ สมเด็จพระอรัญญาสี พระปี้หลงป่าบง เปิดให้เข้าศักการะเฉพาะวันพระเท่านั้น

 
รุปต่อไปคือ ที่ประชุมเพลิง สมเด็จท่าน ซึ่ง ถูกเก็บรักษาไว้ ไม่ได้ทำการลื้อถอนคับ ส่วนนี้ สามารถเข้าชมได้



++ส่วน++ วัตถุมงคล นะครับ ที่ทันท่านจัดสร้าง มีดังนี้...เริ่มจากของที่หาชมได้ยากที่สุดก่อนนะคับ
1.ผ้ายันผาต้า(ฝ่าต้า)(ผ้าต้า) (ยันต์ที่มีรุปฝ่ามือฝ่าเท้าและลายมือท่าน) ท่านเขียนแจกผู้ที่เดินทาง ออกศึก ค้าขาย  มีจำนวนน้อยมาก เป็นของในตำนานก็ว่าได้
โดยแบ่งออกเป็น 2 ยุค ดังนี้
1.ยุคต้น เริ่มทำตั้งแต่ปีใดยังไม่ปรากฎหลักฐานชัดเจน ทำขึ้นมาจากผ้า2ชนิดด้วยกันคือ
1.1ผ้าฝ้าย ทอมือ มีทั้งแบบไม่ย้อมและแบบย้อมขาว
1.2ผ้าฝ้ายหมากแซงพอ ทอมือ (ใยฝ้ายจากต้นมะละกอ) มีลักษณะ เรียบและบางกว่าฝ้ายแท้ ชนิดแรก พบเห็นหลักฐานบนฝ่าต๊ะชนิดนี้ ปี จ.ศ 1320-1325
เขียนด้วยหมึกสัก วัสดุที่เขียน ทำจากก้านพืชริมหน้าผาชนิดหนึ่งเรียกว่าก้านกรุด
ผ้าฝ่าต๊ะในยุคต้นทั้งหมด จะวาดบรรจบรอบมือ ซึ่งมีการทาบรอบมือพระปี้หลวง แล้วมีการวาด2รอบ ลงดินสอ ตามด้วยหมึก เขียนอักขระ ไว้นอกฝ่ามือฝ่าเท้า (หรือนอกฝ่าเท้า) มีเขียนด้วยคาถาที่มีความหมาย ไม่อ้างไศยศาสตร์ เช่น คาถาจินดามณี หรือบางผืนเขียนเพียง บทอาราทนา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ไม่มีการใส่ยันต์คาถาที่ผิดแปลกไปจากหลักศาสนา

2.ยุคปลาย
แยกจากยุคต้น คือ ทำจากผ้าปิก ซึ่งเริ่มมีการจัดจำหน่ายตามท้องตลาดเมืองยองในขณะนั้น มีลักษณะบาง ผืนเล็กกระทัดรัดกว่ายุคต้น
ยุคปลาย แบ่งเป็น ผืนที่ทันท่านสร้าง และไม่ทันท่านสร้าง

2.1 ผืนที่ทันท่านสร้าง หรือท่านให้ศิษใกล้ชิดเขียนอักขระ จะไม่เขียน พุทธธัง ธัมมัง สังฆัง บิดา มารดา ไว้ในฝ่าเท้า

2.2 ผืนที่ทันท่านสร้าง เพียงท่านวางมือลงบนผ้า แล้วนำผ้ากองไว้ แล้วให้ลูกศิษเขียนแจก ผ้าในลักษณะ2.2นี้ จะมีเส้นขีดบรรจบด้วยไม้บรรทัด ศิลปะใกล้เคียงกัน แต่ด้วยการที่ศิษ ไม่เข้าใจว่าภาษาธรรมคือของสุง จึงมีการเขียน คำว่า พุทธธัง ไว้ในนิ้วโป้งเท้า ธรรมมัง ไว้ในนิ้วกลางเท้า สังฆังไว้ในนิ้วกลางเท้า บิดา-มารดา ตามลำดับนิ้ว

