ปัญหาราคาลำไยตกต่ำ มันเป็นปัญหา เรื้อรัง
เพราะเกษตรกรยังคงหวังพึ่งรัฐบาลเข้ามาอุหนุน
แตไ่ม่ยอมรับความจริง และดิ้นรนแสวงหาหนทางร่วมกัน ทั้ง ๆที่มันมีทางออก
เช่น ๑. ระบบการผลิต ชาวสวนหรือชาวนายังคงเน้นผลการผลิต "ปริมาณ "มากกว่าคุณภาพ
ซึ่งไม่สมดุลกันกับตลาดรองรับ เช่นจีน มีความต้องการ ลำไยปีละ 1.2 แสนตัน แต่ไทยเราผลิตลไยเกรด AA ลงมา ได้ถึง 2.7 แสนตัน ในขณะที่ ตลาดผู้บริโภค ขนาด จัมโบ้ ตามห้าง ไม่พอส่ง ไม่มีวางขาย
และจีนก็ยังต้องการไม่อั้นเหมือนกันสำหรับ เกรดจัมโบ้
ในเมื่อผลผลิตเรามีเยอเกินความต้องการของตลาด มันเป็นเรืองธรรมดา ที่ เราฆ่ากันเอง เพราะผลิตออกมาชนกัน พ่อค้าก็ต้องกดราคา ตามกลไกของ ดีมานด์ ซัพพลาย ในขณะที่ จ.จันทบุรี เขาไม่เดือดร้อนเรื่องการตลาด เพราะอะไร เดี่ยวรอให้ผมพูดข้อสองให้จบก่อน
๒. การผลิต ของเราขาดการวางแผนที่ดี เช่น เราไม่มีการจดทะเบียนสวนลำใจ แบ่งโซนการผลิต เป็นระยะ ๆ (โดยการราดสาร) ให้ออกลดหลั่นกัน มีลำไยขายตลอดปี และลดปริมาณ พื้นที่ลง เน้นให้มีการดูแลเอาใจใส่เน้น ลุก จัมโบ้ กับ AA
๓.ไปศึกษาดูงานการผลิตของเมืองจันทบุรี เขาทำทีหลังเราแต่ เขาก้าวหน้ากว่าเราเยอะ
ท่าน พัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หอการค้า ๑๐ จังหวัดภาคเหนือ ได้วางแนวทางไว้แล้ว เชื่อว่า สิ่งที่ผมคิดไว้และเคยพุดในที่ประชุมกลุ่มผู้ปลูกลำไยจังหวัดเชียงรายหลายครั้ง แต่ ไม่มีใคร นำเอาไปปฏิบัติ มันก็เลยต้องวนเวียนอย่างนี้ทุกปี
จัมโบ้ กับ AA มันต่างกันยังไงครับ ที่เครื่องร่อนลำไยก็เห็นมีแต่เกรด AA , A , B , C ลูกที่ใหญ่กว่า เกรด A มันก็จะใหลลงช่อง AA หมด ลูกจะใหญ่เท่าไข่ไก่มันก็ลงช่อง AA ผมว่าที่ขาดหายไปในปีนี้คือ ตลาดลำไยสด(ลำใยช่อ) ความต้องการมีน้อยมาก ทุกปีตลาดลำไยสดจะช่วยประคองราคา ไม่ในพ่อค้าลำไยล่วง(ลำไยอบแห้ง) กดราคา พอปีนี้เหลือตลาดหลักอยู่ตลาดเดียวปริมาณเข้าโรงอบมาก ตู้อบเตียมตลอดทุกวัน ลำไยต้องรอเข้าตู้ไม่เหมือนทุกปีที่มีตลาดลำไยสดมาแย่งซื้อ ตู้อบต้องรอลำไย จึงเกิดการแข่งขันราคากันเพื่อที่จะได้ลำไยมาเข้าตู้ จึงทำให้พ่อค้าได้โอกาสกดราคา การจะมาแก้ไขตอนนี้แทบจะไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะถ้าบังคับให้พ่อค้าซื้อแพงก็ไม่ได้ เพราะซื้อไปแล้วไม่มีตู้อบให้ใส่ คืนกับอีกวัน ลำใยก็เน่าเสียหมดแล้ว ซื้อถูกแต่ไม่มีตู้อบจะใส่เขายังไม่อยากซื้อเลย จะให้ซื้อแพงอีกเขาคงไม่เอาแน่ๆ
ผมจะไม่กลับไปกล่าวถึงปัญหา เกรดของลำไย แต่จะ พูดถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาในอนาคต จากการสัมมนา ในวันที่ 14-15 สิ่งหาคม ที่ผ่านมา ก็คือ
๑.การนำเสนอเพื่อแก้ไขกฎหมายระหว่างประเทศ ที่พ่อค้าคนกลาง พ่อค้าต่างประเทศเอาเปรียบเราเช่น เช่นการเก็บภาษี นำเข้าขส่งออก เช่น คนจีนส่งสินค้ามาไทย ขอเสียภาษีต่อเดียว แต่เราส่งไปจีน ต้องผ่านหลายต่อ เช่น ภาษีระดับประเทศ และภาษีระดับมณฑล โดยการขึ้นภาษีให้แพงขึ้น แต่จะมีผลกระทบกับ ชาวสวน หรือเกษตรกรราย่อยที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์
๒.การขึ้นทะเบียนผู้ปลูกลำใยเช่นเดียวกับ ทะเบียนผู้ปลูกข้าว, ข้าวโพด เพือการนำเข้าสู่การวางแผนการผลิต นอกฤดูกาล
๓. การยกระดับการรวมตัวของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยให้เป็นสมาคม หรือสหากรณ์ระดับประเทศ ระดมทุนหรือหุ้นเพื่อต่อสู้กับนายทุนทั้งในและต่างประทศ โดยมีกองทุนสำรองให้เกษตรกรที่เดือดร้อน นำเงินไปใช้ก่อน และยกระดับการผลิตและการแปรรูป(อบแห้ง) ที่ได้มาตรฐาน เช่น มีโรงอบไอน้ำ โรงล้าง
๔. การการศึกษาเส้นทางขนส่งค้า(ลำไย) สดไปถึงต่างประเทศให้เร็วไม่เกินสองวัน
ทั้งหมดนี้มันเป็นแนวทางที่เราหารือร่วมกัน จะสำเร็จหรือไม่ ก็ ให้พี่น้องช่วยให้กำลังใจพกวเราด้วย
และวันนี้ เพื่อนที่อยู่สวีเดน บอกว่า ลำไยสดที่สวีเดน กก.1,000 อบแห้ง กก 500