เด็กดีต้องสนับสนัน ครับ มาชื่นชมอีกคนครับ กับข่าวนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นศ.วิทยาลัยเชียงราย สาธิตการหมักและแยกก๊าซชีวภาพ นำไปใช้ในครัวเรือน ร่วมกับชุมชนหนองหม้อ ต.ป่าอ้อดอนชัย ใช้ก๊าซที่ได้ไปผลิตข้าวแต๋นแฟนตาซี ส่งขายเป็นสินค้าโอทอป ช่วยลดต้นทุน ลดโลกร้อน..
เมื่อวันที่ 9 ก.พ.53 นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย ร่วมกันนำมูลสัตว์และเศษพืชผักที่หลือใช้มาเข้าสู่กระบวนการหมักและแยกก๊าซ ชีวภาพ นำก๊าซที่ได้มาใช้ในครัวเรือนสำหรับการหุงต้มและผลิตข้าวแต๋นที่ มีชื่อ "ข้าวแต๋นแฟนตาซี" ส่งขายเป็นสินค้า "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์" ของชุมชนบ้านหนองหม้อ หมู่.9 ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย จึงเดินทางไปพิสูจน์ ซึ่งนักศึกษาได้ร่วมกันสาธิตวิธีทำตามขั้นตอน
นายสุทัศ กันทะวงศ์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมเครื่องกลวิทยาลัยเชียงราย เปิดเผยว่า วิทยาลัยเชียงรายร่วมกับชาวชุมชนบ้านหนองหม้อ นำมูลสัตว์และเศษพืชผักที่เหลือใช้มาผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งที่ผ่านมามีการทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ แต่ยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ใช้กันในวงแคบๆ เท่านั้น แต่หลังจากที่ได้มีการร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชน จึงนำไปสู่ขบวนการเรียนรู้อย่างยั่งยืน จนนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ผลิตข้าวแต๋นแฟนตาซี ที่เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จำหน่ายดังกล่าว
โดยโครงการดังกล่าวช่วยลดต้นทุนการผลิต และลดภาวะโลกร้อนจากการตัดไม้ทำลายป่า ลดขยะและมลพิษจากการเผาเศษวัชพืช ขณะเดียวกันธนาคารไทยพาณิชย์ จัดให้มีการแข่งขันด้านวิชาการทางวิทยาลัยเชียงรายจึงส่งโครงการ "ก๊าซชีวภาพ เชื้อเพลิงสำหรับผลิตข้าวแต๋นแฟนตาซีเพื่อความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่ง แวดล้อมของชุมชนบ้านหนองหม้อ" เข้าร่วมการแข่งขัน
สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน "โครงการกล้าไหม ใฝ่รู้" ซึ่งเป็นการแข่งขันด้านวิชาการระดับประเทศ มีนักศึกษาระดับเตรียมอุดมจาก 75 สถาบัน กว่า 400 คนทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขัน โดยวิทยาลัยเชียงรายได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศพระราชทานจากสมเด็จพระเทพพระ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลอีก 800,000 บาทด้านนายสมทรง ปัญญาดี อายุ 56 ปี หัวหน้ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองหม้อ กล่าวว่า หลังจากทางวิทยาลัยเชียงรายนำกระบวนการเรียนรู้และผลิตก๊าซชีวภาพมาสู่กลุ่มข้าวแต๋นแฟนตาซี ทำให้ต้นทุนการผลิตไม่ว่าเรื่องของค่าแก๊สหุงต้มที่แต่ เดิมต้องจ่ายเงินราวเดือนละเกือบหมื่นบาท ตอนนี้ลดเหลือเพียง 3,000 บาท ปริมาณการทอดข้าวแต๋นจากก๊าซหุงต้ม 1 ถัง ทอดข้าวแต๋นได้ 7,000 แผ่น แต่ก๊าซชีวภาพ 1 ถัง ใช้ทอดข้าวแต๋นได้ 10,000 แผ่น ผลพลอยได้จากขั้นตอนผลิตยังสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ใส่พืชผักและนาข้าว ส่งผลให้พืชผักงอกงามได้ผลดี ประการสำคัญไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากการรั่วไหลหรือเกิดการระเบิด เนื่องจากก๊าซชีวภาพเป็นก๊าซเฉื่อย
ปัจจุบันมีชาวบ้านในหลายตำบลได้มาขอเรียนรู้และนำวิธีการดังกล่าวไปใช้ ผลิตก๊าซชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์จนมีสมาชิกกับเครือข่ายจำนวนมาก.
http://www.thairath.co.th/content/region/64018