2.3 ผืนที่ไม่ทันท่านสร้าง เกิดมาจากปาฎิหารของผืนที่ทันท่านสร้าง แล้วรอดตายจากสงคราม แล้วนำผืนที่ทันท่านสร้าง คัดลอกรอยมือ รอยเท้า และมีการเขียนยันต์คาถาผิดแปลกออกไปแล้วแต่ผู้เขียนจินตนาการ บางผืนจะมี ลักษณะการวาดรอยมือขึ้นมาเองใหม่ ตามจินตนาการ ให้สังเกตุจาก ยันต์ว่าเยอะไปไหม ถูกต้องหรือไม่ ผ้า น้ำหมึก ความเก่า  ซึ่งไม่ได้ถือว่าเป็นของปลอม เพราะ ชาวบ้านสมัยก่อนศรัทธา ก็ได้ทำการคัดลอกไว้ และที่ อักขระมากไป เพราะสมัยนั้นจะให้ อาจารย์ผู้มีวิทยาอาคมเป็นผู้คัดลอกให้ ซึ่งท่านเหล่านี้บางท่าน มิได้เข้าถึงแก่นธรรมที่แท้จริง



3.ตระกรุดโทน....(หากมีโอกาสผมจะยืมมาลงให้ชมคับ)

4.ตระกรุด108ดอก (ลักษณะคล้ายตระกรุดครูบานันตา แต่จะถักด้วยเชือกแดง หากมีโอกาสจะถ่ายมาให้ชมคับ ได้รับเฉพาะศิษใกล้ชิดคับ เพราะใช้เวลาทำนานมาก)ตระกรุดชุดนี้ ส่วนมาก จะได้จากมือ นายปั๋น แก้เสื้อ จอมขมังเวทย์ในสมัยนั้น ซึ่งเป็นหลานแท้ๆของ พระปี้หลงป่าบง ในยุคสงคราม ขุนส่า ..เครดิตข้อมูลจาก พ่อเฑ่าจิ๋ง ฮ่องลึก (ปัจจุบันท่านอายุ94ปีแล้ว)

5.พระเนื้อว่าน พระปี้หลง ยุคต้น
หรือ พระผงเกษา สมเด็จอรัญาวาสี ป่าบงเมืองยอง (พระปี้หลง)
ผมอยากให้คำนิยามว่า ในคำว่า ยุค ต้นในที่นี้ ไม่ได้หมาย ถึงตอนท่านหนุ่มนะคับ พระผงเกษา หรือเนื้อว่านที่เราเรียกกันทุกวันนี้...
ถูกจัดสร้างขึ้นใน ยุค 2480-25XX (ผมตีกว้างๆไว้ จริงๆน่าจะ2500-2504 ที่ทันท่าน และที่หมุนเวียนที่เราเห็นๆกัน)
ผมจะขอแบ่งแค่2 ยุค คือ ยุคต้น และยุคปลาย
ลักษณะพระยุคต้น มีหลากหลายบล๊อกพิมพ์ด้วยกัน
1. ลงรัก ดำ รักมีความเก่าตามอายุ ดำอมแดงใส กระเทาะ แตกร้าว
2. มีชาด แดง สีแห้ง หลุดร่อนตามกาลเวลา
3. ทอง ทองตัวนี้ มีส่วนในการกำหนดยุค สมัย
4. มีการเก็บ ปาดบล็อก ด้วยความพิถีพิถันจนมองเผินๆ เหมือนปั้นเอง
วัสดุ ประกอบในองค์พระ ว่าน ผงใบลาน ดอกไม้แห้ง อิฐแตกหักจากพระธาตุหลวงจอมยอง และใบไม้สรีคำ
ทำให้เกิด หลายเนื้อ หลายโซน ตามวาระไป องค์หนักบ้าง เบาบ้าง (ยุคต้นส่วนใหญ่มีน้ำหนัก) และในที่นี้ ยังมีเนื้อพิเศษ เช่น เนื้อเทียนชัย เนื้อรัก หลังกรรมวิธีคัดเลือกวัตถุดิบแล้วไม่ว่าจะปั้นมือ หรือมีบล็อก ปั้นมือก็นำเกษาติดลงไป ถ้ากดบล็อกก็เอาเกษาใส่ลงไปในบล็อกหลัง ช่วงหลังหัวองค์พระ ขึ้นรุปแล้ว จะทำเหมือนกันคือ
นำพระที่แกะบล็อก ทำให้แห้งสนิท แล้ว ชุบชาดทั้งองค์ แล้วนำมาชุบ นำทอง ให้เหลือฐานพระไว้ แล้วนำรักทาลงบนศีรษา ฉะนั้นเส้นเกษาจะอยู่ใต้รัก(ลองสักเกตุส่องดูคับ พระยุคต้นต้องมี) เนื้อเทียนชัย กับเนื้อรักปั้น เนื้อเทียนชัย หลังจากปั้นแล้วจะถูกติดเกษาแล้วชุบรักก่อนแล้วจึงนำฐานไปชุบชาด ส่วนเนื้อรักปั้น จะดำทั้งองค์ เก่าแก่ตามอายุไข
บางพิมพ์อาจข้ามบางขั้นตอนเพื่อความรวดเร็ว คือ ในพระบางองค์ไม่ได้ ทำการชุบชาด แล้วชุบทอง
นำทั้งองค์ ชุบรักทั้งองค์เลย แล้ว ชุบทอง
บางองค์ไม่ชุบทั้งรักทั้งชาด แล้วชุบทองก็มี
นั่นแหละคับ ทั้งหมดเป็นสิ่งที่น่าค้นหาศึกษา
ยุคปลาย จะขออธิบายในครั้งต่อไปครับ


