pairuch9889
ชั้นประถม

ออฟไลน์
กระทู้: 198
|
 |
« ตอบ #77 เมื่อ: วันที่ 24 กันยายน 2014, 11:56:32 » |
|
สรรพคุณของทานตะวัน น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน มีรสร้อน สามารถช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือดได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[1],[2],[4] ใบทานตะวันมีรสเฝื่อน สรรพคุณเป็นยาแก้เบาหวาน (ใบ)[2],[4] เมล็ดมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต (เมล็ด)[3] หรือจะใช้แกนหรือไส้ของลำต้นทานตะวัน นำมาต้มกับน้ำดื่ม (แกนต้น)[2] หรือจะใช้ใบทานตะวันสด 60 กรัม (ถ้าใบแห้งใช้ 30 กรัม) และโถวงู่ฉิกสด 60 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 30 กรัม) นำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม (ใบ)[4] ส่วนอีกวิธีเป็นการทดลองกับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 10 คน ด้วยการใช้ฐานรองดอกแห้ง ประมาณ 45 กรัม นำมาบดให้ละเอียด แล้วทำเป็นยาน้ำเชื่อม 100 มิลลิลิตร นำมาให้ผู้ป่วยกินครั้งละ 20 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง พบว่าหลังจากการศึกษาแล้ว 60 วัน ความดันโลหิตของผู้ป่วยลดลง โดยมีอาการดีขึ้น 4 คน และมีอาการดีขึ้นเล็กน้อย 4 คน ส่วนอีก 2 คน ไม่มีอาการดีขึ้นเลย (ฐานรองดอก)[4] ช่วยทำให้อวัยวะภายในร่างกายชุ่มชื้น (เมล็ด)[3] ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ตาลาย ด้วยการใช้ฐานรองดอกแห้งประมาณ 25-30 กรัม นำมาตุ๋นกับไข่ 1 ฟอง ใช้รับประทานหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง (ดอก,ฐานรองดอก,ดอกและฝัก)[2],[3],[4] เปลือกเมล็ดมีรสเฝื่อน มีสรรพคุณช่วยแก้อาการหูอื้อ ด้วยการใช้เปลือกเมล็ดทานตะวันประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (เปลือกเมล็ด)[2],[4] ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้ดอกแห้ง 25 กรัม นำมาสูบเหมือนยาสูบ หรือจะใช้ฐานรองดอก 1 อัน และรากเกากี้ นำมาตุ๋นกับไข่รับประทาน (ดอก,ฐานรองดอก,ดอกและฝัก)[2],[3],[4] รากและลำต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (รากและลำต้น)[3] ใช้เป็นยาแก้หวัด แก้อาการไอ แก้ไข้หวัด หากใช้แก้อาการไอให้ใช้เมล็ดนำมาคั่วให้เหลือง แล้วนำมาชงกับน้ำรับประทาน (เมล็ด,น้ำมันจากเมล็ด)[1],[2],[4] ส่วนรากและลำต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอเช่นกัน (รากและลำต้น)[3] ช่วยแก้อาการร้อนใน (รากและลำต้น)[3] แกนหรือไส้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการไอกรนได้ หรือจะใช้แกนกลางของลำต้นนำมาโขลกให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทรายขาว แล้วนำมาชงด้วยน้ำร้อนรับประทาน (แกนต้น)[2],[4] ใบ รากและลำต้นมีสรรพคุณช่วยแก้หอบหืด (รากและลำต้น,ใบ)[2],[3],[4] ดอกมีเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ (ดอก)[2],[4] เมล็ด น้ำมันจากเมล็ด รากและลำต้น มีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ขจัดเสมหะ (รากและลำต้น,เมล็ด,น้ำมันจากเมล็ด)[1],[2],[3],[4] ช่วยรักษาเต้านมอักเสบ ด้วยการใช้ฐานรองดอกแห้ง นำมาหั่นเป็นฝอย แล้วนำไปคั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด นำมาชงกับน้ำอุ่นหรือเหล้ารับประทานครั้งละ 10-15 กรัม วันละ 3 ครั้ง ซึ่งจากการใช้รักษาในผู้ป่วยจำนวน 122 คน พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น (ฐานของดอก)[3],[4] ช่วยรักษาฝีเต้านม (แกนต้น)[2] ดอกมีสรรพคุณช่วยขับลม (ดอก)[2],[4] รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดท้องแน่นหน้าอก (ราก)[1],[4] รากและลำต้น ฐานรองดอก ดอกและฝักใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้อง (รากและลำต้น,ฐานรองดอก,ดอกและฝัก)[2],[3] ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (แกนต้น,ดอกและฝัก)[2],[3] ฐานรองดอกมีรสเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคกระเพาะอาหาร แก้อาการปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะอักเสบ ด้วยการใช้ฐานรองดอก 1 อัน (หรือประมาณ 30-60 กรัม) และกระเพาะหมู 1 อัน แล้วใส่น้ำตาลทรายแดง 30 กรัม นำมาต้มกรองเอาแต่น้ำมารับประทาน (ฐานรองดอก)[2],[4] ช่วยแก้โรคบิด (เมล็ด,น้ำมันจากเมล็ด)[1],[2],[4] ช่วยแก้บิดถ่ายเป็นเลือด (ดอกและฝัก)[3] แกนหรือไส้ลำต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร (แกนต้น)[2] ช่วยแก้อาการท้องผูกสำหรับผู้สูงอายุ (ดอกและฝัก)[3] รากใช้เป็นยาแก้ระบาย (ราก)[4] รากใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน ด้วยการใช้รากสด 30 กรัม เติมน้ำตาลทราบแดงเล็กน้อย นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[1],[4] ราก แกนหรือไส้ลำต้น และน้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (แกนต้น,ราก,น้ำมันจากเมล็ด)[1],[4] แกนหรือไส้ของลำต้น มีรสจืดเฝื่อน นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับนิ่วในไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะได้ดี แก้ปัสสาวะขุ่นขาว แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ด้วยการใช้แกนกลางของลำต้นยาวประมาณ 60 เซนติเมตร หรือประมาณ 15 กรัม และรากต้นจุ้ยขึ่งฉาวราว 60 กรัม นำมาต้มคั้นเอาแต่น้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน (แกนต้น)[2],[4] ส่วนรากและลำต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะปวดแสบปวดร้อน แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (รากและลำต้น)[3] ช่วยขับหนองใน (เมล็ด,น้ำมันจากเมล็ด)[1],[2],[4] ช่วยแก้มุตกิดตกขาวของสตรี (รากและลำต้น)[3] ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี (ฐานรองดอก,ดอกและฝัก)[2],[3],[4] ใช้แก้อาการปวดท้องน้อยก่อนหรือระยะที่รอบเดือนมา ให้ใช้ฐานรองดอก 1 อัน กระเพาะหมู 1 อัน ใส่น้ำตาลทรายแดง 30 กรัม แล้วต้มกรองเอาแต่น้ำมารับประทาน (ฐานรองดอก)[4] ช่วยบีบมดลูก (ดอก)[4] ช่วยแก้เนื้องอกเยื่อบุผิวถุงน้ำคร่ำ (แกนต้น)[2] ช่วยแก้อาการมูกโลหิต ด้วยการใช้เมล็ด 30 กรัม ใส่น้ำตาลเล็กน้อย นำมาต้มกับน้ำประมาณ 60 นาที แล้วนำมาใช้ดื่ม (เมล็ด)[4] เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงตับและไต (เมล็ด)[3] ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (รากและลำต้น)[3] ใบใช้เป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ใบ)[3] หากแผลที่มีเลือดไหล ให้ใช้แกนกลางของลำต้นนำมาโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาใช้พอกบริเวณแผล (แกนต้น)[4] ใช้ทั้งต้นนำมาสกัดทำเป็นขี้ผึ้ง ใช้เป็นยารักษาแผลสดและแผลฟกช้ำ (ทั้งต้น)[3] ส่วนรากมีสรรพคุณช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ราก)[1],[4] ช่วยแก้อีสุกอีใส (ดอกและฝัก)[3] ช่วยแก้ฝีฝักบัว (น้ำมันจากเมล็ด)[1],[4] แก้อาการปวดบวมฝี (ฐานรองดอก)[4] น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[1],[4] ใช้แก้ไขข้อกระดูกอักเสบ และฝี ด้วยการใช้ดอกทานตะวั
|