7. จีวร ผ้าฝ้ายดิบ สีขมิ้น

8. เหรียญ รุ่น 1-2 สร้างขึ้นในวาระเดียวกันทั้งหมด
    สร้าง ปี2529 - 2530
    จำนวน 10,000 เหรียญ
    ผู้จัดสร้าง สมเด็จอาญาธรรม วัดราชสัณฐานหลวง หัวข่วง เมืองยอง รัฐฉาน
    ผู้ดำเนินการสร้าง ครูบามหาเขื่อนคำ วัดพระบาทตากผ้า ลำพูน
    ผลิตที่ ลำพูน
    พิธี เสก ณ วัดมหาวัน ลำพูน
    เนื้อ ทองแดง  เนื้อพิเศษอื่นๆ ---

9. เหรียญ รุ่น 3 เหรียญเสมา (ผู้สร้างเรียก เหรียญระฆังคว่ำ)
    สร้าง ปี 2532 - 2534
    จำนวน ผุ้สร้างจำได้ไม่ถนัดนัก แต่ไม่มากนัก
    ผู้จัดสร้าง สมเด็จอาญาธรรม วัดราชสัณฐานหลวง หัวข่วง เมืองยอง รัฐฉาน
    ผู้ดำเนินการสร้าง ---
    ผลิตที่ จ. สุพรรณบุรี
    พิธี เสก ณ วิหาร วัดหัวข่วง เมืองยอง

    ข้อมูลส่วนเหรียญได้รับความร่วมมือจาก
     สมเด็จอาญาธรรม วัดราชสัณฐานหลวง หัวข่วง เมืองยอง รัฐฉาน
     ตุ๊ปี้ จัน วัดดอยเวา
    สืบ ค้นหา ข้อมูล โดย
     เอ็มแม่สาย / หลวงพี่โต้ง กฤชณัท เขมรัฐสุริยวงษ์ / พี่หนาน พบดี วิชาสัจจะ

10. รุปหล่อ ขนาด5นิ้ว
     สร้างปี 2543
     จำนวน 198 องค์ (จากเดิม99องค์)
     ผู้จัดสร้าง ตุ๊จัน วัดดอยเวา
     เนื้อ ทองเหลือง รมดำ ปิดทองตำแหน่งหน้าอกองค์พระ
     ไม่มี เนื้อ เรซิ่น (ถูกถอดพิมพ์ สร้างภายหลัง)



สุดท้ายนี้คือรุป บ้ง แมงบ้ง....จากป่าบ้ง หรือ ป่าบง ที่เรียกกัน มีเยอะมากๆคับ ตัวเท่านิ้วก้อย



บทความเพิ่มเติม ขออนุญาติ ท่านสายครูบาด้วยนะคับ  ดังนี้

รูปของพระต๋นวิเศษองค์นี้คือ สมเด็จมหาป่าอรัญวาสีป่าบง เมืองยอง หรือ พระปี้หลวงป่าบง ครับผม ท่านได้รับยกยอขึ้นเป็นถึงสมเด็จฝ่ายอรัญญวาสี แต่เชื่อไหมครับท่านเป็นเพียงเณร เพราะคำว่า พระปี้ หรือ พระพี่ เป็นคำเรียกเณร ครับผม แต่คุณธรรมและบารมีญาณท่านไม่ธรรมดาครับ ท่านเสมือนเป็นบุคคลในตำนาน ไม่ค่อยรู้จักในหมู่คนไทย แต่สำหรับชาวยอง หรือคนลื้อเมืองยองแล้ว ท่านเป็นต๋นบุญ ต๋นวิเศษเลยทีเดียว ท่านเป็นบุคคลร่วมยุคเดียวกับครูบาเจ้าศรีวิไชย และครูบาเจ้าก็นับถือท่านเช่นกัน ท่านมาช่วยครูบาศรีวิไชยสร้างพระธาตุดอยตุง สร้างวิหารพระเจ้าตนหลวง พะเยา และที่พะเยานี่แหละคำเกิดเป็นตำนานล่ำลือถึงคุณธรรมท่านคือ เมื่อครูบาสร้างวิหารไม่มีใครสามารถยกขื่อคานวิหารได้แม้แต่ครูบาเอง ท่านบอกว่าเดี๋ยวจะมีเจ้าของมายกเอง ปรากฏว่าเป็นพระปี้หลวงท่านมาช่วยครูบาสร้างจนสำเร็จ คนเฒ่าคนแก่เล่ากันว่าท่านเหาะจากเมืองยอง มาสร้างบารมีกับครูบาเจ้าครับ ความอัศจรรย์ในอภิญญาของท่านมีมากมายเป็นตำนานเล่าขาน แต่ที่ผมอยากจะเน้นย้ำยิ่งกว่าปาฏิหารย์คือ เรื่องภาวนากรรมฐานของท่านครับ มีพระรูปหนึ่งผมถวายรูปพระพี่หลวงไป ท่านลองกำภาวนาดู ถึงขั้นโทรกลับมาว่าเอาไปเสกที่ไหน แต่ผมก็ไม่ได้เอารูปสมเด็จท่านไปเสกที่ไหนเลย ท่านว่า นั่งภาวนาได้นิ่งและลึก เร็ว มากอย่างไม่เคยเจอ



กระผม เอ็มแม่สาย ณัฐพงษ์ ศรีลังกา ขอบคุณแหล่งข้อมูล จาก
พระธาตุหลวงจอมยอง
กู่ สมเด็จพระอรัญวาสี พระปี้หลงป่าบง
เอกสารจากพ่อออกแสนจัยสาน แปลและเรียบเรียงโดย พระสภาวุฒิ อภิสิทธิ์
เจ้าสะติขัน เจ้าอาวาส ผู้ดูแลกู่
มัคธายก หลวงพี่ ประจำพระธาตุหลวง
คุณปู่ทวด คุณย่าทวด ที่เก็บหลักฐาน รุปภาพไว้
คุณปู่จิ๋ง ฮ่องลึก ที่เล่าบางเหตุการณ์ในสมัยนั้น
ท่านสายครูบา เว็บพลังจิต กฤชณัท เขมรัฐสุริยวงศ์
พี่หนาน พบดี วิสัจจะ ผู้แปลบทคาถาบนผืนผ้า
พี่เอก แม่สาย ช่างเลี่ยมพระ ผู้ค้นคว้าข้อมูล

หากท่านใดมีจิตรศรัทธา อยากไปกราบ กู่ท่าน ใช้เวลาเดินทางออกจากชายแดนแม่สาย ด้วยรถยนต์ส่วนตัวประมาณ7 ชม.นะคับ ต้องนอนค้างที่นั้น (โรงแรงไตลื้อ ต้องเข้าพักก่อน22.00นะคับ เพราะมีเวลาปิด) ต้องออกเดินทางแต่เช้านะคับ ถนนไม่ดีซักเท่าไหร่
หรือจะสอบถามข้อมูล จากผมก็ได้คับ M measai 0910416300 หรือผ่านเพชบุ๊ก https://web.facebook.com/groups/1010624665627448/
ชมรมพระเครื่องแม่สาย ก็ได้คับ





* พระปี้หลวงป่าบง.jpg (108.24 KB, 600x800 - ดู 5294 ครั้ง.)

* พระปี้หลงป่าบงเมืองยอง.jpg (106.63 KB, 600x800 - ดู 5898 ครั้ง.)

* พระปี้หลงป่าบง05.jpg (114.51 KB, 600x800 - ดู 5603 ครั้ง.)

* พระปี้หลงเมืองยอง.jpg (250.13 KB, 500x800 - ดู 5474 ครั้ง.)

* พระปี้หลง ยืน 1.jpg (80.18 KB, 300x800 - ดู 5096 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2016, 23:07:42 โดย gozilamkung » IP : บันทึกการเข้า
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2016, 12:31:20 »

พระเนื้อว่าน  พิมพ์เล็ก ของ ท่านสมเด็จอรัญวาสี ป่าบง เมืองยอง(พระปี้หลง) พิมพ์ที่พบน้อยมาก  องค์นี้มีเกศาหลายเส้น..พร้อมจีวรท่านติดมาด้านหลัง..รัก.. ชาด..ทองเดิมๆ..องค์นี้ เป็นเนื้อพิเศษ ที่ไม่ได้สร้างจากว่าน แต่มีการปั้นด้วยเทียนชัยผสมเกศา ผ่าน การชุบรัก ชุบชาด ปิดทอง ตามกรรมวิธีเดียวกับเนื้อว่าน


* พระปี้หลงพิมพ์เล็ก1.JPG (75.78 KB, 648x810 - ดู 6045 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 01 กันยายน 2016, 20:47:59 โดย gozilamkung » IP : บันทึกการเข้า
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2016, 21:33:58 »

ตระกรุด108ดอกพระปี้หลงป่าบง(ยันต์ปากแปด)


* พระปี้หลง ตระกรุด1.JPG (115.33 KB, 555x738 - ดู 5821 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2016, 21:37:08 »

รุปถ่ายฟิมล์ปรอทขนาด3นิ้วกรอบไม้เดิม(ต้นแบบเหรียญรุ่น3กับรุ่น6ที่กำลังจัดสร้างและปกหนังสือชีววประวัติ)


* พระปี้หลง0011.JPG (63.03 KB, 493x657 - ดู 5724 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
jaythekop
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 58



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 30 พฤษภาคม 2016, 21:36:02 »


มีโอกาสได้รับไว้บูชาองค์นี้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2016, 21:07:23 »

พระเนื้อว่าน พิมพ์ใหญ่ จาก1 ในหลายๆพิมพ์ครับ


* พระปี้หลงเนื้อว่าน11.JPG (69.14 KB, 625x800 - ดู 5353 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2016, 21:08:09 »

ระเนื้อว่าน พิมพ์ใหญ่ จาก1 ในหลายๆพิมพ์ครับ ด้านหลัง ลักษณะ การกระเทาะของ รัก จะต้องกระเทาะออก โดยไม่มีรอยปลิ้นของรัก คือกระเทาะ ลาน เป็นชิ้น ยกแผ่น เท่านั้นคับ หากมีการกระเทาะรุปแบบโค้งงอ คือการทำปฎิกริยาทางเคมี เพื่อให้รักกระเทาะ  คือ มีการเร่งเวลา


* พระปี้หลงป่าบงเนื้อว่าน22.JPG (134.98 KB, 1125x1358 - ดู 5514 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 01 กันยายน 2016, 21:11:00 โดย gozilamkung » IP : บันทึกการเข้า
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2016, 21:16:30 »

ฝ่าต๊ะ พระปี้หลง ป่าบง ยุคต้น ลงคาถา จินดามณี บนผืนผ้าฝ้ายเขียนด้วยหมึกสักจากก้านกรุด
ฝ่าต๊ะผืนนี้ได้รับรางวัลรองแชมป์ ในงานประกวดพระเครื่องพระบูชาไทย งานปางสวนแก้ว เชียงใหม่
โต๊ะที่54 เครื่องรางล้านนายอดนิยม รายการที่19ฝ่าต๊ะล้านนา No.07980 22 ส.ค. 59


* ฝ่าต๊ะพระปี้หลงป่าบง11.JPG (82.19 KB, 600x660 - ดู 5274 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2016, 21:19:04 »

ฝ่าต๊ะยุคต้นพระปี้หลงป่าบง คาถา จินดามณี อีกชิ้นหนึ่ง ที่สมบุรณ์มาก


* ฝ่าต๊ะพระปี้หลงป่าบง22.JPG (76.37 KB, 525x660 - ดู 5263 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2016, 21:22:53 »

ฝ่าต๊ะ พระปี้หลง ป่าบง ยุคปลาย บนผืนผ้าปิก เขียนด้วยหมึกสัก
ฝ่าต๊ะผืนนี้ได้รับรางวัลชมเชย ในงานประกวดพระเครื่องพระบูชาไทย งานปางสวนแก้ว เชียงใหม่
โต๊ะที่54 เครื่องรางล้านนายอดนิยม รายการที่19ฝ่าต๊ะล้านนา No.07978 22 ส.ค. 59


* พระปั้หลวงป่าบง1234.JPG (125.99 KB, 886x1250 - ดู 5064 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2016, 21:24:38 »

ฝ่าต๊ะ พระปี้หลง ป่าบง ยุคปลาย บนผืนผ้าปิก เขียนด้วยหมึกสัก
ฝ่าต๊ะผืนนี้ได้รับรางวัลที่3 ในงานประกวดพระเครื่องพระบูชาไทย งานปางสวนแก้ว เชียงใหม่
โต๊ะที่54 เครื่องรางล้านนายอดนิยม รายการที่19ฝ่าต๊ะล้านนา No.07979 22 ส.ค. 59


* พระปั้หลวงป่าบง111.JPG (128.32 KB, 938x1250 - ดู 5146 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2016, 21:26:51 »

แชมป์เหรียญ รุ่น3 พระปี้หลงป่าบง โต๊ะที่30 พระเครื่องเชียงรายยอดนิยม รายการที่29


* เหรียญรุ่น3พระปี้หลงป่าบง1.JPG (173.23 KB, 938x1250 - ดู 5344 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2016, 21:28:47 »

เหรียญ รุ่น1 พระปี้หลงป่าบง   (รุ่น1ที่ไม่ใช่รุ่น1???) งง มั้ยครับ งงต่อไปก่อนคับ


* พระปี้หลงป่าบง เอ็มแม่สาย1.jpg (127.09 KB, 960x610 - ดู 5994 ครั้ง.)

* พระเจ้าตนหลวง พระปี้หลง.jpg (92.5 KB, 688x478 - ดู 5084 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 16 ตุลาคม 2016, 16:39:52 โดย gozilamkung » IP : บันทึกการเข้า
gozilamkung
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2016, 21:42:01 »

งานประกวดพระ ปางสวนแก้ว ล่าสุดครับ


* 14080933_1808977772667142_1251535935_n.jpg (71.87 KB, 720x960 - ดู 4944 ครั้ง.)

* 14193652_10207088878927050_1107623686_n.jpg (131.5 KB, 720x960 - ดู 4970 ครั้ง.)

* 14159292_10207088878967051_618659840_n.jpg (91.58 KB, 960x719 - ดู 4945 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!